ถึงแม้ว่ากูเกิลในสหรัฐอเมริกาเพิ่งจะฟ้องแอปเปิลผ่านทางโมโตโรล่าก็ตาม แต่ล่าสุดมีรายงานว่าโมโตโรล่าในเยอรมนีได้บรรลุข้อตกลงกับแอปเปิลแล้วกรณีที่แอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของโมโตโรล่า
สิทธิบัตรที่ถูกรวมอยู่ในข้อตกลงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีไร้สายซึ่งเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยแอปเปิลยินยอมที่จะจ่ายค่าเสียหายให้กับโมโตโรล่าเป็นรายการไป และตอนนี้ทั้งสองบริษัทยังไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับค่าไลเซ่นส์ที่แอปเปิลต้องจ่าย
Blognone ลงข่าวเกี่ยวกับคดีนี้ไปเยอะมากๆ แล้ว (ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมเขียนด้วย) รายละเอียดย้อนกลับไปอ่านกันเองในข่าวเก่านะครับ
บทความนี้จะเน้นไปที่ผลกระทบถัดจากนี้ต่อทั้งสองบริษัท และวงการไอทีในภาพรวมครับ เนื่องจากประเด็นมีเยอะ ผมจะใช้วิธีเขียนแบบ bullet เพื่อไม่ให้ประเด็นตีกัน
C|net ได้เขียนรายงานที่น่าสนใจรายงานหนึ่ง ว่าผลประโยชน์กรณีที่แอปเปิลชนะคดีสิทธิบัตรซัมซุงน่าจะตกอยู่ที่ไมโครซอฟท์และ Windows Phone มากกว่าใคร เพราะว่าผลการตัดสินใจชั้นศาลครั้งนี้ไม่ได้กระทบแค่ซัมซุง แต่รวมไปถึงวงการ Android ทั้งหมดด้วยความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น ว่าแอปเปิลอาจจะเลือกฟ้องผู้ผลิต Android รายอื่นต่อไปอีกหรือไม่ ผู้ผลิตต่าง ๆ จึงเริ่มกลับมาพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวเองกับ Android และเริ่มหันมามอง Windows Phone เป็นแพลตฟอร์มสำรองที่ปราศจากความไม่แน่นอนนี้
หลังจากมีข่าวลือว่าโนเกียจะเปิดตัว Lumia ใหม่พร้อมกัน 3 รุ่น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรุ่นโค้ดเนม Phi ที่มีภาพหลุดไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดก็มีคนไปค้นพบว่าโนเกียได้รับอนุมัติสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อสองวันก่อน โดยหน้าตามือถือในสิทธิบัตรตรงกับภาพหลุดที่กล่าวไปข้างต้น (ดูภาพเปรียบเทียบที่ท้ายข่าว)
Phi เป็นมือถือรุ่นท็อป มีหน้าจอ 4.7 นิ้ว ใช้กระจกหน้าจอโค้งและบอดี้แบบโพลีคาร์บอเนตเช่นเดียวกับ 800/900 ซีพียูดูอัลคอร์จาก Qualcomm รองรับ microSD, NFC, LTE และขายผ่าน AT&T
ศาลแคลิฟอร์เนียได้ออกคำตัดสินคดีแอปเปิล-ซัมซุงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยงานนี้ซัมซุงต้องจ่ายค่าเสียหายกับแอปเปิลเป็นมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ จากคดีที่ทั้ง 2 บริษัทได้ฟ้องร้องกล่าวหากันเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรหลายรายการ ซึ่งคณะลูกขุนใช้เวลาประชุมหารือร่วมกันทั้งหมด 21 ชั่วโมง กับอีก 37 นาที หลังจากการแถลงปิดคดีเสร็จสิ้นลง ซึ่งถือว่าทำงานกันรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับรายละเอียดของคดีที่มีอยู่ค่อนข้างเยอะ
