มีข่าวกันมาต่อเนื่องว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ใช้พนักงานฟังข้อมูลเสียงเพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการ (กูเกิล, แอปเปิล, Skype) แต่ไม่ได้ชี้แจงเรื่องนี้ชัดเจน ล่าสุด Facebook ก็มีรายงานว่าจ้างพนักงานมาฟังข้อมูลบันทึกเสียงเช่นกัน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Facebook ได้จ้างพนักงานเอาท์ซอร์สหลายร้อยคน เพื่อถอดข้อความเสียงของผู้ใช้งานที่มีการใช้ผ่านบริการต่าง ๆ ทั้งนี้พนักงานที่ออกมาให้ข้อมูลไม่ได้เปิดเผยว่าเสียงดังกล่าวมาจากบริการตัวใดของ Facebook
หลังจากที่มีข่าวว่า Facebook กำลังเจรจากับสำนักข่าวใหญ่ นำคอนเทนต์ข่าวมาลงแท็บใหม่ ล่าสุด Facebook ออกมายืนยันว่ากำลังพัฒนาเมนูข่าวใหม่นี้อยู่จริง และจะเปิดตัวภายในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้
แต่ Facebook ไม่ได้ระบุเพิ่มเติมเรื่องที่ Wall Street Journal รายงานว่าบริษัทได้จ่ายเงินให้สำนักข่าวเพื่อนำข่าวมาลงด้วย ซึ่งตัว มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ก็เคยเปรยเรื่องนี้ตอนที่พูดคุยกับ Mathias Döpfner ซีอีโอบริษัท Axel Springer ธุรกิจสื่อในเยอรมัน มาร์กยังบอกด้วยว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนได้รับข่าวที่น่าเชื่อถือ และช่วยให้นักข่าวทั่วโลกทำงานที่สำคัญของพวกเขาได้
Wall Street Journal รายงานว่าเฟซบุ๊กติดต่อดีลกับสำนักข่าวหลายเจ้า และจ่ายเงินร่วมล้านดอลลาร์ เพื่อนำคอนเทนต์มาลงในเซกชั่นข่าวของเฟซบุ๊ก ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวภายในปี 2019 นี้
โดยสำนักข่าวที่เฟซบุ๊กเข้าไปดีลด้วยเบื้องต้นมี ABC News, The Washington Post, Bloomberg ด้านมาร์ค ซักเกอเบิร์ก เผยเป็นนัยๆ มาก่อนหน้านี้ว่าเฟซบุ๊กจะเปิดเซกชั่นข่าวใหม่ และเป็นโมเดลให้อ่านฟรี
ผู้อ่าน Blognone ก็คงทราบดีอยู่แล้วว่า Instagram และ WhatsApp นั้น มี Facebook เป็นเจ้าของ แต่การสื่อสารด้านแบรนด์นั้นทั้ง Instagram และ WhatsApp ก็ดูเป็นอิสระ แยกขาดจาก Facebook พอสมควร
ล่าสุดมีรายงานจาก The Infomation บอกว่า Facebook ได้แจ้งฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกของ Instagram และ WhatsApp โดยเฉพาะชื่อที่แสดงใน App Store กับ Play Store โดยเติมคำว่า from Facebook เข้าไป เป็น Instagram from Facebook และ WhatsApp from Facebook
Facebook ประกาศโอเพนซอร์สเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจจับรูปภาพและวิดีโอ ที่มีการละเมิดเด็ก เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ นำไปใช้งาน หรือหากหน่วยงานมีเครื่องมือแบบนี้อยู่แล้ว ก็สามารถนำเทคโนโลยีของ Facebook ไปต่อยอดเพิ่มเติมได้ โดยเทคโนโลยีที่ใช้มีชื่อเรียกว่า PDQ สำหรับตรวจจับรูปภาพ และ TMK+PDQF สำหรับตรวจจับวิดีโอ
ทั้งนี้ Facebook บอกว่าเป็นครั้งแรกที่บริษัทโอเพนซอร์สที่เกี่ยวข้องกับการจับคู่ภาพและวิดีโอ ซึ่งพัฒนาต่อยอดจาก PhotoDNA ของไมโครซอฟท์ และเป็นการเลือกโอเพนซอร์สตามกูเกิลที่เปิด Content Safety API ไปเมื่อปีที่แล้ว
ศาลยุติธรรมยุโรปหรือ The Court of Justice of the European Union (CJEU) ชี้ เว็บไซต์ที่ฝังปุ่มโชว์จำนวนไลค์จากโซเชียลมีเดียไว้ ต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้งานก่อน เพราะถือว่าเป็นการถ่ายข้อมูลไลค์จากที่หนึ่งไปยังหน่วยงานภายนอก
CJEU ทำหน้าที่ตีความกฎหมายและทำให้แน่ใจว่า กฎหมายมีการนำไปใช้ในทางเดียวกันทุกประเทศในสหภาพยุโรป
