OceanEnergy ผู้ผลิตเครื่องปั่นไฟพลังคลื่นจากประเทศไอร์แลนด์ ได้ลงนามทำสัญญากับบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และสเปน เพื่อร่วมมือกันในโครงการ WEDUSEA ซึ่งจะมีการทดสอบเครื่องปั่นไฟขนาด 1 MW โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปเป็นเงิน 19.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วย
เครื่องปั่นไฟที่ว่านี้เป็นเครื่องรุ่น OE35 ของ Ocean Energy มีกำลังการผลิตไฟ 1 MW ซึ่งในตอนนี้จะถือเป็นเครื่องปั่นไฟพลังคลื่นแบบลอยน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่จะถูกนำมาทดสอบใช้งาน อย่างไรก็ตาม Ocean Energy เองยังมีการออกแบบเครื่องรุ่นใหญ่กว่านี้คือ OE50 ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟ 2 MW ด้วย
ท่ามกลางวิกฤติต้นทุนพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อนานาประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปขณะนี้ หนึ่งในโครงการที่กำลังดำเนินอยู่อาจช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระยะยาวคือ GREGY Project ซึ่งเป็นโครงการติดตั้งสายส่งไฟฟ้าแรงสูงข้ามทวีปจากทวีปแอฟริกาสู่ยุโรป
GREGY Project เป็นโครงการวางสายส่งไฟฟ้าใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นระยะทาง 1,373 กิโลเมตร เพื่อส่งไฟฟ้าจากเมือง Sidi Barrani ประเทศอียิปต์มายัง Attica ในประเทศกรีซ (ชื่อโครงการก็เป็นการผสมตัวอักษรจากชื่อของ 2 ประเทศ) โดยสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 3,000 MW โดยพลังงานไฟฟ้านี้จะมาจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั้งฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานลมและฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ประกาศข่าวโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่น ตั้งเป้าเริ่มเดินระบบให้ได้ภายในปี 2040 โดยหากสำเร็จตามแผนโครงการนี้จะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่นเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก
ในปัจจุบันนี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผลิตไฟจ่ายเข้าสู่ระบบในหลายประเทศทั่วโลกนั้นล้วนแล้วแต่เป็นระบบนิวเคลียร์แบบฟิชชั่น ซึ่งได้พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีกระบวนการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุที่ทำปฏิกิริยา ส่วนปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่นซึ่งได้พลังงานจากการหลอมรวมของนิวเคลียสในอะตอมของธาตุนั้นยังไม่เคยมีการนำมาใช้งานเพื่อการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ยังคงมีแต่การสร้างระบบเพื่อใช้ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
ทางการจีนเตรียมเปิดใช้งานระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอากาศอัดที่มีขนาดใหญ๋ที่สุดในโลกด้วยความจุพลังงาน 400 MWh มีกำลังการจ่ายไฟ 100 Mw
ระบบกักเก็บพลังงานแบบอากาศอัดเรียกกันโดยย่อว่า CAES (ย่อมาจาก Compressed-Air Energy Storage) หมายถึงระบบที่นำเอาพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินของระบบ มาเดินเครื่องอัดอากาศเพื่อสูบอากาศลงไปกักเก็บในโพรงใต้ดินที่มีลักษณะทึบสามารถกักเก็บอากาศไว้ได้ (ส่วนใหญ่นิยมใช้โพรงเก่าจากการทำเหมืองเกลือ) จนภายในโพรงดังกล่าวเต็มไปด้วยอากาศที่มีแรงดันสูง โดยในระหว่างการอัดอากาศเพื่อเพิ่มความดันนั้นจะมีการปลดปล่อยความร้อนออกมาทำให้ในท้ายสุดแล้วอากาศที่ถูกอัดเก็บไว้จะมีอุณหภูมิต่ำลง กระบวนการนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการทำงานใน "โหมดอัดอากาศ"
