ซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปที่อินเทลจะเปิดตัวในปีหน้าคือ Ivy Bridge (Sandy Bridge ที่เปลี่ยนกระบวนการผลิต) ส่วนปีถัดไป 2013 อินเทลจะเปลี่ยนสถาปัตยกรรมย่อยอีกครั้ง โดยซีพียูตัวใหม่มีรหัสว่า Haswell
ยุทธศาสตร์ซีพียูสำหรับอุปกรณ์พกพา [โทรศัพท์|แท็บเล็ต] ของอินเทลนั้นระบุชัดว่าจะรุกตลาดด้วย Atom แต่ที่ผ่านๆ มา Atom ยังเจาะตลาดนี้ได้ไม่ดีนัก เนื่องจากความสามารถด้านพลังงานยังสู้เจ้าตลาดอย่าง ARM ไม่ได้ ซึ่งอินเทลเองก็ตั้งเป้าจะแก้ปัญหานี้ใน Atom รหัส "Medfield" ที่มีกำหนดเปิดตัวปีหน้า (ข่าวเก่าแผ
โตโยต้ากับอินเทลประกาศสั้นๆ ว่าสองบริษัทกำลังร่วมกันพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในรถ โดยจะพัฒนา "กระบวนการแสดงข้อมูลให้กับผู้ขับขี่อย่างเหมาะสม และการสื่อสารระหว่างระบบต่างๆ" ระบบคอมพิวเตอร์ในรถเป็นความฝันของทั้งผู้ผลิตรถที่ต้องการเพิ่มมูลค่าสินค้าและผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่นอินเทลมานาน อย่างไรก็ดีระบบคอมพิวเตอร์ในรถยังคงจำกัดอยู่เฉพาะงานเช่นระบบนำทาง หรือระบบวิทยุโทรทัศน์เท่านั้น
หนังสือชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์ ได้เผยรายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุที่สตีฟ จ็อบส์ ไม่เลือกใช้ชิปของอินเทลในไอโฟน และได้ตัดสินใจที่จะผลิตชิปเสียเอง แม้ว่าตั้งแต่ปี 2005 ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของแอปเปิลทั้งหมดจะใช้ชิปจากอินเทลทั้งหมดก็ตาม
จ็อบส์เผยว่าสาเหตุดังกล่าวมีอยู่สองข้อ ข้อแรกคืออินเทลทำงานช้ามาก เปรียบได้เหมือนกับเรือที่เดินเครื่องด้วยไอน้ำที่เมื่อก่อนดูเหมือนจะแล่นเร็ว ส่วนข้อที่สองแอปเปิลไม่ต้องการ "สอน" อินเทลทุกอย่าง แล้วให้อินเทลเอาสิ่งที่เราสอนไปไปขายให้กับคนอื่น
ชิปเซ็ต Ivy Bridge นั้นไม่ใช่แค่การอัพเกรดตามรอบของอินเทลตามปรกติ แต่จะเป็นชิปเซ็ตชุดแรกที่ออกแบบมาเพื่อ Ultrabook โดยเฉพาะ เพื้่อเร่งการเติบโตของตลาดพีซีให้กลับมาอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉพาะแท็บเล็ต ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่อินเทลจะเร่งออก Ivy Bridge ออกมาให้เร็วที่สุด และกำหนดการล่าสุดคือเดือนมีนาคมปีหน้า
ข่าวนี้มาจากแหล่งข่าวของ DigiTimes ที่ทำงานอยู่ในบริษัทผลิตเมนบอร์ดแห่งหนึ่ง
ชิปรุ่นใหม่จะใช้กระบวนการผลิต 22 นาโนเมตรและเทคโนโลยีเกต 3D ทำให้มีอัตราการกินพลังงานที่ต่ำลงมาก ในงาน AppUp Element อินเทลก็ระบุว่า Ultrabook รุ่นต่อไปที่เป็น Ivy Bridge นั้นจะมีฟีเจอร์คล้ายแท็บเล็ตเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เช่นเซ็นเซอร์ต่างๆ และจอสัมผัส
แผนการออกสินค้าของอินเทลหลุดออกมาอีกครั้งทำให้เรารู้ว่าในไม่กี่เดือนข้างหน้าอินเทลกำลังปล่อย SSD รุ่นใหม่ในตระกูล 700 ออกมานั่นคือ Intel SSD 720 "Ramsdale" ที่ใช้ PCIe แทนพอร์ต SATA
