ในที่สุด เกาหลีใต้ก็ผ่านกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Google และ Apple จำกัดนักพัฒนาแอปไม่ให้ไปใช้ระบบจ่ายเงินภายนอก โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างรอประธานาธิบดี มุนแจอิน ลงนาม
จากคดีความฟ้องผูกขาด Google และ Apple ทำให้เราได้เห็นข้อมูลหลายด้าน ล่าสุด เอกสารศาลที่รัฐยูทาห์ ฟ้อง Google เผย Google ในปี 2019 มีรายได้ถึง 11.2 พันล้านดอลลาร์และกำไร 8.5 พันล้านดอลลาร์จากการขายแอป การซื้อในแอป และโฆษณาในร้านค้าแอป
ตัวเลขนี้ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะปกติ Google มักจะรายงานตัวเลขรายได้จากร้านค้าแอปรวมอยู่ในส่วนอื่นๆ ข้อมูลนี้ช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นว่า ลำพังรายได้ร้านค้าแอปก็มากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์แล้ว
มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารประกอบการพิจารณาคดี ระหว่าง Epic Games กับกูเกิล ประเด็น Google Play ผูกขาด โดยพบว่ากูเกิลพยายามเจรจากับ Netflix เพื่อให้กลับมาใช้ระบบ In-App จ่ายเงิน พร้อมให้ข้อเสนอยอมลดส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมลง จากอัตราปกติที่ 30% แลกกับการไม่สร้างระบบจ่ายเงินแยกออกมาต่างหาก แสดงให้เห็นว่ากูเกิลก็สามารถลดอัตราค่าธรรมเนียมลงเป็นพิเศษได้เช่นกัน
ก่อนหน้านี้มีเอกสารจากฝั่งแอปเปิลในคดี Epic Games ว่าแอปเปิลพยายามเจรจาขอลดส่วนแบ่งกับ Netflix ซึ่งเป็นบริการที่มีคนสมัครใช้งาน subscription ยอดนิยมตัวหนึ่ง
คณะกรรมการรัฐสภาเกาหลีใต้ ลงมติเสนอแก้ไขกฎหมายในพระราชบัญญัติธุรกิจโทรคมนาคม ห้าม Google และ Apple จากการบังคับเก็บค่าคอมมิชชั่นนักพัฒนาจากการซื้อในแอป ขั้นตอนต่อไปคือ การลงคะแนนเสียงขั้นสุดท้ายในรัฐสภา
กูเกิลแจ้งนักพัฒนาบน Android เรื่องการปรับวิธีแสดงผลเรตติ้ง (ดาว) และรีวิวของแอปใน Play Store กับผู้ใช้งาน โดยอิงข้อมูลพื้นที่ของผู้ใช้งาน และอุปกรณ์ที่จะดาวน์โหลดแอปนั้นมากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้
กูเกิลแนะนำให้นักพัฒนาตรวจสอบคะแนนและรีวิวแยกตามหมวดที่จะมีผลใน Google Play Console ก่อนถึงกำหนดการเปลี่ยนแปลง
วุฒิสมาชิกสหรัฐ Richard Blumenthal, Marsha Blackburn และ Amy Klobuchar เสนอกฎหมาย Open App Markets Act มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลตลาดแอปพลิเคชัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ Google และ Apple ที่มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขของตลาดแอป โดยเฉพาะเรื่องการบังคับเงื่อนไขจ่ายเงินในแอป ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ Apple โดนเพ่งเล็งเรื่องผูกขาดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
