Red Hat ประกาศรับช่วงดูแลโครงการ OpenJDK 8 และ OpenJDK 11 ซึ่งเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ต่อจาก Oracle ที่เป็นบริษัทแกนหลักของโลก Java
เรื่องนี้ไม่น่าประหลาดใจนัก เพราะ Red Hat เคยทำแบบนี้มาก่อนแล้วกับ OpenJDK 6 และ OpenJDK 7 เพื่อการันตีว่าลูกค้าของตัวเองจะมีแพตช์ของ OpenJDK ต่อไป แม้ Oracle หยุดซัพพอร์ตไปแล้ว เนื่องจากโมเดลธุรกิจของ Red Hat ขายซัพพอร์ต Java (เวอร์ชัน OpenJDK) บน RHEL ด้วย และล่าสุดเพิ่งเพิ่มการขายซัพพอร์ต OpenJDK บนวินโดวส์อีกช่องทางหนึ่ง
Google เปิดตัว GKE Advanced ระบบ Kubernetes แบบที่ Google Cloud จัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ โดย GKE Advanced จะเน้นการใช้งานในองค์กรเป็นหลัก
Google ระบุว่า ปัจจุบัน GKE จะเหมาะกับการใช้งานบนโปรเจคขนาดไม่ซับซ้อนมาก ในขณะที่ GKE Advanced จะมีฟีเจอร์ต่าง ๆ เหมือน GKE ในปัจจุบัน เสริมด้วยฟีเจอร์ระดับองค์กรหลายอย่าง เช่น ความยืดหยุ่น, ความปลอดภัย และการจัดการที่ดีขึ้น เพื่อให้รองรับผู้ใช้ระดับองค์กรที่มักจะใช้คลัสเตอร์ขนาดใหญ่และมีหลายโปรเจคเข้ามาใช้ร่วมกัน โดยฟีเจอร์ที่สำคัญใน GKE Advanced เช่น
กูเกิลเปิดตัว reCAPTCHA Enterprise สำหรับตลาดองค์กร โดยถือเป็นบริการตัวหนึ่งภายใต้แบรนด์ Google Cloud
reCAPTCHA Enterprise พัฒนาจากเอนจินของ reCAPTCHA v3 ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจะคิดคะแนน "ความเสี่ยง" จากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ (ระดับคะแนนตั้งแต่ 0-10) แล้วให้แอดมินขององค์กรเป็นผู้ตัดสินว่าที่ความเสี่ยงระดับใด ถึงจะให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนด้วยวิธีใดบ้าง (วิธีการหลากหลายตั้งแต่ยืนยันอีเมล หรือยืนยันตัวตนสองปัจจัย) ลูกค้าองค์กรยังสามารถเชื่อมต่อแอพพลิเคชันเดิมเข้ากับ reCAPTCHA Enterprise ได้ผ่าน API มาตรฐานอีกด้วย
ตอนนี้ reCAPTCHA Enterprise ยังมีสถานะเป็น Beta และยังไม่ประกาศราคาออกมา
กูเกิลเปิดตัวชุดบริการปัญญาประดิษฐ์สำหรับธุรกิจระดับองค์กรโดยเฉพาะ โดยเป็น API แยกกันหลายตัว ได้แก่
กูเกิลประกาศจับมือกับบริษัทฐานข้อมูลสายโอเพนซอร์ส 7 ราย นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สชื่อดังมารันบน Google Cloud Platform (GCP) แบบ fully managed
บริษัททั้ง 7 รายได้แก่
GCP จะนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาให้บริการแบบ fully managed (ดูแลระบบ-ปรับแต่งประสิทธิภาพให้) และคิดเงินรวมไปกับบิลปกติของ GCP, มีบริการซัพพอร์ตเป็นระบบเดียวกับของ GCP และสร้างอินเทอร์เฟซตัวเดียวในการจัดการแอพทุกตัวผ่าน GCP
Google Cloud SQL คือบริการฐานข้อมูลแบบ relational database บน Google Cloud ที่เป็นการรันซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลแบบ fully managed (กูเกิลดูแลระบบให้) ที่ผ่านมา Cloud SQL รองรับ MySQL เพียงอย่างเดียว และเพิ่งขยายมายัง PostgreSQL เมื่อปีที่แล้ว
