Unreal Engine 5 เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2020 และเปิดทดสอบ Early Access ในปี 2021 ตอนนี้ออกตัวจริงเรียบร้อย เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้กันแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ Unreal Engine 5 คือ Lumen ระบบแสง global illumination ที่ให้สภาพแสงสมจริง, Nanite ระบบโพลีกอนขนาดเล็ก (micropolygon) จำนวนมหาศาลเพื่อแสดงรายละเอียดของโมเดล, Virtual Shadow Maps ระบบแสดงเงาที่ทำงานร่วมกับ Nanite ได้เป็นอย่างดี, Temporal Super Resolution ฟีเจอร์การทำ upsampling ภาพได้จากตัวเอนจินเกมเลย
The Coalition สตูดิโอในสังกัดไมโครซอฟท์ เจ้าของซีรีส์ Gears of War โชว์คลิปเดโม 2 คลิปที่แสดงพลังของเอนจิน Unreal Engine 5 ตัวใหม่ของ Epic Games บน Xbox Series X
เดโมตัวแรกชื่อ "Alpha Point" มีความยาวสั้นๆ เพียง 1 นาที เน้นที่กราฟิก โดยเฉพาะเรื่องแสง dynamic lighting & reflection แบบเรียลไทม์
ส่วนเดโมที่สองเป็นการทดสอบเรนเดอร์ตัวละครด้วย UE5 ที่เห็นรายละเอียดของผิวหนัง เส้นขน ผม หนวดเครา เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อย่างสมจริง
Amazon ประกาศโอเพนซอร์สเอนจินเกม Lumberyard ของตัวเอง โดยใช้ชื่อโครงการใหม่ว่า Open 3D Engine (O3DE) และยกให้อยู่ในการดูแลของ Linux Foundation
Linux Foundation จะตั้งองค์กรลูกชื่อ Open 3D Foundation ขึ้นมารับผิดชอบการพัฒนา Open 3D Engine โดยมีบริษัทอื่นๆ เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Adobe, Here, Huawei, Intel, Niantic, Red Hat และบริษัทเกมอีกจำนวนหนึ่ง
Epic Games เปิดให้นักพัฒนาทดสอบ Unreal Engine 5 แบบ Early Access แล้ว
Epic บอกว่าคุณภาพของ UE5 ยังไม่พร้อมสำหรับ production-ready แต่ต้องการให้นักพัฒนาเกมมาลองเล่นฟีเจอร์ต่างๆ และสร้างต้นแบบเกมใหม่กันตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ที่สนใจสามารถติดตั้งได้แล้วจาก Epic Games Launcher
ฟีเจอร์เด่นของ UE5 ได้แก่
The Coalition สตูดิโอในสังกัด Xbox Game Studios ที่รับผิดชอบซีรีส์ Gears of War เป็นสตูดิโอเกมรายแรกๆ ที่ประกาศใช้งาน Unreal Engine 5 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2020
ซีรีส์ Gears of War นั้นเดิมทีเป็นของ Epic Games เจ้าของ Unreal Engine อยู่แล้ว หลังไมโครซอฟท์ซื้อสิทธิมาในปี 2014 ก็มอบหมายให้ The Coalition เป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาแทน ซึ่ง The Coalition ก็ทำมา 3 ภาคแล้วคือ Gears 4 (2016), Gears 5 (2019) และ Gears Tactics (2020)
ข่าวเซอร์ไพร์สสำคัญของวงการเกมปี 2020 คือการกลับมาของซีรีส์ Fable ที่พัฒนาโดย Playground Games สตูดิโอในสังกัดไมโครซอฟท์ที่สร้างชื่อจากเกมแข่งรถซีรีส์ Forza Horizon
ที่ผ่านมา เรายังแทบไม่รู้ข้อมูลใดๆ ของเกมเลย มีแค่เทรลเลอร์เปิดตัวสั้นๆ ไม่มีเกมเพลย์ ตัวละคร หรือวันวางจำหน่าย (ลงพีซีและ Xbox Series) แต่ล่าสุด ข้อมูลรับสมัครงานของ Playground Games ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เกม Fable จะใช้เอนจิน ForzaTech ของเกมแข่งรถซีรีส์ Forza
