ในงาน It's Show Time วันนี้ Apple เปิดตัวแพลตฟอร์มข่าวสาร Apple News+ รวมข่าวและนิตยสาร 350 หัว เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างนิตยสารที่จะมีใน Apple News+ เช่น New Yorker, Wired, Fortune,Billbord, People, Vouge โดยกิมมิคเล็กน้อยคือ Live Cover ภาพปกนิตยสารเคลื่อนไหว หน้าตาการใช้งานจะมีสามแท็บสำคัญคือ Today, News, Following ผู้ใช้สามาถสำรวจเนื้อหานิตยสารต่างๆ และกดติดตามได้
ในส่วนของข่าวสาร มีเนื้อหาพรีเมี่ยมจาก LA Times, WSJ ราคาบริการ Apple News+ อยู่ที่ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ให้แชร์กับครอบครัวได้โดยไม่คิดราคาเพิ่ม
The Financial Times เข้าซื้อ The Next Web เว็บข่าวไอทีที่มีต้นกำเนิดในยุโรป ไม่มีรายละเอียดดีลการเข้าซื้อ และครั้งนี้ถือเป็นการเข้าซื้อครั้งแรกในยุโรปของ The Financial Times ด้วย
The Next Web ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 และได้กลายเป็นแหล่งข่าวด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของยุโรป ส่วน The Financial Times เป็นสื่อเก่าแก่ระดับหนึ่ง ปัจจุบันเป็นของบริษัท Nikkei Inc ที่มีสำนักงานใหญ่ในลอนดอน สื่อก่อตั้งในปี 1888 จนถึงตอนนี้ทางสำนักข่าวมีผู้ติดตามแบบจ่ายเงินรวมแล้วประมาณ 942,000 ราย (ตัวเลขเดือนพฤศจิกายน ปี 2018) และมีสมาชิกผู้ติดตามบนดิจิทัล 740,000 ราย ถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่สำนักข่าวที่รักษาระดับไว้ได้ดีในช่วงที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงมากจากผลกระทบทางเทคโนโลยี
การเข้าซื้อครั้งนี้ของ The Financial Times แสดงให้เห็นว่าบริษัทกำลังมองหาวิธีใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มความโดดเด่นระดับโลก
Facebook มีข่าวปลอมแพร่กระจายเยอะอาจเป็นเรื่องที่คนรู้กันอยู่แล้ว ล่าสุดฝ่ายกฎหมายของสภาอังกฤษออกรายงานอย่างเป็นทางการระบุชัดเจนว่า Facebook คือแหล่งแพร่กระขายข่าวปลอม ไม่ปฏิบัติตามกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว ถือเป็นนักเลงบนดิจิทัลหรือ digital ganster เลยก็ว่าได้
คณะกรรมการดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อและการกีฬาของรัฐบาลอังกฤษ ออกรายงานที่ใช้เวลา 18 เดือนในการสืบสวนสถานการณ์ข่าวปลอมบน Facebook รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวในการแก้ปัญหา พบว่า Facebook ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และระบุด้วยว่าการบิดเบือนข้อมูลที่ไม่รู้ว่าคนทำเป็นใครและยังเจาะกลุ่มเป้าหมายชัดเจนนั้น เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย
Facebook ประกาศขยายแผนงานเพื่อรับมือการเลือกตั้ง เพิ่มศูนย์ดูแลข้อมูลข่าวสารในสิงคโปร์และดับลิน โดย Facebook ระบุว่าการทำงานของศูนย์จะช่วยให้ทีมงานสามารถทำงานจัดการปัญหาข่าวปลอมในภูมิภาคได้ดีขึ้น
