Google Search ขยายความสามารถของฟีเจอร์ Knowledge Graph โดยเปิดให้ศิลปินที่ออกทัวร์คอนเสิร์ตหรือองค์กรที่จัดงานอีเวนต์บ่อยๆ สามารถแสดงตารางงานอีเวนต์ได้จากหน้าผลการค้นหาเลย (แถมใส่ลิงก์ซื้อตั๋วเข้างานให้คนกดซื้อได้เลย)
วิธีการใช้งานก็แค่ใส่โค้ด JSON ฝั่งลงในหน้าเว็บ หรือสามารถฝั่ง widget/plugin จากเว็บแสดงรายการคอนเสิร์ตก็ได้เช่นกัน วิธีการอย่างละเอียดสามารถอ่านได้จาก Structured Data for Performers
ที่มา - Google Webmaster Central Blog
StatCounter เผยส่วนแบ่งตลาด search engine ในสหรัฐอเมริกาประจำเดือนธันวาคม 2014 ปรากฎว่าส่วนแบ่งตลาดของกูเกิลลดลง ในขณะที่ส่วนแบ่งของยาฮูเพิ่มมากที่สุดในรอบ 5 ปี
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ส่วนแบ่งกูเกิลลดลงประมาณ 2 จุด และยาฮูเพิ่มขึ้นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน มาจาก Firefox เปลี่ยนระบบค้นหาเป็นยาฮูนั่นเองครับ (มีผลเฉพาะในสหรัฐ)
Google Search เริ่มแสดงเนื้อเพลงในหน้าผลการค้นหาแล้ว ในกรณีที่เราค้นด้วยชื่อเพลงแล้วตามด้วยคำว่า "lyrics" โดยกูเกิลจะแสดงเนื้อเพลงบางส่วน พร้อมลิงก์สำหรับแสดงเนื้อเพลงแบบเต็มๆ แบบเว็บ Google Play (พร้อมปุ่มกดซื้อเพลงบน Google Play Music)
กูเกิลระบุว่าเนื้อเพลงที่แสดงนั้นถูกลิขสิทธิ์เพราะกูเกิลซื้อสิทธิการใช้เนื้อเพลงมาด้วย
กูเกิลไม่ใช่รายแรกที่แสดงเนื้อเพลงในหน้าผลการค้นหา เพราะ Bing ทำมาก่อนแล้วเมื่อเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้นเว็บรวมเนื้อเพลงทั้งหลาย ที่อยู่ได้ด้วยทราฟฟิกการค้นหาเนื้อเพลงจากกูเกิล
หลังจากที่ Chrome รองรับคำสั่งเสียง OK Google โดยไม่ต้องแตะเมาส์มาตั้งแต่รุ่น 35 ที่ออกเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ถึงเวลาของ Chromebook บ้าง โดยในฝั่งของ Chromebook นั้นผู้ใช้สามารถพูดคำสั่ง OK Google เพื่อเริ่มการทำงานได้ตลอดเวลาที่หน้าจอติดและเครื่องถูกปลดล็อกอยู่ แต่ในตอนนี้จะสามารถใช้งานได้เฉพาะ Chrome OS Dev Channel เท่านั้น
กูเกิลเริ่มเปลี่ยนแอพบน iOS ให้เป็น Material Design โดยคราวนี้เป็นคิวของแอพหลัก Google for iOS (ที่เราเรียกกันว่า Google Search แต่จริงๆ มันชื่อแอพ Google เฉยๆ)
การเปลี่ยนแปลงของแอพ Google for iOS รอบนี้ถือว่าเปลี่ยนหน้าตาแอพทั้งหมด โดยกูเกิลใส่ปุ่ม 3 ปุ่มด้านล่างมาแบบเดียวกับระบบปฏิบัติการ Android แต่เปลี่ยนจากปุ่ม Home เป็นปุ่ม Google เพื่อเข้าหน้าจอค้นหาแทน นอกจากนี้มันยังมีปุ่ม Recents เอาไว้แสดงเว็บเพจที่เคยเปิดจากหน้าผลการค้นหาอีกด้วย
ฟีเจอร์อีกอย่างที่เพิ่มเข้ามาคือกูเกิลผนวกเอา Google Maps มาใส่ไว้ในแอพนี้ด้วย ผู้ใช้สามารถค้นหาสถานที่จากแอพ Google แล้วแสดงเป็นแผนที่โดยไม่ต้องเรียกแอพ Google Maps เลย