เก็บตกประเด็นไมโครซอฟท์ปิดดีล Bethesda นอกจากเรื่องประกาศเอ็กซ์คลูซีฟเกมในอนาคต ยังมีประเด็นเล็กๆ อีกเรื่องคือการซื้อ Bethesda ยังทำให้ไมโครซอฟท์ได้เป็นเจ้าของเอนจินเกมอีกอย่างน้อย 2 ตัว ได้แก่ id Tech ของ id Software (ชื่อในอดีตคือ Doom Engine, เวอร์ชันล่าสุด id Tech 7 คือใช้กับ Doom Eternal) และ Creation Engine ของ Bethesda Game Studios (ใช้กับ Skyrim, Fallout 4, Fallout 76)
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox พูดถึงเรื่องนี้เล็กน้อย โดยเน้นไปที่เอนจิน id Tech ว่าสามารถนำไปใช้กับสตูดิโอเกมอื่นๆ ของไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน เขาบอกว่าอยากเห็นเรื่องนี้และจะนำไปขยายผลต่อไป
Epic เปิดตัว MetaHuman Creator เครื่องมือบน Unreal Engine ช่วยนักพัฒนาสร้างโมเดลมนุษย์ความละเอียดสูง พร้อมปรับระดับรายละเอียดได้ถึง 8 ระดับ ตั้งแต่รันบนมือถือไปจนเรนเดอร์ระดับเท่าภาพยนตร์ และนักพัฒนาสามารถนำโมเดล Unreal Engine นี้ไปใส่ rig ทำแอนิเมชั่น หรือนำไปใช้ในเกมต่อได้ทันที
MetaHuman สามารถปรับตั้งค่าต่างๆ ทั้งโครงหน้า ความละเอียดของรูขุมขน สีผิว สัดส่วนร่างกาย ฟัน สีฟัน ได้อย่างละเอียด คล้ายคลึงกับระบบสร้างตัวละครในเกม RPG ในเวอร์ชั่นอัพเกรด นอกจากนี้ คาดว่าสามารถใช้งานร่วมกับแอป Live Link Face เพื่อสร้างแอนิเมชั่นการเคลื่อนไหวของใบหน้าที่สมจริง และอาจจะนำไปใช้งานอื่นๆ เช่นสร้าง VTuber ที่มีโมเดลสมจริง แทนที่จะเป็นภาพการ์ตูน เป็นต้น
เมื่อคืนที่ผ่านมา Unity Technologies บริษัทเจ้าของเอนจินเกม Unity ได้นำหุ้นเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่ยื่นเอกสารต่อ SEC เมื่อเดือนสิงหาคม
Unity เปิดขายหุ้นไอพีโอทั้งหมด 25 ล้านหุ้นที่ราคา 52 ดอลลาร์ต่อหุ้น และหลังจากเปิดตลาด หุ้นของ Unity ก็พุ่งไปที่ราคา 75 ดอลลาร์ หรือสูงกว่า 31% และเมื่อปิดตลาด ราคาของ Unity อยู่ที่ 68.35 ดอลลาร์
Unity Technologies บริษัทเจ้าของเอนจินเกม Unity เป็นอีกรายที่ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (SEC) เพื่อขายหุ้น IPO เข้าตลาด
ธุรกิจของ Unity แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
ก่อนหน้านี้ ผู้สร้างเกมสามารถใช้ Unreal Engine (UE) สร้างเกมได้ฟรี แต่จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ 5% จากยอดขาย หากทำเงินได้ตั้งแต่ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อไตรมาสขึ้นไป ล่าสุด UE ให้ผู้สร้างเกมใช้งานได้ฟรี และจะเริ่มเก็บ 5% หลังเกมทำเงินได้เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
เช่น หากผู้สร้างมีรายได้จากการขายเกม 2 ล้านเหรียญ ก็จะต้องจ่ายเพียง 5 หมื่นเหรียญ ซึ่งเป็น 5% ของเงิน 1 ล้านที่เกินมา และถ้าจำหน่ายเกมบน Epic Game Store ก็จะไม่ต้องเสีย 5% นี้เลย ไปเสียแค่ 12% ที่ต้องจ่ายให้ Epic Game Store เท่านั้น (เทียบกับ 30% บน Steam)
Epic Games เปิดตัว Unreal Engine 5 ที่เน้นความสมจริงในแบบ photorealism (ภาพเขียนที่เหมือนภาพถ่าย) ในระดับเดียวกับ CG พร้อมโชว์เดโมแบบไลฟ์ (ไม่ใช่พรีเรนเดอร์) ที่รันบน PlayStation 5 ในชื่อ Lumen in the Land of Nanite ที่เน้นโชว์คอร์เทคโนโลยีใหม่ของเอนจิน 2 ตัว
