กูเกิลเปิดตัว Android 13 (Go edition) ระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือสเปกต่ำ พร้อมประกาศว่ามีอุปกรณ์ใช้งาน Android Go จำนวน 250 ล้านเครื่องแล้ว (นับเป็น monthly active devices)
ของใหม่ใน Android 13 (Go edition) ได้แก่
กูเกิลอนุมัติให้ Truth Social แอปโซเชียลเน็ตเวิร์คของอดีตประธานาธิบดี Donald Trump ขึ้น Play Store แล้ว หลังจากแอปเปิลอนุมัติขึ้น App Store ไปตั้งแต่เมื่อต้นปี
ก่อนหน้านี้กูเกิลปฏิเสธให้ Truth Social ขึ้น Play Store โดยให้เหตุผลเรื่องแอปละเมิดข้อกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง โดยเฉพาะประเด็นการควบคุมดูแลเนื้อหาที่รุนแรง หรืออาจผิดกฎหมาย เช่น ต้องมีระบบรายงานหากพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามช่วงที่ผ่านมา Truth Social ก็มีวิธีการลงแอปบน Android โดยใช้ apk หรือเผยแพร่ผ่าน Store อื่นที่อนุญาต
ที่มา: Axios
หน่วยงานป้องกันการผูกขาดทางการค้าของอินโดนีเซีย (KPPU) เปิดเผยว่ากำลังสอบสวน Google เรื่องการผูกขาดทางการค้าผ่านระบบชำระเงินของ Google Play
เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียพบว่า ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันบน Google Play ามจะต้องใช้บริการการชำระเงินของ Google ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมบริการ 15-30% (มากกว่าระบบจ่ายเงินอื่น ๆ ในประเทศที่คิด 5%) รวมถึงผู้พัฒนาแอปไม่มีทางเลือกเพราะหากปฏิเสธจะถูก Google นำแอปออกจาก Google Play หรือไม่ให้อัปเดตแอปพลิเคชัน
ตามปกติแล้ว Google Play Store จะแสดงรีวิวแอปพลิเคชันแบบเดียวกันไม่ว่าผู้ใช้จะใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือสมาร์ททีวี
ล่าสุด Google ได้เปลี่ยนเป็นการแสดงรีวิวตามอุปกรณ์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่ (เช่น ถ้าผู้ใช้ใช้สมาร์ทโฟน ก็จะแสดงรีวิวจากผู้ใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเช่นเดียวกัน)
ในหน้าการให้คะแนนและรีวิวแอปพลิเคชันใน Google Play จะมีข้อความกำกับว่า “Ratings and reviews are verified and are from people who use the same type of device that you use” ดังนั้น จำนวนของผู้รีวิวจะแตกต่างกับไปตามอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งนี้ Google Play จะยังคงแสดงคะแนนเฉลี่ยของแอปพลิเคชันเท่ากันในทุกอุปกรณ์ที่ใช้
แอปโซเชียลมีเดีย Parler ที่เป็นแอปที่ได้รับความนิยมจากผู้มีแนวคิดฝ่ายขวาได้กลับเข้าสู่ Google Play Store แล้ว หลังจากถูกแบนไปในเดือนมกราคมของปีที่แล้ว
Parler ถูกนำออกจาก Apple Store และ Google Play Store เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่มีนโยบานกลั่นกรองเนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรง และกลายเป็นแพลตฟอร์มที่กลุ่มม็อบสนับสนุนโดนัล ทรัมป์ใช้ในการพูดคุยกันเพื่อรวมตัวบุกรัฐสภาสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม Parler ได้กลับเข้าสู่ Apple Store ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
