Blognone Interview
1-2 ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินดิจิทัลหรือเงินคริปโตถูกพูดถึงและได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เงินคริปโตกลายเป็นแหล่งลงทุนที่ทำกำไร (หรือขาดทุน) สำหรับใครหลายๆ คน จนเกิดผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินคริปโต (เทรดเดอร์) ขึ้นหลายเจ้า
J.I.B. หนึ่งในตัวแทนจำหน่ายฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของไทย เลยตัดสินใจขยายธุรกิจมาให้บริการเทรดเดอร์ด้วยในชื่อ JIBEX ซึ่งให้บริการในรูปแบบของทั้งหน้าเว็บ, แอป iOS และ Andriod
เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ออราเคิลประเทศไทยจัดงาน Oracle Cloud Day 2018 และผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Christopher Chelliah ตำแหน่ง Group Vice President and Chief Architect, Core Technology and Cloud ดูแลสินค้ากลุ่มคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด
ก่อนการสัมภาษณ์ คุณ Chelliah ได้บรรยายในงานถึงคลาวด์ในยุคต่อไปของออราเคิลที่เน้นความสามารถห้าด้านหลัก ได้แก่ การทำงานเป็นอัตโนมัติ (Autonomous Platform Service), ควบคุมโครงสร้างพื้นฐานด้วยโค้ด (Infrastructure as Code), IoT, Blockchain, และ AI
เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา IBM มีงานสัมมนาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับ IBM Cloud ในประเทศไทยสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ งานดังกล่าวมีผู้บริหารจาก IBM ระดับสูงจำนวนหนึ่งเข้าร่วมด้วย
ผมได้รับคำชวนจากทาง IBM ประเทศไทยให้สัมภาษณ์ Jason McGee รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ IBM Cloud เป็นระยะเวลาสั้นๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Kubernetes และเทคโนโลยีอื่นๆ ต้องขอบคุณทาง IBM ประเทศไทยสำหรับคำชวนดังกล่าวนี้ด้วย
กระแส IoT ในปีที่ผ่านมาคงเริ่มเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้งานได้ดีขึ้นเรื่อยๆ จากเทคนิคการประมวลผลข้อมูลที่ก้าวหน้าไปมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เมื่องาน IBM 65 ปีในไทยมีการยกตัวอย่างหนึ่งของปตท. ที่ได้ลงระบบทำนายการซ่อมบำรุงล่วงหน้า (predictive maintenance) เพื่อใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์จำนวนมากมาบอกเครื่องยนต์ในโรงงานมีโอกาสเสียหายหรือต้องการซ่อมบำรุงมากน้อยเพียงใด เมื่อผมไปร่วมงานและเห็นว่าน่าสนใจจึงขอไปพูดคุยกับผู้บริหารปตท. และผู้บริหาร Triple Dot บริษัทผู้ให้คำปรึกษาในโครงการนี้
การใช้คลาวด์แทนที่การวางเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่องค์กรจำนวนมากให้ความสนใจแต่ยังติดด้วยแนวทางการทำงานไปจนถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย ในวันนี้ผมมีโอกาสสัมภาษณ์คุณถิรพันธุ์ สรรพกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการและหัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เล่าถึงประสบการณ์การนำระบบขึ้นไปรันบน AWS
Google Thailand ได้จัดให้สื่อในไทยคุยกับ Adrian Ludwig ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยของ Android เพื่อทำความเข้าใจกับสถาปัตยกรรมของ Android ว่ามีอะไรบ้าง
คนที่ติดตามข่าวความปลอดภัย Android หรือชมวิดีโอจากงาน Google I/O น่าจะพอทราบข้อมูลส่วนนี้กันอยู่แล้ว แต่ก็ขอมาสรุปอีกรอบสำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามครับ
ต้องยอมรับว่ากระแสเรื่องของสตาร์ทอัพในประเทศไทย อยู่ในจุดที่เป็นความสนใจมาโดยตลอดจากหลายภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการเงินการธนาคาร หนึ่งในนั้นคือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารชั้นนำของประเทศ และเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีสินทรัพย์สูงที่สุดในประเทศ
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพล ธนาคารกรุงเทพจึงจัดตั้ง InnoHub โครงการ Fintech Accelerator Program ระดับโลกในไทยครั้งแรก เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำสตาร์ทอัพจากทั่วโลกที่มีผลงานเด่นชัด มาเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์และความพึงพอใจที่ดีให้กับลูกค้าในประเทศไทยและอาเซียน