ปีนี้ กูเกิลประกาศรองรับฐานข้อมูล Microsoft SQL Server เป็นตัวที่สาม (สถานะยังเป็น alpha) เพื่อตอบโจทย์งานขององค์กรที่หลากหลายมากขึ้น และจูงใจให้องค์กรที่ต้องรันงานบน SQL Server ย้ายมาอยู่บน Google Cloud ได้ง่ายขึ้นด้วย
บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ช่วงหลัง เริ่มมีสตอเรจประเภท archive สำหรับสำรองข้อมูลที่นานๆ ใช้ที ออกแบบเพื่อใช้แทนการเก็บลงเทป ตัวอย่างบริการลักษณะนี้คือ Amazon S3 Glacier Deep Archive ฝั่งของ Azure ก็มีบริการคล้ายๆ กันชื่อ Azure Archive Storage
ล่าสุด Google Cloud Storage ออกบริการเก็บข้อมูลแบบเดียวกันมาสู้ ตอนนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่กูเกิลเรียกมันเล่นๆ ว่า "ice cold"
จุดต่างของ "ice cold" กับสตอเรจคู่แข่งคือวิธีการเรียกข้อมูลคืน โดยฝั่งของ AWS Glacier จะต้องส่งคำขอเรียกข้อมูล (Retrieval Requests) เพื่อให้ AWS ดึงข้อมูลใน Glacier ออกมาให้เราก่อน ซึ่งต้องรอระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เราจะเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้
Slack อาจมอง Microsoft Teams เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ถึงขั้นซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ ในวันที่ Microsoft Teams เปิดตัว แต่เมื่อโลกธุรกิจหมุนรอบบริการต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่ Slack จะต้องเชื่อมต่อกับบริการของไมโครซอฟท์ให้แนบแน่นขึ้น
วันนี้ Slack จึงประกาศทำ integration กับบริการแอพในชุด Office 365 ของไมโครซอฟท์หลายตัว ดังนี้
ปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว Cloud Services Platform (CSP) ชุดซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการแอพพลิเคชันบนคลาวด์ โดยเป็นการรวมเอา Kubernetes, Istio เข้ากับซอฟต์แวร์อื่นๆ ของกูเกิล
CSP เป็น "ซอฟต์แวร์" มันจึงใช้บริหารจัดการได้ทั้งคลาวด์ของกูเกิล และคลาวด์ในองค์กรที่เป็น on-premise ได้ด้วย
ปีนี้ในงาน Google Cloud Next กูเกิลประกาศรีแบรนด์ CSP ใหม่ในชื่อว่า Anthos พร้อมประกาศว่า สามารถใช้ Anthos ไปจัดการคลาวด์ค่ายคู่แข่งทั้ง AWS และ Azure ได้เช่นกัน
Alibaba ได้ยืนยันว่าตอนนี้ทางบริษัทได้เข้าซื้อ Teambition ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวางแผนโปรเจคจากจีน ซึ่งเป็นคู่แข่ง Trello เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Teambition นั้นเคยระดมทุนมาราว 17 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2013 โดยมีผู้ลงทุนหลักคือ Tencent, Microsoft, IDG Capital และ Gobi Ventures
บริการของ Teambition เป็นการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเน้นการวางแผนและทำงานร่วมกัน โดยมีอินเทอร์เฟสหลักเป็นงานเกี่ยวกับการวางแผน, ซอฟต์แวร์ CRM ที่ชื่อ Bingo ไปจนถึง knowledge base ที่ภาคธุรกิจสามารถใช้เก็บเอกสารและข้อมูลอื่น ๆ ได้
