โครงการ Mono ออกเวอร์ชันใหญ่ 4.0.0 ของใหม่ที่สำคัญคือเริ่มทยอยเปลี่ยนบางส่วนของ Mono มาใช้โค้ดของ .NET ที่ไมโครซอฟท์โอเพนซอร์สออกมา เช่น CoreCLR, CoreFX ซึ่งในอนาคตจะเพิ่มเติมโค้ดส่วนเหล่านี้มากขึ้น
ของใหม่อย่างอื่นคือปรับวิธีคำนวณทศนิยม (floating point) จากเดิมที่คำนวณแบบ 64 บิตทุกกรณี ก็เปลี่ยนมาเป็นแยกส่วน 32-64 บิต ทำให้ประสิทธิภาพของทศนิยม 32 บิตดีขึ้น, นอกจากนี้ยังรองรับภาษา C# เวอร์ชัน 6.0 ที่ไมโครซอฟท์เพิ่งออกมาด้วย
ที่มา - Mono
จากประเด็น Windows 10 จะรองรับโค้ด Android/iOS/.NET (ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องโค้ดเนม) มีคำถามที่นักพัฒนาทั่วโลกยังสงสัยและคาใจกันอยู่ ผมมีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Todd Brix ผู้บริหารตำแหน่ง General Manager, Windows Store and Developer Marketing ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกบางส่วนครับ
นอกจาก Visual Studio Code ไมโครซอฟท์ยังออกของใหม่เกี่ยวกับ Visual Studio และ .NET ดังนี้
ต่อจากข่าว Windows 10 จะรองรับโค้ด Java/C++ จาก Android และ Objective-C จาก iOS ที่สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการ ไมโครซอฟท์ออกมาเผยข้อมูลเพิ่มเติมบนหน้าเว็บ Windows Dev Center ครับ
แนวคิดการนำโค้ดของแพลตฟอร์มต่างๆ มาสร้างเป็นแอพบน Windows 10 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Universal Windows Platform Bridges (ตัวย่อ UWPB) เป้าหมายของมันก็ชัดเจนว่าต้องการเพิ่มจำนวนแอพบน Universal Windows Platform (UWP) ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ไมโครซอฟท์เคยประกาศเปิดซอร์ส .NET Core (บางส่วนของแพลตฟอร์ม .NET ทั้งชุด) และพอร์ตไปทำงานบนแมคและลินุกซ์
วันนี้ที่งาน Build 2015 ไมโครซอฟท์เปิดให้ดาวน์โหลด .NET Core เวอร์ชันพรีวิวบนแมคและลินุกซ์แล้ว ผู้สนใจทดสอบสามารถเข้าไปดาวน์โหลดที่ GitHub ย้ำอีกรอบว่านี่ไม่ใช่ .NET ตัวเต็มนะครับ เป็นแค่บางส่วนของแพลตฟอร์ม .NET เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ประกาศเป้าหมายของ Windows 10 ว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะต้องมีอุปกรณ์ที่รัน Windows 10 จำนวน 1 พันล้านชิ้น ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่มาก เพราะ Android KitKat ยังทำได้แค่ประมาณ 500 ล้านชิ้นเท่านั้น
เพื่อให้ Windows 10 มีแอพจำนวนมากพอ ไมโครซอฟท์จึงประกาศแนวทาง 4 ข้อที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำโค้ดของแอพบนแพลตฟอร์มอื่นๆ มาใช้งานบน Windows 10 ได้ง่ายขึ้น
ไฮไลท์อยู่ที่การนำโค้ด Android และ iOS มารันบน Windows 10 นั่นเองครับ
ต่อเนื่องจากแผนการโอเพนซอร์ส.NET Framework และรองรับการทำงานบนลินุกซ์และโอเอสเท็น ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดตัวโครงการพัฒนาคอมไพเลอร์ชื่อว่า LLILC (อ่านว่า lilac) ซึ่งเป็นคอมไพเลอร์แบบ Just in Time (JIT) สำหรับ CoreCLR เพื่อใช้งานร่วมกับ LLVM ข้อดีของ LLVM อ่านได้ในข่าวเก่า
