เว็บไซต์ Android Police รายงานว่า Google เพิ่มประเทศที่สามารถซื้อ Google Nexus 7 อีก 3 ประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ สเปน, เยอรมนี และฝรั่งเศส (ซึ่งในเว็บไซต์ Google Play ระบุไว้ว่าจะไม่รวมถึงประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศเหล่านี้ด้วย เช่น เฟรนซ์เกียนา, เซนต์ปีเตอร์ เป็นต้น) โดยจะจำหน่ายในราคา 199 ยูโร (หรือประมาณ 7,960 บาท) สำหรับรุ่น 8 GB และ 249 ยูโร (หรือประมาณ 9,960 บาท) ในรุ่น 16 GB
ศาลเยอรมันตัดสินคดีระหว่างแอปเปิลกับโมโตโรลาในยุโรปแล้ว โดยระบุว่า Motorola XOOM ไม่ได้ละเมิดการออกแบบของ iPad ตามที่แอปเปิลกล่าวหา เหตุผลคือรูปทรงของ XOOM ที่ด้านหลังโค้งเท่ากันหมดและด้านหน้าขอบค่อนข้างแหลมทำให้ XOOM มีความแตกต่างจาก iPad อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ศาลก็ยกฟ้องคำกล่าวหาของโมโตโรลาที่บอกว่า iPad ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเองเช่นกัน โดยคดีนี้ศาลสั่งให้แอปเปิลจ่ายค่าใช้จ่ายของคดี 2/3 และที่เหลือให้โมโตโรลาจ่าย
แอปเปิลยังมีคดีฟ้องโมโตโรลาเรื่องสิทธิบัตรมัลติทัชแยกเป็นอีกคดีหนึ่งครับ
ที่มา - Fox Business
โนเกียเป็นบริษัทล่าสุดที่เข้าสู่สงครามสิทธิบัตร โดยยื่นฟ้องคู่แข่ง 3 บริษัทคือ HTC, RIM, ViewSonic ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี
การฟ้องร้องครั้งนี้แยกเป็น 4 คดี ครอบคลุมสิทธิบัตรรวม 45 รายการ
ความคืบหน้าของคดีระหว่างกลุ่มเจ้าของสิทธิดนตรี GEMA กับเว็บฝากไฟล์ RapidShare ในเยอรมนี (ข่าวเก่า) จบลงด้วยชัยชนะของ RapidShare เพราะศาลสูงประจำเขตฮัมบูร์กของเยอรมนีตัดสินว่าธุรกิจการฝากไฟล์ของ RapidShare ไม่ผิดกฎหมายของเยอรมนี
ศาลสูงยังกลับคำตัดสินของศาลในข่าวก่อนหน้านี้ที่กำหนดให้ RapidShare ต้องตรวจเช็คทุกไฟล์ที่ถูกอัพโหลดขึ้นไป ว่า RapidShare ไม่ต้องทำแล้ว แต่ก็เปลี่ยนให้บริษัทต้องคอยตรวจสอบเว็บภายนอกที่ลิงก์มายังไฟล์มีลิขสิทธิ์ใน RapidShare แทน และป้องกันไม่ให้คนภายนอกเข้าถึงไฟล์เหล่านี้ได้
เว็บฝากไฟล์ RapidShare มีงานเข้าเสียแล้ว เมื่อศาลสูงของเยอรมนีประจำเขตฮัมบูร์ก ตัดสินว่า RapidShare ไม่พยายามแก้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์เท่าที่ควร และกำหนดให้ต้องกรองไฟล์ที่ผู้ใช้อัพโหลดขึ้นไปไว้บน RapidShare ด้วย
คดีนี้เกิดจากกลุ่มลิขสิทธิ์ดนตรี GEMA และสำนักพิมพ์ De Gruyter กับ Campus Publishers ร่วมกันยื่นฟ้อง RapidShare ในข้อหามีส่วนช่วยละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินให้ RapidShare แพ้ และเมื่ออุทธรณ์ในศาลสูง RapidShare ก็แพ้อีก
เท่าที่ข่าวต้นทางบอกมา RapidShare ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปยังศาลฎีกาของเยอรมนีได้อีก ซึ่งทางบริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับคดีนี้
สงครามกฎหมายระหว่าง Apple และ Motorola ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Apple ได้ยื่นฟ้อง Motorola Mobility ต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียใต้ ว่า Motorola ละเมิดสัญญาที่อนุญาตให้ Qualcomm ใช้สิทธิบัตร GPRS/UMTS
การฟ้องร้องครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากการที่ Motorola ฟ้องร้องต่อศาลในประเทศเยอรมนี ว่า Apple ละเมิดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเทคโนโลยี GPRS/UMTS จากการใช้ชิปของ Qualcomm ในสินค้าของ Apple (และต้องการค่าเสียหายจาก Apple 2.25%)
