บริษัทแคนาดาได้พัฒนาแบตเตอรี่พลังงานไฮโดรเจนต้นแบบที่มีชื่อว่า Angstrom Power ที่สามารถใส่เข้าไปในมือถือได้พอดี และ ใช้จนกว่าแบตเตอรี่จะหมดได้นานกว่าแบตเตอรี่มือถือทั่วไป 2 เท่า
แบตเตอรี่ตัวนี้ได้ออกงาน CES 2008 มาแล้วโดยอยู่ในเครื่อง Motoslvr และทีมงานได้โชว์ว่าสามารถชาร์จแบตเตอรี่เต็มได้ภายใน 10 นาที บริษัทหวังว่าแบตเตอรี่นี้จะสามารถวางขายได้ในปี 2010 ซึ่งตอนนั้นคงให้พลังงานมากกว่านี้แน่นอน
แบตเตอรี่นี้ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ซึ่งเกิดจากการทดลองเอาเข้าไปเผาในกองไฟ และไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ข้อเสียคือคุณไม่สามารถชาร์จแบตเองได้ คุณต้องซื้อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมาเติมมันเท่านั้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีขายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆก็เป็นได้
ที่งาน Detroit Auto Show ปีนี้ทางฮอนด้าได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้พลังงานทางเลือกหลายต่อหลายรุ่น เช่น FCX Clarity รถซีดานที่ใช้พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง ตลอดจนรถไฟพลังงานก๊าช-ไฟฟ้า แต่ที่น่าสนใจคือการที่นาย Takeo Fukui ประธานของบริษัทฮอนด้าออกมาระบุว่า บริษัทกำลังเตรียมการทำตลาดรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่ารถเหล่านี้จะสร้างรายได้ให้ฮอนด้าแตะระดับร้อยละ 10 ภายในปี 2010
ตามแผนนี้ฮอนด้ากำลังเปิดตัวรถรุ่นใหม่ล่าสุดอีกสองรุ่นภายในไม่กี่ปีนี้ โดยรุ่นแรกน่าจะวางตลาดในปีนี้และมีการวางเป้ายอดจำหน่ายไว้ที่สองแสนคัน ส่วนอีกรุ่นนั้นจะตามมาภายหลัง
ว่าแต่ NGV บ้านเรานี่ถือเป็นพลังงานทางเลือกรึเปล่าเนี่ย?
ปัญหาความมั่นคงทางพลังงานของจีนนับว่าเป็นความท้าทายที่ล้ำหน้ากว่าชาติใดๆ ในโลก ด้วยอัตราการบริโภคพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จีนเป็นชาติที่ลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ สูงมาก ล่าสุดโครงการนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้, อินเดีย, รัสเซีย, และจีน ในชื่อว่า ITER (Wikipedia) (International Thermonuclear Experimental Reactor) ก็ได้รับคำมั่นจากทางการจีนในการสนับสนุนเงินวิจัยถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์
พลังงานแสงอาทิตย์ทุกวันนี้แม้จะน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ แต่ข้อเสียของพลังงานในรูปแบบนี้หลักๆ คือความมั่นคงที่ค่อนข้างต่ำ และการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ทำได้เพียงช่วงกลางวันทำให้การพึ่งพิงพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเดียวเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่บริษัท Hamilton Sunstrand กำลังสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พลังงานทดแทนมีข้อด้อยหลักๆ ในตอนนี้คือเรื่องของการใช้พื้นที่ในการผลิตที่ค่อนข้างด้อยประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับพลังงานจากฟอสซิลแบบเดิมๆ ที่เราใช้งานกัน และยิ่งเมื่อเทียบกับพลังงานนิวเคลียร์ด้วยแล้ว พลังงานทดแทนต้องการพื้นที่ในการผลิตต่อวัตต์ของพลังงานที่ได้มาสูงมาก
เซลล์แสงอาทิตย์เริ่มน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางบริษัท Nanosolar เริ่มส่งมอบเซลล์แสงอาทิตย์ราคาถูก ที่มีราคาเพียง 2.12 ดอลลาร์ ต่อเซลล์แสงอาทิตย์กำลังผลิต 1 วัตต์ให้กับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าทางตะวันออกของประเทศเยอรมันแล้ว หลังจากเริ่มเปิดตัวเทคโนโลยีของตนเองสู่สาธารณะเมื่อเดือนที่ผ่านมา
โตชิบาเตรียมวางตลาดโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีขนาดเพียง 20x6 ฟุต หรือประมาณ 7x2 เมตรเท่านั้น โดยโรงงานไฟฟ้านี้จะมีกำลังผลิตประมาณ 200 กิโลวัตต์ มากพอสำหรับหมู่บ้านห่างไกลทั้งหมู่บ้าน ที่สำคัญคือต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยนั้นอยู่ที่ 5 เซนต์ หรือประมาณ 2 บาทเท่านั้น โดยโรงงานไฟฟ้านี้ออกแบบจากความร่วมมือระหว่างโตชิบาและสถาบันวิจัยพลังงานไฟฟ้าของญี่ปุ่น จะวางตลาดในชื่อ Toshiba 4S (Super Safe, Small, and Simple)
ด้วยอัตราการเติบโตของโครงสร้างไอทีในย่านเอเชียแปซิฟิกที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทาง IDG ได้สำรวจพบว่าการใช้พลังงานโดยศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิกนั้นกำลังเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 23 ต่อปี เทียบกับทั่วโลกที่เติบโตร้อยละ 16 ต่อปี
ด้วยการเติบโตในอัตรานี้ ศูนย์ข้อมูลในสหรัฐที่เคยกินพลังงานอยู่ถึงร้อยละ 40 ของศูนย์ข้อมูลทั่วโลก จะลดสัดส่วนลงเหลือร้อยละ 34 ภายในปี 2010 ขณะที่เอเชียแปซิฟิกนั้นจะกระโดดมาอยู่ที่ร้อยละ 16 เทียบกับร้อยละ 10 ในปี 2000
แผนการใช้พลังงานสะอาดอย่างน้อยร้อยละ 20 ภายในปี 2020 ของสหภาพยุโรปเริ่มเห็นภาพอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโครงการต่างๆ มีการเปิดตัวตามๆ กันมา ล่าสุดทางสหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษที่เราเรียกกัน) ก็ได้ออกมาแถลงการถึงแผนการใช้พลังงานลม จากการติดตั้งกังพันปั่นไฟฟ้ารอบเกาะ ด้วยจำนวนที่อาจจะมากถึง 7000 ชุดด้วยกัน
เนื่องจากสหราชอาณาจักรนั้นเป็นเกาะมีน้ำล้อมอยู่แล้ว การสร้างกังหันในทะเลซึ่งมีลมแรงและไม่มีสิ่งกีดขวางจึงทำได้โดยง่าย และมีพื้นที่ค่อนข้างมาก
ในประเด็นด้านความมั่นคงทางพลังงาน ที่กรณีที่ไม่มีลมในช่วงเวลาหนึ่งถึงสองวันซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ในการแถลงการถึงแผนการนี้ก็ได้เตรียมการขยายกำลังการผลิตจากด้านอื่นๆ รวมถึงนิวเคลียร์ไว้ควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน
รายงานการศึกษา เรื่อง "ปรากฏการเรือนกระจกและมลภาวะทางอากาศของไบโอดีเซลในประเทศออสเตเลีย" โดยสถาบัน CSIRO ประเทศออสเตรเลีย ได้ข้อสรุปที่ว่า การใช้ไบโอดีเซลมีส่วนช่วยลดมลภาวะในอากาศในส่วนของอุตสาหกรรมขนส่ง
จากรายงานฉบับนี้ พบว่าการใช้ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (คือไม่ผสมน้ำมันใดๆเลย) มีส่วนช่วยลดมลภาวะกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ และหากใช้ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม สามารถช่วยลดมลภาวะ 80 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากมลภาวะที่ลดลง การใช้ไบโอดีเซล ยังมีส่วนช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศ ซึ่งช่วยให้สุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นดีขึ้น
ช่วงนี้กระแสพลังงานทางเลือกกำลังมาแรง พลังงานหลายรูปแบบได้ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาให้เราใช้ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานจากไฮโดรเจน, พลังงานแสงอาทิตย์ และที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน นั่นก็คือ พลังงานจากชีวมวล
สองนักเคมี Yutaka Amao และ Yumi Takeuchi จากมหาวิทยาลัย Oita ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงขนิดใหม่ ซึ่งอาศัยพลังงานจากน้ำตาลกลูโคส โดยอาศัยกระบวนการเลียนแบบการสังเคราะห์แสงที่เกิดขึ้นในพืช โดยเมื่อเซลล์เชื้อเพลิงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ น้ำตาลกลูโคสก็จะทำปฏิกิริยาทางเคมี แล้วปล่อยไฮโดรเจนไอออนออกมา ซึ่งในการทดลอง แสดงให้เห็นว่า เซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้ สามารถให้ความต่างศักดิ์ของกระแสไฟฟ้าได้หลายร้อยมิลลิโวลต์