คดีฟ้องร้องระหว่าง Epic Games กับกูเกิล ในประเด็น Google Play ผูกขาด มีเอกสารใหม่เพิ่มมาในชั้นศาล
เอกสารใหม่จากฝั่ง Epic ระบุว่าได้รับคำขู่จากกูเกิลในกรณีให้ลงเกม Fortnite Android แบบ sideloading ไม่ต้องผ่าน Google Play เพื่อเลี่ยงการหักส่วนแบ่ง 30% โดยกูเกิลมองว่าวิธีการของ Epic เป็น "โรคติดต่อ" (contagion) ที่บริษัทอื่นจะอยากทำตามบ้าง จึงหาวิธีต่างๆ มาสกัดกั้นแนวทางนี้ของ Epic โดยถึงขั้นมีไอเดียว่าจะเข้ามาซื้อหุ้นบางส่วน/ทั้งหมดของ Epic เลยด้วยซ้ำ
กูเกิลอัพเดตนโยบายเพื่อเนื้อหาที่ปลอดภัยบน Google Play แบนแอปสุ่มเสี่ยงอย่างเช่น แอปหาคู่เดตในแบบ sugar dating (ความสัมพันธ์ที่ออกไปในเชิงหาคู่นอนที่อายุห่างกันมากๆ และในหลายครั้งจะมาพร้อมค่าตอบแทน) นโยบายใหม่จะมีผล 1 กันยายนนี้
กูเกิลเพิ่มทางเลือก เลื่อนใช้นโยบายชำระเงินในแอปหรือ Play Billing (แอปที่จัดจำหน่ายผ่าน Google Play จะถูกบังคับให้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าดิจิทัล in-app purchase ผ่านระบบของกูเกิลอย่างเข้มงวดขึ้น) ไปเป็นเดือนมีนาคม 2022 จากเดิมที่มีผลเดือนกันยายนนี้
เนื่องจากนักพัฒนา Android ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดยเฉพาะทีมวิศวกรที่อยู่ในเขตพื้นที่ระบาดหนัก เกิดความลำบากเมื่อต้องอัพเดตระบบให้ทันตามเวลา โดยบริษัทและนักพัฒนารายใดที่ต้องการเลื่อนนโยบายชำระ ต้องเข้าไปยื่นอุทธรณ์การขยายเวลาผ่านศูนย์ช่วยเหลือ
กูเกิลจัดงาน Google for Games Developer Summit ในงานมีประกาศฟีเจอร์ใหม่เกี่ยวกับเกมใน Android 12 ด้วยคือ สามารถเล่นเกมระหว่างที่ยังดาวน์โหลดเกมไม่เสร็จได้
Greg Hartrell ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Google Play บอกว่า สาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนล้มเลิกความตั้งใจจะดาวน์โหลดเกมคือ โหลดนานเกินไป ฟีเจอร์เล่นระหว่างดาวน์โหลดสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้ ด้านนักพัฒนาเกมที่ใช้ Android App Bundle อยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม แค่อัพโหลดเข้า Google Play ก็เพียงพอแล้ว สามารถเข้าไปลงชื่อใช้เวอร์ชันเบต้าได้ที่นี่
จากประเด็นอัยการกว่า 30 รัฐในสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิลเรื่องผูกขาดร้านค้าแอป ซึ่งพุ่งเป้าที่การเก็บค่าคอมมิชชั่น 30% แต่ในเอกสารส่งฟ้องยังมีรายละเอียดเพิ่มระบุว่า กูเกิลพยายามกีดกันร้านค้าแอปคู่แข่งโดยเฉพาะ Samsung Galaxy Store เพื่อให้ตัวเองได้เป็นร้านค้าแอปแห่งเดียวบนอุปกรณ์แอนดรอยด์
กูเกิลเจอฟ้องใหญ่เรื่องผูกขาดอีกครั้ง กลุ่มอัยการ 36 รัฐและวอชิงตัน ดี.ซี. ฟ้องกูเกิลคดีผูกขาดร้านค้าแอปบนมือถือแอนดรอยด์ ที่กูเกิลบังคับให้นักพัฒนาแอปทั้งหมดที่ใช้ Google Play Store ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น 30% สำหรับการขายสินค้าหรือบริการดิจิทัล