Parler ตกลงที่จะแก้ไขแอปพลิเคชันเพื่อจัดการกับเนื้อหาที่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงและสร้างระบบที่รายงานและบล็อกบัญชีผู้ใช้ที่เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสม
กูเกิลฉลอง 10 ปีร้าน Google Play Store ด้วยการเปิดตัวโลโก้ใหม่ที่ยังเป็นปุ่มสามเหลี่ยมเหมือนเดิม แต่ปรับสีให้เข้ากับโทนโลโก้ยุคใหม่ของกูเกิล ที่ใช้สีสันสดใส 4 สีตามสัญลักษณ์ของบริษัท เปลี่ยนจากของเดิมที่ใช้สีโทนฟ้า-เขียวอ่อน
สถิติอื่นที่กูเกิลเปิดเผยคือ ผู้ใช้งานจริง 2.5 พันล้านคนต่อเดือน จาก 190 ประเทศ, จ่ายเงินให้นักพัฒนาไปแล้ว 1.2 แสนล้านดอลลาร์
กูเกิลยังฉลอง 10 ปีของ Google Play โดยการแจกแต้ม Google Play Points เพิ่ม 10 เท่า หากซื้อแอพหรือเกมในช่วงนี้ (เมืองไทยก็อดเช่นเคยเพราะยังไม่รองรับ Play Points)
เราเห็นข่าวหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกพยายามบี้แอปเปิลและกูเกิล ให้ปลดล็อคเรื่องการจ่ายเงินในร้านขายแอพของตัวเอง ตัวอย่างคือ กรณีของ App Store ในเกาหลีใต้ ที่ลดค่าธรรมเนียมเหลือ 26% หากใช้ระบบจ่ายเงินอื่น, กรณีของกูเกิลในเกาหลีใต้ หรือ กรณีของ App Store ในเนเธอร์แลนด์ แต่เฉพาะแอพหาคู่เดต
กูเกิลเปิดทดสอบ Google Play Games บน Windows เพิ่มอีก 2 ประเทศ ได้แก่ไทยและออสเตรเลีย หลังจากเปิดทดสอบใน 3 ประเทศเมื่อต้นปี
การเปิดทดสอบนี้ใช้ระบบ waitlist ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ และดูรายชื่อเกมที่รองรับได้บนหน้าร้านค้า
ที่มา - 9to5Google
มีรายงานว่าแอปแชตยอดนิยมของเกาหลีใต้ KakaoTalk ถูกปฏิเสธการอัพเดตเวอร์ชันของแอปใน Play Store ของกูเกิล โดยกูเกิลให้เหตุผลว่าแอปทำผิดข้อกำหนดการใช้งาน ที่ห้ามแทรกลิงก์ไปจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มภายนอก
ก่อนหน้านี้กูเกิลออกข้อกำหนดมีผลตั้งแต่ 1 มิถุนายน ว่าหากพบแอปใดมีลิงก์ให้ไปจ่ายเงินค่าบริการยังเว็บไซต์ภายนอก ที่ไม่ใช่ระบบจ่ายเงินของกูเกิล แอปจะถูกระงับการอัพเดตหรืออาจถูกถอดออกจาก Play Store
Amazon มีแอพหลายตัวบนสมาร์ทโฟน แอพหลักตัวหนึ่งคือ Amazon Shopping ที่ใช้สั่งซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ แต่ก็สามารถซื้อสินค้าที่เป็นดิจิทัลอย่างอีบุ๊กของ Kindle ได้ด้วย
ล่าสุด Amazon ปิดการซื้ออีบุ๊ก Kindle บนแอพตัวนี้แล้ว ด้วยเหตุผลว่าต้องการเลี่ยงเงื่อนไขการบังคับจ่ายเงินผ่านระบบ Google Play ซึ่งจะโดนกูเกิลหักส่วนแบ่งรายได้ (แอปเปิลทำมาแต่แรกแล้ว แต่กูเกิลเพิ่งบังคับ) ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับที่ Bandcamp บริษัทขายเพลงในเครือ Epic เพิ่งยื่นฟ้องกูเกิลไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยแอพ Amazon Shopping ขึ้นข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ไปกดซื้อผ่านหน้าเว็บแทน