ศาลประเทศเกาหลีใต้ได้ออกคำตัดสินในคดีฟ้องร้องกันระหว่างแอปเปิล และซัมซุงเรื่องสิทธิบัตร โดยออกเป็นสองกรณี กรณีแรกคือซัมซุงฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดสิทธิบัตรเรื่องการเชื่อมต่อพีซีกับโทรศัพท์ และสิทธิบัตรเรื่องการใช้เครือข่าย 3G โดยศาลมีคำตัดสินให้แอปเปิลหยุดจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดทันที ได้แก่ iPhone 3GS, iPhone 4, iPad รุ่นแรก และ iPad รุ่นที่ 2 รวมทั้งจ่ายค่าเสียหายให้ซัมซุง 40 ล้านวอนหรือคิดเป็นเงิน 35,000 ดอลลาร์
กระบวนการพิจารณาคดีแอปเปิล-ซัมซุงเดินทางมาถึงขั้นตอนเกือบสุดท้ายแล้ว หลังการเจรจารอบสุดท้ายล้มเหลว และศาลได้ออกแบบฟอร์มการพิจารณาคดีสำหรับคณะลูกขุน โดยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนแถลงคำตัดสิน ศาลได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีสองฝ่ายได้แถลงปิดคดี เพื่อสรุปข้อกล่าวหา ข้อโต้แย้ง พยาน ตลอดจนหลักฐานที่นำเสนอมาอีกครั้ง แล้วลูกขุนจะได้นำพิจารณาในขั้นตอนถัดไป
การเจรจาครั้งสุดท้ายตามคำสั่งศาลของคดีแอปเปิล-ซัมซุงล่มไปแล้ว ทั้งคู่ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาผ่านลูกขุน งานของผู้พิพากษาในตอนนี้ก็คือการออกแบบฟอร์มคำพิพากษาให้คณะลูกขุนไปกรอก แบบเดียวกับคดีกูเกิลและออราเคิลก่อนหน้านี้
โค้งสุดท้ายยังมีการโต้เถียงกันในเรื่องสำคัญ คือ ผู้พิพากษาจะเตือนลูกขุนว่าทั้งสองบริษัทลบอีเมลภายในแม้จะอยู่ในช่วงการเก็บหลักฐานไว้ก็ตาม โดยก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ร้องให้ผู้พิพากษาเตือนคณะลูกขุนในเรื่องนี้ ซึ่งผู้พิพากษาก็ทำตาม แต่หลังจากนั้นก็เป็นคำเตือนในฝั่งแอปเปิลที่ถูกแจ้งพฤติกรรมแบบเดียวกันให้กับคณะลูกขุน
ระหว่างการให้ปากคำในคดีฟ้องร้องกันระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง ได้จบลงด้วยการที่ผู้พิพากษา Lucy Koh ได้บอกเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่าให้ทั้งสองฝ่ายลองพยายามเจรจากันอีกครั้ง โดยการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถตกลงอะไรได้เลย และสุดท้ายก็คงต้องรอคำตัดสินของศาล
นี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายได้พยายามเจรจากันมาแล้วหลายครั้ง และมีครั้งหนึ่งที่ทั้งซีอีโอของซัมซุง และทิม คุก ต้องมาร่วมเจรจาตามที่ศาลได้ร้องขอเป็นเวลาสองวันเต็ม
ที่มา - Ars Technica
จากรายงานก่อนหน้านี้ ที่กูเกิลได้ฟ้องแอปเปิลผ่านโมโตโรล่า และขอให้ ITC พิจารณาแบนสินค้าของแอปเปิลหลายชนิดด้วยกัน ล่าสุด TechCrunch ทราบแล้วว่ากูเกิลได้ฟ้องแอปเปิลฐานละเมิดสิทธิบัตรหลายใบของโมโตโรล่า ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกูเกิลแล้ว
สิทธิบัตรต่าง ๆ ที่กูเกิลกล่าวหาว่าแอปเปิลละเมิด ได้แก่ การแจ้งเตือนตามตำแหน่งสถานที่ (location reminder), การแจ้งเตือนอีเมล (e-mail notification), การเล่นคลิปวีดีโอและ Siri โดยสินค้าของแอปเปิลเกือบทุกชนิดรวมถึงคอมพิวเตอร์ ละเมิดสิทธิบัตรที่กล่าวมานี้ ยกเว้น iPod classic และ iPod nano
