บัญชี Google Search Liaison บน X โพสต์ตอบข้อความที่มีคนสอบถามว่า ฟีเจอร์เว็บแคชในผลการค้นหาตอนนี้หายไป ไม่สามารถใช้งานได้ไม่ว่าจะลองค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด โดยยืนยันว่าฟีเจอร์เว็บแคชได้ถอดไปจากผลเสิร์ชแล้ว
กูเกิลบอกว่าหน้าเว็บแคชเป็นหนึ่งในฟีเจอร์เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งของ Google Search ซึ่งเจตนาในการสร้างมาตอนนั้น เพราะหลายครั้งเว็บปลายทางโหลดไม่สำเร็จ หน้าเว็บแคชจึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้ แต่ตอนนี้ทุกอย่างพัฒนาไปมาก กูเกิลจึงตัดสินใจเลิกให้บริการฟีเจอร์นี้
Appen บริษัทจากออสเตรเลีย ที่รับเทรนโมเดล AI ให้กับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ทั่วโลก เปิดเผยว่า Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ได้แจ้งยกเลิกสัญญาจ้างงานเทรนโมเดลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผลตั้งแต่ 19 มีนาคม เป็นต้นไป และบอกเพิ่มเติมว่าบริษัทไม่มีสัญญาณมาก่อนว่ากูเกิลจะยกเลิกสัญญานี้
การยกเลิกสัญญานี้มีผลต่อ Appen มาก เนื่องจากข้อตกลงกับ Alphabet นี้ มีมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของรายได้ส่วนธุรกิจนี้ของบริษัท โดย Appen บอกว่าจะมีพนักงานสัญญาจ้างที่ทำงานส่วน Alphabet อย่างน้อย 2,000 คน ที่ได้รับผลกระทบ
StatCounter เว็บเก็บสถิติผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายงานตัวเลขส่วนแบ่งเสิร์ชเอ็นจิน ของเดือนธันวาคม 2023 พบว่า Bing ของไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 3.4% เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ที่ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มความสามารถ AI ให้กับ Bing เป็น Bing Chat (ตอนนี้ชื่อ Copilot) จึงอาจบอกได้ว่า Bing Chat ไม่ได้เพิ่มส่วนแบ่งในตลาดเสิร์ชขึ้นมามากนัก
กูเกิลเปิดฟีเจอร์ Circle to Search ฟีเจอร์ค้นหาใหม่สำหรับแอนดรอยด์ ที่ผู้ใช้สามารถค้นข้อมูลสิ่งต่างๆ บนหน้าจอเพียงแค่ระบายหรือวงส่วนที่ต้องการค้นหาเท่านั้น
การใช้งานเช่นเมื่อเราต้องการหายี่ห้อของเสื้อผ้าของภาพบนหน้าจอก็สามารถระบายภาพได้โดยไม่ต้องสลับไปยังแอป Lens นอกจากนี้ยังสามารถถามคำถามถึงภาพส่วนที่เลือกค้นหา
Circle to Search จะเปิดให้ใช้งานวันที่ 31 มกราคมนี้ แต่จะได้เฉพาะ Pixel 8, Pixel 8 Pro, และ Samsung Galaxy S24 เท่านั้น
ที่มา - Google
กูเกิลประกาศคำค้นหาที่เป็นกระแสโดดเด่นทั่วโลกในปีที่ผ่านมา Year in Search 2023 โดยแบ่งเป็นหลายหมวดของคำค้นหา ไม่มีการจัดอันดับรวมทั้งหมด รายละเอียดดังนี้
มีเอกสารเพิ่มเติมเผยแพร่ออกมาจากคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิน ซึ่งระบุถึงผลประโยชน์ที่กูเกิลจ่ายให้แอปเปิล เพื่อแลกกับ Safari ตั้งค่า Google Search เป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้น (default) ซึ่งที่ผ่านมาทราบเพียงตัวเลขคือระดับหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี
ข้อตกลงของกูเกิลกับแอปเปิลนั้นระบุว่า กูเกิลจะจ่ายเงินส่วนแบ่ง 36% ของรายได้โฆษณาในเสิร์ชที่เกิดขึ้นบน Safari
ข้อมูลนี้เป็นหนึ่งในหลักฐานที่ทางการสหรัฐฯ มองว่ากูเกิลปิดโอกาสให้เสิร์ชรายอื่นเข้ามาพัฒนาแข่งขันได้ รวมทั้งเป็นข้อตกลงทางอ้อมไม่ให้แอปเปิลทำเสิร์ชออกมาแข่งด้วย เพราะจำนวนเงินที่จ่ายนั้นก็สูงมากพอ
ที่มา: 9to5Mac
กูเกิลประกาศว่าฟีเจอร์ทดสอบเสิร์ชแบบถามตอบ ที่ใช้แชตบอท AI Bard ตอบคำถามที่กำลังค้นหาในชื่อ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งก่อนหน้านี้ทดสอบจำกัดเฉพาะในอเมริกาและบางประเทศ ล่าสุดฟีเจอร์นี้ขยายมายังผู้ใช้เพิ่มอีก 120 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย
สำหรับประเทศไทย คุณสมบัติ Search Labs นี้จะใช้งานได้กับผู้ใช้จำกัดจำนวน รองรับเฉพาะการค้นหาเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น หากมีสิทธิเข้าร่วมทดสอบจะเห็นไอคอน Labs (ขวดรูปชมพู่) ที่มุมบนขวาของหน้าแรกใน Chrome
มีประเด็นเพิ่มเติมจากการไต่สวนคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิลเรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ช โดยตัวแทนของกูเกิลนำคลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ Mitchell Baker ซีอีโอ Mozilla มาใช้โต้แย้งข้อกล่าวหาเรื่องผูกขาด
ในคลิปนั้น Baker บอกว่าตอนที่ Mozilla ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เสิร์ชของยาฮูในปี 2014 ตามข้อเสนอของ Marissa Mayer ซีอีโอยาฮูเวลานั้น โดยบอกว่าเป็นการเดิมพันร่วมกับ Mozilla แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือความล้มเหลว เพราะเสิร์ชของยาฮูทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้ Firefox แย่ลงมาก
การไต่สวนคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจินได้ดำเนินต่อในสัปดาห์นี้ และมีข้อมูลน่าสนใจหลายอย่างที่เผยแพร่ออกมา โดยมีเอกสารหนึ่งที่ผู้พิพากษา Amit Mehta สั่งให้เผยแพร่ต่อสาธารณะ คือคำค้นหา ที่สร้างรายได้จากโฆษณามากที่สุดให้กับเสิร์ชของกูเกิล
ทั้งนี้กูเกิลเคยบอกว่ามีการค้นหาประมาณ 20% เท่านั้น ที่กูเกิลจะแสดงโฆษณาในผลลัพธ์ ซึ่งเป็นคำค้นหาที่สามารถต่อยอดประชาสัมพันธ์ขายสินค้าหรือบริการได้ ขณะที่คำค้นส่วนใหญ่ไม่ได้แสดง
กูเกิลประกาศว่าฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบรูปภาพ เพื่อดูว่าเป็นภาพต้นฉบับที่เริ่มต้นจากไหนหรือเป็นภาพปลอม About this image ซึ่งเปิดตัวในงาน Google I/O ที่ผ่านมา ตอนนี้เปิดให้ใช้งานแล้วในส่วนของ Google Search สำหรับผู้ใช้งานภาษาอังกฤษ
About this image อยู่ในส่วนผลการค้นหาที่เป็นรูปภาพ โดยผู้ใช้งานเลือกไอคอน 3 จุด ในภาพที่สนใจ และเลือก About this image กูเกิลจะแสดงรายละเอียดว่า Google Search พบภาพแบบเดียวกันนี้จากเนื้อหาใดบ้าง และพบภาพนี้มานานเท่าใดแล้ว ช่วยป้องกันปัญหาการนำภาพไปใช้อธิบายในสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากต้นเรื่อง
