DeepMind เปิดตัวโมเดลพยากรณ์อากาศตัวใหม่ชื่อ GenCast ซึ่งพัฒนาขึ้นจากโมเดล GraphCast ของปี 2023
GenCast เป็นโมเดลตระกูล generative ตามชื่อโมเดล ใช้อัลกอริทึมแบบ diffusion ที่เราคุ้นเคยกันในโมเดลสร้างภาพ-เสียง-วิดีโอ สามารถพยากรณ์อากาศระดับละเอียด (0.25° ของละติจูดและลองจิจูด ประมาณ 28x28 ตารางกิโลเมตร) ได้ล่วงหน้า 15 วัน (GraphCast ได้ 10 วัน) ได้แม่นยำกว่าโมเดล ENS ของศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรป (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts หรือ ECMWF) ซึ่งเป็นโมเดลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ในประวัติศาสตร์ของโลก Android ที่ผ่านมา กูเกิลไม่เคยทำแอพ Weather ของตัวเองมาก่อนเลย โดยข้อมูล widget พยากรณ์อากาศที่แสดงบนหน้าโฮมของ Android อาจมาจากแอพ Weather ของผู้ผลิตมือถือ หรือถ้าเป็น Pixel มาจากฟีเจอร์ At a Glance ของแอพ Google Search หรือเป็นส่วนหนึ่งของแอพ Pixel Clock
สิ่งนี้ถูกเปลี่ยนแปลงแล้วใน Pixel 9 เมื่อกูเกิลสร้างแอพพยากรณ์อากาศของตัวเองชื่อ Pixel Weather ที่ตอนนี้ยังเป็นเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะ Pixel 9 เท่านั้น (แม้มีคนลองไป sideload บนมือถืออื่นแล้วใช้งานได้)
NVIDIA เปิดตัว Earth-2 ที่เป็น API บนแพลตฟอร์ม NVIDIA DGX Cloud สำหรับงานประมวลเกี่ยวกับสภาพอากาศโดยเฉพาะ มีจุดเด่นคือความเร็วในการพยากรณ์และคาดการณ์ข้อมูลอากาศ ที่ทำได้ในระดับวินาที จากปัจจุบันที่โมเดลสามารถให้ข้อมูลระดับนาทีหรือชั่วโมง และเจาะข้อมูลได้ระดับรัศมี 2 กิโลเมตร
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA กล่าวว่าภัยพิบัติจากสภาพอากาศตอนนี้กลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในโลก เราเห็นข่าวบ่อยครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายตอนนี้ประเมินที่ 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่ง API ของ Earth-2 มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้คนเตรียมพร้อมมากขึ้น หากเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศแปรปรวน
DeepMind เผยแพร่งานวิจัย GraphCast โมเดล AI สำหรับการพยากรณ์อากาศ โดยสามารถพยากรณ์อากาศใน 10 วันข้างหน้า ซึ่ง DeepMind บอกว่าทำได้แม่นยำและประมวลผลรวดเร็วว่าเครื่องมือพยากรณ์อากาศมาตรฐานสูงปัจจุบัน
วิธีการพยากรณ์อากาศแบบปัจจุบันนั้นมักคำนวณด้วย Numerical Weather Prediction ซึ่งมีสมการฟิสิกส์ที่ใช้เวลาประมวลผลนาน และต้องการทรัพยากรสมรรถนะสูง แนวคิดของ GraphCast ใช้การเทรนข้อมูลประวัติสภาพอากาศย้อนหลังระดับหลายสิบปี เพื่อดูความสัมพันธ์ของปัจจัยและผลที่เกิดขึ้นต่อสภาพอากาศในโลก ข้อมูลที่ใช้ตอนนี้คือ ERA5 ขององค์กรพยากรณ์อากาศ ECMWF ย้อนหลัง 40 ปี
ศูนย์พยากรณ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐ (US National Centers for Environmental Prediction) รายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ได้เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 17.01 องศาเซลเซียส ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2023 ที่ผ่านมา สูงกว่าสถิติเดิม 16.92 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนสิงหาคม 2016 ซึ่งข้อมูลนี้อ้างอิงจากเท่าที่เคยบันทึกมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19
