ไมโครซอฟท์ประกาศนำบริการคลาวด์เกมมิ่ง Xbox Cloud Gaming ไปยังแพลตฟอร์มแว่น Meta Quest ในเดือนธันวาคม 2023
สมาชิก Xbox Game Pass Ultimate สามารถนำเกมในคลัง Xbox Cloud Gaming ไปเล่นด้วยแว่น Meta Quest ได้ โดยจะเห็นเป็นจอ 2D ขนาดใหญ่ในโลก VR อีกที
ถึงแม้ไม่ใช่เกม VR แท้ๆ แต่ก็มีเกมดังๆ จำนวนมากจากแพลตฟอร์ม Xbox เช่น Halo Infinite, Minecraft Legends, Forza Horizon 5, Starfield ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนเกมบน Meta Quest ได้ในระดับหนึ่ง ฝั่งของไมโครซอฟท์เองก็เป็นการขยายฐานอุปกรณ์ใหม่ๆ เพิ่มเติม จากที่รองรับสมาร์ททีวี Samsung ไปแล้วในปี 2022
Meta เปิดตัว Ray-Ban Meta Smart Glasses แว่นอัจฉริยะรุ่นใหม่ที่จับมือกับ Ray-Ban หลังเคยออกรุ่นแรก Ray-Ban Stories เมื่อปี 2021 ฟังก์ชันต่างๆ ยังคล้ายเดิม แต่มีการอัพเกรดมากขึ้น และไม่เน้นขายการถ่ายลง Stories แล้ว
Ray-Ban Meta Smart Glass (ชื่อยาวแท้) มาพร้อมไมค์ 5 ตัว สำหรับช่วยตัดเสียงรบกวนภายนอก เอาไว้สำหรับรับสายโทรศัพท์ หรือเรียกใช้คำสั่งเสียง ส่วนกล้องที่ติดอยู่ด้านบนของเลนส์ ได้ขนาดเซ็นเซอร์ 12 ล้านพิกเซล ความละเอียด FHD สามารถไลฟ์สตรีมขึ้นบน Facebook หรือ Instagram ได้ในตัว ซึ่งตัวแว่นจะมีหลอดไฟบ่งบอกด้วยว่า กล้องกำลังถูกเปิดใช้งานอยู่
Meta ประกาศว่า Meta Quest 3 เฮดเซต VR ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายน จะเริ่มวางขายทั่วไปวันที่ 10 ตุลาคมนี้ และสามารถพรีออเดอร์ได้แล้วตั้งแต่วันนี้
ราคาของ Meta Quest 3 อยู่ที่ 499.99 ดอลลาร์ ในรุ่นความจุ 128GB และ 649.99 ดอลลาร์ ในรุ่นความจุ 512GB
Meta ยังมีโปรโมชันสำหรับผู้ที่ซื้อ Meta Quest 3 ตั้งแต่วันนี้ถึง 27 มกราคม 2024 จะได้เกม Asgard’s Wrath 2 ราคา 60 ดอลลาร์ไปด้วย นอกจากนี้สำหรับรุ่น 512GB ยังได้สิทธิทดลองใช้งาน Meta Quest+ ฟรี 6 เดือน
Meta เปิดตัวเครื่องมือตกแต่งแก้ไขรูปภาพด้วย Generative AI สำหรับทุกแพลตฟอร์มทั้ง Instagram, Facebook, WhatsApp และ Messenger
เครื่องมือแรกคือการแก้ไขรูปภาพสำหรับลง Instagram มีสองฟีเจอร์คือ Restyle โดยป้อน prompt สไตล์ของภาพที่ต้องการ และ Backdrop สำหรับตัดต่อใส่ฉากหลังให้กับภาพตามต้องการ
เครื่องมืออีกชุดคือสติกเกอร์ AI สามารถใช้งานได้ทั้งใน Facebook Stories, Instagram Stories, Instagram DM, Messenger และ WhatsApp สามารถสร้างสรรค์สติกเกอร์ได้ตาม prompt ที่ระบุ เทคโนโลยีนี้ Meta บอกว่าใช้โมเดล Llama 2 และ Emu ในการรับข้อมูลและสร้างสรรค์ภาพวาดขึ้นมา
Meta อัปเดตโลโก้ของ facebook ใหม่ โดยให้เหตุผลว่า “ต้องการปรับให้โลโก้ดูโดดเด่นและดึงดูดมากขึ้น ด้วยการปรับสีน้ำเงินของ Facebook ให้สื่อถึงความมั่นใจ (สีน้ำเงินเข้มขึ้น) และตัว f พิมพ์เล็กมีการปรับดีไซน์ให้ดูโดดเด่นมากขึ้น”