Bandcamp แพลตฟอร์มขายเพลงออนไลน์ที่ Epic Games เพิ่งซื้อกิจการเมื่อเดือนมีนาคม 2022 เปิดฉากยื่นฟ้องกูเกิลในประเด็นเรื่องส่วนแบ่งรายได้ Google Play Store ไม่เป็นธรรมต่อแพลตฟอร์ม
ปีที่แล้ว กูเกิลออกนโยบายบังคับแอพให้ต้องซื้อสินค้าดิจิทัลผ่าน in-app billing (แบบเดียวกับที่แอปเปิลบังคับมานานแล้ว) โดยแอพที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกถอดออกจาก Play Store ในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 ซึ่งกรณีของ Bandcamp เข้าข่ายนี้ (ไม่ยอมทำตาม และรอถูกถอด)
สิ่งที่ Epic ทำคือยื่นฟ้องศาลเพื่อขอความคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ Bandcamp ถูกถอดออกจาก Play Store ระหว่างคดี
Google Play Store ประกาศนโยบายให้แอพต้องปรับตัวรองรับ API ของ Android เวอร์ชันใหม่ๆ มากขึ้น
ปัจจุบัน Google Play มีนโยบายว่าแอพใหม่และแอพเดิมที่มีอัพเดต จะต้องตั้ง target API ตาม Android เวอร์ชันล่าสุดภายใน 1 ปีหลังจากออกเวอร์ชัน หากไม่ปฏิบัติตามจะไม่สามารถส่งแอพขึ้นสโตร์ได้ แต่ไม่มีผลกับแอพเดิมที่อยู่บนสโตร์
นโยบายใหม่มีผลต่อแอพเดิมที่อยู่บนสโตร์ หากไม่ target API ตาม Android เวอร์ชันล่าสุดภายใน 2 ปีหลังออกเวอร์ชัน จะค้นหาไม่เจอและผู้ใช้ใหม่ไม่สามารถติดตั้งได้อีก (ผู้ใช้เดิมยังใช้ต่อได้) นโยบายนี้จะเริ่มมีผล 1 พฤศจิกายน 2022 เป็นต้นไป
Spotify ประกาศความร่วมมือกับกูเกิลเปิดให้ผู้ใช้เลือกจ่ายค่าสมาชิกแบบพรีเมี่ยมโดยตรงกับ Spotify เอง หรือจะจ่ายผ่าน Google Play Billing ก็ได้ โดยในตัวแอปจะมีตัวเลือกสองแบบข้างๆ กัน กูเกิลเรียกฟีเจอร์นี้ว่า User Choice Billing
ไม่มีรายละเอียดว่าดีลนี้มีการจ่ายค่าบริการให้กูเกิลเท่าใด แต่ดีลนี้เป็นก้าวสำคัญหนึ่งในการต่อรองระหว่างบริการต่างๆ กับเจ้าของระบบปฎิบัติการ ที่ต้องการเก็บค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินค่าบริการผ่านโทรศัพท์มือถือตั้งแต่ 15-30% ตัว Spotify เองก็เป็นหนึ่งในโจทย์ที่ร้องเรียน App Store ว่าผูกขาด
กูเกิลปรับนโยบายช่องทางการจ่ายเงินบน Google Play Store ให้ผ่อนคลายมากขึ้น จากเดิมที่บังคับต้องจ่ายผ่านระบบของกูเกิลเท่านั้น แต่เมื่อช่วงหลังได้รับแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ (เช่น เกาหลีใต้ที่ถึงขั้นออกเป็นกฎหมาย) ทำให้กูเกิลต้องยอมปรับตัว
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่าจะ 'ทดลอง' ให้นักพัฒนาในประเทศอื่นใช้ระบบจ่ายเงินของตัวเองด้วย โดยเริ่มจาก Spotify เป็นรายแรก ที่สามารถนำเสนอวิธีการจ่ายเงินของตัวเองคู่ไปกับ Google Play billing แล้วให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเลือกว่าจะจ่ายทางไหน