SSD 720 จะมีขนาด 400GB และ 200GB ออกมาพร้อมกัน มันจะช่วยให้อินเทลสามารถแข่งขันกับผุ้ผลิตรายอื่นๆ ที่มี SSD แบบ PCIe ออกมาก่อนหลายเดือนแล้ว ขณะเดียวกันมันก็จะช่วยให้อินเทลแบ่งสินค้าในตระกูล SSD ออกอย่างชัดเจน คือตระกูล 700 จะกลายเป็นตระกูลความเร็วสูงสุดและใช้ PCIe ทั้งหมด, ตระกูล 500 จะใช้ SATA 6Gbps, และตระกูล 300 จะใช้ SATA 3Gbps หรือ mSATA สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
อินเทลเตรียมประกาศอัพเกรด SSD ยกแผงในไม่กี่เดือนข้างหน้า และตระกูล 500/700 นั้นจะมีการอัพเกรดอีกครั้งในไตรมาสที่สองของปีหน้า
อินเทลรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ด้วยยอดขายทำสถิติใหม่สูงสุดต่ออีกไตรมาส โดยมียอดขาย 1.42 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 28% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และเพิ่มขึ้น 9.2% จาก
ขณะที่ Cedar Trail กำลังวางตลาดทั่วโลกในเร็วๆ นี้ เว็บ Netbook Live ก็ได้รับเครื่อง Asus Lamborghini VX6S มารีวิวก่อนใครทำให้ได้ผลทดสอบเบื้องต้นออกมา
เครื่อง VX6S แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงใน Atom ตัวใหม่นี้หลายอย่าง ได้แก่
ผลเทียบกันกับ Asus 1215B นั้นปรากฏว่า VX6S ทำคะแนนดีกว่าในทุกการทดสอบ คงต้องยกความดีให้กับ GPU ของ AMD เองด้วยส่วนหนึ่ง
อินเทลปิดเแผนก Digital Home Group (DHG) ซึ่งมีผลงานคือทำ Atom SoC (Atom CE4100) ที่ใช้ในอุปกรณ์อย่าง Google TV และ D-Link Boxee Box
พนักงานที่อยู่ในทีมนี้จะถูกโอนไปทำเรื่องแท็บเล็ตแทน อินเทลจะยังทำชิปสำหรับอุปกรณ์ด้านทีวีต่อไป แต่จะเน้นอุปกรณ์พวกเซ็ตท็อปบ็อกซ์สำหรับเคเบิลทีวีอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์สายสมาร์ททีวีคงไม่ทำต่อแล้ว
ส่วนอนาคตของ Google TV และ Boxee Box ก็คงต้องหนีไปใช้ ARM แทน
หมายเหตุ: AppUp เป็นสปอนเซอร์ของ Blognone โดยมีข่าวเชิง advertorial เผยแพร่อยู่เป็นระยะ (ดูข่าวในหมวด AppUp) แต่อินเทลไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าว AppUp ที่ไม่ใช่ advertorial ครับ
หลังจากโนเกียประกาศถอนตัว (พูดตามมารยาทของโนเกียคือลดการลงทุน) จาก MeeGo อินเทลก็ค่อนข้างเคว้งว่าจะทำยังไงต่อกับ MeeGo ต่อไปเพราะเทคโนโลยีแกนของ MeeGo คือ Qt+QML นั้นอยู่กับโนเกียทั้งหมด และค่อนข้างเคว้งไม่ต่างกับ MeeGo นัก แต่วันนี้ทางอินเทลก็ประกาศแล้วว่าจะร่วมมือกับซัมซุงเพื่อพัฒนาระบบปฎิบัติการใหม่ที่ชื่อว่า Tizen
Tizen จะมีแกนกลางเป็นลินุกซ์และแอพพลิเคชั่นจะถูกพัฒนาด้วย HTML5 ทั้งหมด โดยเพิ่ม API เพื่อให้ทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ครบถ้วนเช่น กล้อง, โทรศัพท์, SMS, เน็ตเวิร์ค ฯลฯ
Tizen รุ่นแรกจะออกต้นปี 2012 อินเทลสัญญาว่าจะทำให้นักพัฒนาบน MeeGo พอร์ตไปยัง Tizen ได้โดยไม่ลำบากมากนัก
