หลังจากความสำเร็จ ในการก้าวเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ของบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้เล่นหลัก ในอุตสาหกรรมมือถือ อย่างแอปเปิล ความหอมหวานจากชิ้นเค้ก ของตลาดที่แม้จะมียอดการเติบโตไม่ก้าวกระโดดนักเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ก็ยังเย้ายวนชวนให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ สนใจที่จะเข้ามาร่วมวงอยู่เป็นระยะๆ
อ้างอิงจากบทความที่พิมพ์ใน The Wall Street Journal วันอังคารที่ผ่านมา ได้รายงานไว้ว่า กูเกิลพัฒนาโทรศัพท์มือถือต้นแบบ ซึ่งคาดว่าอาจจะเริ่มทำตลาดได้ในช่วง 1 ปีข้างหน้า และอาจจะวางแผนการใช้งาน ให้เป็นในรูปแบบ ใช้โทรศัพท์ฟรี แลกเปลี่ยนกับการรับชม หรือรับฟังโฆษณาจากผู้สนับสนุน เช่นจากการใช้งาน เครื่องมือค้นหา, อีเมล และการใช้งานเว็บ ในมือถือ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดใดๆ จากทางกูเกิลกับกระแสข่าวนี้
หลังจากที่มีข่าวว่า Mozilla อาจจะแยก Thunderbird ออกจาก Mozilla Foundation ก็มีกระแสวิจารณ์กันอย่างหนักว่า แท้จริงแล้ว Google มีส่วนกดดันในการตัดสินใจครั้งนี้หรือเปล่า เพราะทาง Google เองก็ให้บริการในส่วนที่เกี่ยวกับอีเมลทั้งในส่วนของ Gmail และ Google Apps ถึงกับคิดกันว่า Google อาศัยการเป็นผู้สนับสนุนหลักของ Mozilla กดดันให้ Mozilla รีบตัดสินใจในส่วนของ Thunderbird มีข้อสงสัยมากมายถูกถามไปยัง blog ของ Mitchell Baker
นาย Olive Heffernan นักข่าวจาก Climate Feedback ได้รายงานว่าถ้ากูเกิลและ New York Times ทำการเปลี่ยน Background ของหน้าเว็บจากสีขาวให้เป็นสีดำจะสามารถช่วยให้โลกประหยัดพลังงานมากขึ้น
ถ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงสีขาวทั้งหมดเหมือนกับหน้า Word เปล่า ๆ หรือหน้าเว็บกูเกิลละก็จอภาพจะใช้ 74 วัตต์ในการแสดงผล ในขณะเดียวกันถ้าหน้าจอแสดงสีดำแล้วละก็จะใช้ไฟฟ้าเพียงแค่ 59 วัตต์เท่านั้น
นอกจากนี้เขาได้อ้างอิงถึงงานที่ Mark Ontkush ได้เขียนไว้เกี่ยวกับการทดสอบโดยการให้จอภาพแสดงสีต่าง ๆ ในแต่ละวันแล้วก็วัดจำนวนพลังงานที่ใช้ไปพบว่าถ้ากูเกิลทำการเปลี่ยน Background ของเว็บเป็นสีดำแล้วละก็ทั้งโลกจะสามารถประหยัดพลังงานได้กว่า 750 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
โปรแกรมเมอร์หลายๆ คนคงรู้จักเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Singleton ที่ให้บางออปเจกต์มีเพียงชุดเดียวเสมอทั้งโปรแกรม (คล้ายๆ ตัวแปร Global) แม้จะมีข้อดีต่อความง่ายในการพัฒนาหลายๆ ด้าน การใช้ Singleton ก็มีอันตรายต่อการพัฒนาพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อโปรแกรมเมอร์ที่พัฒนาต่อยอดไม่รู้ว่ากำลังใช้งาน Singleton อยู่ ในประเด็นนี้ทางกูเกิลได้ออกโปรแกรม google-singleton-detector ที่ใช้ตรวจจับ Singleton ทั้งหมดในซอร์สโค้ดภาษาจาวา
