กูเกิลอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ของระบบที่เปิดนักพัฒนาแอป Android สามารถสร้างช่องทางจ่ายเงินภายนอก (External Offers) โดยไม่ต้องผ่านระบบของกูเกิลได้ สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่กูเกิลบอกว่าปฏิบัติตามและมีความพร้อมมานานแล้ว อย่างไรก็ตามกูเกิลก็คิดระบบเงื่อนไขค่าธรรมเนียมใหม่ด้วย
กูเกิลประกาศปฏิบัติตามกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในสัปดาห์นี้
ประเด็นเรื่อง third-party app store บนระบบปฏิบัติการ Android นั้น กูเกิลบอกว่าไม่ต้องปรับแก้อะไรเลย เพราะทุกวันนี้ก็เปิดให้มี third-party app store รวมถึงการติดตั้งแอพแบบ sideloading อยู่แล้ว แถม Android 14 ยังปรับเพิ่มฟีเจอร์ให้ third-party app store อัพเดตแอพที่ติดตั้งในเครื่องได้ง่ายขึ้นอีกต่างหาก
ส่วนเรื่อง alternative billing นั้น กูเกิลยินยอมให้ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2022 และบอกว่าจะเปิดให้แอพกลุ่มเกมสามารถโชว์วิธีการจ่ายเงิน 2 แบบเทียบกันได้เลย (user-choice billing) ในสัปดาห์นี้
เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา Ford เปิดตัวระบบปฏิบัติการสำหรับหน้าจอแสดงผลในรถยนต์ (Ford ใช้คำว่า Digital Experience) ที่พัฒนาต่อยอดจาก Android Automotive ตามที่ Ford เซ็นสัญญากับกูเกิลไว้ตั้งแต่ปี 2021 และโครงการนี้รับผิดชอบโดย Doug Field อดีตหัวหน้าทีม Apple Car ที่ย้ายไปอยู่กับ Ford ในปีเดียวกัน
มีรายงานมาตั้งแต่ปีก่อนแล้ว ว่าแอปเปิลเตรียมแก้ไข iOS ให้สามารถลงสโตร์ดาวน์โหลดแอปผ่านช่องทางอื่นนอกจาก App Store ได้ ตามข้อกำหนดใหม่ของ EU ที่จะมีผลในปี 2024 แต่คาดว่ามีผลใช้งานได้เฉพาะกลุ่มประเทศ EU เท่านั้น ซึ่งประเทศอื่นก็อาจจะตามแนวทางนี้ด้วย
Nikkei Asia รายงานความคืบหน้า ที่หน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่นก็เตรียมออกคำสั่งให้แอปเปิลและกูเกิล ต้องเปิดให้ผู้ใช้งานลงสโตร์ของผู้พัฒนารายอื่นได้เช่นกัน โดยคาดว่าจะนำเรื่องเข้าพิจารณาในสภาปีหน้า มี 4 หัวข้อที่จะพิจารณาคือ แอปสโตร์กับวิธีจ่ายเงิน, เสิร์ช, เบราว์เซอร์ และตัวระบบปฏิบัติการ รายละเอียดคาดว่าจะออกมาช่วงต้นปี
ไมโครซอฟท์ออกแอป Copilot สำหรับผู้ใช้ Android ทำให้สามารถใช้งาน AI ของไมโครซอฟท์ได้โดยตรงอีกวิธี จากเดิมต้องใช้งานผ่านคำสั่งแชทในแอป Bing หรือแอปอื่นของไมโครซอฟท์
