Microsoft จดสิทธิบัตรฟีเจอร์ใหม่ของสมาร์ทโฟนที่จะสามารถเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลหน้าจอและเสียงได้เอง โดยพิจารณาจากตำแหน่งพิกัดและสถานการณ์ของผู้ใช้งานในขณะนั้น
ฟีเจอร์ใหม่นี้จะใช้กล้องและไมโครโฟนของสมาร์ทโฟน ร่วมกับระบบ GPS ในการตรวจสอบตำแหน่งและสถานการณ์โดยรอบของผู้ใช้งาน เพื่อนำมาประมวลผลว่าสมาร์ทโฟนควรปรับตัวเข้าสู่ "โหมดแฝงตัว" (Inconspicuous Mode) หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการปรับความสว่างของหน้าจอ, การปรับความดังของเสียงจากลำโพง, การปรับรูปแบบการแสดงผลของส่วนติดต่อผู้ใช้งาน
หลายคนคงไม่แปลกใจหากเห็นข่าว Apple ยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือซอฟต์แวร์ใหม่ แต่ล่าสุดยักษ์ใหญ่ไอทีได้แสดงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลไปกว่านั้น เมื่อ Apple ได้เสนอเทคนิคการผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานลมที่ถูกเก็บไว้
การผลิตไฟฟ้าด้วยแรงลมโดยทั่วไป ใช้การหมุนของกังหันลมไปขับขดลวดของเครื่องผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงที่ลมพัดไม่แรงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่การเลือกใช้วิธีผลิตไฟฟ้าพลังงานลมถูกจำกัดเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีลมพัดแรงอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องมีระบบการจ่ายไฟสำรองไว้คอยสับเปลี่ยน
Google ได้รับสิทธิบัตรใหม่ว่าเกี่ยวกับส่วนติดต่อผู้ใช้งานสำหรับอุปกรณ์แสดงผลภายในรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ภาพประกอบในสิทธิบัตรไม่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างจากระบบแสดงผลของอุปกรณ์นำทางภายในรถยนต์ทั่วไปมากนัก เว้นแต่เพียงการเพิ่มแถบสถานะเข้ามาในหน้าจอซึ่งเอาไว้แสดงข้อมูลสถานะต่างๆ ของรถยนต์ ทั้งนี้ในคำบรรยายสิทธิบัตรระบุว่า การแสดงผลดังกล่าวอาจมีทั้งภาพและเสียงควบคู่กัน
ราว 2 สัปดาห์ก่อน Disney ได้ยื่นคำขอจดสิทธิบัตรเทคนิคการแสดงผล augmented reality แบบ 3 มิติ ซึ่งคาดกันว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำเครื่องเล่นเกมที่ชื่อ Toy Box
ในคำบรรยายของสิทธิบัตร อธิบายเทคนิคใหม่นี้ว่าเป็นการสร้างภาพเสมือน 3 มิติโดยอาศัยภาพจริงจากกล้องในหลายมุมมอง โดยแสดงผลแบบต่อเนื่อง เช่น เมื่อผู้ใช้มองแก้วกาแฟบนโต๊ะผ่านทางกล้องของอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีนี้ จะมองเห็นแก้วดังกล่าวเป็นตัวการ์ตูนและสามารถเคลื่อนไหวได้
นอกจากนี้ในคำขอจดสิทธิบัตรดังกล่าว มีภาพประกอบเป็นเครื่องเล่นเกมแบบพกพา จึงทำให้มีการคาดกันว่า Disney เตรียมใช้งานเทคโนโลยีใหม่นี้ร่วมกับเครื่องเล่นเกม Toy Box ที่ Disney กำลังพัฒนาอยู่
Sony ยื่นจดสิทธิบัตรเทคนิคการระบุตำแหน่งจอยในพิกัด 3 มิติแบบใหม่ โดยใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิก และกล้องถ่ายภาพควบคู่กัน
ในการระบุตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของผู้เล่นเกมนั้น Microsoft ได้พัฒนา Kinect โดยอาศัยระบบกล้องอินฟราเรดเป็นหลัก ส่วน Wii ของ Nintendo พึ่งเซ็นเซอร์แบบ gyro ด้วยเหตุนี้ Sony จึงพยายามหาแนวทางที่แตกต่างออกไปและดูจะมาลงตัวที่เทคโนโลยีอัลตราโซนิก