ต่อจากข่าว ผู้พิพากษา Alsup สั่งกูเกิลและออราเคิลเปิดเผยชื่อสื่อที่ได้รับเงินเพื่อรายงานข่าวเกี่ยวกับคดีจาวา ทั้งสองบริษัทก็ปฏิบัติตามคำสั่งและเปิดเผยรายชื่อของสื่อที่รับเงินจากตัวเองมาเรียบร้อย
ฝั่งกูเกิลไม่มีอะไรน่าสนใจเพราะกูเกิลบอกว่า "ไม่ได้จ่ายเงินให้สื่อรายไหน" แต่ก็แนบรายชื่อนักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ที่เคยได้รางวัล Focused Research Awards จากกูเกิล และสมาคมการค้า-ล็อบบี้ยิสต์มาจำนวนหนึ่งเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ
รายงานล่าสุดเผยว่ากูเกิลให้โมโตโรล่ายื่นฟ้องแอปเปิลแก่คณะกรรมการการค้าสากลหรือ ITC ให้แบนสินค้าของแอปเปิลหลายชนิด ตั้งแต่ iPhone, iPad, iPod touch และคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลหลายรุ่น โดยการฟ้องร้องครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่โมโตโรล่าได้ออกมาฟ้องร้องแอปเปิลโดยตรง หลังจากที่กูเกิลได้ซื้อกิจการของโมโตโรล่าไปแล้ว
ในรายงานนี้ ยังไม่ระบุว่ากูเกิลและโมโตโรล่าต้องการฟ้องแอปเปิลจากสาเหตุใด แต่คาดว่าเนื้อหาของคำร้องครั้งนี้น่าจะหนีไม่พ้นเทคโนโลยีที่แอปเปิลได้เลือกใช้ในสินค้าหลายชนิด ที่ได้ละเมิดสิทธิบัตรที่โมโตโรล่าถือครองอยู่
เดือนที่แล้วมีข่าวออกมาบอกว่าทั้งกูเกิล แอปเปิล ซัมซุง และ HTC ต่างก็สนใจที่จะเข้าประมูลสิทธิบัตรเกี่ยวกับการถ่ายภาพดิจิตอล แต่รายงานล่าสุดจาก The Wall Street Journal รายงานว่าบริษัทเหล่านี้อาจจะรวมตัวกันประมูลสิทธิบัตรของ Kodak เพื่อที่จะกดราคาสิทธิบัตรลงให้ต่ำกว่าราคาที่ Kodak หวังว่าจะได้ในตอนแรก
คดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงที่กำลังต่อสู้กันอยู่ในชั้นศาล ทำให้เรารู้เรื่องต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับทั้งสองบริษัท ล่าสุดอีกข้อมูลที่น่าสนใจที่ถูกเปิดเผยก็คือเรื่องแท็บเล็ตของไมโครซอฟท์ที่กำลังจะวางตลาดในเร็ว ๆ นี้ โดยนาย Boris Teksler ผู้บริหารทางด้านการทำใบอนุญาตสิทธิบัตรของแอปเปิลบอกว่า ไมโครซอฟท์ได้รับสิทธิในการใช้สิทธิบัตรของแอปเปิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งสองก็มีข้อตกลง anti-cloning (ว่าจะไม่ลอกเลียนสินค้าของแอปเปิล) แยกอีกต่างหาก
ในเอกสารล่าสุดที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจากคดีความที่ยังต่อสู้กันในชั้นศาลระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง พบว่าในปี 2010 แอปเปิลเคยเสนอให้ซัมซุงจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับแอปเปิลเป็นจำนวนเงิน $30 ต่อเครื่องสำหรับโทรศัพท์ และ $40 สำหรับแท็บเล็ต โดยรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง Windows Phone, Symbian และ Bada ด้วย โดยหากคำนวณแล้วจะมีมูลค่ารวมในปี 2010 ประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นอกจากนี้แอปเปิลยังเสนอส่วนลดให้อีก 20% หากซัมซุงยอมที่จะอนุญาตให้แอปเปิลใช้สิทธิบัตรของซัมซุงด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าข้อเสนอดังกล่าวนั้นไม่เป็นผล จนนำมาสู่คดีความปัจจุบันในที่สุด
