ความพิเศษอย่างหนึ่งของรถยนต์ Tesla คือมีเครือข่ายสถานีชาร์จด่วน หรือ Supercharger กระจายอยู่จำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการของผู้ที่เดินทางไกลและไม่สามารถรอชาร์จปลายทางได้ แต่ล่าสุดมีคนตั้งข้อสังเกตไปถึง Elon Musk ทางทวิตเตอร์ว่าที่มาของไฟฟ้าที่สถานี Supercharger เหล่านี้ก็มาจากถ่านหินอยู่ดี
เรื่องนี้เริ่มต้นมาจากที่ Elon Musk ได้ทวีตเล่าว่าจุดกำเนิดของบริษัท Tesla นั้นมาจากการที่ General Motors เคยเรียกคืนรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น EV1 เนื่องจากขาดทุนและมีปัญหาเกี่ยวกับหัวชาร์จ ซึ่ง GM ประกาศยกเลิกโครงการรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2003 และจัดการทำลายรถยนต์ EV1 ทิ้งเรียบ
Prince ศิลปินป๊อบสตาร์ผู้ล่วงลับ นอกจากสร้างมรดกทางดนตรีไว้จนเป็นที่จดจำแล้ว เขายังลงทุนในบริษัททำฟาร์มโซลาร์เซลล์ที่โอ๊คแลนด์ด้วย ในชื่อบริษัทว่า "Powerhouse"
มันเริ่มต้นจากการพูดคุยย้อนไปในปี 2011 กับเพื่อนของเขาคือ Van Jones นักวิจารณ์ที่ CNN และนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของแคลิฟอร์เนียรวมถึงเคยเป็นที่ปรึกษาเรื่องการจ้างงานด้านสิ่งแวดล้อมให้อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา Prince ถาม Jones ว่า ฉันสงสัยว่าถ้ามีเงินสัก 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะทำอย่างไรกับมันดี ภรรยาของฉันบอกว่า ฉันต้องสร้างฟาร์มโซลาร์เซลล์ให้ทั่วโอ๊คแลนด์
นั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้งและร่วมลงทุนในบริษัท Powerhouse บริษัทลงทุนพลังงานสะอาดและศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นสนับสนุนสตาร์ทอัพแล้ว 43 ราย ความตั้งใจของ Prince ตอนลงทุนคืออยากลงทุนแบบไม่ให้ใครรู้ว่าเป็นเขา
อังกฤษเป็นอีกประเทศที่จริงจังกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และต้องขอบคุณวันที่อากาศร้อนที่สุดของปีและมีเมฆน้อยที่ทำให้อังกฤษสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือผลิตได้ 8.75 กิกะวัตต์ ที่เวลาบ่ายโมง
ข้อมูลจาก National Grid Plc และมหาวิทยาลัย Sheffield ระบุว่าอากาศร้อนทำให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 24% และตัวเลขล่าสุดนี้สามารถทำลายสถิติเดิมเมื่อเดือนที่แล้วที่ 8.49 กิกะวัตต์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาถือเป็นวันที่ร้อนที่สุดของอังกฤษ โดยอุณหภูมิสูง 28 องศาเซลเซียส ข้อมูลจาก Solar Trade Association ระบุว่าอังกฤษติดตั้งแผงโซลาร์ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 12.1 กิกะวัตต์ จ่ายไฟให้ได้ 3.8 ล้านครัวเรือน
หากยังจำกันได้ Tesla และ SolarCity เปิดตัวกระเบื้องหลังคาผสานโซลาร์เซลล์ในชื่อ Solar Roof ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากเพราะมาแทนที่แผงโซลาร์เซลล์แบบเดิมๆ ที่ดูไม่สวยนัก และทนทานต่อสภาพอากาศที่โหดร้ายได้ ล่าสุด Tesla ได้เผยราคาของ Solar Roof แล้ว
Tesla ระบุในบล็อกของบริษัทว่าสำหรับเคสทั่วไป การติดตั้งหลังคา Solar Roof จะมีค่าใช้จ่ายราว 21.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตารางฟุต หรือประมาณ 8,200 บาทต่อ 1 ตารางเมตร โดยเป็นหลังคา Solar Roof 35% ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด ซึ่งราคานี้ต่ำกว่าราคาที่ Consumer Reports เคยคำนวณไว้ว่า Solar Roof ควรตั้งราคาต่ำกว่า 24.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางฟุต ถึงจะคุ้มค่า