ไมโครซอฟท์เดินหน้าตามแผนการเปิดซอร์ส .NET โดยล่าสุดประกาศเปิดซอร์สระบบการคอมไพล์โปรแกรม MSBuild Engine
MSBuild Engine หรือ msbuild.exe เป็นเอนจินสำหรับ compile/build ซอร์สโค้ดที่ Visual Studio เรียกใช้งาน (แต่ MSBuild เป็นโครงการแยกต่างหาก ไม่จำเป็นต้องใช้ Visual Studio สามารถสั่งผ่านคอมมานด์ไลน์ได้)
ไมโครซอฟท์บอกว่าในอนาคตจะออก MSBuild Engine บนแมคและลินุกซ์ด้วย เพื่อให้เราสามารถคอมไพล์โปรแกรมสาย .NET บนสองแพลตฟอร์มนี้ได้โดยตรง การเปิดซอร์สครั้งนี้ใช้สัญญาอนุญาตแบบ MIT และฝากโค้ดไว้บน GitHub
โครงการ Roslyn คอมไพเลอร์รุ่นใหม่ของ .NET ประกาศย้ายระบบเก็บโค้ดโอเพนซอร์สที่เดิมทีใช้เว็บ CodePlex ของไมโครซอฟท์เอง ไปใช้เว็บยอดนิยม GitHub แทน
เหตุผลที่ทีม Roslyn ย้ายไปใช้ GitHub มาจากการเปลี่ยนระบบจัดการเวอร์ชันโค้ดเป็น Git ด้วย ทำให้การใช้ GitHub สมเหตุสมผลและดูแลโค้ดง่ายกว่า รวมถึง GitHub ยังมีชุมชนนักพัฒนาที่เข้มแข็งด้วย
ไมโครซอฟท์ไม่เคยประกาศนโยบายเรื่องระบบเก็บโค้ด แต่ที่ผ่านมาก็มีบางโครงการของไมโครซอฟท์อย่าง TypeScript และ F# ที่อยู่บน GitHub แล้ว ในขณะที่โครงการส่วนใหญ่ยังอยู่บน CodePlex
นอกเหนือจากประกาศช็อควงการในการโอเพนซอร์ส .NET แล้ว ไมโครซอฟท์ยังถือโอกาสนี้ ประกาศเปิดตัว Visual Studio และ .NET รุ่นใหม่ รวมถึงอัพเดตรุ่นเก่าด้วย ดังนี้
หนึ่งในแพลตฟอร์มการพัฒนาแอพที่ยาวนานอันหนึ่งในสายของไมโครซอฟท์ คือแพลตฟอร์ม .NET (เรามักจะคุ้นเคยกันในนาม .NET Framework) ที่ออกมาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2002 กำลังจะกลายสภาพเป็นแพลตฟอร์มโอเพนซอร์สแบบสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ (หลังจากที่เปิดบางส่วนไปเมื่อต้นปี) เมื่อวันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะโอเพนซอร์สแพลตฟอร์ม .NET ในฝั่งของเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด (full server-side .NET stack) และจะขยายแพลตฟอร์ม .NET ให้ครอบคลุมไปถึงระบบปฏิบัติการอย่าง Linux และ OS X ด้วย
ไมโครซอฟท์ปล่อย Visual Studio 14 รุ่นทดสอบที่สอง Community Technology Preview (CTP2) แล้ว (CTP1 ออกไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา คาดว่ารุ่นตัวจริงจะได้ชื่อ Visual Studio 2015)
ไฮไลต์ของรุ่น CTP2 สำหรับคนที่ใช้ Visual Studio บนอุปกรณ์รองรับหน้าจอสัมผัส คือ editor รองรับการสัมผัสแล้ว ทั้งการเลื่อน (scroll) การซูม (pinch-to-zoom) การกดค้างเพื่อเรียกเมนูย่อย (context menu) การแตะสองครั้งเพื่อเลือกคำ และการแตะหนึ่งครั้งที่ขอบ (margin) เพื่อเลือกทั้งบรรทัด
ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพฟรีบนวินโดวส์ชื่อดังอย่าง Paint.NET ออกรุ่น 4.0 โดยปรับกลไกภายในใหม่ครั้งใหญ่ กระบวนการทำงานรองรับมัลติคอร์เต็มรูปแบบ, ประหยัดหน่วยความจำ, และทำงานได้ไวขึ้น