ทางนักพัฒนาโปรแกรมนี้ได้ชี้แจงไว้ว่าการใช้งาน Singleton นั้นเหมาะสมกับหลายๆ กรณี แต่หลายๆ ครั้งแล้วมักมีการใช้งานที่ผิดพลาดทำให้เกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้ง โปรแกรมตัวนี้จึงไม่ใช่โปรแกรมเพื่อขจัด Singleton ออกมาซอฟต์แวร์ทั้งหมด แต่ช่วยชี้ให้เห็นว่าในส่วนใดบ้างที่มีการใช้งาน
บริษัทสัญชาติจีนแผ่นดินใหญ่ได้ทำการฟ้องร้องกูเกิลเนื่องจากชื่อที่ใช้นั้นใกล้เคียงกันมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายต่อธุรกิจของบริษัทฯ
ในประเทศจีนนั้นกูเกิลได้พยายามใช้การออกเสียงให้ใกล้เคียงคำว่ากูเกิลให้มากที่สุดในภาษาจีนเป็น "Guge"
บริษัท Beijing Guge Science and Technology ได้บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์แล้วว่าทางบริษัทกำลังพยายามที่จะติดต่อกูเกิลผ่านทางโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา
"เราต้องการให้กูเกิลทำการเปลี่ยนแปลงชื่อทางการค้าของเขา" นาย Tian Yunshan ตัวแทนจากบริษัท Beijing Guge กล่าว "หลาย ๆ คนบังเอิญติดต่อมาหาเราทั้ง ๆ ที่เขาต้องการที่จะติดต่อกับกูเกิล สาเหตุก็เพราะว่าไม่มีชื่อกูเกิลอยู่ในสมุดโทรศัพท์"
หลังจากครองตลาดส่วนใหญ่มาได้เป็นเวลานาน เดือนที่ผ่านมาส่วนแบ่งตลาดเสิร์ชของกูเกิลก็ต่ำกว่า ร้อยละ 50 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยตกจากร้อยละ 50.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 49.5 สวนทางกับไมโครซอฟท์ โดยไมโครซอฟท์โตขึ้นถึงร้อยละ 36 ไปอยู่ที่ร้อยละ 13.2
น่าสนใจว่าหลายสำนักวิเคราะห์การเติบโตแบบก้าวกระโดดของไมโครซอฟท์ไว้ว่ามาจากการเปิดตัว Live Search Club ที่มีการเล่นเกมเพื่อชิงรางวัล โดยเกมเหล่านั้นต้องใช้บริการ Live Search ร่วมด้วยเสมอๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีการสร้างบอทเพื่อเล่นเกมเหล่านี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทำให้บอทเข้าใช้บริการ Live Search อย่างหนักในช่วงเดือนที่ผ่านมา
ยังไม่มีการวิเคราะห์ว่าการเติบโตของ Live Search นี้มาจากบอทเป็นจำนวนเท่าใด
ผู้ใช้งานบริการ Google Maps สามารถจะปรับแต่งแผนที่ของตนเองได้ เช่น การให้ข้อมูลปั๊มที่มีน้ำมันลดราคา หรือประกาศขายที่ดิน เราสามารถที่จะเขียนเส้นทางบนแผนที่ได้ แนบแฟ้มข้อมูลภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยใช้บริการออนไลน์อย่างเช่น YouTube และ Picasa มาเสริมการใช้งานกันได้
แผนที่ที่ได้รับการปรับแต่งแล้ว สามารถจะกำหนดได้ ว่าจะให้เป็นแผนที่ส่วนตัว หรือแผนที่สาธารณะที่คนอื่นจะเข้ามาดูได้ รวมถึงแผนที่ที่เราปรับแต่งนั้น ก็จะได้รับการเก็บข้อมูลเข้าฐานข้อมูลระบบค้นหาของกูเกิลด้วย
นอกจากนั้นก็ยังสามารถที่จะนำแผนที่ไปใช้งานในโปรแกรม Google Earth ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลชนิด KML (Keyhole Markup Language) ได้อีกด้วย
ปีก่อนบ้านเราเพิ่งตื่นตัวเรื่อง Google Earth กันไปว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง ปีนี้เรามีตัวอย่างกันที่ชัดยิ่งกว่าชัด เมื่อมีคนพบว่า Google Earth มีภาพของเรือดำน้ำขีปนาวุธลำใหม่ของจีนที่เพิ่งสร้างขึ้นในปี 2006 ที่ผ่านมารวมอยู่ด้วย