BART (Bay Area Rapid Transit) ผู้ให้บริการรถไฟในซานฟรานซิสโก ออกนโยบายใหม่ จะใช้พลังงานสะอาดในการให้บริการรถไฟ ตั้งเป้าใช้พลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2045
สิ่งที่ BART เริ่มทำไปบ้างแล้วคือจำกัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่รถไฟปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ล่าสุดนโยบายใหม่เข้มข้นกว่าเดิม ไม่เพียงจำกัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น แต่ยังจะนำเอาพลังงานทดแทนมาใช้ในการดำเนินกิจการ 100% โดยตั้งเป้าระยะแรกว่าจะใช้พลังงานทดแทน 50% ภายในปี 2025 และสิบปีถัดไปใช้พลังงานทดแทน 90% จนกระทั่งเต็ม 100% ในปี 2045
นับวันราคาพลังงานทดแทนยิ่งถูกลง หลายประเทศแห่ลงทุนทำฟาร์มพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ กังหันลม และกังหันลมนอกชายฝั่ง โดยเฉพาะจีนที่คาดกันว่าจะเป็นผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ 36% ของโลก และพลังงานลม 40% ของโลกภายในไม่กี่ปี
รายงานพลังงานจาก the United Nations and Bloomberg New Energy Finance (BNEF) ประจำปี 2017 เผยว่าในปี 2016 ต้นทุนการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกลดลง 17% ต้นทุนพลังงานลมบนบกลดลง 18% และต้นทุนพลังงานกังหันลมนอกชายฝั่งลดลง 28%
ราคาต้นทุนไม่ได้เพิ่งมาลดเมื่อปีที่แล้ว แต่ลดลงมาได้หลายปีแล้ว ส่งผลให้พลังงานทดแทนดังกล่าวเป็นพลังงานราคาถูกสุดในตอนนี้ และไม่เพียงประเทศเจริญแล้วที่ลงทุน แต่ประเทศกำลังพัฒนาก็จะหันมาลงทุนพลังงานทดแทนด้วย
Project Sunroof โครงการช่วยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จาก Google เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2015 โดยใช้งานภาพจาก Google Maps และ Google Earth มาทำการโมเดลแบบสามมิติและใช้ machine learning เพื่อช่วยคำนวณการตกกระทบของแสงอาทิตย์ และประมาณการปริมาณที่แสงแดดจะเปลี่ยนเป็นพลังงานได้
วันนี้ Google ได้ประกาศว่า Project Sunroof มีข้อมูลของแสงอาทิตย์ครบทุกรัฐในประเทศสหรัฐฯ แล้ว ซึ่ง Google ก็ได้เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จาก Project Sunroof ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
รัฐ South Australia ที่ประเทศออสเตรเลียประสบปัญหาไฟดับอยู่บ่อยครั้ง จนคนเอือมระอาและเริ่มหาพลังงานทางเลือกมาใช้อย่างจริงจัง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2016 รัฐนี้ได้เกิดเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่ บ้านเรือนราว 10,000 หลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้นานกว่า 24 ชั่วโมง จนมีข่าวว่าความต้องการแบตเตอรี่ Tesla Powerwall พุ่งสูงขึ้น 30 เท่าเลยทีเดียว
ล่าสุด Lyndon Rive รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์พลังงานของ Tesla ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะดำเนินการติดตั้ง "ฟาร์มแบตเตอรี่" (battery farm) หรือที่ Tesla เรียกว่า Powerpack ที่สามารถเก็บไฟได้ 100 ถึง 300 เมกะวัตต์ชั่วโมง ภายใน 100 วัน