ปลั๊กอินยอดไลค์ในเว็บไซต์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ หรือสินค้าขอตัวเองว่าได้รับความนิยมขนาดไหนในโซเชียลมีเดีย แต่เรื่องมันเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคชาวเยอรมันฟ้องร้องเว็บไซต์ Fashion ID ผู้ค้าปลีกแฟชั่นออนไลน์ฐานการละเมิดกฎการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการใช้ปุ่มปลั๊กอินยอดไลค์บนเว็บไซต์ โดยศาลชี้ว่ากรณีนี้ เป็นการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์นั้นๆ
คำเตือน: มีการเปิดเผยเนื้อหา
Netflix มีหนังสารคดีใหม่เรื่อง The Great Hack ว่าด้วยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียของบริษัท Cambridge Analytica และหาประโยชน์จากข้อมูลนั้นให้ฝ่ายการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016
The Great Hack นำเสนอการสืบสวนเจาะลึกบริษัท Cambridge Analytica โดยตรง เปิดโปงวิธีการใช้ข้อมูลและวิธีการใช้โซเชียลเป็นช่องทางในการควบคุมความคิดทางการเมืองของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้หนังยังเปิดเผยความจริงที่น่าตกใจหลายอย่าง Blognone เห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจและควรเขียนแนะนำเป็นอย่างยิ่ง
Facebook เปิดตัว Instant Games ระบบเล่นเกมกับเพื่อนผ่าน Messenger มาราว 2 ปีแล้ว ล่าสุด Facebook ตัดสินใจเตรียมย้าย Instant Games ออกจาก Messenger กลับไปยัง Facebook โดยจะนำมาอยู่ในส่วนของ Facebook Gaming
Leo Olebe ผู้จัดการฝ่ายเกมของ Facebook ระบุว่า ทางบริษัทจะย้ายส่วนเกมเพลย์โดยแบ่งเป็นขั้น ๆ เพื่อให้ Messenger เป็นแอปที่เบา, เร็ว และง่าย โดยเร็ว ๆ นี้ Instant Games จเะไม่สามารถเล่นโดยตรงผ่าน Messenger บน iOS ได้อีก คือผู้ใช้ยังเข้าเกมผ่าน thread, updates และ chatbots ได้เหมือนเดิม แต่ตัวเกมจะถูกย้ายไปที่แอป Facebook
เมื่อวานนี้เฟซบุ๊กประกาศปิด 10 เพจ 12 บัญชีที่มีพฤติกรรมร่วมกันในการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตน โดยส่งจดหมายข่าวเป็นภาษาไทย วันนี้ก็มีจดหมายข่าวบนเว็บก็มีภาพเพิ่มเติมแสดงตัวอย่างว่าแบนเพจใดไปบ้าง
ภาพตัวอย่างแสดง 4 เพจที่ถูกแบนได้แก่ LandDestroyer หรือ Tony Cartalucci (เซ็นเซอร์ชื่อเพจแต่ทิ้งโลโก้ไว้), The New Atlas, The Local Revolution, New Eastern Outlook จากการตรวจสอบพบว่าทวิตเตอร์เองก็แบนบัญชีเหล่านี้ในเวลาใกล้เคียงกัน
เฟซบุ๊กประกาศว่าได้แบนเพจจำนวน 10 เพจ และบัญชีผู้ใช้รวม 12 บัญชีในประเทศไทย ในฐานะที่บัญชีเหล่านี้มีพฤติกรรมร่วมกันในการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตน (coordinated inauthentic behavior - CIB) โดยวิจารณ์นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย และ
รายงานของเฟซบุ๊กระบุว่าเพจและบัญชีเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับวารสาร New Eastern Outlook ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลรัสเซีย พร้อมกับระบุว่ามีผู้ติดตามบัญชีทั้งหมดรวมกันประมาณ 38,000 คน และใช้เงินน้อยกว่า 18,000 ดอลลาร์ หรือ 540,000 บาทเพื่อโฆษณา
Facebook รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 มีรายได้รวม 16,624 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2,616 ล้านดอลลาร์ โดยในไตรมาสนี้ Facebook บันทึกค่าปรับที่จ่ายให้ FTC เพิ่มเติมอีก 2 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งหมดเป็น 5 พันล้านดอลลาร์ ตามที่รายงานก่อนหน้านี้
