DeepMind แถลงผลการทดลองใช้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ (machine learning) มาจัดการพลังงานลมจากฟาร์มที่กูเกิลเข้าไปมีส่วนร่วม โดยปัญหาสำคัญของพลังงานลมคือมันขึ้นกับสภาพอากาศอย่างมาก ทำให้การทำนายพลังงานที่ได้รับโดยรวมทำได้ยาก แหล่งพลังงานที่ใส่ไฟฟ้าเข้าไปในระบบกริดโดยบอกล่วงหน้าได้ จะได้มูลค่าสูงกว่า
ทาง DeepMind สร้างโมเดล machine learning เรียนรู้จากข้อมูลพยากรณ์อากาศแล้วนำมาพยากรณ์ปริมาณไฟฟ้าที่จะผลิตได้ล่วงหน้า 36 ชั่วโมง ทำให้ฟาร์มลมเหล่านี้สามารถสัญญาส่งพลังงานล่วงหน้าเข้ากริดล่วงหน้าหนึ่งวันเต็ม การจัดการระบบกริดสามารถทำได้ดีขึ้น
รายงานระบุว่าการทำนายข้อมูลต่างๆ ให้ดีขึ้น ทำให้มูลค่าของพลังงานลมที่ได้จากฟาร์มเหล่านี้สูงขึ้นถึง 20%
Tesla ประกาศเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ Maxwell Technologies ด้วยมูลค่า 218 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันของ Maxwell 55% โดย Tesla บอกว่าบริษัทจะเน้นซื้อกิจการที่สนับสนุนธุรกิจและช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านแผนการจัดการพลังงานที่ยั่งยืน
Maxwell เป็นผู้พัฒนาตัวเก็บประจุแบบ Ultracapacitor ซึ่ง Elon Musk ซีอีโอ Tesla เคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาสนใจใช้เทคโนโลยีนี้ มากกว่าการใช้แบตเตอรี่แบบดั้งเดิมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ในอนาคตเราจึงน่าจะเห็นรถยนต์ Tesla ใช้ Ultracapacitor เป็นตัวเก็บพลังงาน
ความสนใจของ Musk ในเรื่อง Ultracapacitor นี้ สูงมากจนเขาเคยเกือบจะสมัครทำวิจัยหัวข้อนี้ในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Stanford เองเลย
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา คนงาน 7 คนก้าวออกมาจากเหมืองถ่านหิน Prosper-Haniel ณ เมือง Bottrop ประเทศเยอรมนี โดยถือถ่านหินขนาดเท่าลูกฟุตบอลออกมาด้วย แล้วยื่นให้กับ Frank-Walter Steinmeier ประธานาธิบดีเยอรมนี พร้อมกล่าวว่า "Glück auf" หรือแปลว่า "โชคดี" ปิดฉากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินแห่งสุดท้ายของประเทศที่มีประวัติยาวนาน 200 ปี
"ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เยอรมนีได้มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว" Steinmeier กล่าว "ถ้าไม่มีมัน เราก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่า 200 ปีที่ผ่านมาของประเทศนี้จะเป็นอย่างไร"
Sony ประกาศเป้าหมายว่าในอนาคตทุกโรงงานและอาคารสำนักงานทุกแห่งในทุกธุรกิจของ Sony จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น โดยวางแผนว่าจะทำให้สำเร็จภายในปี 2040
ปัจจุบันนี้ Sony มีอาคารสถานที่ 111 แห่งกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งในปี 2017 ที่ผ่านมานั้นมีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เป็นต้นว่า พลังงานน้ำ, แสงอาทิตย์, ความร้อนใต้พิภพ รวมทั้งพลังงานลม โดยมีสัดส่วนเพียงแค่ 5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม Sony ได้วางแผนว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบการใช้ไฟ โดยตั้งเป้าหมายขั้นต้นไว้ก่อนว่าจะต้องผลักดันให้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนนี้ให้ได้ 30% ภายในปี 2030 ก่อนจะเดินหน้าให้สมบูรณ์ 100% ในอีก 10 ปีให้หลัง
รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากลายเป็นพาหนะที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกด้วยเหตุผลที่ว่ามันไม่ปล่อยก๊าซมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศ ไฉนเลยโลกเราจะมีเรือพลังงานสะอาดที่แล่นได้โดยไม่ต้องปล่อยไอเสียบ้างไม่ได้ เรือ Energy Observer จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเติมเต็มแนวคิดนี้
Energy Observer เป็นเรือคาตามารัน เดิมทีมันถูกต่อขึ้นมาเมื่อปี 1983 เพื่อใช้ในการแข่งขัน แต่หลังจากชัยชนะในหลายสนาม วันนี้มันถูกปลุกให้คืนชีพขึ้นมาใหม่ในฐานะเรือพลังงานสะอาดที่จะเป็นต้นแบบให้กับการออกแบบและสร้างยานสัญจรทางน้ำได้อีกมากในอนาคต
Apple ร่วมกับซัพพลายเออร์อื่นประมาณ 10 บริษัท ร่วมกันลงทุนในกองทุนพลังงานสะอาดของจีนหรือ China Clean Energy Fund มูลค่าเกือบ 300 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นมูลค่าการลงทุนในช่วง 4 ปีถัดจากนี้
กองทุนนี้ดำเนินการโดย DWS Group ซึ่งเป็น บริษัทบริหารสินทรัพย์ยุโรป ทาง Apple ระบุว่าแม้การลงทุนในพลังงานสะอาดจะเพิ่มมากขึ้น แต่บริษัทเล็กๆ อาจยังเข้าไม่ถึงพลังงานเหล่านี้ กองทุนจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับประโยชน์จากโซลูชั่นโดยพลังงานสะอาดนี้ด้วย
China Clean Energy Fund จะลงทุนและพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดที่มีกำลังการผลิตทดแทนมากกว่า 1 กิกะวัตต์ในประเทศจีน เทียบเท่าได้กับพลังงานในบ้าน 1 ล้านครัวเรือน
ถ่านหินเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานราคาถูก นิยมนำมาผลิตไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีข้อเสียคือเมื่อเผาไหม้แล้วได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษ รวมถึงเป็นสาเหตุของสภาวะเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศพยายามลดการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้พลังงานทดแทน
ล่าสุดอังกฤษได้ทำสถิติใหม่ด้วยการไม่ใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าเลยได้นานถึง 55 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่สี่ทุ่มครึ่งของวันจันทร์มาจนถึงตีห้าของวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น โดยในช่วงเวลานั้นได้ผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมแทน หากเข้าไปดูกราฟในที่มา จะเห็นว่ามีการหยุดใช้ถ่านหินเป็นระยะๆ อยู่แล้ว แต่บางช่วงก็ใช้เยอะเช่นกัน โดยครั้งสุดท้ายที่ทำสถิติไว้คือไม่ใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าเลยเป็นเวลา 40 ชั่วโมง เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
Apple ประกาศว่าตอนนี้ทางบริษัทได้นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้กับสถานที่ที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของบริษัททั่วโลกทั้งหมด 100% แล้ว ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูล, สำนักงาน, ร้านค้าปลีก และอื่น ๆ ใน 43 ประเทศทั่วโลก
Apple ใช้พลังงานสะอาดจากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์อาร์เรย์, ฟาร์มลม, เซลล์กำเนิดไฟฟ้าไบโอแก๊ส, ระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก, เทคโนโลยีจัดเก็บพลังงาน โดยทางบริษัทมีโครงการพลังงานสะอาดที่ดำเนินอยู่ถึง 25 แห่งทั่วโลก สามารถผลิตไฟฟ้าออกมาได้ 626 เมกะวัตต์ และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีกกว่า 15 โครงการ ซึ่งเมื่อเสร็จแล้วจะให้พลังงานสะอาดรวม 1.4 กิกะวัตต์กระจายไปทั้งหมด 11 ประเทศ