หลังจากนั้น Mike Cannon-Brookes มหาเศรษฐีและซีอีโอของ Atlassian บริษัทซอฟต์แวร์ของออสเตรเลียได้ทวีตถามเชิงท้าไปยัง Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ว่าเขาจริงจังกับประเด็นนี้มากแค่ไหน ซึ่ง Elon ก็รับคำท้าโดยการตอบกลับไปว่า Tesla จะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ความจุรวม 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงให้รัฐ South Australia ภายใน 100 วันนับตั้งแต่วันเซ็นสัญญา และถ้าทำไม่ได้จะให้ฟรีไปเลย โดยประโยชน์ของระบบนี้ก็ชัดเจนว่าเป็นแหล่งจ่ายไฟสำรองเวลาไฟดับ หรือช่วยแบ่งเบาภาระของระบบไฟฟ้าหลักเวลามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงนั่นเอง
Amazon ประกาศตั้งเป้าหมาย จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโกดัง 15 แห่งในสหรัฐฯให้ได้ภายในปีนี้ และจะติดตั้งในศูนย์กระจายสินค้าให้ได้ทั่วโลกภายในปี 2020
แม้การติดตั้งในโกดัง 15 แห่งดูเป็นตัวเลขไม่เยอะ แต่ถ้าดูขนาดของแต่ละโกดังในเมืองต่างๆ เช่นใน California, New Jersey, Maryland, Nevada และ Delaware จะสามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ถึง 41 ล้านวัตต์ Amazon ระบุว่าสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้ถึง 80% ของความต้องการการใช้พลังงานในคลังเก็บสินค้านั้น
ฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่นเปิดแล็บใหม่ในโตเกียว เน้นวิจัยเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และพลังงานโดยเฉพาะ ใช้ชื่อแล็บว่า R&D Center X เริ่มเปิดเดือนเมษายน
ทางแล็บจะเน้นทำการวิจัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นเทคโนโลยีที่จับต้องได้ ไม่เหนือจริงเกินไป ผลการวิจัยต้องสามารถนำมาใช้ทางการตลาดได้ ทางฮอนด้าระบุว่า การวิจัยหุ่นยนต์เห็นผลแน่นอนในปีหน้า และภายในปี 2020 จะเห็นความคืบหน้าการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ
จะดีแค่ไหนถ้าคุณสามารถหิ้วพัดลมไปวางไว้ตรงไหนก็ได้ในห้องโดยไม่ต้องลากสายไฟยาวๆ และมือถือของคุณมีแบตเต็มอยู่เสมอเพียงแค่วางมันไว้ในห้อง วันนี้นักวิจัยจาก Disney Research แสดงตัวอย่างให้เราเห็นด้วยเทคนิคการส่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยวิธี quasistatic cavity resonance (QSCR)
นักวิจัยได้สร้างห้องที่บุผนังด้วยแผ่นอะลูมิเนียมขึ้นมา จากนั้นจึงตั้งเสาทองแดงสำหรับส่งพลังงานไว้กลางห้อง ภายในเสามีตัวเก็บประจุซึ่งช่วยปรับคลื่นความถี่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้เสถียร จากนั้นจึงส่งพลังงานไฟฟ้า 1,900 วัตต์เข้าไปที่เสา ฝั่งตัวรับจะมีขดลวดที่ปรับให้รับคลื่นความถี่ตรงกันเพื่อรับพลังงาน โดยมีประสิทธิภาพการส่งพลังงานที่ 40-95%
ความฝันถึงอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ต้องคอยชาร์จไฟอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oulu ประเทศฟินแลนด์ ค้นพบวัสดุชนิดใหม่ในกลุ่ม Perovskite Crystal มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนพลังงานแสง ความร้อน และการเคลื่อนไหวให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้พร้อมกัน
วัสดุดังกล่าวถูกเรียกว่า KBNNO (ตามสูตรเคมี) มีคุณสมบัติเป็น Ferroelectric โดยนักวิทยาศาสตร์ทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง พร้อมตรวจวัดความเปลี่ยนของอุณหภูมิและความดัน พบว่า KBNNO สามารถเปลี่ยนพลังงานทั้งสามเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
กังหันลมผลิตพลังงานในเดนมาร์กชื่อ Monster Wind เพิ่งทำลายสถิติผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุดในรอบ 24 ชั่วโมง ผลิตได้ถึง 216,000 กิโลวัตต์ ปริมาณเพียงพอหล่อเลี้ยงหนึ่งครัวเรือนในสหรัฐได้ 20 ปี