จำนวนผู้ใช้งาน Facebook เป็นประจำทุกวัน (DAUs) 1,587 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 8% ส่วนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) มี 2,414 ล้านบัญชี แต่หากนับรวมเครือ Facebook ทั้ง 4 แพลตฟอร์ม (Facebook, Instagram, WhatsApp และ Messenger) DAUs อยู่ที่ 2,100 ล้านบัญชี และ MAUs 2,700 ล้านบัญชี
ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2018 ที่ FTC ได้ทำการสืบสวนคดีที่ Facebook ทำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานรั่วไหลโดยมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากบริษัทวิจัยข้อมูล Cambridge Analytica โดยกระทบถึง 89 ล้านราย (อ่านบทความย้อนหลังได้ ที่นี่) ล่าสุด FTC ออกมาประกาศผลการสืบคดีอย่างเป็นทางการแล้วว่า Facebook ต้องจ่ายค่าปรับ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 150,000 ล้านบาท และ Facebook ต้องตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องการจัดการข้อมูลในบริษัทด้วย
ถัดจากความเห็นของประธานาธิบดี Donald Trump ต่อ Libra มาเป็นคิวของ Steven Mnuchin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ ที่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
Mnuchin บอกว่า Libra อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ฟอกเงิน หรือเป็นช่องทางสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องความมั่นคงของชาติ (national security) ที่เกิดขึ้นมาแล้วกับเงินคริปโตอย่าง Bitcoin และเขารู้สึก "ไม่สบายใจ" (not comfortable) กับการเปิดตัว Libra
เฟซบุ๊กประกาศเปิดซอร์สโครงการ Hermes JS Engine เอนจินจาวาสคริปต์สำหรับรันโค้ดบนโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะแอนดรอยด์และเฟรมเวิร์ค React Native
จุดสำคัญของ Hermes คือมันไม่ได้โหลดโค้ดจาวาสคริปต์มาคอมไพล์ขณะที่รันครั้งแรกเหมือนเอนจินอื่นๆ แต่อาศัยการคอมไพล์ไว้ล่วงหน้าเป็นไบต์โค้ด เมื่อติดตั้งแอปแล้วตัวเอนจินจึงโหลดไบต์โค้ดมารัน ทำให้กระบวนการเปิดแอปเร็วขึ้น นอกจากความเร็วในการรันครั้งแรก Hermes ยังปรับการใช้หน่วยความจำให้ประหยัดหน่วยความจำขึ้น ลดเวลาการรัน garbage collection (GC) เพื่อให้แอปตอบสนองเร็ว
เป้าหมายของ Hermes คือรองรับ ECMAScript 6 แต่ตอนนี้ยังมีบางฟีเจอร์ที่ React Native ไม่ได้ใช้จึงเลือกที่จะไม่อิมพลีเมนต์ โดยเฉพาะฟังก์ชั่น eval ที่ถูกตัดออกไป
Wall Street Journal (WSJ) อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่ากรรมการการค้าสหรัฐฯ (Federal Trade Commission - FTC) ได้ข้อตกลงนอกศาลกับเฟซบุ๊ก ให้จ่ายค่าปรับ 5,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท จากความล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หลายครั้ง ทั้งคดี Cambridge Analytica และคดีการทำข้อมูลหลุดครั้งต่อๆ มา
ทางโฆษก FTC ไม่ให้ความเห็นต่อข่าวนี้ โดยรายงานของ WSJ ระบุว่ากรรมการเสียงแตกทำให้ต้องลงคะแนนเห็นชอบต่อการตกลงกับเฟซบุ๊ก เสียงอนุมัติข้อตกลงชนะไปด้วยคะแนน 3 ต่อ 2 และได้ส่งสำนวนไปให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบอยู่
ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กเคยกันเงินไว้เป็นค่าปรับ จำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยปีที่แล้วเฟซบุ๊กมี "กำไร" ทั้งหมด 22,000 ล้านดอลลาร์
