มีแหล่งข่าวไม่ยืนยันรายงานว่า Apple เตรียมเริ่มแผนการผลิตชิป A7 สำหรับ iPhone รุ่นถัดไป โดยครั้งนี้ นอกจาก Samsung แล้ว Apple จะเริ่มหันไปว่าจ้าง TSMC และ Intel ให้ผลิตชิปดังกล่าวด้วย
แหล่งข่าวระบุว่า Apple จะว่าจ้าง Samsung ให้ผลิตชิปราว 50% ของจำนวนชิปที่ต้องการผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะว่าจ้างให้ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันอย่าง TSMC ดำเนินการราว 40% และในส่วนสุดท้ายอีกประมาณ 10% จะผลิตโดย Intel
XOLO ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเจ้าแรกๆ ที่หยิบเอาชิป Atom ของอินเทลมาใช้ในสมาร์ทโฟน ประกาศวันเปิดตัวสมาร์ทโฟนตัวใหม่ในชื่องาน "Mission X" พร้อมคำโปรย "Fastest smartphone ever, with Intel Inside" ที่น่าสนใจคือ XOLO เลือกเปิดตัวในวันที่ 14 มีนาคม วันเดียวกับงานเปิดตัว Galaxy S IV นั่นเอง
แต่ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ XOLO นั้นจัดงานที่เมืองกัว ประเทศอินเดียเวลา 16:00 น. (ตรงกับ 17:30 น. ของบ้านเรา) ซึ่งเร็วกว่างานของ Galaxy S IV ที่นิวยอร์กอย่างแน่นอน
กลายเป็นข่าวลือสะท้านวงการเมื่อแหล่งข่าววงในออกมาเผยว่าแอปเปิลเคยคุยตกลงกับอินเทลให้ผลิตชิป ARM กับอุปกรณ์ของแอปเปิลเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา
จากรายละเอียดที่ออกมาสัญญาที่แอปเปิลตกลงกับอินเทลนั้นไม่ได้ต่างกับที่ซัมซุงทำให้ในปัจจุบัน โดยเหตุผลของแอปเปิลนั่นคือการลดการพึ่งพิงซัมซุงอย่างที่เคยมีข่าวมานั่นเอง ซึ่งตรงจุดนี้โรงงานผลิตชิปของอินเทลน่าจะทดแทนได้อย่างไร้รอยต่อ เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น
BlueStacks ได้ผู้สนับสนุนเพิ่มเติมเป็น Intel Capital บริษัทลงทุนของอินเทล โดย Intel Capital เข้าซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งของ BlueStacks (ไม่เปิดเผยตัวเลข)
เป้าหมายของอินเทลคงเป็นการผลักดันให้ BlueStacks ทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรม x86 ของอินเทลได้ดียิ่งขึ้น
ก่อนหน้านี้ BlueStacks เพิ่งมีความร่วมมือกับ AMD ไปแล้ว รวมถึงผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ อย่าง Lenovo และ ASUS ด้วย
ที่มา - VentureBeat
ZTE ประกาศทำมือถือที่ใช้ซีพียู Atom Clover Trail+ รุ่นล่าสุดที่อินเทลเพิ่งเปิดตัวในงาน MWC 2013
ซีพียูรุ่นที่ ZTE เลือกคือ Atom Z2580 ดูอัลคอร์ รองรับสัญญาณนาฬิกาสูงสุด 2.0GHz ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าเราจะเห็นผลิตภัณฑ์จริงเมื่อไร
ปีที่แล้ว ZTE วางขายมือถือ x86 ตัวแรกของบริษัทชื่อ ZTE Grand X IN เน้นตลาดยุโรปเป็นหลัก และเป็นมือถือขายดีมากในออสเตรีย
นอกจากมือถือ x86 แล้ว ZTE ยังมีโครงการร่วมบุกเบิกแพลตฟอร์มใหม่ๆ อีกมาก ทั้งมือถือ Tegra 4 และมือถือ Firefox OS
