Linus Torvalds ประกาศขอเลื่อนกรอบเวลาในการรวมโค้ดเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันหน้า 6.8 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผลว่าพายุหิมะเข้า จนทำให้ไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตของเขาถูกตัด
ปัจจุบัน Linus อาศัยอยู่ที่เมือง Portland รัฐ Oregon ซึ่งตอนนี้มีคนประมาณ 1 แสนคนไม่มีไฟฟ้าใช้งาน เขาเล่าว่าเมื่อหลายปีก่อนเคยเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้แล้ว และต้องใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ กว่าที่ทางเมืองจะสามารถปรับให้การจ่ายไฟกลับมาเป็นปกติ ช่วงนี้เขาจึงขอเลื่อนเวลาการทำงานไปก่อน
ที่มา - LKML via The Register
ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปในประเทศไทยเกิน 4% ได้เป็นครั้งแรก ตามข้อมูลสถิติจากเว็บ StatCounter ที่เป็นเว็บเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ
จากหัวข้อ "Desktop Operating System Market Share Thailand" ได้แสดงส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปในประเทศไทย พบว่า ลินุกซ์เดสท็อปสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากถึง 4.42% เมื่อเดือนธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งในประเทศไทยเกิน 4% ตั้งแต่เว็บ StatCounter ได้บันทึกสถิตินี้มาเมื่อมกราคม 2009 จนถึงปัจจุบัน
Fedora โพสต์เสนอชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงใน Fedora Linux ให้มีผลตั้งแต่เวอร์ชัน 40 โดยรวมตำแหน่งของ /usr/bin และ /usr/sbin ไว้ที่เดียวกัน
รายละเอียดที่เสนอเปลี่ยนคือแก้ไข /usr/sbin เป็น symlink ไปที่ bin ทำให้ path ทั้งหมดในกลุ่มนี้ชี้ไปที่ตำแหน่งเดียวกัน และ /usr/sbin จะถูกลบออกจาก $PATH ค่าเริ่มต้นด้วย
ดิสโทร Fedora ออกเวอร์ชันที่รองรับซีพียู Apple Silicon โดยใช้ชื่อว่า Fedora Asahi Remix 39
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Fedora กับ Asahi Linux ที่ทำงานพอร์ตลินุกซ์ไปรันบนซีพียู Apple Silicon อยู่ก่อนแล้ว (ชื่อโครงการ Asahi มาจากชื่อเรียกพันธุ์แอปเปิล McIntosh ในญี่ปุ่น) ส่วนตัวเนื้อของดิสโทรคือการพอร์ต Fedora 39 ไปรันบน Apple Silicon นั่นเอง
ตอนนี้ Fedora Asahi Remix 39 รองรับเครื่องแมคทุกรุ่นที่ใช้ชิป M1, M2 โดยฟีเจอร์ด้านฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ใช้ได้หมด (อาจมียกเว้นบางอย่าง เช่น Touch ID หรือ Thunderbolt/USB 4) ส่วนเดสก์ท็อปเลือกใช้ KDE Plasma รันบน Wayland และรองรับ OpenGL 3.3 กับ OpenGL ES 3.1 บนจีพียูของ Apple Silicon
Mozilla ออก Firefox 121 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของปีนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ที่เวอร์ชันลินุกซ์ โดย Firefox บนลินุกซ์เปลี่ยนมาใช้ระบบจัดการแสดงผล Wayland เป็นดีฟอลต์โดยตรงแล้ว จากที่ก่อนหน้านี้ Firefox เรียกใช้ Wayland ผ่าน XWayland ที่จำลองสภาพแวดล้อม X Window มาอีกที เพื่อความเข้ากันได้ย้อนหลัง
