Federal Trade Commission
บริการส่งข้อความส่วนตัว Snapchat ที่มีปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว กรณีข้อมูลผู้ใช้รั่ว 4.6 ล้านบัญชี จนทำให้คณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) ต้องเข้ามาสอบสวน
ผลการสอบสวนของ FTC พบว่า Snapchat โฆษณาฟีเจอร์ด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่พยายามป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ตามที่อ้าง ทำให้มีช่องทางดึงข้อมูลส่วนตัวในระบบออกมาหลายวิธี และกรณีที่โดนแฮ็กจนข้อมูลรั่วนั้น Snapchat ได้รับคำเตือนจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยแล้วแต่ยังเพิกเฉย
ท่ามกลางแอพไฟฉายที่มีอยู่มากมายบนแอนดรอยด์ แอพตัวที่คนใช้เยอะมากๆ ตัวหนึ่งคือ Brightest Flashlight (ยอดดาวน์โหลดอยู่ระหว่าง 50-100 ล้านครั้ง) อย่างไรก็ตาม แอพตัวนี้กลับถูกคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ตรวจพบว่าแอบดึงพิกัดของผู้ใช้งานแล้วส่งข้อมูลนี้ให้บริษัทโฆษณา
FTC ได้สั่งให้บริษัท GoldenShores ผู้พัฒนาแอพตัวนี้ห้ามเก็บข้อมูลพิกัดของผู้ใช้โดยไม่อธิบายอย่างชัดแจ้งว่าเก็บไปทำไม และส่งข้อมูลให้ใครบ้าง, ลบข้อมูลเก่าที่เคยสะสมมาทั้งหมดภายใน 10 วัน, นอกจากนี้ยังต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจต่อ FTC เป็นเวลาอีก 10 ปีด้วย
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ได้เห็นชอบการเข้าซื้อ WhatsApp ของเฟซบุ๊กแล้ว พร้อมกันนั้นได้เตือนทางเฟซบุ๊กว่า WhatsApp จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงด้านสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้ WhatsApp ต่อไป
เนื่องจากในปี 2011 เฟซบุ๊กเคยละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานมาแล้ว และเฟซบุ๊กได้ทำข้อตกลงกับ FTC ไว้ว่าจะต้องแจ้งและได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ก่อน หากจะเผยแพร่ข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการตั้งค่าส่วนตัวของผู้ใช้ และหาก WhatsApp ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงข้างต้น จะถือว่าทั้งสองบริษัทละเมิดทั้งข้อตกลงและกฎหมาย
หลังจากถูกจับได้ว่าซัมซุงมีส่วนรู้เห็นกับการจ้างคนไปโพสต์ความเห็นในเชิงลบกับ HTC One เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุดคณะกรรมการการค้าเสรีของไต้หวัน (FTC) ลงดาบซัมซุงด้วยการปรับเงินเป็นจำนวนมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 10 ล้านบาท)
นอกจากค่าปรับก้อนใหญ่ของซัมซุงแล้วยังมีผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นบริษัทการตลาดในไต้หวันที่โดนหางเลขค่าปรับไปอีกรายละประมาณ 300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน
ก่อนหน้านี้เองซัมซุงก็เคยถูก FTC ของไต้หวันปรับไปเมื่อครั้งโฆษณาฟีเจอร์กล้องของ Galaxy Y Duos เกินจริงไปเมื่อต้นปีเช่นกัน
ที่มา - Phys.org
FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หยุดการสอบสวนกูเกิลในข้อหาผูกขาดและกีดกันคู่แข่ง (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) หลังจากกูเกิลทำข้อตกลงยอมความและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ FTC ต้องการ
ข้อตกลงระหว่าง FTC กับกูเกิล แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
1) สิทธิบัตรด้านมือถือของโมโตโรลา
กูเกิลรับรองว่าจะไม่กีดกันถ้าหากคู่แข่งขอใช้งานสิทธิบัตรพื้นฐานของวงการโทรคมนาคม ที่กูเกิลได้มาจากการซื้อกิจการโมโตโรลา
คณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐหรือ FTC ประกาศอนุมัติคำร้องของ Facebook ในการซื้อกิจการแอพถ่ายภาพชื่อดัง Instagram เรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการอนุมัติด้วยคะแนนโหวตเอกฉันท์ 5-0
จากนี้ไป Facebook จะดำเนินกระบวนการด้านเอกสารเพื่อควบรวม Instagram ตามที่ต้องการ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
ที่น่าเสียดายสำหรับ Instagram คือการซื้อกิจการครั้งนี้จ่ายด้วยเงินสด 300 ล้านดอลลาร์ และหุ้นของ Facebook อีก 23 ล้านหุ้นซึ่งตอนนั้นมีมูลค่าประมาณ 700 ล้านดอลลาร์ แต่ช่วงหลังหุ้นของ Facebook ร่วงลงอย่างหนัก จนมูลค่าส่วนของหุ้นตกมาเหลือเพียง 447 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ารวมลดลงจากเดิม 1 พันล้านดอลลาร์มาเหลือประมาณ 747 ล้านดอลลาร์ครับ
ข่าวภาคต่อของ กูเกิลอาจโดน FTC ปรับ โทษฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ Safari ครับ สรุปคือกูเกิลยอมรับผิด จ่ายค่าปรับ 22.5 ล้านดอลลาร์ให้กับคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) เป็นที่เรียบร้อย
ความสำคัญของข่าวนี้คือตัวเลข 22.5 ล้านดอลลาร์ถือเป็นค่าปรับสูงสุดเท่าที่ FTC เคยสั่งปรับมา ซึ่ง Jon Leibowitz ประธานของ FTC ก็ให้สัมภาษณ์ว่านี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนต่ออุตสาหกรรมออนไลน์ว่า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่แค่ไหนก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของ FTC เรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ถ้ายอมปฏิบัติตามแต่โดยดีจะได้ไม่ต้องโดนปรับเยอะขนาดนี้และอาจต้องโดนปรับบ่อยๆ ถ้าผิดซ้ำอีก
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายผูกขาดของสหรัฐประเมินว่า การซื้อกิจการของ Facebook/Instagram อาจต้องใช้เวลาระหว่าง 3-12 เดือน (เป็นไปได้มากที่สุดคือ 6 เดือน) เพื่อรอคณะกรรมการการค้าของสหรัฐหรือ FTC อนุมัติดีลนี้
ตามกฎแล้ว FTC ต้องตรวจสอบการซื้อกิจการทุกรายที่มีมูลค่าเกิน 66 ล้านดอลลาร์ ซึ่งใช้เวลาขั้นต่ำ 30 วัน แต่ถ้ามีประเด็นปัญหาหรือสงสัย FTC ก็สามารถเรียกบริษัททั้งสองมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (แปลว่าใช้เวลานานขึ้นไปอีก)
สำหรับกรณีนี้ FTC เป็นห่วงว่า Facebook จะกลายเป็นผู้นำด้านการแชร์ภาพถ่ายออนไลน์-มือถืออย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้มีอำนาจต่อรองเรื่องโฆษณาสูงและอาจกีดกันคู่แข่งในวงการได้ (งานนี้มีข่าวลือมาว่ากูเกิลและทวิตเตอร์เป็นคนร้องเรียนไปยัง FTC ให้เข้ามาสอบสวนในประเด็นนี้)
เพิ่งมีข่าวว่า กลุ่ม EPIC จะร้อง FTC ให้สอบสวนกูเกิลในประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวของฟีเจอร์ Search, plus Your World แต่ล่าสุดมีข่าวว่า FTC จะสอบสวนกูเกิลในประเด็นการผูกขาดแทน
ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด Search, plus Your World ของกูเกิลกลายเป็นประเด็นร้อน นอกจากวิวาทะกับ Twitter (ซึ่งตามมาด้วยข้อหา "ผูกขาด") ก็ยังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวตามมา
เมื่อเดือนที่แล้วเราเพิ่งเห็น ข้อตกลงระหว่าง Facebook กับ FTC ในนโยบายด้านความเ
เรื่องราวเบื้องหลังของข่าวนี้ ต้องย้อนกลับไปอ่าน ข่าวก่อนหน้านี้ กันสักเล็กน้อย จะไ
ปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นจุดตายของ Facebook มาโดยตลอด และมักจะโดนสอบสวนจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ อยู่เสมอ
