ใกล้จะถึงงานประจำปีของอินเทลที่จะเป็นประจำทุกปีแล้ว โดยในปีนี้มีขึ้นในวันที่ 11-13 กันยายนที่จะถึงในสัปดาห์หน้า ก่อนเริ่มงานก็มีข้อมูลจากทางอินเทลออกมาบ้างแล้ว ซึ่งทางอินเทลได้บอกกับ The Verge ว่าในปีนี้จะมีชิปรุ่นหนึ่งที่ทางอินเทลตั้งใจพัฒนามาเพื่ออัลตร้าบุ๊กโดยเฉพาะ คุณสมบัติเด่นของชิปตัวนี้คือเป็นชิปแบบ SoC ที่มี TDP เพียง 10 วัตต์เท่านั้น
เมื่อดูจากข้อมูลของ Haswell (สถาปัตยกรรมต่อไปของอินเทล) ที่เคยหลุดมาเมื่อปีที่แล้ว ระบุไว้ว่าชิปรุ่นกินไฟต่ำสุดจะมี TDP อยู่ที่ 15 วัตต์ (ส่วน Ivy Bridge อยู่ที่ 17 วัตต์)
เว็บไซต์ Pocket-lint ได้รับคำยืนยันจากโมโตโรลาว่า RAZR M น้องเล็กสุดที่เปิดตัวเมื่อคืนนี้ (แต่มีจุดขายคือจอแบบ edge-to-edge ติดขอบเครื่อง) จะมีอีกเวอร์ชันที่ขายในอังกฤษ และใช้ซีพียูของอินเทล
ตามข่าวบอกว่าหน้าตาของมือถือตัวนี้จะคล้ายกับ RAZR M แต่เปลี่ยนชื่อรุ่น-เปลี่ยนชิป และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
ข่าวนี้สอดคล้องกับข่าว Motorola เตรียมเปิดตัวมือถือพลัง x86 วันที่ 18 กันยายน ซึ่งใช้สโลแกนว่า "Let us take you to the edge" พร้อม hashtag #motoedge และเป็นไปได้สูงว่าจะใช้ชื่อ Motorola Edge ทำตลาด
Intel Xeon Phi เปิดตัวมานาน แม้เราจะรู้ว่ามันเป็นชิปในตระกูล MIC แต่ก็ไม่เคยมีรายละเอียดออกมาจริงจังว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นอย่างไร แต่หลังจากงาน Hotchips ปีนี้อินเทลก็เริ่มเปิดเผยรายละเอียดภายในของ Phi แล้ว
George Chrysos หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมของ Phi ระบุว่าการออกแบบทำเพื่อจุดมุ่งหมายสามประการ คือ
ระบบระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีหากันมาตลอด เพราะค่าพลังงานสำหรับระบบระบายความร้อนเป็นต้นทุนก้อนใหญ่สำหรับบริษัทเหล่านี้ บริษัทเช่นกูเกิลเคยใช้ระบบระบายความร้อนด้วยลมในประเทศที่หนาวเย็นมาแล้ว แต่อินเทลเสนอแนวทางใหม่คือการใช้น้ำมันมาหล่อเย็นแทนอากาศตามปกติ
ความได้เปรียบของน้ำมันคือค่าความจุความร้อน (heat capacity) นั้นอยู่ที่ประมาณ 2.0 ตามประเภทของน้ำมัน (ดูรายการค่าความจุความร้อนของน้ำมัน) ขณะที่อากาศนั้นประมาณ 1.0 เท่านั้น แสดงว่าน้ำมันที่ไหลผ่านชิ้นส่วนต่างๆ ในปริมาตรเท่ากันสามารถพาความร้อนออกไปจากชิ้นส่วนได้มากกว่าถึงสองเท่าตัว
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมามีงานเกี่ยวกับ Cloud สองงานคืองาน Red Hat Forum 2012 กับงาน Intel APAC Cloud Summit 2012 จัดพร้อมๆ กัน โดยเป็นการอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีหลายตัวที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ ในส่วนของอินเทลเองเป็นส่วนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Xeon รุ่นใหม่ๆ และการเปิดตัว Open Data Center Alliance
ในส่วนของแพลตฟอร์มของอินเทลเองนั้น อินเทลแสดงความพร้อมในการบุกตลาดการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆด้วยชิป Xeon, Phi (ชิปช่วยประมวลผลพิเศษ), และ Atom
อินเทลเดินหน้าพัฒนาระบบชาร์จไฟแบบไร้สายของตัวเอง (ชื่อที่อินเทลเรียกคือ Wireless Charging Technology - WCT) ล่าสุดประกาศเซ็นสัญญากับบริษัท Integrated Device Technology, Inc. (IDT) ผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านอะนาล็อกและดิจิทัลรายใหญ่ เพื่อผลิตชิปเซ็ตตามเทคโนโลยีของอินเทลแล้ว