ต้องยอมรับว่ากระแสเรื่องของสตาร์ทอัพในประเทศไทย อยู่ในจุดที่เป็นความสนใจมาโดยตลอดจากหลายภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการเงินการธนาคาร หนึ่งในนั้นคือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารเก่าแก่ของประเทศ และเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีสินทรัพย์สูงที่สุดในประเทศ
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพล ธนาคารกรุงเทพจึงจัดตั้ง InnoHub โครงการ Fintech Accelerator Program ระดับนานาชาติในไทยครั้งแรก เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำสตาร์ทอัพจากทั่วโลกที่มีผลงานเด่นชัด มาเรียนรู้กระบวนการการทำงานของธนาคาร และธนาคารก็ได้เรียนรู้การทำงานของสตาร์ทอัพด้วยเช่นกัน
ข่าวที่สร้างกระแสฮือฮาให้วงการธนาคารในรอบเดือนที่ผ่านมา คือการเปิดตัวแอพ SCB Easy เวอร์ชันใหม่ ที่มีจุดขายคือปรับหน้าตาโฉมใหม่ และการกดเงินจากตู้เอทีเอ็มแบบไม่ต้องใช้บัตร
แต่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวแอพ SCB Easy ทางธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ได้พูดแต่เรื่องตัวแอพอย่างเดียว เพราะพูดถึง "สถาปัตยกรรม" ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ระบบฝั่งเซิร์ฟเวอร์ตัวนี้ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และใช้แนวทางแบบ microservices ที่กำลังได้รับความนิยมในบริษัทไอทีสมัยใหม่ (แนวทางนี้เอามาจาก Netflix)
ทาง Blognone จึงไม่พลาดโอกาสที่จะขอสัมภาษณ์ SCB ในเรื่องนี้ และเราได้คุยกับคุณธนา โพธิกำจร Head of Digital Banking ผู้ที่ขึ้นเวทีพรีเซนต์สถาปัตยกรรมนี้ในงานแถลงข่าวนั่นเอง
บริษัทยิบอินซอย (Yip In Tsoi) อาจไม่มีชื่อในวงกว้างมากนัก แต่ในแวดวงไอทีก็เป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทด้าน SI (Systems Integrator) รายใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน อยู่เบื้องหลังโครงการไอทีขนาดใหญ่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
แต่ในยุคที่ทุกวงการถูก disrupt จากกระแสความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บริษัทไอทีอย่างยิบอินซอยก็หนีไม่พ้นความจริงข้อนี้ Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทสองท่านคือ คุณมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ คุณสุภัค ลายเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ว่าบริษัท SI จะมีแนวทางการปรับตัวรับมืออย่างไร
Blognone ได้รับเชิญจากบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) เข้าร่วมงานสัมมนา CIO.NXT Forum 2017 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับทิศทางของไอทีองค์กร (ซึ่งเป็นตลาดหลักของ HPE หลังแยกบริษัทกับ HP)
ธีมหลักของงานพูดถึงคำว่า "Hybrid IT" หรือการเชื่อมระหว่างไอทีระบบเก่ากับใหม่ ที่มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่จำเป็นต้องมีทั้งสองระบบรันขนานกันไป (บ้างก็เรียกว่า bimodal IT คือฝ่ายไอทีเดียวมีสองโหมด) คำถามคือในแง่การบริหารจัดการจะทำได้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ
ที่งาน Huawei Connect 2017 เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หนึ่งในกรณีศึกษาที่ถูกนำเสนอบนเวที คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านดิจิทัลของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ใช้โซลูชั่นของบริษัท Huawei ในการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นผู้นำเสนอบนเวทีด้วยตนเอง
หลังจากการนำเสนอบนเวที ทางอธิการบดีได้ให้เวลาส่วนหนึ่งในการสัมภาษณ์กับสื่อไทยเป็นพิเศษ ผมได้รวบรวมและสรุปการสัมภาษณ์มาให้ทุกท่านได้อ่านครับ
หมายเหตุ ผมเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยคำเชิญของทาง Huawei ครับ
เมื่อพูดถึงแบรนด์ Lenovo เรามักนึกถึงคอมพิวเตอร์ทั้งเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก แต่จริงๆ แล้ว Lenovo ยังมีธุรกิจไอทีองค์กรที่เน้นขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ และถ้ายังไม่ลืมกัน ธุรกิจเซิร์ฟเวอร์เดิมของ IBM เกือบทั้งหมด (ยกเว้นกลุ่มซีพียู Power) ถูกขายมาให้ Lenovo ตั้งแต่ปี 2014
