Johan Kanflo โปรแกรมเมอร์จากสวีเดนที่ศึกษาคอมพิวเตอร์ฝังตัวเป็นงานอดิเรก เผยแพร่พิมพ์เขียวของบอร์ด AAduino บอร์ดที่ภายในเป็นชิป ATMega328p และโมดูลรับส่งวิทยุ RFM69C
ตัวโมดูล RFM69C กว้างกว่าถ่าน AA เล็กน้อยจึงอาจจะต้องตะไบด้านข้างออก ตัวชิป ATMega328p ถูกปรับให้ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 8MHz
โมดูลทั้งโมดูลสามารถทำงานได้เพียงแค่นำไปใส่รังถ่านสามก้อน แต่ใส่ถ่านแค่สองก้อนและโมดูล AAduino แทนก้อนที่สาม จากนั้นจึงช๊อตขาบวกและลบของรังถ่านเข้าด้วยกัน ตัว Kanflo เพิ่มเซ็นเซอร์ DS18B20 เพื่อวัดอุณหภูมิไว้ด้วย
พิมพ์เขียวของบอร์ดนี้อยู่บน GitHub
ที่มา - Johan Kanflo
อินเทลเปิดตัวชิป Atom ซีรีส์ x5 เพิ่มอีกสามรุ่น และนับเป็นการอัพเดต Atom ครั้งแรกในปี 2016 ด้วย โดยสเปคของทั้งสามรุ่นที่เปิดตัวมามีดังนี้
สำหรับสามชิปรุ่นใหม่ใหม่ที่เปิดตัวมาแบ่งเป็นสองรุ่นสำหรับอุปกรณ์พกพาอย่าง x5-Z8330 และ x5-Z8350 ทั้งคู่ยังเป็น Cherry Trail ที่ผลิตบนขนาด 14 นาโนเมตร ที่สเปคตามหน้ากระดาษใกล้เคียงกันมาก ด้วยซีพียูควอดคอร์ความถี่ 1.44GHz (เร่งได้เป็น 1.92GHz) พร้อมจีพียู HD 400 ความถี่ 200-500MHz รองรับแรม DDR3L-RS ซึ่งนอกจากสัญญาณนาฬิกาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนอื่นๆ ใกล้เคียงกับรุ่นก่อนหน้าอย่าง x5-Z8300 อย่างมาก
ARM ลงทุนพัฒนา mbed OS อย่างหนักตั้งแต่เปิดตัวในปีที่แล้ว จากรุ่นเบต้า ในงาน TechCon ทาง ARM ก็ปล่อยรุ่น Technology Preview ออกมา โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญหลายอย่าง
เก็บตกข่าวน่าสนใจในวงการ SoC เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม Marvell ผู้ผลิตชิปรายใหญ่เพิ่งเปิดตัวแพลตฟอร์ม MoChi ที่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใส่ฟีเจอร์บางส่วนเข้าไปใน SoC แทนที่จะใส่ทุกอย่างเข้าไปตามแนวทางในช่วงหลังๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และนำไปใช้กับอุปกรณ์เฉพาะทางได้คุ้มค่ามากขึ้น
หลักการของ MoChi หรือชื่อเต็ม Modular Chip จะคล้ายกับแนวทางของ Project Ara โดยแยกส่วนต่างๆ ใน SoC ออกมาเป็นโมดูล โดยจะมีศูนย์กลางเป็นซีพียู แล้วให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใส่ฟีเจอร์อื่นๆ เข้าไปเพิ่มเติมได้ เช่น จีพียู และการเชื่อมต่อต่างๆ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับโมดูลออกมามากนัก
เพิ่งประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดที่ยังไม่สวยเท่าไร AMD ก็ยังต้องกระตุ้นตัวเองไปแข่งกับตลาดต่อไป ล่าสุดเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ซีรีส์ R สำหรับจับตลาดอุปกรณ์ที่ใช้ชิปแบบ embeded โดยรองรับ DDR4 เป็นรุ่นแรกของ AMD อีกด้วย