เมื่อปี 2011 HP (เดิมก่อนแยกบริษัท) เคยเตรียมปรับตัวเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรแบบเดียวกับที่ไอบีเอ็มเคยทำ โดยเข้าซื้อบริษัท Autonomy จากอังกฤษ ด้วยราคา 11 พันล้านดอลาร์ แต่ซื้อไปได้เพียงปีเดียวก็ประกาศด้อยค่าทรัพยสินไป 8.8 พันล้านดอลลาร์ โดยให้เหตุผลมีการตกแต่งบัญชี วันนี้คดีก็อยู่ในศาลสูงลอนดอนแล้วโดยทาง HPE เป็นผู้กล่าวเปิดคดี
ทนายของ HPE ระบุว่านอกจาก Autonomy จะลงบัญชีรับรู้รายได้อย่างไม่ถูกต้องแล้ว ยังมีการขายฮาร์ดแวร์ในราคาขาดทุน เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดหุ้น
Zoom บริษัทซอฟต์แวร์วิดีโอคอนเฟอเรนซ์สำหรับตลาดองค์กร ยื่นเอกสารเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว
Zoom เป็นสตาร์ตอัพที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2011 โดย Eric Yuan อดีตพนักงานจากทีม WebEx เดิม (ปัจจุบันเป็นของ Cisco) และได้รับความนิยมมาอย่างเงียบๆ ในตลาดองค์กร ในปีการเงินที่ผ่านมา Zoom มีรายได้ 330 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 2 เท่าจากปีก่อน แถมมีกำไรประมาณ 7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าหาได้ยากสำหรับสตาร์ตอัพในรุ่นเดียวกัน
ปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Virtual Desktop ของตัวเองบน Azure แต่ยังทดสอบในวงจำกัด วันนี้ Windows Virtual Desktop ได้ฤกษ์เปิดรุ่นพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบกัน
จุดเด่นของ Windows Virtual Desktop คือเป็นบริการ virtual desktop infrastructure (VDI) ที่ไมโครซอฟท์ทำเอง ปรับแต่งประสิทธิภาพมาสำหรับการรัน Office 365 ProPlus แถมยังรองรับ Windows 7 ไปจนถึงปี 2023 แบบไม่ต้องเสียเงินค่าต่ออายุแพตช์ความปลอดภัยในช่วง 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย
Facebook ประกาศอัพเดต Workplace ซึ่งเป็น Facebook สำหรับการใช้งานภายในองค์กร โดยระบุว่าตอนนี้ Workplace มีผู้ใช้แบบเสียเงินถึง 2 ล้านคนแล้วในระยะเวลาเพียง 2 ปีกว่า ๆ เท่านั้น หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2016
Workplace by Facebook นี้มีองค์กรใหญ่ใช้งานเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ Walmart, Nestle, Delta Air Lines, Booking.com, Virgin Atlantic ไปจนถึงสตาร์ทอัพอย่าง Spotify, Grab หรือแม้กระทั่ง NGO อย่าง WWF, Unicef UK และ Save the Children ซึ่งถ้านับเฉพาะองค์กรใหญ่ที่มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า 1 หมื่นคนที่ใช้ Workplace ก็มีราว 150 แห่ง
นักวิจัยจาก Eclypsium บริษัทด้านความปลอดภัยฮาร์ดแวร์รายงานการค้นพบช่องโหว่บนเฟิร์มแวร์ BMC (Baseboard Management Controller) ที่เอาไว้ให้แอดมินติดตามสถานะและสั่งการเครื่องผ่านทางไกลบนเซิร์ฟเวอร์ Bare-Metal โดยช่องโหว่เปิดให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์หรือส่งคำสั่งควบคุมได้ แม้ตัวเซิร์ฟเวอร์จะผ่านการลบข้อมูลของผู้ให้บริการคลาวด์ก่อนส่งต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่อไปให้ลูกค้ารายใหม่ก็ตาม
