อินเทลเปิดตัวการ์ดช่วยประมวลผล Intel® Xeon® Phi™ ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวมีพลังประมวลผล 1 เทราฟลอป คาดว่าการ์ด Phi นั้นคือชื่อทางการของ Knights Ferry และ Knights Corners ที่ประกาศออกมาโดยไม่มีสินค้าวางขาย (แต่ให้กับพาร์ทเนอร์สำคัญไปทดลองเท่านั้น)
Next Unit of Computing (NUC) บอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจากอินเทลที่มีขนาดเพียง 10x10 ซม. สเปคด้านในเป็น Sandy Bridge Core i3/i5 มีพอร์ตสมัยใหม่ครบครัน
ในงาน Computex ที่ไต้หวัน อินเทลได้นำเจ้า NUC นี้มาโชว์ตัวพร้อมด้วย โดยสเปคเบื้องต้นคาดว่าจะใช้บอร์ดชิปเซ็ต HM65 และอาจใช้พอร์ต USB 2.0 สามพอร์ตแทน USB 3.0 สองพอร์ตตามข่าวก่อนหน้า แรมเริ่มต้นอยู่ที่ 4GB และใช้ SSD ความจุ 40GB รุ่นนี้จะวางขายไตรมาสสามนี้ ด้วยราคา 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ
และในไตรมาสสี่ จะมีอีกหนึ่งรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ตซีรีส์ 7 พร้อมกับ USB 3.0, พอร์ต Thunderbolt และคาดว่าจะมีรุ่นราคาถูกที่ใช้ซีพียู Celeron อีกด้วย
Mike Bell ผู้จัดการทั่วไปของ Mobile and Communications Group ของอินเทลได้ตอบคำถามที่ว่าซีพียูซิงเกิลคอร์ Atom ตระกูล Medfield ซึ่งจะถูกนำไปใช้กับสมาร์ทโฟนที่รันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้นจะต่อกรกับซีพียูมัลติคอร์ที่เป็นแพลตฟอร์ม ARM จาก NVIDIA, Qualcomm และ Samsung ได้อย่างไร โดยเขาตอบว่าตัวจัดการเธรด (thread scheduler) ของแอนดรอยด์นั้นยังไม่พร้อมสำหรับซีพียูมัลติคอร์ด้วยซ้ำไป เนื่องจากระบบปฏิบัติการยังไม่มีการจัดการเธรด (thread scheduling) และการกำหนดเธรดให้รันบนซีพียูคอร์ที่กำหนด (thread affinity) ทำให้เมื่อโปรเซสของระบบปฏิบัติการทำงาน โปรเซสของแอพอื่นก็จะถูกหยุดการทำงานลง แต่อินเทลก็กำลังจัดการกับสิ่งเหล่านี้อยู่ เพื่อให้เมื่อบริษัทพัฒนาซีพียูมัลติคอร์ขึ้นมาแล้วมันจะใช้งานได้มีประสิทธิ
ตลาดของอินเทลและ ARM นั้นเคยแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดมาก่อน แต่ในสองปีที่ผ่านมาตลาดของทั้งสองบริษัทเริ่มทับซ้อนกันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้โดยรวมอัตราการเติบโตของตลาดจะทำให้ทั้งสองบริษัทกำไรเติบโตอย่างน่าประทับใจได้ทั้งคู่ แต่ทุกคนก็คาดว่าสักวันหนึ่งตลาดอาจจะเติบโตไม่เร็วพอสำหรับทั้งสองบริษัท ทำให้ทั้งคู่ต้องเข้าต่อสู้กันเอง
ในโอกาสเดียวกับที่อินเทลเปิดตัว Ivy Bridge รุ่นดูอัลคอร์สำหรับโน้ตบุ๊ก บริษัทก็ปรับสเปกขั้นต่ำของโน้ตบุ๊กที่จะติดแบรนด์ ultrabook เพิ่มจากของเดิมด้วย
เดิมทีมาตรฐานขั้นต่ำ (baseline) ของ ultrabook รุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบันมี 4 ข้อ คือ ออกแบบสวยงามบางเฉียบ, ปลุกให้ตื่นเร็วกว่า 7 วินาที, แบตเตอรี่ใช้ได้อย่างน้อย 5 ชั่วโมง, มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์ (security ready)
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่สามรหัส Ivy Bridge ระลอกแรก โดยเป็นซีพียูรุ่นท็อปที่มีสี่คอร์มาจับตลาดบนก่อน
เวลาผ่านไปเดือนกว่า ถึงคิวของ Ivy Bridge ระลอกสองที่เป็นซีพียูแบบดูอัลคอร์ (ซึ่งเราน่าจะใช้งานจริงกันมากกว่า) โดยรอบนี้อินเทลเริ่มจาก Core i5/i7 ก่อน ส่วน Core i3 จะตามมาทีหลังเช่นเคย