Google ประกาศว่าขณะนี้ บริษัทได้ซื้อพลังงานทดแทนมามากกว่าที่ใช้งานในบริษัทแล้ว ซึ่งเป็นความพยายามที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2017 เป้าหมายในอนาคตคือ ซื้อพลังงานทดแทนมากที่สุดเท่าที่ใช้ในศูนย์ข้อมูลทั้งหมด 13 แห่งรวมทั้งสำนักงานทั้งหมด
ถ้าระบุให้ชัดคือ Google ไม่ได้ใช้พลังงานทดแทนในการดำเนินการทั้งหมด แต่ Google เทียบมูลค่าการซื้อพลังงานทดแทนทั้งจากพลังงานลม และแสงอาทิตย์ ว่ามีมูลค่าเกินปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการดำเนินงานแล้ว Google ยังบอกด้วยว่าตัวเองเป็นบริษัทไอทีที่ซื้อพลังงานทดแทนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาบริษัทไอที
Google กล่าวว่าขณะนี้มีสัญญาว่าจ้างผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนจำนวน 3 กิกะวัตต์ ในขณะที่บริษัทไอทีรายอื่นต่างก็พยายามทำบริษัทตัวเองให้มีการใช้พลังงานสะอาดเพื่อต่อสู้กับความผันผวนของสภาพแวดล้อมหรือ climate change ไม่ว่าจะเป็น Apple, Amazon, Facebook
เราเห็นข่าวโปรเจ็คติดตั้งแบตเตอรี่สำหรับเมือง อย่าง Tesla Powerpack กันอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดมีรายงานว่า Tesla ได้ติดตั้งแบตเตอรี่ดังกล่าวให้กับเทศบาลเมือง Paluan มีประชากรราว 16,000 คน ซึ่งประสบปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยมาหลายปี และก่อนหน้านี้มีไฟฟ้าจากรัฐบาลใช้เพียงวันละ 16 ชั่วโมงเท่านั้น
โปรเจ็คนี้ทำโดย Tesla ร่วมกับบริษัทพลังงานทดแทนชื่อ Solar Philippines ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟได้รวม 2 เมกะวัตต์ และแบตเตอรี่ Tesla Powerpack ความจุ 2 เมกะวัตต์ชั่วโมง โดยแหล่งข่าวระบุว่าระบบนี้สามารถจ่ายไฟได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะลดค่าใช้จ่ายได้ 30 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ต่อปี หรือราว 18 ล้านบาท
"ไข่ไก่" ถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบประกอบอาหารที่แทบทุกคนคุ้นเคยกันดี อุดมไปด้วยโปรตีน ซื้อหาได้ง่าย เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่พบได้ในมื้ออาหารของคนแทบทุกชนชาติ แต่วันนี้จากผลการค้นคว้าวิจัยของทีมวิจัยจากญี่ปุ่น ไข่ไก่อาจเป็นมากกว่าอาหาร ทว่ามันอาจจะเป็นกุญแจสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในอนาคตด้วย
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Osaka City สามารถใช้ประโยชน์จากสาร lysozyme อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสารโปรตีน ซึ่งแม้ว่า lysozyme จะถูกพบได้ในน้ำลาย, น้ำตา, เมือก และน้ำนมมนุษย์ด้วย แต่แหล่งโปรตีนที่จัดหาและตระเตรียมได้ง่ายในราคาไม่สูงตามความเห็นของทีมวิจัย ก็คือไข่ขาวของไข่ไก่ที่ใช้บริโภคกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้เอง โดยสาร lysozyme ที่ว่านี้ถูกนำมาช่วยในกระบวนการสกัดเอาก๊าซไฮโดรเจนออกจากน้ำ ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพได้ปริมาณก๊าซเพิ่มสูงขึ้น
ENTSO-E องค์กรกลางผู้ดูแลงานด้านระบบไฟฟ้าของยุโรป ออกรายงานอธิบายเรื่องปัญหาจากความถี่ของระบบไฟฟ้าที่ไม่เสถียร ส่งผลทำให้นาฬิกาของผู้คนมากมายทั่วยุโรปมีปัญหาเดินช้าลง
