อินเทลหนุน ultrabook แบบสุดตัว ล่าสุดในงาน IDF2012 ที่ปักกิ่ง อินเทลก็ก้าวไปอีกขั้น โดยเสนอ "แบตเตอรี่" ขนาดมาตรฐานสำหรับ ultrabook ที่ต้องเน้นความบางเป็นพิเศษ
อินเทลต้องการแก้ปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ที่มีขนาดแตกต่างกันในโน้ตบุ๊กแต่ละยี่ห้อ เป็นผลให้ราคาแพงและออกแบบแบตเตอรี่ให้ใช้ร่วมกันได้ยาก
แบตเตอรี่แบบมาตรฐานที่อินเทลเสนอ มีขนาด 60x80 มิลลิเมตร และเสนอให้ใช้เซลล์แบตเตอรี่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร เล็กกว่าเซลล์ที่ใช้ในแบตโน้ตบุ๊กทั่วไป (18 มิลลิเมตร)
ตอนนี้ทุกอย่างยังเป็นเพียงข้อเสนอของอินเทล ต้องรอดูว่าบรรดาผู้ผลิต ultrabook ทั้งหลายจะยินดีเข้าร่วมโครงการด้วยหรือไม่
อินเทลโชว์แท็บเล็ตต้นแบบที่รัน Windows 8 ในงาน IDF2012 ที่ปักกิ่ง เบื้องต้นอินเทลจะรองรับแท็บเล็ต Windows 8 สองขนาด (ดูตัวอย่างได้จากวิดีโอท้ายข่าว อยู่ช่วงท้ายๆ)
แท็บเล็ตทั้งสองรุ่นจะใช้ซีพียู Atom "Clover Trail" Z2760 สเปกอื่นๆ ที่อินเทลกำหนดคือน้ำหนักไม่เกิน 1.5 ปอนด์ (6.8 ขีด), หนาไม่เกิน 9 มิลลิเมตร, แบตเตอรี่อย่างต่ำ 9 ชั่วโมง, สแตนด์บายได้นาน 30 วัน, เชื่อมต่อได้ผ่าน 3G/4G, Wi-Fi Direct และ NFC
ส่วนสเปกที่ไมโครซอฟท์ประกาศเอาไว้ แต่อินเทลไม่ได้พูดถึงคือ หน้าจอละเอียด 1366x768, รองรับระดับสี 32 บิต, กล้องถ่ายวิดีโอ 720p, Bluetooth 4.0, GPS
ในงาน Intel Developer Forum 2012 ที่ปักกิ่ง มีคนตาดีไปเจอโน้ตบุ๊ก Chromebook จากซัมซุงที่ใช้ซีพียู Sandy Bridge (Core i รุ่นปัจจุบัน) ตั้งโชว์อยู่ที่บูตของกูเกิลภายในงานด้วย
ข่าวนี้ช่วยยืนยันข่าว หรือว่าฮาร์ดแวร์ Chrome OS รุ่นหน้าจะใช้ Ivy Bridge? ได้เป็นอย่างดี (เพียงแต่ยังเป็นแค่ Sandy Bridge ไม่ใช่ Ivy Bridge)
โน้ตบุ๊กตัวนี้ยังหน้าตาเหมือน Chromebook ของซัมซุงรุ่นเดิม สิ่งที่เปลี่ยนคือซีพียู และการบูตเครื่องที่เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก (ดูวิดีโอประกอบ) ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ Coreboot ที่กูเกิลไปร่วมพัฒนาด้วยนั่นเอง
ถ้ายังจำข่าว เอเอ็มดีเข้าซื้อ SeaMicro บริษัททำเซิร์ฟเวอร์แบบใช้ซีพียูจำนวนมาก กันได้ เดิมทีบริษัท SeaMicro ทำเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ใช้ซีพียู
