ดูเหมือนว่า OUYA กำลังจะก้าวข้ามจากกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ไปสู่อุปกรณ์หลากหลายชนิดแล้ว หลังจาก Julie Uhrman ซีอีโอของบริษัทได้ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับทิศทางในอนาคตกับ [a]list daily เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ในเนื้อหาสัมภาษณ์พูดถึงการเติบโตของ OUYA ที่พัฒนาไปอย่างมากตั้งแต่เปิดตัวมา ทั้งการปรับปรุงตัวเครื่อง จอยควบคุม และวางขายทั้งในอเมริกาเหนือ และยุโรป (แต่ไม่ได้เผยยอดขายออกมา) เมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเปิดตัวรุ่นใหม่เพิ่มความจุเป็นเท่าตัวในราคา 129 เหรียญออกมา
Raspberry Pi เปิดขายครั้งแรก 29 กุมภาพันธ์ 2012 และใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงทำยอดขายได้ 1 ล้านชุด ผ่านมาเพียงครึ่งปี ทางโครงการ Raspberry Pi พบว่ายอดขาย ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ครบสองล้านชุดไปเป็นที่เรียบร้อย เร็วกว่าที่คาดไว้ถึงสามเดือน
ทางโครงการเองไม่มีบันทึกว่าใครเป็นคนได้ Raspbery Pi เครื่องที่สองล้านไป รู้เพียงว่าคนที่ได้ไป ต้องสั่งซื้อระหว่างวันที่ 24 ถึงวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา
ด้วยยอดขายเช่นนี้แสดงว่า Raspberry Pi มียอดขายที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เปิดตัวมาเกือบสองปี และขายราคาเดิมมาตลอด
ที่มา - Raspberry Pi
อินเทลเปิดตัวบอร์ด Galileo มาตั้งแต่เดือนที่แล้ว ตอนนี้บริษัทจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Mouser ก็เปิดหน้าเว็บรับล่วงหน้าแล้ว โดยเปิดราคาขายปลีกที่ 69 ดอลลาร์หรือประมาณ 2,100 บาทต่อบอร์ด ระยะเวลารอสินค้า 7 สัปดาห์
อินเทลเคยระบุว่าบอร์ด Galileo จะมีราคาต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ ราคาที่เปิดมานี้จึงน่าผิดหวังพอสมควร โดยเฉพาะประสิทธิภาพในแง่ของกราฟิกของชิป Quark นั้นด้อยกว่าชิปที่ใช้ในบอร์ด Raspberry Pi (ที่ราคาเพียง 35 ดอลลาร์) อยู่มาก
นับแต่ MIPS ถูก Imagination ผู้ผลิตชิปกราฟิก PowerVR ซื้อไป ก็ได้เวลาออกสินค้าตัวแรกภายใต้การบริหารของ Imagination คือ MIPS P5600 ซีพียูระดับเดียวกับ ARM Cortex-A15 โดยมีสามฟีเจอร์หลักได้แก่
อินเทลเปิดตัวหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ
อินเทลเพิ่งประกาศบอร์ด Galileo ไป ใน Maker Faire งานเดียวกัน ทาง Arduino ก็ขึ้นเวทีกับ Texas Instrument ประกาศเปิดตัวบอร์ด Arduino TRE ที่ใช้ชิป Sitara AM335x ที่เป็น Cortex-A8
Arduino TRE จะคล้ายกับ Arduino YÚN ที่มีลินุกซ์รันบนตัวชิปหลักคือ ARM ขณะที่มีชิป AVR บนบอร์ดเพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ I/O ต่างๆ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกับทีม BeagleBoard.org เดิมที่ Texas Instrument ให้การสนับสนุนอยู่