ผลกระทบที่ว่านี้จะมีต่อนาฬิกาดิจิทัลบางเรือนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากปลั๊กไฟภายในบ้านเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาปลุก, นาฬิกาติดผนัง และรวมไปถึงนาฬิกาที่ใช้เพื่อการตั้งเวลาในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่างเช่น เตาอบ, เตาไมโครเวฟ, เครื่องทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ซึ่งนาฬิกาเหล่านี้อาศัยความถี่ของระบบไฟฟ้าซึ่งควรจะเป็น 50 Hz มาใช้ในการสร้างสัญญาณนาฬิกาในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของตัวมันเอง
ช่วงกลางปีที่แล้ว Alphabet ได้เปิดตัวบริษัทใหม่ Dandelion สตาร์ทอัพผู้พัฒนาระบบการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้กับระบบทำความร้อนและระบบทำความเย็นในบ้านพักอาศัย เวลาผ่านมายังไม่ถึง 1 ปี หลังการทดลองติดตั้งใช้งานกับบ้านเรือนใน New York ก็เริ่มมีสัญญาณบวกทั้งผลการทดลองที่สะท้อนความคุ้มค่าด้านต้นทุนพลังงาน และแรงบวกจากนโยบายลดภาษีจากภาครัฐ
กล่าวถึง Dandelion สักหน่อยว่าเป็นสตาร์ทอัพที่เกิดจากการบ่มเพาะของทีม X ซึ่งหลังจากเห็นโอกาสทางธุรกิจอย่างจริงจังเรื่องการใช้พลังงานทางเลือก Dandelion จึงหลุดพ้นสถานะทีมพัฒนาภายในและแยกตัวออกมาเป็นบริษัท แบบเดียวกับที่ Waymo ทำมาก่อนหน้า
ความนิยมในธุรกิจขุดเหมืองคริปโตเพื่อทำกำไร จำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมากเพื่อประมวลผล และในประเทศไอซ์แลนด์ที่มีประชากรแค่ 340,000 คน สัดส่วนการใช้พลังงานจากธุรกิจขุดเหมืองกำลังจะแซงการใช้พลังงานจากภาคครัวเรือนแล้ว
ไอซ์แลนด์กลายเป็นสวรรค์ของนักขุดเหมือง ด้วยปัจจัยเรื่องสภาพอากาศเย็น ลดภาระการระบายความร้อนของคอมพิวเตอร์ และราคาพลังงานที่ถูกกว่าประเทศอื่นๆ อันเนื่องมาจากมีพลังงานความร้อนใต้ดินและไฟฟ้าพลังน้ำอยู่มาก ทำให้นักขุดเหมืองนิยมย้ายมาตั้ง "ฟาร์ม" อยู่ในหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ กันมากขึ้น
การผลิตไฟใช้เองในบ้านเริ่มฮิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยกระแสน่าจะเริ่มจาก Tesla Energy ที่ผลิตแบตเตอรี่สำหรับบ้านเรือนในชื่อ Tesla Powerpack รวมถึง Solar Roof ทำให้มีผู้ผลิตจำนวนมากออกผลิตภัณฑ์แนวนี้ ล่าสุดก็เป็น Audi ผู้ผลิตรถยนต์จากเยอรมนีที่เข้าร่วมธุรกิจนี้ด้วย
Audi กำลังทดสอบระบบ Smart Energy Network กับบ้านเรือนในเมือง Ingolstadt ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ Audi และบ้านในเมือง Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยระบบทั้งหมดนี้ประกอบด้วยโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟ ส่วนซอฟต์แวร์พัฒนาโดยสตาร์ทอัพจาก Zurich ชื่อ Ampard
IRENA หรือ International Renewable Energy Agency องค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนและผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาด ได้เปิดเผยรายงานชื่อ Renewable Power Generation Costs in 2017 ซึ่งคาดการณ์ว่า ภายในปี 2020 ต้นทุนของพลังงานทางเลือกจะถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล
รายงานระบุว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบันอยู่ที่ราว 0.05 - 0.17 ดอลลาร์ต่อ kWh ส่วนต้นทุนจากพลังงานทางเลือกได้แก่ พลังงานน้ำอยู่ที่ $0.05/kWh, พลังงานลมแบบ onshore $0.06/kWh, พลังงานชีวมวลและพลังงานความร้อนใต้พิภพ $0.07/kWh และพลังงานแสงอาทิตย์ $0.10/kWh
ตลาดขุดเหมืองคริปโตเป็นที่นิยมในจีน เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีราคาถูก แม้ทางการจีนเริ่มกดดันให้ปิดเหมืองด้วยมาตรการหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการขึ้นค่าไฟฟ้า
