นักวิจัย MIT พัฒนาโซลาร์เซลล์ที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มากกว่าค่าขอบเขตทางทฤษฎีที่ตั้งไว้ว่าจะไม่สามารถแปลงพลังงานได้เกิน 33.7% โดยทีเด็ดสำคัญที่ทำให้โซลาร์เซลล์แบบใหม่ทำงานได้ดีเหนือกว่าทฤษฎีที่เคยมีมา คือการพัฒนาชิ้นส่วนที่ดูดซับพลังงานทุกรูปแบบของแสงอาทิตย์เอาไว้แล้วปล่อยแสงออกมาให้เหมาะกับโซลาร์เซลล์มากที่สุด
Nissan เปิดตัวแบตเตอรี่ xStorage สำหรับระบบจัดเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัย (home energy storage system) กักเก็บไฟฟ้าเพื่อไว้ใช้จ่ายไฟฟ้าให้กับครัวเรือน หรือขายคืนให้กับระบบในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูงและมีราคาแพง
ในทางกลับกัน ระบบจะชาร์จไฟกลับในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าต่ำหรือไฟฟ้าต่อหน่วยมีราคาถูก และสามารถชาร์จไฟกลับโดยใช้แหล่งพลังงานอื่น เช่น พลังงานลมหรือเซลล์แสงอาทิตย์ภายในบ้านได้ สามารถควบคุมแหล่งพลังงานผ่านสมาร์ทโฟน
xStorage เป็นแบตเตอรี่จากค่ายรถยนต์อันดับที่ 3 โดยผลิตจากแบตเตอรี่ที่ใช้งานแล้วของรถยนต์ไฟฟ้า เช่น Nissan Leaf เพื่อลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ต่างจาก Powerwall ของ Tesla และแบตเตอรี่สำหรับที่พักอาศัยของ Mercedes ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ด้านพลังงานในเยอรมัน อัตราการผลิตพลังงานหมุนเวียนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ราคาพลังงานตกในช่วงเวลา 6 นาฬิกา ติดลบลงไป 125 ยูโร (ประมาณ 5,000 บาท)จนต้องจ่ายเงินสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนได้ 55 จิกะวัตถ์ จากที่มีการบริโภคพลังงานทั้งหมด 63 จิกะวัตถ์ (ตัวเลขรวมของพลังงานทั้งหมดทั้งหมุนเวียนและพลังงานปกติ) หรือสามารถผลิตได้ 87% ของพลังงานทั้งหมด เมื่อกำลังผลิตมากราคาจึงตกลงมาอยู่ในระดับติดลบช่วงสั้นๆ
ในบางพื้นที่น้ำสะอาด ไฟฟ้า และอินเทอร์เน็ตยังเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก Watly สตาร์ทอัพจากสเปนหวังจะแก้ปัญหานี้พร้อมๆ กันด้วยการระดมทุนโครงการ Watly: The biggest solar-power in the world บน Indiegogo
Watly เป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำสะอาด และปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ให้ชาวบ้านมาชาร์จได้ บำบัดน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วย 4G ดาวเทียม และ Radio Link
เมื่อเช้านี้ ประเทศแถบเอเชียมีปรากฏการณ์สุริยุปราคา (บางประเทศก็มีเต็มดวง เช่น อินโดนีเซีย) ข่าวที่น่าสนใจคือ Panasonic ถ่ายทอดสดสุริยุปราคาผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ "พลังงานแสงอาทิตย์" ล้วนๆ
รูปแบบการถ่ายทอดสดของ Panasonic คือตั้งกล้อง Lumix GH4 ต่อเลนส์กล้องโทรทรรศน์ ที่ประเทศอินโดนีเซีย แล้วสตรีมวิดีโอความละเอียด 4K ขึ้น YouTube/UStream/Periscope ส่วนพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดมาจากพลังแสงอาทิตย์
ระบบจ่ายพลังงานใช้แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 12 แผง แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เก็บไว้ในแบตเตอรี่ขนาด 17.2kWh