ศาลแห่งเมือง Dusseldorf ไม่รับคำร้องเรียนจาก Apple ในกรณีที่จะห้ามขาย Samsung Galaxy Tab 10.1N โดยอธิบายว่าเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนระหว่างแท็บเล็ตของ Samsung กับ Apple iPad คล้องจองกับการพิจารณาของศาลเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา และศาลแห่งเมือง Munich ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา - Engadget
ต่อเนื่องจากข่าวศาลเยอรมนีตัดสิน iCloud ละเมิดสิทธิบัตร Motorola ซึ่งทำให้ทางแอปเปิลต้องถอด iPhone (ไม่นับ iPhone 4S) และ iPad ออกจาก Apple Store ตอนนี้ ศาลเยอรมนีได้พักคำตัดสินชั่วคราวแล้ว ทำให้แอปเปิลสามารถกลับมาขายสินค้าดังกล่าวได้อีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้ศาลเยอรมันนีพักคำตัดสินนั้น เพราะแอปเปิลยื่นอุทธรณ์พร้อมกับให้เหตุผลว่า Motorola คอยปฏิเสธที่จะให้แอปเปิลใช้สิทธิบัตรในคดีนี้ ทั้งๆ ที่สิทธิบัตรนี้ได้ถูกประกาศเป็นสิทธิบัตรมาตรฐานอุตสาหกรรมตั้งแต่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว
ข่าวนี้ต่อจาก แอปเปิล "อาจ" แพ้คดีสิทธิบัตรโมโตโรลาในเยอรมนี ในประเด็นเรื่อง iCloud และ Mobile Me
วันนี้ศาลเยอรมนีตัดสินแล้วว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ push notification ของ Motorola จริง อย่างไรก็ตาม แอปเปิลยังมีสิทธิอุทธรณ์คดีได้ต่อไป
ความคืบหน้าของคดีระหว่างแอปเปิลและซัมซุงในเยอรมนี สำหรับคดีที่แอปเปิลฟ้องซัมซุง ศาลตัดสินให้แอปเปิลชนะซัมซุงไปแล้ว ซึ่ง
แอปเปิลยื่นฟ้องศาลเขต Dusseldorf ในเยอรมนีใหม่อีกรอบ โดยรอบนี้ขอให้ศาลสั่งแบนสมาร์ทโฟนของซัมซุงอีก 10 รุ่น
ข่าวต้นทางไม่ได้บอกละเอียดว่าทั้ง 10 รุ่นมีอะไรบ้าง แต่ที่ระบุชื่อมี Galaxy S Plus และ Galaxy S II ครับ นอกจากนี้ยังมีอีกคดีที่ฟ้องแยกให้แบนแท็บเล็ตซัมซุงอีก 5 รุ่นด้วย
ต่อเนื่องจากข่าวเก่า ศาลเขต Mannheim ในเยอรมนีตัดสินคดีที่ Motorola ฟ้อง Apple Sales International (ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ไอร์แลนด์) ว่าผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลคือ iPhone รุ่นแรกจนถึง iPhone 4 (ไม่รวม iPhone 4S ที่ออกมาทีหลัง) ละเมิดสิทธิบัตรของ Motorola
มหากาพย์การฟ้องร้องระหว่างแอปเปิลและซัมซุงยังไม่จบ หลังจากคดีในเยอรมนีลงเอยด้วยซัมซุงนำ Galaxy Tab 10.1 ไปปรับแก้ดีไซน์ใหม่เป็น Galaxy Tab 10.1N ตามที่ศาลระบุ ซึ่งก็เหมือนความขัดแย้งจะจบลงแล้ว
ก่อนอ่านเนื้อข่าวกรุณากลับไปอ่านหัวข้อข่าวอีกครั้ง "อาจ"
ความคืบหน้าของคดีแอปเปิล-ซัมซุงในเยอรมนี หลังจากศาลเขต Dusseldorf สั่งห้ามขาย Galaxy Tab 10.1 ในประเทศเยอรมนี
กลายเป็นเรื่องจนได้เมื่อ องค์กรพิทักษ์สัตว์ PETA ประจำประเทศเยอรมนี ได้ยื่นคำร้องส่งไปถึง EA Digital Illusion Creative Entertainment AB ผู้พัฒนาเกม Battlefield 3 ประจำประเทศสวีเดน ถึงเรื่องของการที่ภายในเกมฉากทารุณสัตว์ ซึ่งขัดต่อนโยบายของ PETA เยอรมนี ที่อ่อนไหวต่อเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
คดีสิทธิบัตรระหว่าง Motorola กับแอปเปิลในเยอรมนี เบื้องต้นจบลงด้วยชัยชนะของ Motorola ที่ศาลมีคำสั่ง (injunction) ห้ามไม่ให้แอปเปิลขายมือถือในประเทศ เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรของ Motorola สองรายการ
แต่เรื่องราวซับซ้อนกว่านั้น เพราะในทางปฏิบัติไม่มีผลอะไรกับแอปเปิลครับ