อีกหน่อยคงต้องซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่ติดรถซะแล้ว
กูเกิลเกาะกระแสพลังงานทดแทนที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงในช่วงหลัง ด้วยการเปิดตัวโครงการ RE<C หรือ Renewable energy is cheaper than coal. (พลังงานสะอาดถูกกว่าถ่านหิน) โครงการนี้เป็นการร่วมมือระหว่างกูเกิลเอง และบริษัทพันธมิตร ที่จะร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาดที่มีกำลังผลิต 1 กิกะวัตต์และมีต้นทุนต่ำกว่าพลังงานถ่านหิน
การร่วมมือนี้ไม่ใช่ไม่ได้หยุดแค่การประกาศพันธมิตรกับบริษัทพลังงานเท่านั้น แต่ทางกูเกิลยังได้เปิดแผนกวิจัยขึ้นมาโดยตรง และกำลังรับสมัครพนักงานในตำแหน่งต่างๆ อยู่แล้วในตอนนี้
หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ Maglev ที่เป็นเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อาศัยแม่เหล็กถาวรในการยกตัวรถให้ลอยอยู่ในอากาศและส่งกำลังขับเคลื่อน แต่ตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในทางกลับกันคือการใช้เทคโนโลยี Maglev นี้มาผลิตไฟฟ้าได้เปิดตัวในงาน Wind Power Asia 2008
บริษัท Maglev Wind Turbine จากรัฐอาริโซนาร์ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตกังหันลมในเทคโนโลยีดังกล่าว ได้อ้างถึงข้อดีหลายประการในการใช้งานเทคโนโลยี Maglev เช่นการลดการใช้งานตลับลูกปืนในข้อหมุนต่างๆ ทำให้ลดการสูญเสียพลังงานไปได้มาก และการสร้างกังหันขนาดใหญ่ทำให้ประหยัดต้นทุนต่อวัตต์ไปได้
ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกวันนี้คือราคาต่อวัตต์แพงมากจนกระทั่งหลายๆ ครั้งมีคนตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าจริงหรือ โดยนับแต่มีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้วนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำบนแผ่นเวเฟอร์ ที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก จนกระทั่งจุดคุ้มทุนด้านพลังงาน (ที่ใช้ในการผลิต) นั้นอยู่ที่สามปีจึงเริ่มคืนทุน ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นเซลล์แบบบางที่ฉาบอยู่บนแผ่นแก้ว โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1.7 ปีโดยประมาณ และค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงอีกทั้งการผลิตจำนวนมากยังทำได้ยาก
ถ้าพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เราก็ต้องคิดถึงความร้อนสูงมากที่ปล่อยออกมา เพราะฉะนั้นทำไมเราถึงไม่เอาความร้อนนี้มาทำน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคซะล่ะ?
นี่คือไอเดียใหม่ของ S.S. Verma และภาควิชาฟิสิกส์ของสถาบัน Sont Longowal ในประเทศอินเดีย พวกเขาคิดว่าถ้าหากสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่น้ำทะเลบริเวณที่ใกล้กับเมืองที่มีประชากรหนาแน่นแล้วนอกจากจะมีไฟฟ้าใช้ยังจะได้น้ำสะอาดใช้อีกด้วย
เรื่องง่ายๆ ที่เรารู้กันดีอยู่แล้วแต่ทำกันได้ไม่ค่อยจะสำเร็จนัก กลุ่ม Climate Savers Computing Initiative ซึ่งประกอบด้วยบริษัทไอทีชั้นนำในอุตสาหกรรม (เช่น กูเกิล อินเทล ไมโครซอฟท์ ฯลฯ)จำนวนมาก ได้ออกมาผลักดันแคมเปญการลดมลพิษและประหยัดพลังงานจากคอมพิวเตอร์
CSCI ใช้ตัวเลขนักศึกษาของสหรัฐเป็นฐานคำนวณ แบบย่อๆ ก็คือถ้านักศึกษาสหรัฐทั้งหมด 18 ล้านคนปิดคอมพิวเตอร์ หรือเข้าโหมด Sleep/Hibernate เมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดพลังงานได้ปีละ 2,300 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี คิดเป็นเงิน 206 ล้านเหรียญ หรือเงินไทยประมาณ 7 พันล้านบาท
