สัปดาห์ที่แล้ว Huawei จัดงาน Huawei Connect 2018 การประชุมประจำปีฝั่งเอนเตอร์ไพร์สระดับนานาชาติของ Huawei ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ซึ่งธีมปีนี้คือ Activate Intelligence ที่สะท้อนว่า Huawei จะเดินหน้าจริงจังกับการพัฒนาและให้บริการด้าน AI ซึ่งเป็นประเด็นที่ William Xu ซีอีโอหมุนเวียนของ Huawei ขึ้นพูดคีย์โน้ตในวันแรกด้วย
Red Hat ออก OpenShift Container Platform เวอร์ชันใหม่ 3.11 ที่เริ่มผนวกเทคโนโลยีจากบริษัท CoreOS ที่ซื้อกิจการมาตอนต้นปี
OpenShift Container Platform คือดิสโทร Kubernetes Enterprise เวอร์ชันของ Red Hat สำหรับจัดการแอพพลิเคชันองค์กรบนสถาปัตยกรรมยุคคลาวด์ (เทียบได้กับ RHEL คือดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชันองค์กร)
ของใหม่ในเวอร์ชัน 3.11 ได้แก่ Kubernetes 1.11 เวอร์ชันเกือบล่าสุด (ล่าสุดคือ 1.12 ที่เพิ่งออกเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน), ระบบมอนิเตอร์คลัสเตอร์ Prometheus เข้าสถานะ GA, แดชบอร์ด Grafana, พ่วงด้วยฟีเจอร์จาก CoreOS ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่
G Suite เปิดบริการฟีเจอร์ใหม่ Alert Center ระบบแจ้งเตือนปัญหาความปลอดภัยของบัญชี G Suite รวมกันไว้ในที่เดียว
Alert Center จะแจ้งเตือนปัญหาความปลอดภัยด้านต่างๆ ให้แอดมินขององค์กรได้รับทราบ ตั้งแต่ถูก phishing, มัลแวร์, บัญชีมีพฤติกรรมน่าสงสัย ไปจนถึงการถูกเจาะระบบโดยหน่วยงานของรัฐบาล
การแจ้งเตือนแต่ละอย่างจะมีรายละเอียดของปัญหาให้ทราบด้วย เช่น อุปกรณ์ชิ้นที่น่าสงสัย อย่างในภาพเป็นตัวอย่างการแจ้งเตือนอุปกรณ์ Android ที่ถูก root ซึ่งอาจมีผลต่อระบบความปลอดภัยขององค์กร หรือในกรณีที่เป็นมัลแวร์ก็จะแสดงรายการไอพีที่เกี่ยวข้องให้ดูด้วย
ที่มา - G Suite Updates
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 ตัวจริงที่เข้าสถานะ GA (general availability) เรียบร้อยแล้ว
ลูกค้าไมโครซอฟท์ที่ซื้อไลเซนส์แบบ Software Assurance สามารถดาวน์โหลด Windows Server 2019 ได้แล้ว ส่วนลูกค้าที่รันบน Azure ก็สามารถใช้งานได้จาก Azure Marketplace และไมโครซอฟท์ยังมีรุ่นทดลองใช้ฟรี 180 วันให้คนทั่วไปดาวน์โหลดจาก Evaluation Center
ฟีเจอร์ใหม่ใน Windows Server 2019 แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
Cloudera และ Hortonworks สองบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่บน Hadoop ประกาศควบรวมกิจการกัน โดยบริษัทใหม่คาดมีมูลค่ากิจการราว 5,200 ล้านดอลลาร์
รายละเอียดในการควบรวมนั้นระบุว่า เป็นการรวมกิจการเข้าด้วยกัน (ไม่ใช่ใครซื้อกิจการใคร) โดยผู้ถือหุ้น Cloudera เดิม จะถือหุ้น 60% ในบริษัทใหม่ ส่วนที่เหลือเป็นของ Hortonworks นอกจากนี้ Tom Reilly ซีอีโอ Cloudea จะเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่ ส่วน Rob Bearden ซีอีโอ Hortonworks จะย้ายไปเป็นกรรมการบอร์ด
ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาของวงการบล็อคเชน เมื่อสองกลุ่มเทคโนโลยีคู่แข่งประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกัน
Enterprise Ethereum Alliance (EEA) กลุ่มผู้ผลักดันการใช้งาน Ethereum ในองค์กร (ไม่เกี่ยวข้องกับ Ethereum Foundation ที่เป็นผู้พัฒนาหลักของ Ethereum) ประกาศความร่วมมือกับโครงการ Hyperledger ที่ดูแลโดย The Linux Foundation โดยทั้งสององค์กรจะสมัครเป็นสมาชิกของอีกฝ่าย
VirusTotal เป็นบริษัทแอนตี้ไวรัสที่กูเกิลซื้อมาตั้งแต่ปี 2012 และเมื่อต้นปี 2018 ถูกโยกเข้ามาอยู่ภายใต้ Chronicle บริษัทความปลอดภัยใหม่ในเครือ Alphabet
ล่าสุด Chronicle เปิดตัวบริการใหม่ VirusTotal Enterprise เวอร์ชันอัพเกรดสำหรับขายลูกค้าองค์กร โดยเพิ่มความสามารถจากรุ่นปกติ (ที่เป็นของฟรี) ดังนี้
บริษัทสตอเรจ NetApp ประกาศซื้อกิจการ StackPointCloud ผู้เชี่ยวชาญด้าน Kubernetes เพื่อสร้างโซลูชันด้านการจัดการคลัสเตอร์บนคลาวด์
หลังซื้อกิจการแล้ว NetApp จะนำเทคโนโลยีของ StackPointCloud สร้างเป็นบริการใหม่ NetApp Kubernetes Service เป็นแพลตฟอร์ม Kubernetes ที่ทำงานบนคลาวด์ข้ามค่าย ทั้ง AWS, Azure, GCP และ NetApp HCI ของบริษัทเอง
Huawei ประเทศไทยประกาศเปิดตัวบริการพับลิกคลาวด์ Huawei Cloud ในประเทศไทย ภายในงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ที่ผ่านมา
การเปิดบริกาาพับคลิกคลาวด์ในประเทศครั้งนี้ของ Huawei มาพร้อมกับการตั้งดาต้าเซ้นเตอร์ในกรุงเทพ และลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยบริการของ Huawei พร้อมไปด้วยพันธมิตรกว่า 6,000 รายสำหรับการให้บริการโซลูชันที่ครบวงจร อาทิ ชิปประมวลผล, IaaS, PaaS และแอปพลิเคชันเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็เข้ามาลุยตลาด virtual desktop infrastructure (VDI) ด้วยตัวเอง ผ่านบริการใหม่ Windows Virtual Desktop ที่รันบน Azure เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ใดๆ ในองค์กรเลย
Windows Virtual Desktop เป็นบริการเดสก์ท็อปเสมือนดังเช่น VDI ค่ายอื่นๆ ส่วนฟีเจอร์ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งมีดังนี้
ไมโครซอฟท์เผยตัวเลขผู้ใช้ของบริการ Microsoft Teams ว่ามีลูกค้าองค์กรเป็นจำนวน 329,000 องค์กร, ได้องค์กรใหญ่ระดับ Fortune 100 จำนวน 87 องค์กรมาใช้งาน
ไมโครซอฟท์ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งานรวม แต่บอกว่ามีองค์กร 54 แห่งที่มีผู้ใช้เกิน 10,000 คน และองค์กรใหญ่อย่าง Accenture มีผู้ใช้มากกว่า 100,000 คน
Adobe ประกาศเข้าซื้อกิจการ Marketo ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการแผนการตลาดออนไลน์ และงานด้าน CRM ด้วยมูลค่า 4,750 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.5 แสนล้านบาท ทำให้กลายเป็นซื้อกิจการบริษัทเทคโนโลยีดีลใหญ่อีกดีลของปีนี้ และเป็นดีลซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดของ Adobe