ซีพียูชุดที่สองจับตลาดโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ แบ่งเป็นซีพียูโน้ตบุ๊กธรรมดา (standard voltage) จำนวน 4 รุ่นคือ i7-3520M, i5-3360M, i5-3320M, i5-3210M และกลุ่มซีพียูโวลต์ต่ำ (ULV) อีก 4 รุ่นคือ i7-3667U, i7-3517U, i5-3427U, i5-3317U รายละเอียดและผลการทดสอบประสิทธิภาพของแต่ละรุ่นอ่านได้ตามลิงก์ที่มา
หลังจากอินเทลเปิดตัวสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่ใช้ชิป Atom Medfield อย่างเจ้า XOLO X900 ไปได้พักหนึ่งแล้ว ตามมาด้วย Lenovo LePhone K800 ที่ขายเฉพาะในประเทศจีน ตอนนี้มีมือถือพลัง Atom ไปโลดแล่นในประเทศอังกฤษแล้ว
ชื่อของมือถือรุ่นที่ว่าคือ San Diego จะวางขายกับเครือข่าย Orange ของอังกฤษในแง่ของสเปคแล้วเหมือนกับสองรุ่นก่อนหน้าทุกประการคือใช้ Atom Medfield 1.6GHz และหน้าจอขนาด 4 นิ้วความละเอียด 1024x600 พิกเซล เพียงแต่ San Diego จะขายพร้อมกับแอนดรอยด์ 2.3 Gingerbread พ่วงมากับแอพของ Orange จำนวนหนึ่ง
Lenovo เริ่มขาย LePhone K800 มือถือที่ใช้ซีพียู Intel Atom Medfield ในประเทศจีนแล้ว
ข่าวดีของนักพัฒนา Android ทั้งหลายที่ต้องทนกับความเชื่องช้าของ Android Emulator กันมานาน (เนื่องจากใช้ system image ของ ARM มารันบนซีพียูจำลองอีกชั้นหนึ่ง)
วันนี้อินเทลออก system image ที่ใช้กับสถาปัตยกรรม x86 มาเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราสามารถรัน Android Emulator ที่ความเร็วแบบ native ตามความเร็วของซีพียู x86 จริงๆ ได้ ดังนั้นถ้าแอพที่พัฒนาไม่จำเป็นต้องใช้ NDK ก็น่าจะใช้แทนกันได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร
พร้อมแล้วดาวน์โหลดได้จาก Android SDK Manager ได้เลย อยู่ในหมวด Android 4.0.3 ชื่อ Intel x86 Atom System Image ครับ
ที่มา - Android Central
หลังจากที่อินเทลเริ่มบุกตลาดสมาร์ทโฟนอย่างจริงจังด้วย x86 (Atom) ที่ตอนนี้ออกเครื่องจริงมาแล้วหนึ่งรุ่นในชื่อ XOLO X900 ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานทัดเทียมกับชิปรุ่นท็อปๆ ของฝั่ง ARM แม้ว่าจะเป็นชิปแบบซิงเกิลคอร์ แม้ว่ายังมีปัญหาเรื่องการใช้พลังงานอยู่ แต่นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีของอินเทล ส่วนฝั่ง ARM เองก็พยายามรุกเข้าไปในตลาดพีซีซึ่งเป็นฐานที่มั่นของอินเทลเช่นกัน
ล่าสุด Warren East ซีอีโอของ ARM บอกกับ Dow Jones Newswires ว่าบริษัทคาดว่าราวปี 2014-2015 พีซีที่ใช้ชิป ARM จะกินตลาดประมาณ 10-20% ในทางกลับกันจะมีผู้ใช้ชิปของอินเทลบนสมาร์ทโฟนเพียง 5-10% เท่านั้น
DigiTimes เปิดเผยว่ามีผู้สนใจนำระบบปฎิบัติการ Tizen ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของตน ดังนี้
หาก Tizen สามารถรันแอพพลิเคชันสำหรับ Android โดยใช้โซลูชัน Application Compatibility Layer (ACL) ของบริษัท Open Mobile ได้สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบปฎิบัติการน้องใหม่นี้น่าสนใจไม่ใช่น้อย
หลังจากปล่อยชิป Xeon รุ่นใหญ่ในซีรีส์ E5-2600 ไปได้ซักระยะแล้ว ก็ถึงคราวบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กด้วยการอัพเกรดชิปเดิมในรุ่น E3-1200 เป็น E3-1200v2 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ใช้ซีพียูรหัส Ivy Bridge แล้วด้วย โดยสเปคของ E3-1200v2 มีดังนี้
