Motorola และ Verizon ส่งบัตรเชิญถึงสื่อในสหรัฐเข้าร่วมงานแถลงข่าววันที่ 18 ตุลาคมนี้ที่นิวยอร์ค
Motorola ยังไม่เปิดเผยว่าจะแถลงข่าวอะไร แต่ในวิดีโอทีเซอร์ก็โชว์คำโปรยว่า "Faster. Thinner. Smarter. Stronger." ซึ่งคาดว่าหมายถึง Droid RAZR ที่เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ (และอาจรวมถึง Xoom 2 ด้วย)
ในอีเมลที่เชิญสื่อมวลชนยังตั้งชื่อไฟล์ภาพว่า spyderlaunchinvite ซึ่งชื่อ "Spyder" น่าจะหมายถึง Droid RAZR ครับ (ในวิดีโอก็มีรูปใบมีดโกนด้วยนะ)
คดีสิทธิบัตรโทรศัพท์มือถือเริ่มยุ่งเหยิงขึ้นเรื่องๆ โดยล่าสุดบริษัทที่เข้าร่วมวงคือ Intellectual Ventures ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ด้วยการทำธุรกิจกับสิทธิบัตรอย่างเดียว ได้ฟ้อง Motorola Mobility ว่าละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท
สิทธิบัตรของ Intellectual Ventures นั้นมีมากกว่า 35,000 ใบ โดยบริษัทใช้เงินไปกว่า 400 ล้านดอลลาร์ในการกว้านซื้อสิทธิบัตรเหล่านี้มาและทำรายได้มาแล้วกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์
การที่กูเกิลซื้อ Motorola ย่อมทำให้ผู้ผลิต Android รายอื่นๆ ไม่สบายใจ ช่วงหลังเราจึงเห็นข่าวซัมซุงไปจับมือกับอินเทลทำ Tizen หรือข่าวลือว่า HTC จะซื้อ Palm อยู่เป็นระยะ
Eric Schmidt ประธานของกูเกิลออกมาสยบความกังวลนี้ (คนจะเชื่อหรือเปล่าก็อีกเรื่อง) โดยให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่าสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ecosystem ของ Android ดังนั้นกูเกิลจะไม่ให้ความสำคัญกับ Motorola หรือผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อรักษาพลวัตรของ Android เอาไว้
เขายังยืนยันว่าเป้าหมายหลักของกูเกิลคือสิทธิบัตร 17,000 รายการที่ Motorola มี ซึ่งจะช่วยหยุด "สงครามสิทธิบัตร" ในโลกมือถือได้ นอกจากนี้ยังจะได้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่สามารถสร้างมือถือ-แท็บเล็ตสำหรับอนาคตได้
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีภาพหลุด-ข้อมูลหลุดของฝั่ง Motorola ออกมา 2 อย่าง รวมเป็นข่าวเดียวนะครับ
Motorola Droid RAZR
รหัสของมันคือ Motorola Spyder หรือ Droid HD แต่ชื่อจริงๆ น่าจะเป็น Droid RAZR ซึ่งเป็นการรวมเอาชื่อของมือถือที่ฮิตที่สุดสองรุ่นของ Motorola ในรอบหลายปีหลังมาไว้ด้วยกัน
สเปกคร่าวๆ คือจอ 4.3" 960x540 Super AMOLED, ซีพียูดูอัลคอร์ 1.2GHz, กล้อง 8MP ถ่ายวิดีโอ 1080p, แรม 1GB, รองรับ 4G LTE, มีอุปกรณ์เสริม webtop แบบเดียวกับ Atrix
จากผลการสำรวจล่าสุดของ UBS Investment Research ที่สอบถามผู้ใช้โทรศัพท์ระดับไฮเอนด์ (ย้ำว่าเฉพาะไฮเอนด์นะครับ ไม่ใช่ตลาดโดยรวม) เป็นจำนวน 515 คนเกี่ยวกับแผนการในการซื้อโทรศัพท์เครื่องต่อไป พบว่าผู้ใช้ iPhone ที่ตั้งใจว่าจะยังคงใช้โทรศัพท์แบรนด์เดิมเป็นโทรศัพท์เครื่องต่อไป (retention rate) นั้นสูงถึง 89% โดยมีอันดับที่สองตามมาคือ HTC ที่ 39%
ผู้ที่กำลังเสียหายหนักจากผลการสำรวจนี้คือ RIM ที่ตัวเลขนี้ลดลงจาก 62% เหลือเพียง 33% ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา และตามมาด้วย Samsung ที่ 28% และ Motorola ที่ 25%
DROID BIONIC เป็นมือถือของ Motorola ที่ขายกับเครือข่าย Verizon ของสหรัฐ (ถือเป็น DROID อีกตัวหนึ่ง) ความน่าสนใจของมันคือเปิดตัวตั้งแต่ CES 2011 เดือนมกราคม แต่วางขายจริงไม่ได้สักที (ปล่อยให้คู่แฝดคนละฝาคือ