อินเทลประกาศเปิดตัว Hadoop เฟรมเวิร์ค MapReduce โอเพนซอร์สรุ่นพิเศษของตัวเอง ที่ใช้ฟีเจอร์ของชิป Xeon อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ชุดคำสั่งพิเศษอย่าง AES-NI หรือ SSE เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้ารหัสและการบีบอัด รวมถึงการจูนระบบไฟล์ HDFS ให้ทำงานเข้ากับ Intel SSD และการ์ด 10Gbps ของอินเทลได้ดีขึ้น
Hadoop เป็นซอฟต์แวร์ในกลุ่มการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ได้รับความนิยมจากภาคธุรกิจจำนวนมาก บริษัทขนาดใหญ่อย่าง EMC ไปจนถึงบริษัทสตาร์ตอัพจำนวนมาก
ที่งาน Mobile World Congress อินเทลเปิดตัวซีพียู Atom สำหรับแท็บเล็ตและสมาร์ตโฟน Merrifield เป็นชิปตัวแรกที่จะผลิตด้วยเทคโนโลยี 22 นาโนเมตร กำหนดการส่งมอบในไตรมาสที่สามของปีนี้ พร้อมกับชิปในแพลตฟอร์ม Clover Trail+ อีกหลายตัว
Merrifield จะเป็นชิปตัวแรกที่ใช้ส่วนกราฟิกของอินเทลเอง จากเดิมที่ต้องใช้ PowerVR มาโดยตลอด ขณะที่สถาปัตยกรรมภายในก็เปลี่ยนไปทั้งหมด (ใช้การประมวลคำสั่งแบบ out-of-order)
เมื่อปลายปีที่แล้ว อินเทลเผยข้อมูลของซีพียู Itanium รุ่นต่อไปรหัส "Kittson" โดยประกาศว่าจะแชร์ดีไซน์ซ็อคเก็ตระหว่าง Itanium กับ Xeon เข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นทิศทางในอนาคตว่า Itanium อาจถูกผนวกรวมกับ Xeon ในที่สุด
แต่ล่าสุดอินเทลเปลี่ยนใจเสียแล้ว บริษัทโพสต์ข้อความเรื่องนี้เงียบๆ บนเว็บไซต์ของตัวเองว่าแผนการแชร์ซ็อคเก็ตกับ Xeon ถูกเลื่อนออกไปในอนาคต ทำให้ Kittson ยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดิมของ Itanium 9300/9500 ในปัจจุบัน
ข่าวร้ายอีกข่าวคือ Kittson จะยังใช้กระบวนการผลิตที่ 32 นาโนเมตรเท่ากับรุ่นก่อนๆ ไม่ได้ลดขนาดลงเหมือนซีพียูตระกูลอื่นๆ ของตัวเองแต่อย่างใด
อินเทลประกาศเปิดโครงการ Android-IA บนเว็บ 01.org ที่เป็นเว็บรวมโครงการโอเพนซอร์สของอินเทลเองโดยซัพพอร์ตเครื่องแต่ละรุ่นแยกกัน ในชุดแรก ได้แก่ Acer Iconia W700, Lenovo X220t, Lenovo X230T, และ Samsung XE700T
อินเทลเป็นพันธมิตรในโครงการ Open Handset Alliance (OHA) และยังส่งโค้ดเข้าสู่โครงการหลักอยู่เสมอ แต่มีแพตซ์บางส่วนที่ไม่เหมาะที่จะโฮสต์บนโครงการหลัก จึงจะถูกส่งมาที่โครงการ Android-IA แทน อย่างโครงการชุดแรกที่เปิดมาก็เป็นการซัพพอร์ตเครื่องพีซีธรรมดาที่ใช้ซีพียู Sandy Bridge หรือ Ivy Bridge หรือบางครั้งกระบวนการรีวิวแพตซ์ที่ AOSP ยังไม่เสร็จก็สามารถมาดึงโค้ดไปจาก Android-IA ก่อนได้
Intel เตรียมขยายธุรกิจ ให้บริการอินเทอร์เน็ตทีวี และขายชุดกล่อง set-top ไปพร้อมกัน โดยจะเริ่มให้บริการภายในปีนี้
Erik Huggers รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Intel Media ให้สัมภาษณ์ถึงธุรกิจใหม่นี้ พร้อมทั้งระบุว่าขณะนี้ Intel กำลังเจรจากับผู้ผลิตเนื้อหารายการทีวีต่างๆ และในขณะเดียวกันพนักงานของ Intel หลายร้อยคนได้นำกล่อง set-top ที่ทำขึ้นใหม่ไปทดลองใช้งานที่บ้านแล้ว
Intel ยังเตรียมแผนที่จะทำรายการสด และบริการรายการทีวีตามความต้องการของผู้ชม (on-demand) นอกจากนี้ยังมีระบบการจำแนกกลุ่มผู้ชมโดยอาศัยข้อมูลภาพจากกล้องซึ่งติดอยู่กับกล่อง set-top เพื่อคัดสรรรายการและแสดงโฆษณาที่เหมาะสมด้วย