ส่วนโลโก้ Facebook แบบเต็มมีการเปลี่ยนมาใช้ฟอนต์ Facebook Sans ที่ทางบริษัทได้สร้างขึ้นมาเอง รวมไปถึงสีอิโมจิของปุ่มรีแอคชัน, ปุ่มต่างๆ ที่มีการใช้สีฟ้าก็มีการปรับมาใช้สีน้ำเงินเข้มขึ้นตามสีโลโก้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการขยายโทนสีน้ำเงินของ Facebook มากขึ้นเช่น Blue, Sky Blue, Light Blue, Navy และ Dark Navy
ทางบริษัทบอกว่านี่เป็นช่วงแรกของการปรับปรุงเอกลักษณ์ของบริษัทเท่านั้น ยังมีการออกแบบเพิ่มเติมอีก
Meta เปิดตัวบริการขายเครื่องหมายติ๊กถูก Meta Verified for Businesses สำหรับองค์กรภาคธุรกิจบน Facebook และ Instagram ในราคา 21.99 ดอลลาร์ต่อโซเชียลต่อเดือน หากต้องการทั้ง Facebook และ Instagram มีราคาเหมา 34.99 ดอลลาร์ต่อเดือน
Meta Verified for Businesses เป็นส่วนต่อขยายจาก Meta Verified สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ราคา 11.99 ดอลลาร์ จ่ายเงินแล้วได้ยืนยันตัวตนว่าเป็นธุรกิจนั้นจริงๆ ไม่ถูกสวมรอย, มีบริการเฝ้าระวังการสวมรอยจากบัญชีชื่อแบบเดียวกัน, สามารถติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตที่เป็นมนุษย์ได้โดยตรง, แสดงอยู่ในพื้นที่เด่นชัดบนผลการค้นหา และมีแนะนำให้ติดตามบน feed ด้วย
Meta ประกาศว่า Horizon Worlds แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สของบริษัท จะรองรับการใช้งานนอกจากเหนือจากเฮดเซต VR แล้ว โดยเพิ่มการใช้งานผ่านเว็บและมือถือ
ทั้งนี้สถานะบริการยังเป็นขั้นทดสอบ ผู้สนใจต้องสมัครยื่นขอใช้งานก่อน
การเพิ่มแพลตฟอร์มใช้งาน Horizon Worlds น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้น จากที่ต้องมีเฮดเซต Quest ซึ่งก็จำกัดกลุ่มอยู่แล้ว ที่ผ่านมา Meta ไม่เคยเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งาน Horizon Worlds ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้ชีวิตในโลกเสมือน สนทนา เล่นเกมกับผู้ใช้งานคนอื่น สามารถสร้างไอเท็มเพื่อขายในโลกเสมือน โดย Meta หักส่วนแบ่ง 47.5%
มีรายงานจาก The Wall Street Journal พูดถึงแผนการพัฒนา AI ผู้ช่วยตัวใหม่ของ Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram โดยมีเป้าหมายให้ความสามารถสูงกว่าโมเดล Llama 2 ที่เปิดตัวเมื่อสองเดือนที่แล้ว และสามารถแข่งขันกับ GPT-4 ของ OpenAI ได้
แผนการเทรนโมเดลใหม่ดังกล่าวจะเริ่มในต้นปี 2024 เนื่องจาก Meta จะใช้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลในศูนย์ข้อมูลตนเองทั้งหมด แตกต่างจาก Llama 2 ที่ใช้ทรัพยากรของ Azure จากไมโครซอฟท์ ซึ่งตอนนี้บริษัทก็รับสมัครพนักงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสั่งซื้อจีพียู H100 จาก NVIDIA จำนวนมากอีกด้วย