ตัวแรก Lumen (แสง) ที่เน้นไปที่การสะท้อน การกระจายและการดูดซับแสงของวัตถุรอบ ๆ ต้นกำเนิดแสงให้มีความสมจริงมากที่สุด และตัวที่สองคือ Nanite สำหรับสร้างวัตถุและสิ่งแวดล้อมรอบตัวจากโพลีกอนขนาดเล็กระดับพิกเซลรวมกันนับล้าน ๆๆ โพลีกอน สามารถอิมพอร์ทจากเครื่องมือสร้างภาพ 3 มิติได้โดยตรง โดยตัวเอนจินจะปรับและสเกลให้อัตโนมัติ
Epic Games ออกอัพเดต Unreal Engine 4 เวอร์ชัน 4.25 ให้ซัพพอร์ทคอนโซลเจนใหม่ทั้ง PlayStation 5 และ Xbox Series X แล้ว รวมถึงรองรับฟีเจอร์ต่าง ๆ อย่างเช่นระบบเสียงของ PlayStation 5, รองรับระบบออนไลน์และรองรับ ray tracing แบบเรียลไทม์
ปัจจุบัน Unreal Engine ไปไกลกว่าการเป็นแค่เอนจินสำหรับเกมแล้ว เพราะตัวเอนจินเองก็รองรับการทำงานและถูกนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรือการสร้างภาพ 3D จากการสแกน (point cloud) จากเซ็นเซอร์ LiDAR รวมถึงการรองรับ Mixed Reality บน HoloLens 2
ที่มา - Unreal Engine
เมื่อพูดถึงเอนจินเกมยอดนิยม เรามักนึกถึง Unity หรือ Unreal Engine แต่จริงๆ แล้วในตลาดก็ยังมีเอนจินตัวอื่นๆ เช่น CryEngine ของบริษัท Crytek
ล่าสุด Crytek เปิดตัว CryEngine เวอร์ชัน Android แล้ว (ก่อนหน้านี้มีเฉพาะพีซีกับคอนโซล เพิ่งขยายมา Oculus)
ตอนนี้ CryEngine for Android ยังมีสถานะ Beta โดยเดโมที่นำมาโชว์รันบน Galaxy S20 แต่ทาง Crytek ก็บอกว่าสามารถทำงานได้บน Android รุ่นใหม่ๆ เกือบทั้งหมด
การที่เอนจิน CryEngine รองรับแพลตฟอร์มมากขึ้น ช่วยให้เกมที่เขียนบน CryEngine สามารถพอร์ตไปยังแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้นด้วย นั่นแปลว่าเราจะได้เห็นเกมคุณภาพสูงพอร์ตมายัง Android มากขึ้นนั่นเอง
เกมดังที่จะวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้คือ Doom Eternal ภาคต่อของ Doom เวอร์ชันปี 2016 โดยเกมภาคนี้จะใช้เอนจินตัวใหม่ id Tech 7 ของ id Software มีกำหนดวางขาย 20 มีนาคม 2020
Billy Khan หัวหน้าทีมโปรแกรมเมอร์ของเอนจิน id Tech 7 ออกมาให้สัมภาษณ์กับ IGN เผยว่าสมรรถนะในทางทฤษฎีของมันสามารถดันไปได้ถึง 1,000 fps เลย หากเราสามารถหาคอมพิวเตอร์ที่แรงพอในระดับนั้นได้
เทียบกับเอนจิน id Tech 6 ที่ใช้กับ Doom ภาคก่อนหน้านี้ (รวมถึง Wolfenstein ภาคหลังๆ) สามารถทำเฟรมเรตได้สูงสุดที่ 250 fps
ปกติแล้วเราสามารถใช้งานโปรแกรม Unity ที่มีฟีดเจอร์ครบครันได้ฟรี ยกเว้นเครื่องมือเสริมที่ต้องเสียเงินซื้อเพิ่ม(บางเครื่องมือใช้ได้ฟรีแต่มีข้อจำกัด) ซึ่งส่วนมากจะต้องซื้อในแพลน Plus หรือ Pro ที่มีราคาสูงทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือพวกนี้ได้
ล่าสุดทาง Unity ได้ประกาศเพิ่ม Student Plan ที่มีสิทธิเหมือนแพลน Pro เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงเครื่องมือไปเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมเกมมากขึ้น
โดยสิทธิ์พิเศษที่จะได้รับมีดังนี้
Unity เอนจินเกมขวัญใจมหาชน ประกาศออกเวอร์ชันใหม่ 2019.3 ที่มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ชุดใหญ่ ทั้งฝั่งกราฟิก 2D/3D โดยเฉพาะฟีเจอร์ High Definition Render Pipeline (HDRP) ที่รองรับ ray tracing เรียบร้อยแล้ว