iOS 16 เปิดให้ผู้ใช้ iPhone ได้อัพเดตกันไปแล้ว โดยฟีเจอร์บางอย่างเช่น iCloud Shared Photo Library หรือ คลังรูปภาพ iCloud ที่แชร์ ยังไม่เปิดให้ใช้งาน แต่ขณะเดียวกัน แอปเปิลก็บอกใบ้ถึงฟีเจอร์ใหม่ที่ไม่เคยพูดถึงมาก่อนอีกอย่างด้วย
คุณสมบัติใหม่ที่ว่าคือ Clean Energy Charging หรือการชาร์จด้วยพลังงานสะอาด ซึ่งแอปเปิลยังไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก แต่บอกว่ามีเป้าหมายในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ iPhone ด้วยการปรับเวลาขณะชาร์จให้เหมาะกับช่วงเวลา โดยเน้นโหลดมากขึ้นถ้าระบบไฟฟ้าตอนนั้นใช้แหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งแอปเปิลบอกว่ามีผลเฉพาะผู้ใช้งานในอเมริกาเท่านั้น
ไม่กี่วันที่ผ่านมาลูกค้าราว 22,000 หลังคาเรือนของบริษัทการไฟฟ้าภาคเอกชน Xcel Energy ใน Colorado ต้องพากันเหงื่อแตกเพราะตัวปรับอุณหภูมิของระบบปรับอากาศในบ้านโดนสั่งล็อกจากทางไกลไม่ให้ปรับใช้งานได้ พร้อมข้อความแจ้งจาก Xcel Energy ว่าสั่งล็อกเพราะ "ภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน"
ข้อความแจ้งเตือนที่ลูกค้า Xcel Energy ได้รับมีดังนี้
เนื่องจากภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบต่อเครือข่ายระบบไฟฟ้า, ตัวปรับอุณหภูมิของคุณจึงถูกปรับค่าในระหว่าง 8.00 - 20.00 น. เนื่องจากคุณได้เข้าร่วมในโปรแกรม Community Energy Savings
เยอรมนีสั่งจำกัดเวลาเปิดป้ายโฆษณาดิจิทัลหลังต้นทุนค่าพลังงานในประเทศกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ ป้ายโฆษณาดิจิทัลทั้งหมดจะเปิดไฟได้เพียงวันละ 6 ชั่วโมง จาก 4 โมงเย็นถึง 4 ทุ่มเท่านั้น
ข้อบังคับนี้ยกเว้นให้กับป้ายโฆษณาที่ทำหน้าที่อย่างอื่นด้วย เช่น ป้ายรถเมลอาจจะบอกข้อมูลรถเมลที่กำลังเข้าป้ายสลับกับการแสดงโฆษณา
กลุ่ม SK ของเกาหลีใต้ประกาศลงทุนในบริษัท TerraPower ผู้พัฒนาโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ก่อตั้งโดย บิลล์ เกตส์ โดยทาง SK ลงทุนรอบนี้ 250 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับตัวบิลล์ เกตส์ เองและนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ รวมมูลค่าการระดมทุน 750 ล้านดอลลาร์
TerraPower พยายามพัฒนาโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กและติดตั้งเป็นโมดูล (Small Modular Reactors - SMR) ทำให้ต้นทุนการดูแลรักษาต่ำ ใช้ชื่อว่า Natrium เป็นเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ที่ส่งความร้อนออกมาภายนอกด้วยเกลือเหลว (molten salt) คาดว่าแต่ละชุดจะผลิตไฟฟ้าได้ 345 เมกกะวัตต์ และเร่งได้ถึง 500 เมกกะวัตต์ในช่วงต้องการพลังงานสูง
รัฐบาลเยอรมนีออกแถลงการณ์ว่าในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ นาย Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีแคนาดาและนาย Olaf Scholz นายกรัฐมนตรีเยอรมนีจะลงนามในโปรเจ็ค โรงงานผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียจากพลังงานลม โดยจะสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียเพื่อการส่งออกขึ้นในเมือง Stephenville รัฐ Newfoundland and Labrador ที่สำคัญคือโรงงานจะใช้พลังงานลมในการผลิตไฮโดรเจนแทนก๊าซธรรมชาติซึ่งมีข้อดีคือจะไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
บริษัท World Energy GH2 ซึ่งอยู่เบื้องหลังโครงการนี้ระบุว่าจะสร้างกังหันลมจำนวน 164 ตัวที่ท่าเรือน้ำลึกริมชายฝั่งเมือง Stephenville ในมลรัฐ Newfoundland and Labrador เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน และมีแผนจะขยายโครงการให้ใหญ่ขึ้นอีก 3 เท่าในอนาคต