ย้อนไปในเดือนกรกฎาคม Meta ได้เปิดตัว Threads แอปโซเชียลเน้นโพสต์ข้อความ ซึ่งการเลือกจังหวะเวลาเปิดตัวในช่วงที่ Twitter ตอนนั้นตั้งลิมิตผู้ใช้งาน ส่งผลให้ Threads กลายเป็นทางเลือกที่คนแห่กันมาสมัครลองใช้ ทำสถิติมีผู้สมัครใช้งาน 100 ล้านบัญชี ในเวลาเพียง 5 วัน เร็วที่สุดในทุกแพลตฟอร์มที่เคยมีมา
Jesse Chen ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของ Threads ได้เขียนบล็อกและให้สัมภาษณ์ พูดถึงความท้าทายของโครงการ ที่มีระยะเวลาสั้นในการพัฒนา ตลอดจนการสเกลเพื่อรองรับผู้สมัครใช้งานจำนวนมหาศาลที่ไม่เคยมีมาก่อน
Facebook ประกาศปิดบริการ Facebook News ในยุโรป 3 ประเทศคือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี หลังเริ่มเปิดบริการในยุโรปเมื่อปี 2021
Facebook News เป็นแท็บแยกของ News Feed เอาไว้อ่านข่าวโดยเฉพาะ เปิดตัวครั้งแรกในสหรัฐปี 2019 และขยายไปยังบางประเทศ (ไม่มีไทย) แต่ภายหลัง Facebook ก็ทยอยถอนตัวจากคอนเทนต์สายข่าว โดยให้เหตุผลว่าคนไม่ได้สนใจเข้ามาอ่านข่าว โดยเฉพาะข่าวการเมืองจาก Facebook จึงหันมาปรับอัลกอริทึมให้เห็นโพสต์จากเพื่อนเพิ่มขึ้นแทน
สื่อเกาหลีใต้ Maeil Business Newspaper รายงานข่าวลือว่า Meta กำลังจับมือกับ LG เพื่อพัฒนาแว่นสามมิติ Quest Pro รุ่นใหม่ โดย LG จะรับผิดชอบทั้งหน้าจอ (LG Display), แบตเตอรี่ (LG Energy), ชิ้นส่วนอื่น (LG Innotek) และกระบวนการผลิตด้วย
คาดว่าแว่นรุ่นนี้จะออกวางขายในปี 2025 ตั้งราคาราว 2,000 ดอลลาร์ แพงขึ้นจาก Quest Pro รุ่นแรกที่เปิดตัวราคา 1,499 ดอลลาร์ ก่อนลดเหลือ 999 ดอลลาร์ ในระยะถัดมา
แว่น Quest Pro 2 น่าจะต้องรีบเข็นออกสู่ตลาดเพื่อรับมือกับแว่น Apple Vision Pro ที่มีกำหนดขายปี 2024 ตั้งราคา 3,500 ดอลลาร์
มีรายงานจาก The New York Times ว่า Meta กำลังพิจารณาออกแพ็คเกจ Subscription สำหรับประเทศกลุ่ม EU เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน และการแสดงผลโฆษณา โดยแพ็คเกจนี้เมื่อผู้ใช้งานจ่ายเงินแพลตฟอร์มของ Meta ทั้ง Facebook, Instagram จะไม่แสดงโฆษณาเลย
ปัจจุบัน Meta เปิดให้ผู้ใช้ใน EU สามารถเลือกปิดการติดตามข้อมูลผู้ใช้งานสำหรับแสดงโฆษณาแบบ Opt-out และเตรียมเปิดการตั้งค่านี้เป็น Opt-in ไปเลย
ที่ผ่านมาไอร์แลนด์ได้สั่งปรับ Meta 1.3 พันล้านดอลลาร์ จากสาเหตุมีการส่งออกข้อมูลผู้ใช้ในประเทศออกไปอเมริกา ผิดเงื่อนไข GDPR ซึ่งส่งผลให้ Meta ระมัดระวังในการให้บริการมากขึ้น