ผมเข้าใจว่าเป็นมือถือตัวแรกที่ Motorola เปิดตัวหลังข่าวควบกิจการกับกูเกิลนะครับ
Motorola PRO+ เป็นมือถือระดับกลางบนที่มีคีย์บอร์ด QWERTY ในตัว สเปกแบบคร่าวๆ คือ ซีพียู 1GHz, แรม 512MB, หน้าจอ 3.1" 640x480 กระจก Gorilla Glass, กล้องหลัง 5MP พร้อมแฟลช, หน่วยความจำภายใน 4GB เพิ่ม Micro SD ได้, แบต 1,600 mAh, รองรับ HSDPA 14.4 Mbps (มีคลื่น 850 MHz ด้วย), ระบบปฏิบัติการเป็น Android 2.3
มือถือตัวนี้น่าสนใจสำหรับคนที่อยากได้ Android + QWERTY (แบบไม่สไลด์) โดย Motorola ประกาศว่า PRO+ จะออกมาเพื่อตลาดยุโรปและเอเชียโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามยังไม่ระบุชื่อประเทศ ทำให้ต้องรอดูว่าจะเข้ามาขายในบ้านเราหรือเปล่า ในข่าวบอกว่าเริ่มขายตุลาคมนี้
ฝุ่นควันของการควบกิจการกูเกิล-โมโตโรลายังไม่ทันจาง ไมโครซอฟท์ (ซึ่งมีข่าวว่าอยากซื้อสิทธิบัตรของโมโตโรลา) ก็เปิดเกมลุยเต็มท
กรณีของกูเกิลซื้อโมโตโรลานั้น เป้าหมายสำคัญของกูเกิลคือสิทธิบัตรของโมโตโรลาจำนวน 17,000 รายการ และอยู่ระหว่างรออนุมัติอีก 7,500 รายการ
แต่ David Mixon นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรได้ประเมินแล้วว่า สิทธิบัตรที่กูเกิลจะได้ใช้งานจริงๆ ในคดีที่เกี่ยวข้องกับ Android มีเพียง 18 รายการเท่านั้น ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมมือถือ เช่น การออกแบบเสาอากาศ, การส่งอีเมล, 3G ฯลฯ โดยโมโตโรลาได้ใช้สิทธิบัตรชุดนี้ต่อสู้คดีกับแอปเปิลอยู่แล้ว
Mixon ให้ความเห็นว่าในการต่อสู้คดีทางสิทธิบัตร จะต้องคัดเฉพาะสิทธิบัตรที่มีผลกระทบต่อฝ่ายตรงข้ามเยอะที่สุด และใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นฟ้องคดีไปโดยตรง
นักลงทุน John W. Keating ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของ Motorola Mobility ยื่นฟ้องต่อศาลในชิคาโก โดยใส่ชื่อกูเกิลและผู้บริหารของ Motorola Mobility จำนวน 9 คนในฐานะจำเลย
ส่วนข้อหาก็คือ "ข้อเสนอซื้อของกูเกิลนั้นไม่ได้ตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท" หรืออธิบายง่ายๆ ว่าขายถูกไปนั่นล่ะครับ นักลงทุนรายนี้ประกาศว่าจะชวนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ มาร่วมฟ้องแบบกลุ่ม (class-action) ด้วย
กูเกิลซื้อหุ้น Motorola ด้วยราคาหุ้นละ 40 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าราคาในตลาดขณะนั้น 63%
ที่มา - Businessweek
หลังกูเกิลซื้อโมโตโรล่าไป ก็มีความเห็นทางการจากบรรดาผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้งหลายออกมาซึ่งส่วนใหญ่มองไปในทางบวก วันนี้อีกสองคู่แข่งออกมาให้ความเห็นเพิ่มเติมแล้วครับ
Andy Rubin บิดาแห่ง Android ออกมาชี้แจงแล้วว่าการเข้าซื้อกิจการ Motorola จะไม่มีผลต่อแผนการเลือกผู้ผลิตมือถือสาย Nexus
Rubin บอกว่าการเลือกผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับ Nexus นั้นมีกระบวนการของมันเองอยู่แล้ว นั่นคือช่วงคริสต์มาสของทุกปี ทีมของเขาจะเลือกผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ชุดหนึ่ง และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 9-12 เดือน จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมขายในช่วงคริสต์มาสของปีถัดไป