Copilot บน Android มีฟีเจอร์ที่ใช้งานได้ครบทั้งการถามคำถาม พูดคุยสนทนาทั่วไป, สร้างรูปภาพด้วย DALL-E 3, ร่างเอกสารหรืออีเมล และอื่น ๆ รวมถึงเลือกเปิดปิดการใช้ GPT-4 ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ไม่ได้บอกว่าจะมี Copilot เวอร์ชัน iOS ออกมาเมื่อใด แต่ผู้ใช้ iOS ก็สามารถใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้ได้ผ่าน Bing อยู่แล้ว
ที่มา: Neowin
กูเกิลประกาศยอมความในคดีที่โดนอัยการของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาฟ้องข้อหาผูกขาดช่องทางจัดจำหน่ายแอพบน Android โดยยอมเสียค่าปรับ 700 ล้านดอลลาร์ และปรับแก้วิธีการทำงานของ Android เพื่อเปิดให้เกิดการแข่งขันบนแพลตฟอร์มมากขึ้น
Google เปิดตัวฟีเจอร์ที่จะให้ผู้ใช้สามารถถอนการติดตั้งแอปจาก Play Store จากทางไกลได้ และน่าจะมาในเร็วๆ นี้ โดยข้อมูลนี้มาจาก TheSpAndroid ที่พบการอ้างอิงถึงฟีเจอร์นี้ใน system update เดือนธันวาคมของ Google
Google บอกเพียงว่าฟีเจอร์ใหม่นี้จะช่วยถอนการติดตั้งแอปบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้ และไม่ได้ลงรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ระบุจะใช้งานได้ใน Google Play Store เวอร์ชัน 38.3 แต่ปรากฏว่าพอเวอร์ชันนี้ออกมาจริงกลับไม่มีฟีเจอร์ดังกล่าว แต่ล่าสุดพบฟีเจอร์นี้แล้วในแอปเวอร์ชัน 38.8
คณะลูกขุนในคดีที่ Epic Games ฟ้องกูเกิลในข้อหาผูกขาดแอปสโตร์ ออกคำตัดสินแบบเป็นเอกฉันท์ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดบน Android และทำให้ Epic ได้รับผลกระทบทางธุรกิจ
Wilson White ตัวแทนของกูเกิลออกแถลงการณ์ ว่าจะอุทธรณ์คำตัดสินในคดีนี้ โดยยืนยันว่า Android และ Google Play เป็นแพลตฟอร์มเปิดและให้ทางเลือกมากกว่า และบอกว่าข้อมูลจากการไต่สวนแสดงให้เห็นว่ากูเกิลอยู่ในการแข่งขัน ทั้งกับ App Store ของแอปเปิล และสโตร์อื่นบน Android
Google Play ประกาศแอป Android แห่งปีในรางวัล Google Play's Best of 2023 ซึ่งให้กับแอป เกม ทั้งจากการคัดสรรของบรรณาธิการ และจากความนิยมของผู้ใช้งาน
โดยแอปดีที่สุด เป็นของ Imprint: Learn Visually แอปสำหรับเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ แบบสั้น ผ่านการนำเสนอผ่านภาพให้ย่อยเข้าใจง่ายขึ้น ส่วน แอปเกมดีที่สุด เป็นของ Honkai: Star Rail ซึ่งแอปนี้ก็ได้รางวัลแอป iPhone ยอดเยี่ยมเช่นกัน ยังมีหมวดรองรับการทำงานหลายอุปกรณ์ โดยแอปเป็นของ Spotify ส่วนเกมเป็นของ OUTERPLANE - Strategy Anime
รางวัลแอปยอดนิยมจากผู้ใช้งาน Users' Choice แอปเป็นของ ChatGPT ส่วนเกมเป็นของ MONOPOLY GO!