อินเทลประกาศเปิดตัวบอร์ด Arduino รุ่น x86 ใช้ชื่อ Intel Galileo เป็นบอร์ดแรกหลักเปิดตัวชิป Quark X1000 ที่เป็นชิปขนาดเล็กระดับเดียวกับ ARM โดยเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับบริษัท Arduino LLC ผู้พัฒนาบอร์ด Arduino
บอร์ด Galileo จะใช้ชิป Quark X1000 400MHz หน่วยความจำแบบแฟลช 8MB ซอฟต์แวร์ภายในเป็นลินุกซ์ แม้ขา GPIO จะตรงกับ Arduino เดิมแต่บนบอร์ดมี LAN 10/100 Mbps, SD card, RS-232, และ USB ทั้ง device และ host (OTG) มาให้อย่างละพอร์ต ยังไม่ระบุว่าแรมภายในจะมีเท่าใด
ทางอินเทลประกาศในงานเปิดตัวว่าบริษัทจะสนับสนุนบอร์ด Galileo ให้ภาคการศึกษาทั้งหมด 1,000 หน่วยงานรวม 50,000 บอร์ด
ความนิยมของ Arduino นั้นเคียงคู่กับ Raspberry Pi มาตลอด บอร์ดที่เชื่อมต่อได้ง่ายทำให้นักพัฒนาฮาร์ดแวร์สมัครเล่นสามารถสร้างสรรค์งานแปลกๆ ได้มากมาย แต่ความต้องการบอร์ดขนาดเล็กก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ ทางโครงการ Arduino เองก็มีบอร์ด Arduino Nano สำหรับคนที่ต้องการบอร์ดขนาดเล็กแต่ยังไม่เล็กพอและบอร์ดยังมีชิปหลายตัว ทีมนักพัฒนาภายนอกจึงเสนอ Microduino มาเป็นโครงการใน Kickstarter
Microduino เป็นการแยกบอร์ด Arduino ออกมาเป็นบอร์ดขนาดเล็กแยกกัน โดยออกแบบให้ "ซ้อน" (stack) ระหว่างบอร์ดกันได้ สองบอร์ดหลักของโครงการนี้คือบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์หลัก และบอร์ดต่อ USB สำหรับการอัพโหลดโปรแกรม ทำให้สามารถซื้อบอร์ด USB ไปชิ้นเดียวเพื่อใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์หลายตัวได้
เอเอ็มดีประกาศแผนการผลิตซีพียูกลุ่มคอมพิวเตอร์ฝังตัว (embedded) ในปีหน้า โดยสองตระกูลที่วางขายในปีนี้คือ R-Series และ G-Series จะได้รับการอัพเกรดช่วงต้นปี
ตระกูล R ซึ่งออกแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ฝังตัวประสิทธิภาพสูง จะอัพเกรดจาก Piledriver ในตอนนี้เป็นแกน Steamroller ในปีหน้า โดยตอนนี้เรียกชื่อรหัสว่า Bald Eagle อัตราการปล่อยความร้อนอยู่ที่ 17-35 วัตต์เท่าเดิม แต่อัพเกรดกระบวนการผลิตเป็น 28 นาโนเมตรและเปลี่ยนกราฟิกเป็น HD 9000 รองรับแรม ECC และสถาปัตยกรรม HSA
ตระกูล G ยังคงใช้สถาปัตยกรรม Jaguar เช่นเดิม แต่ปรับปรุงการใช้พลังงาน ทำให้พลังงานต่ำสุดเหลือ 5W จากเดิม 6W
Arduino YÚN บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวแรกที่รันลินุกซ์ในตัวเปิดวางขายแล้ว ราคา 69 ดอลลาร์ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมๆ กับการประกาศขาย Arduino ก็เปิดตัว IDE รุ่น 1.5.4 มาพร้อมกัน โดยมีความสามารถเพิ่มเติมได้แก่