ฝั่งของตัว Editor ได้รับการยกเครื่อง UI ใหม่, เพิ่มฟีเจอร์ Quick Search หาข้อมูลได้ทุกอย่าง, ระบบ Input System ที่จัดการเรื่องอินพุตเกมเป็นมาตรฐานเดียวกัน
Unity ขึ้นชื่อเรื่องการรองรับแพลตฟอร์มเกมแทบทุกอย่างในจักรวาลนี้ (ตัวเลขตอนนี้คือ 25 แพลตฟอร์ม ซึ่งครอบคลุมถึงแพลตฟอร์มอย่าง Gear VR, Google Daydream, Magic Leap) และล่าสุดใน Unity 2019.3 ก็รองรับ Google Stadia เพิ่มอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งน่าจะช่วยให้เราเห็นเกมดังๆ ถูกพอร์ตไปลง Stadia ได้ง่ายขึ้นด้วยนั่นเอง
Crytek สตูดิโอเจ้าของเอนจินเกม CryEngine โชว์วิดีโอเดโมการเรนเดอร์ ray tracing แบบเรียลไทม์โดยไม่ขึ้นกับค่ายของจีพียู ใช้ได้กับทั้ง NVIDIA และ AMD
ในเดโมของ Crytek รันบน AMD Radeon Vega 56 โดยใช้ฟีเจอร์ Total Illumination ของ CryEngine และมีแผนจะถูกผนวกเข้ามาอยู่บน CryEngine เวอร์ชัน 5.5 ที่จะออกภายในปี 2019
โมเดลธุรกิจของ Crytek คือการขายสิทธิใช้งานเอนจิน CryEngine โดยคิดส่วนแบ่งรายได้ที่ 5% จึงเป็นเหตุว่าทำไม Crytek ถึงออกมาขายฟีเจอร์นี้ของ CryEngine ให้นักพัฒนาเกมพิจารณา
การเปิดตัว GeForce RTX ที่มาพร้อมเทคนิค ray tracing อาจยังไม่แสดงศักยภาพของมันออกมามากนัก เพราะเกมส่วนใหญ่ยังไม่รองรับ และคงต้องรออีกสักพักใหญ่ๆ กว่าเทคนิคนี้จะแพร่หลายในอุตสาหกรรม
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเร่งการใช้งานในวงกว้างคือการรองรับที่ตัวเอนจินเกม ซึ่งเอนจินยอดนิยมอย่าง Unreal Engine ก็ประกาศรองรับแล้ว
ฟีเจอร์นี้ถูกเพิ่มเข้ามาใน Unreal Engine เวอร์ชัน 4.22 (ปัจจุบันยังมีสถานะเป็น Early Access) โดยนักพัฒนาสามารถเข้าถึงกราฟิก ray tracing แบบ low level ที่ลึกไปกว่าระดับของ DirectX 12
ความคืบหน้าจากกรณี Unity vs SpatialOS ล่าสุด Unity เลือกวิธี "ถอยสุดซอย" ยอมเปิดให้บริการจากบริษัทอื่นเข้ามาเชื่อมต่อกับเอนจิน Unity แล้ว
Unity ระบุว่ากลับไปทบทวนหลักการของตัวเองใหม่ จุดยืนยังเหมือนเดิมคือนักพัฒนาจ่ายค่าใช้งานเอนจิน แล้วนำไปทำอะไรก็ได้ (Unity เก็บค่าใช้งานจากนักพัฒนาเป็นรายเดือน ไม่คิดเป็นเปอร์เซนต์จากรายได้เกม) ดังนั้นเงื่อนไขการใช้งานหรือ ToS ควรจะสะท้อนหลักการนี้ด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นในการอัพเดต ToS รอบก่อนหน้านี้ อาจเป็นการจำกัดสิทธิของนักพัฒนาจนเกินไป และขัดแย้งกับหลักการใหญ่ของบริษัท ทำให้ Unity แก้ไข ToS อีกรอบ เปิดกว้างให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อบริการ third party เข้ามายัง Unity ได้อย่างอิสระ
ตอนนี้เกิดศึกใหม่ในวงการเอนจินเกม ระหว่างเอนจินชื่อดัง Unity กับบริษัท Improbable โดยมีคู่แข่ง Unreal Engine เข้ามาสอดแทรก
ชื่อของ Unity เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ส่วน Improbable เป็นบริษัทผู้พัฒนา SpatialOS แพตลฟอร์มสำหรับเกมออนไลน์แบบ MMO ทำหน้าที่สร้างโลกของเกมอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ช่วยจัดการทั้งเรื่องสเกลและเรื่องการให้โลกของเกมอยู่คงทน (persistence) โดยผู้พัฒนาเกมจ่ายเงินเป็นรายชั่วโมงหรือตามปริมาณข้อมูลที่ใช้งาน