จากการพิจารณาคดีระหว่าง Epic กับ Google เปิดเผยว่า Spotify ได้ทำข้อตกลงกับ Google ทำให้ Spotify ได้เงินแบบเม็ดเต็มหน่วยจากการสมัครสมาชิกผ่านระบบการชำระเงินของตัวเองบนอุปกรณ์ Android โดยที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมบน Google Play Store
Don Harrison หัวหน้าฝ่าย Global Partnerships ของ Google เปิดเผยในคำให้การระหว่างการพิจารณาคดีว่ามีดีลกับ Spotify ไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชัน กรณีที่ผู้ใช้งานเลือกจ่ายผ่านระบบชำระเงินของ Spotify เอง และหากจากผ่าน Play Store ค่าธรรมเนียมจะอยู่แค่ 4% ซึ่งก็ยังคงต่ำกว่าโครงการ User Choice Billing Program ที่ออกมาในปี 2022 ที่ลดค่าธรรมเนียมลงเหลือ 11% จากปกติที่เก็บ 15%
การไต่สวนคดี Epic Games ฟ้องกูเกิลเรื่อง Play Store เริ่มขึ้นแล้ว ทำให้เราได้เห็นข้อมูลเพิ่มเติมในชั้นศาลอย่าง Epic Games Store ยังไม่ทำกำไร
กูเกิลออกกฎใหม่ของ Google Play Store เพื่อป้องกันแอพคุณภาพแย่เข้ามารกในสโตร์ จนสร้างประสบการณ์ไม่ดีให้ผู้ใช้งาน
เมื่อกลางปีนี้ กูเกิลเพิ่งออกกฎการตรวจสอบตัวตนของนักพัฒนาบน Google Play ให้เข้มงวดขึ้น (ด้วยวิธีเรียกว่า D-U-N-S Number) ล่าสุดนโยบายนี้ถูกใช้กับนักพัฒนาที่ลงทะเบียนก่อนเดือนกันยายน 2023 ว่าต้องทยอยไปยืนยันตัวตนกันด้วย โดยกูเกิลยังใจดี เปิดให้นักพัฒนาระบุเส้นตายของวันยืนยันตัวตนที่เหมาะสมได้เอง แล้วไปยืนยันตัวตนให้ได้ตามที่สัญญาไว้
คดีดังระหว่าง Epic Games กับแอปเปิล กำลังอยู่ในชั้นศาลฎีกาสหรัฐ แต่ Epic Games ยังมีอีกคดีกับกูเกิลในลักษณะเดียวกัน ที่กระบวนการชั้นศาลยังตามหลังคดีกับแอปเปิลอยู่ และจะมีนัดไต่สวนกันในสัปดาห์หน้า
ล่าสุดกูเกิลออกมาตอบโต้ Epic Games ผ่านบล็อกของบริษัท โดยบอกว่าการฟ้องร้องกูเกิลผูกขาดช่องทางเผยแพร่เกมบน Android เป็นเรื่องไม่จริง และไม่สามารถนำคดีกับแอปเปิลมาเทียบเคียงได้ ปัจจัยสำคัญคือ Android อนุญาตให้มีสโตร์อื่นนอกจาก Google Play เช่น Samsung Galaxy Store และ Amazon Appstore รวมถึงอนุญาตให้ติดตั้งแอพเองได้ผ่าน sideloading
Google Play ประกาศนโยบายใหม่ 3 ข้อที่จะบังคับใช้เพิ่มเติมกับแอพในระบบ
KCC หรือ กสทช. ของเกาหลีใต้ ออกคำเตือนถึงกูเกิล และแอปเปิล ในประเด็นจำกัดไม่ให้นักพัฒนาแอปสามารถใช้ระบบจ่ายเงินอื่นนอกจากของแพลตฟอร์ม ระบุว่าทั้งสองบริษัทต้องแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนด มิฉะนั้นอาจถูกสั่งปรับเงิน
ก่อนหน้านี้เกาหลีใต้ได้ผ่านกฎหมาย ที่กำหนดให้นักพัฒนาต้องสามารถเลือกใช้ระบบจ่ายเงิน In-App กับผู้ให้บริการภายนอก นอกเหนือจากวิธีการของแพลตฟอร์มได้ด้วย
ฟีเจอร์ Fast Pair ของ Google นั้นเป็นฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับการค้นหา และเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ครั้งแรกได้ง่ายขึ้น ซึ่ง Fast Pair ถือเป็นโค้ดส่วนหลักของโมดูลด้านการเชื่อมต่อใน AOSP ล่าสุดกลับพบว่าโค้ดที่เกี่ยวข้องกับฟีเจอร์ดังกล่าวถูกออกจาก AOSP โดย Google เป็นคนลบเอง แต่ฟีเจอร์นี้จะยังมีอยู่กับโทรศัพท์ Android ที่มี Google Play Services ติดมากับเครื่อง