บริษัทด้านระบบไฟฟ้าและพลังงาน Schneider Electric สาขาประเทศไทย แถลงยุทธศาสตร์ประจำปี 2559 เดินตามยุทธศาสตร์ของบริษัทแม่ ที่ปรับตัวตามพฤติกรรมการใช้พลังงานของโลกที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก
Schneider ระบุว่ามีเทร็นด์ใหญ่ 3 ประการ คือ การขยายตัวของเมือง (urbanization) การเติบโตของดิจิทัล (digitization) และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม (industrialization) การเติบโตเหล่านี้ส่งผลให้ระบบพลังงานซับซ้อนขึ้นมาก ในแง่การจัดการจึงต้องนำซอฟต์แวร์มาช่วยบริหารจัดการเพิ่มขึ้นอีกมาก เช่น การบริหารจัดการจากระยะไกล นำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยควบคุม และวิเคราะห์ข้อมูลให้แม่นยำมากขึ้น
ยิ่งความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเท่าไร สิ่งที่โตตามมาคือบรรดาศูนย์ข้อมูลสำหรับให้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตก็ยิ่งโตตามขึ้นไปทุกวัน และแม้ว่าค่าซ่อมบำรุงจะไม่สูงมาก แต่ค่าไฟสำหรับเปิดแอร์ฯ ดูแลเหล่าคอมพิวเตอร์พันๆ กลับกลายเป็นต้นทุนราคาแพงไปแทน ล่าสุดโครงการวิจัยของไมโครซอฟท์หาทางแก้ปัญหาค่าไฟด้วยการจับศูนย์ข้อมูลลงไปทำงานใต้มหาสมุทรเสียเลย
บิล เกตส์ นำทีมมหาเศรษฐีและนักลงทุนทั่วโลก ตั้งกลุ่ม Breakthrough Energy Coalition เพื่อลงทุนด้านพลังงานสะอาด (clean energy) เป้าหมายของกลุ่มมีทั้งการผลักดันเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และหากำไรจากการลงทุนเหล่านี้ไปพร้อมกัน
สมาชิกที่ร่วมลงทุนกับ Breakthrough Energy Coalition มีทั้ง Jack Ma (Alibaba), Jeff Bezos (Amazon), Mark Zuckerberg, Richard Branson (Virgin), Masayoshi Son (SoftBank), George Soros, Reid Hoffman (LinkedIn), Marc Benioff (Salesforce), Meg Whitman (HP) เป็นต้น (รายชื่อทั้งหมด)
แม้ว่ากระแสการใช้งานพลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์จะได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงหลัง แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ทำให้ต้องคิดเผื่อถึงปัญหาจุกจิกหลายเรื่อง จวบจนความคุ้มค่าในการติดตั้ง ซึ่งตอนนี้กูเกิลออกมามีส่วนร่วมด้วยการเปิดตัวเครื่องมือใหม่ในชื่อ Project Sunroof
Project Sunroof เป็นบริการสำหรับคำนวณรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาที่พักอาศัย ด้วยการใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากดาวเทียมของ Google Maps สำหรับวิเคราะห์ปริมาณแสงแดดที่จะตกกระทบลงบนหลังคา ระยะเวลาแสงแดดที่จะตกลงบนแผงโซลาร์เซลล์ต่อปี และสำคัญที่สุดคือช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการติดตั้งได้อีกด้วย
กรีนพีซออกรายงานบริการศูนย์ข้อมูลของบริษัทไอที โดยวัดจากการใช้พลังงานหมุนเวียน, การสนับสนุนพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ประสิทธิภาพพลังงาน, และความโปร่งใสต่อนโยบายพลังงาน เมื่อดูดัชนีตามรายงานนี้แอปเปิลได้เต็ม 100% และผลประเมินเกรด A ในทุกหมวด