จากข่าวลืออินเทลซุ่มทำกล่องเซ็ตท็อปสำหรับทีวี ล่าสุดทาง Erik Huggers ผู้จัดการใหญ่ของ Intel Media ยืนยันบนเวทีงาน Dive Into Media ว่าอินเทลกำลังทำอินเทอร์เน็ตทีวีอยู่
ทีวีของอินเทลจะรับสัญญาณได้ทั้งทีวีแบบปกติ ทีวีย้อนหลัง ทีวีแบบออนดีมานด์ และแอพต่างๆ ส่วนฮาร์ดแวร์จะมีกล้องฝังมาในตัวและสามารถ "ดู" ผู้ชมทีวีกลับได้ (ปิดได้ถ้าไม่ต้องการ) เขาบอกว่าการใช้กล้องลักษณะนี้สามารถเชื่อมประสบการณ์ของผู้ชมรายการสดจำนวนมากพร้อมๆ กัน ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ส่วนการเข้ารหัสวิดีโอจะใช้ H.265 หรือ HEVC ซึ่งคุณภาพดีกว่า H.264 มาก
Ian Romanick ตัวแทนของอินเทลไปพูดที่งานสัมมนาโอเพนซอร์ส FOSDEM 2013 โดยเขาบอกว่าปัญหาของการเล่นเกมบนลินุกซ์ในปัจจุบันคือไม่มีซอฟต์แวร์กลางที่ช่วยให้เกมตรวจสอบฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องได้ ส่งผลต่อการปรับแต่งประสิทธิภาพของกราฟิกในเกม
ปัจจุบันวิธีที่ผู้สร้างเกมบนลินุกซ์ใช้กันคืออ่านค่าฮาร์ดแวร์จาก libpci แล้วแกะค่า vendor/device ID มาตรวจสอบหา GPU ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย แถมใช้กับระบบที่มี GPU หลายตัวไม่ได้
อินเทลประกาศว่าจะแก้ปัญหานี้โดยทำที่ระดับของไลบรารี Mesa ซึ่งมีกำหนดเสร็จในปีหน้า ถ้าหากว่าทางแก้นี้ทำงานได้จริงและ NVIDIA/AMD เข้าร่วมด้วย วงการเกมบนลินุกซ์ก็น่าจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าเพิ่งจะมีข่าวลือของทายาท Nexus 7 หน้าจอ Full HD ออกมา แต่ดูเหมือนไลน์แท็บเล็ตในปีนี้ของ ASUS จะยังไม่จบแค่นั้น เมื่อเว็บไซต์บัลแกเรีย Tablet.bg ได้ออกมาเผยข้อมูลของแท็บเล็ตอีกรุ่นในชื่อ ASUS Fonepad
ASUS Fonepad หรือที่หลุดมาในรหัส ME371MG เป็นแท็บเล็ตพลัง Atom Z2420 "Lexington" บนหน้าจอขนาด 7" ความละเอียด 1280x800 พิกเซล
อินเทลอัพเดตคอมไพเลอร์ ispc ที่ออกแบบมาเพื่อการคอมไพล์ให้ใช้ชุดคำสั่งแบบ SIMD ให้สามารถทำงานบนชิป Xeon และ Xeon Phi ได้
ispc เป็นคอมไพเลอร์ภาษาพิเศษโค้ดคล้ายกับภาษา C แต่การเรียกฟังก์ชั่นจะเป็นการแตกข้อมูลออกเป็นชุดๆ เพื่อรันบนชุดคำสั่งแบบเวคเตอร์ เช่น ชุดคำสั่ง SSE หรือชุดคำสั่ง AVX โดยอาศัยการ "คลี่" ลูปออกมา
งานวิจัยใหม่ของอินเทลที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเท็กซัสกำลังสร้าง microarchitecture ใหม่ที่เปิดให้ตัวซีพียูสามารถปรับตัวตามการใช้งานจริง เรียกว่า MorphCore โดยมันสามารถปรับแต่งตัวเองตามงานที่รันขณะนั้นได้
ซีพียูทุกวันนี้วิศวกรต้องออกแบบล่วงหน้าว่าการใช้งานจะเป็นงานประเภทใด และจัดเตรียมบัฟเฟอร์สำหรับงานต่างๆ ในซีพียู โดยเฉพาะการจัดเรียงชุดคำสั่งใหม่ เพราะซีพียูรุ่นใหม่ๆ ไม่ได้ประมวลผลตามลำดับที่ซอฟต์แวร์ถูกคอมไพล์มาตรงๆ อีกต่อไป แต่จัดลำดับคำสั่งใหม่ทั้งหมดตามความเหมาะสม โดยจะมีหน่วยความจำที่เก็บค่าผลลัพธ์ไว้ ในกรณีที่คำสั่งก่อนหน้า (ที่ถูกจัดลำดับเสียใหม่ให้ไปรันทีหลัง) กลับมีผลให้ยกเลิกคำสั่งที่ตามหลังมา ในบัฟเฟอร์เหล่านี้ก่อนที่จะเขียนผลลัพธ์ลงหน่วยความจำจริงๆ