เทคนิคใหม่ของ Sony จะใช้กล้องถ่ายภาพ (ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นกล้องอินฟราเรด) ในการระบุตำแหน่งของจอยในระดับ 2 มิติ คือ ซ้าย/ขวา และ บน/ล่าง ส่วนคลื่นอัลตราโซนิกจะใช้ในการระบุตำแหน่งเชิงลึกของจอย โดยอุปกรณ์จะคำนวณระยะห่างของจอยจากหน้าจอทีวีที่ต่อเครื่องเล่นเกมเอาไว้จากระยะเวลาในการเดินทางของคลื่นเสียง
ไมโครซอฟท์ได้จดสิทธิบัตรโหมดการแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาใหม่ ที่คงจะช่วยแก้ (หรืออย่างน้อยก็ลด) ปัญหาแสงหน้าจอมือถือแยงตาขณะดูหนังในโรงภาพยนตร์ได้ไม่มากก็น้อย
ด้วยการเปิดใช้การแสดงผลที่ไมโครซอฟท์เรียกว่าโหมดไม่สะดุดสายตา (inconspicuous mode) ที่ไม่ใช่แค่ลดความสว่างหน้าจอและปิดเสียงมือถือเพียงเท่านั้น แต่ยังตัดเอาภาพพื้นหลังสว่างจ้าออกและจำกัดจำนวนการแจ้งเตือนที่แสดง โดยตัวโหมดไม่สะดุดสายตายังสามารถเปิดใช้งานเองโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจจับพบสภาพแวดล้อมที่ตรงกับเงื่อนไข เช่นภายในห้องนอนที่มืดมากๆ ได้อีกด้วย
เว็บไซต์ All Things D รายงานการจัดอันดับบริษัทที่มีจำนวนสิทธิบัตรในครอบครองมากที่สุดประจำปี 2012 โดยผลก็คือ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์คือ IBM ยังคงครองแชมป์จำนวนสิทธิบัตรมากที่สุดอยู่ โดยในปีนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรใหม่กว่า 6,478 สิทธิบัตร (รวมกับที่มีอยู่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 67,000 สิทธิบัตร) สำหรับอีก 9 อันดับที่ตามมาก็เป็นดังนี้ครับ
สงครามสิทธิบัตรระหว่างโมโตโรลากับไมโครซอฟท์ (ที่สืบต่อมาจนถึงยุคของกูเกิล) เริ่มมีสัญญาณของสันติภาพ เมื่อกูเกิลยื่นเอกสารต่อ ITC ขอ "ถอนคำฟ้อง" สิทธิบัตรบางรายการที่เคยฟ้องไมโครซอฟท์เอาไว้
สิทธิบัตรที่ว่าเกี่ยวข้องกับ H.264 ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่ถือเป็น "สิทธิบัตรพื้นฐาน" (standards-essential patents) ที่จำเป็นต่อการใช้งานของทุกบริษัทในวงการ และตามมารยาทแล้วไม่ควรนำมาใช้กลั่นแกล้งหรือต่อรองกันในทางธุรกิจ (ในข้อตกลงที่กูเกิลยอมความกับ FTC ก็มีเรื่องนี้ คือจะอนุญาตให้คู่แข่งใช้งานสิทธิบัตรพื้นฐานเหล่านี้ได้)
FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หยุดการสอบสวนกูเกิลในข้อหาผูกขาดและกีดกันคู่แข่ง (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) หลังจากกูเกิลทำข้อตกลงยอมความและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ FTC ต้องการ
ข้อตกลงระหว่าง FTC กับกูเกิล แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
1) สิทธิบัตรด้านมือถือของโมโตโรลา
กูเกิลรับรองว่าจะไม่กีดกันถ้าหากคู่แข่งขอใช้งานสิทธิบัตรพื้นฐานของวงการโทรคมนาคม ที่กูเกิลได้มาจากการซื้อกิจการโมโตโรลา
วงการเกมมือสองนับวันจะยิ่งอนาคตมืดหม่น หลังจาก Sony จดสิทธิบัตรตัวใหม่ที่ทำให้เกมหนึ่งแผ่นใช้ได้กับผู้ใช้เพียงหนึ่งรายเท่านั้น
จากสิทธิบัตรหมายเลข 20130007892 การทำงานของมันคือระบบจะใช้ permission tag สำหรับการเล่นเกม โดยเมื่อเล่นเกมตัวเครื่องจะอ่านหมายเลขของแผ่นเกม (disk ID) แล้วทำสำเนาไปรวมกับหมายเลขผู้เล่น (player ID) เพื่อให้ใช้งาน permission tag ได้
จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ตัวแผ่นเกมจะถูกผูกเข้ากับหมายเลขผู้เล่นโดยสิ้นเชิง แม้จะยังไม่มีแผนว่าเริ่มใช้เมื่อใด แต่ก็คาดกันว่าฟีเจอร์นี้จะมาพร้อมกับ PlayStation 4 เป็นแน่
หลังจากข่าวนี้ออกมา GameStop ร้านขายแผ่นเกมมือสองก็หุ้นตกลงทันที 5%
สงครามทางด้านสิทธิบัตรของแอปเปิลและซัมซุงยังไม่ได้จบลงง่าย ๆ เพราะว่าล่าสุดทางแอปเปิลยื่นเรื่องขอให้ศาลอนุมัติการนำเอา Samsung Galaxy S III mini เข้าไปในคดีการฟ้องร้องครั้งนี้ด้วย เนื่องจากมีการขายสินค้านี้ในร้านค้าออนไลน์ชื่อดังอย่าง Amazon.com
แต่ทว่าทางซัมซุงกลับส่งเอกสารคัดค้านการนำ Samsung Galaxy S III Mini เข้าไปในการฟ้องร้อง โดยกล่าวว่าเครื่องนี้ไม่ได้ขายอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา ทำให้การยื่นฟ้องนี้ตกไป ถึงอย่างไรก็ตามแอปเปิลยังคงสามารถนำรุ่นนี้เข้าสู่การฟ้องร้องได้อีก ถ้าซัมซุงนำรุ่นนี้มาขายในสหรัฐอย่างเป็นทางการ
เมื่อสามวันก่อน ศาลในสหราชอาณาจักรได้แถลงปิดคดีที่ไมโครซอฟท์ฟ้องร้องโมโตโรล่าโมบิลิตี้ ซึ่งกูเกิลซื้อไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าสิทธิบัตรด้านการซิงค์สถานะของข้อความที่โมโตโรล่าโมบิลิตี้ถืออยู่เป็นโมฆะ โดยผู้พิพากษากล่าวว่าการขอจดสิทธิบัตรนั้นถือเป็นโมฆะและสิทธิบัตรควรถูกเพิกถอน (ทั้งสองบริษัทได้รับคำตัดสินล่วงเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนหน้านี้แล้ว)
ถึงแม้สิทธิบัตรที่ได้รับการจดในสหราชอาณาจักรนั้นจะอ้างถึงเทคโนโลยีเพจเจอร์ตั้งแต่ยุคปี 1990 แต่การต่อสู้ทางกฎหมายนี้เน้นถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอุปกรณ์พกพาสมัยใหม่และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่บนการซิงค์สถานะของข้อความ อาทิ สถานะที่ระบุว่าผู้รับปลายทางเปิดอ่านอีเมลแล้วหรือไม่
คริสต์มาสหรือปีใหม่ในอนาคต คุณอาจจะกอดคนที่คุณรักได้แม้เขาจะอยู่อีกคนละซีกโลก ด้วยเทคโนโลยีสิทธิบัตรของ Microsoft ที่เพิ่งผ่านการอนุมัติ
สิทธิบัตรใหม่นี้ว่าด้วยเรื่องของระบบตอบสนองการสัมผัส โดยอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถรู้สึกได้ถึงการสัมผัสวัตถุหรือคนที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งในคำบรรยายสิทธิบัตรกล่าวว่าผู้ใช้สามารถ กอด, จับมือ, หยิบจับเอกสาร, เขียนข้อความบนกระดาน และระบบจะตอบสนองต่อการกระทำเหล่านั้นด้วยรูปแบบเฉพาะที่สัมพันธ์กัน ซึ่งแน่นอนว่าระบบสามารถทำงานเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงผลตอบสนองระหว่างกันและกันได้ด้วย
สงครามสิทธิบัตรระหว่างโนเกียและ RIM (โนเกียเป็นฝ่ายยื่นฟ้อง) ยุติลงแล้ว โดยทั้งสองบริษัทบรรลุข้อตกลงให้ RIM สามารถใช้สิทธิบัตรของโนเกียได้ โดย RIM จ่ายเงินให้กับโนเกีย (ไม่เปิดเผยมูลค่า)
คดีการฟ้องร้องระหว่างสองบริษัทในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา ก็ยุติลงทั้งหมดครับ
ที่มา - Nokia Press
ซัมซุงได้ขอถอนคำขอร้องให้แบนการขายสินค้าแอปเปิลในยุโรป โดยคำขอร้องที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับกรณีที่ซัมซุงกล่าวหาว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรที่เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก่อนหน้านี้ซัมซุงต้องการทั้งการแบนการขายสินค้าของแอปเปิลและค่าเสียหาย