อินเทลระบุว่าต้องการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับโน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และพีซีในอนาคต การเลือกเซ็นสัญญากับ IDT เป็นเพราะ IDT มีความเชี่ยวชาญเรื่องการชาร์จไฟไร้สาย และมีประสบการณ์ด้านการผลิตภาคส่ง-ภาครับมานาน รวมถึงการผลิตอุปกรณ์ได้ราคาถูกและมีขนาดเล็กด้วย
IDT ระบุว่าผลิตภัณฑ์รุ่นต้นแบบน่าจะเปิดตัวช่วงปีหน้า 2013 แต่อินเทลก็ยังไม่ยืนยันว่าเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์เวอร์ชันวางขายจริงเมื่อไร
เมื่อต้นปีนี้เราเห็นข่าว อินเทลเปิดตัว Atom Z2460 "Medfield" สำหรับโทรศัพท์มือถือ โดยมีพาร์ทเนอร์ร่วมเปิดตัวคือ Motorola/Lenovo
เวลาผ่านไปครึ่งปีกว่า เราเห็นข่าว Lenovo เริ่มขาย LePhone K800 มือถือพลัง Atom ในประเทศจีน และมือถือ x86 จากค่ายอื่นๆ เช่น Orange, Xolo, MegaFone แต่ยังไม่เห็นข่าวคราวของ Motorola สักที
การแข่งขันระหว่าง Atom กับ ARM ตอนนี้ยังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากที่เราเห็น ARM บุกตลาดเข้าหาอินเทลมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งแท็บเล็ตที่กินตลาดเน็ตบุ๊ก และเริ่มใช้งานได้ใกล้เคียงโน้ตบุ๊กรุ่นล่าง ทางอินเทลที่ผ่านมาก็บอกมาตลอดว่ามีสินค้าพร้อมจะต่อสู้ในตลาดนี้ แต่ Medfield เองนั้นก็ยังทำได้ไม่ดีนัก ล่าสุดเอกสารหลุดจากทางจีนได้แสดงให้เห็นว่าปลายปีหน้า อินเทลจะมีอะไรมาสู้กับ ARM ในยกต่อไป
Valleyview เป็นชื่อรหัสของ Atom รุ่นต่อไปที่เป็น SoC ทั้งหมด แสดงว่าแพลตฟอร์มรุ่นต่อไปจะลดจำนวนชิปและความซับซ้อนของบอร์ดลงมาก
สเปคของชิปได้แก่
หน้าใหม่วงการแอนดรอยด์อย่างอินเทล ยังคงพยายามขยายฐานตัวเองต่อไป คราวนี้จับมือกับเครือข่ายรัสเซีย MegaFon เปิดตัวมือถือพลัง Atom ในชื่อรุ่น MegaFon Mint
สเปคของ Mint นั้นเหมือนกับ San Diego ที่เปิดตัวกับเครือข่าย Orange ของฝรั่งเศสทุกประการคือใช้ Atom Z2460 "Medfield" คอร์เดี่ยวความถี่ 1.6GHz หน้าจอขนาด 4" ความละเอียด 1024x600 พิกเซล
Mint มาพร้อมกับ Gingerbread เหมือนกับรุ่นก่อนๆ ที่เริ่มวางขายแล้ว แต่ฝั่ง MegaFon คงปรับแต่งหน้าโฮมสกรีนได้ระดับหนึ่ง (ดูจากภาพน่าจะเป็น SPB Shell 3D)
ค่าตัวของ Mint เปิดมาที่ 17,990 รูเบิล (ประมาณ 18,000 บาท) วางขายแล้ววันนี้ครับ
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Enough Project เปิดเผยรายงาน Taking Conflict Out of Consumer Gadgets ที่กล่าวถึงการใช้แร่ธาตุ อาทิ แทนทาลัม ดีบุก ทังสเตน ของเหล่าบริษัทไอทีชั้นนำ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งของผู้คนในประเทศต่างๆ โดยองค์กรดังกล่าวได้ประเมินและจัดอันดับแต่ละบริษัทบนพื้นฐานของความพยายามที่จะติดตามและตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของตนว่านำแร่ธาตุมาจากประเทศที่มีความขัดแย้งหรือความไม่แน่นอนทางการเมืองหรือไม่ รวมถึงการรับรองทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