เรือดำน้ำที่ว่านั้นคือหนึ่งในเรือดำน้ำคลาส Jin ที่มีความยาวถึง 133 เมตร (ยาวกว่ารุ่นก่อน 11 เมตร) บรรทุกขืปนาวุธจำนวน 12 ลูก ขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ โดยเชื่อกันว่าจะมีการสร้างขึ้นมาจำนวน 5 ลำ
สำหรับพิกัดที่พบเรือดำน้ำดังกล่าวคือ 38°49'4.40"N, 121°29'39.82"E โดยถูกถ่ายภาพด้วยดาวเทียม Quickbird ภาพดังกล่าวถูกขายต่อให้กูเกิลที่นำมาเผยแพร่ให้เข้าถึงฟรีผ่านทาง Google Earth ในที่สุด
ตั้งแต่เปิดตัว Google Apps Premier edition มาเมื่อต้นปี กูเกิลสามารถดึงบริษัทต่างๆ มาใช้บริการนี้ได้มากกว่า 100,000 บริษัท แต่กับบริษัทใหญ่ๆ นั้นน้อยมากที่หันมาใช้บริการของกูเกิล เนื่องจากไม่มั่นใจความสามารถของระบบในการรักษาความปลอดภัย และความลับขององค์กร
วันนี้กูเกิลจึงได้ตัดสินใจซื้อ Postini ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย และความลับขององค์กร ในระบบการสื่อสาร โดยให้บริการคล้ายกับกูเกิลคือ ระบบทั้งหมดจะถูกติดตั้งไว้ที่ Postini ผู้รับบริการไม่ต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์ หรือซอฟแวร์อะไรเพิ่มเติมเลย
Alex Kinnier ผู้จัดการฝ่าย Group Product ของทางกูเกิลได้เขียนบล็อกขนาดยาวขี้แจงถึงแรงจูงใจในการเข้าซื้อ DoubleClick บริษัทให้บริการข้อมูลโฆษณารายใหญ่ หลังจากที่มีการโจมตีกูเกิลว่ากำลังพยายามครอบครองข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอย่างหนัก
กูเกิลให้เหตุผลว่ากูเกิลเพียงพยายามเจาะตลาด display ad ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และในตอนนี้ถูกครองตลาดอยู่โดย Yahoo!, AOL และ MSN โดยตลาด display ad นี้จะต่างจาก text ad แบบที่กูเกิลใช้งานอยู่ตรงที่โฆษณาแบบนี้ต้องการการวัดผลว่าการโฆษณาลงในเว็บใด ได้ผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ text ad นั้นวัดเอาจากความเกี่ยวข้องของเนื้อหาเอาได้
หลังจากที่กูเกิลได้ทำการซื้อบริษัท DoubleClick บริษัทโฆษณาออนไลน์และติดตามการใช้งานผู้ใช้ผ่านโฆษณาออนไลน์ชื่อดังแล้วทำให้หลาย ๆ คนได้เริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
สาเหตุหลัก ๆ ก็คือก่อนที่กูเกิลจะทำการซื้อ DoubleClick นั้น ทั้งสองบริษัทต่างก็มีข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับผู้ใช้มากมายอยู่แล้ว และเมื่อมีการรวมตัวกันขึ้นจะทำให้ฐานข้อมูลของบริษัทเต็มไปด้วยข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ มากมายของผู้ใช้ทุกครั้งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคลิ๊กเว็บ ทำให้กลุ่มผู้บริโภคแห่งสหภาพยุโรป (BEUC) เริ่มกังวลกับเรื่องนี้มาก
จากความขัดแย้งเรื่อง PayPal vs Google Checkout เมื่อคราวก่อน (ข่าวเก่า) eBay ได้กลับมาลงโฆษณาใน AdSense แล้ว