นักวิจัยสภาพอากาศประเมินว่าสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น มาจากทั้งปรากฎการณ์เอลนีโญ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกผลิตออกมามากขึ้น โดยคาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะทำสถิติใหม่อีกครั้งใน 1.5 ปีข้างหน้า
Google Search เริ่มอัปเดตการแสดงผลสภาพอากาศบนสมาร์ทโฟนแบบใหม่ (พิมพ์ weather ในช่อง search บนสมาร์ทโฟน) ปรับไปใช้ Material You ตามสมัยนิยม พร้อมปรับการแสดงผลกราฟิกของสภาพอากาศปัจจุบัน ให้มีความสวยงามมากขึ้น
นอกจากแสดงผลแบบใหม่แล้ว เวลาผู้ใช้ค้นหาสภาพอากาศ Google ยังมีการสุ่มถามเกี่ยวกับสภาพอากาศด้วยว่า ถูกต้องไหม โดยมีตัวเลือก Yes หรือ No มาให้กด ซึ่งน่าจะเป็นการใช้วิธีการ crowdsourcing เพื่อปรับปรุงข้อมูลสภาพอากาศ
อย่างไรก็ตามอัปเดตนี้น่าจะทยอยปล่อยอัปเดต เพราะผมทดสอบดูบน Pixel แล้วยังไม่พบการแสดงผลแบบใหม่
ที่มา: 9to5Google
แอปเปิลรายงานปัญหาของแอป Weather แอปรายงานสภาพอากาศพื้นฐานของระบบปฏิบัติการทั้ง iOS, iPadOS, watchOS และ macOS กระทบกับผู้ใช้งานบางส่วนทั่วโลก
ข้อมูลในหน้าสถานะระบบระบุว่าปัญหาพบตั้งแต่ 10.00น. เมื่อวานนี้ (4 เมษายน 2023) และแก้ไขเป็นปกติตั้งแต่ 00.31น. และเริ่มมีปัญหาอีกครั้งตั้งแต่เวลา 02.54น. ของวันนี้ (5 เมษายน 2023) โดยปัญหาที่พบอาจทำงานช้าหรือไม่สามารถใช้งานได้
อัพเดต: Weather ใช้งานได้ปกติ ตั้งแต่ 14:44น.
ที่มา: MacRumors
DeepMind บริษัท AI ในเครือ Alphabet ประกาศความร่วมมือกับสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร (Met Office) สร้างอัลกอริทึมที่พยากรณ์อากาศได้แม่นยำในช่วงเวลาสั้นๆ (Nowcasting) เช่น บอกล่วงหน้าได้ก่อน 2 ชั่วโมงว่าจะมีฝนตกหรือไม่
โมเดลพยากรณ์อากาศในปัจจุบันใช้ระบบที่เรียกว่า numerical weather prediction (NWP) เป็นการพยากรณ์สภาพอากาศทั้งโลก (planet-scale) ล่วงหน้าเป็นเวลานานหลายวัน ปัญหาของโมเดลแบบเก่าคือพยากรณ์อากาศระยะสั้นไม่ได้
โมเดลใหม่ของ DeepMind เป็นการนำข้อมูลจากเรดาร์ตรวจอากาศความละเอียดสูง วัดค่าบ่อยๆ (เช่น วัดค่าในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรทุก 5 นาที) มาใช้พยากรณ์อากาศล่วงหน้าสั้นๆ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
แม้ Apple จะเตรียมปิดให้บริการแอป Dark Sky แอปรายงานสภาพอากาศที่บริษัทซื้อกิจการมาเมื่อปีก่อน ภายในปี 2022 แถมยังปิดให้บริการบน Android และ Wear OS ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ยังออกอัพเดตแอปเวอร์ iOS ชั่นใหม่ให้อยู่ หลังอัพเดตครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โดยมีอัพเดตโน้ตดังนี้
Dark Sky แอปรายงานสภาพอากาศ ที่แอปเปิลซื้อกิจการไปเมื่อปีที่แล้ว ประกาศว่าบริการ API จะยังให้บริการไปจนถึงสิ้นปี 2022 เช่นเดียวกับแอป iOS และเว็บไซต์ของ Dark Sky จะให้บริการไปจนถึงสิ้นปี 2022
ประกาศดังกล่าวออกมาต่อจากที่แอปเปิลเปิดตัว iOS 15 ไปเมื่อต้นสัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่พูดถึงคือแอป Weather โดยมีดีไซน์แบบใหม่ และการแสดงผลสภาพอากาศบนแผนที่ ที่นำคุณสมบัติต่าง ๆ จาก Dark Sky ไปใส่ไว้นั่นเอง
ทั้งนี้แอปของ Dark Sky บน Android และ Wear OS ปิดให้บริการไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว
ที่มา: The Verge
Twitter ร่วมมือกับ Eric Holthaus ผู้ผลิตเนื้อหาข่าวสารสภาพอากาศผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เช่น Grist, The Wall Street Journal และ Slate นำเนื้อหามาลงบริการข่าวพยากรณ์อากาศในชื่อว่า Tomorrow