ข่าวบริษัทเว็บใหญ่ๆ เริ่มสั่งเครื่องรุ่นพิเศษจากผู้ผลิต เช่น Gigabyte หรือ Asus นั้นเป็นเรื่องที่รู้กันมานานแล้ว แต่อินเทลก็ออกมาเปิดเผยว่าในบรรดาบริษัทเหล่านั้น กูเกิลเป็นบริษัทที่แปลกกว่าบริษัทอื่นเพราะสั่งชิปตรงจากอินเทล แล้วประกอบเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดด้วยตัวเอง
ข่าวที่ว่ากูเกิลซื้อชิปตรงจากอินเทลเป็นข่าวมานาน แต่ทั้งหมดไม่มีการยืนยันจากทั้งสองบริษัท และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่อินเทลออกมายืนยันเอง
Diane Bryant ผู้จัดการฝ่ายกลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลของอินเทลระบุว่า กูเกิลเป็นผู้ให้บริการแบบกลุ่มเมฆรายเดียวที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งเซิร์ฟเวอร์, สตอเรจ, และเครือข่ายด้วยตัวเอง โดย Mercury Research ประมาณว่ากูเกิลซื้อชิปสำหรับผลิตเซิร์ฟเวอร์ปีละ 1.6 ล้านตัวหรือ 10% ของตลาดรวม
DigiTimes รายงานว่า อินเทลอาจผลักดันเทคโนโลยีการชาร์จไฟแบบไร้สายที่บริษัทคิดค้นขึ้นเองลงอัลตร้าบุ๊กและสมาร์ทโฟนบนแพลตฟอร์มของบริษัทในครึ่งปีหลังของปีหน้า
แหล่งข่าวระบุว่า เทคโนโลยีการชาร์จไฟแบบไร้สายของอินเทลนั้นจะใช้อัลตร้าบุ๊กที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อการชาร์จไฟแบบไร้สายโดยเฉพาะเป็นแหล่งจ่ายพลังงาน และตัวส่ง (transmitter) เพื่อชาร์จไฟแบบไร้สายให้สมาร์ทโฟน นอกจากนั้นเทคโนโลยีนี้จะมีฟีเจอร์ลดการใช้พลังงานและสมาร์ทโฟนที่จะชาร์จไฟก็ไม่จำเป็นต้องวางอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อทำการชาร์จไฟ
บริษัท Futuremark เจ้าของซอฟต์แวร์เบนช์มาร์คชื่อดังหลายตัว ประกาศว่าเบนช์มาร์คสำหรับเกมอย่าง 3DMark จะลง Android ภายในปีนี้
3DMark for Android จะถูกพัฒนาคู่ขนานไปกับ 3DMark for Windows ที่จะออกรุ่นใหม่ในปีนี้เช่นกัน โดยคะแนนที่ได้สามารถนำมาเปรียบเทียบกันโดยตรงได้ด้วย การออก 3DMark บน Android น่าจะช่วยสร้างมาตรฐานกับเกมสามมิติมากขึ้น ทั้งในหมู่นักพัฒนาเกมเองและหมู่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตด้วย
งานนี้ Futuremark ได้พันธมิตรฮาร์ดแวร์ร่วมพัฒนา 3DMark for Android หลายราย ได้แก่ Acer, Intel, Qualcomm และยังมี Optus โอเปอเรเตอร์อันดับสองของออสเตรเลีย
อินเทลเป็นอีกค่ายที่พัฒนา Android 4.1 Jelly Bean ลงแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ของตัวเอง ล่าสุดบริษัทออกมาประกาศแล้วว่ากำลังทำ Jelly Bean เวอร์ชัน x86 สำหรับมือถือ-แท็บเล็ต Atom อยู่
อินเทลยังไม่ประกาศช่วงเวลาแน่ชัดว่าเราจะได้เห็น Jelly Bean บน Atom เมื่อไร บอกแค่ว่ากำลังทำงานร่วมกับกูเกิลอย่างใกล้ชิด
ในการประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสที่สองปี 2012 นั้น Paul Otellini ซีอีโอของอินเทลประกาศว่า ณ เวลานี้มี Windows 8 แท็บเล็ตที่ใช้ชิป Atom ตระกูล Clover Trail มากกว่า 20 รุ่น และมีอัลตร้าบุ๊กที่ใช้ชิปตระกูล Ivy Bridge อยู่ 140 รุ่น (สูงขึ้นจากเดิมที่อินเทลยืนยันว่ามี 110 รุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา) ซึ่งประกอบไปด้วยรูปแบบของเครื่อง (form factor) ชนิดอัลตร้าบุ๊กที่มีหน้าจอสัมผัสมากกว่า 40 รุ่น และชนิดอัลตร้าบุ๊กที่พับแปลงเป็นแท็บเล็ตได้ (convertible) อีก 12 รุ่น