อย่างไรก็ตามปริมาณการลงโฆษณาของ eBay ใน AdSense จะลดลงกว่าเดิม โฆษกของ eBay บอกว่าจะขยายการโฆษณาไปในระบบอื่นๆ อย่าง Yahoo, MSN, AOL หรือ Ask.com มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพิงกับระบบของกูเกิลลง
eBay เป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ของ AdSense โดยซื้อคีย์เวิร์ดประมาณ 10 ล้านคำต่อปี
ที่มา - News.com
วันนี้ทางกูเกิลได้ออกมาประกาศว่าได้ซื้อ Zenter บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการสร้างสื่อนำเสนอออนไลน์แล้ว หลังจากที่ีก่อนหน้านี้ก็ได้ซื้อ Tonic System บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ช่วยเหลือในการสร้างสื่อนำเสนอ ไปแล้วเช่นเดียวกัน
โดยกูเกิลคาดว่าการซื้อครั้งนี้ จะทำให้การพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างสื่อนำเสนอให้กับ Google Docs & Spreadsheets มีความคืบหน้ามากขึ้น หลังจากที่ได้เพิ่มความสามารถในการพรีวิวสื่อนำเสนอให้กับ Gmail ไปแล้ว
ไม่รู้ว่าคราวนี้กูเกิลจะเปลี่ยนชื่อจาก Google Docs & Spreadsheets เป็น Google Docs & Spreadsheets & Presentations หรือเปล่า
เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ได้ตกลงยอมความในการที่จะเปิดระบบ Desktop Search บนวิสต้าให้สามารถใช้งานได้กับซอฟต์แวร์ Desktop Search จากค่ายอื่น ๆ เช่น Google หลังจากที่โดนข้อกฏหมายเกี่ยวกับการผูกขาดเข้าเล่นงานอีกครั้ง
ไมโครซอฟท์กล่าวว่าบริษํัทจะทำการเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกระบบ Desktop Search ที่ต้องการได้โดยการปรับปรุงระบบในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ Service Pack ตัวแรกของวินโดวส์วิสต้าที่เราจะเห็นตัวเบต้าออกมาในช่วงปลายปีนี้
ในข้อตกลงครั้งนี้ก็คล้าย ๆ กับสมัย Service Pack 1 ของวินโดวส์ XP ก็คือผู้ใช้สามารถเลือกใช้ Default Desktop Search Program ได้คล้าย ๆ กับกรณี Default Browser และ Media Player
หลังการเปิดตัว Google Checkout ความสัมพันธ์ระหว่าง กูเกิลและ eBay ก็เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ เพราะบริการที่ทับซ้อนกับ Paypal ทำให้ขัดแย้งด้านผลประโยชน์กัน
ความขัดแย้งดูเหมือนจะประทุถึงจุดสูงสุด เมื่อกูเกิลเชิญผู้เข้าร่วมงาน eBay Live! ให้ไปร่วมงาน Google Checkout Freedom Party ของทางกูเกิลเอง ทำให้ทาง eBay แสดงความไม่พอใจด้วยการถอนโฆษณาออกจากกูเกิลทั้งหมด จนทำให้ทางกูเกิลยอมยกเลิกงานดังกล่าวไป
จนทุกวันนี้ผู้ใช้บริการ eBay ก็ยังไม่สามารถใช้งานบริการ Google Checkout ได้
แต่ผมว่าจัดงานทับกัน แถมเชิญคนจากอีกงานไปงานตัวเองนี่มันเกินไปหน่อยนะ
กลุ่มผู้สนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวชื่อว่า Privacy International ให้คะแนนกูเกิลในเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นอันดับต่ำสุด