Google Play ประกาศเปลี่ยนโยบายการส่งแอปขึ้นหน้าสโตร์โดยบังคับแอปที่ให้บริการเงินกู้จะต้องแสดงหลักฐานว่าได้รับอนุญาตภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้
แอปกู้เงินเป็นหมวดที่กูเกิลควบคุมเป็นพิเศษมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยแต่ละชาติจะมีนโยบายต่างกันไป แต่กูเกิลมีเงื่อนไขกลางๆ เช่น ห้ามเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเกินกำหนด, ห้ามโฆษณาเงินกู้โดยไม่แจ้งอัตราดอกเบี้ยหรือไม่แจ้งระยะเวลาจ่ายเงินคืน สำหรับประเทศไทยกูเกิลระบุว่าต้องส่งหลักฐานการได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
แอปกู้เงินเป็นปัญหาในประเทศไทยมานาน แอปจำนวนหนึ่งเข้าข่ายหลอกลวงที่พยายามหลอกล่อให้เหยื่อโอนเงินไปก่อนจึงจะกู้เงินได้
เมื่อวานนี้ Google ได้ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยอนุญาตให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถใส่สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น NFT ลงในแอปพลิเคชันและเกมของตนภายใน Google Play ได้ พร้อมกำหนดให้นักพัฒนาต้องระบุให้ชัดเจนว่า แอปดังกล่าวมีองค์ประกอบของบล็อคเชน
เมื่อปีที่แล้ว รัฐสภายุโรปได้ประกาศผ่านกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ที่ควบคุมไม่ให้เกิดการผูกขาดอำนาจของแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเปิดช่องให้ระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนมีสโตร์เพิ่มขึ้น มากกว่าแค่ Play Store หรือ App Store
ล่าสุด The Verge รายงานว่า Meta วางแผนที่จะให้ผู้ใช้งานในสหภาพยุโรป สามารถดาวน์โหลดแอปผ่านโฆษณาบน Facebook ได้โดยตรง เพื่อแข่งกับเจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Google และ Apple โดย Meta จะทดสอบบริการนี้บนระบบ Android กับนักพัฒนาจำนวนหนึ่งก่อน ภายในสิ้นปีนี้ และในช่วงแรก จะไม่มีการหักรายได้แอปที่เข้าร่วมโครงการนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังร่างกฎหมายบังคับให้เจ้าของแพลตฟอร์มอย่างแอปเปิลและกูเกิลต้องเปิดให้ผู้ให้บริการรายอื่นสามารถสร้างแอปสโตร์ขึ้นมาแข่งได้ หากคู่แข่งนั้นมีมาตรฐานความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวดีเพียงพอ
รัฐบาลญี่ปุ่นหวังว่าการเปิดให้มีการแข่งขันจะทำให้ราคาแอปรวมถูกลง เพราะทุกวันนี้เจ้าของแพลตฟอร์มนั้นคิดค่าบริการถึง 30%
สหภาพยุโรปมีกฎหมาย Digital Market Act (DMA) ที่บังคับให้แพลตฟอร์มขนาดใหญ่ จะถูกควบคุมการขายพ่วง หรือให้ความสำคัญกับสินค้าในบริษัทตัวเองเหนือกว่าบริษัทอื่นที่อยู่บนแพลตฟอร์ม โดยไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแอปสโตร์บนโทรศัพท์เท่านั้น แต่รวมถึงบริการขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น Google Search, Facebook, คลาวด์รายใหญ่, แอปแชตอย่าง WhatsApp ด้วย โดย DMA จะมีผลบังคับเดือนมีนาคมปี 2024