Ilya Grigorik พนักงานของกูเกิลโพสต์ข้อมูลลง Google+ ว่าหน้าเว็บ Google Search เวอร์ชันอุปกรณ์พกพาจะทำงานเร็วขึ้นอีก 0.1-0.15 วินาที ถ้าใช้งานบน Chrome for Android
เหตุผลมาจากกูเกิลนำเทคนิคการดึงข้อมูลล่วงหน้า (prefetch) มาใช้กับหน้าผลการค้นหาของ Google Search ก่อนผู้ใช้คลิกลิงก์ไปยังเว็บปลายทาง ซึ่ง Chrome for Android จะดักข้อมูลว่าหน้าผลการค้นหาถูก unload ออกจากแท็บเมื่อไร จากนั้นจะนำข้อมูลบางส่วนจากเว็บปลายทางที่ดาวน์โหลดรอไว้แล้วมาเริ่มเรนเดอร์ทันที ผลคือการเรนเดอร์เว็บเพจปลายทางจะเร็วขึ้นอีกเล็กน้อย
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้เฉพาะ Chrome for Android เท่านั้น แต่กูเกิลสัญญาว่าจะรองรับเบราว์เซอร์อื่นๆ เมื่อเบราว์เซอร์เหล่านั้นรองรับเทคนิค prefetch ลักษณะนี้ด้วย
สหภาพยุโรปต้องการจะให้ Google แยกบริการค้นหา Google Search ออกมาเป็นบริการเดี่ยวโดยไม่ต้องพ่วงบริการอื่นของ Google เพื่อลดการผูกขาดทางการค้าที่ Google มีเหนือตลาดยุโรป
สภาพการณ์ที่หลายฝ่ายในยุโรปแสดงความวิตกว่า Google มีอิทธิพลเหนือการแข่งขันบริการทางอินเทอร์เน็ตเกินไปนั้น เกิดจากความนิยมใช้บริการค้นหา Google Search สูงกว่า 90% ในหมู่ผู้ใช้ในยุโรปเอง ซึ่งในการใช้งานผู้ใช้ก็จะได้รับข้อเสนอให้ใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการอื่นของ Google แถมพ่วงมาด้วยตลอด
กูเกิลเริ่มใช้มาตรการจูงใจให้เว็บไซต์ต่างๆ ทำเว็บที่เหมาะกับการดูบนอุปกรณ์พกพา โดยแปะป้ายคำว่า mobile-friendly ในหน้าผลการค้นหา เพื่อแจ้งเตือนผู้ชมเว็บไซต์ล่วงหน้าว่าเว็บดังกล่าวเหมาะกับอุปกรณ์พกพาหรือไม่
เรื่องการแสดงผลการค้นหาของกูเกิล กลายเป็นประเด็นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างก่อนหน้านี้ในประเด็น "สิทธิในการถูกลืม" เพื่อลบผลการค้นหาบนกูเกิลในสหภาพยุโรป แต่ประเด็นล่าสุด ศาลในสหรัฐตัดสินไปในทางตรงกันข้ามกับในสหภาพยุโรป โดยบอกว่าผลการค้นหาของกูเกิลนั้น เป็นเสรีภาพในการแสดงออก (free speech) ทำให้กูเกิลสามารถแสดงผลการค้นหาได้ตามที่บริษัทต้องการ
เรื่องราวนี้เกิดจากการที่เว็บไซต์ CoastNews ฟ้องร้องกูเกิลว่าแสดงผลการค้นหาอย่างไม่เป็นธรรม เพราะจากการแสดงผลการค้นหาบนกูเกิล CoastNews ถูกแสดงผลในลำดับท้ายๆ ขณะที่ผลการค้นหาบน Yahoo หรือ Bing เว็บไซต์ CoastNews อยู่ในอันดับต้นๆ
กูเกิลอัพเดตแอพ Google Search โดยปรับโฉมหน้าเป็น Material Design พร้อมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีกหลายอย่าง
กูเกิลเปิดให้แอพ Android ใดๆ ที่อยากรองรับการค้นหาข้อมูลด้วยเสียงพูด สามารถฝังโค้ดของกูเกิลเพียง 6 บรรทัด เพื่อเรียกใช้ฟีเจอร์ค้นหาด้วยเสียงของ Google Now ได้แล้ว