อินเทลเปิดสายการผลิตซีพียูใหม่ในตระกูล Quark ที่เล็กกว่า Atom ลงไปอีกระดับ เทียบชั้นกับ ARM Cortex-M สำหรับใช้งานในคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมเซ็นเซอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้
Quark ยังคงเป็นซีพียู x86 แบบ SoC และการเปิดตัวนี้ยังไม่ระบุเวลาวางตลาดจริง โดยอินเทลระบุว่าจะเริ่มส่งมอบชิปตัวอย่างให้กับบริษัทออกแบบได้ในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ โดยจะเน้นพันธมิตรที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรม, พลังงาน, และการขนส่ง
ที่มา - Intel
หลัง Imagination ผู้ผลิตส่วนกราฟิก PowerVR เข้าซื้อ MIPS ที่งาน Hot Chips 2013 ทางผู้บริการ Imagination ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าบริษัทยังทำตลาด MIPS อยู่ และหวังว่าจะครองตลาดที่เกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ได้, ตลอดจนเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก
ผู้บริหาร Imagination ระบุว่าปีหน้า MIPS Series 5 Warrior ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตจะเริ่มออกสู่ตลาด
Arduino YÚN เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่จนวันนี้ก็ยังไม่มีสินค้าขาย ล่าสุดทาง Arduino เพิ่งประกาศปรับสเปคใหม่ และระบุวันวางตลาดว่าจะวางตลาดในวันที่ 10 กันยายนนี้
รุ่นแรกของ Arduino YÚN ที่เปิดตัวไปนั้นมีแรม 8 เมกกะไบต์และแฟลชอีก 32 เมกกะไบต์ แต่ทาง Arduino พบว่าหน่วยความจำที่เหลือแทบไม่พอรันแอพพลิเคชั่นอีกจึงตัดสินใจเพิ่มแรมเป็น 64 เมกกะไบต์และแฟลชเป็น 32 เมกกะไบต์
SmartThings บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเซ็นเซอร์ในบ้านประกาศเปิดร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง
การทำบ้านที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) นั้นมีกระแสมาเป็นเวลานาน แต่ปัญหาสำคัญคือความเข้ากันได้ระหว่างอุปกรณ์เหล่านี้กลับแทบไม่มีเลย ผู้ใช้จำนวนมากต้องสับสนว่าอุปกรณ์ควบคุมยี่ห้อใดจะใช้กับเราท์เตอร์ยี่ห้อใดได้บ้าง
ทางออกของ SmartThings คือเปิดแพลตฟอร์มของตัวเอง สร้าง SmartThings Hub พร้อมอุปกรณ์พื้นฐานขึ้นมาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ตโฟนเพื่อใช้งานพื้นฐาน จากนั้นจึงเปิด SDK สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ และ Arduino Sheild สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการพัฒนาฮาร์ดแวร์เอง จากนั้นจึงเปิดร้านค้าของตัวเอง เป็นการสร้างแพลตฟอร์มรวดเดียวทั้งชุด
เอเอ็มดีเปิดตัวซีพียูชุดใหม่ในตระกูล R สำหรับอุปกรณ์เฉพาะทางเช่นฮาร์ดดิสก์ภายนอกหรืออุปกรณ์เครือข่าย โดยเปิดตัวเพิ่มอีก 3 ตัว ได้แก่
เอเอ็มดีระบุว่าชิปตระกูล R ให้ประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่าชิป Core i3 ถึง 2.5 เท่า