บริการข่าว Tomorrow จะมีทีมงานผลิตจดหมายข่าวและเนื้อหาแบบยาวพิเศษส่งให้สมาชิกรับข่าวสารผ่าน Revue และทำเนื้อหาสั้นๆ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปผ่านฟังก์ชั่น Ticket ใน Spaces และ ฟังก์ชั่น Q&A เป็นต้น
Dark Sky แอปรายงานสภาพอากาศ ประกาศว่าแอปเปิลได้เข้าซื้อกิจการบริษัทเป็นที่เรียบร้อย โดยทีมงานทั้งหมดจะไปร่วมงานกับแอปเปิล
Adam Grossman ผู้ร่วมก่อตั้ง Dark Sky กล่าวว่าเป้าหมายใหญ่คือการให้ข้อมูลสภาพอากาศกับผู้ใช้งานที่ดีที่สุด และยังเคารพความเป็นส่วนตัว จึงไม่มีที่ไหนจะช่วยให้ทีมงานบรรลุเป้าได้ดีกว่าแอปเปิล ทั้งนี้ Dark Sky เป็นแอปรายงานสภาพอากาศ มีโมเดลรายได้คือสมัครใช้งานรายเดือนเพื่อรับข้อมูลอัพเดตแบบรายนาที
Dark Sky จะยังมีให้ดาวน์โหลดต่อไปเฉพาะบน App Store (ไม่มีในไทย) ส่วนบน Android และ Wear OS ปิดการดาวน์โหลดไปแล้ว ตัวแอปยังใช้งานได้ถึง 1 กรกฎาคม 2020 ส่วน API จะใช้งานได้จนถึงสิ้นปี 2021 หากใครซื้อ subscription ไว้บน Android จะคืนเงินในช่วงเวลาที่เหลือให้
แอพของ Facebook ได้เพิ่มหัวข้อ Weather เพิ่มมาในแถบด้านข้าง (เลือก More) ซึ่งจะแสดงข้อมูลสภาพอากาศ และพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 5 วัน ตามพิกัดพื้นที่ของผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มข้อมูลพื้นที่อื่นได้ด้วย โดยใช้ข้อมูลจาก Weather.com
ก่อนหน้านี้ Facebook แสดงข้อมูลสภาพอากาศเบื้องต้นผ่านทาง News Feed เท่านั้น แต่ไม่ถึงกับมีส่วนข้อมูลนี้แยกออกมาโดยเฉพาะ
การที่แอพ Facebook ใส่ข้อมูลนี้เข้ามา ก็ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นได้ภายในแอพเดียวจบ ไม่ต้องย้ายไปดูข้อมูลในแอพสภาพอากาศบนสมาร์ทโฟนเพิ่มเติมนั่นเอง
ที่มา: TechCrunch
The Weather Company (TWC) บริษัทลูกของ IBM ประกาศความร่วมมือกับ Gogo ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านดาวเทียมสำหรับเครื่องบินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ เปิดตัว Turbulance Auto PIREP System (TAPS) ระบบรายงานสภาวะอากาศและหลุมอากาศของเครื่องบินแบบใหม่ ที่ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รายงานสภาพอากาศจริงให้แก่นักบิน
ข่าวสั้นครับ The Weather Company บริษัทลูกของ IBM ที่ได้มาจากการซื้อกิจการในปีที่แล้ว ประกาศเปิดตัว Deep Thunder ระบบพยากรณ์อากาศที่บริษัทพัฒนาร่วมกับ IBM Research โดยอาศัยหลักการของ machine learning เข้ามาช่วยพยากรณ์สภาวะอากาศสำหรับท้องถิ่น ในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ทำให้วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น
Deep Thunder เป็นระบบที่ใช้ machine learning เข้ามาพยากรณ์อากาศจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ และนำมาประเมินผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ อย่างเช่น จำนวนลูกค้าที่อาจจะลดลง หรือการบริหารสินค้าที่จำหน่าย ตลอดจนถึงในกรณีที่บริษัทประกันภัย ต้องประเมินความเสี่ยงและเบี้ยประกัน สามารถใช้บริการของ Deep Thunder เพื่อประเมินสภาพอากาศและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง
กูเกิลอัพเดตฟีเจอร์พยากรณ์อากาศในแอพ Google/Google Now ใหม่ให้สวยใสกว่าของเดิม และเพิ่มข้อมูลสภาพอากาศอีกหลายอย่าง เช่น สภาพท้องฟ้าเป็นรายชั่วโมง โอกาสฝนตก แจ้งเตือนสภาพอากาศร้ายแรง พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 10 วัน, คุณภาพอากาศ, ความเข้มข้นของรังสี UV, เวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เป็นต้น