Bloomberg ลองประเมินค่าไฟในจีนว่าจุดคุ้มทุนของนักขุดอยู่ที่ตรงไหน และพบว่าต้นทุนของการขุดเหมืองอยู่ที่ 6,925 ดอลลาร์ต่อ BTC ซึ่งต่ำกว่าราคา Bitcoin ในปัจจุบันมาก นั่นแปลว่าตราบใดที่ Bitcoin ยังมีราคาดีเช่นนี้อยู่ การขุดเหมืองก็ยังทำกำไรอยู่เสมอ
ปัจจุบัน ประมาณ 3/4 ของเหมืองคริปโตอยู่ในประเทศจีน ส่วนการใช้พลังงานขุด Bitcoin ทั่วโลกในปี 2017 อยู่ที่ 20.5 เทอราวัตต์-ชั่วโมง เท่ากับการใช้พลังงานของครัวเรือนในสหรัฐ 3.4 ล้านครัวเรือน ส่วนในจีนใช้ไป 15.4 เทอราวัตต์-ชั่วโมง
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Tesla ได้ตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ที่รัฐ South Australia ประเทศออสเตรเลียได้สำเร็จภายใน 100 วันตามที่ Elon Musk พนันไว้ และได้เปิดใช้งานจริงเมื่อต้นเดือนธันวาคม
ล่าสุดมีรายงานว่าประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากฟาร์มแบตเตอรี่นี้จริงๆ เป็นครั้งแรกแล้ว โดยโรงไฟฟ้าถ่านหิน Loy Yang ที่รัฐ Victoria เกิดหยุดทำงานด้วยเหตุบางอย่าง ซึ่งระบบของ Tesla Powerpack สามารถตรวจจับความผิดปกตินี้ได้ และเริ่มจ่ายไฟ 7.3 เมกะวัตต์เข้าไปทดแทนได้ภายในเวลาเพียง 140 มิลลิวินาที (0.14 วินาที)
เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่ามูลค่าของ Bitcoin นับวันจะยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปจนล่าสุดนั้นพบว่าพุ่งขึ้นไปกว่า 9,000 ดอลลาร์ต่อ BTC แล้ว ในทางเดียวกันพลังงานไฟฟ้าที่เป็นทรัพยากรหลักสำหรับการขุด Bitcoin นั้นก็ได้มีปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน อีกทั้งยังมีข่าวว่า Bitcoin สูญหายไปจากระบบประเมินแล้วกว่า 23% ของ BTC ทั้งหมดในขณะนั้นด้วยแล้ว อาจทำให้นักขุดต้องเพิ่มกำลังการขุดขึ้นอย่างมากและต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแน่นอน
หากยังจำกันได้ รัฐ South Australia ประเทศออสเตรเลียประสบปัญหาไฟดับบ่อยจนประชาชนเอือมระอา และแสดงความสนใจใช้แบตเตอรี่ Tesla Powerwall กันอย่างล้นหลาม มหาเศรษฐีชาวออสเตรเลีย Mike Cannon-Brookes ก็ได้ท้าพนันไปยัง Elon Musk ซึ่งเขาได้รับคำท้าว่าจะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ขนาด 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงให้ภายใน 100 วัน หากทำไม่ได้จะให้ฟรีไปเลย
ล่าสุดฟาร์มแบตเตอรี่ดังกล่าวสร้างเสร็จแล้ว โดยเมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา Elon Musk ได้เดินทางไปเปิดโปรเจ็คนี้อย่างเป็นทางการ และเริ่มนับวันจากวันนั้น ซึ่ง Elon ประกาศว่าจะสร้างเสร็จวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ตามการก่อสร้างจริงๆ ได้เริ่มมาก่อนหน้านั้นประมาณครึ่งทางแล้ว แต่ก็ถือว่าทำได้ตามสัญญา
บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลก BP, Shell, Statoil ร่วมกับธนาคาร ABN Amro, ING, Societe Generale และบริษัทเทรดดิ้ง Gunvor, Koch Supply & Trading, Mercuria เตรียมลงขันกันตั้งบริษัทใหม่ทำโซลูชันด้าน blockchain สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน
บริษัทใหม่ยังไม่มีชื่อ แต่มีเป้าหมายจะทำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยี blockchain เพื่อการซื้อขายโภคภัณฑ์พลังงาน (energy commodities) เพื่อทดแทนระบบการซื้อขายที่ใช้กระดาษอยู่ในปัจจุบัน แพลตฟอร์มจะเปิดบริการช่วงปลายปี 2018 และจะเปิดให้ตลาดโภคภัณฑ์เข้ามาใช้งานด้วยในอนาคต