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่สองปี 2012 โดยมีรายได้สุทธิ 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน กำไรสุทธิคิดเป็น 2.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมา 3% โดยกลุ่มสินค้าดาต้าเซ็นเตอร์มีการเติบโตสูงสุดคือ 14% ขณะที่กลุ่มพีซีเติบโต 3%
Paul Otellini ซีอีโออินเทลกล่าวว่าไตรมาสนี้อินเทลยังคงแสดงความแข็งแกร่งในหลายกลุ่มสินค้า ขณะเดียวกันก็มองว่าไตรมาสหน้าการเติบโตน่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลก โดยในครึ่งปีหลังนี้อินเทลยังมีสินค้าใหม่ทั้งกลุ่ม Ultrabook และซีพียูสำหรับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนอีกด้วย
ที่มา: อินเทล
อินเทลประกาศเข้าซื้อบริษัท Whamcloud ผู้พัฒนาระบบไฟล์ Lustre ที่ใช้งานกันบนระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ โดยบริษัท Whamcloud จะกลายเป็นฝ่าย High Performance Data ของอินเทล และ Brent Gorda ซีอีโอของบริษัท Whamcloud ก็กลายเป็นผู้จัดการของฝ่ายใหม่นี้
Lustre นั้นเป็นผู้เล่นรายสำคัญของระบบไฟล์ในซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ คู่แข่งของมันเช่น GPFS ของไอบีเอ็ม หรือ HDFS จากฝั่ง Hadoop ของ Apache
การที่อินเทลลงมาเล่นตลาดนี้เองก็ไม่แปลกนัก เพราะตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เองก็มีมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ฝั่งผู้ครองตลาดอย่างไอบีเอ็มนั้นก็ไม่ได้เป็นพาร์ตเนอร์กับอินเทลเพียงอย่างเดียวแต่มีชิป POWER ของตัวเองไว้ขายแทนกันด้วย
อินเทลประกาศลงทุนในบริษัท ASML Holding NV ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตชิปสัญชาติเนเธอร์แลนด์ โดยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งหมดประมาณ 4,100 ล้านดอลลาร์ จุดประสงค์หลักเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตชิปด้วยแผ่นเวเฟอร์ขนาด 450 มิลลิเมตร และกระบวนการ lithography ด้วยแสง extreme ultra-violet (EUV)
หากกระบวนการทั้งหมดผ่านไปได้ด้วยดี ภายใน 5 ปีข้างหน้า อินเทลจะเข้าไปถือหุ้นของ ASML ทั้งหมด 15% และจ่ายเงินลงทุนเพื่อการวิจัยไปอีก 1020 ล้านดอลลาร์
กระบวนการผลิตชิปด้วยเวเฟอร์ขนาดใหญ่ช่วยลดค่าใช้จ่ายรวมต่อชิปลง โดยการอัพเกรดกระบวนการผลิตครั้งล่าสุด อินเทลลดค่าใช้จ่ายในการผลิตชิปไปได้ 30-40% หลังการอัพเกรด คาดว่าการอัพเกรดไปเป็นเวเฟอร์ขนาด 450 มิลลิเมตรก็จะลดต้นทุนได้มากเช่นเดียวกัน
อิลเทลเคยให้ข่าวอยู่เสมอว่าอัลตร้าบุ๊กนั้นจะกลายเป็นตลาดหลักของโน้ตบุ๊ก แต่จนวันนี้อัลตร้าบุ๊กส่วนมากก็ยังมีราคาประมาณ 1,000 ดอลลาร์ สูงกว่าราคาที่อินเทลคาดไว้ถึง 200 ดอลลาร์ ขณะที่แท็บเล็ตจำนวนมาก ที่น้ำหนักเบากว่ากำลังกินตลาดโน้ตบุ๊กไปเรื่อยๆ นักวิเคราะห์จึงคาดว่าอินเทลน่าจะยอมลดราคา Core i3 ลงเพื่อให้อัลตร้าบุ๊กลดราคาและชิงส่วนแบ่งตลาดมาได้
รายงานอ้างหนังสือพิมพ์จีน The Commercial Times ที่ระบุว่าอินเทลเตรียมจะลดราคา Core i3 ลงอีก 25 ถึง 27 ดอลลาร์ จากตอนนี้ราคา 225 ดอลลาร์