อินเทลออกมาให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มของ ultrabook โน้ตบุ๊กรูปแบบใหม่ที่เริ่มทำตลาดกันบ้างแล้ว โดยคาดการณ์ว่าราคาเฉลี่ยจะลดลงจาก 799 ดอลลาร์ในปัจจุบัน (ประมาณ 24,000 บาท) มาอยู่ที่ 699 ดอลลาร์ (ประมาณ 21,000 บาท) ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ในขณะที่แท็บเล็ตเพื่อการศึกษากำลังถูกให้ความสำคัญบ้างแล้วในบางประเทศ อินเทลก็ชิงเปิดตัวต้นแบบแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาออกมาแล้วในชื่อ studybook หนึ่งในอุปกรณ์เพื่อการศึกษาในโครงการ Intel Learning Series ต่อเนื่องจากที่เคยเปิดตัว classmate PC มา
ตัวเครื่องของ studybook ทำมาจากพลาสติก และยางซึ่งทนทานต่อการตกราวๆ หนึ่งเมตรได้อย่างสบาย ตัวเครื่องมีขนาดหน้าจอ 7 นิ้วความละเอียด 1024x600 พิกเซล มาพร้อมกับซีพียู Atom Z650 แรมขั้นต่ำที่ 1GB มีกล้องทั้งหน้า และหลัง มีตั้งแต่รุ่นความจุ 32GB-128GB สามารถใส่ซิมการ์ดได้ และมีพอร์ต HDMI, USB 2.0 มาให้ครบครัน ด้วยน้ำหนักราว 525 กรัม
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าอดีตพนักงานอินเทลได้ยอมรับผิดในข้อหาขโมยเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการผลิตชิปที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ชื่อของอดีตพนักงานที่ว่าคือ Biswamohan Pani ปัจจุบันย้ายไปทำงานกับคู่แข่งอย่างเอเอ็มดี โดยอัยการกลางศาลในบอสตันได้ระบุว่า Pani ดาวน์โหลดข้อมูลบางส่วนของอินเทลที่มีความสำคัญต่อการออกแบบ และผลิตชิปซีรีส์ Itanium เมื่อเดือนมิถุนายน 2008 ในวันสุดท้ายของการทำงานให้กับอินเทล ซึ่งเจ้าหน้าที่พบเอกสารดังกล่าวที่บ้านพักของ Pani เอง
อินเทลจับมือค่ายรถ Nissan แถลงข่าวว่าปีหน้า 2013 เราจะได้เห็นรถยนต์ของ Nissan รุ่นใหม่ที่ฝังซีพียูตระกูล Atom สำหรับควบคุมระบบความบันเทิง-สารสนเทศภายในรถ
ระบบสารสนเทศภายในรถยนต์ (in-vehicle infotainment หรือย่อว่า IVI) กำลังมาแรงในช่วงหลัง เดิมทีอินเทลมีแผนจะพัฒนามันด้วย MeeGo แต่โครงการล่มไปเสียก่อน อย่างไรก็ตามอินเทลยังเดินหน้าสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ต่อไป แต่ก็ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดว่ามันใช้ระบบปฏิบัติการอะไรกันแน่
ฝั่ง Nissan เองก็ยังไม่บอกว่าจะมีรถยนต์รุ่นอะไรบ้างที่ใช้ซีพียู Atom แต่ก็นำรถยนต์หรูรุ่นต้นแบบ Infiniti LE ที่ใช้จอสั่งงานคู่และ Atom ที่งาน New York Auto Show ในช่วงนี้
อินเทลเริ่มแคมเปญโฆษณาครั้งใหญ่ของ "ultrabook" อย่างเป็นทางการ โดยฉายโฆษณาทีวีตอนแรกชื่อ Desperado ธีมคาวบอยแดนเถื่อนที่เน้นประโยคว่า "Suddenly, everything else seems old fashioned" (ทันใดนั้น โน้ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ กลายเป็นของโบราณ)
หนังโฆษณาชิ้นนี้จะฉายทางทีวีในสหรัฐวันที่ 6 เมษายนนี้ แต่ตัวคลิปก็สามารถดูได้จากอินเทอร์เน็ตก่อนแล้ว