หลายปีหลังมานี้บ้านเรามีการพูดถึงน้ำมันชีวภาพ (Biofuel) กันมาก นอกจากบ้านเราแล้วทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปก็ตื่นตัวในเรื่องนี้กันมากเช่นกัน แต่จากรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Leeds ระบุว่าหากเราใช้เทคโนโลยีในวันนี้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้จะกลับกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปยิ่งกว่าเดิม
งานวิจัยชี้ว่ากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันนั้นตลอดกระบวนการตั้งแต่การปลูกพืช การแปลงภาพให้กลายเป็นเชื่อเพลิง ไปจนถึงการใช้งานขั้นสุดท้ายนั้นจะให้ผลลัพธ์เป็นคาร์บอนจำนวนมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในปัจจุบันระหว่างสองถึงเก้าเท่าตัว
จากเหตุการณ์ไฟดับใน San Francisco เมื่ออาทิตย์ก่อน สงผลกระทบต่อดาต้าเซ็นเตอร์ชื่อ 365 Main โดยไม่คาดคิด เนื่องด้วยเครื่องปั่นไฟสำรองเจ้ากรรม ดันไม่ทำงานเอาดื้อๆ เนื่องจากปัญหาของเมมโมรี่ในส่วนตรวจจับและควบคุมการทำงานของเครื่องปั่นไฟ (ชื่อทางการคือ Detroit Diesel Electronic Controller หรือ DDEC) โดยจากรายงานสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นระบุว่าในขณะที่เกิดไฟดับมีเครื่องปั่นไฟยี่ห้อ Hitec จำนวน 10 เครื่องไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากปัญหาของเมมโมรี่ โดยมีความผิดพลาดของชุดคำสั่งที่ทำให้ไม่สามารถเริ่มการทำงานของเครื่องปั่นไฟได้เมื่อเกิดไฟดับ ความ
หลังจากที่เคยมี 2 หนุ่มอเมริกัน ดัดแปลงรถโตโยต้า Prius ให้สามารถติดปลั๊กชาร์ทไฟได้ คราวนี้บริษัทโตโยต้าได้เอาไอเดียนั้นมาลองทำกับรถตัวเองโดยใช้รุ่น Prius เหมือนกัน โดยจะเป็นรถรุ่นที่เป็นเครื่องยนต์ไฮบริจมีตัวปลั๊กแบบปลั๊กไฟบ้านไว้ชาร์ทไฟ ซึ่งระบบที่ใช้ไฟฟ้าจะใช้ไฟบ้านมาตรฐาน ชาร์ทเข้าไฟบ้านโดยตรง ซึ่งทำให้มีข้อเสียคือไม่สามารถวิ่งไปไกลว่า 13 กิโลเมตรต่อการชาร์ทหนึ่งครั้งได้ซึ่งหากเกินไปกว่านั้นรถจะตัดระบบการใช้ไฟฟ้า สลับไปใช้น้ำมันแทน ซึ่งการทดสอบจะมีขึ้นในญี่ปุ่นประเทศแรก ตามด้วยอเมริกาและยุโรปตามลำดับ
ช่วงหลักที่กระแสเรื่องภาวะโลกร้อนถูกจุดติดขึ้นมา เรามักจะเห็นโครงการพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมายเช่นฟาร์มกระแสลมที่ใช้กังหันขนาดใหญ่มาปั่นไฟ หรือพลังงานคลื่นทะแล ตลอดจนพลังงานจากเขื่อน
นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Jesse Ausubel จากมหาวิทยาลัย Rockefeller ได้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Nuclear Governance, Economy and Ecology ว่าการใช้พลังงานทดแทนเหล่านี้จะทำลายสิ่งแวดล้อมในที่สุดเนื่องจากการใช้พื้นที่จำนวนมหาศาล
นวัตกรรมเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยนักวิศวกร 3 คนจาก Wales ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ไปเป็นวัตถุดิบที่มีประโยชน์ เช่น ไบโอดีเซล, ก๊าซมีเทน หรือ ปุ๋ยหมัก
อุปกรณ์ไฮเทคนี้ ถูกต้องชื่อว่า Greenbox และออกแบบมาเพื่อติดตั้งในยานพาหนะ เมื่อยานพาหนะเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิดเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และไนตรัซออกไซด์ จะถูกเก็บลงไปใน Greenbox จนเต็ม เมื่อเต็มแล้ว ก๊าซเหล่านั้นจะถูกถ่ายไปยังถังหมักเพื่อทำกระบวนการต่อไปให้กลายเป็นเชื้อเพลิง ฟังดูซับซ้อน แต่เทคโนโลยีนี้จะช่วยการผลิตไบโอดีเซลอย่างรวดเร็ว
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกคิดขึ้นโดยไม่มีใครให้ทุน และนักคิดค้นทั้ง 3 คนยังคงรอคอยให้ภาครัฐหรือบริษัทเอกชนมางบสนับสนุนงานวิจัยต่อไป