วิธีการใช้งานคือผู้ใช้เรียก Google Now ขึ้นมาด้วยวลี "Ok Google" ตามปกติ แล้วสั่งงานด้วยคำว่า "search keyword on appname" ตัวอย่างเช่น "Ok Google, search for hotels in Maui on TripAdvisor" คำค้นว่า "hotels in Maui" จะถูกส่งต่อไปยังระบบค้นหาของแอพ TripAdvisor ให้อัตโนมัติ
อ่านพาดหัวข่าวแล้วอาจสับสนเล็กน้อย หากอธิบายให้ชัดเจนขึ้น ต้องบอกว่า Google ทำการปรับปรุงหน้าแสดงผลการค้นหาของตัวเอง ให้มีกล่องค้นหาขนาดย่อย แทรกอยู่ในผลนั้น
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ค้นหาคำว่า "youtube" ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีลิงก์เข้าสู่เว็บไซต์ YouTube ปรากฎขึ้นมาเป็นบรรทัดแรกในหน้าแสดงผลการค้นหานั้น ทว่าภายใต้ลิงก์ที่จะนำไปสู่เว็บไซต์ดังกล่าว ยังมีช่องค้นหาขนาดเล็กอยู่อีกหนึ่งช่อง ซึ่งเมื่อผู้ใช้พิมพ์คำค้นหาในช่องดังกล่าว ก็เท่ากับเป็นการค้นหาเฉพาะสิ่งที่อยู่ในเว็บของ YouTube นั่นเอง (เทียบเท่าการใช้คำสั่ง site: query บนเว็บ Google โดยตรง)
คนที่เคยใช้งาน Google Search ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาอาจคุ้นตากับฟีเจอร์ Google Authorship ที่แสดงชื่อผู้เขียนบทความหรือเนื้อหาสั้นๆ ไว้ในผลการค้นหาด้วย (แสดงไว้ใต้ลิงก์) กระบวนการทำงานของมันคือเจ้าของเว็บจะต้องใส่แท็ก metadata เป็น rel=”author” หรือ rel=”me” เพื่อระบุชื่อผู้เขียนให้บ็อตของกูเกิลเข้ามาเก็บข้อมูลด้วย
ภายหลังฟีเจอร์นี้ถูกพัฒนาโดยผูกกับ Google+ ของผู้เขียนคนนั้นๆ ทำให้ Google Search แสดงภาพประจำตัวของผู้เขียนในหน้าผลการค้นหาเพิ่มเข้ามาอีก (นึกไม่ออกลองดูตัวอย่างได้จากสไลด์ท้ายข่าว)
อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร และไม่มีประโยชน์มากนัก ล่าสุดกูเกิลจึงประกาศยกเลิกฟีเจอร์นี้ โดยไม่แสดง Google Authorship ในผลการค้นหาอีกต่อไป
ถ้ายังจำกันได้ เราสามารถใช้ Google Search ค้นหาด้วยเสียงภาษาไทยได้แล้ว แต่ปัญหาในการใช้งานคือเราต้องสลับภาษาเอาว่าจะค้นด้วยเสียงไทยหรืออังกฤษ ซึ่งยุ่งยากพอสมควร
วันนี้ปัญหาข้างต้นหมดไปแล้ว เพราะกูเกิลปรับปรุงแอพ Google Search for Android ให้รองรับเสียงพูดหลายภาษาในตัว (สูงสุด 5 ภาษาพร้อมกัน)
วิธีใช้งานคือเข้าแอพ Google Search (เวอร์ชัน 3.6 ขึ้นไป) เลือก Settings > Voice > Languages แล้วเลือกภาษาที่ต้องการใช้งาน เช่น ไทย+อังกฤษ
ข่าวใหญ่ในวงการ Search เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือ กูเกิลเริ่มเพิ่มอันดับค้นหาให้เว็บที่ใช้ HTTPS ทำให้การใช้งาน HTTPS เริ่มมีประโยชน์ในแง่ SEO ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในประกาศฉบับแรกของกูเกิลกลับไม่ให้รายละเอียดมากนักว่ามองปัจจัยเรื่อง HTTPS อย่างไร ซึ่งทีมงานกูเกิลได้อธิบายประเด็นเหล่านี้ในภายหลัง