รายงานระบุว่าแอปเปิลโปร่งใสในด้านพลังงานเป็นอย่างมาก บริษัทประกาศแนวทางการใช้พลังงานหมุนเวียนมาตั้งแต่ปี 2015 เผยแพร่รายงานการใช้พลังงานและความคืบหน้าที่จะใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดในปี 2014 ศูนย์ข้อมูลใหม่ๆ มีการนำความร้อนกลับมาใช้ซ้ำเพื่อลดความสูญเสีย พร้อมกับลงทุนในบริษัทพลังงานหมุนเวียน
นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology, University of California จากสหรัฐอเมริกา และ Chinese Academy of Sciences, Chongqing University จากจีน ได้ร่วมกันคิดค้นสร้างต้นแบบแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบใหม่ ที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งพลังงานภายนอกมาเลี้ยงตัวมันเอง และยังมีระบบรู้จำแยกแยะผู้ใช้งานตัวมันได้โดยอ้างอิงจากรูปแบบการพิมพ์ของแต่ละคนที่จะแตกต่างกันไป
XOO Belt คือเข็มขัดที่จะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานสมาร์ทโฟนในแต่ละวันได้ โดยการจ่ายไฟออกจากแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในตัวเข็มขัดไปชาร์จไฟให้แก่สมาร์ทโฟน
XOO Belt มีแบตเตอรี่โพลิเมอร์ลิเทียมเซรามิกที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ฝังอยู่ภายใน ไม่ใช่แค่ในส่วนหัวเข็มขัด แต่แม้กระทั่งภายในเส้นเข็มขัดที่ใช้สำหรับโอบรัดร่างกายผู้ใช้งานโดยตรงก็มีแบตเตอรี่ซ่อนอยู่ด้านในด้วย ความจุของแบตเตอรี่ตรงส่วนหัวเข็มขัดอยู่ที่ 800 mAh ส่วนภายในสายเข็มขัดซึ่งมีแบตเตอรี่ยืดหยุ่นได้ถูกยึดติดซ้อนกันไว้ 6 ชั้นนั้นมีความจุ 1,300 mAh นั่นหมายความว่าในการใช้งานจริง XOO Belt จะเป็นแบตเตอรี่สำรองขนาด 2,100 mAh ที่จะช่วยเติมไฟให้แก่สมาร์ทโฟน
บริษัท Cloud & Heat ผู้ให้บริการพื้นที่กลุ่มเมฆจากเยอรมนีปิ๊งไอเดียแก้ปัญหาของคน 2 กลุ่มในคราวเดียว ทั้งปัญหาของผู้คนที่ต้องการอากาศอุ่นๆ ภายในบ้านช่วงฤดูหนาว และปัญหาของผู้ดูแลระบบที่ต้องการอากาศเย็นๆ เลี้ยงการทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ด้วยการออกบริการติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้แก่บ้านพักอาศัยที่ต้องการเครื่องทำความร้อนภายในบ้าน
Samsung ยื่นจดสิทธิบัตรระบบการสร้างพลังงานไฟฟ้าจ่ายกลับสู่แบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟน โดยพลังงานดังกล่าวจะได้มาจากการกดสัมผัสหน้าจอด้วยปลายนิ้วของผู้ใช้นั่นเอง
Google ทำข้อตกลงร่วมลงทุนในฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แห่งใหม่ที่ชื่อ Regulus คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 145 ล้านดอลลาร์
ฟาร์มผลิตไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Kern County รัฐ California ของสหรัฐอเมริกา การก่อสร้างมีขึ้นบนพื้นที่โล่งซึ่งผ่านการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติมาแล้ว ในฟาร์มจะมีแผ่นโซลาร์เซลล์ 248,000 ชิ้น กินพื้นที่รวม 737 เอเคอร์ (ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร) เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานจริง กำลังผลิตไฟฟ้าของ Regulus จะอยู่ที่ 82MW หรือเทียบเท่ากับกำลังงานไฟฟ้าสำหรับเลี้ยงบ้านเรือนราว 10,000 หลัง
เมื่อนับมาจนถึงโครงการ Regulus ที่ Google ได้ร่วมลงทุนนี้แล้ว เท่ากับว่า Google ได้สนับสนุนลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดมากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์แล้ว