การฟ้องร้องเกิดขึ้นหลังจากกูเกิลประกาศลดค่าธรรมเนียมสำหรับนักพัฒนาบน Play Store เหลือ 15% สำหรับรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกและสำหรับแอปกลุ่ม Media วิดีโอ เพลง อีบุ๊ก แต่ในขณะเดียวกัน กูเกิลเองก็ออกกฎแอปที่จำหน่ายผ่าน Google Play จะถูกบังคับให้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าดิจิทัล (in-app purchase) ผ่านระบบของกูเกิลอย่างเข้มงวดขึ้น โดยมีผล 30 กันยายนนี้
บริษัทความปลอดภัย Dr. Web ค้นพบว่ามีแอพแอนดรอยด์จำนวน 10 ตัว (9 ตัวอยู่บน Play Store) แอบดักข้อมูล Facebook Login ของผู้ใช้งาน รูปแบบการทำงานของแอพเหล่านี้คือพยายามให้ผู้ใช้ล็อกอินบัญชี Facebook เพื่อปิดโฆษณาหรือปลดล็อคฟังก์ชันบางอย่าง แล้วดักข้อมูลล็อกอินไปใช้งานต่อ
แอพตัวสำคัญคือแอพแต่งภาพชื่อ PIP Photo ที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 5 ล้านครั้ง แต่ก็มีแอพตัวอื่นๆ เช่น แอพแต่งภาพ Processing Photo, แอพลบไฟล์ขยะ Rubbish Cleane, แอพดูดวง Horoscope Daily, แอพฟิตเนส Inwell Fitness ซึ่งทั้งหมดมาจากนักพัฒนาที่แตกต่างกันไป แต่ใช้เทคนิคเดียวกัน
นักพัฒนาสายแอนดรอยด์โปรดทราบ กูเกิลจะเริ่มบังคับใช้ระบบแพ็กเกจแบบใหม่ Android App Bundle (.aab) แทน APK เดิม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 เป็นต้นไป
Android App Bundle เปิดตัวครั้งแรกในปี 2018 เป็นเทคนิคการทำแพ็กเกจแอพที่แยกส่วนข้างใน แล้วให้ Google Play เป็นคนเลือกว่าจะส่งเฉพาะไฟล์ก้อนไหนบ้างให้ผู้ใช้ (เช่น เฉพาะสถาปัตยกรรมที่ตรงกัน) ช่วยให้ขนาดไฟล์ที่ต้องดาวน์โหลดเล็กลง สะดวกกว่าการดาวน์โหลด APK ทั้งก้อนแบบในอดีต
กูเกิลเปิดให้ใช้ AAB เป็นทางเลือกแทน APK มานานพอสมควร ปัจจุบันมีแอพใช้งานแล้วมากกว่า 1 ล้านตัว และเมื่อปี 2020 ก็ประกาศไว้ว่าจะบังคับใช้ AAB ในปี 2021
กูเกิลเคยมีแคมเปญลดค่าส่วนแบ่ง Play Store จาก 30% เหลือ 15% สำหรับรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรก ล่าสุดกูเกิลออกแคมเปญคล้ายๆ กันชื่อ Play Media Experience Program ที่ลดเหลือ 15% เหมือนกัน ไม่มีข้อจำกัดเรื่องรายได้ แต่จำกัดรูปแบบของแอพแทน
แอพที่มีสิทธิเข้าร่วม Play Media Experience Program จะต้องเป็นแอพกลุ่มสื่อ (media) ที่แยกย่อยได้ 3 แขนงคือ วิดีโอ (ภาพยนตร์ ทีวี กีฬาสด) เสียง (เพลงสตรีมมิ่ง) และหนังสือ (เช่น อีบุ๊ก คอมมิก หนังสือเสียง) โดยหารายได้จากคอนเทนต์แบบพรีเมียม
Qualcomm เคยประกาศอัพเดตไดรเวอร์จีพียูของ Snapdragon ผ่าน Google Play ในช่วงต้นปี 2020 (ข่าวเก่า)