แคมเปญโฆษณา ultrabook รอบนี้ถือเป็นแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดของอินเทลในรอบ 10 ปีให้หลังนี้ (แคมเปญใหญ่ครั้งก่อนคือ Centrino ในปี 2003) อย่างไรก็ตาม งานนี้ไม่ง่ายเพราะ ultrabook จะต้องเจอกับทั้งเน็ตบุ๊ก, MacBook Air และแท็บเล็ต ที่แย่งตลาดใกล้เคียงกัน ต้องรอดูว่ามันจะประสบความสำเร็จแค่ไหน
ท่ามกลางกระแสแท็บเล็ตที่ยังคงบูมต่อเนื่องจนถึงปีนี้ DigiTimes ได้รายงานข้อมูลว่าอินเทลเตรียมเปิดตัวแท็บเล็ตขนาดหน้าจอ 10 นิ้วโค้ดเนม StoryBook ใช้ซีพียู Atom Medfield และดูอัลบูทได้ (ไม่บอกว่าอะไร แต่น่าจะเป็น Windows กับ Android)
แหล่งข่าวที่แจ้งเรื่องนี้ยังบอกต่อว่าแท็บเล็ตตัวนี้อยู่ในแผนของโครงการ Classmate PC ที่เริ่มมาเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และมีพันธมิตรกับบรรดาประเทศเกิดใหม่หลายแห่ง และ StoryBook จะเน้นไปในส่วนของการศึกษาเช่นเดียวกับที่เคยทำมาในโครงการ Classmate PC
หลังจากชิปเซ็ตตระกูลใหม่ของอินเทลอย่าง Ivy Bridge ถูกเลื่อนไปเปิดตัวช่วงไตรมาสสอง ซึ่งปกติจะเริ่มเปิดตัวในไตรมาสแรกของปี ในวันนี้มีการยืนยันวันเปิดตัวจากเว็บไซต์สองแห่ง swecloc
รอบการอัพเกรดซีพียูฝั่งเน็ตบุ๊กนั้นใกล้เข้ามาแล้วหลังจากออก Cedar Trail ไปเมื่อปีที่แล้ว โดยรอบนี้คาดว่าน่าจะเป็นคอร์เดิมร่วมกับ GPU ตัวใหม่ของ IVY Bridge งานนี้เป็นข่าวที่หลุดมาจากโรดแมปที่อินเทล (น่าจะ) ส่งให้กับพาร์ตเนอร์
ชื่อรหัสของ Atom ตัวใหม่นี้คือ Valley View ส่วนกราฟิกของมันจะรองรับ DirectX 11, OpenGL 3.1 และ OpenCL 1.1 เทียบเท่าชิปกราฟิกทั่วไป (ในแง่ฟีเจอร์) หากออกมาก็นับว่าความได้เปรียบของ AMD Fusion ที่ออกมาก่อนหนึ่งปีจะหมดไปหลัง Atom ตัวนี้วางตลาด
นอกจากนี้ฟีเจอร์อื่นๆ ของ Valley View คือการรองรับแรมจะเพิ่มขึ้นเป็น 8GB จากเดิมที่ Cedar Trail รองรับได้ 4GB พร้อมกับรองรับ USB 3.0 ในตัว
หลังจากอินเทลผิดหวังกับตลาดโมบายมาหลายต่อหลายรอบ (นับแต่ MID, จนถึง Moorestown) ความหวังจาก Medfield ที่น่าจะมีการผลิตสินค้าเป็นโทรศัพท์และแท็บเล็ตออกขายก็ทำให้อินเทลเตรียมปรับสายการผลิตของตัวเองให้พร้อมรับคำสั่งซื้อจำนวนมากแล้ว
Brian Krzanich เพิ่งได้รับตำแหน่ง COO ของอินเทลคาดว่ากำลังผลิตของอินเทลจะไปอยู่กับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้าที่จะรับตำแหน่งนี้ เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายการผลิตมาก่อน มีผลงานสำคัญคือการลดช่วงเวลาเดินสายการผลิตของชิปลงเหลือเพียงครึ่งเดียวในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และเขาเชื่อว่ากระบวนการผลิตที่สั้นลงนี้จะดีต่อตลาดโทรศัพท์ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อไม่นานมานี้ อินเทลเพิ่งโชว์ Ultrabook จอสัมผัสรุ่นต้นแบบที่งาน CeBIT