Monster Wind สูง 720 ฟุต ใบพัดแต่ละใบหนัก 35 ตัน ตั้งอยู่นอกฝั่งทะเล Østerild ในเดนมาร์ก เคยทำสถิติไว้เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาคือ 215,999.1 กิโลวัตต์ และทำลายสถิติได้อีกรอบในเดือนนี้
ทางบริษัทคือ MHI Vestas Offshore Wind คาดหวังว่า ในอนาคตจะสามารถผลิตพลังงานได้มากกว่านี้ ในราคาต้นทุนที่ถูกกว่า และใช้กังหันลมน้อยลง โดยการนำกังหันลมไปติดตั้งนอกชายฝั่งจะเจอลมแรงกว่า
เดนมาร์กเป็นผู้นำเรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมนอกชายฝั่ง สามารถผลิตพลังงานให้ใช้ได้ทั้งประเทศ
กรรมการพลังงานลมนอกชายฝั่งของอังกฤษ (Offshore Wind Programme Board - OWPB) ออกรายงานความสำเร็จของการสร้างระบบพลังงานลมจากกังหันนอกชายฝั่งของอังกฤษ ที่สามารถเพิ่มกำลังผลิตได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนที่ต่ำลง
ต้นทุนพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งตอนนี้อยู่ที่ 97 ปอนด์ต่อ MWh หรือ 4.3 บาทต่อยูนิต (kWh) ในบ้านเรา ต้นทุนนี้ลดลงอย่างรวดเร็วจากเมื่อสี่ปีก่อนที่อยู่ที่ 142 ปอนด์ต่อ MWh เข้าใกล้พลังงานนิวเคลียร์ที่อยู่ที่ 92.50 ปอนด์ต่อ MWh
ปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนถูกลงคือเสากังหันลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กังหันแต่ละต้นมีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ในช่วง 7-8 MW เป็นมาตรฐาน ในอนาคตหากมีการพัฒนากังหันที่ใหญ่กว่านี้ก็จะมีต้นทุนรวมถูกลงได้อีก 24-30% ภายในปี 2030
ยังจำภาพการเทลูกบอลสีดำนับไม่ถ้วนลงอ่างเก็บน้ำในลอสแองเจลิสได้หรือไม่ การทดลองดังกล่าวหวังจะช่วยลดการระเหยของน้ำแก้ปัญหาน้ำแล้งที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานในลอสแองเจลิส
หนึ่งปีผ่านไปพิสูจน์แล้วว่าวิธีนี้ได้ผล เพราะตัวลูกบอลสีดำหรือ shade ball มีคุณสมบัติช่วยดูดความร้อน รังสียูวี ป้องกันการระเหยของน้ำ อีกทั้งยังเก็บรักษาน้ำให้ปลอดภัยจากมลภาวะภายนอกได้จริง และยังคุมพวกวัชพืชน้ำไม่ให้เติบโตเต็มอ่างด้วย
Rob Bernard หัวหน้ายุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมของไมโครซอฟท์ เขียนบล็อกแนวทางของบริษัทเรื่องสิ่งแวดล้อมในปี 2017 ระบุว่านอกจากบริษัทจะใช้พลังงานทดแทนในส่วนของดาต้าเซนเตอร์ได้ตามเป้าหมาย 50% แล้ว ในอนาคตยังจะสร้างโมเดลธุรกิจที่ช่วยเร่งให้การนำพลังงานทดแทนมาใช้อย่างเต็มที่ของบริษัทนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดด้วย
สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2017 คือ
Google เผยผ่านบล็อกวันนี้ว่า กำลังอยู่ระหว่างจัดซื้อเทคโนโลยีการใช้พลังานทดแทน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของ Google เอง นอกจากนี้ยังประกาศอีกว่าในปี 2017 Google จะใช้พลังงานทดแทนในการดำเนินธุรกิจ 100%
Urs Hölzle รองประธานอาวุโสด้านโครงสร้างพื้นฐานของ Google เผยว่า ทางบริษัทถือเป็นรายแรกๆ ที่หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง นับตั้งแต่การทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากฟาร์มกังหันลม 114 เมกะวัตต์ จากรัฐไอโอวาในปี 2010 มาถึงปัจจุบันนี้ Google ถือเป็นเบอร์ 1 ด้านการจัดซื้อพลังงานทดแทน มีการจัดซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์ที่ซื้อมารวมกันแล้ว 2.6 กิกะวัตต์ (2,600 เมกะวัตต์)
จีนเตรียมเปิดใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 โรง ที่มีเตาปฏิกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเองด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อ Hualong One ภายในปี 2020 โดยโรงไฟฟ้า 2 แห่งนี้ตั้งอยู่ในมณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
เตาปฏิกรณ์ Hualong One ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นบนมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก ทำให้สามารถรับมือกัไต้ฝุ่นได้ถึงระดับ 17, แผ่นดินไหวความรุนแรง 9 แมคนิจูด, รองรับการชนจากเครื่องบินพาณิชย์ และสึนามิความรุนแรงเดียวกันกับที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติที่ฟุกุชิมะในญี่ปุ่น รวมถึงมีมาตรการรองรับ กรณีกระแสไฟฟ้าถูกตัดด้วย
ดูเหมือนอนาคตอันไม่สดใสที่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อนจะพอมีแสงสว่างเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ บังเอิญค้นพบวิธีสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถแปลงน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเอทานอลโดยตรง โดยมีประสิทธิภาพถึง 63%
ความบังเอิญนี้เกิดขึ้นเมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการทดลองขั้นแรกในการเปลี่ยนน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเมทานอล แต่กลับพบว่าเมื่อลองผ่านไฟฟ้า 1.2 โวลต์ไปที่ตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งคาร์บอนขนาดนาโนเคลือบด้วยไนโตรเจน ซึ่งมีอนุภาคทองแดงขนาดนาโนติดอยู่ ผลที่ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่ปลายแท่งคาร์บอนซึ่งเปลี่ยนสารตั้งต้นให้กลายเป็นเอทานอลได้โดยตรง
ไมโครซอฟท์เผยผ่านเว็บบล็อก Microsoft Green ว่าบริษัทจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนในศูนย์ข้อมูล เป็นจำนวน 50% ภายในปี 2018 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ก่อนปี 2020
ปัจจุบันไมโครซอฟท์ใช้พลังงานหมุนเวียน อันประกอบไปด้วย พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ อยู่ที่ 44% และเพิ่งเซ็นสัญญากับโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 20 เมกะวัตต์ ในมลรัฐเวอร์จิเนีย
ปัจจุบันทางภาครัฐของประเทศสหรัฐอเมริกากำลังผลักดันการผลิตและความเข้าถึงได้ของพลังงานหมุนเวียน และไมโครซอฟท์ก็รายงานผลการใช้พลังงานของแต่ละรัฐ, สัดส่วนแหล่งที่มาของพลังงานและปริมาณการผลิตคาร์บอน
กลุ่มมิตรผล เป็นอีกองค์กรที่สนใจและให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) หรือการสร้างระบบเศรษฐกิจจากสังคมที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่พืชเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปได้
SolarCity บริษัทรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านเรือนที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการรวมเข้ากับ Tesla ซึ่ง Elon Musk เป็นประธานบริษัทอยู่ ได้ออกมาบอกว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทจะไม่ใช่แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดอยู่บนหลังคา แต่จะเป็นตัวหลังคาเลย และมันจะโดดเด่นมาก