ตัวแทนจากธนาคาร ING ระบุว่าได้ทดสอบระบบ blockchain ติดตามเรือบรรทุกน้ำมันดิบจากแอฟริกาไปยังจีน และประสบความสำเร็จด้วยดี
Microsoft เซ็นสัญญากับ GE ว่าทางบริษัทจะซื้อพลังงานลมจากบริษัทภายใต้ฟาร์มกังหันลมกำลังการผลิต 37 เมกะวัตต์ Tullahennel ที่ County Kerry ประเทศไอร์แลนด์ทั้งหมด 100% เป็นระยะเวลา 15 ปี ซึ่งสัญญานี้ Microsoft และ GE จะร่วมพัฒนาแบตเตอรี่ติดไว้ที่กังหันลมทุกตัวเพื่อเก็บพลังงานส่วนเกินและป้อนให้ grid เพื่อรักษาเสถียรภาพของพลังงาน
พลังงานที่ได้นี้ Microsoft จะนำมาสนับสนุนศูนย์ข้อมูลเพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการบริการคลาวด์ในไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นไปตามแผนการของ Microsoft ที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน 50% ในศูนย์ข้อมูลให้ได้ในปี 2018
Apple ประกาศลงทุนสร้าง Data center ใหม่ใน Iowa อีกราย เม็ดเงินลงทุนสูง 1.3 พันล้านดอลลาร์ พื้นที่ 4 แสนตารางฟุต ตั้งเป้าใช้งานได้ภายในปี 2020
Tim Cook ระบุว่า ศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ที่ Iowa จะช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้ในอเมริกาเหนือในการทำงานต่างๆ เช่น Siri, iMessage, Apple Music โดยศูนย์ข้อมูลใหม่จะใช้พลังงานทดแทนขับเคลื่อนการทำงาน
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ Iowa มีแรงจูงใจให้สร้างศูนย์ข้อมูลคือ Iowa มีนโยบายให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทน ผู้ว่าการรัฐ Kim Reynolds ระบุว่า 36.6% ของการใช้พลังงานในพื้นที่มาจากพลังงานลม ทำเลที่ตั้งของรัฐและพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ ป้องกันความเสียหายเวลาเกิดพายุเฮอริเคนและแผ่นดินไหว
ทางการรถไฟอินเดียได้เริ่มติดตั้งแผงโซลาเซลล์ 16 แผงบนหลังคาของตู้โดยสารรถไฟ โดยเริ่มทดสอบกับรถไฟ 3 ขบวนที่วิ่งย่านชานเมืองของกรุง New Delhi ก่อนจะติดตั้งเพิ่มอีกราว 24 ขบวนต่อไป
หัวจักรรถไฟจะยังคงขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลต่อไป ขณะที่แผงโซลาเซลล์ร่วมกับอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ จะเข้ามาดูแลเรื่องพลังงานไฟฟ้าในแต่ละตู้โดยสารแทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังดีเซล ซึ่งทุกๆ ตู้โดยสาร 6 ตู้ที่ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ช่วยให้การรถไฟอินเดียประหยัดน้ำมันได้ราว 21,000 ลิตรต่อปี
ทางการอินเดียยังมีแผนจะผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ราวๆ 1 GW ภายในปี 2020 และ 5 GW ภายใน 2025
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีประเด็นว่า Elon Musk ทวีตจะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ในรัฐ South Australia ให้ได้ภายใน 100 วัน ไม่งั้นก็จะไม่คิดเงิน เพื่อแก้ปัญหาไฟดับที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนเกิดการพูดคุยเจรจาไม่ว่าจะด้านกฎหมาย เงินทุนหรือพาร์ทเนอร์ของภาคส่วนต่างๆ ขึ้น
ล่าสุดการเจรจาลุล่วงแล้ว โดยทาง Tesla ร่วมกับพาร์ทเนอร์ Neoen บริษัทด้านพลังงานจากฝรั่งเศส เซ็นสัญญากับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อติดตั้ง Powerpack หรือฟาร์มแบตเตอรี่ Lithium-ion ขนาด 129 เมกะวัตต์ชั่วโมง ใกล้กับเมือง Jamestown รัฐ South Australia ร่วมกับฟาร์มพลังงานลมของ Neoen ภายใต้เงื่อนไขติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ให้เสร็จภายใน 100 วันตามที่ Musk เคยลั่นวาจาเอาไว้ด้วย