เราเห็นไมโครซอฟท์พยายามผลักดันการใช้งาน Mixed Reality กับการใช้งานเฉพาะทาง เช่น การประชุมทางไกล การรีโมทเข้าไปแก้ปัญหาหน้างาน แต่ที่ผ่านมาก็ยังเน้นเฉพาะบนแพลตฟอร์มแว่น HoloLens เป็นหลัก
ล่าสุดไมโครซอฟท์ขยายบริการเหล่านี้มายังอุปกรณ์พกพาด้วย โดยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของโปรแกรมชุด Dynamics 365 (รวม CRM+ERP เข้าด้วยกัน)
Google Cloud ภายใต้ยุคซีอีโอคนใหม่ Thomas Kurian เริ่มเดินหน้าซื้อกิจการมาเสริมทัพแล้ว
บริษัทแรกที่ซื้อมาในยุคของ Kurian คือ Alooma ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายข้อมูล (data migration) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าองค์กรย้ายฐานข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เดิมมาสู่คลาวด์ ซอฟต์แวร์ของ Alooma ช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรที่มีฐานข้อมูลจำนวนมากๆ กระจัดกระจายอยู่ตามฝ่ายต่างๆ สามารถย้ายขึ้นคลาวด์ได้ง่ายขึ้น
กูเกิลอธิบายว่าซื้อ Alooma เข้ามาเพื่อต่อพ่วงกับบริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ของตัวเอง เช่น Cloud Spanner และ Cloud Bigtable รวมถึงประกาศว่าจะเดินหน้าซื้อกิจการต่อไปอีก
ไอบีเอ็มมีทำบริการคลาวด์มานานแต่การใช้งานโดยทั่วไปก็ยังจำกัด ล่าสุดบริษัทหันมาขยายคลาวด์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ POWER9 ที่ยังใช้งานอยู่ในตลาดองค์กร โดยจะขยายศูนย์ข้อมูลที่รองรับ POWER9 อีกหลายศูนย์ รวมถึงโซนเอเชียภายในปีนี้ด้วย
ก่อนหน้านี้ บริการ IBM Cloud เคยให้บริการเซิร์ฟเวอร์ POWER9 มาก่อนแล้ว แต่มีเฉพาะในศูนย์ข้อมูลดัลลัสเท่านั้น โดยประกาศครั้งนี้ระบุว่าจะเพิ่มศูนย์ข้อมูลวอชิงตัน, ยุโรป, และเอเชีย
Chris Jackson พนักงานของไมโครซอฟท์ เขียนลงบล็อกของบริษัท เชิญชวนให้องค์กรทั่วโลกเลิกใช้งาน IE กันอย่างจริงจัง
เขาเล่าจากประสบการณ์ที่พบกับลูกค้าจำนวนมาก และได้คำถามอยู่เสมอว่าจะใช้งานเว็บไซต์เดิมด้วย IE ได้อย่างไร ซึ่งเขามองว่าการเลือกใช้ IE ต่อไปเป็นทางเลือกที่ "ง่าย" แต่ก่อหนี้ทางเทคนิค (technical debt) ตามมามากมาย
เขาย้อนประวัติศาสตร์ของ IE ในอดีต และยอมรับว่าแนวทางของ IE ก็เลือกความง่ายที่ก่อหนี้ตามมาในระยะยาวเสมอ ตัวอย่างคือ IE6 ที่มีโหมดเรนเดอร์แบบ quirks ยอมแสดงผลเว็บที่เขียนมาสำหรับ IE5 ซึ่งในกรณีของ IE8 ก็ทำแบบเดียวกันกับโหมดรองรับการแสดงผลแบบ IE7
จากกรณี Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนมกราคม 2020 โดยไมโครซอฟท์เปิดให้องค์กรซื้อแพตช์ความปลอดภัยเพิ่มได้อีก 3 ปี ภายใต้โครงการชื่อ Extended Security Updates (ESU)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศราคาออกมาแล้ว โดยราคาคิดต่อจำนวนอุปกรณ์ และราคาจะแพงขึ้นทุกปี ไมโครซอฟท์ยังแบ่งราคาออกเป็น 2 แบบคือ ลูกค้า Windows 7 Pro ไลเซนส์ปกติ และลูกค้าที่มีไลเซนส์ Windows 10 Enterprise อยู่แล้ว สามารถซื้อแพตช์ของ Windows 7 ESU ได้แบบ add-on ในราคาถูกลงครึ่งหนึ่ง