รอบการอัพเกรดซีพียูของอินเทลเริ่มเข้ามาใกล้ขึ้นทุกที โดย Ivy Bridge นั้นจะเป็นการคงสถาปัตยกรรมในส่วนของซีพียูไว้ตามเดิมแต่อัพเกรดกระบวนการผลิต และที่สำคัญคืออัพเกรดส่วน GPU ไปพร้อมกัน ล่าสุดในงาน IDF อินเทลก็เริ่มโชว์ศักยภาพของ GPU ออนบอร์ดของ Ivy Bridge ว่ามันจะรองรับวิดีโอ 4K ในตัว
ส่วนใหม่ที่อินเทลเปิดตัวในงานคือ Multi-Format Codec Engine (MFX) ที่เป็นฮาร์ดแวร์สำหรับเร่งความเร็วในการถอดรหัสวิดีโอโดยเฉพาะแบบเดียวกับที่ชิปกราฟิกอื่นๆ เช่น AMD UVD หรือ NVIDIA PureVideo
ฟอร์แมต 4K นั้นมีขนาดภาพถึง 4096 x 2304 หรือประมาณ 10 ล้านพิกเซลต่อเฟรม โดยมีกล้องวิดีโอเช่น RED สนับสนุนอยู่ก่อนแล้ว กระทั่ง YouTube ก็มีวิดีโอบางส่วนที่เป็น 4K
คำถามสำคัญของ Android ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรม x86 คือผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เป็น native เช่นเกมและเบราเซอร์นั้นจะลงทุนกับการพอร์ตโค้ดมายัง x86 กันมากน้อยแค่ไหน แต่ที่งาน IDF 2011 ปีนี้ Opera ก็แสดงเบราเซอร์ของตัวเองบนแท็บเล็ต x86 แล้ว
ทาง Engadget ได้ลองเล่นเบราเซอร์ดูแล้วให้ความเห็นว่า "มันเร็ว" ทางโอเปร่าเองระบุว่ารุ่นที่นำมาแสดงนี้ยังไม่ให้ใช้ฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วเต็มที่ โดยตอนนี้กำลังพัฒนาอยู่พร้อมๆ กับการรองรับ Adobe Flash
ปีหน้าอาจจะเป็นปีที่ x86 กลับมาประกาศความยิ่งใหญ่ในตลาดแท็บเล็ตอีกครั้งก็ได้
ที่มา - Engadget
ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงงาน IDF 2011 อินเทลยังคงมีของมาโชว์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เทคโนโลยีตัวแรกคือซีพียูตัวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Near Threshold Voltage (NTV) โดยมีชื่อรหัสว่า Claremont เป็นชิปสาธิตการทำงานของซีพียูที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษให้ทำงานที่ใกล้กับความต่างศักย์เริ่มเปลี่ยน (Threshold Voltage - ค่าความต่างศักย์ที่เริ่มทำให้ทรานซิสเตอร์เปลี่ยนสถานะ) โดย Claremont จะทำงานที่ความต่างศักย์ประมาณ 400-500 มิลลิโวลต์เท่านั้น ขณะที่ซีพียูทั่วไปทุกวันนี้จะทำงานประมาณ 1 โวลต์ขึ้นไป
ยุทธศาสตร์ของอินเทลนั้นสนับสนุน Thunderbolt เหนือ USB 3.0 อย่างชัดเจน แต่ที่ผ่านๆ มายังมีเพียงแอปเปิลเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่เพียงรายเดียว (มีโซนี่อีกเล็กน้อย) ทำให้กำลังของค่าย Thunderbolt ยังดูไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับฝั่ง USB 3.0 ที่มีอุปกรณ์ออกมาเยอะแล้ว
แต่ที่งาน IDF 2011 ผู้บริหารของอินเทลก็ประกาศพันธมิตรสองรายใหม่ ได้แก่สองยักษ์จากไต้หวัน Acer และ ASUS ที่จะใช้ Thunderbolt ใน Ultrabook รุ่นที่จะออกปีหน้า (มาพร้อมกับ Ivy Bridge?)