ในบทความประกาศ Facebook ระบุว่าจะทำงานดูแลเรื่องข่าวปลอม บัญชีปลอม การแทรกแซงการเลือกตั้งจากภายนอก (ดังที่เคยเกิดขึ้นในกรณีเลือกตั้งสหรัฐปี 2016) และทำตามกฎแพลตฟอร์ม ลบเนื้อหาผิดกฎ และทำงานร่วมกับบริษัทภายนอกเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
ไทยเองก็กำลังจะมีเลือกตั้งเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ แม้ Facebook จะไม่ได้ระบุถึงไทยโดยตรง แต่ก็น่าจับตามองว่าไทยจะมีปัญหาข่าวปลอม บัญชีปลอมแทรกแซงการเลือกตั้งหรือไม่ และถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น Facebook จะแก้ปัญหาอย่างไร
หลังจากวิกฤตข่าวปลอม Facebook ก็ทำงานร่วมกับหน่วยงานข่าวราว 40 แห่งเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Associated Press, PolitiFact และ Facebook ก็เผยอยู่เรื่อยๆ ว่าการทำแบบนี้นั้นได้ผลและช่วยลดข่าวปลอมได้จริง
ล่าสุด The Guardian สัมภาษณ์บุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข่าวบน Facebook พวกเขาต่างบอกว่า Facebook ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้เท่าไร บางครั้งก็ให้ตรวจสอบข้อมูลที่อาจกระทบลูกค้าของ Facebook เอง และมันทำให้พวกเขาที่ทำงานด้วยนั้นสูญเสียศรัทธาใน Facebook
โซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Facebook กำลังแก้ปัญหาข่าวปลอม และยิ่งต้องแก้กันอย่างเข้มข้นเพราะการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯกำลังจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายน
ข้ามมาที่ฝั่งจีนบ้าง Wechat คือโซเชียลมีเดียที่คนจีนใช้มากที่สุด นอกจากคุยกับเพื่อนแล้วยังเป็นแหล่งหาข้อมูลด้วย และเช่นกันกับโซเชียลอื่นที่ต้องเจอปัญหาข่าวปลอม สแปม และหนึ่งในวิธีที่ Wechat แก้ปัญหาคือ ใช้บัญชี Wechat ที่เป็นออฟฟิเชียล โพสต์ 10 อันดับข่าวปลอมยอดนิยมเองเสียเลย โดยทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้คนรู้โดยทั่วกันว่าเนื้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องแต่ง
ตัวอย่างข่าวปลอมที่แพร่ใน Wechat คือ ห้ามใช้ไมโครเวฟเพราะทำให้เป็นมะเร็ง, ใช้แอพ QQ สแกนเงินจีนได้เพื่อดูว่าเป็นเงินปลอมหรือไม่, ห้ามโพสต์โจมตีพรรคคอมมิวนิสต์ และประเด็นการเมืองบน Wechat (แต่รัฐบาลก็เซนเซอร์เนื้อหาทำนองนี้จริงๆ)
Google ทยอยเพิ่ม Dark Theme หรือธีมสีดำให้แอพต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ เช่น YouTube และ Phone ล่าสุดธีมสีดำนี้ก็มาถึง Google News แอพอ่านข่าวของ Google แล้ว
สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้งาน Google News ธีมสีดำจะต้องอัพเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด 5.5 ก่อน (ตอนนี้ยังไม่ปล่อย แต่คาดว่าอีกไม่นาน) จากนั้นให้ไปที่ Settings > General และเลือกได้ว่าเมื่อไรที่จะให้ธีมสีดำทำงาน มีให้ทั้งหมด 4 ตัวเลือกคือ ตลอดเวลา, ปรับอัตโนมัติ (ตอนกลางคืนและโหมดประหยัดแบตเตอรี่), เฉพาะโหมดประหยัดแบตเตอรี่เท่านั้น และไม่ใช้งาน
จากเหตุการณ์ศาลเตี้ยทำการฆาตกรรมในอินเดีย เพราะคนเชื่อข่าวปลอมเรื่องลักพาตัวเด็กที่แชร์ใน WhatsApp และเหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในอินเดีย แต่ในระยะ 2-3 ปีให้หลังมานี้ เกิดเหตุแบบนี้อยู่เรื่อยๆ
