อาจจะไม่ใช่ข่าวดีนักสำหรับ Google เมื่อหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยงานด้านการผูกขาดของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เตรียมเสนอให้ทางคณะกรรมาธิการ ยื่นฟ้อง Google ในข้อหาละเมิดกฎหมายการผูกขาด หลังจากที่สอบสวนกรณีนี้ยาวนานกว่า 5 ปี
ประเด็นที่ Google จะถูกยื่นฟ้องดำเนินคดีในครั้งนี้ เกิดจากการร้องเรียนของคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุในข่าวว่าเป็นใคร) ที่ระบุว่าบริการค้นหา (search engine) ของ Google นั้น มักจะนำเสนอผลการค้นหาซึ่งให้ความสำคัญกับบริการของตัวเองมากกว่าของคู่แข่งที่เหมือนกัน ซึ่งอาจทำให้ Google ถูกปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และอาจมีผลทำให้คณะกรรมาธิการยุโรป เข้าสอนสวนในเรื่องอื่นเพิ่มเติมจนกระทบการดำเนินธุรกิจได้
คณะกรรมาธิการของยุโรป (European Commission) ประกาศเตรียมสอบสวนเชิงลึก (in-depth investigation) Amazon และประเทศลักเซมเบิร์ก เกี่ยวกับข้อตกลงทางด้านภาษี ซึ่งทางคณะกรรมาธิการของยุโรปสงสัยว่า ข้อตกลงระหว่าง Amazon กับลักเซมเบิร์ก ผิดข้อตกลงของสหภาพยุโรปที่ระบุไว้เกี่ยวกับความช่วยเหลือของภาครัฐ (illegal state aid) หรือไม่
เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะ Amazon รายงานตัวเลขผลกำไรของบริษัทในภูมิภาคยุโรปที่เกิดจากบริษัทลูกที่ตั้งอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก แต่ปรากฏว่าผลกำไรดังกล่าวกลับไม่ถูกเก็บภาษีเลยแม้แต่น้อย ซึ่งทางคณะกรรมาธิการของยุโรป ระบุว่ากรณีนี้อาจเป็นการเลือกปฏิบัติของทางลักเซมเบิร์ก ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงของสหภาพยุโรปที่ทางลักเซมเบิร์กเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย
คณะกรรมาธิการยุโรปขีดเส้นตายย้ายคลื่น 700MHz จากเดิมใช้แพร่ภาพโทรทัศน์ไปให้บริการเครือข่ายอุปกรณ์พกพาในปี 2020 หลังจากการปรึกษาหารือกับผู้ให้บริการทั้งสองฝ่ายในหลายประเทศเป็นเวลากว่าครึ่งปี
โดยกำหนดเส้นตายในปี 2020 อาจบวกลบได้ไม่เกิน 2 ปี หากว่ามีความพร้อมไวกว่ากำหนด หรือผู้ให้บริการโทรทัศน์บางรายไม่พร้อม หลังจากการปรึกษากับหลายประเทศพบว่าผู้ให้บริการโทรทัศน์ใช้คลื่นย่าน 700MHz ต่างกันไป ยกตัวอย่างอิตาลีที่ใช้คลื่นย่านดังกล่าวกับการออกอากาศทีวีดิจิทัล เป็นต้น
หลังจากที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ผ่านกฎหมาย Net Neutrality เมื่อสองปีที่แล้วเป็นประเทศแรกของยุโรป ในที่สุด รัฐสภายุโรปก็ผ่านกฏหมายในลักษณะเดียวกัน โดยกฎหมายของรัฐสภายุโรปมีความเข้มแข็งกว่าของประเทศเนเธอแลนด์เสียอีก แต่ว่ากฎหมายนี้ก็ยังขาดข้อกำหนดการบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่านได้ในปลายปีนี้
รัฐสภายุโรป (European Parliament) ลงมติอนุมัติข้อเสนอของคณะกรรมการยุโรป (European Commission) มีผลให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือในยุโรปไม่มีค่าโรมมิ่งข้ามประเทศ โดยจะมีผลตั้งแต่ช่วงคริสต์มาสปี 2015 เป็นต้นไป
คณะกรรมการยุโรปมีแนวคิดว่าต้องการทำลายกำแพงระหว่างประชากรยุโรป เพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้นและการติดต่อสื่อสารภายในทวีปมีราคาถูกกว่าเดิม โดยข้อเสนอของคณะกรรมการมีชื่อเรียกว่า Connected Continent (ทวีปที่เชื่อมต่อกัน) เสนอไปยังรัฐสภายุโรปตั้งแต่เดือนกันยายน 2013 และเพิ่งผ่านการโหวตเมื่อวานนี้
ขั้นต่อไป สมาชิกแต่ละประเทศในสหภาพยุโรปจะนำข้อบังคับในระดับทวีปไปลงรายละเอียดเป็นข้อบังคับในระดับประเทศ ซึ่งน่าจะเสร็จช่วงสิ้นปี 2014
หลังจากที่ได้มีการพูดคุยกันมาได้ซักพัก ล่าสุดวันนี้ European Commission ได้ออกมาประกาศแผนการรวมตลาดโทรคมนาคมทุกประเทศสมาชิกเข้ามาเป็นเพียงตลาดเดียว โดยได้บอกว่าการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมครั้งนี้จะทำให้ GDP ของ EU เพิ่มขึ้นถึง 146 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
แผนปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมในครั้งนี้ พอสรุปคร่าว ๆ ได้ตามนี้
Neelie Kroes รองประธานคณะกรรมการสหภาพยุโรป (EC) ได้ออกมาบอกว่าเธออยากเห็นการยกเลิกค่าโรมมิ่งเครือข่ายมือถือภายนสหภาพยุโรปทั้งหมด ในช่วงแรกของปี 2014 โดยเธอได้พูดกลางสภาสหภาพยุโรปว่า อยากให้ตัวแทนสมาชิกสภาสหภาพยุโรปทุกคน กลับไปบอกประชาชนในพื้นที่ตัวเอง ว่าพวกเขาจะได้เห็นวันที่ไม่มีค่าบริการโรมมิ่งอีกต่อไป
เธอยังบอกอีกว่าก่อนหน้านี้ที่สหภาพยุโรป สามารถบังคับให้ผู้ให้บริการลดค่าโรมมิ่งมาอยู่ที่ 0.70 ยูโรต่อเมกะไบต์ได้ด้วยกฎหมายที่เพิ่งบังคับใช้ในปี 2012 ถือว่าเป็นความสำเร็จที่แม้แต่ผู้ที่ไม่ชอบสหภาพยุโรปยังต้องยอมรับว่า EU ทำได้ดี