อยู่ๆ Donald Trump ก็เปิดศึกกับสายเหรียญ เมื่อเจ้าตัวทวีตว่าตัวเขาเองไม่ได้ชื่นชอบบิทคอยน์หรือเงินคริปโตเท่าไหร่นัก เพราะเขามองว่าของเหล่านี้ไม่ใช่เงิน มูลค่าของมันขึ้นอยู่กับอากาศธาตุและไม่มีความแน่นอนเลย ขณะที่เงินคริปโตที่ไม่ถูกควบคุมก็มีโอกาสจะถูกนำไปเป็นเครื่องมือของการกระทำที่ผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ยังพูดถึง Libra ของ Facebook ด้วยว่ามันจะมีความน่าเชื่อถือต่ำ หาก Facebook หรือบริษัทอื่นๆ ต้องการจะทำตัวเป็นธนาคาร ก็ควรจะยื่นเรื่องเพื่อขอใบอนุญาตในการเป็นธนาคารและเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเหมือนธนาคารอื่นๆ
โครงสร้างของ Libra เองเป็นโครงสร้างสองชั้น ตัวเงิน Libra ไม่ได้ขออนุญาตจากชาติใดชาติหนึ่งเป็นพิเศษ แต่ตั้งสำนักงานบริหารกองทุนสำรองอยู่ในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ตัวบริการที่ผู้ใช้ทั่วไปจะใช้งานได้นั้น ทางเฟซบุ๊กตั้งบริษัท Calibra เป็นบริษัทลูกที่ระบุว่าจะทำตามกระบวนการกำกับดูแลในสหรัฐฯ เต็มที่
ตามที่ Facebook เคยประกาศก่อนหน้านี้ โดยเมื่อผู้ใช้งานเห็นโฆษณาในหน้าฟีด แล้วเลือกปุ่ม Why am I seeing this? จากเดิมที่เราจะเห็นข้อมูลคร่าว ๆ ว่า ข้อมูลส่วนตัวใดของเราที่ทำให้เป็นปัจจัยถูกแสดงโฆษณาแบบเจาะกลุ่มนี้ คราวนี้ Facebook ขยายข้อมูลให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
โดยข้อมูลใหม่ที่เพิ่มเข้ามา จะระบุไปถึงระดับว่าพาร์ทเนอร์หรือบริษัทใด ที่อัพโหลดข้อมูลของเราไปให้ รวมทั้งแบรนด์หรือบริษัทโฆษณาใดที่ใช้ข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งมีระบุว่าข้อมูลส่วนตัวเรานั้น มาจากพฤติกรรมใด (เช่นกดไลก์เพจไหน เข้าชมเว็บอะไร) และเราสามารถเลือกกำหนดการตั้งค่าข้อมูลเหล่านี้ได้
โครงการเงินคริปโต Libra ของ Facebook ยังคงได้รับแรงกดดันจากรัฐบาลแต่ละประเทศต่อเนื่อง ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg ได้สัมภาษณ์ Subhash Garg เลขาธิการหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของอินเดีย โดยเขาบอกว่าประเทศอินเดียยังไม่พร้อมสำหรับเงินคริปโตแบบนี้ อีกทั้ง Facebook เองก็ยังไม่ให้รายละเอียดที่ชัดเจน
การที่หน่วยงานอินเดียออกมาแสดงความเห็นเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะอินเดียอยู่ในขั้นตอนการร่างกฎหมายห้ามซื้อขาย ถือครอง ตลอดจนขุดเงินคริปโต โทษสูงสุดคือจำคุก 10 ปี
ช่วงค่ำที่ผ่านมาเฟซบุ๊กและเว็บในเครือ รวมถึง Messenger และ Instagram มีปัญหาภาพโหลดไม่ขึ้นเป็นวงกว้าง ตอนนี้สองบริการหลักคือเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมก็ออกมาประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าทราบปัญหาแล้ว กำลังดำเนินการแก้ไข
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนที่เฟซบุ๊กล่มทั้งหมดไปช่วงหนึ่ง ทางเฟซบุ๊กก็ประกาศผ่านทวิตเตอร์เช่นเดียวกัน
เกร็ดเล็กๆ อย่างหนึ่งคือเฟซบุ๊กนั้นจะวิเคราะห์ทุกภาพที่เราอัพโหลดไว้เสมอ และใส่ไว้ในฟิลด์ alt ใน HTML ทำให้เมื่อภาพโหลดไม่ขึ้น เราจะเห็นข้อความว่าเฟซบุ๊กเห็นภาพเราเป็นอะไร เช่น ข้อความ, หน้าคน ฯลฯ
Maxine Waters สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐ และประธานคณะกรรมาธิการด้านบริการทางการเงินของสภาฯ ร่วมกับ ส.ส. คนอื่นๆ เขียนจดหมายถึง Mark Zuckerberg และผู้บริหารของ Facebook ขอให้หยุดโครงการเงินคริปโต Libra โดยทันที จนกว่าจะหน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาตรวจสอบก่อน