ผลการศึกษาบริษัทจำนวน 22 แห่ง กูเกิลเป็นบริษัทเดียวที่ได้คะแนนขั้นแย่มาก achieving status as an endemic threat to privacy) แย่อันดับรองลงมามี 7 บริษัท คือ AOL, Apple, Facebook, Hi5, Reunion, Windows Live Space และ Yahoo และระดับดีขึ้นมาหน่อยคือ BBC, eBay, Last.fm, LiveJournal และ Wikipedia
มหาวิทยาลัยอีก 12 แห่งเข้าร่วมโครงการ Google Book Search ซึ่งส่งผลให้กูเกิลได้หนังสือเตรียมรอสแกนอีก 10 ล้านเล่ม
มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้แก่ University of Chicago และกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า Big Ten athletic conference อีก 11 แห่ง คือ Illinois, Indiana, Iowa, Michigan, Michigan State, Minnesota, Northwestern, Ohio State, Penn State, Purdue และ Wisconsin
ก่อนหน้านี้กูเกิลได้ทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยอื่นไปบ้างแล้ว ที่ดังๆ ก็อย่างเช่น Havard, Stanford, Princeton, Oxford เป็นต้น (ดูรายชื่อได้จาก Wikipedia)
กูเกิลเอาใจโลกโอเพนซอร์สอีกครั้ง ด้วยการเปิดเอาไลบรารีสำหรับตรวจความแตกต่างระหว่างข้อมูลสองชุด (Diff) ที่ใช้ใน Google Doc มาแจกกันในรูปแบบ LGPL (เอาไปใช้งานได้โดยไม่ต้องโอเพนซอร์ส ยกเว้นจะปรับปรุงตัวไลบรารีโดยตรง)
งานนี้ที่น่าสนใจคือกูเกิลแจกไลบรารีออกมาพร้อมๆ กับสามภาษา Java, JavaScript และ Python ทำให้เราสามารถเลือกใช้งานทั้งฝั่งลูกข่ายและเซิร์ฟเวอร์ได้โดยมีพฤติกรรมการทำงานที่เหมือนๆ กัน
ยังขาด PHP ไปอีกภาษานะ ไม่งั้นพวก CMS คงได้เอาไปใช้งานกันอีกเยอะเลย
ที่มา - Google Code
Google Book Search ที่ทางกูเกิลได้สแกนหนังสือจำนวนมาก เพื่อให้ค้นหาได้จากเว็บ ทำให้สำนักพิมพ์หลายแห่งไม่พอใจ และคิดว่ากูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์ เรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายได้โต้ตอบกันผ่านสื่อมานานแล้ว
ล่าสุดในงาน Book Expo America ที่นิวยอร์ค นาย Richard Charkin ซึ่งเป็นผู้บริหารของสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรชื่อว่า Macmillan ได้ร่วมมือกับลูกน้องขโมยโน้ตบุ๊คที่อยู่ในบูตของ Google Book Search มาสองตัว จากนั้นเขาก็ยืนรออยู่ข้างบูตจนกว่าเจ้าหน้าที่ประจำบูตจะพบว่าโน้ตบุ๊คหายไป แล้วค่อยคืนเครื่องให้กับทางกูเกิล (ดูรูปได้จาก บล็อกของ Charkin)
กูเกิลเปิดเผยผลการศึกษาของ Anti-Malware Team ผ่านทาง Google Online Security Blog พบว่า IIS มีโอกาสเป็นแหล่งเผยแพร่มัลแวร์สูงกว่า Apache ถึงเท่าตัว (49% เทียบกับ 23%)
กูเกิลสำรวจเว็บไซต์ประมาณ 70,000 แห่ง สาเหตุที่กูเกิลสรุปว่า IIS มีโอกาสสูงกว่าเป็นเพราะว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก รัน IIS บนวินโดวส์เถื่อนซึ่งไม่สามารถอัพเดตด้านความปลอดภัยได้ ทางโฆษกของไมโครซอฟท์ได้ออกมาโต้ตอบว่าผลการศึกษานี้ไม่มีข้อมูลเพียงพอจะสรุปได้แบบนั้น ส่วน Paul Thurrott แห่ง WindowsITPro ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นแผนการโปรโมท Apache ของกูเกิลก็ได้