ฟีเจอร์การแปลงสกุลเงินของกูเกิลรองรับสกุลเงินมากมาย ล่าสุดกูเกิลได้เพิ่มค่าเงิน Bitcoin หรือ BTC เข้ามาในระบบแล้ว โดยสามารถใช้งานได้เหมือนการแปลงค่าเงินตามปกติ เช่นพิมพ์ว่า "1 BTC USD" หรือ "1 BTC THB"
การรองรับเงินสกุล BTC นี้ถูกเพิ่มเข้ามาประมาณหนึ่งเดือนหลังจากกูเกิลประกาศความร่วมมือในการใช้ API ของ Coinbase ผู้ให้บริการด้าน Bitcoin เพื่อติดตามอัตราการแลกเปลี่ยนย้อนหลัง
ทั้งนี้ Bing สามารถแปลงค่าเงิน BTC ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว โดยเป็นการร่วมมือกับ Coinbase เช่นกัน (ข่าวเก่า)
จากกรณี ศาล EU สั่ง Google ลบผลการค้นหาตามคำร้องขอ เพราะ "คนเรามีสิทธิ์ที่จะถูกลืม" ซึ่งกูเกิลก็ยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเปิดให้ผู้ใช้แจ้งขอลบลิงก์ผลการค้นหาที่ "อยากลืม" แล้ว (มีรายงานว่ากูเกิลได้คำขอมากถึง 70,000 รายการ)
วันนี้สื่ออังกฤษหลายแห่งได้รับอีเมลแจ้งเตือนจากกูเกิลว่าบทความบางชิ้น "ถูกลบ" ออกจากผลการค้นหาของ Google UK แล้ว โดยกูเกิลจะแจ้งลิงก์ที่ถูกลบ แต่ไม่เปิดเผยว่าผู้ใช้ที่แจ้งขอลบลิงก์คือใคร ทำให้สื่อต้นทางไม่สามารถรู้ได้ว่าลิงก์ที่ถูกลบมีปัญหาอะไรกันแน่
แอพ Google Search บน Android ออกเวอร์ชันใหม่ 3.5 ที่มาพร้อมกับความสามารถใหม่คือสามารถสั่งงานด้วยเสียง "OK Google" จากหน้าจอใดๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าจอของแอพ Google Search เองอีกต่อไป
ความสามารถนี้ใช้งานได้บน Android KitKat เท่านั้น โดยต้องเปิดใช้งานในแอพ Google Settings > Search & Now > Voice > "Ok Google" Detection แล้วเลือกเป็น "From any screen" จากนั้นกูเกิลจะให้เราพูดว่า OK Google สามรอบเพื่อจดจำเสียงของเราไปแยกแยะในอนาคต
ฟีเจอร์นี้ยังสามารถใช้ได้แม้อุปกรณ์ของเราล็อคหน้าจออยู่ โดยเปิดใช้งานตัวเลือก "From lock screen" เพิ่มเติมได้
กูเกิลบอกว่าจะทยอยอัพเดตฟีเจอร์นี้ในสัปดาห์หน้า และจะเริ่มใช้งานได้ก่อนเฉพาะในสหรัฐ
กูเกิลยังเดินหน้าเชื่อมประสบการณ์การค้นหาบนมือถือเข้ากับแอพต่างๆ (ทั้งที่เป็นของตัวเองและคู่ค้า) ต่อไป ฟีเจอร์ใหม่ของ Google Search บน Android คือเมื่อเราค้นหาชื่อศิลปิน-นักร้อง หน้าผลการค้นหาจะแสดงหมวด Listen on Your Apps ขึ้นมาเป็นอย่างแรก พร้อมรายชื่อแอพฟังเพลงที่เราติดตั้งอยู่ในเครื่อง
ตอนนี้ฟีเจอร์นี้รองรับแอพฟังเพลงดังนี้
เบื้องต้นฟีเจอร์นี้ยังใช้ได้เฉพาะในสหรัฐ แต่กูเกิลก็บอกว่ากำลังขยายไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงแอพฟังเพลงตัวอื่นๆ อย่าง Deezer ด้วย
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจว่า จำกัดเฉพาะในสหรัฐเท่านั้นครับ