ในจดหมายระบุว่าเอกสาร whitepaper ของ Libra ยังขาดรายละเอียดที่สำคัญอีกมาก ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการกำกับดูแล และอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของทั้งโลก เมื่อบวกกับประวัติของ Facebook ในช่วงที่ผ่านมาที่มีประเด็นปัญหาขัดแย้งมากมาย และบริษัทก็แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถคุ้มครองข้อมูลของผู้ใช้งานได้
Facebook ประกาศปรับลดการแสดงผลเนื้อหาบน News Feed ที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพซึ่งเกินความจริง เช่น การรักษาโรคให้หายอย่างอัศจรรย์, การให้ข้อมูลสุขภาพที่บิดเบือนหรือเกินจริง เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่ YouTube ทำก่อนหน้านี้
โดย Facebook บอกว่าอัลกอริทึมปรับลดการแสดงผลดังกล่าวเริ่มใช้งานแล้วประมาณ 1 เดือน มีผลกระทบต่อคอนเทนต์ 2 ประเภทหลักคือ เนื้อหาที่ให้ข้อมูลการรักษาโรคที่เกินความจริง และโพสต์ขายสินค้าด้านสุขภาพที่เกินความจริง
Facebook บอกว่าเพจส่วนมากจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เว้นแต่มีการโพสต์เนื้อหาในกลุ่มที่ระบุข้างต้น
Facebook กำลังทดสอบปิดการแจ้งเตือนหรือ notification สีแดงที่มักปรากฏบนมุมขวาบนของหน้าจอเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ข้อดีคือช่วยให้รู้ความเคลื่อนไหว แต่ก็สร้างความรำคาญไม่น้อยเลย โดยฟีเจอร์ใหม่นี้จะสามารถตั้งค่าได้จากในแอพ Facebook เลย
จากหน้าจอจะเห็นว่าสามารถปิดได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนเมื่อมีคนมาตอบคอมเม้นท์ ไลค์รูป หรือการแจ้งเตือนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง เช่น วิดีโอใหม่จากกลุ่ม การแจ้งเตือนจาก Marketplace ซึ่งจากเดิมถ้าผู้ใช้งานอยากปิดแจ้งเตือนก็ต้องตั้งค่าในมือถือเอง
ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเกิดประเด็นการขุดโพสต์ทวีตเก่าๆ ขึ้นมาจนนำมาสู่การวิพากย์วิจารณ์ต่างๆ นานา ซึ่งประเด็นที่ Blognone ต้องการจะนำเสนอในบทความนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความเห็นของใครหรือประเด็นทางการเมืองใดๆ แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขข้อความสเตตัสไม่ว่าจะบน Facebook หรือ Twitter นั้นง่ายดายมากๆ และการแคปหน้าจอหรือ screenshot อาจไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ได้อย่างที่คิด
เปิดตัวมาไม่ทันไรก็งานเข้าซะแล้ว Facebook Calibra กระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับสกุลเงิน Libra ถูก Current สตาร์ตอัพธนาคารดิจิทัลแบบไม่มีสาขา ออกมาโวยว่าโลโก้ของ Calibra แทบจะเหมือนกับ Current ทุกประการ
ยิ่งไปกว่านั้น Stuart Sopp ซีอีโอของ Current ยังเล่าว่า Facebook จ้างบริษัทออกแบบเจ้าเดียวกับที่ทำโลโก้ให้ Current ด้วย นั่นคือบริษัท Character ในซานฟรานซิสโก ซึ่งรับงานออกแบบให้บริษัทไอทีหลายราย (เช่น Google, Uber, Fitbit, Adobe)
สัปดาห์นี้ข่าวใหญ่ที่สุดของสัปดาห์คงหนีไม่พ้นการที่เฟซบุ๊กเปิดตัวสกุลเงิน Libra ร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่อีกหลายราย การออกเงินคริปโตสกุลใหม่เป็นเรื่องที่เราเห็นกันได้บ่อยๆ ตั้งแต่บิตคอยน์ราคาทะยานขึ้นสูงช่วงปลายปี 2017 แต่การที่เฟซบุ๊กและพันธมิตรตัดสินใจลงมาสู่ตลาดนี้ นอกจากความน่าตื่นเต้นที่บริษัทขนาดใหญ่ร่วมลงทุน