เมื่อ 2 ปีก่อน Microsoft ได้ทดสอบระบบไฟสำรองพลังเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 250 กิโลวัตต์ และประสบความสำเร็จสามารถจ่ายไฟได้ต่อเนื่องนาน 48 ชั่วโมง ล่าสุดพวกเขาได้ทดสอบระบบเซลล์เชื้อเพลิงขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 3 เมกะวัตต์ แล้วเป็นที่เรียบร้อย และเตรียมพร้อมที่จะนำระบบเซลล์เชื้อเพลิงนี้ไปใช้งานจริงแทนเครื่องปั่นไฟดีเซลเพื่อใช้เป็นระบบไฟสำรองให้กับศูนย์ข้อมูล
เซลล์เชื้อเพลิงที่ Microsoft ทดสอบในครั้งนี้เป็นแบบ proton exchange membrane (PEM) ผลิตโดยบริษัท Plug โดยทำการทดสอบกันบนลานกว้างในพื้นที่สำนักงานของ Plug ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Latham ใน New York
บริษัท Radiant ซึ่งบริหารงานโดยอดีตพนักงาน SpaceX ได้เปิดตัวโครงการ Kaleidos เตาปฏิกรณ์ปรมาณูขนาดเล็กแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานผลิตไฟฟ้า
Kaleidos เป็นชุดปั่นไฟที่ประกอบไปด้วยเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบฟิสชั่นสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าด้วยกำลัง 1.2 เมกะวัตต์ นานต่อเนื่อง 8 ปี มันถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนการใช้งานเครื่องปั่นไฟแบบเครื่องยนต์ดีเซล ผู้ใช้สามารถเดินเครื่องเพื่อเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังการติดตั้ง โดยทาง Radiant ระบุว่า Kaleidos สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเพื่อการทหาร, ใช้เพื่อการบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งใช้งานในพื้นที่ทุรกันดารต่างๆ
กรรมการกำกับนิวเคลียร์สหรัฐฯ (U.S. Nuclear Regulatory Commission - NRC) ประกาศอนุมัติให้ใช้งานเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กของบริษัท NuScale ได้ หลังจากบริษัทพยายามขออนุญาตมาหลายปี โดยเตาปฎิกรณ์เหล่านี้ผลิตไฟฟ้าเพียงเตาละ 50 เมกกะวัตต์ (ตามสเปคได้ถึง 77 เมกกะวัตต์) ฟีเจอร์สำคัญคือมันสามารถหยุดทำงานได้โดยไม่ต้องการระบบหล่อเย็นทำงานขณะปิดการทำงาน
ในการติดตั้งจริง NuScale จะติดตั้งเตาปฎิกรณ์ทีละ 12 ชุด ทำให้โรงงานไฟฟ้าแต่ละแห่งผลิตไฟฟ้าได้ 600 เมกกะวัตต์ บริษัทพยายามชูประเด็นว่าเนื่องจากแต่ละโมดูลมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ทำให้การก่อสร้างจริงจะมีต้นทุนต่ำกว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเดิมๆ
State Grid Xinjiang Electric Power Company หน่วยงานการไฟฟ้าที่รับผิดชอบระบบจ่ายไฟในเขต Xinjiang ได้นำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการจ่ายไฟคืนให้แก่ระบบเมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ ช่วยลดเวลาการทำงานจากหลายชั่วโมงลงเหลือเพียงแค่ 3 วินาที
ทางบริษัทการไฟฟ้าของ Xinjiang ได้นำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในระบบการจ่ายไฟให้แก่ย่าน Qitailu ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยของผู้คนราว 200 หลังคาเรือน ตั้งอยู่ในเมือง Urumqi ของมณฑล Xinjiang โดยก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองใช้งานมาแล้ว 1 เดือน
Khashayar Farmanbar รัฐมนตรีพลังงานของสวีเดน ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมจำกัดการใช้พลังงานของเหมืองขุดคริปโตในประเทศ โดยเขาบอกว่าพลังงานเหล่านี้เอาไปให้โรงงานเหล็กยังมีประโยชน์มากกว่า "เราจำเป็นต้องเอาพลังงานไปใช้ในสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าบิตคอยน์"
สวีเดนเป็นหนึ่งใน Top 3 ประเทศยอดนิยมของยุโรปสำหรับการขุดเหมืองคริปโต (อีกสองประเทศคือเยอรมนีและไอร์แลนด์) ด้วยเหตุผลว่าค่าไฟฟ้ามีราคาถูก จากพลังงานสะอาดที่ผลิตได้ในประเทศ ตัวอย่างบริษัทเหมืองรายใหญ่ในสวีเดนได้แก่ Hive Blockchain Technologies Ltd. จากแคนาดา และ Genesis Mining Ltd. จากฮ่องกง
Cloudflare รายงานถึงการทดสอบเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียู Ampere ที่เป็นสถาปัตยกรรม Arm และพบว่าประสิทธิภาพต่อพลังงานดีกว่าเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล x86 อย่างชัดเจน
ทางบริษัทเพิ่งทดสอบในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยพบว่าเซิร์ฟเวอร์ใช้ประมวลผลการเรียกเว็บ (internet request) ต่อพลังงานได้มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ Gen X ของ Cloudflare เองถึง 57% และแม้แต่ซีพียู Milan ที่ Cloudflare กำลังนำมาใช้งานก็ยังทำได้ดีกว่าเซิร์ฟเวอร์ Gen X เพียง 39% หากซอฟต์แวร์ออปติไมซ์สำหรับสถาปัตยกรรม Arm มากขึ้นก็น่าจะทำประสิทธิภาพได้ดีกว่านี้เสียอีก
ทาง Cloudflare ระบว่าผู้ผลิตซีพียู x86 อย่าง AMD และ Intel ควรหันมาคำนึงถึงประสิทธิภาพต่อพลังงานให้มากขึ้น
ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ GitHub ในเครือ และบริษัทไอทีอีก 2 แห่งคือ Accenture กับ ThoughtWorks ประกาศตั้งมูลนิธิ Green Software Foundation มาแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมไอที เช่น ปัญหาศูนย์ข้อมูลใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ จนคิดเป็นสัดส่วน 1% ของพลังงานโลกแล้ว และตัวเลขจะมากขึ้นเป็นระดับ 6-8% ในอนาคต
โครงการ Green Software Foundation จะอยู่ภายใต้บริษัทลูก Joint Development Foundation Projects, LLC ของมูลนิธิ Linux Foundation อีกทึหนึ่ง
Green Software Foundation จะทำหน้าที่ออกมาตรฐานและแนวทางด้านพลังงาน ด้านการปล่อยคาร์บอน รวมถึงสนับสนุนการวิจัยในสายงานนี้ร่วมกับพาร์ทเนอร์และสถาบันการศึกษาด้วย
Gavin Newsom ผู้ว่ารัฐแคลิฟอร์เนียเสนองบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในรัฐ มูลค่ากว่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ เป็นส่วนหนึ่งของ California Comeback Plan แพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1 แสนล้าน
รัฐบาล โจ ไบเดน ออกคำสั่งบริหารลุยโครงการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากลม ติดตั้งกังหันลมนอกขายฝั่ง ตั้งเป้าสร้างพลังงานไฟฟ้าให้ได้ 30,000 เมกะวัตต์ทั่วประเทศภายในปี 2030 คาดว่าจะสามารถสร้างพลังงานเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้บ้าน 10 ล้านหลัง หลีกเลี่ยงการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 78 ล้านเมตริกตันสู่ชั้นบรรยากาศ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังประเมินว่าจะช่วยสร้างงาน 44,000 ตำแหน่งในฟาร์มกังหันลมและอีก 33,000 ตำแหน่งในชุมชนที่ร่วมสนับสนุนโครงการ
วันนี้การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ประกาศค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority ที่ราคา 2.6369 บาทต่อหน่วย (kWh) สูงขึ้นจากค่าไฟบ้านอัตราต่ำสุดเล็กน้อย โดยยังต้องรวมค่า Ft ที่ตอนนี้ติดลบ 0.1532 บาทต่อหน่วย (ปรับทุก 4 เดือน)
ค่าไฟบ้านของการไฟฟ้านครหลวง คิดราคา 15 หน่วยแรกที่ 2.3488 บาทต่อหน่วย สำหรับบ้านที่ใช้พลังงานไม่เกินเดือนละ 150 หน่วย และขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 4.4217 บาทต่อหน่วย ราคาที่การไฟฟ้ากำหนดสำหรับการเติมรถนี้จึงนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างถูก
Steve Wozniak ผู้ร่วมก่อตั้งแอปเปิล เปิดตัวบริษัทใหม่ชื่อ Efforce เป็นตลาดซื้อขาย "การประหยัดพลังงาน" โดยใช้บล็อคเชน/เหรียญคริปโต (energy saving tokenization) โดยเขามีสถานะเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง (co-founder)