สำหรับในประเทศไทย Lenovo Thailand ยังไม่ได้ทำตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างจริงจังนัก แต่ด้วยทีมงานของ IBM เดิมก็ยังส่งผลให้มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับสามของไทย
ล่าสุด Blognone มีโอกาสคุยกับผู้บริหารฝั่ง data center ของ Lenovo ทั้งจากสำนักงานใหญ่และจากสำนักงานภูมิภาค คือ Sumir Bhatia (Vice President, Data Centre Group, Asia Pacific) และ Scott Tease (Executive Director, Hyperscale and HPC) ถึงแผนขั้นต่อไปของ Lenovo ในการบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กร
ไมโครซอฟท์ประเทศไทย เพิ่งมีกรรมการผู้จัดการคนใหม่คือ นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ โดยเริ่มเข้ารับตำแหน่งมาหมาดๆ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา
ก่อนมาร่วมงานกับไมโครซอฟท์ คุณธนวัฒน์เคยทำงานที่ IBM และ HP (ก่อนแยกบริษัทเป็น HPE) โดยตำแหน่งสุดท้ายคือกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเอ็นเทอร์ไพรส์ของบริษัท ฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) ทำงานกับ HP เป็นเวลาประมาณ 5 ปี
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณธนวัฒน์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการคนใหม่ของไมโครซอฟท์ประเทศไทย และเล่าถึงทิศทางว่าไมโครซอฟท์จะเดินต่อไปอย่างไรในยุคของคลาวด์
เราจะเห็นโลกออนไลน์เข้ามา disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ เต็มไปหมด ไม่เว้นแม้กระทั่งการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่สะดวกมากกว่าเดิม คุณสามารถนอนเล่นอยู่ในคอนโด เลือกสินค้าที่มีขายตามห้างสรรพสินค้าได้ตามใจชอบ เพียงแค่สแกนบาร์โค้ดเท่านั้น
Nasket เป็นสตาร์ตอัพไทยรายล่าสุดที่แก้ปัญหาเรื่องประสบการณ์สั่งซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซที่ยังยุ่งยากและซับซ้อน ด้วยการสร้างฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าจอและตัวสแกนบาร์โค้ด ช่วยให้กระบวนการสั่งซื้อง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ อยากได้อะไรก็เอาไปสแกนเพื่อสั่งซื้อได้ทันที
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา ซีอีโอของ Nasket เพื่อให้ข้อมูลละเอียดว่าตกลงแล้ว Nasket คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง
กลุ่มสตาร์ทอัพสายสุขภาพประเทศไทย ประกาศจะจัดตั้งสมาคม Health Startup Network (HSN) เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมาย อำนวยความสะดวกในการสร้างนวัตกรรมใหม่ และลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพสายนี้ HSN มาจากการรวมกลุ่มสตาร์ทอัพสุขภาพหลายๆ บริษัท
หนึ่งในนั้นคือ Ooca แพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และคนไข้ หรือคนทั่วไปที่มีปัญหาในใจ และอยากคุยกับแพทย์ ซึ่ง Blognone ได้สัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งคือ ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ หรือ หมออิ๊ก และพบว่าเป็นการสัมภาษณ์ที่สนุกและได้ความรู้มาก
Singtel Innov8 (อ่านว่า "อินโนเวท") เป็นหน่วยลงทุนในสังกัดของ Singtel โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของเอเชียจากสิงคโปร์ หน้าที่ของ Innov8 คือเป็น corporate venture capital (CVC) ที่ออกไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจของ Singtel ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในยุคที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยแทบทุกรายประกาศทำ CVC ต้องถือว่า Innov8 เป็นต้นแบบของ CVC รายแรกๆ ในภูมิภาคนี้ (เริ่มทำปี 2011) และถือเป็นรายที่ประสบความสำเร็จมากรายหนึ่งด้วย
ในโอกาสที่คุณ Edgar Hardless ซีอีโอของ Innov8 เดินทางมายังเมืองไทย Blognone ก็มีโอกาสได้สัมภาษณ์เพื่อรับทราบประสบการณ์เหล่านี้
คนที่อยู่ในสายงานการพัฒนาแอพ Android น่าจะคุ้นเคยกับ "เอก" สมเกียรติ กิจวงศ์วัฒนะ หรือชื่อในวงการคือ Akexorcist ที่เป็นนักพัฒนาระบบ GDE (Google Developer Expert) ด้าน Android