เวลาผ่านมาปีกว่า Qualcomm กับกูเกิลประกาศความร่วมมือลักษณะเดียวกัน เพิ่มการอัพเดตไดรเวอร์หน่วยประมวลผล AI (NNAPI driver) ผ่าน Google Play Services ทำให้ผู้ใช้ Snapdragon ได้รับไดรเวอร์ล่าสุดโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม ผลคือแอพที่ใช้การประมวลผล AI ในเครื่อง (เช่น Google Maps หรือ Assistant) ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อปลายปีที่แล้ว แอปเปิลออกกฎให้แอพบน App Store ต้องประกาศข้อมูลความเป็นส่วนตัว แอพต้องระบุว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง
วันนี้ กูเกิลเดินตามรอยแอปเปิลโดยประกาศมาตรการแบบเดียวกันของ Google Play Store ให้แอพต้องประกาศข้อมูลด้านความปลอดภัย (เช่น การเข้ารหัส), การเก็บข้อมูล-วิธีการให้ผู้ใช้ขอลบข้อมูลตัวเอง, นโยบายด้านเด็กและครอบครัว ฯลฯ
ประกาศของกูเกิลเป็นแค่การแจ้งเตือนล่วงหน้าให้เตรียมตัว รายละเอียดว่าจะต้องประกาศอะไรบ้างจะตามมาใน Q3/2021, เริ่มรับข้อมูลจากนักพัฒนาใน Q4/2021, เริ่มแสดงข้อมูลให้ผู้ใช้เห็น Q1/2022 และเส้นตายที่นักพัฒนาต้องประกาศข้อมูลคือ Q2/2022
เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Reserve Bank of India หรือธนาคารกลางอินเดียได้ออกข้อกำหนดเรื่องการทำธุรกรรมออนไลน์ซ้ำ ๆ (recurring online transaction) โดยระบุว่าผู้ให้บริการจะต้องมีการยืนยันตัวตนเพิ่มเติมเมื่อมีการทำธุรกรรมประเภทนี้ ซึ่งบริการประเภทสมัครสมาชิกแบบจ่ายเงินเป็นรอบเพื่อต่ออายุทั้งหมดจะเข้าข่ายข้อกำหนดใหม่ของธนาคารกลางอินเดีย
Google ออกกฎใหม่สำหรับการตั้งชื่อแอป, ชื่อผู้พัฒนา, รูปภาพไอคอนของแอป และภาพพรีวิวของตัวแอปบน Google Play โดยเป้าหมายคือเพื่อลดการตั้งชื่อแอปแบบชี้นำไปในทางที่ผิดเพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด ซึ่ง Google จะเริ่มบังคับใช้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
อีกหนึ่งแอปที่แม้จะกลายเป็นต้นตอของการแปลแบบแข็งๆ มากมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ และยังคงพัฒนาตนเองแบบต่อเนื่องอย่าง Google Translate ปัจจุบันมียอดติดตั้งผ่าน Play Store เกิน 1 พันล้านครั้งแล้ว
ปัจจุบัน Google Translate แปลได้ 108 ภาษา สามารถถอดเทปเสียงพูดได้ และรองรับภาษาไทย (real-time transcription) สามารถแปลแบบออฟไลน์ ช่วยออกเสียงสถานที่ในภาษาที่ไม่คุ้นเคยได้ (สำหรับใช้ถามทาง) ใช้กล้องส่องแล้วแปลภาษาได้(รองรับภาษาไทยด้วยเช่นกัน) แถมยังมี Dark Mode อีกด้วย
กูเกิลเปลี่ยนกฎของ Google Play จำกัดไม่ให้นักพัฒนาแอพสามารถตรวจสอบได้ว่า ในเครื่องของผู้ใช้มีแอพอื่นตัวไหนบ้างติดตั้งอยู่ เพื่อความเป็นส่วนตัว-ความปลอดภัยของผู้ใช้
ปัจจุบัน แอพบนแอนดรอยด์สามารถใช้สิทธิ QUERY_ALL_PACKAGES ตรวจสอบได้ว่ามีแพ็กเกจใดบ้างติดตั้งอยู่ในเครื่อง แต่สิทธินี้จะถูกยกเลิกในวันที่ 5 พฤษภาคม 2021 นี้ นักพัฒนาจำเป็นต้องถอนสิทธิออกจากไฟล์ manifest ตามกฎใหม่ของ Google Play หากเป็นกรณีที่แอพยังจำเป็นต้องใช้สิทธิตัวนี้จริงๆ กูเกิลยังเปิดช่องให้ใช้งานได้ แต่ต้องขออนุมัติเป็นรายๆ ไป (รายละเอียด)