จากการรายงานของ Wall street Journal ถึงแผนการที่่ Intel ที่กำลังซุ่มทำอยู่คือ การใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรทัศน์ (web-based TV service) โดยลักษณะเป็นกล่อง มีช่องรับชมต่าง ๆ เหมือนกันระบบเคเบิลและดาวเทียม เราสามารถรับชมรายการที่ผู้จัดคัดสรรมาจากอินเทอร์เน็ต สามารถรับชมเนื้อหาที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเชื่อมต่อเพื่อเข้าใช้บริการ คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2012
ที่มา - The Verge
หลายคนในที่นี้คงเริ่มมีโน๊ตบุ๊คที่ใช้พอร์ต Thunderbolt กันบ้างแล้ว (เช่นใน MacBook Pro รุ่นใหม่ และ Vaio Z) ในด้านความเร็วการส่งข้อมูลเหนือกว่าคู่แข่งอย่าง USB 3.0 ถึงสองเท่าตัว แต่ยังเร็วไม่พอในบางกรณี เช่น เมื่อเชื่อมด็อกกิงของ Vaio Z แล้วไม่สามารถส่งการประมวลผลของชิปกราฟิกผ่าน Thunderbolt ได้เต็มที่ เป็นต้น
ล่าสุดอินเทลได้ออกมาประกาศว่าภายในปี 2012 นี้อินเทอร์เฟซ Thunderbolt ที่ใช้สายใยแก้ว (ซึ่งอยู่ในแผนมาตั้งแต่แรก แต่เสร็จไม่ทัน) ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุดตามทฤษฎีถึง 100 Gbps เหนือกว่ารุ่นสายทองแดงที่ออกพร้อมกับ MacBook Pro ถึงสิบเท่า
บล็อกจากเยอรมนี Casych มีโอกาสได้ทดสอบ มือถือรหัส Santa Clara ของ Orange ซึ่งเป็นมือถือตัวแรกของฝั่งยุโรปที่ใช้
มีรายงานว่าอินเทลกำลังเริ่มย้ายมาตรฐาน Thunderbolt มาอยู่บนโปรโตคอลของ PCI Express 3.0 แล้ว โดยจะสามารถเพิ่มความเร็วให้กับ Thunderbolt ได้มากกว่าเดิมที่ใช้ PCIe 2.0 อยู่อีกเท่าตัว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามอินเทลยังไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะเริ่มเห็น Thunderbolt ใหม่นี้ได้เมื่อไหร่
PCIe 3.0 มีความเร็วในการรับส่ง raw data ได้มากกว่า PCIe 2.0 ถึง 60% เพิ่มจาก 5 gigatransfers per second (GT/s) มาเป็น 8 GT/s ในขณะที่ต้องการ overhead ในการรับส่งข้อมูลน้อยลงกว่าเดิมมาก
แม้ว่าสินค้าต่าง ๆ ของอินเทลจะเริ่มรองรับ PCIe 3.0 แล้วก็ตาม แต่การที่จะเปลี่ยนมาตรฐาน Thunderbolt มาเป็น PCIe 3.0 แล้วให้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ เปลี่ยนมาใช้มาตรฐานใหม่ต้องใช้เวลามากพอสมควร