Ken Moss ซีทีโอของ EA เขียนบล็อกเผยข้อมูลของ Project Atlas แพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาเกมในยุคหน้าที่เป็นการอัพเกรดเอนจิน Frostbite ยุคปัจจุบันไปอีกขั้น
Project Atlas ไม่ใช่เอนจินเกมตัวใหม่ แต่เป็นการนำเอนจิน Frostbite ที่ EA ใช้อยู่ในปัจจุบัน อัพเกรดความสามารถด้านกราฟิก ฟิสิกส์ เสียง ให้สมจริงขึ้นกว่าเดิม แล้วผนวกกับเทคโนโลยีใหม่อีก 2 ตัวคือ บริการออนไลน์ (โซเชียล แชร์ จับคู่ ฯลฯ) และ AI
ประเด็นที่น่าสนใจคือการนำ AI มาใช้สร้างเกม ตัวอย่างที่ EA ยกมาได้แก่
เรารู้จัก Unity ในฐานะผู้ผลิตเอนจินเกมชื่อดัง แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา Unity ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเกมแรกของตัวเองในชื่อว่า FPS Sample
จากชื่อเกม หลายคนคงเดากันได้ว่าเป็นเกมตัวอย่าง เพื่อให้นักพัฒนาเกมรายอื่นๆ ดูเป็นต้นแบบ ไม่ได้เป็นเกมที่ออกมาหารายได้เชิงพาณิชย์จริงๆ
Unity ระบุว่าพัฒนาเกมนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างการสร้างเกมยิง FPS แบบมัลติเพลเยอร์ รองรับผู้เล่นสูงสุด 16 คนพร้อมกัน มีฉากต่อสู้แบบ arena ที่ออกแบบด้วยภาพประกอบคุณภาพสูง รองรับฟีเจอร์ HD Render Pipeline (HDRP) และมีระบบเซิร์ฟเวอร์ netcode ที่ใช้สถาปัตยกรรมส่งข้อมูลแบบใหม่ของ Unity เรียกได้ว่าแสดงศักยภาพของ Unity Engine ให้นักพัฒนาเห็นและทำตามได้ทันที
ทำเอนจินเกมอย่างเดียวก็รวยได้ บริษัท Unity Technologies เจ้าของเอนจิน Unity ที่เรารู้จักกันดี ประกาศข่าวการระดมทุนเพิ่ม 400 ล้านดอลลาร์จากบริษัทลงทุน Silver Lake Partners ส่งผลให้ตอนนี้มูลค่าของบริษัท Unity แตะ 2.6 พันล้านดอลลาร์แล้ว
Silver Lake จะใช้วิธีซื้อหุ้นบางส่วนจากพนักงานของ Unity ที่ถือหุ้นของบริษัทอยู่ โดยซีอีโอ John Riccitiello ระบุว่าเป็นการตอบแทนพนักงานรุ่นเก่าแก่ของบริษัท ที่จะสามารถแปลงหุ้นเป็นเงินได้ ส่วนเงินที่เหลือจะใช้ลงทุนเพื่อขยายธุรกิจต่อไป
Unity ระบุว่าปัจจุบันมีเกมที่ใช้เอนจินของตัวเองรันอยู่บนอุปกรณ์ 2.4 พันล้านชิ้น (Pokemon Go ก็ใช้) ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานประมาณ 1,400 คน
Silicon Studio ผู้สร้างเกม RPG ชื่อดังอย่าง Bravely Default ขยายธุรกิจใหม่เพิ่มเติม หันมาขายเอนจินเกมเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง
เอนจินตัวนี้ชื่อว่า Xenko Game Engine ใช้ภาษา C# และสามารถสร้างเกมได้หลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งเกมพีซี คอนโซล มือถือ (ยกเว้น Nintendo Switch ที่ยังไม่รองรับในตอนนี้) รองรับการทำงานแบบมัลติเธร็ด มี API ใหม่ๆ อย่าง Vulkan และ DirectX 12 รวมถึงการสร้างเกมแบบ VR ด้วย
Xenko เป็นเอนจินโอเพนซอร์ส เปิดรุ่น Personal ให้นักเรียนและคนทั่วไปใช้งานฟรี สำหรับสตูดิโอที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็ต้องเสียค่าใช้งานรุ่น Pro เดือนละ 75 ดอลลาร์ต่อนักพัฒนาหนึ่งคน และมีรุ่นใหญ่ Pro Plus ราคา 150 ดอลลาร์ต่อเดือน