จากประกาศของกูเกิล เรื่องการลดค่าธรรมเนียม Play Store ลงจาก 30% เป็น 15% ซึ่งก็คือลดลงครึ่งหนึ่ง มีผลกับนักพัฒนาในรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี กูเกิลบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกับนักพัฒนาถึง 99% ก็อาจมีข้อสงสัยว่ากูเกิลรายได้จะหายไปมากน้อยแค่ไหน
บริษัทวิจัยตลาดแอปมือถือ Sensor Tower ประเมินจากตัวเลขจากรายได้ Play Store ปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าการลดค่าธรรมเนียมนี้ ถ้าเป็นปี 2020 จะทำให้กูเกิลเสียรายได้ไปประมาณ 587 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 5% ของรายได้รวม
กูเกิลประกาศลดค่าธรรมเนียมสำหรับนักพัฒนาบน Play Store เหลือ 15% สำหรับรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับแอปเปิลที่ประกาศไปก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากสื่อเกาหลีในประเด็นดังกล่าว
Sameer Samat รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของกูเกิลบอกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลดีกับนักพัฒนาถึง 99% ใน Play Store ซึ่งช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนที่จำเป็น ในช่วงกำลังพัฒนาธุรกิจและบริการ มีรายได้เข้ามาต่อปียังไม่มาก ส่วนค่าธรรมเนียมส่วนที่เกิน 1 ล้านดอลลาร์จะยังใช้อัตราเดิม 30%
สื่อเกาหลีรายงานว่า กูเกิลในเกาหลี เข้ารายงานต่อคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าจะลดอัตราค่าคอมมิชชั่นที่นักพัฒนาแอปต้องจ่ายให้กูเกิล 30% เหลือ 15% เฉพาะแอปพลิเคชั่นที่ทำรายได้ต่อปีบน Play Store น้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์ มีผลเดือนกรกฎาคม
ข่าวดังกล่าวสอดคล้องกับที่กูเกิลเคยประกาศจะลดค่าคอมมิชชั่นก่อนหน้านี้ หลังจากที่ตนประกาศการชำระเงินทั้งหมดต้องทำผ่านระบบของกูเกิลเอง ซึ่งมีผลเมื่อเดือนมกราคม แต่นักพัฒนารวมถึงธุรกิจต่างๆ ไม่พอใจ กูเกิลจึงให้เวลาธุรกิจปรับตัว และยืดระยะเวลาไปถึงเดือนกันยายนปีนี้
ผู้ใช้งานรุมรีวิวแอปพลิเคชั่นเทรดหุ้น Robinhood ให้คะแนน 1 ดาวบน Google Play ล่าสุด Google ออกมายืนยันว่าได้ลบคอมเม้นท์เหล่านั้นออกไปแล้วร่วมแสนคอมเม้นท์
จากปรากฏการณ์นักลงทุนรายย่อยแห่ซื้อหุ้น GameStop ผู้จัดจำหน่ายวิดีโอเกม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่กำลังขาดทุน รวมถึงแห่ซื้อหุ้น AMC ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ และ Nokia จนทำให้ระบบ Robinhood ล่ม จน Robinhood ต้องระงับการซื้อหุ้น GameStop แต่ยังขายได้ จนผู้ใช้งานแห่มารีวิวแอปในทางที่ไม่ดี โดย Google มีอำนาจสามารถลบคอมเม้นท์บน Google Play ได้ หากมีเนื้อหาที่มีเจตนาบิดเบือนการให้คะแนนของแอปอย่างชัดเจน