ล่าสุด Facebook ได้ซื้อหน้าสื่อหนังสือพิมพ์ในอินเดีย 1 หน้าเต็มๆ เผยแพร่วิธีการเช็คข่าวปลอมที่แชร์กันใน WhatsApp พร้อมระบุด้วยว่า ภายในสัปดาห์นี้ WhatsApp จะมีฟีเจอร์ตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการแชร์ต่อๆ กันมาหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ใช้อยากหาต้นตอว่าแชร์มาจากใคร
YouTube เริ่มทำเซกชั่น Top News เสนอบทความข่าวสั้น และคลิปข่าวที่สามารถเชื่อมลิงก์ไปยังบทความข่าวต้นทางได้ เมื่อผู้ใช้เข้าแอป YouTube จะเห็นไฮไลต์ข่าว Breaking News ปรากฏขึ้นมาแรกๆ และเมื่อค้นหาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยเฉพาะ ก็จะปรากฏคลิปข่าวจากสำนักข่าวใหญ่หลายสำนักด้วย
ฟีเจอร์ Top News และ Breaking News เริ่มเปิดใช้งานใน 17 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลีญี่ปุ่น อินเดีย เม็กซิโก บราซิล แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย และจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ภายในเดือนถัดไป
ผู้ใช้งาน YouTube ยังจะเห็นเนื้อหาจากเว็บไซต์ third party อย่างเช่น Wikipedia ด้วย เพื่อจะได้ตรวจสอบเนื้อหาไปด้วยพร้อมๆ กัน
ผลสำรวจจาก Gallup/Knight เผยคนสหรัฐฯมองว่า 40% ของข่าวสารทุกวันนี้ ทั้งข่าวบนทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ออนไลน์นั้นเชื่อถือไม่ได้ หรือมีการให้ข้อมูลอย่างผิดๆ
ในการสำรวจได้สอบถามคนอเมริกัน 1,440 แบบแรนดอมโดยไม่ระบุเพศ วัย อาชีพการงาน และแนวคิดทางการเมือง พวกเขามีแนวโน้มจะสงสัยกับข่าวสารที่ได้รับมามากขึ้น ผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่า 2ใน3 ของข่าวที่พวกเขาเจอบนโซเชียลมีเดียอาจเป็นข่าวปลอม ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตข่าวปลอมบน Facebook อย่างไม่ต้องสงสัย แม้โซเชียลมีเดียแก้ปัญหาข่าวปลอมอย่างจริงจัง แต่ดูเหมือนความคิดคนรับข่าวสารก็ไม่เชื่อถือไปแล้ว
โซเชียลมีเดียตอนนี้ถูกคาดหวังสูงขึ้นเช่นกัน 76% ของผู้ให้การสำรวจบอกว่า บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ๆ มีหน้าที่สำคัญระบุข่าวปลอมที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มของตน
ไมโครซอฟท์ประกาศเปลี่ยนชื่อแอพอ่านข่าว MSN News ใหม่เป็น Microsoft News และปรับมาใช้เอนจินตัวเดียวกันแสดงผลข่าวบนทุกแพลตฟอร์ม รวมถึงในหน้าแท็บใหม่ของ Microsoft Edge, แอพ News ของ Windows 10 และบริการอื่นๆ ในเครือคือ Xbox, Skype, Outlook.com, MSN.com
ไมโครซอฟท์ระบุว่ามีแหล่งข่าวมากถึง 3,000 แบรนด์จากทั่วโลก และซิงก์การตั้งค่าตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้
ส่วนแอพ Microsoft News โฉมใหม่บน iOS และ Android ก็ปรับปรุงหน้าตาใหม่ให้สวยงาม มีฟีเจอร์เลือกข่าวให้ผู้ใช้ เพิ่มธีมสีเข้มสำหรับอ่านตอนกลางคืน และรองรับ widget แสดงผลข่าวของแพลตฟอร์มด้วย