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Android ชื่อ auto-archive เป็นการแบ็คอัพแอพที่นานๆ ใช้ทีขึ้นคลาวด์ของกูเกิล เพื่อประหยัดเนื้อที่ในเครื่อง
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้มักลบ (uninstall) แอพเก่า หากต้องการติดตั้งแอพใหม่แล้วพื้นที่สตอเรจไม่พอ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดในแอพของผู้ใช้ถูกลบไปด้วย
ฟีเจอร์ auto-archive ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยข้อมูลบางส่วนของแอพที่ไม่ค่อยได้ใช้จะถูกส่งขึ้นไปเก็บบนคลาวด์ของกูเกิลแทน แต่ยังคงไอคอนของแอพในเครื่องไว้ พร้อมแปะป้ายรูปก้อนเมฆเพื่อบอกว่าไฟล์อยู่ในคลาวด์ หากคลิกที่แอพก็จะโหลดข้อมูลกลับลงมาในเครื่องให้เหมือนเดิม
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดของเกาหลีใต้ Korea Fair Trade Commission (KFTC) ออกคำสั่งปรับกูเกิลเป็นเงิน 4.21 หมื่นล้านวอน (ประมาณ 1 พันล้านบาท) ในข้อหาพยายามผูกขาดตลาดแอปเกมในประเทศ
โดยข้อกล่าวหานี้มาจากช่วงปี 2016-2018 ระบุว่ากูเกิลพยายามกดดันบริษัทผู้พัฒนาและเผยแพร่เกม ให้นำเกมลงเฉพาะ Play Store เท่านั้น ไม่ให้นำไปลง One Store แพลตฟอร์มแอปบน Android ของกลุ่มบริษัทในเกาหลีใต้ ที่ร่วมลงทุนโดย 3 ผู้ให้บริการเครือข่าย SK Telecom, KT และ LG Uplus ร่วมด้วย Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่
Google Play ประกาศข้อบังคับใหม่ว่าแอพจะต้องเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้ขอลบข้อมูลในบัญชีของตัวเองได้ (ลบเฉพาะข้อมูลในแอพ แต่ไม่จำเป็นต้องลบตัวบัญชี เหมือนกับรีเซ็ตบัญชีใหม่)
กูเกิลบอกว่าข้อบังคับนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกขึ้น คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวมากกว่าเดิม แต่ก็บอกว่าต้องการให้เวลานักพัฒนาเตรียมตัวพัฒนาฟีเจอร์นี้ด้วยเช่นกัน เบื้องต้นกูเกิลจะขอให้นักพัฒนาตอบแบบสำรวจเรื่องฟีเจอร์ลบแอพภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2023 จากนั้นจะเริ่มขึ้นป้าย data deletion ในสโตร์ช่วงต้นปี 2024 เป็นต้นไป
กูเกิลประกาศแบนแอป Pinduoduo แอปอีคอมเมิร์ชรายใหญ่จากประเทศจีนที่มีผู้ใช้ถึง 800 ล้านคน และบริษัทอยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ สัญลักษณ์ PDD โดยกูเกิลระบุสาเหตุว่าแอปเวอร์ชั่นที่ใช้งานในประเทศจีนซึ่งอยู่นอก Google Play นั้นทำงานเหมือนมัลแวร์
แอป Pinduoduo เวอร์ชั่นนอก Google Play ถูกรายงานว่าเป็นมัลแวร์ โดย Kaspersky ระบุชื่อกลุ่มมัวแวร์เป็น Backdoor.AndroidOS.Pinduo.a โดยมีรายงานระบุว่าแอปมีพฤติกรรมน่าสงสัย พยายามดึงข้อมูลจากผู้ใช้เกินความจำเป็น และพยายามซ่อนตัวเอง
หลังจาก ChatGPT แชทบ็อตที่คุยโต้ตอบได้แบบมนุษย์ของ OpenAI ได้รับการพูดถึงมากในช่วงนี้ ปรากฎว่าทั้งใน App Store และ Play Store มีแอปที่เกี่ยวข้องกับ ChatGPT เกิดขึ้นหลายแอปที่อ้างว่าเป็นบริการเวอร์ชันพิเศษ ทั้งที่จริงแล้ว ChatGPT ให้บริการบนหน้าเว็บไซต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และปัจจุบันทาง OpenAI ก็ยังไม่มีแอปออกมา