เมื่อต้นปีนี้ Parse บริษัทลูกของ Facebook ที่พัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอพ ประกาศขยายบริการมาทำ Parse of IoT จับตลาด Internet of Things กับเขาด้วย โดยฮาร์ดแวร์ตัวแรกที่รองรับคือบอร์ด Arduino Yun และขยายเพิ่มเติมมายัง Raspberry Pi ในภายหลัง
เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี Parse ประกาศออก SDK เพิ่มเติมรองรับฮาร์ดแวร์อีก 4 ค่ายดังคือ Atmel, Broadcom, Intel, Texas Instruments โดยชุด SDK ทั้ง 4 จะอยู่ในกลุ่ม Partner SDK ที่บริษัทแต่ละรายมาช่วยพัฒนาให้ Parse
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้ทำการเปิดให้ดาวน์โหลด Windows 10 IoT Core รุ่น Insider Preview สำหรับ Raspberry Pi 2 และ Intel Minnowboard Max ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ได้เวลาเข้าสู่สถานะ RTM แล้ว
ตัวเลขเวอร์ชันรุ่นดังกล่าวคือ 10.0.10240.16384 ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จากที่มา
ที่มา - OSBetaArchive via Microsoft-News
ผู้ผลิตจีนผลิตบอร์ดที่ขนาดและขาเชื่อมต่อ GPIO เข้ากับ Raspberry Pi 2 เริ่มจาก Banana Pi ที่ใช้ชิป Allwinner A20, Orange Pi ที่ใช้ชิป Allwiner H3 ตอนนี้มีคู่แข่งมาเพิ่มแล้ว คือ Lemon Pi จากบริษัท Embed Studio ในเซินเจิ้น
หลังจากที่ทีมงาน Microduino ได้เปิดระดมทุนบอร์ด mCookie ปัจจุบันสามารถระดมทุนได้มากกว่าสองเท่าของเป้าหมาย ได้ประกาศเพิ่มเป้าหมายการระดมทุนดังนี้:
1. ยอด 100,000 ดอลลาร์ หรือมีผู้สนับสนุนถึง 600 ราย เปลี่ยน usb cable ธรรมดา ให้เป็น magnetic usb cable มูลค่า 10 ดอลลาร์ สำหรับผู้สนับสนุนชุดคิททุกราย
2. ยอด 200,000 ดอลลาร์ หรือมีผู้สนับสนุนถึง 1,500 ราย แถมโมดูล mCookie 6dof gyroscope and accelerometer มูลค่า 22 ดอลลาร์ สำหรับผู้สนับสนุนชุดคิททุกราย
update(28/5/58) : ยอดเกิน 100,000 ดอลลาร์ แล้วครับ
การเชือมต่อไร้สายเป็นความท้าทายสำคัญของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก แม้ช่วงหลังจะมี ESP8266 เข้ามาเป็นทางออกสำหรับการเชื่อมต่อราคาถูกแล้วก็ตามแต่ก็กินพลังงานอย่างหนัก ตอนนี้ไลบรารี Chirp.io เสนอทางเลือกเชื่อมต่อ Arduino กับโทรศัพท์มือถือ
Chirp.io มีจุดเริ่มต้นมาจากแอพ Chirp บน iOS ที่ใช้ส่งข้อมูลระหว่างไอโฟนด้วยเสียง
ตัวไลบรารีทำให้ Arduino สามารถส่งเสียงออกมาเป็นโค้ดไปยังโทรศัพท์ แนวทางใช้งาน เช่น พิพิธภัณฑ์สามารถให้แอพตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้ไปถึงจุดต่างๆ และได้โค้ดจากจุดปล่อยโค้ดมาแล้ว