ที่มา - PC World
Classmate PC นั้นเป็นต้นแบบของเน็ตบุ๊กในทุกวันนี้โดย และในงาน IDF ปีนี้ทางอินเทลก็ได้อัพเดต Classmate PC รุ่นล่าสุดที่ใช้ชิปเซ็ต Cedar Trail ออกมาแล้ว พร้อมกับต้นแบบเน็ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ
ตัว Classmate PC รุ่นนี้จอภาพจะเป็นจอสัมผัสพร้อมปากกา มันสามารถพับหน้าจอเพื่อทำเป็นแท็บเล็ตได้ โดยความแตกต่างของ Classmate PC กับเน็ตบุ๊กคือ Classmate PC จะถูกทดสอบความทนทานหนักกว่าเพื่อให้ทนต่อการใช้งานของเด็กๆ ได้ ผมเคยทราบว่ารุ่นแรกนั้นต้องทนต่อการตกจากความสูงประมาณ 1 เมตร และคีย์บอร์ดต้องทนทานต่อน้ำหกใส่พอสมควร
แม้ว่าเมื่อวานนี้ Andy Rubin จะโชว์แค่ Android 2.3 บนเวที แต่ที่บูตแสดงเทคโนโลยีก็มีการสาธิตแท็บเล็ต Medfield ที่ใช้ Honeycomb แล้ว
ทางอินเทลยังไม่อนุญาตให้นักข่าวลองเล่นแท็บเล็ตด้วยตัวเอง ทำให้ไม่มีรายละเอียดออกมามากนัก ที่แน่ๆ คือแท็บเล็ตรุ่นนี้จะมาพร้อม NFC ในตัว โดยดูได้จากป้ายบอกตำแหน่งเครื่องอ่าน NFC ด้านหลัง
ถ้างานเปิดตัว Android 4 ที่จะมาถึงนี้ยังมีอินเทลมาร่วมงาน ปีหน้าคงเป็นปีที่ตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่เหล่านี้จะมีสินค้าแปลกๆ ออกมาอีกชุดใหญ่
ที่มา - Engadget
ไฮไลท์ของงาน Intel Developer Forum 2011 อยู่ที่ความร่วมมือกับกูเกิลในการพัฒนา Android บน Atom แต่ประกาศอื่นๆ ในงานก็มีสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน
หลังจากอินเทลประกาศพอร์ต Android 2.3 ลง x86 ไปแล้วความสงสัยก็คืออินเทลจะทำหน้าที่ในการพอร์ตไปเรื่อยๆ โดยไม่เข้าไปร่วมมือกับทางกูเกิลโดยตรงหรือไม่ เพราะบริษัทอื่นๆ เช่น MIPS ก็เคยพอร์ต Android มาอยู่บนแพลตฟอร์มของตัวเอง แต่เมื่อกูเกิลไม่สนใจรวมโค้ดเข้าไว้ในโครงการผู้ผลิตก็จะไม่กล้าใช้งานจนกระทั่งไม่มีผลิตภัณฑ์ออกมาในที่สุด
แต่วันนี้ที่งาน IDF Andy Rubin ก็ขึ้นเวทีประกาศความร่วมมือระหว่างสองบริษัทอย่างเป็นทางการ
Android บนสถาปัตยกรรม x86 ไม่ใช่เรื่องใหม่ และในตลาดก็มีผลิตภัณฑ์ออกวางขายแล้ว เช่น Google TV ซึ่งก็คือ Android รุ่นปรับแต่งที่รันบนซีพียู Atom CE จากอินเทล นอกจากนี้ยังมีโครงการที่พัฒนาโดยชุมชนโอเพนซอร์ส นำ Android 2.3 Gingerbread มารันบนซีพียู x86 ได้บ้างแล้ว
แต่คราวนี้เป็นโครงการของอินเทลเอง ในการพอร์ต Android 2.3 Gingerbread มาลง Atom รุ่น E6xx (สำหรับ embedded system) ซึ่งอินเทลระบุว่าจะเสร็จให้ใช้งานช่วงเดือนมกราคม 2012
การเลือกพอร์ต Android 2.3 Gingerbread ถือว่าน่าสนใจ เพราะ Ice Cream Sandwich กำลังจะออกในเร็วๆ นี้ จึงเป็นไปได้ว่าอินเทลเองไม่ใช่พันธมิตรใกล้ชิดของกูเกิล ที่ร่วมพัฒนา Ice Cream Sandwich?