โครงการเคอร์เนลลินุกซ์ออกเวอร์ชั่น 6.6.6 หลังการออกเวอร์ชั่น 6.6.5 เพียงไม่กี่วันเพื่อแก้ปัญหาบั๊กไดร์เวอร์ Wi-Fi
ตัวเลข 6.6.6 เป็นตัวเลขที่หลายชาติตะวันตกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของซาตานจากการอ้างอิงในไบเบิล อย่างไรก็ดีเคอร์เนลลินุกซ์ที่ผ่านมามักมีการแก้บั๊กเล็กๆ น้อยๆ นับสิบเวอร์ชั่นย่อย เช่นเคอร์เนล 6.1 รุ่น LTS ก่อนหน้านี้นั้นมีรุ่นย่อยแก้บั๊กไปจนถึง 6.1.67 การที่เลขเวอร์ชั่นมาถึง 6.6.6 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
ที่มา - Phoronix
Red Hat ประกาศแนวทางพัฒนาโดย RHEL 10 ที่กำลังจะออกต่อไปจะไม่มี Xorg หรือเซิร์ฟเวอร์ X อื่นๆ อีกแล้ว โดยจะเหลือแต่ Wayland และมี Xwayland สำหรับการรองรับไคลเอนต์ X11
แนวทางนี้ไม่ได้น่าแปลกใจนักเพราะ Red Hat ประกาศว่า Xorg เข้าสู่สถานะ deprecated เตรียมถอดออกจากชุดซอฟต์แวร์ที่ซัพพอร์ตมาตั้งแต่ RHEL 9 หลังจากเปลี่ยนมาใช้ Wayland เป็นค่าเริ่มต้นตั้งแต่ RHEL 8
Wayland พัฒนาโดย Red Hat เองมาตั้งแต่ปี 2008 หรือ 15 ปีที่แล้วโดยวางเป้าหมายจะทดแทน X Windows System หรือ X11 ที่พัฒนามาจาก MIT ตั้งแต่ปี 1984 ตัว Fedora ที่เป็นโครงการต้นน้ำของ RHEL นั้นใส่ Wayland เข้ามาในปี 2008
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา วงการลินุกซ์มีการเปลี่ยนผ่านซอฟต์แวร์สำคัญที่ใช้จัดการเสียง จากตัวเดิม PulseAudio (สร้างปี 2004) มาสู่ยุค PipeWire ตัวใหม่ (สร้างปี 2017) โดยตอนนี้ดิสโทรสำคัญๆ อย่าง Fedora, Ubuntu, Debian ทยอยเปลี่ยนมาใช้ PipeWire ครบหมดแล้ว
ล่าสุดเมื่อวานนี้ PipeWire ออกเวอร์ชัน 1.0 ถือเป็นรุ่นเสถียรแรกในระบบเลขเวอร์ชันแบบดั้งเดิม (แม้เริ่มใช้งานจริงมาก่อนสักระยะแล้ว)
PipeWire ถือเป็น "ซูเปอร์เซ็ต" ของ PulseAudio คือนอกจากเป็นเซิร์ฟเวอร์จัดการเสียง (audio) แล้วยังจัดการเรื่องวิดีโอให้ด้วย
systemd โครงการระบบจัดการรวมของลินุกซ์เตรียมออกเวอร์ชั่น 255 ในอีกไม่กี่วันนี้ โดนตอนนี้มาถึง rc3 แล้ว มีฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย แต่ฟีเจอร์เล็กๆ ที่เพิ่มเข้ามาในรอบนี้คือ systemd-bsod หน้าจอโชว์ log เมื่อระบบแครช หน้าจอนี้จะแสดงข้อความใน log ระดับฉุกเฉิน (LOG_EMERG) พร้อมกับ QR ข้อความด้วย คล้ายกับวินโดวส์
ฟีเจอร์อื่นๆ ในเวอร์ชั่นนี้ก็ยังมีจำนวนมาก ฟีเจอร์สำคัญเช่น systemd-vmspawn โปรแกรมจัดการ virtual machine ผ่านทาง QEMU รองรับ TPM ในรูปแบบใหม่ๆ เช่นการเข้ารหัสดิสก์โดยใช้ public key ของ TPM อย่างเดียว
ที่มา - systemd/NEWS
Mozilla ประกาศออกแพ็กเกจ .deb ของ Firefox Nightly รุ่นทดสอบ เพื่อให้ผู้ใช้ลินุกซ์ดิสโทรสาย Debian (รวมถึง Ubuntu และ Linux Mint) ติดตั้งและอัพเดต Firefox Nightly ได้สะดวกกว่าเดิม
ผู้ใช้ลินุกซ์ดิสโทรเหล่านี้ สามารถเพิ่ม APT repository ของ Mozilla แล้วสั่ง sudo apt-get install firefox-nightly เพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์ได้ทันที