ที่น่าสนใจคือ Marketo เพิ่งขายกิจการให้กลุ่มทุน Vista Equity ไปเมื่อปี 2016 ที่มูลค่า 1,800 ล้านดอลลาร์ เท่ากับกลุ่ม Vista นี้ได้กำไรมากกว่าเท่าตัวในเวลาสองปี โดยมีข่าวก่อนหน้าว่า Vista ได้เสนอขายกิจการให้กับ SAP แต่ไม่สามารถตกลงได้เนื่องจากราคาที่ต้องการสูงเกินไป เช่นเดียวกับ Salesforce ที่ได้รับข้อเสนอเช่นกัน แต่มองว่าราคานี้สูงเกินไป
กูเกิลอธิบายกระบวนการลบข้อมูลบน Google Cloud Platform ว่าเมื่อลูกค้าสั่งลบข้อมูลของตัวเอง ข้อมูลนั้นจะอยู่บนเครื่องของกูเกิลไปอีกนานเท่าไร
คำตอบคืออาจนานถึง 6 เดือน
กระบวนการเก็บข้อมูลของ Google Cloud ค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีทั้งระบบที่ใช้งานจริง (active) และระบบแบ็คอัพ ที่เก็บข้อมูลไว้นานไม่เท่ากัน
เมื่อผู้ใช้สั่งขอลบข้อมูล (deletion request) ระบบจะเปลี่ยนสถานะของข้อมูลก้อนนั้นว่าถูกลบ (marked as deleted) แต่ยังไม่ลบข้อมูลออกไปจริงๆ เพราะอยู่ในช่วงเผื่อกู้คืน (recovery period) หลังจากหมดระยะเผื่อกู้คืนแล้ว ข้อมูลจะถูกลบออกจากระบบหลัก แต่ยังเก็บไว้ในระบบแบ็คอัพที่จะเขียนข้อมูลทับของเก่าไปเรื่อยๆ
เกือบหนึ่งปีหลัง กูเกิลจับมือเป็นพันธมิตรกับ Cisco ทำโซลูชันไฮบริดคลาวด์ ล่าสุดบริการตัวนี้เข้าสถานะ generally available (GA) เรียบร้อยแล้ว มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Cisco Hybrid Cloud Platform for Google Cloud
ความร่วมมือนี้จะทำให้องค์กรสามารถรันงานตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นบนคลาวด์ของกูเกิล หรือบนศูนย์ข้อมูลขององค์กรเอง (on premise) ที่ใช้โซลูชันของ Cisco จุดที่น่าสนใจคือการนำแอพพลิเคชันยุคเก่า (legacy) มารันบนคลาวด์ด้วยการครอบ container หรือ API เพื่อให้ scale ได้ง่ายขึ้น
ในยุคของ Windows 10 ที่ยึดแนวคิด Windows as a Service ออกอัพเดตใหญ่ปีละ 2 ครั้ง และอัพเดตแต่ละรุ่นมีระยะเวลาซัพพอร์ตค่อนข้างสั้นคือ 18 เดือน (1 ปีครึ่ง)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายใหม่ว่า Windows 10 เฉพาะรุ่น Enterprise และ Education จะมีระยะเวลาซัพพอร์ตนานขึ้นเป็น 30 เดือน
อย่างไรก็ตาม รุ่นที่ซัพพอร์ตนาน 30 เดือนจะจำกัดเฉพาะรุ่นที่ออกในเดือนกันยายน (เลขเวอร์ชันลงท้ายด้วย 09 เช่น 1709, 1809) เท่านั้น ส่วนรุ่นที่ออกในเดือนมีนาคม (เลขเวอร์ชันลงท้าย 03) จะยังเป็น 18 เดือนเหมือนเดิม ใครงงแนะนำให้ดูตารางประกอบครับ
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตแบบระยะสุดท้าย (extended support) ในวันที่ 14 มกราคม 2020 แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้ Windows 7 ที่ยังเยอะอยู่มาก โดยเฉพาะในตลาดองค์กร ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจต่ออายุซัพพอร์ตแบบเสียเงินให้อีก 3 ปี