Meta ปฏิเสธข้อแนะนำจาก Oversight Board (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบอำนาจการใช้นโยบายของ Facebook) ที่เสนอให้ระงับบัญชีของฮุนเซนอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (เพิ่งลาออกเมื่อเดือนที่แล้ว) เนื่องจากมีการโพสต์วิดีโอข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมที่มีผู้ใช้หลายคนรายงานวิดีโอ ซึ่งมีเนื้อหาระบุอดีตนายกฮุน เซน บอกว่าผู้ที่กล่าวหาว่าพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซื้อเสียงในปี 2565 ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ควรถูกยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะถูกรุมทุบตี (face a beating) จากเหล่าผู้สนับสนุนพรรค CPP
หลังจากที่อวตาร ใน Metaverse ถูกแซวมานานไม่ว่าจะเรื่องคุณภาพกราฟิคหรือการที่อวตารมีแค่ครึ่งตัวบนมานาน ล่าสุด Meta เปิดให้อัปเดตบน Meta Quest headsets เวอร์ชันใหม่มีการเพิ่มขาให้อวตารแล้วในรุ่นเบต้า ซึ่งสามารถเห็นขาและอวตารของตัวเองแบบเต็มตัว ซึ่งเบื้องต้นจะแสดงผลในส่วนที่เป็นฟีเจอร์ Horizon Home และสามารถเห็นขาได้จากมุมมองที่สามเท่านั้น
ถึงแม้ว่าชุด Meta Quest headsets มีฟีเจอร์ Hand Tracking สำหรับจับการการเคลื่อนไหวของมือ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้มือในการควบคุมได้โดยไม่ต้องใช้คอนโทรลเลอร์ แต่ไม่สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของขาและเท้า ซึ่งทำให้ยากต่อการสร้างอวตารที่มีขา
Google Cloud มีบริการเช่ารันโมเดล AI ชื่อ Vertex AI ที่ให้บริการมาสักระยะหนึ่งแล้ว และเปิดบริการโมเดล Generative AI เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีทั้งโมเดลของกูเกิลเอง และโมเดลจากบริษัทอื่นด้วย กูเกิลเรียกบริการนี้ว่า Model Garden
ล่าสุดในงาน Google Cloud Next '23 เมื่อคืนนี้ กูเกิลประกาศเพิ่มโมเดลของพาร์ทเนอร์อีกหลายตัว ได้แก่
Meta ปล่อย Code Llama โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาต่อจาก Llama2 มาฝึกกับซอร์สโค้ดขนาด 500 ล้านโทเค็น ได้โมเดลทั้งแบบเติมโค้ดปกติ, แบบรับคำสั่ง, และโมเดลฝึกเฉพาะกับโค้ด Python
ผลทดสอบการเขียนโค้ด HumanEval นั้น Code Llama ขนาด 34B ได้คะแนนดีกว่าโมเดลอื่นๆ ทั้งหมด รวมถึง GPT-3.5 หรือ ChatGPT ด้วย เป็นรองเพียง GPT-4 เท่านั้น ขณะที่โมเดลขนาดรองลงมา เช่น 7B และ 13B ก็ยังทำคะแนนได้ดีและตอบสนองเร็วกว่ามาก
กระบวนการฝึก Code Llama นั้นเน้นถึงการเติมโค้ดตรงกลางเพิ่มเข้ามา เนื่องจากการใช้งานมักต้องใช้สำหรับ code completion ด้วย และต้องฝึกให้ขยาย context จาก 4K เป็น 100K เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเขียนโค้ดขนาดใหญ่ๆ
Meta เปิดตัว SeamlessM4T โมเดล AI แบบ multilingual multimodal สำหรับการแปลภาษาทั้งเสียงพูดและข้อความ รองรับเกือบ 100 ภาษา ภายใต้สัญญาอนุญาต CC BY-NC 4.0 สามารถนำไปใช้งานได้สำหรับการวิจัย