ซัมซุงเองบอกว่า การถอนคำขอร้องครั้งนี้เป็นการทำเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเสียตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้า แต่เหตุผลที่แท้จริงอาจจะเกี่ยวข้องกับการที่คณะกรรมธิการยุโรป (European Commission) เริ่มจับตาซัมซุงเป็นพิเศษจากความเป็นไปได้ที่ซัมซุงอาจจะมีพฤติกรรมผูกขาดจากการใช้อำนาจในการบีบคู่แข่งด้วยสิทธิบัตรที่กลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรม
จากการร่วมมือกันของแอปเปิลและกูเกิลเพื่อประมูลสิทธิบัตรของ Kodak ตอนนี้ได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้วว่าสิทธิบัตรทั้งหมดถูกซื้อไปด้วยราคา 525 ล้านเหรียญ
ตัวเลข 525 ล้านเหรียญนั้นเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งถือว่าต่ำพอสมควรหากเทียบกับว่าก่อนหน้านี้เคยมีการประมาณค่าไว้สูงถึง 2,600 ล้านเหรียญ
นอกจากแอปเปิล และกูเกิลแล้วยังมีบริษัทอื่นที่เข้าร่วมลงขัน และได้รับสิทธิในการใช้สิทธิบัตรด้วย ได้แก่ ซัมซุง, HTC, Facebook, Amazon, Fujiflim, RIM, Huawei, Adobe และ Shutterfly
Google ยื่นคำขอจดสิทธิบัตรด้านซอฟท์แวร์เพื่อใช้งานควบคู่กับ Google Glass หลายรายการ เช่น การค้นหารูปภาพ, จดจำใบหน้าบุคคล, ค้นหารายชื่อผู้ติดต่อ, แก้ไขเอกสาร หรือส่งอีเมล เป็นต้น
นอกจากนี้ในคำขอจดสิทธิบัตรยังระบุถึงหน้าต่างแสดงผลที่เรียกว่า viewfinder ซึ่งเป็นการเน้นแสดงผลข้อมูลบางอย่างในบริเวณที่กำหนด เช่น การขยายภาพเฉพาะส่วน, การจับภาพหน้าจอ, การสแกนข้อความ เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถย่อ-ขยาย และย้ายตำแหน่งของหน้าต่าง viewfinder นี้ได้อย่างอิสระ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Google, Facebook, Zynga, Dell, Red Hat และบริษัทชั้นนำด้านไอทีอีกสามบริษัทได้ร่วมกันยื่นหนังสือถึงศาลอุทธรณ์ของสหรัฐ เพื่อร้องขอให้ศาลปฏิเสธการคุ้มครองของสิทธิบัตรสี่ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องระหว่างสถาบันการเงินสองแห่ง เนื่องจากสิทธิบัตรกลุ่มดังกล่าวพูดถึงกระบวนการประมวลผลในเชิงแนวคิดเท่านั้นและได้รับการคุ้มครองอย่างกว้างขวาง เนื่องจากใช้วลีทั่วไปอย่าง "บนคอมพิวเตอร์" หรือ "ผ่านอินเทอร์เน็ต" ผู้ร้องขอจึงมองว่าสิทธิบัตรลักษณะนี้เป็นการขอความคุ้มครองแค่ไอเดียเท่านั้นซึ่งใครจะคิดขึ้นมาก็ได้ แต่ในความเป็นจริงการอิมพลีเมนต์ไอเดียให้ใช้งานได้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก ดังนั้นสิทธิบัตรลักษณะนี้จะขวางกั้นการเกิดนวัตกรรมใหม่
ซัมซุงได้รับสิทธิบัตร "วิธีการรับรู้การแสดงท่าทางของผู้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์" โดยใช้กล้องและ motion sensor เพื่อรับรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวและเช็คระยะทางระหว่างวัตถุ ถ้าผู้ใช้งานแสดงท่าทางการเคลื่อนไหววัตถุที่ถูกต้องและอยู่ในระยะทางที่กำหนด ก็จะสามารถใช้คำสั่งต่างๆ ที่ถูกตั้งค่าไว้ได้ แหล่งข่าวบอกว่าทางซัมซุงจะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของบริษัท ตั้งแต่โทรทัศน์ยันเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เลยทีเดียว