โปรโมชั่นสำหรับผู้ผลิตในช่วงเปิดตัวคือลดราคาให้สูงสุด 20% หากซื้อซีพียูคู่กับชิปกราฟิก Radeon E6460 หรือ E6760
ชิปตระกูลนี้มีผู้ผลิตในกลุ่มคอมพิวเตอร์ฝังตัวเช่น Advantech, DFI, และผู้ผลิตอื่นๆ
โครงการ Arduino ปีนี้มีสินค้าเปิดตัวออกมาค่อนข้างเยอะ โดยช่วงนี้เป็นงาน Bay Area Maker Fair จึงอาศัยเป็นช่วงเวลาเปิดตัวสินค้า ตัวล่าสุดคือ Arduino Yún ที่รวมเอา Arduino เดิมที่ใช้ชิป AVR เข้ากับชิป MIPS ที่รันลินุกซ์ OpenWRT พร้อม Wi-Fi ในตัว ในราคา 69 ดอลลาร์
Arduino Yún จะทำให้การเขียนโปรแกรมลงสู่ Arduino ไม่ต้องอาศัยการต่อสาย USB อีกต่อไป แต่นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อตัว Yún เข้ากับเครือข่าย ตัว Arduino IDE 1.5.x รุ่นใหม่ที่ออกมาพร้อมกันจะสามารถตรวจเจอ Arduino ในเครือข่ายได้เอง และเมื่อใส่รหัสผ่านแล้วก็พร้อมจะส่งโปรแกรมใหม่ลงไปแบบไร้สายได้ทันที
ทิศทางตลาดฮาร์ดแวร์นั้นชัดเจนมากว่าหมุนไปในโลกแห่งอุปกรณ์พกพาที่ต้องการหน่วยประมวลผลแบบฝังตัวขนาดเล็ก ค่าย AMD ซึ่งช่วงหลังประสบปัญหาไม่สามารถเจาะตลาดเดสก์ท็อปจากอินเทลได้มากนัก จึงต้องหาจุดยืนใหม่ของตัวเอง ซึ่งบริษัทก็พยายามบุกเข้ามาในตลาด SoC มากขึ้น
ล่าสุด AMD ออกชิปสำหรับอุปกรณ์พกพารุ่นใหม่ AMD Embedded G-Series System-on-Chip มาสู้กับ Atom SoC และ ARM SoC ด้วยฟีเจอร์ที่อัดมาเน้นๆ ดังนี้
จากที่ไมโครซอฟท์เคยประกาศแผนการออกรุ่น Windows Embedded 8 วันนี้ Windows Embedded 8 ก็ออกรุ่นจริงในบาง edition มาแล้วครับ
สองรุ่นแรกที่ออกวันนี้คือ Windows Embedded 8 Standard กับ Windows Embedded 8 Pro ซึ่งเป็นรุ่นพื้นฐานสำหรับงานด้านฝังตัวทั่วๆ ไป จากนั้น Windows Embedded 8 Industry รุ่นสำหรับเครื่องจ่ายเงิน (POS) จะตามมาวันที่ 1 เมษายน
รายละเอียดดูได้จากเว็บไซต์ Windows Embedded 8
Freescale Semiconductor เปิดตัว Kinetis KL02 ชิป ARM ขนาดเล็กเพียง 1.9x2 มิลลิเมต รถือเป็นชิปตระกูล ARM ขนาดเล็กที่สุดในโลก
KL02 มีอุปกรณ์ครบครัน ตั้งแต่หน่วยประมวลผลแบบ 32 บิต, แรม 4k, แฟลชรอม 32k, ตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิทัล 12 บิต และตัวรับสัญญาณ UART
ขนาดที่เล็กมากๆ ของ KL02 ทำให้มันเหมาะมากกับการเป็นหน่วยประมวลผลแบบฝังตัวบนอุปกรณ์ชนิดต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things)
KL02 ยังไม่วางขายปลีก แต่รับทำเป็นออเดอร์พิเศษจาก "ลูกค้ารายหนึ่ง" เท่านั้น
ที่มา - Wired
คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่มีให้เลือกสารพัดในช่วงหลัง ราคาประมาณสองพันบาททำให้หลายคนอยากเอามาใช้แทนคอมพิวเตอร์ฝังตัวแบบเดิมๆ กันหมด ล่าสุดบริษัท Olimex ในบัลแกเรียก็สร้างเครื่อง A13-OLinuXino-WIFI โดยมีข้อพิเศษคือมันต่อพอร์ต GPIO ทั้งหมดออกมายังหัวต่อภายนอกให้สำหรับแฮกเกอร์ได้ทดลอง พร้อมทั้งตัวบอร์ดเองก็เป็นขนาด nano-ITX มาตรฐานทำให้มีโอกาสหาเคสมาใส่ได้ง่าย