ความสามารถของ SeamlessM4T สามารถรับรู้เสียงได้เกือบ 100 ภาษา, แปลภาษาจากเสียงพูดเป็นตัวหนังสือ ได้เกือบ 100 ภาษา, แปลเสียงพูดเป็นเสียงพูด ด้วยอินพุทเกือบ 100 ภาษา และเอาท์พุท 36 ภาษา และแปลจากตัวหนังสือเป็นตัวหนังสือได้เกือบ 100 ภาษา
Meta ประกาศว่าเพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายดิจิทัล DSA ของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ต้องสามารถปิดการใช้งาน (opt-out) ระบบแนะนำเนื้อหา (Recommendation) ที่เรียนรู้และปรับแต่งให้เข้ากับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ โดย Meta จะเพิ่มตัวเลือกปิดการแนะนำเนื้อหามีผลกับ Reels, Stories และ Search ใน Facebook และ Instagram
Meta บอกว่าเมื่อผู้ใช้งานเลือกปิดระบบแนะนำ ฟีดจะเลือกเนื้อหามาแสดงโดยอิงตามบัญชีที่ติดตาม เรียงตามลำดับเวลาล่าสุดไปหาเก่าสุด ส่วนระบบ Search แสดงผลการค้นหาอิงตามคีย์เวิร์ดที่ป้อนเข้าไป โดยไม่มีการปรับแต่งผลลัพธ์อิงตามประวัติการใช้งานแต่ละคน
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประกาศเตรียมฟ้องศาลเพื่อขอคำสั่งให้ปิดกั้นเฟซบุ๊กไม่ให้สามารถใช้บริการในไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มรับเงินค่าโฆษณาจากเพจปลอมแต่กลับไม่มีการตรวจสอบ
ปัญหาใหญ่ที่ประชาชนถูกหลอกลวงมาจากเฟซบุ๊ก โดยมีการหลอกลวงให้ลงทุนผ่านโซเซียล 70% มาจากเฟซบุ๊ก และหลอกขายของออนไลน์จำนวน 90% ก็มาจากเฟซบุ๊ก ที่ผ่านมาทางกระทรวงพยายามปิดแอคเคาท์ แต่ก็เหมือนจับแมวไล่หนู ปิดไป 1 เพจ ก็เปิดมาอีก 10 เพจ ซึ่งการที่เฟชบุ๊กรับเงินจากเพจเหล่านี้โดยไม่มีการตรวจสอบถือว่า เป็นผู้สนับสนุนและไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งชัยวุฒิระบุว่า ถ้าเฟซบุ๊กไม่ปรับปรุง ก็ไม่ควรทำธุรกิจในเมืองไทยต่อไป
จากกรณีกฎหมายข่าวออนไลน์ของแคนาดา ที่บังคับแพลตฟอร์มต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้สำนักข่าว จนเป็นผลให้ Google และ Meta ตัดสินใจปิดกั้นการมองเห็นข่าวของผู้ใช้ในแคนาดา เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย
สัปดาห์ที่แล้ว แคนาดาเกิดเหตุไฟป่าใหญ่ในเขต Northwest Territories ทางตอนเหนือของประเทศ ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องอพยพ อย่างไรก็ตาม ชาวแคนาดาที่ต้องการแชร์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไฟป่ากลับไม่สามารถทำได้ เพราะระบบตรวจจับข่าวของ Meta ไม่อนุญาตให้โพสต์ ผู้ใช้หลายคนจึงต้องเลี่ยงไปใช้วิธีแคปหน้าจอข่าวแล้วโพสต์แทน ซึ่งทำให้ไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลละเอียดได้