ความสามารถหลายอย่างของ Paint.NET 4.0 ได้มาจาก .NET 4.5 เช่นการรองรับ JIT แบบทำงานพร้อมกันหลายคอร์ หรือการเร่งความเร็วด้วยชิปกราฟิก แต่ .NET 4.5 ก็ทำให้มีเงื่อนไขว่า Paint.NET 4.0 จะทำงานบน Windows 7 SP1 ขึ้นไปเท่านั้น
ควรมีติดเครื่องไว้ครับ
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio เวอร์ชัน 14 (ที่น่าจะใช้ชื่อจริงว่า Visual Studio 2015 เพราะยืนยันว่าจะออกรุ่นจริงในปี 2015) รุ่นทดสอบแรก Community Technology Preview (CTP1)
ของใหม่ในรุ่นนี้เน้นเทคโนโลยีด้านภาษาโปรแกรมและคอมไพเลอร์ ตามที่เคยประกาศไปแล้วในวิสัยทัศน์ของ .NET ยุคหน้า
นอกจาก Visual Studio 2013 Update 2 และ Apache Cordova แล้ว ไมโครซอฟท์ยังประกาศข้อมูลของ .NET ในอนาคต (นอกเหนือจากที่ประกาศไปแล้ว) ดังนี้
Soma Somasegar ผู้บริหารฝ่ายนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับ ZDNet ถึงเบื้องหลังการประกาศเปิดโค้ด .NET บางส่วนเป็นโอเพนซอร์ส ว่าไมโครซอฟท์เตรียมการเรื่องนี้มา 3 ปีแล้ว
เขาบอกว่าผู้บริหารของไมโครซอฟท์ว่ายังสนับสนุนโอเพนซอร์สได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมีการถกเถียงกันภายในบริษัทว่าตกลงแล้วควรเลือกเปิดโค้ดของ .NET ที่ระดับไหนบ้าง ทั้งการเปิดโค้ดเฟรมเวิร์คระดับบนๆ แล้วไล่ลงมายังเทคโนโลยีฐาน หรือเปิดเลยทั้งหมดเท่าที่จะทำได้
ไมโครซอฟท์ปล่อยรุ่นพรีวิวของ .NET Native (ชื่อเดิม Project N) เทคโนโลยีด้านคอมไพเลอร์ตัวใหม่สำหรับแพลตฟอร์ม .NET แล้ว บริษัทเคลมว่า .NET Native จะช่วยให้แอพแบบ Metro (Windows Store apps) เริ่มต้นทำงานเร็วขึ้นร้อยละ 60 และใช้หน่วยความจำน้อยลงกว่าเดิมร้อยละ 15-20
หลักการทำงานคือ .NET Native จะคอมไพล์โค้ดภาษา C# เป็นโค้ดแบบ native ที่ทำงานคล้าย C++ ซึ่งทำให้ได้ประสิทธิภาพระดับภาษา C++ จากการเขียนโค้ดภาษา C#
บริษัทยังกล่าวว่าได้ใช้ .NET Native คอมไพล์แอพของตัวเองบ้างแล้ว อาทิ Wordament และ Fresh Paint
ที่งาน BUILD 2014 ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการใหม่ๆ ของเทคโนโลยีสายการพัฒนาโปรแกรมหลายอย่าง ในฝั่งของ .NET นอกจากการก่อตั้ง .NET Foundation ซึ่งเป็น "องค์กร" แล้ว ไมโครซอฟท์ยังเปลี่ยนโลโก้ .NET มาเป็นแนว Metro และประกาศทิศทาง/วิสัยทัศน์/ฟีเจอร์ใหม่ของ .NET ด้วย
จากภาพจะเห็นว่าตัวเทคโนโลยี .NET ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือตัวแกนหลัก Core .NET และการขยาย .NET ไปยังอุปกรณ์ (devices) และบริการ (services) ให้มากกว่าเดิม ผ่านกระบวนการพัฒนาที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยใช้ .NET Foundation เป็นองค์กรกลาง
ที่งาน BUILD เมื่อวานนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศตั้งมูลนิธิ .NET Foundation ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระเพื่อรับผิดชอบการพัฒนาเทคโนโลยีฝั่ง .NET ที่เปิดซอร์สโค้ด โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการใช้งาน .NET บนแพลตฟอร์มอื่นๆ
นอกจากไมโครซอฟท์แล้ว สมาชิกของ .NET Foundation ยังมี Xamarin ผู้พัฒนาโครงการ Mono และบริษัทอื่นๆ เช่น GitHub, Salesforces.com, Glimpse, Umbraco, IdentityMine
