ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่าแอปเปิลเตรียมเปิดให้ผู้ให้บริการระบบจ่ายเงิน ในกลุ่มประเทศ EU สามารถเข้าถึง NFC เพื่อใช้งานระบบแตะจ่ายเงิน (Tap-and-go) ในอุปกรณ์ iOS ได้ เพื่อให้เป็นตามแนวทางที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission) มองว่าแอปเปิลเข้าข่ายผูกขาดไม่ให้ผู้พัฒนารายอื่นเข้าถึง NFC เพราะจำกัดไว้เฉพาะ Apple Pay ซึ่งล่าสุดแอปเปิลออกมายืนยันเรื่องนี้แล้ว
มีรายงานว่าหน่วยงานด้านการแข่งขันของสหภาพยุโรปหรือ EU ได้หารือกับตัวแทนของ Amazon ประเด็นที่บริษัทจะซื้อกิจการ iRobot ผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ Roomba โดยคาดว่า EU จะปฏิเสธการซื้อกิจการดังกล่าว
ทั้งนี้ตามขั้นตอนซื้อกิจการนั้น จะต้องผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลก่อน โดยคณะกรรมการจะออกคำตัดสินภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์
ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุโรปออกความเห็นต่อดีลดังกล่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ว่าดีลนี้จะทำให้การแข่งขันในตลาดหุ่นยนต์ดูดฝุ่นลดลงมากกว่าเดิม อีกทั้ง Amazon สามารถใช้อำนาจที่เหนือกว่าในช่องทางการขาย กีดกันผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นคู่แข่งรายอื่นได้อีกด้วย
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศว่าหน่วยงานจะเริ่มการสืบสวน ว่าตลาดด้านเทคโนโลยีสองอย่างได้แก่ Virtual Worlds หรือโลกเสมือน และ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหา มีการแข่งขันในตลาดที่เป็นปกติหรือไม่ หรือต้องใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแลการแข่งขันเพิ่มเติม
ในแถลงการณ์นี้มีการระบุชื่อบริษัทเพียงกรณีเดียวคือ Microsoft และ OpenAI ซึ่งคณะกรรมการยุโรปจะสืบสวนเพิ่มเติมว่าความร่วมมือนี้ส่งผลให้ตลาดเป็นของผู้เล่นรายใหญ่หรือไม่ และอาจเข้าข่ายต้องใช้กฎหมายการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ (ปัจจุบัน Microsoft ถือหุ้นหลักใน OpenAI ส่วนธุรกิจ For-Profit)
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง รายงานผลสืบเนื่องจากที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประเมินว่าบริการ Apple Pay เข้าข่ายผูกขาดระบบจ่ายเงินบน iOS เพราะเป็นแอปเดียวที่เข้าถึง NFC ได้ เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่มีการระบุว่าแอปเปิลมีความผิด อย่างไรก็ตามดูเหมือนแอปเปิลก็เตรียมรับมือล่วงหน้าเลย
รายงานบอกว่าแอปเปิลได้เริ่มพูดคุยกับผู้ให้บริการระบบจ่ายเงินในกลุ่มประเทศ EU ถึงวิธีการเข้าถึง NFC และระบบแตะเพื่อจ่าย (Tap-and-go) ในอุปกรณ์ iOS แล้ว ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการยุโรปน่าจะออกคำตัดสินว่าแอปเปิลมีความผิดหรือไม่ในเดือนหน้า
Financial Times รายงานข่าวว่า กูเกิลกับโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ในยุโรปบางราย เช่น Vodafone, Deutsche Telekom, Telefónica, Orange ยื่นจดหมายให้คณะกรรมการยุโรป (European Commission) พิจารณาว่าบริการ iMessage ของแอปเปิลเข้าข่ายเป็นบริการดิจิทัลที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก (gatekeeper) ตามกฎหมาย Digital Markets Act ฉบับใหม่ เพื่อบีบให้แอปเปิลต้องเปิด iMessage ให้เชื่อมต่อกับบริการคู่แข่งรายอื่นได้ด้วย
ตามที่กรรมมาธิการยุโรปออกกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ที่มีแพลตฟอร์มซึ่งมีสถานะแข็งแกร่งได้เปรียบเหนือรายอื่นเป็น Gatekeeper ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาเชื่อมต่อใช้งาน และแข่งขันได้ ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีที่เข้าข่าย 6 ราย ล่าสุดมีรายงานว่าแอปเปิลพยายามชี้แจงในส่วนของเบราว์เซอร์ Safari ว่าไม่ได้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างที่ถูกระบุ