ล่าสุดหนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานข่าววงในว่า Facebook กำลังเจรจายอมความกับคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) เพื่อปรับวิธีการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของ FTC ที่เข้าสอบสวน Facebook ในปี 2009
แหล่งข่าวระบุว่าเงื่อนไขของ FTC ได้แก่
หลังจากคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) เริ่มเข้าสอบสวนการทำธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของกูเกิล แต่ยังไม่มีใครทราบประเด็นที่ FTC จะสอบสวน ล่าสุด หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า FTC จะเน้นการสอบสวนไปยังสองประเด็นคือ
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐหรือ FTC เข้าสอบสวนการทำธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของกูเกิลในภาพรวมว่า เข้าข่ายการผูกขาดหรือใช้อำนาจเหนือตลาดเพื่อกีดกันคู่แข่งหรือไม่
ในฝั่งยุโรป กูเกิลถูก EU สอบสวนมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนฝั่งสหรัฐเองก็มีความพยายามจากคณะอนุกรรมการของวุฒิสภาสหรัฐเช่นกัน
Google Buzz ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสารมากตัวหนึ่งของกูเกิล เพราะนอกจากจุดกระแสไม่ติดแล้ว ยังโดนฟ้องและร้องเรียนว่าละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน Gmail ด้วย
กูเกิลแก้ปัญหาคดีฟ้องร้องด้วยการจ่ายเงินชดเชย ส่วนการถูกร้องเรียนที่เป็นเหตุให้คณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐหรือ FTC เข้ามาสอบสวน ล่าสุดได้ข้อยุติแล้วเช่นกัน โดยกูเกิลจะยอมให้ FTC เข้ามาตรวจสอบว่ากูเกิลละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่ทุกๆ สองปี และกูเกิลจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใช้ก่อนเสมอเมื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทั้งหมดเพื่อแลกกับ FTC ยุติการดำเนินคดีกูเกิล
ว่าแต่ยังมีใครใช้ Buzz กันอยู่หรือเปล่า?
ต่อจากข่าว แอปเปิลเปิดบริการสมัครสมาชิกภายในแอพ ผู้ให้บริการโวยค่าหัวคิว 30% แพงไป ซึ่งผู้สันทัดกรณีให้ความเห็นว่าแอปเปิลอาจโดนฟ้องข้อหาผูกขาด
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้รายงานข่าววงในว่า 3 องค์กรที่ดูแลเรื่องการผูกขาดตลาดของสหรัฐและยุโรป ได้แก่ คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) และคณะกรรมการยุโรป (European Commission) กำลังจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แม้จะยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสืบสวนอย่างเป็นทางการก็ตาม
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ยื่นฟ้องอินเทลในข้อหากีดกันทางการค้า มาถึงตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ข้อตกลงระงับคดีกับ FTC แล้ว โดยมีเงื่อนไขที่อินเทลจะต้องปฏิบัติตามในการประกอบธุรกิจหลายข้อด้วยกัน
คดีที่ FTC ฟ้องอินเทลนั้น กล่าวหาว่าอินเทลมีพฤติกรรมกีดกันทางการค้าในตลาด CPU ที่อินเทลมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 80 เปอร์เซนต์ และตลาด GPU ที่มีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยพฤติกรรมที่ FTC กล่าวหาอินเทลนั้นรวมถึงการจ่ายเงินให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไม่ใช้ชิปของ AMD และพยายามไม่ให้ GPU ของ Nvidia ทำงานกับชิปของอินเทลได้
ข้อตกลงหลักๆ ที่อินเทลจะต้องปฏิบัติตามมีดังนี้