กูเกิลประกาศย้ายเซคชั่นซื้อและเช่าหนัง Movies & TV ในแอพ Google Play ไปอยู่บนแอพอีกตัวคือ Google TV แทน โดยรูปแบบการใช้งานยังเหมือนเดิม (แค่ย้ายแอพเพื่อใช้งาน) การเปลี่ยนแปลงจะมีผลในเดือนพฤษภาคม 2022
หน้าร้าน Google Play จะเหลือแค่การขายแอพ เกม และอีบุ๊กเท่านั้น ส่วนคอนเทนต์หนัง-ซีรีส์ที่เราเคยซื้อไปแล้วจะย้ายตามไปอยู่บน Google TV ด้วย
กูเกิลมีแนวทางพัฒนาแอพบน Android ยุคใหม่ที่เรียกว่า Modern Android Development (MAD) มาได้สักระยะแล้ว ประกอบด้วยภาษา Kotlin, เครื่องมือ Android Studio, ชุด API Jetpack, และชุดเขียน UI Jetpack Compose
กรณีของ Jetpack Compose เป็นชุดเครื่องมือสร้าง UI แบบเนทีฟสำหรับ Kotlin ที่ออกเวอร์ชัน 1.0 ในปี 2021 และเริ่มมีแอพดังๆ หลายตัวนำมาใช้แล้ว เช่น Twitter, Airbnb, Pinterest
ส่วนแอพของกูเกิลเองที่ใช้งานแล้วคือ Google Play Store โดยล่าสุดกูเกิลออกมาเล่าเบื้องหลังและบทเรียนการเปลี่ยนมาใช้ Jetpack Compose
กูเกิลส่งเมลแจ้งพัฒนาว่า Google Play Store ในรัสเซียจะไม่สามารถขายแอพ รวมถึงทำธุรกรรมแบบ in-app purchase หรือ subscription ได้อีกแล้ว แต่แอพฟรียังสามารถดาวน์โหลดได้ตามปกติ
กรณีที่ผู้ใช้สมัครสมาชิกไว้แล้ว ยังสามารถใช้งานได้จนถึงสิ้นสุดอายุสมาชิก แต่จะไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อต่ออายุสมาชิกใหม่ได้
เหตุผลของกูเกิลมาจากระบบจ่ายเงินในรัสเซียหยุดให้บริการ ทำให้การซื้อสินค้าดิจิทัลถูกกระทบไปด้วย รูปแบบคล้ายกรณี Nintendo ปิด eShop ในรัสเซีย
กูเกิลเพิ่งประกาศข่าว Google Play Games บน Windows ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2021 ตอนนี้บริการเริ่มเปิดทดสอบ Beta แล้วใน 3 ประเทศคือ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้
ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลดแอพ Google Play Games บนวินโดวส์มาติดตั้งก่อน สามารถซิงก์บัญชี Google Play Games กับสมาร์ทโฟนได้ (เล่นสลับอุปกรณ์ได้ นับความคืบหน้าต่อกันหมด) จุดต่างจากเวอร์ชันมือถือมีเพียงแค่ได้เล่นเกมจอใหญ่ขึ้น และใช้เมาส์-คีย์บอร์ดควบคุมได้เท่านั้น
สเปกเครื่องขั้นต่ำที่ต้องการคือ ซีพียู 8 คอร์, แรม 8GB, สตอเรจ SSD 20GB, ระบบปฏิบัติการ Windows 10 v2004 ขึ้นไป และจำเป็นต้องเปิด hardware virtualization
บริษัทวิจัยตลาด Sensor Tower เผยผลสำรวจตลาด App Store และ Google Play Store พบยอดใช้จ่ายในแอปเติบโตกว่า 19.7% จาก 111.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 เป็น 133 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ ทำสถิติสูงสุดตั้งแต่มีการสำรวจ
ยอดใช้จ่าย 133 พันล้านดอลลาร์นี้แบ่งสัดส่วนเป็น 85.1 พันล้านดอลลาร์จาก App Store ซึ่งรายได้เติบโต 17.7% จากปีก่อน ส่วน Google Play Store มียอดใช้จ่ายในแอปรวม 47.9 พันล้านดอลลาร์ เติบโต 23.5% จากปีก่อน แต่ก็ยังทำรายได้ตามหลัง App Store อยู่