หลังกูเกิลแยกส่วน Hangouts สำหรับตลาดองค์กรเป็น Hangouts Chat สำหรับแชท และ Hangouts Meet สำหรับการประชุม ฝั่งของ Hangouts Meet ก็ดูไปได้เรื่อยๆ และมีชุดฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุมที่ออกแบบมาสำหรับ Hangouts Meet โดยเฉพาะ
ล่าสุดกูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Logitech ออกชุดฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุม Logitech Room Solutions for Meet มาด้วยกัน 3 ขนาด สำหรับห้องประชุมขนาด 2-6 คน, 6 คนขึ้นไป และ 12 คนขึ้นไป
ชุดฮาร์ดแวร์เหล่านี้ประกอบด้วยกล้องของ Logitech, ลำโพง/ไมโครโฟน, คอนโทรลเลอร์ และ Chromebox สำหรับใช้ประมวลผล โดยมีราคาเริ่มต้นที่ชุดละ 3,000 ดอลลาร์ ซึ่ง Logitech โฆษณาว่าถูกกว่าชุดฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุมในท้องตลาดมาก
เมื่อปลายปีที่แล้ว Amazon เปิดตัว Corretto หรือ OpenJDK เวอร์ชันของตัวเอง เพื่อใช้ทดแทน Java 8 SE ที่ Oracle เริ่มคิดเงินค่าใช้งาน
ล่าสุด Amazon Corretto 8 ที่เทียบเท่า OpenJDK 8 (เป็นเวอร์ชัน 8u202) มีสถานะเป็น Generally Available (GA) พร้อมใช้งานแล้ว สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี ทั้งบน Windows, macOS, Linux รวมถึงระบบปฏิบัติการ Amazon Linux 2 และมีเวอร์ชัน Docker image ให้ด้วย
Amazon ระบุว่าจะพัฒนา Corretto 11 ซึ่งเทียบเท่า Java 11 ที่เป็นรุ่น LTS ตามมาต่อไป
นอกจาก Office แล้ว ไมโครซอฟท์ยังมีซอฟต์แวร์ฝั่งธุรกิจอีกแบรนด์คือ Dynamics ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ตระกูล ERP/CRM
ในปี 2016 ไมโครซอฟท์จัดทัพ Dynamics ใหม่เป็นชุด Dynamics 365 ที่เป็นบริการบนคลาวด์ และคิดค่าบริการรายเดือนแบบเดียวกับ Office 365 และเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะอัพเดตฟีเจอร์ให้ Dynamics 365 ปีละสองครั้ง แบบเดียวกับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลของอัพเดตตัวแรกคือ April ’19 Release ที่จะทยอยปล่อยให้ใช้งาน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2019 จนถึงเดือนกันยายน 2019 (ก่อนก้าวเข้าสู่อัพเดตตัวที่สองคือ October '19 ต่อไป)
AWS เปิดตัวบริการใหม่ WorkLink สำหรับการแปลงเว็บภายในองค์กรให้พนักงานที่อยู่นอกเครือข่ายบริษัทสามารถเปิดใช้งานได้โดยไม่ต้อง VPN โดยอาศัยการเรนเดอร์หน้าเว็บใหม่ให้กลายเป็น SVG เพื่อป้องกันการนำข้อมูลออก
การแปลงเว็บให้กลายเป็นเว็บอาจจะดูแปลก แต่สำหรับหน่วยงานที่มีกฎการกำกับดูแลสูงๆ เช่น บริการสุขภาพ หรือบริการทางการเงิน จำเป็นต้องมีมาตรการสำหรับป้องกันไม่ให้พนักงานสำเนาตัวข้อมูลดิบออกไปได้ โดยข้อความทั้งหมดไม่สามารถเลือกข้อความได้ (เพราะกลายเป็นภาพ SVG ไปแล้ว) และ WorkLink ไม่อนุญาตให้กดดาวน์โหลดไฟล์ พฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับการทำ remote desktop เข้าไปใช้งานแอปภายใน
กูเกิลประกาศแผนการย้ายผู้ใช้ Hangouts Classic (เฉพาะบน G Suite) ไปใช้ Hangouts Chat ตัวใหม่ โดย Hangouts Classic จะใช้ได้จนถึงเดือนตุลาคม 2019