The Wall Street Journal รายงานว่า Meta เตรียมออก Threads เวอร์ชันใช้งานผ่านเว็บภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติการใช้งานที่มีการร้องขอมากเป็นอันดับต้น ๆ และคาดว่าฟีเจอร์นี้อาจช่วยให้คนกลับมาใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น หลังตัวเลขผู้ใช้ลดลงทุกสัปดาห์
Adam Mosseri หัวหน้าทีม Instagram ซึ่งรับผิดชอบโครงการ Threads เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า Threads เวอร์ชันเว็บจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบภายใน Meta แต่ไม่ได้บอกว่าจะเปิดตัวกับผู้ใช้งานทั่วเมื่อใด เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพียงตอนนี้ยังพบบั๊กอยู่พอสมควร จึงไม่ควรให้ใช้งานตอนนี้
Business Insider อ้างข้อมูลจากอีเมลภายใน Meta ที่ส่งถึงพนักงานทุกคนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอัพเดตข้อกำหนดการกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงาน (Return to Office) ระบุว่าการเข้ามาทำงานในสำนักงาน เป็นข้อบังคับสำหรับพนักงานทุกคนที่ไม่ได้เป็นพนักงานรีโมทแบบเต็มเวลา โดยพนักงานต้องเข้ามาในพื้นที่สำนักงานเป็นเวลาส่วนใหญ่ของแต่ละสัปดาห์ ซึ่งนับรวมถึงการออกไปพบปะลูกค้าด้วย
ก่อนหน้านี้ Meta ออกกฎการทำงานในสำนักงานแบบไฮบริด ระบุว่าต้องเข้าสำนักงานอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
โดยปกติแล้วผู้ใช้งาน Instagram Stories สามารถกดซูมภาพเข้าออกได้เพียงแค่เลื่อนนิ้วขึ้นลง ตรงปุ่มถ่ายบนหน้าจอ แต่ตอนนี้ผู้ใช้หลายคนพบปัญหา ขณะที่กดซูมเข้าเพียงนิดเดียว ภาพที่ได้กลับซูมมากกว่าปกติและไม่สามารถกดซูมออกได้ ซึ่งส่วนใหญ่พบปัญหาบน iPhone รุ่นที่เป็น iOS16 และ iOS 17 เบต้า ยังไม่พบในระบบ Android
Messenger ของ Meta ประกาศผ่านบล็อกว่า แอปพลิเคชัน Messenger จะเลิกรองรับการรับและส่งข้อความแบบ SMS หลังอัปเดตเวอร์ชันของแอป ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2023
Messenger รองรับการรับส่งข้อความแบบ SMS ครั้งแรกในปี 2012 และถูกยกเลิกไปในปี 2013 หลังจากนั้น Messenger ได้ประกาศรองรับ SMS อีกครั้ง และให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งข้อความ SMS นั้นจะมีสีพื้นหลังเป็นสีม่วงแทนสีเริ่มต้นอย่างสีน้ำเงิน
Meta เปิดซอร์สโมเดล AudioCraft ชุดโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับสร้างเพลงตามคำบอก โดยระบุแนวเพลงและเครื่องดนตรีที่ต้องการ
AudioCraft ประกอบด้วย 3 โมเดล ได้แก่ MusicGen สำหรับสร้างเพลงตามคำบอก, AudioGen สร้างเสียงอื่นๆ เช่น เสียงหมาเห่า, คนเดินบนพื้นไม้, และ EnCodec ปัญญาประดิษฐ์บีบอัดเสียงที่ Meta เคยเสนอมาตั้งแต่ปี 2022 แต่ปรับปรุงคุณภาพขึ้น
ฟีเจอร์พิเศษของ MusicGen คือรับไฟล์เสียงเพื่อนำเมโลดี้มาแปลงเพลง เราจึงแปลงคลาสสิคเป็นฮิบฮอบหรือเพลงแนวอื่นๆ ตามใจชอบ