เขาบอกว่าทีม Android จะยังไม่เปลี่ยนกระบวนการนี้ ส่วนเรื่องการซื้อ Motorola เป็นเรื่องที่แยกจากกันชัดเจน และ Android จะยังเปิดกว้างต่อผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ เหมือนเดิม
เริ่มมีข้อมูลเบื้องหลังของ การซื้อกิจการระหว่างกูเกิลกับ Motorola Mobility ออกมากันแล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่ข้อมูลอย่างเป็นทางการก็ตาม
กูเกิลประกาศเข้าซื้อบริษัท Motorola Mobility Holdings (MMI) กิจการฝั่งโทรศัพท์มือถือของโมโตโรล่าเดิม (อีกส่วนคือ Motorola Solution) ด้วยมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์หรือ 40 ดอลลาร์ต่อหุ้น สูงกว่าราคาปิด 63%
กูเกิลยืนยันว่าหลังการเข้าซื้อโมโตโรล่า แอนดรอยด์จะยังคงเป็นแพลตฟอร์มเปิดต่อไป โดยโมโตโรล่าจะเป็นกิจการแยกออกจากกูเกิล ไม่รวมเข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน
Larry Page เขียนบล็อกถึงการเข้าซื้อครั้งนี้โดยยังไม่อธิบายชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับสิทธิบัตรจำนวนมหาศาลของโมโตโรล่า แต่ยืนยันว่าการที่กูเกิลเข้าซื้อโมโตโรล่าจะเพิ่มความสามารถการแข่งขันด้านสิทธิบัตรของกูเกิล และกูเกิลจะสามารถปกป้องแอนดรอยด์จากทั้งไมโครซอฟท์, แอปเปิล, และบริษัทอื่นๆ ได้ดีขึ้น
กูเกิลประกาศการเข้าซื้อ Motorola Mobility พันธมิตรสำคัญในแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ด้วยมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าราคาปิดตลาดของ Motorola Mobility เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ส.ค. อยู่ 63%
กูเกิลกล่าวอย่างชัดเจนว่า คลังสิทธิบัตรของ Motorola จะถูกนำมาใช้ปกป้องแอนดรอยด์จากสงครามสิทธิบัตรที่มุ่งโจมตีแอนดรอยด์ โดยอ้างอิงถึงกรณีที่ไมโครซอฟท์และแอปเปิลจับกลุ่มกันประมูลสิทธิบัตรของ Nortel
ดีลเข้าซื้อนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากทางการเสียก่อน ซึ่งคาดว่ากระบวนการจะสิ้นสุดในปลายปี 2011 หรือต้นปี 2012
ในบรรดาผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ทั้งหมดนั้น โมโตโรล่านั้นดูจะเป็นผู้ผลิตที่มีอดีตอันยิ่งใหญ่ที่สุด จากผู้นำด้านอุปกรณ์การสื่อสารไร้สายในสหรัฐฯ แต่เมื่อเจอวิกฤติโมโตโรล่าก็ต้องมาพึ่งพาแอนดรอยด์ซึ่งก็ทำหน้าที่ได้ดีและสามารถพาโมโตโรล่ากลับมาอยู่ในภาวะที่กำไรได้อีกครั้ง
แต่มรดกของอดีตอันยิ่งใหญ่คือสิทธิบัตรจำนวนมหาศาลของโมโตโรล่านั้นยังคงอยู่ และตั้งแต่การแถลงผลครั้งสุดท้ายที่ผ่านมาโมโตโรล่าก็เริ่มส่งสัญญาณว่าบริษัทกำลังจะเก็บค่าใช้งานสิทธิบัตรจากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
จากข่าว Motorola จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Kore และอาจจะเป็นแท็บเล็ตตัวใหม่ของบริษัท
ต่อเนื่องจากกรณี Galaxy Tab 10.1 ถูกสั่งห้ามขายในยุโรป เนื่องจากคดีระหว่างซัมซุงกับแอปเปิล มีคนไปค้นพบข้อมูลในคำร้องของฝ่ายซัมซ
Sanjay Jha ซีอีโอของ Motorola Mobility ให้สัมภาษณ์ว่าถึงแม้ตอนนี้บริษัทของเขาจะเน้น Android เป็นหลัก แต่ก็เปิดรับ Windows Phone เต็มที่ และสนใจจะเซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์ ถ้าหากว่าไมโครซอฟท์เสนอเงื่อนไขดี ๆ ให้อย่างที่เสนอให้โนเกีย
อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่านอกจาก iOS และ Android แล้ว ตอนนี้ยังไม่เห็นแนวโน้มชัดว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ ตัวไหนที่จะอยู่รอด แต่เขาไม่คิดว่าคู่แข่งชิงอันดับสามทั้งสามรายคือ BlackBerry, webOS และ Windows Phone จะรอดได้ทั้งหมด
ถึงแม้ Motorola จะไม่ประสบความสำเร็จมากนักกับ XOOM แต่ก็มีข่าวลือออกมาว่าตอนนี้บริษัทกำลังซุ่มทำแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 4.0 Ice Cream Sandwich อยู่ และจะใช้สัดส่วนหน้าจอขนาด 4:3 แบบเดียวกับ iPad
และเมื่อวันพุธ บริษัทได้จดโดเมนใหม่ 5 รายการ ซึ่งผสมผสานระหว่างคำว่า Motorola กับ Kore เช่น motorolakore.com, moto-kore.com, motorola-kore.com
ตอนนี้ยังไม่มีอะไรชี้ชัดว่าแท็บเล็ตตัวนี้จะชื่อ KORE (เพราะอาจจะจดไว้สำหรับอย่างอื่น หรือเปลี่ยนใจทีหลังได้) แต่ก็มีความเป็นไปได้พอสมควรครับ อีกไม่นานคงจะรู้กัน
ที่มา - Fusible
Motorola รายงานผลประกอบการไตรมาสที่สอง มีรายได้ 3.3 พันล้านดอลลาร์ แต่ยังคงขาดทุนสุทธิ 56 ล้านเหรียญต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้
ในส่วนตัวเลขส่งมอบสินค้านั้น Xoom อยู่ที่ 440,000 เครื่อง สมาร์ทโฟนรวม 4.4 ล้านเครื่อง และฟีเจอร์โฟน 6.2 ล้านเครื่อง
ซีอีโอ Sanjay Jha กล่าวว่าตัวเลขในไตรมาสถัดไปอาจออกมาแย่ลงเนื่องจาก Motorola ต้องเลื่อนแผนวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ออกไปถึงเดือนกันยายน รวมถึง Xoom ต้องปรับราคาลงมาด้วย
เว็บไซต์ Droid-Life เผยข้อมูลของมือถือจาก Motorola รหัส "Dinara" ซึ่งอัดสเปกมาเต็มที่ ได้แก่
น่าจะออกช่วงปลายปีพร้อมกับ Android Ice Cream Sandwich ครับ
ที่มา - Droid-Life
ท่ามกลางกระแสความนิยมสมาร์ทโฟนที่พวยพุ่งอย่างไม่หยุดยั้ง วันนี้ผมก็จะมาขอแชร์ประสบการณ์
การใช้งานสมาร์ทโฟน "สองหัว" จากสองค่ายใหญ่ ได้แก่ Motorola Atrix และ Samsung Galaxy SII เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้างนะครับ ^^
อนึ่ง เนื่องด้วยทั้งสองตัวก็มีรีวิวออกมาพอสมควร ดังนั้นบทความนี้ผมจะพูดถึงความต่างระหว่างทั้งสองตัวเป็นหลัก และแทรกเรื่องอื่นๆ ที่บทความอื่นอาจไม่มีเป็นรองนะครับ ส่วนรูปผมไม่เน้นครับ
แนะนำผู้แข่งขัน
ฝ่ายซ้าย: Motorola Atrix
โทรศัพท์มือถือ dual-core ที่วางขายตัวแรกของโลก (LG 2X เปิดตัวรุ่นแรกของโลก)
ปีนี้มหากาพย์ Android Bootloader เรียกได้ว่าประทุถึงสุดขีด เหตุเป็นเพราะจากการที่ Sony Ericsson ยอมประกาศปลด Bootloader ให้เป็นเจ้าแรก เรียกได้ว่าหลายคนก็เริ่มเบนเป้าหมายไปหา Sony Ericsson เมื่อเป็นเช่นนี้ Samsung และ LG ก็ออกมาประกาศปลด Bootloader ตามมาอีกราย แต่ก็พบว่าสมาร์ทโฟนจากทั้งสองค่ายนี้มันไม่ได้ล็อกมาตั้งแต่แรกแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ HTC จึงไม่นิ่งเฉยและได้ประกาศทบทวนนโยบาย Bootloader ใหม่ จนในที่สุดก็นำไปสู่การประกาศปลด Bootloader ให้อีกเป็นค่ายที่ 4
หลังจากมีข่าวของ Motorola Droid X2 รุ่นไร้คีย์บอร์ดไปแล้ว ก็มีกระแสข่าวของ Droid 3 รุ่นมีคีย์บอร์ดสไลด์ข้างออกมาเรื่อยๆ
ข่าวล่าสุดของ Droid 3 กลับมาจาก Motorola เองที่เผลอ (หรือตั้งใจ?) ปล่อยคลิปสอนการใช้งาน Droid 3 ขึ้นไปบน YouTube ทำให้เราได้เห็นหน้าตาและข้อมูลของมันมากขึ้น
Droid 3 หน้าตาเหมือน Droid 2 แทบทุกประการ ข้อมูลที่เรารู้จากวิดีโอมีดังนี้