กูเกิลประกาศเพิ่มเครื่องมือฝึกภาษาอังกฤษ ในหน้า Google Search สำหรับผู้ใช้ Android โดยเริ่มที่ประเทศ อาร์เจนตินา โคลัมเบีย อินเดีย (สำหรับผู้ใช้ภาษาฮินดี) อินโดนีเซีย เม็กซิโก และเวเนซุเอลา โดยจะเพิ่มเติมประเทศในอนาคต
กูเกิลบอกที่ผ่านมา Google Search ก็เป็นตัวช่วยด้านภาษาอังกฤษให้ผู้ใช้งานอยู่แล้วทั้งการแปล การหาคำนิยาม หรือช่วยคลังคำศัพท์ แต่ตอนนี้กูเกิลเพิ่มเครื่องมือใหม่ให้ได้ฝึกการพูดภาษาอังกฤษ และมีระบบตอบโต้ให้ความเห็นสำหรับแต่ละคน
กูเกิลเริ่มทดลองผนวกฟีเจอร์ด้าน AI เข้ามาใน Google Search มาได้สักพัก (ประกาศในงาน Google I/O) โดยใช้ชื่อว่า Search Generative Experience (SGE) ตอนนี้ยังเปิดให้บริการแค่ใน 3 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย
โดยหลักแล้ว SGE คือการใช้ AI มาสรุปเนื้อหาจากผลการค้นหา แล้วทยอยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่าง ตอบแบบแทรกรูปภาพหรือวิดีโอได้, ให้ SGE ตั้งคำถามเอง ตอบเอง เป็นต้น
กูเกิลประกาศเพิ่มเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งการเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเครื่องมือเตือนภัยต่าง ๆ
โครงการแรกคือ Project Green Light โดยนำ AI มาช่วยคำนวณการเปิดสัญญาณไฟจราจร เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนโดยเฉพาะในจุดตัดตามแยกต่าง ๆ เมื่อยานพาหนะต้องจอดรอไฟสัญญาณ ทำให้ยานพาหนะต้องจอดรอน้อยลง 30% ลดการปล่อยคาร์บอนตามแยก 10% ปัจจุบันโครงการนี้ทดสอบแล้วใน 70 แยก ของ 12 เมือง ซึ่งมีบาหลีและจาการ์ตาด้วย
ต่อมาคือเครื่องมือหาเส้นทางใน Google Maps แบบที่ประหยัดพลังงานที่สุด เพิ่มเติมในอีกสองประเทศคืออินเดียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังเพิ่มตัวเลือกยานพาหนะแบบสองล้อในตัวเลือกด้วย
กูเกิลประกาศชื่อบ็อต crawler ไล่ดูดหน้าเว็บตัวใหม่ชื่อ Google-Extended มีหน้าที่ดูดข้อมูลไปใช้สำหรับงาน AI โดยเฉพาะ เช่น Bard และ Vertex AI เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถกำหนดค่าได้ง่ายว่าอนุญาตให้บ็อตดูดหน้าเว็บหรือไม่ ผ่านไฟล์ robots.txt ที่ใช้งานกันอยู่แล้ว
เนื่องจากบ็อต Google-Extended เป็นบ็อตตามมาตรฐานของกูเกิล เจ้าของเว็บสามารถเขียนกฎแบบเดียวกับบ็อตอื่นๆ ที่ใช้งานอยู่แล้วในไฟล์ robots.txt ได้ เช่น
User-agent: Google-Extended
Disallow: /
ที่มา - Google
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม Search Generative Experience (SGE) ที่ก่อนหน้านี้เป็นการสร้างคำตอบในการถามคำถามผ่านช่องค้นหา โดยฟีเจอร์สำคัญคือการถามตอบคำถามบนเว็บต่างๆ ชื่อว่า SGE while browsing
SGE while browsing ทำให้เบราว์เซอร์สามารถสรุปประเด็นสำคัญบนเว็บที่กำลังอ่านอยู่ พร้อมลิงก์ไปยังจุดต่างๆ บนเว็บ และยังแสดงคำถามตอบจากข้อมูลบนเว็บ ตอนนี้ฟีเจอร์นี้ยังเป็น Search Lab และเปิดใช้ได้ใน Android และ iOS ก่อน ส่วนเดสก์ทอปจะมาภายหลัง