คดีฟ้องร้องระหว่างเอชพี และออราเคิลในประเด็นที่ออราเคิลเลิกซัพพอร์ตซีพียูตระกูล Itanium ของอินเทล ซึ่งส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ในตระกูลเซิร์ฟเวอร์ของเอชพีเป็นมูลค่าสูงสุดถึงหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ล่าสุดเอชพีออกมายื่นคำร้องต่อศาลให้ออราเคิลยังคงซัพพอร์ตเซิร์ฟเวอร์เอชพีที่ใช้ซีพียู Itanium จนกว่าเอชพีจะเลิกขาย โดยอ้างว่าออราเคิลเคยทำสัญญากับเอชพีในช่วงที่ Mark Hurd ยังเป็นซีอีโออยู่ ส่วน Hurd ที่ในขณะนี้ทำงานอยู่กับออราเคิลออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีข้อสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้น
สงครามน้ำลายระหว่างโลกโอเพนซอร์สกับกับผู้ผลิตชิปกราฟิกนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมาที่ดูจะไม่มีวันจบ เช่น NVIDIA ที่ถูกไลนัสด่ากลางงานสัมมนา แม้ AMD จะเป็นมิตรด้วยการส่งโปรแกรมเมอร์มาช่วยโครงการโอเพนซอร์สบ้างและเปิดเอกสารบางส่วนแต่ก็ยังล้าหลังไดร์เวอร์ปิดซอร์สอยู่มาก แต่รายที่เป็นมิตรกับลินุกซ์ที่สุดคืออินเทลนั้นวันนี้ก็เดินหน้ามาอีกขั้นด้วยการเปิดเอกสาร API ของซีพียูทั้งหมด ทั้งส่วนของ CPU และ GPU ความหนากว่า 2,400 หน้าอธิบายกระบวนการทำงานภายในอย่างละเอียด
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์เผยบทความที่อธิบายที่มาที่ไปของการที่ไมโครซอฟท์ทำแท็บเล็ตของตัวเองในชื่อ Surface โดยกล่าวว่าเกิดจากบริษัทฯ และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไม่สามารถต่อกรกับ iPad ของแอปเปิลได้ เนื่องด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน โดยหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้รวบรวมและวิเคราะห์ไว้ ดังนี้
US-CERT ออกมาแจ้งเตือนช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนซีพียูของ Intel ซึ่งช่องโหว่นี้อนุญาตให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งที่เป็นอันตรายต่อระบบด้วยสิทธิ์ของเคอร์เนล แม้ผู้โจมตีจะไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใดๆ อยู่บนเครื่องเป้าหมายเลยก็ตาม
จากการทดสอบนั้นช่องโหว่นี้ส่งผลต่อระบบปฏิบัติการแบบ x64 บางส่วนคือ Windows 7, FreeBSD และ NetBSD รวมไปถึง Xen Hypervisor ในส่วนซอฟต์แวร์ของ VMware และซีพียูของ AMD จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เพราะไม่มีการเรียกใช้ฟังก์ชัน SYSRET ที่ทำให้เกิดช่องโหว่นี้
อินเทลเปิดตัวการ์ดช่วยประมวลผล Intel® Xeon® Phi™ ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวมีพลังประมวลผล 1 เทราฟลอป คาดว่าการ์ด Phi นั้นคือชื่อทางการของ Knights Ferry และ Knights Corners ที่ประกาศออกมาโดยไม่มีสินค้าวางขาย (แต่ให้กับพาร์ทเนอร์สำคัญไปทดลองเท่านั้น)
Next Unit of Computing (NUC) บอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจากอินเทลที่มีขนาดเพียง 10x10 ซม. สเปคด้านในเป็น Sandy Bridge Core i3/i5 มีพอร์ตสมัยใหม่ครบครัน
ในงาน Computex ที่ไต้หวัน อินเทลได้นำเจ้า NUC นี้มาโชว์ตัวพร้อมด้วย โดยสเปคเบื้องต้นคาดว่าจะใช้บอร์ดชิปเซ็ต HM65 และอาจใช้พอร์ต USB 2.0 สามพอร์ตแทน USB 3.0 สองพอร์ตตามข่าวก่อนหน้า แรมเริ่มต้นอยู่ที่ 4GB และใช้ SSD ความจุ 40GB รุ่นนี้จะวางขายไตรมาสสามนี้ ด้วยราคา 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ
และในไตรมาสสี่ จะมีอีกหนึ่งรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ตซีรีส์ 7 พร้อมกับ USB 3.0, พอร์ต Thunderbolt และคาดว่าจะมีรุ่นราคาถูกที่ใช้ซีพียู Celeron อีกด้วย