หัวใจหลักของบอร์ดคือ AllWinner A13 ใส่แรมมาให้เพียง 512MB อาจจะไม่พอสำหรับคนที่ต้องการเล่นแอพพลิเคชั่นแปลกๆ แต่น่าจะเหลือเฟือสำหรับการพัฒนาโครงการทดลองทั่วไป สุดท้ายคือแฟลชรอมขนาด 4GB ที่น่าแปลกใจจริงๆ คือผู้ผลิตเลือกจะติดตั้งหัว VGA มาให้แทนที่จะเป็น HDMI เหมือนตัวอื่นๆ ส่วนหัว LVDS สำหรับจอ LCD นั้นสามารถต่อไปจากหัวต่อได้เลย
ถัดจากการเปิดตัว Windows 8 ไมโครซอฟท์ก็ออกมาเผยแผนการออก Windows Embedded 8 ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัวที่ใช้เทคโนโลยีบางส่วนจาก Windows 8 ด้วย โดยมีรายละเอียดแยกตามรุ่นย่อยต่างๆ ดังนี้
ออราเคิลประกาศ Java Micro Edition (Java ME) รุ่นสำหรับอุปกรณ์ฝังตัว 2 รุ่นย่อย
ในโอกาสเดียวกันนี้ ออราเคิลยังออก Java ME SDK 3.2 สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ตัวข้างต้น โดยมีปลั๊กอิน Java ME SDK สำหรับ Eclipse เพิ่มมาด้วย จากเดิมที่มีแค่ NetBeans
ในบรรดาคอมพิวเตอร์จิ๋วที่เป็นแพลตฟอร์มนั้น ตัวแรกที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างคงเป็น Arduino โดยตัวมันมีพอร์ตสองข้างเป็นมาตรฐานกลาง ที่บอร์ดอื่นๆ ต้องทำให้เข้ากันได้ พร้อมกับชุดซอฟต์แวร์สำเร็จ แต่โมดูลล่าสุดของ Arduino อาจจะน่าสนใจกว่าโมดูลอื่นๆ เพราะผู้ร่วมพัฒนาคือ Telefonica I+D ที่เป็นบริษัทด้านวิจัยของ Telefonica ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในสเปน
ตัวโมดูลจะโอเพนซอร์สทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หลักคือ GprsAtCommand ที่เป็นชั้นหุ้มคำสั่งระดับล่างที่ต้องสั่งผ่านพอร์ดอนุกรมตามปกติ และไลบรารีจะทำงานร่วมกับ IDE ของ Arduino ได้ทันที
ยุคเอาใจนักพัฒนาทำให้บริษัทผลิตชิปจำนวนมากเริ่มหันมาสร้างแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนารายย่อยกลุ่ม BeagleBoard ก็เป็นการสนับสนุนจากฝั่ง Texas Instrument ตอนนี้โครงการย่อยในบอร์ดรุ่นเล็กคือ BeagleBone ก็มีบอร์ดเสริมที่เรียกว่า "cape" เปิดตัวออกมาแล้วถึง 20 รุ่น
BeagleBone เป็นบอร์ด ARM Cortex-A8 ที่มีราคา 89 ดอลลาร์ โดยตัวมันเองต่อสาย I/O ของชิปแทบทั้งหมดเป็นพอร์ตอยู่สองข้าง บอร์ด cape ที่เป็นส่วนเสริมจะต่อลงไปยังพอร์ตเหล่านี้ในรูปแบบเดียวกับบอร์ด Arduino ทำให้สามารถออกแบบคอมพิวเตอร์เฉพาะทางกันได้ง่าย
บอร์ดเสริมมีหลายฟีเจอร์ ตั้งแต่บอร์ด VGA, แบตเตอรี่, จอสัมผัส, กล้อง, หรือพอร์ต RS232 ทั้งหมดสามารถติดตั้งได้โดยไม่ต้องบัดกรี
ตั้งแต่ Raspberry Pi เปิดตัว ก็ได้ข่าวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขนาดเล็กกว่าฝ่ามืออยู่บ่อยๆ ตอนนี้ก็กำลังจะมาอีกรายแล้วครับ Gooseberry Board
ข้อมูลจำเพาะ