กรณีของแอปเปิลนั้น มีบริการ 3 อย่างที่ถูกระบุว่าเป็น Gatekeeper คือ iOS, App Store และ Safari ทำให้แอปเปิลต้องเปิดให้ใช้สโตร์ภายนอกโหลดแอปได้ และต้องให้ใช้เอ็นจินอื่นของเบราว์เซอร์ได้นอกเหนือจาก WebKit กำหนดภายในมีนาคม 2024
Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรป หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการยุโรป 27 คน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยสเตอร์ว่าควรเปิด ecosystem ของตัวเองให้คู่แข่ง ตามแนวทางของกฎหมาย DMA
Breton พูดถึงบริการสำคัญๆ ที่แอปเปิลยังผูกกับตัวเอง เช่น Wallet, App Store, และเบราว์เซอร์ ขณะที่ประกาศของกรรมาธิการยุโรปนั้นระบุว่าแอปเปิลมีสถานะเป็น gatekeeper ในบริการระบบปฎิบัติการ iOS, เบราว์เซอร์ Safari, และ App Store
Breton ให้สัมภาษณ์ครั้งนี้หลังพบกับ Tim Cook ก็อาจจะเป็นท่าทีว่าคณะกรรมาธิการยุโรปยังแข็งกร้าวกับบริษัทเทคขนาดใหญ่ต่อไป
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการยุโรปเข้าสอบสวน Microsoft หลัง Salesforce ที่เป็นเจ้าของ Slack ร้องเรียนว่าอาจเข้าข่ายผูกขาด เหตุ Microsoft พ่วง Teams เข้ามาในชุด Microsoft 365 ล่าสุด Microsoft ยอมขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams แล้ว
Microsoft ระบุว่าบริษัทจะขาย Microsoft 365 แบบไม่พ่วง Teams ในราคาที่ถูกลง รวมถึงจะพยายามทำให้ Microsoft 365 และ Office 365 ทำงานร่วมกับเครื่องมือของคู่แข่งได้ง่ายขึ้นด้วย
ดีลที่ Adobe ประกาศซื้อกิจการ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มถูกหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่าง ๆ มาสอบสวนมาเป็นการผูกขาดหรือไม่ ล่าสุด คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission ประกาศเตรียมทำการสอบสวนเต็มรูปแบบ หลังจากประเมินขั้นต้นว่าอาจเป็นการผูกขาดตลาด
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดการค้าของ EU มองว่าดีลนี้ทำให้ Adobe สามารถควบคุมตลาดในระดับโลก ให้ลดการแข่งขัน ลูกค้ามีตัวเลือกซอฟต์แวร์ออกแบบงานน้อยลง โดยทาง EU จะดูรายละเอียดว่าหากดีลนี้สำเร็จ ลูกค้าจะยังมีทางเลือกอยู่มากพอหรือไม่
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศเข้าสอบสวนไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการ (formal investigation) จากกรณีการพ่วง Microsoft Teams ไปกับ Office 365/Microsoft 365 อาจละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันของยุโรป
การสอบสวนนี้เริ่มจากการร้องเรียนของคู่แข่ง Slack มาตั้งแต่ปี 2020 และช่วงต้นปีนี้ มีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์อาจยอมหยุดพ่วง Teams เพื่อแลกกับที่คณะกรรมการยุโรปไม่เข้ามาสอบสวน แต่สุดท้ายไม่เกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการยุโรปเข้ามาสอบสวนอย่างเป็นทางการ
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU-U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของยุโรป 27 ประเทศ ลงมติเห็นชอบกฎหมายสินทรัพย์คริปโต Markets in Crypto-assets (MiCA) ที่เริ่มเสนอกันมาตั้งแต่ปี 2022 ทำให้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาคที่มีข้อกฎหมายด้านคริปโตอย่างชัดเจน
สาระสำคัญของ MiCA เป็นเรื่องการขอใบอนุญาตทำธุรกิจด้านคริปโต ซึ่งเป็นใบอนุญาตเดียวทั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป, การเปิดเผยข้อมูล และการสำรองสินทรัพย์ค้ำประกัน stablecoin
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ประกาศอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ตรงตามข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
คณะกรรมการบอกว่าหลังสอบสวนในเชิงลึกแล้ว พบว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ไม่กระทบต่อการแข่งขันในตลาดเกมคอนโซล และบริการเล่นเกมแบบเหมาจ่าย (multi-game subscription services)