สิทธิบัตร Android นั้นเป็นแหล่งรายได้ของ Microsoft ไปแล้ว จากการที่อุปกรณ์ Android กว่าครึ่งตลาดเซ็นสัญญาใช้งานสิทธิบัตรจาก Microsoft
ล่าสุดบริษัทวิเคราะห์หุ้น Trefis ประเมินว่า Microsoft จะได้รับค่าสิทธิบัตรจาก Samsung เป็นเงิน 12-13 ดอลลาร์ต่อมือถือ Android หนึ่งเครื่อง ส่วนค่าสิทธิบัตรจาก HTC ถูกกว่าเล็กน้อยที่ 10 ดอลลาร์ต่ออุปกรณ์ Android หนึ่งเครื่อง
ไมโครซอฟท์ยังคงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Kinect อยู่เรื่อย ๆ จากสิทธิบัตรฉบับล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้นำกล้องตรวจจับความลึก Kinect ไปสู่อุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือแล้ว โดยกล้องนี้อาจจะเป็นกล้องที่ตรวจสอบความลึกของสภาพแวดล้อมได้ด้วยวิธีการใช้เซ็นเซอร์อินฟราเรดหรือกล้องแบบ stereoscopic ก็ได้ แต่ถ้าสองอย่างนี้ยังไม่เพียงพอ ก็อาจจะนำเซ็นเซอร์ accelerometer เข้ามาช่วยได้อีกด้วย
ตอนนี้ Kodak อยู่ในขั้นตอนเตรียมพร้อมจะเปิดประมูลสิทธิบัตรสิบชิ้นของบริษัท หลังจากที่ได้ยื่นเรื่องขอสถานะล้มละลายไปแล้ว แต่แอปเปิลก็ได้ตัดสินใจเข้ามาฟ้อง Kodak แล้วอ้างว่าสองในสิบสิทธิบัตรของ Kodak นี้เป็นของแอปเปิลตามเนื้อหาของตัวสิทธิบัตร ล่าสุดศาลได้ตัดสินแล้วว่าแอปเปิลจะไม่ได้สิทธิในการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรดังกล่าว และ Kodak จะสามารถนำสิทธิบัตรทั้งหมดไปประมูลต่อไปได้
คำตัดสินของศาลในครั้งนี้มีข้อความชี้ว่าแอปเปิลจงใจที่จะรบกวนหรือขัดขวางการประมูลสิทธิบัตรของ Kodak แต่ศาลเองก็ปฏิเสธที่จะตัดสินว่า Kodak เป็นเจ้าของสิทธิบัตรที่เหลือแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาฟ้องอ้างสิทธิในสิทธิบัตรที่เหลือของ Kodak ได้อีกเช่นกัน
USPTO ได้เปิดเผยสิทธิบัตรของแอปเปิลที่มีอายุ 1 ปี โดยสิทธิบัตรฉบับนี้ได้พูดถึง Smart Cover ของ iPad ที่จะมาพร้อมกับหน้าจอ AMOLED ที่ยืดหยุ่นได้และรองรับการสัมผัสของผู้ใช้ โดยหน้าจอ AMOLED สามารถนำไปใช้เพื่อแสดงการแจ้งเตือน (notifications) ต่าง ๆ ได้
รูปภาพที่แนบมากับสิทธิบัตรฉบับนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ด้านในของ Smart Cover เป็นคีย์บอร์ด, ทัชแพด, แผงรับแสงอาทิตย์และอื่น ๆ โดย Smart Cover นี้จะส่งข้อมูลกับตัวแท็บเล็ตด้วยการเชื่อมต่อลักษณะเดียวกับ MagSafe
หลังจากที่แอปเปิลได้ให้คำให้การเปิดขั้นตอนการพิจารณาคดี คราวนี้ถึงตาซัมซุงได้ออกมาให้คำให้การเปิดเป็นครั้งแรกแล้ว โดยซัมซุงได้ออกมาบอกว่าสิ่งที่ซัมซุงทำไม่ได้เป็นการลอกเลียนแบบ แต่เป็นการแข่งขัน
ซัมซุงบอกว่าพวกเขายอมรับว่า iPhone เป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นสินค้าที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน รวมถึงตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และสินค้าที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจย่อมทำให้เกิดความต้องการที่จะผลิตสินค้าที่ดีกว่าเพื่อการแข่งขัน
นอกจากสงครามสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงที่เป็นข่าวอย่างต่อเนื่องมาตลอด มวยอีกคู่ที่ฟัดกันอย่างสูสี (แต่อาจได้รับความสนใจน้อยกว่าเพราะไม่มีแอปเปิลมาเกี่ยวข้อง) คือคู่ระหว่างไมโครซอฟท์กับโมโตโรลา ซึ่งตอนนี้ต้องเรียกเป็นไมโครซอฟท์กับกูเกิลแทน
ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ประสบความสำเร็จในการแบนมือถือโมโตโรลาในสหรัฐและเยอรมนี แต่ในทางกลับกัน โมโตโรลาก็เอาคืนสำเร็จโดยชนะคดีสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Windows 7 และ Xbox ในเยอรมนีเช่นกัน (แต่ศาลยังไม่สั่งแบน ทั้งสองฝ่ายยังตกลงเรื่องค่าใช้งานสิทธิบัตรกันไม่เสร็จ)
Patently Apple รายงานว่าสิทธิบัตรใหม่ของแอปเปิลนั้นแสดงให้เห็นว่าแอปเปิลมีความสนใจในเทคโนโลยี heads-up display เป็นอย่างมาก และเป็นไปได้ว่าแอปเปิลอาจมีแผนที่จะปล่อยสินค้าประเภทเดียวกันนี้ออกมาแข่งกับ Google Glass
สิทธิบัตรใบนี้ได้พูดถึงเรื่องการเพิ่มคุณภาพการแสดงผลของภาพบนหน้าจอ heads-up display โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพิกเซลบนหน้าจอ เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องน้ำหนักและขนาดของอุปกรณ์ที่ผู้ใช้จะต้องสวมใส่
ข่าวนี้เป็นเรื่องของคดีฟ้องร้องหนังม้วนยาวของแอปเปิล-ซัมซุง โดยศาลจะเรียกทั้งสองมาไต่สวนคดีเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้า ทั้งสองบริษัทต้องส่งเอกสารประกอบการฟ้องร้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ผู้สื่อข่าว Ashby Jones แห่ง The Wall Street Journal ได้พบเนื้อหาที่น่าสนใจในเอกสารแจงเหตุผลของฝั่งซัมซุงดังนี้ครับ
ซัมซุงได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์สื่อสารมายาวนานนับตั้งแต่ปี 1991 และอีกมากในกลุ่มสมาร์ทโฟนจนถึงปัจจุบัน ถ้าพูดตามจริงแล้วแอปเปิลเพิ่งมาเริ่มขาย iPhone หลังจากซัมซุงได้เริ่มพัฒนาโทรศัพท์มือถือถึงเกือบ 20 ปี จึงกล่าวว่าได้ว่าที่ iPhone ขายได้แต่ละเครื่องทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากสิทธิบัตรเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่ซัมซุงได้ถือครองอยู่นั่นเอง
ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในปีที่แล้วคือข่าวกูเกิลประกาศซื้อกิจการโมโตโรลาคิดเป็นมูลค่า 12.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งกูเกิลให้เหตุผลว่าต้องการ "สิทธิบัตร" ของโมโตโรลาเป็นประเด็นสำคัญ
ก่อนหน้านี้ที่มีข่าวออกมาว่าการเจรจาระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงสิ้นสุดลง โดยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใด ๆ ได้เลย ล่าสุด FOSS Patents ได้ออกมาเผยว่าแอปเปิลต้องการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินประมาณ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8 หมื่นล้านบาทจากการฟ้องร้องในชั้นศาลกับซัมซุง โดยแอปเปิลได้ใช้วิธีเรียกค่าไลเซ่นส์ตามจำนวนสินค้าที่ซัมซุงได้วางขาย เช่น