มีคนไปพบประกาศรับสมัครงานบน LinkedIn ตำแหน่ง Windows Phone Engineer มาดูแลงานด้านวิศวกรรมและการออกแบบที่ออฟฟิศในเมืองเรดมอนด์ (เมืองเดียวกับที่บริษัทไมโครซอฟท์ตั้งอยู่)
ก่อนหน้านี้ Greg Sullivan ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโสของวินโดวส์โฟน เคยกล่าวที่งาน CES 2013 ว่าระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟนเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ส่วน Hermann Eul ประธานของ Mobile Communications Group ของอินเทลก็กล่าวว่าบริษัทเปิดรับแพลตฟอร์มวินโดวส์โฟนมารันบนชิปสถาปัตยกรรม x86
อินเทลเปิดเผยว่า ที่งาน Mobile World Congress (MWC) ที่จะถูกจัดขึ้นในเดือนหน้า บริษัทจะโชว์แอนดรอยด์สมาร์ทโฟนหลากรุ่นที่มากับ Atom Z2580
อินเทลเผยในงาน CES 2013 ว่า Atom Z2580 รหัส Clover Trail+ เหมาะกับสำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลาง เป็นซีพียูดูอัลคอร์, มี Hyper-Threading, จีพียูดูอัลคอร์, ประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่า Medfield หรือ Atom Z2460 ในปัจจุบันสองเท่าตัว
ที่งาน CES ที่ผ่านมา เลอโนโวได้เปิดตัว IdeaPhone K900 สมาร์ทโฟนตัวแรกที่มากับ Atom Z2580
วันนี้เอเซอร์เปิดตัวสมาร์ทโฟนพลังอินเทลตัวแรกของบริษัท แถมยังเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของโลกด้วย กับเจ้า Acer C1 ที่เปิดราคามาเบาๆ เพียง 9,990 บาทเท่านั้น
ฝั่งสเปคของ C1 นำทีมมาด้วย Atom รุ่นที่เพิ่งตัวในงาน CES อย่างเจ้า Atom Z2420 รหัส Lexington ความถี่ 1.2GHz ซิงเกิลคอร์ มี Hyper-Threading ส่วนสเปคอื่นๆ มีดังนี้ครับ
หลังจากอินเทลปล่อย Atom รุ่นใหม่สำหรับสมาร์ทโฟน หนึ่งในนั้นมีชิป Atom Z2420 รุ่นราคาถูกสำหรับเจาะตลาดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งวันนี้ถูกเครือข่ายในแอฟริกาจับไปใช้ทำสมาร์ทโฟนแล้ว
สมาร์ทโฟนพลัง Atom Z2420 ที่ว่านี้คือ Yolo ที่เตรียมขายผ่านเครือข่าย Safaricom แห่งประเทศเคนยาที่ตั้งราคาไว้เพียง 10,999 ชิลลิง (ประมาณ 3,800 บาท) พร้อมใช้อินเทอร์เน็ตฟรี 500MB ส่วนสเปคอื่นๆ มีดังนี้ครับ
Alan Cox นักพัฒนาหลักคนหนึ่งของโครงการลินุกซ์ประกาศลาออกจากอินเทลและการพัฒาลินุกซ์ด้วยเหตุผล "เรื่องครอบครัว" เขายืนยันซ้ำสองครั้งว่าเป็นเหตุผลครอบครัวไม่ใช่เรื่องงาน และเขาระบุว่าอาจจะกลับมาทำงานพัฒนาเคอร์เนลอีกในอนาคต
Alan Cox เข้าวงการลินุกซ์ครั้งแรกเมื่อเขานำลินุกซ์ไปติดตั้งบนเครื่องของชมรมคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยและพบบั๊กเน็ตเวิร์คจำนวนมาก เขาเป็นผู้ดูแลเคอร์เนลในสาย -ac มาตลอด มีอำนาจตัดสินใจในเคอร์เนลเป็นรองจากไลนัสคนเดียวเท่านั้น
อินเทลประกาศถอนตัวจากธุรกิจ "เมนบอร์ดสำหรับเดสก์ท็อป" โดยจะลดการผลิตลงเรื่อยๆ ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