ฟีเจอร์อีกส่วนคือหน้าค้นหาเดิมที่เคยใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างคำตอบที่เพิ่งเปิดให้ใช้งานไปนั้น จะเพิ่มฟีเจอร์แสดงคำสำคัญพร้อมแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องสั้นๆ มาให้ในตัว
กูเกิลเพิ่มเครื่องมือใหม่ใน Google Search โดยช่วยตรวจไวยากรณ์ของประโยค รองรับทั้งแอปเสิร์ชบนเดสก์ท็อปและมือถือ ในตอนนี้มีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น
วิธีเรียกใช้เครื่องมือนี้ ทำได้โดยใส่ประโยคหรือข้อความ ที่ต้องการตรวจสอบ แล้วปิดด้วยคำว่า "Grammar check" หรือ "Check grammar" เป็นต้น ผลลัพธ์นั้นจะแสดงส่วน Grammar Check พร้อมประโยคแก้ไขใหม่หากมีส่วนที่ไม่ถูกต้อง หรือทำเครื่องหมายถูกสีเขียวแสดงว่าประโยคนี้ถูกต้องดีแล้ว
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Results about you ให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่ามีข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่
ฟีเจอร์นี้เปิดตัวมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ล่าสุดกูเกิลเพิ่มระบบ alert แจ้งเตือนให้เราทราบหากมีข้อมูลใหม่ติดเข้ามาในผลการค้นหา และเราสามารถยื่นขอลบข้อมูลเหล่านี้ออกได้
กูเกิลประกาศเพิ่ม 3 ฟีเจอร์ใหม่ให้ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งกูเกิลทดลองนำ Generative AI มาช่วยตอบคำถามใน Google Search ช่วยให้ผู้ใช้งานได้คำตอบออกมาทันที ไม่ต้องคลิกลิงก์ในรายการค้นหา
ฟีเจอร์แรกคือการแทรกวิดีโอหรือรูปภาพประกอบในคำตอบ เพราะในหลายกรณีนั้น หากมีภาพหรือคลิปประกอบด้วยย่อมดีกว่าแค่ตัวหนังสือ เช่น นกที่มีขนาดเล็กที่สุด อธิบายท่าในการเล่นโยคะ ฯลฯ
ส่วนอีก 2 ฟีเจอร์ได้แก่ ปรับปรุงการให้คำตอบที่รวดเร็วมากขึ้น โดยคำถามที่ซับซ้อนใช้เวลาตอบลดลงครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้คำตอบที่แสดงมายังแนบลิงก์ท้ายข้อความ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถคลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่มากขึ้นได้ด้วย
Google Search เริ่มอัปเดตการแสดงผลสภาพอากาศบนสมาร์ทโฟนแบบใหม่ (พิมพ์ weather ในช่อง search บนสมาร์ทโฟน) ปรับไปใช้ Material You ตามสมัยนิยม พร้อมปรับการแสดงผลกราฟิกของสภาพอากาศปัจจุบัน ให้มีความสวยงามมากขึ้น
นอกจากแสดงผลแบบใหม่แล้ว เวลาผู้ใช้ค้นหาสภาพอากาศ Google ยังมีการสุ่มถามเกี่ยวกับสภาพอากาศด้วยว่า ถูกต้องไหม โดยมีตัวเลือก Yes หรือ No มาให้กด ซึ่งน่าจะเป็นการใช้วิธีการ crowdsourcing เพื่อปรับปรุงข้อมูลสภาพอากาศ
อย่างไรก็ตามอัปเดตนี้น่าจะทยอยปล่อยอัปเดต เพราะผมทดสอบดูบน Pixel แล้วยังไม่พบการแสดงผลแบบใหม่
ที่มา: 9to5Google
Google เริ่มปล่อยฟิลเตอร์ Perspective บน Google Search สำหรับใช้ค้นหาข้อมูลที่เน้น “ประสบการณ์ส่วนตัว” จากคนที่โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย หรือเว็บบอร์ดกระทู้ต่าง ๆ แล้ว หลังเปิดตัวมาตั้งแต่งาน Google I/O