เมื่อทุกอย่างคือธุรกิจความปลอดภัยจึงเป็นส่วนสำคัญในเรื่องของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็ต้องมีระบบเตือนการหลอกลวงครับ และเมื่อเร็วๆ นี้ทาง FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ และบริษัทต่างๆ ได้ร่วมกันสร้างระบบเตือนการหลอกลวง ที่ชื่อว่า Internet Fraud Alert ระบบนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมหลายค่ายครับ ประกอบด้วย Microsoft ซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์และให้บริการ, National Cyber-Forensics and Training Alliance (NCFTA), American Bankers Association, Anti-Phishing Working Group, Citizens Bank, eBay, the Federal Trade Commission, PayPal
ข่าวนี้เป็นข่าวต่อจาก แอปเปิลอาจถูกสอบสวนจากกรณีห้ามนักพัฒนาใช้เครื่องมือพัฒนาอื่น และ แอปเปิลอาจยอมให้ใช้เครื่องมือพัฒนาภายนอก เพื่อเลี่ยงข้อหาผูกขาด
ล่าสุดหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข้อมูลวงในว่า FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ จะเข้าสอบสวนแอปเปิลในกรณีผูกขาดซอฟต์แวร์บนมือถือแล้ว ประเด็นที่คาดว่าจะโดนคงเป็นเรื่องห้ามใช้เครื่องมือพัฒนาอื่น, กรณีของ Flash และล่าสุดคือ กรณีของ AdMob บน iPhone
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2009 กูเกิลประกาศเข้าซื้อบริษัทโฆษณาบนมือถือ AdMob แต่ก็โดนสกัดดาวรุ่งโดย FTC (คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ) เข้ามาตรวจสอบว่าการซื้อ AdMob จะช่วยให้กูเกิลผูกขาดตลาดหรือไม่
เวลาผ่านไปเกือบครึ่งปี ตอนนี้ FTC ออกมาประกาศแล้วว่าไม่มีปัญหา กูเกิลสามารถเดินหน้าควบรวม AdMob ได้เลย
จากข่าวเก่า แอปเปิลอาจถูกสอบสวนจากกรณีห้ามนักพัฒนาใช้เครื่องมือพัฒนาอื่น หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าววงในว่า แอปเปิลอาจยอมปรับแก้เงื่อนไขในการพัฒนาโปรแกรม เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนสอบสวนจากคณะกรรมการทางการค้าของสหรัฐ (FTC) และกระทรวงยุติธรรม
แหล่งข่าววงใน FTC บอกว่าทาง FTC และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เริ่มสอบสวนเรื่องนี้เนื่องเพราะคำร้องเรียนจากแอปเปิล และเหล่านักพัฒนา
Michael Chang ซีอีโอของบริษัทโฆษณาบนมือถือรายหนึ่งให้ความเห็นว่า เงื่อนไขของแอปเปิลทำให้การพัฒนาข้ามแพลตฟอร์มมือถือมีราคาแพงมาก การเขียนโปรแกรมข้ามแพลตฟอร์มด้วย Flash CS5 จะช่วยลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้มาก
มีรายงานจาก New York Post ว่ากระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการการค้าของสหรัฐฯ กำลังประชุมกันในไม่กี่วันนี้ว่าจะดำเนินการสอบสวนแอปเปิลในกรณีกีดกันไม่ให้นักพัฒนาใช้เครื่องมือพัฒนาอื่นนอกจาก XCode และคอมไพล์เลอร์ของแอปเปิล
ไม่มีการยืนยันข่าวนี้อย่างเป็นทางการจากหน่วยงานทั้งสอง และแม้จะเป็นจริงนี่จะเป็นการตัดสินใจเพื่อ "สอบสวน" หรือไม่เท่านั้นหากมีการสอบสวนจริงก็ยังต้องมีการตัดสินใจต่อไปอีกว่าจะมีการดำเนินการต่อไปหรือไม่
ที่มา - New York Post
ต่อจาก กูเกิลเปิด HTTPS ใน Gmail เป็น Default ทางคณะกรรมการการค้าของสหรัฐหรือ FTC (ชื่อนี้จะเห็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต) ได้ส่งสัญญาณเตือนให้เว็บไซต์อื่นๆ ใช้ HTTPS กันมากขึ้น
หนึ่งในกรรมการของ FTC คือ Pamela Jones Harbour กล่าวในปาฐกถาก่อนเริ่มประชุม FTC ว่าเว็บไซต์อย่าง Yahoo, Hotmail, Facebook ควรใช้ HTTPS ให้เป็นมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ เธอยังแสดงความเห็นอีกว่า การเข้ารหัสข้อมูลเป็นการป้องกันที่ทำได้ง่าย และบริการบน cloud ทั้งหมดควรหันมาใช้กันได้แล้ว
ที่มา - EFF