ทางการของกรุง Seoul ประเทศเกาหลีใต้ ได้ประกาศโครงการสร้างจุดชาร์จไฟให้แก่โทรศัพท์และอุปกรณ์พกพาอื่นให้ใช้งานได้สาธารณะ โดยความสำคัญของโครงการดังกล่าว เป็นการดึงเอาพลังงานจลน์ของกระแสน้ำไหลมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อชาร์จไฟให้แก่อุปกรณ์
โครงการนี้จะเริ่มต้นด้วยการทำจุดชาร์จไฟให้ใช้งานก่อน 5 จุด บริเวณริมคลอง Cheonggyecheon (เป็นคลองขุดใน Seoul) โดยจะมีการติดตั้งใบกังหันในคลองเพื่อรับพลังงานจากกระแสน้ำไหลมาหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทั้งนี้คาดว่าในการใช้งานจริง จุดจ่ายไฟจะสามารถชาร์จไฟให้อุปกรณ์จนเต็มได้ภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง โดยหากผลตอบรับของโครงการนี้ออกมาดี จะมีการขยายผลเพิ่มจุดชาร์จไฟในสถานที่อื่นๆ ด้วย
งานวิจัยใหม่ของ MIT คือการประยุกต์ใช้ปรากฏการณ์การควบแน่นของไอน้ำในอากาศ มาปรับเปลี่ยนผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
งานวิจัยนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่ทีมวิจัยซึ่งนำโดยนักวิจัยปริญญาเอก Nenad Miljkovic, รองศาสตราจารย์วิศวกรรมเครื่องกล Evelyn Wang และทีมงานอีก 2 คน กำลังศึกษาและปรับปรุงวัสดุที่มีพื้นผิวซึ่งสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี (เพื่อเอาไปใช้กับตัวเร่งการควบแน่นในกระบวนการอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่นในโรงไฟฟ้า) โดยใช้แผ่นทองแดงที่ผ่านกระบวนการทำผิวแบบพิเศษเพื่อลดความสามารถในการเกาะผิวของหยดน้ำ มาทำเป็นชุดแผ่นระบายความร้อน ซึ่งแผ่นทองแดงพิเศษดังกล่าวถูกวางชิดกัน (คล้ายกับแผ่นครีบระบายความร้อนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรทั้งหลาย)
เราเคยเห็นข่าวเมือง Chicago ก็มีโครงการเสาไฟไฮเทคที่สามารถตรวจวัดสภาพอากาศและจำนวนคนเดินผ่าน คราวนี้อีกเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่าง Boston ก็มีสิ่งของสาธารณประโยชน์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีน่าสนใจไปอีกแบบ เมื่อทางเมืองได้ทำการติดตั้งม้านั่งกลางแจ้งที่มีแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งอยู่ในตัว ซึ่งคนที่มานั่งสามารถใช้พลังงานดังกล่าวชาร์จไฟให้แก่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ฟรี
ม้านั่งสุดเจ๋งนี้มีชื่อเรียกว่า "Soofas" มีแผงโซลาร์เซลล์รับแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยผู้ที่มานั่งสามารถใช้สายชาร์จเสียบเข้ากับช่อง USB เพื่อจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของตนเอง โดยในอนาคตจะมีการพัฒนา Soofas ให้สามารถชาร์จไฟแบบไร้สายได้ด้วย
AMD ออกมาประกาศแผนการระยะยาว "25x20" ว่าจะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน (energy efficiency) ให้ดีขึ้น 25 เท่าตัวภายในปี 2020 ให้จงได้
AMD บอกว่าโลกยุคปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไอทีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของโลกในปี 2020 จะถูกใช้ไปกับอุปกรณ์ไอทีถึง 14% ทำให้วงการไอทีต้องกลับมาทบทวนเรื่องพลังงานใหม่ และถึงแม้ว่าอุปกรณ์ไอทีจะมีอัตราการประหยัดพลังงานดีขึ้นเรื่อยๆ (สถิติของ AMD APU เองระหว่างปี 2008-2014 คือดีขึ้น 10 เท่า) แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่พัฒนาเร็วไม่พอกับปริมาณการใช้งาน