เบื้องต้น .NET Foundation จะมีโครงการโอเพนซอร์สจากไมโครซอฟท์รวม 24 โครงการ เช่น ASP.NET MVC, .NET Micro Framework, .NET WebClient, .NET API for Hadoop, Azure .NET SDK, Windows Phone Toolkit (รายชื่อทั้งหมดดูได้จากลิงก์ที่มา)
กูเกิลเผยว่า Google APIs Client Library for .NET ไลบรารีโอเพ่นซอร์สที่ให้นักพัฒนาสามารถทำแอพบนเดสก์ท็อป แอพแบบ Metro (Windows Store apps) และแอพบน Windows Phone เชื่อมกับบริการของบริษัทได้ เข้าสู่สถานะ GA (general availability) แล้ว หลังจากเปิดให้นักพัฒนาทดสอบรุ่น Beta และ RC (release candidate) มาสักพัก
ไลบรารีนี้รองรับ OAuth 2.0 การอัพโหลดและดาวน์โหลดสื่อมีเดีย และการส่งคำสั่งคราวละมากๆ (batching request)
ใครสนใจสามารถดาวน์โหลดไลบรารีรุ่นล่าสุด 1.8.1 ได้จาก NuGet และศึกษาคู่มือการใช้งาน API ชุดนี้ได้จากเว็บไซต์ Google Developers
เว็บไซต์ InfoWorld สรุปภาพรวมของตลาดการพัฒนาซอฟต์แวร์ในปี 2013 ไว้หลายข้อดังนี้
ไมโครซอฟท์โชว์เดโมของ Project N ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านคอมไพเลอร์ตัวใหม่สำหรับแพลตฟอร์ม .NET
ในเดโมของไมโครซอฟท์ได้ลองคอมไพล์แอพ FreshPaint บน Windows Store ด้วย Project N และได้ผลว่าแอพทำงานได้เร็วกว่าเวอร์ชันปกติ เทคนิคเบื้องหลัง Project N ไม่ใช่การทำ JIT (just-in-time) แต่เป็นการ optimization (ที่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าทำอย่างไรบ้าง)
Project N มีเป้าหมายเพื่อให้แอพ .NET/C# บน Windows 8 และ Windows RT ทำงานได้เร็วขึ้น และน่าจะเปิดให้คนทั่วไปใช้งานได้ในปีหน้า 2014
ที่มา - ZDNet
หลังการเปิดตัว Windows 8.1 ไมโครซอฟท์ก็อัพเดตชุดพัฒนาทันที เป็นชุดทั้ง Visual Studio 2013, .NET 4.5.1, และ Team Foundation Server 2013 ฟีเจอร์สำคัญมาจากฝั่ง IDE เช่น
S. Somasegar รองประธานบริษัทฝ่าย Developer Division เผยในบล็อกของเขาว่า ไมโครซอฟท์ได้ปล่อย Visual Studio 2013 Preview และ .NET Framework 4.5.1 Preview ให้ดาวน์โหลดแล้ว ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ไมโครซอฟท์จริงจังกับ SkyDrive มากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดออก SDK สำหรับการเรียกใช้พื้นที่เก็บข้อมูลบน SkyDrive ด้วย .NET และ WP8 แล้ว
ตัว SDK จะรวมมาเป็นชุดเดียวกันในชื่อ Live SDK for Windows, Windows Phone, and .NET แต่จะแยกจากรุ่นสำหรับ Android และ iOS
สำหรับตัว .NET SDK จะเพิ่มความสามารถเรื่องการสร้างแอพด้วย WPF และ WinForm เพื่อต่อเชื่อมกับ SkyDrive และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ยังมี ASP.NET สำหรับเชื่อม SkyDrive ด้วย ส่วนตัว WP8 SDK ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อ นั่นคือใช้สำหรับสร้างแอพบน WP8 ที่เชื่อมต่อ SkyDrive นั่นเอง
ใครเป็นนักพัฒนาสายไมโครซอฟท์ที่สนใจทำงานร่วมกับ SkyDrive ก็ไม่ควรพลาด SDK ชุดนี้ครับ