ตารางเปรียบเทียบรายละเอียดกับรุ่นก่อนหน้าอยู่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - The Register
ทุกวันนี้ไมโครซอฟท์ยังไม่เคยพูดออกมาชัดๆ ว่า Windows 8 รุ่นจริงจะออกตอนไหนกันแน่ (คาดกันเองว่าเป็นเดือนตุลาคม ช่วงเดียวกับการออก Windows 7)
ข้อมูลล่าสุดของ CNET ที่อ้างแหล่งข่าวผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ระบุว่าแท็บเล็ต Windows 8 ที่ใช้ซีพียูดูอัลคอร์ Atom "Clover Trail" ของฝั่งอินเทลจะเริ่มออกขายเดือนพฤศจิกายนนี้ (ส่วนแท็บเล็ตที่ใช้ซีพียู Ivy Bridge ก็มีโอกาสออกสู่ตลาดเช่นกัน เพียงแต่ไม่เน้นเท่ากับ Atom) ในอนาคตอินเทลยังวางแผนออก Atom "Bay Trail" รุ่นต่อของ Clover Trail ด้วย โดยรุ่นนี้มีจีพียูของอินเทลเองแล้ว
ตามข่าวบอกว่าแท็บเล็ตที่รอคิววางจำหน่ายมีมากกว่า 10 รุ่น และครึ่งหนึ่งเป็นแท็บเล็ตแบบไฮบริดที่แปลงร่าง-ประกอบร่างกลายเป็นโน้ตบุ๊กได้
Paul Otellini CEO ของ Intel ได้เผยโร้ดแมปการผลิตชิพซีพียูในอนาคตของบริษัทว่า ชิพซีพียูที่มีขนาด 14 นาโนเมตรอยู่ในช่วงที่ออกแบบพัฒนาชิพซีพียู และพร้อมนำชิพเหล่านี้สู่ท้องตลาดภายในปีหน้า โดยจะให้โรงงานที่อยู่ในรัฐโอริกอน, รัฐเอริโซนาของสหรัฐอเมริกา และประเทศไอร์แลนด์เป็นฐานการผลิต
นอกจากนี้บริษัทยังเผยอีกว่าจะต้องทำซีพียูที่มีขนาด 10 นาโนเมตรให้ได้อย่างเร็วที่สุด 2015 โดย CEO ของ Intel ได้กล่าวเสริมว่า บริษัทได้ตั้งเป้าไว้ถึง 10 ปีในการที่จะผลิตชิพซีพียูขนาด 5 นาโนเมตร และ Paul ก็กล่าวเสริมอีกว่า การคิดค้นของบริษัทยังคงดำเนินต่อไป และยังคงจะผลิตซีพียูยุคหน้าสู่ท้องตลาดอย่างแน่นอนในอนาคต
การที่ Windows 8 RT เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์รุ่นแรกที่รองรับซีพียูตระกูล ARM ส่งผลสะเทือนต่อพันธมิตรเก่าอย่างอินเทลไม่น้อย แน่นอนว่าอินเทลต้องแก้เกมโดยบอกว่า Windows 8 บน x86 นั้นดีกว่า
Paul Otellini ซีอีโอของอินเทลกล่าวในงานประชุมนักลงทุนวันนี้ว่า Windows 8 บน ARM มีจุดอ่อนสำคัญที่ไม่รองรับระบบเดสก์ท็อปแบบเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตลาดองค์กรที่มีโปรแกรมเก่าบนสถาปัตยกรรม x86 อยู่แล้ว ดังนั้นอุปกรณ์ Windows 8 แบบ x86 จึงเหมาะกับความต้องการของตลาดมากกว่า
อินเทลบอกว่าตอนนี้มีอุปกรณ์ Windows 8 ที่ใช้ซีพียู Atom รหัส Clover Trail กำลังพัฒนากว่า 20 รุ่นจากผู้ผลิต 10 ราย
ข่าวยอดขายที่น่าประทับใจของ Rasberry Pi คงทำให้อินเทลเริ่มคิดว่าตลาดคอมพิวเตอร์กำลังเปลี่ยนไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้การใช้งานคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้นแทบไม่มีโอกาสใช้ชิปอินเทล เพราะไม่มีแพลตฟอร์มรองรับยกเว้นชิปตระกูล CE ที่ขายสำหรับผู้ผลิตทีวีเป็นหลัก แต่ตอนนี้อินเทลก็เปิดตัวบอร์ดแบบใหม่ที่น่าจะขายทั่วไปแล้ว
บอร์ด Next Unit of Computing (NUC) เป็นบอร์ดที่ใช้ชิป x86 ในขนาด 10ซม. x 10ซม. จะได้ชิป Sandy Bridge Core i3/i5 พร้อมพอร์ต Thunderbolt, HDMI, และ USB 3.0 ภายในสามารถใส่แรมได้สองสล็อต
Xolo X900 เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ Medfield ตัวแรกที่ประกาศวางขาย ตอนนี้ทาง AnandTech ก็ได้รับโทรศัพท์มาทดสอบแล้ว โดย X900 แทบจะเหมือนเครื่องต้นแบบ (Form Factor Reference Design - FFRD) ของอินเทลแทบทั้งหมด ภายใต้ราคาประมาณ 13,000 บาท