ทีมงาน Microduino ที่พัฒนาบอร์ดเข้ากันได้กับ Arduino ขนาดเล็กมาตั้งแต่ปี 2013 เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่ mCookie ชุดบอร์ดขนาดเล็กที่มีบอร์ดเสริมหลายรูปแบบ จุดเด่นสำคัญคือมีกรอบพลาสติกที่เสียบกับตัวต่อเลโก้ได้พอดี
บอร์ดเสริมเชื่อมต่อกันด้วยเข็มแบบสปริง หรือ pogo pin ทำให้สามารถเชื่อมต่อและถอดออกจากกันได้บ่อยครั้ง กรอบพลาสติกยังสามารถต่อแบบเลโก้ปกติ, ขันน็อต, หรือร้อยเชือกเพื่อเสริมความแข็งแรงได้
บอร์ดหลักและบอร์ดเสริมในตอนนี้รวมมีหลายสิบแบบ ชุดเริ่มต้นราคา 68 ดอลลาร์ ไปจนถึงชุดใหญ่สุด 258 ดอลลาร์ ตัวบอร์ดผลิตที่โรงงานหลักในเซินเจิ้นและโรงงานสำรองในปักกิ่ง คาดว่าจะส่งมอบได้เดือนกรกฎาคมนี้
ไมโครซอฟท์และ Arduino ประกาศความร่วมมือเพื่อให้บอร์ด Arduino และ Windows 10 สามารถทำงานได้เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ว่านักพัฒนาจะพัฒนาบนแพลตฟอร์มใดเป็นหลัก
ไมโครซอฟท์ประกาศเรื่องนี้พร้อมกับการเปิดตัว Windows 10 IoT Core สำหรับ Raspberry Pi 2 โครงการแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่
จากที่ไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่าจะออก Windows 10 รุ่นสำหรับ Raspberry Pi 2 วันนี้มันออกรุ่นทดสอบมาให้ดาวน์โหลดกันแล้วครับ
ชื่ออย่างเป็นทางการของระบบปฏิบัติการตัวนี้คือ Windows 10 IoT Core (ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นรุ่น Insider Preview) มันถูกออกแบบมาเป็น Windows 10 รุ่นสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีทรัพยากรจำกัด ไมโครซอฟท์ระบุว่าจะแจกระบบปฏิบัติการรุ่นนี้ฟรี แม้จะใช้ในเชิงพาณิชย์ก็ตาม
Intel Edison เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปลายปีที่แล้วร่วมมือกับ Sparkfun ผู้ผลิตบอร์ดสำหรับนักพัฒนาในสหรัฐฯ เป็นหลัก ตอนนี้ก็หันมาประกาศความร่วมมือกับ Seeed Studio ทางฝั่งจีนออกชุดพัฒนาแบบเดียวกันบ้างแล้ว โดยมีสองชุด คือชุดสำรวจสภาพแวดล้อมในบ้าน และชุดพัฒนาคอมพิวเตอร์สวมใส่ได้
ESP8266 เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะชิป Wi-Fi ราคาถูกที่ต้องใช้คู่กับไมโครคอนโทรลเลอร์อื่นๆ แต่เรื่องจากซีพียูที่แรงพอ และทาง ESP เปิดสเปคให้นักพัฒนาภายนอกเข้าถึงได้ ช่วงหลังๆ เราก็เห็นรอมจากนักพัฒนาภายนอกที่นำมาใช้งานเพิ่มเติมนอกเหนือการทำหน้าที่เป็นโมดูลเสริมได้สบายๆ ตอนนี้ทาง digiStump ผู้พัฒนา Digispark ที่ใช้ชิป AVR ก่อนหน้านี้ก็หันมาพัฒนาแพลตฟอร์ม Oak ที่ใช้ชิป ESP8266 แล้ว
บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทุกวันนี้แบ่งออกเป็นสองสาย คือ บอร์ดที่รันลินุกซ์ได้เต็มรูปแบบเช่น Raspberry Pi กับบอร์ดที่ไม่มีระบบปฎิบัติการ แต่มีเฟิร์มแวร์ง่ายๆ เพื่อควบคุมงานบางอย่าง เช่น Arduino ที่ผ่านมามีความพยายามรวมบอร์ดทั้งสองแบบเข้าด้วยกันบ้าง เช่น Arduino YÚN แต่ตอนนี้ก็มีคู่แข่งอย่าง UDOO Neo มาเสนอตัวเป็นทางเลือกอีกตัว
ชิป ESP8266 ที่เคยเป็นชิป Wi-Fi ราคาถูกสำหรับใช้เชื่อมต่อกับซีพียูอื่นๆ แต่เนื่องจากตัวรอมของมันเป็นโอเพนซอร์ส ทำให้ตอนนี้มีทีมงานอื่นๆ มาช่วยทำรอมรุ่นใหม่ๆ ให้ รอมตัวหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมาคือ NodeMCU รอมที่รัน Lua ได้ในตัว ทำให้เขียนสคริปต์สั่งงานได้อย่างง่ายดาย
ชุมชน ESP8266 (ไม่เกี่ยวอะไรกับบริษัทผู้ผลิต) ร่วมกันพัฒนา Arduino IDE สำหรับชิป ESP8266 ทำให้นักพัฒนาสามารถใช้งานไลบรารีจำนวนมากจาก Arduino ได้
สำหรับฟังก์ชั่น Wi-Fi ของตัว ESP8266 จะมีไลบรารีจำลองให้เหมือนกับ Arduino ที่ติดตั้ง Wi-Fi shield ฟังก์ชั่นต่างๆ ยังใช้งานได้เหมือนเดิม เช่น WiFi.softAP(ssid)
จะปรับโหมดการทำงานเป็น Access Point
ถ้ายังจำกันได้ ปี 2013 Facebook ซื้อบริษัท Parse ที่ทำบริการออนไลน์ช่วยสนับสนุนนักพัฒนาแอพมือถือ (เช่น ระบบ Push หรือ Analytics) โดยยังคงบริการเดิมของ Parse ต่อไป
ในงาน F8 2015 ที่ผ่านมา Parse ก็ประกาศบริการใหม่คือ Parse for IoT ที่ขยายพรมแดนจากแอพมือถือไปยังอุปกรณ์ฝังตัวแบบ Internet of Things ด้วย
Parse for IoT จะเป็น SDK สำหรับเชื่อมต่อและเก็บข้อมูลจาก IoT ไปยังกลุ่มเมฆของ Parse โดยอุปกรณ์ตัวแรกที่รองรับคือบอร์ด Arduino Yun เราสามารถเขียนโค้ดเพียงไม่กี่บรรทัดเพื่อดึงข้อมูลไปเก็บบนกลุ่มเมฆ และนำไปใช้งานอื่นๆ ต่อได้
ปีที่แล้วชิป ESP8266 วางขายเงียบๆ ในจีนเริ่มต้นที่ราคาโมดูลละ 5 ดอลลาร์ทำให้งานที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทำได้ในราคาถูก ปีนี้โมดูล EMW3162 ที่ราคา 9.95 ดอลลาร์ อาจจะน่าสนใจกว่าเดิม
EMW3162 เป็นชิปจากค่ายจีน Shanghai MXCHIP Information Technology บนโมดูลมีสองชิปแยก ตัวหนึ่งเป็นระบบ Wi-Fi ภายในใช้ซีพียู ARM ไม่ระบุรุ่น แต่ชั้นเน็ตเวิร์ตจะใช้ชิป STM32F2 Cortex-M3 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 120MHz
ตัว Wi-Fi รองรับเฉพาะคลื่น 2.4GHz แต่รองรับโหมดการทำงาน bgn ความเร็วสูงสุด 72Mbps ทำงานได้ทั้งโหมด AP, Station, และ Wi-Fi direct มีเสาอากาศบนบอร์ดหรือจะติดเพิ่มก็ได้
ผู้ผลิตจีนที่แข่งขันกับโครงการ Raspberry Pi ที่ได้ยินชื่อกันก่อนหน้านี้ เช่น Cubieboard หรือ Banana Pi ล้วนใช้ซีพียู Allwinner A20 เป็นส่วนใหญ่ ตอนนี้ค่าย Orange Pi หนีไปใช้ Allwinner H3 ที่มีจุดเด่น คือ เป็นคอร์ดแบบ Cortex-A7 ทำงานที่ 1.6GHz ทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลน่าจะสูงกว่าบอร์ดรุ่นอื่นๆ