Facebook ประกาศเริ่มโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวในอินเดียแล้ว โดยจับมือกับองค์กรตรวจสอบข่าวในอินเดีย โดยอินเดียถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Facebook
จากข้อวิจารณ์เรื่องเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2016 ที่ Facebook ไม่พยายามหยุดการระบาดของข่าวปลอม Facebook ก็พยายามแก้ไขตัวเองเรื่อยมา และครั้งนี้จะเป้นการพิสูจน์ว่าเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่พัฒนามาเพื่อหยุดข่าวปลอมโดยเฉพาะระหว่างการเลือกตั้งจะใช้ได้ผลหรือไม่
ด้านองค์กรที่ Facebook จะเข้าไปจับมือคือ Boom หน่วยงานตรวจสอบข่าวซึ่งได้รับการรับรองจาก International Fact-Checking Network ทำการทดลองระบบในเมือง Karnataka ของอินเดียที่จะมีการเลือกตั้งของรัฐเกิดขึ้นใน 12 พฤษภาคม โดย Boom จะตรวจสอบเนื้อหาข่าวภาษาอังกฤษที่แชร์บนแพลตฟอร์ม
กลุ่มเคลื่อนไหวในเมียนมาร์ ประกอบด้วย Phandeeyar ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ เขียนจดหมายเปิด วิจารณ์ Facebook ว่าปล่อยให้ข่าวปลอมใส่ร้ายชาวโรฮิงญาในพม่าอยู่บน Facebook โดยไม่แก้ปัญหาเท่าที่ควร
เพียงวันเดียวหลังกลุ่มเคลื่อนไหวเขียนจดหมายเผยแพร่ Mark Zuckerberg ก็เขียนอีเมลตอบกลับ โดยขอโทษที่ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าองค์กรของกลุ่มเคลื่อนไหวช่วยให้ Facebook เข้าใจสถานการณ์ในเมียนมาร์อย่างไร และยังบอกอีกว่านอกจากพัฒนาเทคโนโลยีแก้ปัญหาแล้วยังใช้คนมากขึ้นเพื่อดูแลปัญหานี้
ทางกลุ่มเคลื่อนไหวตอบกลับอีเมลของ Zuckerberg ระบุว่าขอบคุณที่ตอบกลับด้วยตัวเอง มันมีความหมายมากจริงๆ และยังถามข้อมูลเชิงลึกว่า Facebook มีการรายงานโพสต์ที่เป็นเท็จในเมียนมาร์กี่โพสต์, มีบัญชีผู้ใช้กี่รายที่ถูกรายงาน และมีกี่รายที่เป็นบัญชีปลอม, ในองค์กรมีผู้ที่เข้าใจภาษาเมียนมาร์กี่ราย และมีคนที่ทำหน้าที่ดูแลปัญหาในเมียนมาร์แบบเต็มเวลากี่ราย เป็นต้น
ปีที่แล้ว Facebook ทดสอบฟีเจอร์ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวได้จากหน้า News Feed โดยไม่ต้องออกจากหน้า Facebook เป็นฟีเจอร์ที่คาดกันว่าจะเป็นไม้ตายสู้ข่าวปลอมที่เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่ในขณะนี้ ล่าสุด Facebook เปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ในสหรัฐฯแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่นี้ผู้ใช้จะเห็นปุ่มตัว i หรือ information หรือ about this article ปรากฏใต้ลิงก์ข่าว เมื่อกดเข้าไปผู้ใช้จะพบรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ผู้เผยแพร่เนื้อหา ทั้งจากเว็บไซต์เองและวิกิพีเดียด้วยว่าเป็นสำนักข่าวใด ก่อตั้งเมื่อไร รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ จากเว็บไซต์อื่นว่าเขารายงานข่าวไปในทิศทางใดบ้าง เลื่อนลงมาด้านล้างจะเห็นอีกว่าข่าวนี้ได้รับการแชร์ในพื้นที่ใดบนโลก มีเพื่อนคนไหนแชร์บ้าง
กูเกิลประกาศแนวทางใหม่สำหรับการต่อสู้ข่าวปลอม ด้วยโครงการ Google News Initiative (GNI) ที่จะทำให้สำนักข่าวที่น่าเชื่อถือนำเสนอข่าวไปได้มากขึ้น พร้อมกับมีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้น