Mozilla บอกว่าการติดตั้ง Firefox Nightly สะดวกขึ้น ย่อมช่วยให้เกิดผู้ทดสอบ Firefox บนลินุกซ์มากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีขึ้นในภาพรวม
ที่มา - Mozilla
Xiaomi เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ HyperOS ตามนัดหมาย โดยระบุว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการเดียวสำหรับสินค้าทุกตัวของ Xiaomi ตั้งแต่อุปกรณ์พกพา รถยนต์ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของบริษัท "Human x Car x Home"
มาถึงจุดนี้แล้วหลายคนอาจสงสัยว่าตกลงแล้วมันคือระบบปฏิบัติการอะไรกันแน่ คำอธิบายของ Xiaomi บอกว่าแกนหลักของมันใช้เคอร์เนลลินุกซ์ ผสมกับระบบปฏิบัติการ Xiaomi Vela ที่พัฒนาขึ้นเอง (Vela เป็นการนำระบบปฏิบัติการเรียลไทม์ Apache NuttX สำหรับอุปกรณ์ IoT มาดัดแปลงต่อ โดย Xiaomi เปิดตัว Vela มาตั้งแต่ปี 2020)
Raspberry Pi Foundation ประกาศอัพเดตระบบปฏิบัติการ Raspberry Pi OS มาใช้แกนของ Debian 12 Bookworm ตามรอบการออกรุ่นเสถียรของ Debian ทุกสองปี
นอกจากของใหม่จาก Debian 12 โดยตรงแล้ว Raspberry Pi Desktop ยังมีฟีเจอร์ใหม่อีกหลายอย่างดังนี้
WSL เคอร์เนลลินุกซ์ที่รันอยู่ในวินโดวส์นับเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอปลินุกซ์บนวินโดวส์ได้อย่างสะดวก ตอนนี้ออกเวอร์ชั่น 2.0.0 pre-release ให้นักพัฒนามาทดสอบกันก่อนจะออกตัวจริง โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือการคืนแรมและดิสก์ตามการใช้งานจริง ทำให้ระบบรวมเป็นเนื้อเดียวกับวินโดวส์มากขึ้น
ฟีเจอร์ชุดนี้ยังอยู่ในสถานะทดลองทั้งหมด โดยที่จริงเป็น 6 ฟีเจอร์ที่ทำให้ WSL ทำงานเป็นเนื้อเดียวกับวินโดวส์มากขึ้น ได้แก่
เคอร์เนลลินุกซ์มีรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS เป็นระยะเวลานาน 6 ปี สำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพสูง ดูแลระบบต่อเป็นเวลานาน ที่ผ่านมามีเคอร์เนล LTS ทั้งหมด 6 รุ่นคือ 4.14, 4.19, 5.4, 5.10, 5.15, 6.1 รายละเอียด
แต่ล่าสุดนโยบายนี้กำลังเปลี่ยน โดยลดระยะเวลาดูแลเคอร์เนลลงจาก 6 ปีเหลือ 2 ปี ด้วยเหตุผลว่าระยะเวลา 6 ปีนั้นนานจนเกินไป คนไม่ได้ใช้งานเคอร์เนลกันนานขนาดนั้น การลดระยะเวลาดูแลยังช่วยลดภาระของ maintainer ลงได้อย่างมากด้วย
เคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 6.6 ปรับสถานะของระบบไฟล์ ReiserFS เป็น "ล้าสมัย" (obsolete) และเตรียมถอดออกในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า
ReiserFS เป็นระบบไฟล์ที่พัฒนาโดย Hans Reiser ออกครั้งแรกในปี 2001 และมีฟีเจอร์ทันสมัย (ในยุคนั้น) เช่น การทำ journaling จนทำให้บางดิสโทรของยุคนั้นอย่าง SUSE Linux Enterprise นำไปใช้งานเป็นระบบไฟล์หลัก (เลิกใช้ในปี 2006)
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 1993 Ian A Murdock ประกาศในกลุ่ม comp.os.linux.development ว่าเขากำลังพัฒนา Debian Linux Release ใกล้เสร็จ หลังจากใช้งาน SLS Linux และไม่พอใจหลายอย่าง