จากการประเมินของอินเทลในงานแถลงข่าวเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ตระกูล Ivy Bridge (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ 3rd Generation Intel Core Processor) ระบุว่าตลอดทั้งปีเราจะเห็นสินค้าจากผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ ดังนี้
รวมแล้วประมาณ 570 รุ่น โดยซีพียูตระกูล Ivy Bridge ชุดแรกจะเป็น Core i7 และ Core i5 รุ่นสำหรับพีซีและโน้ตบุ๊กระดับสูงก่อน ส่วนรุ่นเล็กอย่าง Core i3 จะตามมาช่วงกลางปีนี้
รายละเอียดของตัว Ivy Bridge ก็อ่านได้จากข่าว อินเทลเปิดผลทดสอบ Ivy Bridge ความเร็ว CPU เพิ่ม 10% GPU เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว
เมื่อกลางปี 2011 อินเทลได้ประกาศความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์แบบสามมิติ ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นจากเดิม (รายละเอียดเต็มๆ อ่านได้จากข่าวเก่า) ตามสัญญาแล้วอินเทลวางแผนจะใช้การผลิตแบบดังกล่าวกับซีพียูรุ่น Ivy Bridge ที่การผลิตขนาด 22 นาโนเมตร
ข่าวดีคืออินเทลได้เริ่มใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกับซีพียู Ivy Bridge ที่เพิ่งเปิดตัวมาทั้ง 13 รุ่นแล้ว แต่ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคลมไว้ว่าสูงขึ้น 37% กินไฟน้อยลง 50% นั้นเมื่อทดสอบจริงยังไปไม่ถึงจุดนั้น แต่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นราว 20% และกินไฟน้อยลง 20% จากชิปรุ่นก่อนหน้าก็ไม่แย่เสียทีเดียว
ต่อจากซีพียูและชิปเซ็ต วันนี้อินเทลก็เปิดตัวการ์ดไวร์เลสอีกยกชุด ชิปไวร์เลสรุ่นใหม่ทั้งหมดที่เปิดตัวนี้จะเป็นรุ่นที่ทำงานแบบ 802.11n ได้ทั้งหมดแล้ว โดยแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ
ต่อจากซีพียู อินเทลเปิดตัวชิปเซ็ตที่ออกมาคู่กันในชื่อว่า Intel 7 Series หรือ Panther Point เป็นตัวต่อของ Cougar Point ที่ออกมาคู่กับ Ivy Bridge มีฟีเจอร์สำคัญคือมันรองรับพอร์ตใหม่ๆ เช่น USB 3.0 (ในที่สุด), Thunderbolt, จอภาพ 3 จอผ่าน DisplayPort 1.1a และ HDMI 1.4a
ชิปรุ่นใหม่ทั้งหมด จะใช้ร่วมกับ Ivy Bridge ได้พร้อมกับรองรับ Sandy Bridge ด้วย ส่วนชิปเซ็ตในตระกูล Cougar Point บางตัวจะใช้งานร่วมกับ Ivy Bridge ได้แต่ต้องอัพเกรดเฟิร์มแวร์เสียก่อน
อินเทลเปิดตัวชิป Ivy Bridge ในวันนี้หลังจากเปิดเผยฟีเจอร์ส่วนใหญ่ออกมาทั้งหมดก่อนหน้านี้แล้ว โดนเป็นซีพียูทั้งหมดถึง 14 รุ่น แบ่งออกเป็น
เมื่อไม่กี่วันมานี้เพิ่งมีข่าว ซีอีโออินเทลประกาศ สมาร์ทโฟน x86 จะเปิดตัวสัปดาห์นี้ ซึ่งสื่อต่างประเทศคาดว่ามันคือ Lenovo K800
ที่งานแถลงผลประกอบการของอินเทลในวันนี้ ซีอีโอ Paul Otellini ให้ข้อมูลสั้นๆ ว่าภายในสัปดาห์นี้ เราจะได้เห็นสมาร์ทโฟนตัวแรกของโลกที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของอินเทล
Otellini ไม่ได้ให้ข้อมูลว่าสมาร์ทโฟนที่ว่าหมายถึงตัวไหนกันแน่ แต่สื่อต่างประเทศคาดกันว่าจะเป็น Lenovo K800 ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปี
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่หนึ่งปี 2012 มีรายได้รวม 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเล็กน้อยซึ่งอยู่ที่ 1.28 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธิคิดเป็น 2.7 พันล้านดอลลาร์ ลดลงถึง 13.4% จากปีที่แล้ว