Reuters อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด EU ระบุว่าจะอนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard หลังคณะกรรมการยุโรป (European Commission) พอใจกับมาตรการเยียวยาที่ไมโครซอฟท์เสนอ ทั้งการสัญญาว่านำเกมลงแพลตฟอร์มคู่แข่งทั้ง Nintendo และ NVIDIA
ทางคณะกรรมการยุโรปมีกำหนดลงมติว่าจะอนุมัติหรือปฏิเสธดีลนี้ในวันที่ 25 เมษายน 2023
ถึงแม้ผ่านด่าน EU ได้ แต่ไมโครซอฟท์ยังต้องเจออุปสรรคสำคัญคือ FTC ของสหรัฐอเมริกา และ CMA ของสหราชอาณาจักรที่คัดค้านดีล
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) ออกคำชี้แจงล่าสุด ในข้อร้องเรียนจาก Spotify ว่าแอปเปิลผูกขาดทางการค้าของระบบ App Store มีผลต่อบริการสตรีมมิ่งเพลง
โดยก่อนหน้านี้ EC มีมุมมองเบื้องต้นว่าแอปเปิลกีดกันการค้าจริงใน 2 ประเด็นคือ (1) บังคับใช้ In-App Purchase ทำให้คู่แข่งไม่สามารถทำต้นทุนแข่งได้ (2) ห้ามผู้พัฒนาแอป โฆษณาหรือแจ้งช่องทางจ่ายเงินอื่น ภายในแอปบนแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตามในคำชี้แจงล่าสุดนี้ EC บอกว่าได้ตัดประเด็น In-App Purchase ออกไป โดยจะทำการสอบสวนเฉพาะประเด็นการห้ามโฆษณาช่องทางจ่ายเงินอื่นเท่านั้น
คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของ EU หรือสหภาพยุโรป ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนขององค์กรต้องลบแอป TikTok ออกจากโทรศัพท์มือถือส่วนตัว และอุปกรณ์สำนักงาน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันข้อมูลและเพิ่มระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์
ทั้งนี้ European Commission ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทั้งประจำและสัญญาจ้างรวมประมาณ 32,000 คน คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องลบแอปออกภายในวันที่ 15 มีนาคม หากไม่ปฏิบัติตาม จะถูกบล็อกไม่สามารถเข้าถึงอีเมลของหน่วยงาน รวมทั้ง Skype ได้
ตัวแทนของ TikTok กล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าวของ European Commission มาจากความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม และบริษัทรู้สึกผิดหวังต่อแนวทางที่ประกาศออกมา
Financial Times รายงานข่าวว่าบริษัท Twitter ปิดสำนักงานในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ตอนนี้ไม่มีพนักงานเหลืออยู่แล้ว โดยมีทั้งกลุ่มที่ถูกปลดออกและกลุ่มที่ลาออกไปเอง
ความสำคัญของสำนักงานที่บรัสเซลส์ คือการเป็นจุดติดต่อประสานงานกับสหภาพยุโรปที่มีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์เช่นกัน ทำให้ตอนนี้ Twitter ไม่เหลือพนักงานที่ติดต่อกับสหภาพยุโรปเหลืออีกแล้ว หากหน่วยงานภาครัฐต้องร้องขอให้ Twitter ลบข้อมูลที่ผิดกฎหมายบางอย่างตาม กฎหมาย Digital Services Act ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้
คณะกรรมการยุโรป (European Commission เทียบได้กับรัฐบาลของ EU) ประกาศตั้งทีมสอบสวนเชิงลึกเรื่องดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการ เพื่อดูว่ามีผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมเกมหรือไม่ ทั้งบนพีซีและคอนโซล
European Commission ระบุว่าสนใจประเด็นที่ไมโครซอฟท์อาจใช้อิทธิพลผ่านเกมของ Activision Blizzard (เช่น Call of Duty) เพื่อกีดกันคอนโซลคู่แข่ง รวมถึงการใช้เกมเหล่านี้ผ่านบริหารสมาชิกแบบ Game Pass หรือ xCloud มาบีบคู่แข่งที่เป็นบริการแบบเดียวกัน (เช่น GeForce Now)
คณะทำงานมีเวลา 90 วันจนถึง 23 มีนาคม 2023 เพื่อให้ European Commission ตัดสินใจต่อไปว่าจะให้ดีลนี้ผ่านหรือไม่
เมื่อปี 2018 คณะกรรมาธิการยุโรปออกคำสั่งปรับ Google เป็นเงินราว 4,300 ล้านยูโร ฐานละเมิดข้อกำหนดห้ามผูกขาดทางการค้าผ่าน Android รวมถึงให้ติดตั้งแอป Google Search เป็นค่าตั้งต้น หลังจากนั้น Google ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลกลาง (General Court) สหภาพยุโรป
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ได้เผยแพร่ร่างข้อเสนอ กำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในยุโรป ต้องมีอะไหล่ขายสำหรับซ่อมแซม 15 ชิ้นส่วนหลัก เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มขาย ซึ่งเคยมีรายงานเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวตั้งแต่ปีที่แล้ว