Orange Pi มีบอร์ดที่ใช้ซีพียู Allwinner H3 สองรุ่นใหญ่ คือ Orange Pi Plus และ Orange Pi 2 และมีรุ่นที่ใช้ซีพียู Allwinner A20 อีกสองรุ่น คือ Orange Pi และ Orange Pi Mini
BBC ประกาศโครงการ Micro Bit คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อการศึกษา เตรียมแจกจ่ายให้กับเด็กมัธยมหนึ่งทุกคนทั่วประเทศ รวมหนึ่งล้านชุด พร้อมคู่มือประกอบการเรียนการสอน ซอฟต์แวร์สำหรับเขียนโปรแกรมผ่านพีซี รองรับภาษา Touch Develop, Python, และ C++
แม้ว่า Micro Bit จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ตัวมันเองก็เป็นคอมพิวเตอร์โดยสมบูรณ์ มีหน้าจอไฟ LED และปุ่มสองข้างทำให้สามารถสร้างเกมง่ายๆ มาเล่นได้
Raspberry Pi 2 อัพเดตตัวเองมาใช้ซีพียู Cortex-A7 หรือสถาปัตยกรรม ARMv7 ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่รองรับ ARMv7 (หรือ armhf) พากันพอร์ตลงมา เพราะเพียงแค่ปรับแก้ bootloader ก็มักจะรันได้ ตอนนี้ระบบปฎิบัติการล่าสุดที่ประกาศพอร์ตมารองรับคือ NetBSD
การปรับแก้ในวันนี้ทำให้ระบบคอมไพล์อิมเมจรายวันของ NetBSD ปล่อยอิมเมจสำหรับ RPi2 ออกมาทุกวัน (ตัวอย่าง) สำหรับผู้สนใจสามารถเขียนอิมเมจลงการ์ด microSD
Thomas Edison เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1847 วันนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทาง Sparkfun ก็ถือโอกาสฉลองครบรอบด้วยการเปิดขายบอร์ด Edison ทั้งชุด 13 แบบที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีบอร์ด breakout ของอินเทลเองอีกสองแบบคือ บอร์ด Arduino และบอร์ด mini breakout
เฉพาะบอร์ดเสริมทั้ง 13 บอร์ดถ้าไม่ซื้อแบบรวมชุดจะอยู่ที่ 310.35 ดอลลาร์ไม่รวม Edison อีก 49.95 ดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Edison มีความได้เปรียบบอร์ด Raspberry Pi ที่เป็นพลังประมวลผลสูงกว่า แถมมีแรม 1GB ตอนนี้ Raspberry Pi 2 ออกมา ความได้เปรียบสำคัญคงเป็นเรื่องของขนาดที่ยังเล็กกว่ามากครับ
ที่มา - Sparkfun
มีรายงานว่า Raspberry Pi 2 จะดับไปเองเมื่อถูกถ่ายภาพแบบเปิดแฟลช โดยปัญหานี้จะเกิดต่อเมื่อใช้แฟลช Xenon เท่านั้น ตัวอย่างของกล้องที่ทำให้เกิดปัญหาเช่น Samsung K Zoom และ Canon IXUS 60 จะทำให้ RPi 2 ปิดการทำงานและเริ่มใหม่หากถูกแสงแฟลชระยะใกล้กว่า 50 เซนติเมตร
ต้นตอของปัญหานี้คือชิปจ่ายไฟแบบสวิทชิ่ง ที่อยู่ข้างๆ กับพอร์ต HDMI ถ้าใครจะซื้อ RPi 2 ไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีแสงแรงๆ อาจจะต้องหาอะไรมาปิดชิปตัวนี้ครับ
ที่มา - Raspberry Pi Forum