เขาขึ้นเวทีงานสัมมนาเกี่ยวกับ Android แทบทุกงานในไทย มีบล็อกเกี่ยวกับการพัฒนาบน Android ที่อัพเดตสม่ำเสมอ และล่าสุดเพิ่งไปร่วมงาน Google I/O 2017 ถึงถิ่นกูเกิล บทความนี้เราจึงสัมภาษณ์เขาเพื่อขอทราบมุมมองว่า โลกของนักพัฒนา Android ตอนนี้ไปถึงไหนกันแล้ว
เชื่อว่าสมาชิก Blognone ที่อยู่ในแวดวงคอมพิวเตอร์ คงไม่มีใครไม่รู้จักร้าน J.I.B. ที่มีหลายสาขาทั่วไทย แถมปัจจุบันยังหันมาทำอีคอมเมิร์ซขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ J.I.B. Online ได้อย่างโดดเด่น สามารถส่งสินค้าได้ภายใน 3 ชั่วโมงถ้าเป็นพื้นที่กรุงเทพ
แต่ต้นกำเนิดของร้าน J.I.B. มีประวัติศาสตร์ยาวนานและน่าตื่นเต้นมาก เรามีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสมยศ เชาวลิต หรือ "คุณจิ๊บ" ผู้ก่อตั้ง J.I.B. ว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง และก้าวต่อไปของ J.I.B. คืออะไร
สัปดาห์ที่ผ่านมา Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน AWS Summit 2017 งานประชุมประจำปีในภูมิภาค ซึ่งจัดในกรุงเทพเป็นครั้งแรก มีทั้งช่วงคีย์โน้ตโดย Adrian Cockcroft รองประธานฝ่ายกลยุทธ์สถาปัตยกรรมคลาวด์และช่วงสัมภาษณ์ Nick Walton ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคของ AWS
หลังการแพร่ระบาดของ WannaCry/WannaCrypt เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเด็นเรื่อง Cybersecurity กลับมาเป็นประเด็นร้อนที่คนให้ความสนใจขึ้นมากอีกครั้ง ซึ่งทีมงาน Blognone มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณ PK Gupta ตำแหน่ง Global Presales Leader ในส่วนโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูล ในประเด็นข้างต้น ไปจนถึงการปกป้องข้อมูล, กฎหมายและบทบาทของรัฐที่เริ่มมีมากขึ้น
รัฐบาลไทยกำลังผลักดัน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) โดยเริ่มจากทำระบบการชำระเงินแบบ Any ID หรือ PromptPay ออกมานำร่องลดการใช้เงินสดโดยทำงานร่วมกับธนาคารในไทย ส่วนหนึ่งของแผนการยังมีโครงการจัดสรรเครื่องรับบัครเครดิตหรือ EDC ไปยังร้านค้าเล็กใหญ่ทั่วประเทศ
บริษัท Verifone ผู้ให้บริการโซลูชั่นและฮาร์ดแวร์ด้านการจ่ายเงินจากซิลิคอนวัลเล่ย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดด้วย ปัจจุบัน ตลาดเครื่องรูดบัตรเครดิตในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 475,000 เครื่อง Verifone ระบุว่าตนครอบครองส่วนแบ่งเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย และคนไทยเองมีแนวโน้มใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และแอพพลิเคชั่นมากขึ้น
มาถึงวันนี้ คำว่า Digital Transformation หรือการปรับตัวสู่ดิจิทัล เป็นคำที่พูดกันทั่วไป และในภาคธุรกิจเองก็ใช้คำนี้กันอย่างแพร่หลาย
ในฐานะบริษัทไอทีองค์กรรายใหญ่ Cisco ก็เป็นอีกบริษัทที่พูดเรื่องรอบการทำ Transformation ครั้งนี้ และเมื่อเร็วๆ นี้ Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน ที่ให้ข้อมูลในเชิงลึกว่า Cisco มองเรื่องการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร ทั้งในฝั่งขององค์กรลูกค้า และการเปลี่ยนแปลงของตัว Cisco เอง ที่ไม่สามารถทำธุรกิจแบบเดิมๆ ได้อีกแล้วเช่นกัน
จากการที่ IBM จัดงาน IBM Connect 2017 ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ร่วมชมในงานนี้ พร้อมโอกาสสัมภาษณ์คุณ George Ugras ซึ่งเป็น Managing Director ของ IBM Ventures บริษัท VC ของ IBM สั้นๆ (ผมเพิ่งรู้ว่ามีจากงานนี้ด้วยซ้ำ) ถึงแนวทางและนโยบายของ IBM Ventures ที่อาจจะแตกต่างจาก CVC ของหลายๆ บริษัทอยู่ไม่น้อย
Blognone เคยสัมภาษณ์ คุณศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร หรือคุณเล้ง ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC มาแล้วเมื่อสองปีก่อน ผ่านมาสองปีธุรกิจไอทีเปลี่ยนไปอย่างมาก การใช้บริการคลาวด์ไม่ใช่เรื่องสำหรับบริษัทขนาดเล็กอีกต่อไป แต่องค์กรทุกขนาดกลับใช้งานกันเป็นปกติ บริการสตรีมมิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราทุกคน และอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัดไม่ใช่เพียงบริการสำหรับกลุ่มคนมีกำลังซื้อสูงอีกต่อไป