ประเด็นแรกคือความเด่นของข่าว กูเกิลระบุว่าจุดอันตรายที่สุดคือส่วน "Top News" หรือข่าวเด่น ที่สำนักข่าวปลอมทั้งหลายพยายามดันข่าวของตัวเองให้เข้ามาแสดงให้ได้ กูเกิลจะปรับน้ำหนักของสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือให้มากขึ้น พร้อมไฮต์ไลต์ว่าข่าวใดมาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ
ขณะเดียวกูเกิลก็สนับสนุนการเท่าทันสื่อ ด้วยการเปิดตัว Disinfo Lab และ First Draft สอนการต่อสู้กับข่าวปลอม
เว็บไซต์ Axios รายงาน Facebook เตรียมเปิดตัวช่องทางข่าวแบบวิดีโอในเมนู Watch ช่วงฤดูร้อนนี้ เบื้องต้นร่วมมือกับผู้ผลิตสื่อประมาณ 10 เจ้า
แหล่งข่าวระบุกับ Axios ว่าตัววิดีโอข่าวรายวันมีความยาวไม่ต่ำกว่า 3 นาที นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยเรื่องยุทธศาสตร์และโอกาสการทำรายได้บนแพลตฟอร์มด้วย ซึ่งบรรดาผู้ผลิตสื่อนี้เป็นผู้ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าผลิตแต่ข่าวจริง เชื่อถือได้
การเปิดช่องทางสำหรับข่าวโดยร่วมมือกับผู้ผลิตสื่อที่ได้รับการรับรองแล้วอาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้เจอกับข่าวจริง แก้ปัญหาข่าวปลอมได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะข่าวด่วนในสถานการณ์ต่างๆ ที่ข่าวปลอมมีแนวโน้มแพร่ไปได้เร็ว
ในงานประชุมนักลงทุน Morgan Stanley จัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก Sheryl Sandberg ซีโอโอ Facebook ได้พูดถึงประเด็นข่าวปลอมที่เป็นหนามยอกอก Facebook มาโดยตลอด
เธอบอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดข่าวปลอมทุกข่าวบนแพลตฟอร์ม 100% แต่ Facebook กำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ มาจากบัญชีที่มีตัวตนจริง
Sandberg ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ข่าวปลอมคงอยู่ได้เพราะมีแรงผลักดันทางการเงิน มากกว่าจะเป็นแรงผลักดันทางการเมือง คนสร้างข่าวปลอมจะเขียนหัวข่าวที่ดูน่าคลิกเพื่อจะได้ทำเงินโฆษณา ซึ่ง Facebook จึงต้องทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าผู้กระทำจะไม่ได้เงินตรงนี้ไป
นอกจากประเด็นข่าวปลอม Sandberg ยังพูดถึงกระแส #MeToo ด้วย เธอบอกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงที่จะลุกขึ้นเพื่อเรียกร้องความเสมอภาคในสถานที่ทำงาน เธอยังพบว่าผู้ชายรู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่กับผู้หญิงตามลำพัง ซึ่งเป็นผลจากการเรียกร้องสิทธิผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ
ในขณะที่ Facebook กำลังอยู่ในช่วงภาวะสั่นไหว และมีเสียงวิจารณ์เรื่อง reach เพจข่าวสารต่ำเตี้ยเรี่ยดิน Google กลับมีตัวเลขทราฟิกที่ส่งไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ
Chartbeat บริษัทวิเคราะห์สำหรับผู้เผยแพร่โฆษณามีลูกค้า ได้แก่ New York Times, CNN, Washington Post และ ESPN เผยตัวเลขทราฟิก ระบุว่าสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ Google ส่งทราฟิกการเข้าชมหน้าเว็บไปยังเว็บไซต์ต่างๆ กว่า 466 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เทียบกับมกราคม 2017 โดยทราฟิกส่วนใหญ่มาจากมือถือ ในขณะเดียวกัน Facebook ส่งทราฟิก 200 ล้านครั้ง น้อยกว่าเดิม 20% ด้านยอดทราฟิกโดยรวมเพิ่มขึ้น 47% ในปีนี้ Google และ Facebook เป็นสองเจ้าที่ครองตัวเลขส่วนใหญ่
Folha de S. Paulo หนังสือพิมพ์รายใหญ่ในบราซิลหยุดเผยแพร่ข่าวลง Facebook หลัง Facebook ประกาศให้ความสำคัญกับโพสต์จากบุคคลมากขึ้น โดยทางหนังสือพิมพ์ระบุผ่านแถลงการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงของ Facebook จะเป็นการส่งเสริมการแพร่กระจายของข่าวปลอมมากขึ้น และลดความสำคัญของข่าวจากแหล่งข่าวจริงลงไป และข้อมูลปลอมที่ยังคงอยู่จะถูกพบเห็นชัดกว่าเดิม
หนังสือพิมพ์ Folha de S. Paulo ยังระบุด้วยว่าสัดส่วนของผู้อ่านที่เข้าถึงเนื้อหาผ่านทาง Facebook ลดลงเหลือ 24% ในเดือนธันวาคม จากที่ต้นปี 2017 มี 39%
Folha de S. Paulo เป็นหนังสือพิมพ์รายใหญ่ของประเทศบราซิล ก่อตั้งขึ้นในปี 1921 มีผู้ติดตามผ่าน Facebook 5.95 ล้านคน และประเทศบราซิลก็เป็นประเทศที่มีผู้ใช้ Facebook มากถึง 100 ล้านคน ติดอันดับ 5 ประเทศที่ผู้ใช้ Facebook มีการแอคทีฟมากที่สุด
Jim Carrey นักแสดงชื่อดังของฮอลลีวูด หลายคนอาจคุ้นเคยบทบาทของเขาใน Yes Man และ Lemony Snicket's A Series of Unfortunate Events ซึ่ง Carrey โพสต์ทวิตเตอร์ว่าเขาจะขายหุ้น Facebook ทิ้ง พร้อมจะลบบัญชีแฟนเพจที่มีคนติดตามกว่า 5 ล้านคน เขายังโพสต์ภาพวาด มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ที่คาดว่าเป็นฝีมือของเขาเองลงทวิตเตอร์ด้วย อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ระบุว่าจะขายเท่าไร
Jim Carrey ระบุในทวิตเตอร์ว่า เขากำลังจะเทขายหุ้น Facebook ที่เขาถืออยู่ทิ้ง และจะลบหน้าแฟนเพจด้วย เขาระบุเหตุผลว่า Facebook ได้รับประโยชน์จากการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้ง เขายังแนะนำให้นักลงทุนรายอื่นทำแบบเดียวกับเขาด้วย ในโพสต์ของเขานอกจากจะมีภาพวาดแล้วยังติดแฮชแท็ก #unfriendfacebook
ผู้ใช้งาน YouTube เมื่อดูคลิปใดคลิปหนึ่งจบแล้ว จะเห็นคลิปต่อไปมารอให้กดเล่นทันที ซึ่งเป็นเรื่องปกติของ YouTube ที่ใช้อัลกอริทึมคัดสรรวิดีโอที่มีความเกี่ยวข้องกับคลิปก่อนหน้ามาให้ เพื่อให้ผู้ใช้อยู่กับ YouTube ให้นานที่สุด ในขณะเดียวกัน YouTube ก็โปรโมทเนื้อหาเชิงลบมาให้ด้วย
Paul Lewis จาก The Guardian ได้พูดคุยกับอดีตวิศวกรที่ใน YouTube ซึ่งได้ความว่าอัลกอริทึมของ YouTube แนะนำเนื้อหาสุดโต่งและผิดจากความจริงมาให้ผู้ใช้มากมาย โดยเฉพาะเนื้อหาการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