Efforce ก่อตั้งโดยทีมงานจากบริษัทด้านพลังงานชื่อ AitherCO2 ที่ทำเรื่องการช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ประหยัดพลังงานมากขึ้น และมองเห็นโอกาสที่ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตสูง จึงต้องการขยายตลาดนี้ให้กว้างขึ้น โดยเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาสนับสนุนโครงการประหยัดพลังงานต่างๆ (เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟ การติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปรับปรุงระบบทำความเย็น) เพื่อให้โครงการเหล่านี้เกิดได้เร็วขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น crowdfunding ด้วยการจ่ายเป็นคริปโต
ไมโครซอฟท์ประกาศผลการทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงในศูนย์ข้อมูลโดยทีมงานทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงของบริษัท Power Innvations ที่สามารถจ่ายไฟ 250 กิโลวัตต์ และจ่ายไฟต่อเนื่อง 48 ชั่วโมงได้สำเร็จและผ่านการทดสอบเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แสดงความพร้อมที่จะนำเซลล์เชื้อเพลิงไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลจริง
Panasonic กับ Tesla เป็นพาร์ทเนอร์กันมายาวนานในหลายด้าน อันที่หลายคนน่าจะทราบคือการที่ Panasonic ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ Tesla โดยร่วมลงทุนในโรงงาน Gigafactory 1 ที่รัฐ Nevada ด้วย
นอกจากนี้เมื่อปี 2016 ทั้งสองบริษัทยังได้มีข้อตกลงร่วมกันผลิตแผงโซลาร์ ในลักษณะที่ Panasonic เข้าไปดำเนินงานในโรงงาน Gigafactory 2 ของ Tesla ที่เมือง Buffalo รัฐ New York โดย Panasonic จ้างงานเองจำนวนหนึ่งรวมถึงช่วยออกค่าเครื่องจักรด้วย
ล่าสุด Panasonic ประกาศถอนตัวจากการดำเนินงานในโรงงานของ Tesla แล้ว โดยจะหยุดการผลิตแผงโซลาร์ในสิ้นเดือนพฤษภาคมและย้ายออกจากโรงงานในเดือนกันยายน ทั้งนี้ Panasonic ระบุเพียงแค่ว่าบริษัทฯ ตัดสินใจที่จะออกจากธุรกิจแผงโซลาร์ในระดับโลก
เมื่อเดือนตุลาคมปี 2016 Tesla เปิดตัวหลังคาบ้านผสานโซลาร์เซลล์ หรือ Solar Roof อย่างยิ่งใหญ่ และประกาศราคาราวกลางปี 2017 แต่ก็ติดปัญหาหลายประการเช่นการติดตั้งล่าช้า และทำตลาดในสเกลใหญ่ไม่ได้
ล่าสุด Tesla ได้เปิดตัวหลังคา Solar Roof รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นที่ Elon Musk ระบุว่าจะขายระดับ "ร้อยล้านหลังคาเรือน" ทั่วโลก (เสียที)
ถ้าพูดถึง “โซลาร์เซลล์” เชื่อว่าภาพแรกที่หลายคนนึกถึง คือ ภาพแผงโซลาร์นับร้อยๆ แผงติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือบนหลังคาของโรงงาน และอาคารสำนักงานต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน “พลังงานแสงอาทิตย์” ถูกพัฒนาเป็น ของใช้ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์หลายรูปแบบที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายประเทศทั่วโลกก็หันมาให้ความสำคัญพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านระบบโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว “แสงอาทิตย์” ยังถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ให้พลังงานมากกว่าปริมาณพลังงานที่มนุษย์ทั้งโลกต้องการใช้ถึง 10,000 เท่า
Tesla ประกาศความสำเร็จในการติดตั้ง Powerpack ชุดใหม่ โดยครั้งนี้เป็นการติดตั้งที่สถานีรถไฟโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นพลังงานสำรองฉุกเฉินและลด peak demand ของการใช้พลังงาน
Tesla ระบุว่าทางบริษัทได้ติดตั้ง Powerpack ทั้งหมด 42 ยูนิต 7MWh ซึ่งทางบริษัทระบุว่า Powerpack ชุดนี้ให้พลังงานมากพอที่จะย้ายรถไฟและผู้โดยสารไปยังสถานีที่ใกล้ที่สุดภายใน 30 นาทีหากเกิดเหตุการณ์ระบบไฟฟ้าล้มเหลว
นอกจากนี้ Tesla ยังระบุว่าโครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาระบบเก็บพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และตัวฮาร์ดแวร์ทั้งหมดถูกติดตั้งในเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น