ซัพพอร์ตแบบใหม่มีชื่อเรียกว่า Windows 7 Extended Security Updates (ESU) มีอายุถึงเดือนมกราคม 2023 โดยมีให้แค่สำหรับ Windows 7 Professional และ Windows 7 Enterprise เท่านั้น การคิดราคาจะตามจำนวนอุปกรณ์ และราคาจะแพงขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังจะขยายระยะซัพพอร์ตของ Office 365 ProPlus (เวอร์ชันขายไลเซนส์ผูกกับเครื่อง ไม่ใช่ผูกกับบัญชีผู้ใช้) ให้หมดอายุเดือนมกราคม 2023 พร้อมกัน
Huawei Enterprise ได้เปิดตัวโซลูชันสำหรับภาครัฐในการจัดการและรับมือประเด็นด้านความปลอดภัยสาธารณะในชื่อ Safe City Compact สำหรับเมืองที่ประชากรราว 100,000 - 500,000 คน โดยมีซอฟต์แวร์โซลูชันคือ C-C4ISR (Collaborative-Command, Control, Communication, Cloud, Intelligence, Surveillance and Reconnaissance)
Active Directory เป็นบริการไดเรคทอรี (ทำเนียบชื่อสำหรับยืนยันตัวตน-สิทธิการเข้าถึง) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกองค์กร พอมาถึงยุคคลาวด์มันก็กลายร่างเป็น Azure Active Directory (Azure AD) ที่ยังทำหน้าที่เหมือนเดิม
Azure AD มีฟีเจอร์หนึ่งชื่อว่า B2B Collaboration ช่วยให้องค์กรที่ใช้ Azure AD สามารถเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้ โดยที่อีกฝั่งไม่จำเป็นต้องใช้ Azure AD เหมือนกัน (อาจใช้ระบบทำเนียบชื่อค่ายอื่น) ช่วยให้การล็อกอินข้ามระบบกันทำได้ง่าย เพราะต่างฝ่ายต่างใช้บัญชีเก่าของตนได้เลย
ในงาน VMWorld 2018 ทาง VMWare ได้ประกาศว่าบริการ VMWare Cloud on AWS ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง VMWare และ AWS ได้เปิดให้บริการแล้วในซิดนีย์ ก่อนที่จะเปิดให้บริการในโตเกียวภายในสิ้นปีนี้และตามมาด้วยสิงคโปร์ในไตรมาสแรกของปีหน้า
บริการนี้เกิดจากความร่วมมือของผู้ให้บริการคลาวด์ทั้งสองเจ้าตั้งแต่ปี 2016 และเริ่มให้บริการมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ในสหรัฐ
งานเดียวกันนี้ก่อนหน้านี้ก็มีประกาศจาก AWS ในการนำ RDS มารันบน VMWare ด้วย
เราเห็นความร่วมมือระหว่าง VMware และ AWS เพื่อทำไฮบริดคลาวด์กันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยช่วงแรกเป็นการรันซอฟต์แวร์คลาวด์ของ VMware บนเครื่องเช่าของ AWS
หนึ่งปีผ่านมา ในงาน VMworld 2018 ปีล่าสุด ทั้งสองบริษัททำท่ากลับด้านกันคือนำบริการฐานข้อมูล Amazon Relational Database Service (RDS) ที่เดิมมีเฉพาะบนคลาวด์ของ AWS มาสู่เครื่องในองค์กรที่เป็น VMware
ที่ผ่านมา RDS ซัพพอร์ตฐานข้อมูลหลากหลายยี่ห้อ ทั้ง Microsoft SQL Server, Oracle, PostgreSQL, MySQL, MariaDB ส่วนฟีเจอร์ด้านการบริหารจัดการต่างๆ ที่ช่วยลดภาระของแอดมิน ก็ตามจากเวอร์ชันคลาวด์มาสู่เวอร์ชัน on-premise บน VMware เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศระบบการอัพเดตรายเดือนแบบใหม่ของ Windows 10 ที่ไฟล์อัพเดตจะมีขนาดเล็กลง ดาวน์โหลดเร็วขึ้น และเปลืองทรัพยากรในการประมวลผลอัพเดตน้อยลง