การค้นหาด้วยฟิลเตอร์ Perspective จะแสดงผลลัพธ์เป็นเนื้อหาที่มีคนเคยแชร์ไว้ทั้งในรูปแบบวิดีโอ รูปภาพ กระทู้ถามตอบ เว็บ Q&A รวมถึงโพสต์ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น วิดีโอจาก YouTube และ TikTok กระทู้จาก Reddit และ Quora เป็นต้น ซึ่ง Interface บนมือถือจะแสดงผลการค้นหาแบบ side-by-side ที่เลื่อนดูได้ และด้านล่างของผลการค้นหาแต่ละอันจะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมของผู้เผยแพร่เนื้อหา เช่น ชื่อ รูปโปรไฟล์ และข้อมูลความนิยมของเนื้อหา
Google เผยรายงานคำค้นหา Year in Search ของไทย พบว่าให้ความสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นโดยในปี 2565 การค้นหา “LGBTQ” เพิ่มขึ้น 110% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดที่เคยมีมา และการค้นหา “สมรสเท่าเทียม” เพิ่มสูงขึ้นถึง 800% (เทียบข้อมูลระหว่าง 1 ก.ย. 2564 - 31 ส.ค. 2565 กับ 1 ก.ย. 2563 - 31 ส.ค. 2564 )
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องรายงานว่า ซัมซุงได้ระงับแผนพิจารณาเปลี่ยนเสิร์ชในมือถือจากกูเกิลเป็น Bing แล้ว
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ซัมซุงพิจารณาเปลี่ยนไปใช้เสิร์ช Bing แต่กูเกิลก็เจรจาโดยพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ Magi ที่รวมแชทกับเสิร์ชไว้ด้วยกัน ซึ่งหวังว่าฟีเจอร์นี้จะทำให้ซัมซุงเลือกกูเกิลต่อไป หากดีลซัมซุงไปใช้ Bing เกิดขึ้นจริง อาจมองได้ว่าเป็นก้าวสำคัญที่กูเกิลจะได้รับผลกระทบจากบริการเสิร์ช โดยมี Bing เข้ามาแย่งส่วนแบ่งนั่นเอง
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ทดลอง (experimental) ให้ Google Search เพิ่ม Generative AI ช่วยตอบคำถามของผู้ใช้งาน โดยแทบไม่ต้องกดเข้าไปดูลิงก์ในรายการค้นหาเลย
พื้นที่แสดงผลของ Generative AI อยู่ใต้กล่องค้นหาและเหนือลิงก์แรก แถมแสดงผลเกือบเต็มหน้าจอ (ลาก่อนชาว SEO) โดยกูเกิลจะแสดงสีพื้นหลังสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาว เพื่อให้เห็นความแตกต่างของพื้นที่แสดงผล Generative AI
สิ่งที่ AI เข้ามาช่วยตอบคำถามมีทั้งการสรุปประเด็น นำเสนอลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม และอาจหยิบเอาวิดีโอที่เกี่ยวข้องมาแสดงผล ให้เข้ากับยุคสมัยแห่งวิดีโอสั้นแนวตั้งด้วย (ดูคลิปประกอบ) หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถกดปุ่ม Ask a follow up เพื่อสนทนากับบ็อตต่อเนื่องได้ โดยบ็อตจะเข้าใจสิ่งที่เราค้นหามาก่อนด้วย
The New York Times รายงานข่าวลือเกี่ยวกับบริการ search ของกูเกิลหลายอย่างดังนี้
กูเกิลมีบริการค้นหาข้อมูลเที่ยวบิน Google Flights มาตั้งแต่ปี 2011 แต่ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา มันเป็นแค่การแสดงข้อมูลเที่ยวบินพร้อมราคา และปุ่มกดซื้อตั๋วที่ส่งทราฟฟิกไปยังเว็บไซต์อื่น (ทั้งเว็บของสายการบินหรือเว็บจองตั๋วออนไลน์) โดยกูเกิลไม่ได้ยุ่งกับกระบวนการซื้อตั๋วด้วย