Google Play Store ประเทศไทย ประกาศอันดับสุดยอดแห่งปี 2021 โดยประเภทแอปแห่งปี 2021 ไม่ได้ประกาศให้แอปใดแอปหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มีทั้งหมด 24 แอป เรียงตามลำดับตัวอักษรดังนี้
จากกรณีเกาหลีใต้ออกกฎหมายให้ร้านขายแอพต้องมีช่องทางจ่ายเงินแบบอื่น ฝั่งของกูเกิลเคยออกมาประกาศว่าจะปฏิบัติตาม
วันนี้ Google Play Store โชว์วิธีการจ่ายเงินแบบอื่น (in-app billing) แล้ว โดยผู้ใช้จะเห็นตัวเลือกตอนกดจ่ายเงิน (ดังภาพ) ซึ่งกูเกิลจะหารือร่วมกับพาร์ทเนอร์รายอื่น เพื่อแชร์วิธีการเชื่อมระบบกันต่อไป
กูเกิลบอกว่าปัจจุบัน Google Play สามารถจ่ายเงินได้หลายแบบ เช่น ซื้อเป็นบัตรของขวัญ หรือจ่ายด้วยแต้ม Play Point ซึ่งลูกค้าที่เลือกจ่ายเงินด้วยระบบของบริษัทอื่น "อาจ" ไม่มีตัวเลือกเท่าจ่ายผ่านระบบของกูเกิลเอง
ตั้งแต่ต้นปีนี้เราเห็นกูเกิลลดค่าธรรมเนียม Google Play ไปแล้วหลายรอบ ได้แก่ หักส่วนแบ่งเหลือ 15% จากปกติ 30% สำหรับรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรก (ครอบคลุมนักพัฒนา 99% ของแพลตฟอร์ม) และหักส่วนแบ่งเหลือ 15% สำหรับแอพกลุ่มสื่อ ได้แก่ อีบุ๊ก เพลง วิดีโอ เพราะมองว่าแอพกลุ่มนี้มีต้นทุนค่าคอนเทนต์แพง
ล่าสุดกูเกิลประกาศนโยบายลดค่าธรรมเนียม Google Play อีกรอบ ได้แก่
หลังจากไมโครซอฟท์เปิดทดสอบการรันแอพ Android บน Windows 11 Insider โดยเทคโนโลยีเบื้องหลังแยกเป็นส่วนของการรันแอพผ่าน Intel Bridge/Windows Subsystem for Android (WSA) และดาวน์โหลดแอพจาก Amazon Appstore ที่ค่อนข้างมีแอพจำนวนจำกัด (เบื้องต้นยังเปิดทดสอบแค่ 50 ตัว)
เมื่อโครงสร้างทางเทคนิคพร้อม ก็ไม่น่าแปลกใจที่มีคนสามารถแฮ็กให้ลง Google Play Store บน Windows 11 ได้แล้ว โดยแฮ็กเกอร์ชื่อ @ADeltaXForce ได้โพสต์ภาพการรัน Google Play และอธิบายกระบวนการ (ที่ค่อนข้างซับซ้อน) บน GitHub
หลังจากเกาหลีใต้ผ่านกฎหมาย Telecommunications Business Act บังคับให้ผู้ให้บริการหน้าร้านขายแอปพลิเคชั่นให้ต้องปล่อยให้แอปมีช่องทางรับเงินทางอื่นนอกเหนือจากระบบ In-App Purchase (IAP) ได้ Kim Kyung-hoon ผู้อำนวยการกูเกิลเกาหลีใต้ก็ออกมาระบุว่ากูเกิลจะทำตามกฎหมายนี้
กฎของ Google Play และ App Store นั้นต่างกันในรายละเอียด ระบบทั้งสองยอมให้แอปบางประเภทสามารถรับเงินจากบัตรเครดิตโดยตรงได้ โดยเฉพาะแอปในกลุ่มอีคอมเมิร์ช แต่แอปที่มักถูกบังคับต้องจ่ายเงินผ่านระบบกลางซึ่งคิดค่าธรรมเนียมถึง 30% ได้แก่แอปในกลุ่มเกมและบริการออนไลน์ที่ต้องสมัครสมาชิกต่างๆ
ในที่สุด เกาหลีใต้ก็ผ่านกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Google และ Apple จำกัดนักพัฒนาแอปไม่ให้ไปใช้ระบบจ่ายเงินภายนอก โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างรอประธานาธิบดี มุนแจอิน ลงนาม