ตอนนี้ SolarCity ต้องหันไปโฟกัสผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เนื่องจากตลาดแผงโซลาร์เซลล์มีการแข่งขันสูง โดยทุกๆ เจ้าก็ทำออกมาคล้ายกันคือนำแผงมาติดตั้งทับหลังคาบ้านอีกที การที่ SolarCity วางแผนขายทั้งหลังคาที่ฝังแผงโซลาร์เซลล์มาเลยเป็นการสร้างความแตกต่าง อีกทั้งรูปลักษณ์โดยรวมของบ้านก็น่าจะดูสวยขึ้นด้วย
เป้าหมายใหญ่ของ SolarCity คือการชาร์จไฟจากแสงอาทิตย์เข้ากับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สำหรับบ้าน ทำให้สุดท้ายแล้วบ้านอาจไม่ต้องใช้ไฟฟ้าภายนอกอีกเลย
ที่มา - Fortune
พื้นที่รกร้างที่เคยเป็นสถานที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อย่างเชียร์โนบิล อาจจะกลายเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดและปลอดภัยที่สุดในโลก เมื่อรัฐบาลยูเครนกำลังเจรจาอยู่กับบริษัทด้านพลังงานของแคนาดา และหาทุนสนับสนุนจากสหรัฐ ในการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บนพื้นที่ราว 1,600 ตารางไมล์ (~ 2,560 ตารางกิโลเมตร) ของเชียร์โนบิล
รัฐบาลยูเครนตั้งใจจะสร้างโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 1 GW ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 1 ถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของยูเครนระบุเหตุผลที่เลือกเขียร์โนบิลว่า เนื่องจากราคาที่ดินค่อนข้างถูก ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เคยใช้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ที่รองรับพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 4GW ยังคงอยู่
สำหรับใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับ Elon Musk อาจจะรู้สึกงงปนตลกกับพาดหัวข่าวนะครับ เพราะ Elon เป็นประธานของทั้ง Tesla Motors และ SolarCity เลย ซึ่งฝั่ง Tesla Motors เพิ่งยื่นข้อเสนอเข้าซื้อกิจการของ SolarCity เพื่อ "ต่อจิ๊กซอว์ทางธุรกิจ" ของทั้งสองบริษัทให้เป็นโซลูชันครบวงจร
ภารกิจเริ่มแรกของ Tesla Motors คือการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานที่ยั่งยืน หลังจากนั้นได้เปิดตัว Tesla Energy มีผลิตภัณฑ์คือ Powerwall และ Powerpack เป็นแบตเตอรี่สำหรับจ่ายไฟฟ้าเข้าบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ (ค่าไฟช่วงกลางคืนมีราคาถูก ก็ชาร์จเก็บไว้สำหรับใช้ช่วงกลางวัน) และฝั่ง SolarCity ทำธุรกิจให้บริการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามบ้านเรือน ซึ่งการที่ Tesla Motors เข้าซื้อ SolarCity ทำให้ผู้ใช้รถยนต์สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและฟรีได้ ก็คือแสงอาทิตย์นั่นเอง
นักวิจัยจาก Harvard ได้ผลิตใบไม้เทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์และทำการเปลี่ยนรูปพลังงานเพื่อจัดเก็บในรูปของพลังงานทางเคมีสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของมันนั้นทำได้ดีกว่าอุปกรณ์งานวิจัยอื่นที่เคยมีมา และดีเหนือกว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย
ใบไม้เทียมที่ว่านี้ไม่เพียงแค่มีกระบวนการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของพลังงานพันธะเคมีเท่านั้น แต่มันยังมีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาใช้งาน เช่นเดียวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยตัวอุปกรณ์ใบไม้เทียมนี้ประกอบไปด้วยโถที่บรรจุน้ำและแบคทีเรีย Ralstonia eutropha ในน้ำที่มีแบคทีเรียนั้นมีแผ่นขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มไว้อยู่เชื่อมต่อกับแผงรับแสง