ช่องกีฬาชื่อดัง ESPN ประกาศความร่วมมือกับกูเกิล โดยจะแสดง "คลิปไฮไลต์" การแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ในหน้าผลการค้นหาของ Google Search เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำค้นที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันนัดหนึ่ง (ที่กำลังแข่งอยู่ตอนนั้น หรือจะมาค้นหลังแข่งจบก็ได้) นอกจากกูเกิลจะแสดงผลการแข่งขัน รายชื่อผู้เล่น ตารางคะแนน ตามปกติแล้ว ก็จะมีคลิปไฮไลต์ผลการแข่งขันจากเว็บไซต์ ESPN FC (เว็บไซต์ฟุตบอลของ ESPN) ให้คลิกชมได้ฟรี และถ้าอยากดูวิดีโอการแข่งขันแบบสดๆ หรือย้อนหลังก็สามารถคลิกลิงก์ WatchESPN เพื่อดูคลิปแบบเสียเงินได้
เราเห็นค่ายโซเชียลอย่าง Facebook และ Twitter ออกมาเกาะกระแสฟุตบอลโลกกันแล้ว คราวนี้มาดูฝั่งของกูเกิลกันบ้างครับ
อย่างแรกคือการแสดงผลการแข่งขัน และตารางการแข่งขันในหน้าผลการค้นหา Google Search โดยค้นหาคำว่า World Cup (ใช้ได้ทั้งเดสก์ท็อปและมือถือ)
วันนี้ซึ่งเป็นวันเปิดงาน กูเกิลก็เปลี่ยน Doodle เป็นลายฟุตบอลโลกที่บราซิลด้วย
มีคนค้นพบฟีเจอร์ใหม่อีกอย่างของ Google Now โดยผู้ใช้สามารถสั่งให้แอพแจ้งเตือน (remind) ว่าจะต้องโทรศัพท์หาใครสักคนตามระยะเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น "OK Google, remind me to call the doctor tomorrow at noon"
ในกรณีที่ Google Now สามารถเทียบชื่อกับสมุดที่อยู่ของเราได้ มันจะแสดงปุ่ม Call ขึ้นมาให้กดโทรออกได้เลย แต่ถ้า Google Now ไม่เข้าใจว่าชื่อที่ระบุคือใคร ก็จะแสดงเป็นการแจ้งเตือนตามปกติ (แล้วเราต้องไปเปิดแอพโทรศัพท์กันเอง)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กูเกิลประกาศปรับปรุงอัลกอริทึมผลการค้นหา (ที่เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า "Panda") เป็นเวอร์ชันใหม่ที่กูเกิลเรียกว่า Panda 4.0
กูเกิลไม่บอกรายละเอียดของ Panda 4.0 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง บอกแค่ว่ารวมๆ แล้ว Panda เป็นการปรับปรุงผลการค้นหาให้สะอาดขึ้น ลดอันดับของเว็บขยะลง
เว็บไซต์ด้าน SEO หลายแห่งรวบรวมข้อมูลของเว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบจาก Panda 4.0 ว่าเว็บไซต์อย่าง ask.com หรือ ebay.com ได้อันดับลดลง ในขณะที่เว็บไซต์บางแห่ง เช่น glassdoor.com, wikimedia.org, zimbio.com ได้อันดับดีขึ้น
ที่มา - Search Engine Land
กูเกิลออกมาประกาศว่า Chrome 35 ที่เพิ่งออกเมื่อวันก่อน รองรับคำสั่งเสียง OK Google โดยไม่ต้องคลิกเมาส์ใดๆ บนหน้าเว็บ google.com แล้ว
กูเกิลโชว์ฟีเจอร์นี้ตั้งแต่งาน Google I/O 2013 และทยอยปล่อยฟีเจอร์มาทีละส่วน โดย Chrome 27 สามารถใช้คำสั่งเสียงค้นหาได้ แต่ต้องคลิกไอคอนไมโครโฟนก่อน รอบนี้ Chrome 35 ทำได้แบบไม่ต้องคลิกไมโครโฟนแล้ว
กูเกิลออกแอพ Google Search for iOS รุ่นใหม่ 4.0 ที่หน้าตาเหมือนเดิม แต่ปรับเพิ่มฟีเจอร์ให้ใกล้เคียงกับ Google Now บน Android มากขึ้น
ที่มา - 9to5mac