วิธีการใช้งานก็เหมือนเดิม คือค้นหาคำว่า weather ในช่องค้นหา Google (ได้เฉพาะบน Android) หรือจะใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (เช่น will it rain today) ก็ได้เช่นกัน
ผมลองกับมือถือตัวเองแล้วยังเป็นแบบเก่าอยู่ คาดว่ากูเกิลทยอยปล่อยเป็นเฟสตามธรรมเนียม ใครได้ของใหม่แล้วก็โปรดแจ้งครับ
ใครที่อยู่นอกสหรัฐฯ และใช้ Cortana คงจะพบกับปัญหาชวนปวดหัวอย่างหนึ่งคือ ระบบผู้ช่วยส่วนตัวนี้แสดงผลอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์เท่านั้น หากต้องการแปลงเป็นองศาเซลเซียสผู้ใช้ต้องสั่งการด้วยเสียงให้แปลงเป็นครั้งคราวไป (เข้าใจว่ายกเว้น Cortana เวอร์ชันสหราชอาณาจักรที่แสดงผลอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสได้)
แต่ล่าสุดเมื่อสองวันก่อนมีผู้ใช้หลายรายรายงานว่า Cortana สามารถแสดงผลอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสตามการตั้งค่าของผู้ใช้ได้แล้ว ไม่รู้ว่าผู้ใช้ในไทยเห็นข้อมูลอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสกันหรือยัง
ที่มา: Windows Central
เมือง Chicago ในสหรัฐอเมริกามีแผนการที่จะนำเอาเสาไฟส่องถนนสุดไฮเทคมาใช้งาน โดยมันสามารถตรวจวัดสภาพอากาศในบริเวณนั้น และนับจำนวนผู้คนที่เดินผ่านมันไปในแต่ละวันได้ด้วย
เสาไฟส่องถนนดังกล่าวมีเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดค่ามลภาวะในอากาศ, ความดังของเสียง รวมถึงทิศทางและความแรงของลม ที่สำคัญมันยังสามารถนับจำนวนผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้โดยอาศัยตรวจจับสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือของผู้คนที่สัญจรนั่นเอง โดยทีมพัฒนาโครงการยืนยันว่าการเก็บข้อมูลดังกล่าวจะไม่ละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล เพราะเป็นการเก็บข้อมูลโดยไม่มีการบันทึกภาพและเสียงใดๆ ส่วนการตรวจจับสัญญาณมือถือก็จะไม่มีการเก็บค่าหรือตรวจสอบข้อมูลเพื่อระบุตัวตนบุคคลแต่อย่างใด
การเปลี่ยนแปลงหนึ่งใน iOS 8 ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่อาจยิ่งใหญ่มากกว่าที่คิดคือการเปลี่ยนข้อมูลในแอพ Weather จากเดิมใช้ข้อมูลยาฮู มาใช้ข้อมูลของ Weather Channel แทน
Kara Swisher แห่ง Re/code รายงานว่าดีลนี้เกิดขึ้นจาก David Kenny ซีอีโอ Weather Channel ซึ่งอดีตเคยเป็นบอร์ดบริหารยาฮู ได้เข้าไปเสนอให้แอปเปิลเปลี่ยนมาใช้ข้อมูลสภาพอากาศจาก Weather Channel แทน โดยให้สาเหตุว่าปัจจุบันยาฮูก็ใช้ข้อมูลสภาพอากาศจากบริษัทอยู่แล้ว แต่หากใช้ข้อมูลจาก Weather Channel โดยตรง จะให้ข้อมูลที่ละเอียดกว่า เช่นเพิ่มพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็น 9 วัน หรือการรายงานสภาพอากาศระบุพิกัดได้ละเอียดกว่าเดิม
ที่จริงแล้วกูเกิลมีบริการรายงานสภาพอากาศมานานแล้วด้วยการค้นหาเช่น "Bangkok Weather" ก็ได้พยากรณ์อากาศออกมาให้ดู แต่บริการล่าสุดเป็นการรวมบริการนี้เข้ากับ Google Maps ทำให้เราสามารถเห็นสภาพอากาศได้จากแผนที่ทันที
บริการนี้เป็นเลย์เยอร์ใหม่แบบเดียวกับการรายงานสภาพจราจร สามารถใช้งานได้ทั่วโลกแล้วตอนนี้ ผมกดเข้าไปดูก็พบว่าประเทศไทยมีข้อมูลทุกจังหวัดแล้ว
ที่มา - Google Blog
จีนเตรียมใช้ปืนใหญ่ยิงจรวดและเครื่องบินรบในการป้องกันพิธีเปิดโอลิมปิกจากฝน ซึ่งการทำครั้งนี้หวังว่าจะช่วยทำให้เมฆนั้นกระจายตัว ก่อนที่ฝนนั้นจะทำให้บุคคลสำคัญระดับสูงซึ่งจะชมพิธีเปิดอยู่ในส่วนที่ไม่มีหลังคาเรียกว่ารังนกนั้นตัวเปียก