สืบเนื่องจากปัญหาข่าวปลอมและการโฆษณาชวนเชื่อ Youtube ได้ริเริ่มที่จะเพิ่มคำเตือนในช่องที่รับเงินจากรัฐบาล ซึ่งมาตรการนี้เป็นมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ชมคิดก่อนเชื่อข้อมูลข่าวสาร และต่อต้านนโยบายการควบคุมแนวคิดของสังคมผ่านสื่อที่เหมือนว่าจะดูเป็นกลาง แต่ก็มีเสียงกังวลถึงการเลือกปฏิบัติและการเซ็นเซอร์เนื้อหาผ่านการลดอันดับในผลค้นหา อีกทั้งนิยามของคำว่ารับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลนั้นไม่ใช้เจน เนื่องจากหลายๆ ครั้ง รัฐบาลก็ไม่ได้ให้เงินช่องเหล่านี้ตรงๆ
(รายชื่อช่องและตัวอย่างคำเตือนอยู่ด้านใน)
YouTube ออกนโยบายใหม่เพื่อสู้ข่าวปลอมและโฆษณาชวนเชื่อ โดยจะแสดงข้อความอธิบายด้านล่างคลิปข่าวหากสื่อผู้ผลิตข่าวนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และจะแทรกลิงก์ไปยังวิกิพีเดียเพื่อให้คนเสพข่าวสารได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสื่อนั้นๆ เพิ่มเติม โดยฟีเจอร์ใหม่นี้เปิดใช้งานแล้วในสหรัฐฯ
The Wall Street Journal รายงานว่านโยบายใหม่ของ YouTube ครอบคลุมสื่อของสหรัฐฯอย่าง Public Broadcasting Service (PBS) โดยข้อความใต้คลิปอธิบายว่า "PBS เป็นสื่ออเมริกันที่ได้รับเงินทุนจากภาครัฐ" นอกจากนี้ยังครอบคลุม RT หรือสื่อจากรัสเซียด้วย โดยข้อความใต้คลิปอธิบายว่า "RT ได้รับเงินทุนทั้งหมดหรือบางส่วนจากรัฐบาลรัสเซีย"
Neal Mohan หัวหน้าผลิตภัณฑ์ YouTube บอกกับ The Wall Street Journal ว่า หลักเกณฑ์ของนโยบายนี้คือให้ข้อมูลของแหล่งข่าวเพิ่มเติม และให้ผู้ใช้ตัดสินความน่าเชื่อถือด้วยตัวเอง
Twitter อัพเดตข้อมูลผู้ใช้งานที่มีส่วนร่วมหรือ engagement ต่อโพสต์บัญชีปลอมจากรัสเซียช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016 เป็น 1.4 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากที่รายงานครั้งที่แล้วกว่าสองเท่า
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือนมกราคม Twitter เผยระบุบอทหรือบัญชีอัตโนมัติที่ทำขึ้นโดยรัสเซียและทำการทวีตเกี่ยวกับการเลือกตั้งในช่วงการลงคะแนนเสียงของชาวอเมริกันเป็นจำนวน 13,612 บอท รวมกับของเดิมที่เคยพบในปี 2017 ประมาณ 36,000 บอท รวมเป็น 50,258 บอท และมีประชาชน 677,000 คนในสหรัฐฯ ที่ได้ติดตามบัญชีที่ต้องสงสัย, รีทวิต หรือไลค์ทวิตเหล่านี้ ซึ่งล่าสุดตรวจพบเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคน
ในแถลงการณ์ล่าสุดของ Twitter ระบุว่า ทางบริษัทได้ส่งอีเมลไปยังผู้ใช้ที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้
กูเกิลเปิดตัวแอพและบริการใหม่ชื่อ Bulletin โดยให้ผู้ใช้งานแชร์ข่าวสารเรื่องราวในชุมชนท้องถิ่น เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจ แต่ผู้คนยังไม่ค่อยรู้กัน
อาจจะสงสัยว่าอะไรแบบนี้ก็มีคนทำอยู่แล้ว กูเกิลเลยบอกว่า Bulletin มีจุดขายคือ ความง่ายในการสมัครใช้ การเชื่อมโยงกับกูเกิล ค้นหาข้อมูลได้สะดวก และการส่งบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ก็ทำได้ง่ายผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยการถ่ายวิดีโอคลิป และส่งข้อความเข้ามา
Bulletin ยังอยู่ในสถานะการทดสอบ จำกัดการใช้งานเพียงสองเมืองคือ Nashville และ Oakland ในอเมริกา