แอปเปิลในเยอรมนีมี 2 บริษัท คือ Apple Inc. ที่เป็นตัวแทนของบริษัทแม่ และ Apple Germany ที่ทำหน้าที่ขายผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลภายในประเทศ ซึ่ง Motorola ยื่นฟ้องทั้งสองบริษัท คดีกับ Apple Germany (ที่มีผลในทางปฏิบัติ) ยังต่อสู้กันในศาลต่อไป ในขณะที่คดีกับ Apple Inc. ผลก็ตามข่าวคือ Motorola ชนะ
นับว่าเป็นครั้งแรก ที่พรรคการเมืองใหม่อย่าง The Pirate Party ได้ส่งตัวแทนเข้าทำงานจริงในสภารัฐเบอร์ลิน แห่งประเทศเยอรมนี และได้มีคะแนนนำพรรคของผู้นำประเทศอย่าง Free Democrats ไปได้โดยปริยาย โดยพรรคได้รับคะแนนทั้งหมด 8.9%
สมาชิกของพรรค Pirate Party ล้วนแล้วแต่มีอายุประมาณ 20-30 ปี (และยังใส่เสื้อฮูดแขนยาวกับเสื้อยืด Captain America อยู่) มีนโยบายหลักคือการส่งเสริมอิสระภาพบนโลกอินเทอร์เน็ต ที่น่าแปลกใจคือด้วยนโยบายที่ไม่อาจจะมีความสำคัญกับประชาชนที่มีอายุมากกว่าเลย แต่พรรคนี้ก็สามารถกวาดคะแนนได้มากกว่าพรรคเก่าแก่ของเยอรมนีหลาย ๆ พรรค
Galaxy Tab 7.7 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันก่อน กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของ
หลังจากที่เป็นข่าวว่าปุ่ม Facebook Like นั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในรัฐ Schleswig-Holstein ประเทศเยอรมนี เพราะเป็นการส่งข้อมูลไปยัง server ของ Facebook โดยผู้เข้าชมเว็บไซต์ไม่มีทางเลือก เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีเยอรมัน heise online (ชื่อเว็บไซต์ตัวพิมพ์เล็ก) ก็หาทางให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ยังสามารถเลือกที่จะกด Like ข่าวต่าง ๆ ได้โดยไม่ผิดกฎหมายจนได้
ผู้อ่าน Blognone คงไม่มีใครไม่รู้จัก Doom เกมดังชื่อก้องที่บุกเบิกเกมแนว FPS ให้แพร่หลายทั่วโลก Doom ภาคแรกนั้นวางขายเมื่อปี 1993 และขึ้นชั้นเกมคลาสสิคไปแล้ว
แต่ในประเทศเยอรมนี เกมคลาสสิคเกมนี้ถูกสั่งห้ามวางขายทั่วไปเมื่อปี 1994 เหตุเพราะเป็นอันตรายต่อเยาวชน สามารถขายได้เฉพาะในร้านสำหรับผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับภาพยนตร์โป๊เปลือย
สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ตัวย่อภาษาเยอรมัน ULD) ของรัฐ Schleswig-Holstein ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนี ประกาศให้หน่วยงานภาคของรัฐนำปุ่ม Facebook Like ออกจากเว็บไซต์
ประกาศนี้มีขึ้นหลัง ULD ประเมินว่าปุ่ม Like ผิดกฎหมายด้านโทรคมนาคม และการคุ้มครองข้อมูลภาครัฐ (ของรัฐบาลกลาง) และผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ของรัฐ Schleswig-Holstein) เพราะจะส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Facebook ในสหรัฐอย่างไม่มีทางเลือก ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ Facebook ก็ตาม
หลังจากที่ Samsung วางขาย Galaxy Tab 10.1 ในแถบยุโรปไปแล้ว แต่แล้วก็โดนเบรคจากศาลเยอรมนีที่เขต Dusseldorf เพราะคดีที่ Apple เข้าไปยื่นฟ้องขอสั่งห้ามระงับการขาย Galaxy Tab 10.1 ในยุโรป แต่ก็ไม่วายที่ Samsung จะกันของเอาไว้แล้ว แต่ก็ไม่สามารถสั่งเพิ่มได้ ไปๆ มาๆ คดีก็พลิกผัน เมื่อมีคนไปรู้เข้าว่าแท้จริงแล้ว เอกสารที่ Apple ไปยืนต่อศาลเยอรมนีนั้น เป็นการตัดต่อขนาดหน้าจอของ Galaxy Tab 10.1 จากอัตราส่วน 16:10 ให้เหลือ 4:3 เท่า iPad 2 แล้วนำรูปไปตัดต่อใส่บอดี้ไอแพด 2 แล้วนั้น...
ต่อจากข่าว Galaxy Tab 10.1 ถูกสั่งห้ามขายในยุโรป เนื่องจากคดีระหว่างซัมซุงกับแอปเปิล มีเว็บไซต์ Webwereld.nl จากเนเธอร์แลนด์ไปด
โนเกียเพิ่งประกาศไปว่าจะไม่ขาย N9 ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร ล่าสุดมีข่าวยืนยันแล้วว่า เยอรมนีจะเป็นอีกประเทศที่ไม่ขาย N9