คำว่าถอนตัวจากการผลิตเมนบอร์ด หมายถึงเมนบอร์ดยี่ห้อของอินเทลเองเท่านั้น แต่อินเทลจะยังขายชิปเซ็ตสำหรับเดสก์ท็อป ให้ผู้ผลิตรายอื่นอย่าง ASUS, ASRock, Gigabyte ผลิตเป็นเมนบอร์ดขายต่อไปตามปกติ นอกจากนี้อินเทลจะยังพัฒนาบอร์ดต้นแบบ (form factor reference design) สำหรับโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตต่อไป
เมนบอร์ดรุ่นสุดท้ายของอินเทลจะวางขายพร้อมซีพียู Haswell ในครึ่งหลังของปีนี้ และเมนบอร์ดทุกรุ่นของอินเทลจะยังได้รับบริการหลังขายตลอด 3 ปีข้างหน้า
การประกาศหยุดทำเมนบอร์ดเดสก์ท็อปของอินเทลไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานในฝ่ายนี้ โดยอินเทลจะย้ายพนักงานไปทำงานในฝ่ายอื่นๆ แทน
แม้ว่าชิปที่ใช้สถาปัตยกรรม Ivy Bridge จะลงตลาดมาได้ 9 เดือนแล้ว แต่ก็ยังมีเฉพาะบนซีพียู Core i ตามแผนของอินเทลที่มักปล่อยรุ่นบนมาก่อนเสมอๆ และตอนนี้อินเทลก็ประกาศเปิดตัวซีพียูซีรีส์ Celeron, Pentium และ Core i3 ที่ใช้ Ivy Bridge ลงสู่ตลาดแล้ว
ทั้ง Celeron และ Pentium จะเป็นสองคอร์ สองเธรด ไล่ความถี่ตั้งแต่ 2.6-3.2GHz ที่ TDP 55 วัตต์ ส่วนรุ่นประหยัดไฟ (ตามหลังรหัสด้วย T) ความถี่ตั้งแต่ 2.3-2.5GHz ที่ TDP 35 วัตต์ โดยราคาจะอยู่ในช่วง 42-86 เหรียญ
เมื่อเทียบ Pentium G2130 (ตัวท็อปของซีรีส์ Pentium) กับ Core i3-3210 ที่ออกมาก่อนหน้า ฟีเจอร์ที่หายไปคือการรองรับ Hyper-threading และ AVX นั่นเอง
อินเทลรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 มีรายได้ 13.5 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 27% ถึงแม้ตัวเลขจะลดลง แต่ก็ออกมาตามที่นักวิเคราะห์ประเมินกันไว้ ทั้งนี้ยอดขายในส่วนธุรกิจพีซีลดลง 3% ขณะที่ดาต้าเซ็นเตอร์ลดลง 6%
ซีอีโอ Paul Otellini บอกว่าผลงานในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังไว้ ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรงขึ้น ซึ่งการเริ่มเข้าสู่ตลาดแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนในปีที่ผ่านมา ตลอดจนความพยายามเปลี่ยนธุรกิจพีซีอีกครั้ง สิ่งเหล่านี้จะยังดำเนินต่อไปในปีนี้
ที่มา: อินเทล
จากข่าว อินเทลเปิดตัว Core Ivy Bridge รุ่นกินไฟ 7 วัตต์ จนสร้างความฮือฮา เพราะลดอัตราการใช้พลังงานจาก Core Ivy Bridge รุ่นก่อนหน้า (17 วัตต์) ลงมาเกินครึ่ง
ปรากฏว่าเว็บไซต์ Ars Technica ไปขุดเอกสารทางเทคนิคของอินเทลแล้วพบว่า ตัวเลข 7 วัตต์นี้ไม่ใช่ thermal design power หรือ TDP ที่ใช้อ้างอิงกันเป็นมาตรฐานในวงการ แต่เป็นวิธีการวัดแบบใหม่ของอินเทลที่เรียกว่า scenario design power หรือ SDP ที่วัดจาก "การใช้งานโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน" ต่างไปจากระบบ TDP ที่วัดค่าสูงสุด ทำให้ตัวเลข SDP น้อยกว่า TDP มาก
เว็บไซต์ The Verge ได้รับโอกาสทดลองเล่นเครื่อง Surface with Windows 8 Pro ก่อนการผลิตขายจริง สิ่งที่น่าสนใจมีดังนี้