สวัสดีครับ วันนี้มีเพื่อนผมคนนึงตามให้มาดูเรื่องใน blognone มีเนื้อหาหลักๆ คือ Google จัดประกวด Little Box Challenge ซึ่งเป็นโครงการประกวดการออกแบบ power inverter เพื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ solar cell โดยมีเงินรางวัล 1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผมคิดว่าอาจจะมีผู้สนใจอยู่บ้าง เลยต้องการเขียนเจาะรายละเอียดในมุมมองของผม เพื่อช่วย get started ให้กับมือใหม่ (ซึ่งอาจจะมีความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจ) และดึงความคิดเห็นจากมือเก๋า (ที่มีประสบการณ์) แล้วมาดูกันครับว่าเราจะได้ข้อสรุปอะไรหรือเปล่า
Google ประกาศข่าวสนับสนุนเงินรางวัลจำนวน 1 ล้านดอลลาร์ สำหรับงานประกวดที่ชื่อ Little Box Challenge ซึ่งเป็นงานประกวดการออกแบบอุปกรณ์แปลงไฟระหว่างไฟฟ้ากระแสสลับกับกระแสตรง
Google ประกาศข่าวการลงทุนด้านพลังงานอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ไม่ใช่การลงทุนในฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมหรือแสดงอาทิตย์แต่อย่างใด หากแต่เป็นการร่วมลงทุนปล่อยเช่าแผงโซลาร์เซลล์
การลงทุนนี้มีมูลค่าราว 250 ล้านดอลลาร์ โดยส่วนหนึ่งมาจากเงินสดของ Google เอง 100 ล้านดอลลาร์ ส่วนอีก 150 ล้านดอลลาร์มาจาก SunPower ผู้บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ที่เข้าร่วมทุนกับ Google ในครั้งนี้ โดย Google จะซื้อแผงโซลาร์เซลล์มาเพื่อนำไปให้เช่าติดตั้งใช้งานตามบ้านพักอาศัย โดย Google รับปากว่าราคาค่าเช่าแผงโซลาร์เซลล์นี้จะถูกมาก ถึงขนาดถูกกว่าค่าไฟตามบ้านทั่วไปด้วย
Trinity คือโครงการพัฒนากังหันปั่นไฟแบบพกพา ที่ผู้ใช้สามารถนำมันไปต่อพ่วงเพื่อชาร์จไฟให้แก่แบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่ไหนก็ได้ที่มีลม (หรือต่อให้ไม่มีลมภายนอก ผู้ใช้ก็ยังนั่งเป่าลมเองเพื่อชาร์จไฟได้) โดยโครงการนี้กำลังเปิดรับเงินทุนสนับสนุนผ่านทางเว็บ Kickstarter
Sony เปิดตัวอาหารเสริมพลังงานภายใต้ชื่อ Sony Power Food ซึ่งมีทั้งเค้ก, ซีเรียล และโปรตีนแท่ง ซึ่งนอกจากจะให้พลังงานแก่ร่างกายของผู้ที่กินมันแล้ว มันยังสามารถให้พลังงานแก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทนแบตเตอรี่ได้ด้วย
Google เพิ่งประกาศข่าวการลงทุนในฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชื่อ Panhandle 2 ซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง Amarillo ในรัฐ Texas ด้วยเงินมูลค่า 75 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นการลงทุนในธุรกิจพลังงานทางเลือกแห่งที่ 15 ของ Google
เมื่อ Panhandle 2 เริ่มดำเนินการ มันจะสามารถผลิตจ่ายไฟฟ้าด้วยกำลังงาน 182 เมกะวัตต์ โดยอาศัยกังหันผลิตไฟฟ้าของ Siemens ขนาด 2.3 เมกะวัตต์ จำนวน 79 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานของบ้านพักอาศัยราว 56,000 หลังคาเรือน ทั้งนี้กำหนดการแล้วเสร็จของงานก่อสร้างของโครงการนี้คือช่วงปลายปี 2014