Dell บริษัทแม่เพิ่งออกข่าวเบื้องต้นเมื่อไม่กี่วันก่อน วันนี้ Dell ประเทศไทยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge 12G พร้อมเริ่มวางขายอย่างเป็นทางการแล้ว
เนื่องจากผมไปงานแถลงข่าวมาด้วย ก็ขอเพิ่มข้อมูลที่ยังไม่มีในข่าวเก่านะครับ
เซิร์ฟเวอร์ที่เปิดตัวทำตลาดในประเทศไทย
Rack Server
ข่าวเอเอ็มดีเข้าซื้อ SeaMicro ที่ผลิตเซิร์ฟเวอร์แบบความหนาแน่นสูง (High Density) ทำให้นักข่าวสนใจกันว่าทำไมอินเทลจึงไม่ซื้อบริษัทนี้เสียก่อนที่เอเอ็มดีจะซื้อไป และอินเทลตอบว่าอินเทลไม่เคยสนใจในเทคโนโลยีของ SeaMicro ทั้งที่เคยได้รับข้อเสนอให้ซื้อไลเซนส์เทคโนโลยีหรือซื้อบริษัทมาก่อนแล้ว
เทคโนโลยีสำคัญของ SeaMicro คือชิปที่เรียกว่า Freedom Fabric ที่ใช้เชื่อมซีพียูจำนวนมากเข้าด้วยกันโดทำตัวเสมือนเป็นการ์ดเน็ตเวิร์ค และการออกแบบบอร์ดเฉพาะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ถูกตัดออกไปแทบหมด เหลือชิ้นส่วนหลักคือซีพียูและแรมเท่านั้น
อินเทลได้นำ Ultrabook ต้นแบบมาโชว์ในงาน CeBIT เครื่องต้นแบบนี้มาพร้อมกับหน้าจอ 13.3 นิ้วที่ความละเอียด 1600 x 900 พิกเซล ที่รองรับการสัมผัสถึง 10 จุด และซีพียูแพลตฟอร์ม Ivy Bridge 1.5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเมื่อดูจากภายนอกนั้นตัวเครื่องจะมีขนาดและความหนาไม่แตกต่างจาก Ultrabook อื่นแต่อย่างไร
อินเทลชี้นำขนาดนี้ อนาคตคงมี Ultrabook จอสัมผัสวางขายในท้องตลาดแน่นอน ส่วนหน้าตาเครื่องต้นแบบจะเป็นอย่างไรเชิญชมได้ที่ท้ายข่าว
น่าเสียดายที่เครื่องต้นแบบนี้ไม่ได้ติดตั้ง Windows 8 มิฉะนั้น Engadget คงได้ลองการทำงานและนำเสนอผลการทดลองใช้งานให้ได้ชมกัน
ที่มา: Engadget
ตามที่ Dell ได้เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ อินเทลก็เปิดตัวซีพียูตระกูล Xeon ตัวใหม่รหัส E5 มีของใหม่ดังนี้
ถึงแม้ว่า Ivy Bridge จะเลื่อนวันวางขายออกไปเป็นเดือนมิถุนายน แต่อินเทลกลับเผลอโพสต์รายชื่อและข้อมูลของซีพียูชุดแรกบนเว็บไซต์ของตัวเอง
ข่าวนี้ออกจะยากสักหน่อย แต่เป็นสำหรับผู้ที่ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยข้อมูลมากๆ คือเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์งานวิจัยว่าในอินเทอร์เน็ตนั้น ใบรับรอง SSL จำนวนหนึ่งประมาณ 2 ใบในทุกๆ 1,000 ใบสามารถถูกเจาะได้โดยง่าย โดยมีสาเหตุมาจากตัวสุ่มเลขหลายๆ ครั้งมีความสามารถในการสุ่มไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการใช้จำนวนเฉพาะ (prime number) ที่ซ้ำกันในใบรับรองหลายใบ ทำให้การแฮกข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยใบรับรองเหล่านี้ทำได้ง่ายมาก