จาก กระทู้นี้ ใน Forum เกี่ยวกับวิธีการไฮไลท์ผลการค้นหาของ google.co.th ผมได้รับการติดต่อจากคุณพรทิพย์ Country Consultant ของ Google ประจำประเทศไทย ว่าอยากได้ความคิดเห็นจากผู้ใช้คนไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้
คำถาม
ใครไม่ชอบแบบใหม่ นี่เป็นโอกาสทอง ต้องมาเขียนกันเยอะๆ
หลายๆ คนแม้ชอบ Gmail กับ Google Reader แต่คงต้องยอมรับว่าข้อด้อยหลักๆ ของทั้งสองบริการนี้คือเราต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาการใช้บริการ แต่ข้อจำกัดนี้กำลังหายไป เมื่อ Google Gears จะทำให้เว็บโปรแกรมเมอร์สามารถเรียกใช้บริการ Javascript API เพิ่มเติมเพื่อขอให้มีการเก็บข้อมูลไว้ในบราวเซอร์ได้
บริการแรกที่ได้รับอานิสงส์จาก Google Gears คือ Google Reader ที่จะดึงเอา 2000 ข้อความล่าสุดมาไว้ในเครื่องเราให้เราอ่านได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะออนไลน์หรือไม่
Google Gears รองรับ Firefox 1.5 และ IE6 ขึ้นไป ทั้ง ลินุกซ์, วินโดวส์ และ OSX ที่สำคัญคือมันเป็นโครงการโอเพนซอร์สให้เราเข้าไปช่วยกันแก้ไขได้อีกด้วย
วันนี้กูเกิลได้ออกมาประกาศว่าได้ซื้อ Panoramio แล้ว โดย Panoramio เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการฝากรูปภาพ พร้อมกับใส่พิกัดของรูปบนแผนที่โลก ที่เชื่อมโยงกับ Google Earth ทำให้สามารถดูรูปที่ฝากบนเว็บไซต์นี้ผ่าน Google Earth ได้
ก่อนหน้าที่จะซื้อกูเกิลได้ทำงานร่วมกับ Panoramio มาเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว เห็นได้จากที่ รูปภาพของ Panoramio ได้เป็น default layer ของ Google Earth มาตั้งแต่ต้นปีแล้ว โดยหลังจากนี้ จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก นอกจากปรับปรุงการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่ในอนาคตกูเกิลอาจจะเพิ่มความสามารถ Google Earth ให้อัพโหลดรูปภาพจากแผนที่ เข้าไปที่ Picasa Web Albums ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาใส่พิกัดก็เป็นได้
สงครามบริการแผนที่ออนไลน์ยังคงเดินหน้าไปไม่หยุด หลังจากไมโครซอฟท์ออกบริการแผนที่แบบสามมิติ ออกมา กูเกิลก็ยังไม่ยอมน้อยหน้า เปิดบริการ Street View ที่ให้คุณสามารถเดินไปในเมืองที่มีบริการนี้ได้เหมือนอยู่ในเมืองนั้นจริงๆ
กูเกิลช่วงนี้กระหน่ำซื้อจริงๆ โดยครั้งนี้ได้เข้าซื้อ GreenBorder Technologies บริษัทที่ให้บริการซอฟแวร์ด้านความปลอดภัย ในการท่องอินเทอร์เน็ตบนวินโดวส์ ที่มีชื่อว่า GreenBorder ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่โปรแกรมจะแสดงกรอบสีเขียวล้อมรอบหน้าเว็บ ที่มีความปลอดภัยในการเข้าชม และเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต บนสภาวะแวดล้อมจำลอง ทำให้ไวรัสที่อาจติดมากับไฟล์ ไม่อาจแพร่สู่เครื่องของผู้ใชได้้
โดยทาง GreenBorder จะงดรับลูกค้าใหม่ไปจนกว่า จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในชื่อของกูเกิล ส่วนลูกค้าเดิมจะยังคงให้บริการต่อไปจนกว่าจะหมดสัญญา
ที่มา - GoogleBlogoscoped