ปัจจุบัน Windows 10 แบ่งการอัพเดตเป็น 2 แบบคือ
ประกาศของไมโครซอฟท์รอบนี้มีผลเฉพาะ quality update เท่านั้น
Pure Storage บริษัทผู้ขายฮาร์ดแวร์สตอเรจแบบแฟลช ประกาศการซื้อกิจการครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบริษัท โดยเข้าซื้อ StorReduce บริษัทด้าน software-defined storage โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
StorReduce เป็นบริษัทในแคลิฟอร์เนียที่ทำโซลูชัน software-defined storage สำหรับงานประเภท unstructured data ขนาดใหญ่บนคลาวด์ และเป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านลดการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน (deduplication) สำหรับข้อมูลประเภทออบเจคต์ ช่วยลดพื้นที่และทราฟฟิกในการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์
ข่าวการซื้อกิจการครั้งนี้ บวกกับผลประกอบการไตรมาสสองของ Pure Storage ที่ออกมาดี ทำให้หุ้นของ Pure Storage ดีดตัวเพิ่มทันที
JD บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน เปิดตัวแพลตฟอร์ม blockchain ของตัวเองชื่อ JD Blockchain Open Platform เพื่อให้ลูกค้าองค์กรมาเช่าใช้งาน
JD ระบุว่าแพลตฟอร์ม blockchain นี่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ Retail as a Service (RaaS) ที่ต้องการเปิดเทคโนโลยีของตัวเองให้บริษัทอื่นๆ มาใช้งานได้ด้วย ตอนนี้มีลูกค้ารายแรกที่ใช้งาน JD Blockchain แล้วคือบริษัทประกัน China Pacific Insurance Company (CPIC) ใช้ทำระบบติดตามใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์
JD ไม่ได้ให้ข้อมูลชัดเจนว่าแพลตฟอร์มของตัวเองใช้เทคโนโลยีตัวไหนบ้าง บอกกว้างๆ เพียงว่ารองรับเทคโนโลยี blockchain หลายยี่ห้อ (multiple blockchain bottom layers) และเพิ่มด้วยเครื่องมือที่พัฒนาเองกับเครื่องมือของบริษัทอื่นๆ ด้วย
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ของ Chrome 69 รุ่นถัดไปที่จะออกวันที่ 4 กันยายน โดยเป็นฟีเจอร์ฝั่ง Enterprise สำหรับการใช้งานในองค์กร
มีคนพบข้อมูลของบริการใหม่ไมโครซอฟท์ชื่อ Microsoft Managed Desktop ที่น่าจะเป็นการให้บริการ Windows พร้อมซัพพอร์ต-อัพเดตแบบจ่ายรายเดือน
บริการลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีบริษัทหลายรายให้บริการ desktop-as-a-service (DaaS) สำหรับตลาดองค์กรอยู่แล้ว แต่คราวนี้น่าสนใจว่าพอเป็นไมโครซอฟท์มาทำเอง รูปแบบของมันจะเป็นอย่างไร
แหล่งข่าวของ ZDNet บอกว่า Microsoft Managed Desktop จะรวมเอาบริการทุกอย่าง ตั้งแต่ค่าไลเซนส์ การทำ provisioning ไปจนถึงการอัพเดตและซัพพอร์ตด้วย เป้าหมายก็คือลดภาระของฝ่ายไอทีในองค์กรที่ต้องดูแลอัพเดตเครื่อง Windows 10 จำนวนมากๆ นั่นเอง