หลังจากที่ USPTO ได้เข้ารื้อค้นคลังสิทธิบัตรที่แอปเปิลขอจดเอาไว้ เพื่อใช้ปกป้องสิทธิของตัวเองต่างๆ นานา มากมาย เมื่อเดือนตุลาคม USPTO ได้ประกาศแช่แข็งและยกสิทธิบัตรขึ้นมาพิจารณาใหม่ไปแล้ว 1 ฉบับคือ US Patent 746938 - Apple Rubbing Banding ถ้าไม่เข้าใจ สิทธิบัตรฉบับนี้คือเอฟเฟค เด้งไปเด้งมาเวลาเลื่อนเมนูต่างๆ ที่ดูเหมือนหนังยางน่ะครับ
ก่อนหน้านี้เราทราบความว่าเอชทีซีบรรลุข้อตกลงบางประการ ซัมซุงไม่ยินยอมที่จะตามเกม และร้องขอต่อศาลให้ฝ่ายแอปเปิลเปิดเอกสาร จนในที่สุดศาลมีคำสั่งให้แอปเปิลเผยสัญญา และในตอนนี้แอปเปิลก็เผยสัญญาฉบับนี้เรียบร้อยครับ
มีคนไปพบว่าโซนี่ได้จดสิทธิบัตร "hybrid separable motion controller" หรือเกมคอนโทรลเลอร์ที่สามารถแยกและประกอบร่างได้ โดยคอนโทรลเลอร์นี่มีหน้าตาเหมือนกับ DualShock แต่มีลูกบอลลักษณะเดียวกับ PlayStation Move ติดอยู่ทั้งสองด้านของตัวคอนโทรลเลอร์ (ดูภาพที่ท้ายข่าว) สิทธิบัตรนี้ยังพูดถึงเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับคอนโทรลเลอร์นั้นแยกร่างหรือรวมร่างกันอยู่อีกด้วย
ประธานบอร์ดบริหารและอดีตซีอีโอของกูเกิล Eric Schmidt ได้ให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกูเกิลและแอปเปิลในหลาย ๆ กรณี ตั้งแต่เรื่อง Google Maps ไปจนถึงการถอดแอพ YouTube ออกจาก iOS โดย Schmidt บอกว่าทั้งสองบริษัทจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันแบบคนที่โตแล้ว
Schmidt กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างกูเกิลกับแอปเปิลดีบ้างไม่ดีบ้างตลอดเวลาที่ผ่านมา และกูเกิลก็อยากให้แอปเปิลเลือกใช้ Google Maps ส่วนสาเหตุที่แอปเปิลถอด YouTube ออกเขาก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะสาเหตุอะไร
เว็บไซต์ FOSS Patents อ่านเอกสารยื่นอุทธรณ์ของออราเคิลในคดี Java กับกูเกิล (ซึ่งยื่นเมื่อเดือนธันวาคม) พบว่าออราเคิลตัดสินใจไม่อุทธรณ์คดีส่วนสิทธิบัตร และอุทธรณ์เฉพาะคดีเรื่องลิขสิทธิ์ของ Java API เท่านั้น
FOSSPatents ประเมินว่าออราเคิลคงต้องการโฟกัสไปที่ประเด็นเรื่อง Java API เป็นหลัก, สิทธิบัตรบางชิ้นกำลังจะหมดอายุ และสิทธิบัตรบางชิ้นอาจเรียกค่าเสียหายได้ไม่มากนัก เลยตัดสินใจทิ้งประเด็นเรื่องสิทธิบัตรไป
กระบวนการของคดีนี้ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ถ้ากำหนดการเป็นไปตามที่วางแผนกันไว้ กว่าที่ทั้งสองฝ่ายจะแถลงตอบโต้กันครบ (ฝ่ายละ 2 รอบ) ก็ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2013 ครับ
ครั้งหนึ่งสิทธิบัตรเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวเคยถูกนำเสนอต่อ Microsoft และ Sony ซึ่งพากันเมิน ก่อนที่สุดท้ายมันจะตกไปสู่ Nintendo และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นเครืองเกม Wii ที่ขายดีถล่มทลาย
Tom Quinn ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของสิทธิบัตรดังกล่าวได้ให้สัมภาษณ์แก่ CVG และเล่าว่า เขาเคยเข้าพบผู้บริหารของ Microsoft เพื่อนำเสนอสิทธิบัตรเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวด้วยหลักการทำงานของ gyroscope โดยหวังว่า Microsoft จะสนใจนำสิ่งนี้ไปพัฒนาร่วมกับ Xbox แต่กลับต้องผิดหวัง
หลังจากนั้น Quinn ได้ติดต่อ Sony และได้พบกับ Kutaragi ผู้ได้ชื่อว่าบิดาแห่ง PlayStation แต่ผลงานของ Quinn ก็ถูกมองข้ามไปอีกเช่นกัน โดย Quinn กล่าวว่า Kutaragi ไม่แม้แต่จะมองหน้าจอการนำเสนอของเขาด้วยซ้ำ