ช่วงหลังอินเทลหันมาใช้ระบบออกรุ่นซีพียูใหม่ปีละครั้ง (ตามยุทธศาสตร์ Tick Tock Model) โดยตอนนี้เราอยู่ในช่วง Tock (Sandy Bridge) และรอเข้าสู่รอบ Tick (Ivy Bridge)
แต่ยุทธศาสตร์นี้ก็ไม่ได้แปลว่าอินเทลจะไม่อัพเกรดซีพียูระหว่างรอบเสียเลย ซึ่งอินเทลเองก็ประกาศไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วว่า เราจะได้เห็น Sandy Bridge-E ซึ่งเป็นการอัพเกรดระหว่างรอบ (mid-cycle) ช่วงไตรมาสที่สี่ของปี (ตัว E ย่อมาจาก Enthusiast หมายถึงกลุ่มที่เน้น overclock)
หลังการเปลี่ยนนโยบายของโนเกียนอกจาก Symbian ที่ดูเคว้งคว้างเพราะถูกวางแผนทิ้งอย่างเป็นทางการแล้ว MeeGo เองก็ถูกประกาศลดความสำคัญลงเป็นเพียงโครงการทดลองของโนเกียเท่านั้น ทำให้เกิดคำถามว่าแล้วฝั่งอินเทลที่ร่วมกับโนเกียด้วยกันมาจะทำอย่างไร และวันนี้ทาง DigiTimes ก็อ้างแหล่งข่าวในวงการว่าอินเทลกำลังจะหยุดการพัฒนา MeeGo แล้วพยายามเข้าร่วมกับ Android หรือ Windows Phone เพื่อให้รองรับ x86 แทน
ทางอินเทลปฎิเสธจะให้ความเห็นกับข่าวลือและยืนยันว่าบริษัทยังคงทำงานกับชุมชน MeeGo ต่อไป แต่จนวันนี้ก็ยังไม่มีผู้ผลิตรายหลักๆ รายใดแสดงตัวว่าจะผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ MeeGo อย่างเป็นทางการนอกจาก Nokia N9 เท่านั้น
ที่มา - DigiTimes
ข่าวอัลตร้าบุ๊ก (Ultrabook) นั้นออกมาจากฝั่งอินเทลเป็นส่วนมาก วันนี้ที่งาน IFA ฝั่งผู้ผลิตก็เริ่มเปิดตัวโน้ตบุ๊กในตระกูลนี้กันออกมาเรื่อยๆ แล้ว เริ่มจากวันนี้คือ Lenovo ที่เปิดตัว IdeaPad U300s และโตชิบาเปิดตัว Z830
IdeaPad U300s เป็นรุ่นบางที่สุดในบรรดาตระกูล IdeaPad U มันมาพร้อมกับซีพียู Core i7, Intel Turbo Boost, หน้าจอ 13.3 นิ้ว, ความหนา 14.9 มิลลิเมตรแบบ unibody
ความบางนี้อาศัยการระบายความร้อนผ่านช่องคีย์บอร์ดเป็นทางให้ลมเข้า และไประบายออกทางด้านหลัง ดังั้นการหวังให้คีย์บอร์ดกันน้ำคงทำได้ยาก
Intel เปิดตัว CPU ในตระกูล Itanium รุ่นใหม่ ในชื่อรหัส Poulson โดยเป็นการอัพเกรดจากรุ่นก่อนหน้า Tukwila ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2008
Poulson ถูกผลิตด้วยวิธีการผลิตแบบ 32nm โดยจะมีจำนวนทรานซิสเตอร์สูงถึงสามพันล้านตัว และมีจำนวนคอร์สูงสุดถึง 8 คอร์ นอกจากนี้ Poulson มีฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Intel Instruction Replay Technology ซึ่งเป็นการเพิ่มบัฟเฟอร์สำหรับชุดคำสั่ง ทำให้เมื่อการคาดเดาคำสั่งผิดพลาด ซีพียูจะสามารถเลือกเอาชุดคำสั่งที่ถูกต้องอันล่าสุดจากบัฟเฟอร์แทนที่จะต้องฟลัชคำสั่้งทั้งหมดที่อยู่ในไปป์ไลน์ทิ้ง
ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเอา Poulson แทนที่ Tukwila บนเมนบอร์ดเดิมได้เลย เพราะว่า Poulson ใช้ซ๊อคเก็ตเดียวกับ Tukwila ครับ
Cnet รายงานว่าอินเทลเองก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าพวกเขาได้ยินมาว่าแอปเปิลเตรียมออกสินค้าตระกูลใหม่ และความเป็นไปได้ที่สินค้าตระกูลดังกล่าวนี้คือคอมพิวเตอร์พกพาที่เปลี่ยนจากการใช้งานชิปของอินเทลมาเป็น ARM แทน
โดยนาย Greg Welch ผู้บริหารฝ่าย Ultrabook ของอินเทลกล่าวว่าเขาก็ได้ยินข่าวนี้จากสายของอินเทลมาเช่นกัน และอินเทลเองก็ไม่อาจที่จะมองข้ามข่าวเหล่านี้ไปได้ เราจึงต้องพยายามที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้แอปเปิลเลือกเราเป็นซัพพลายเออร์ต่อไป