15 ชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ในร่างข้อเสนอ อาทิ แบตเตอรี่, ฝาหลัง, กล้องหน้า-หลัง, ส่วนเชื่อมต่อเสียง, พอร์ตชาร์จไฟ, ลำโพง เป็นต้น
ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้โหวตผ่านร่างพระราชบัญญัติด้วยคะแนน 339 ต่อ 249 เสียง ให้แบนการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป
ร่างพระราชบัญญัตินี้มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ 100% ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ แปลว่ารถที่มีเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน, ดีเซล หรือไฮบริดทุกชนิด ก็ต้องหยุดขายทั้งหมด
ด้านพรรคประชาชนยุโรป (European People's Party) ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้พยายามขอยกเว้นรถไฮบริดให้ขายต่อได้ แต่ก็ไม่เป็นผล ส่วนพรรคกรีนก็อยากให้เลื่อนกำหนดการแบนเข้ามาเร็วขึ้นเป็นปี 2030 ก็ไม่เป็นผลเช่นกัน
ปัจจุบันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชาติยุโรปมาจากรถยนต์ราว 12%
สมาชิกรัฐสภาและ EU ประกาศบรรลุข้อตกลง บังคับใช้พอร์ตประเภทเดียว ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการยุโรปโหวตผ่าน และนำเสนอร่างไปก่อนหน้านี้ โดยกำหนดเป็นพอร์ต USB-C มีผลในฤดูใบไม้ร่วง หรือครึ่งหลังของปี 2024
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ถูกบังคับใช้ในประกาศนี้ยังมี อีรีเดอร์ หูฟังเอียร์บัด เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา ลำโพงพกพา ยกเว้นแล็ปท็อป ที่จะมีผลบังคับใช้ 40 เดือน นับจากวันที่คำสั่งนี้เริ่มมีผล
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกผลการประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าบริการ Apple Pay เข้าข่ายผูกขาดระบบจ่ายเงินบน iOS เพราะเป็นบริการเดียวที่สามารถเข้าถึง NFC บนอุปกรณ์ iOS ได้
คณะกรรมการยุโรปบอกว่าการที่แอปเปิลจำกัดไม่ให้นักพัฒนารายอื่นใช้ NFC เพื่อจ่ายเงินได้ เป็นการปิดกั้นการแข่งขัน และทำให้ Apple Pay เป็นบริการที่ครองตลาดเพียงรายเดียว
ตอนนี้คณะกรรมการฯ ได้ส่งจดหมายแจ้งเตือนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ (เป็นกระบวนการตามมาตรฐาน และยังไม่ถือเป็นการตัดสินว่าผิด) และจะเริ่มกระบวนการสอบสวนในขั้นต่อไป หากพบว่าแอปเปิลผิดจริงก็จะถือว่าผิดกฎหมายมาตรา 102 ของสหภาพยุโรปที่ห้ามผูกขาด
ความคืบหน้าประเด็นที่คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission เสนอบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท โดยมีเป้าหมายในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล่าสุดคณะกรรมาธิการด้านการปกป้องตลาดและผู้บริโภคยุโรป ลงคะแนนเสียง 43 ต่อ 2 สนับสนุนการแก้ไขระเบียบบังคับตามที่เสนอ
ข้อกำหนดใหม่ระบุว่าอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา และลำโพงพกพา ที่สามารถชาร์จผ่านสายได้ จะต้องรองรับพอร์ต USB-C มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ที่เล็กเกินไปสำหรับการใส่พอร์ต USB-C เช่น สมาร์ทวอทช์ สายรัดข้อมูลสุขภาพ
Mairead McGuinness กรรมการยุโรปด้านการเงิน ประกาศแผนเสนอกฎหมาย "ยูโรดิจิทัล" โดยจะเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะในเร็วๆ นี้ และตั้งเป้าผ่านกฎหมายในรัฐสภายุโรปช่วงต้นปี 2023
ร่างกฎหมายที่ McGuinness กล่าวถึง จะให้อำนาจกับธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank หรือ ECB) ในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC)
ฝั่งของ ECB ก็เริ่มงานพัฒนาต้นแบบ "ยูโรดิจิทัล" ไปบ้างแล้ว โดยยังไม่ฟันธงว่าจะเลือกโซลูชันทางเทคนิคแบบใด (มีทางเลือกทั้งแบบ centralized/decentralized ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง) และคาดว่าจะออกต้นแบบได้ช่วงปลายปี 2023