ประกาศครั้งนั้นวางแนวทางของ Debian เอาไว้หลายอย่าง เช่น
แนวทางการอัพเดตแพ็กเกจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Debian กลายเป็นดิสโทรพื้นฐานสำหรับดิสโทรยอดนิยมเช่น Ubuntu ขณะที่ในโลก container เอง Debian ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง
CIQ, Oracle, และ SUSE กลุ่มผู้แจกจ่ายลินุกซ์ดิสโทรที่ใช้ CentOS เป็นฐาน ประกาศก่อตั้ง Open Enterprise Linux Association (OpenELA) เพื่อพัฒนาดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL ต่อไป แม้ทาง Red Hat จะไม่เปิดโค้ดของ RHEL ให้แล้วก็ตาม
ภายในปีนี้ OpenELA จะเริ่มปล่อยซอร์สโค้ดสำหรับ EL8 และ EL9 และในอนาคตอาจจะย้อนกลับไปซัพพอร์ต EL7 อีกด้วย
สถิติผู้ใช้งาน Steam ประจำเดือนกรกฎาคม 2023 มีการเปลี่ยนแปลงน่าสนใจคือ สัดส่วนผู้ใช้งานลินุกซ์แซงหน้า macOS ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ผู้ใช้งาน Windows ยังครองส่วนแบ่งสูงถึง 96.21% ลดลงจากเดิมเล็กน้อย, macOS 1.84% และลินุกซ์รวมทุกดิสโทร 1.96%
อัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของลินุกซ์เกิดจากความนิยมของ Steam Deck นั่นเอง โดยระบบปฏิบัติการของ Steam Deck ดัดแปลงมาจาก Arch Linux ซึ่งตอนนี้มีสัดส่วนการใช้งานรวม (นับ Arch Linux ทั้งหมด) ที่ 0.16% ของผู้ใช้ Steam ทั้งหมด ตามมาด้วย Ubuntu 22.04 ที่ 0.14%
โครงการ Debian ประกาศรองรับซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V อย่างเป็นทางการ (riscv64 is now an official Debian architecture) หลังจากมีให้ใช้งานแบบพอร์ต (Debian port) มาระยะหนึ่งแล้ว
ประกาศนี้มาไม่ทัน Debian 12 Bookworm ที่ออกเมื่อเดือนที่แล้ว ดังนั้นเราจะได้ใช้ RISC-V ใน Debian stable เวอร์ชันหน้าคือ Debian 13 Trixie ที่จะออกในปี 2025 แต่ถ้าใครรีบด่วนก็สามารถทดลองใช้จาก Debian Sid ก่อนได้
AlmaLinux โครงการลินุกซ์ที่สร้างขึ้นทดแทน CentOS ประกาศแนวทางว่าจะไม่เอาเรื่องเข้ากันได้กับ RHEL ได้แบบ 100% ทดแทนได้แบบ 1:1 แล้ว แต่จะรักษาความเข้ากันได้ในระดับ Application Binary Interface (ABI) compatible คือแอพที่สร้างมารันบน RHEL จะสามารถรันบน AlmaLinux ได้อย่างไม่มีปัญหา
AlmaLinux บอกว่าผู้ใช้ทั่วไปจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะจะยังได้รับแพตช์ความปลอดภัยในเวลารวดเร็วเช่นเดิม รันแอพที่ออกแบบมาบน RHEL ได้เหมือนเดิม แต่จะไม่เหมือนกับ RHEL เป๊ะๆ ชนิดบั๊กต่อบั๊กอีกแล้ว ข้อดีของแนวทางนี้คือ AlmaLinux อาจแก้บั๊กได้เร็วกว่า RHEL ด้วยซ้ำ และการแก้บั๊กของ AlmaLinux จะเพิ่มคอมเมนต์ในซอร์สโค้ดด้วยว่านำแพตช์มาจากที่ใด ช่วยให้โครงการโปร่งใสมากขึ้น
SUSE บริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศพัฒนาลินุกซ์ต่อจาก RHEL ของ Red Hat แม้ว่าจะมี SUSE Linux Enterprise (SLE) เป็นดิสโทรหลักอยู่แล้วก็ตาม โดยโครงการใหม่ที่แยกออกมาจาก RHEL นี้จะดูแลโดยมูลนิธิด้านโอเพนซอร์สภายนอก เพื่อดูแลว่าสามาารถใช้งานซอร์สโค้ดร่วมกันได้ โดยทาง SUSE จะลงทุน 10 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ภายในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า
สำนักข่าว WebProNews ได้รายงานว่า ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 3% ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยอ้างอิงจากข้อมูล Statcounter ที่รายงานส่วนแบ่งตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปทั่วโลก เดือนมิถุนายนปีนี้ ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง 3.07% ได้เป็นครั้งแรกในตลอดช่วงเวลากว่า 30 ปีของลินุกซ์
จากสถิติของเดือนมิถุนายน อันดับแรก คือ Windows ครอง 68.23% อันดับสอง MacOS ครอง 21.32% อันดับสาม Chrome OS ครอง 4.13% และอันดับสี่ลินุกซ์ครอง 3.07%
Oracle ประกาศพัฒนา Oracle Linux ต่อแม้จะไม่สามารถใช้โค้ดของ RHEL ได้อีกต่อไป หลังจาก Red Hat ปิดการเข้าถึงซอร์สโค้ด พร้อมกับเชิญดิสโทรอื่นๆ มาใช้โค้ดของ Oracle Linux
ที่ผ่านมา Oracle Linux ก็เป็นหนึ่งในดิสโทรที่ใช้โค้ดจาก RHEL มาคอมไพล์ แต่หลังจากนี้ทาง Oracle ก็จะพัฒนาแยกออกไปเอง แต่ยังสัญญาว่าจะคงความเข้ากันได้ให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากมีจุดไหนไม่เข้ากันทาง Oracle ก็จะถือว่าเป็นบั๊กและพยายามแก้ปัญหาให้
Red Hat Enterprise Linux 7 (RHEL 7) จะสิ้นสุดอายุขัยในวันที่ 30 มิถุนายน 2024 (RHEL มีระยะซัพพอร์ต 10 ปีเต็มหลังออกครั้งแรก เป็นสุตร 5+5 คือ 5 ปีแรกซัพพอร์ตเต็มรูปแบบ 5 ปีหลังมีเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยและแก้บั๊ก)
เมื่อพ้นระยะ 10 ปีแล้ว ลูกค้าที่ย้ายเวอร์ชันใหญ่ไม่ทัน สามารถเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อซัพพอร์ตแบบพิเศษ Extended Life Cycle Support (ELS) ได้อีก 2 ปี (ถึงกลางปี 2026)
ล่าสุด Red Hat ประกาศยืดอายุซัพพอร์ต RHEL 7 แบบ ELS ให้เป็น 4 ปี (ถึงกลางปี 2028) และขยายการแพตช์ช่องโหว่จากเดิมเฉพาะระดับร้ายแรง (critical) เพิ่มมาเป็นระดับสำคัญ (important) ให้ด้วย โดยการขยายเวลา 4 ปีครั้งนี้ถือเป็นรอบพิเศษมีครั้งเดียว (one-time) ส่วนการซัพพอร์ต ELS ของ RHEL 8 และ 9 จะเพิ่มเป็น 3 ปี
หลังจาก Red Hat ไม่ปล่อยซอร์สโค้ด RHEL ก็ส่งผลกระทบต่อดิสโทรปลายน้ำที่นำโค้ดไปคอมไพล์ต่อ โดยตัวสำคัญสองตัว คือ AlmaLinux และ Rocky Linux ก็ออกมายืนยันว่าจะมีอัพเดตต่อไป
ทางฝั่ง AlmaLinux นั้นระบุว่าจะนำแพตช์มาจากหลายแหล่ง เช่น CentOS Stream และ Oracle Linux (ซึ่งเดิมใช้แพตช์จาก RHEL เหมือนกัน) นอกจากนี้แถลงของ AlmaLinux ยังตอบโต้แถลงของ Red Hat ที่ระบุว่าดิสโทร rebuild ไม่ได้สร้างคุณค่า โดยระบุว่าชุมชน AlmaLinux ช่วยดูแลแพลตฟอร์ม อย่าง Respberry Pi ส่งโค้ดกลับโครงการต้นน้ำหลายโครงกร และดูแลโครงการใน EPEL ที่เป็นแพ็กเกจนอกเหนือจากที่ Red Hat ดูแลอยู่จำนวนมาก