แม้ว่าแอปเปิลกับซัมซุงจะมีปัญหาทางด้านกฎหมายมากมายอยู่แล้ว ล่าสุดก็มีคดีใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก โดยจากการายงานของ Bloomberg ในครั้งนี้แอปเปิลได้ฟ้องต่อศาลออสเตรเลียกรณีซัมซุงก็อบหน้าตาเคสต่าง ๆ สำหรับแท็บเล็ตและมือถือจากแอปเปิลไป
ก่อนหน้านี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อบริษัทผลิตเคสที่ใกล้ชิดกับซัมซุง "Anymode" ได้ปล่อยเคส "Smart Case" ออกมาสำหรับ Galaxy Tab 10.1 ที่มีรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงกับ Smart Cover สำหรับ iPad 2 เป็นอย่างมาก (ดูรูปในข่าว) โดยในตอนแรกสินค้าดังกล่าวได้มีตรารองรับจากซัมซุงมาด้วย แต่หลังจากนั้นไม่นานซัมซุงก็ได้ออกมากล่าวบนบล็อกของตัวเองว่าบริษัทไม่ได้ทำการรองรับเคสแต่อย่างใด และเลิกการจำหน่ายเคสนี้ก่อนจะวางขายในตลาดจริงทันที
BT หรือ British Telecom บริษัทโทรคมนาคมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (เป็นกรมไปรษณีย์โทรเลขของอังกฤษเดิม และเคยเป็นเจ้าของเครือข่ายมือถือ O2) ยื่นฟ้องกูเกิลในสหรัฐอเมริกา ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 6 รายการ
สิทธิบัตรในคดีนี้มีหลากหลาย ทั้งเกี่ยวกับการสื่อสารไร้สาย ส่วนติดต่อผู้ใช้ และการหาพิกัดของผู้ใช้ ส่วนผลิตภัณฑ์ของกูเกิลที่ BT บอกว่าละเมิดสิทธิบัตรของตนจะเน้น Android เป็นหลัก แต่ก็ครอบคลุมไปถึง Google Maps, Google Music, Google Books, Google Search และ Google+ ด้วย (รายละเอียดดูใน FOSS Patents)
ข่าวนี้เป็นเหมือนฝันร้ายของเอซทีซีโดยฉับพลัน เพราะจากครั้งที่แล้วที่เอชทีซีพ่ายแพ้ต่อแอปเปิ้ล เพราะสิทธิบัตรที่ซื้อมาจาก S3 มันฟ้องแล้วข้อหาไม่ขึ้น! (ข่าวเก่า) แอปเปิ้ลก็ทิ้งท้ายไว้ว่ายังมีคดีที่ต้องสะสางกันอยู่ เพราะแอปเปิ้ลฟ้องเอชทีซีเนื่องจากข้อหาละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 20 ใบ แต่เมื่อ ITC พิจารณาคดีชั้นต้นพบว่าผิดจริงอยู่ 2 ใบ และวันนี้ศาลยังคงยึดคำตัดสินของ ITC เช่นเคยครับ คือเอชทีซีละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิ้ลจำนวน 2 ใบ และสั่งห้ามนำอุปกรณ์เข้ามาจำหน่ายแล้ว
คดีที่พันกันจนยุ่งของวงการสมาร์ตโฟนนั้นเริ่มงวดเข้ามาถึงช่วงที่คำตัดสินคดีต่างๆ หรืออย่างน้อยก็ความคุ้มครองชั่วคราวเริ่มออกมา ล่าสุดคือคดีที่แอปเปิลฟ้อง HTC นั้น ศาล ITC ได้พิพากษาให้แอปเปิลชนะคดี และมีคำสั่งให้ห้ามนำเข้าโทรศัพท์รุ่นที่ถูกตัดสินว่าละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเข้าสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2012 เป็นต้นไป
คำพิพากษานี้แม้จะเป็นชัยชนะของแอปเปิล แต่ในความเป็นจริงคือศาล ITC ตีคำร้องของแอปเปิลตกไปทั้งหมดเหลือเพียงสิทธิบัตรหมายเลข 5,946,647 หรือสิทธิบัตร '647 ซึ่งเป็นกระบวนการแสดงข้อมูลด้วยการแท็บบนข้อมูล
ต่อเนื่องจากข่าวเก่า ศาลเขต Mannheim ในเยอรมนีตัดสินคดีที่ Motorola ฟ้อง Apple Sales International (ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ไอร์แลนด์) ว่าผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลคือ iPhone รุ่นแรกจนถึง iPhone 4 (ไม่รวม iPhone 4S ที่ออกมาทีหลัง) ละเมิดสิทธิบัตรของ Motorola
อีกหนึ่งความคืบหน้าของการต่อสู้ระหว่างซัมซุงและแอปเปิล ขอเรียงลำดับก่อนเริ่มจากที่ศาลออสเตรเลียสั่งแบน Galaxy Tab 10.1 จากนั้นซัมซุงก็ยื่นอุทธรณ์แล้วก็กลับมาขายได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วตอนนั้น Galaxy Tab 10.1 ก็กลับมาขายไม่ได้ในทันที เพราะว่าแอปเปิลตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงของออสเตรเลียให้พิจารณาคำตัดสินใหม่อีกครั้ง ทำให้ Galaxy Tab ต้องหยุดวางขายไปจนกว่าจะถึงวันที่ 9 ธันวาคม
ในสงครามสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลและซัมซุงที่ต่อสู้กันมายืดยาวในขณะนี้ หนึ่งในข้อโต้แย้งของซัมซุงในการออกแบบอุปกรณ์มือถือและแท็บเล็ตก็คือทางซัมซุงไม่มีตัวเลือกอื่นในการผลิตอุปกรณ์ไม่ให้มีลักษณะอย่างที่ Galaxy S และ Galaxy Tab 10.1 เป็น
FlashPoint Technology เป็นอดีตบริษัทของแอปเปิลที่แยกตัวออกมา และยื่นฟ้องคดีสิทธิบัตรเกี่ยวกับกล้องดิจิทัลต่อ ITC ว่ามีผู้ผลิตมือถือหลายราย ได้แก่ HTC, RIM, LG, Nokia ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง
คดีนี้ฟ้องตั้งแต่กลางปี 2010 ซึ่ง RIM, LG, Nokia เลือกทำความตกลงกับ FlashPoint นอกศาล เพื่อลดโอกาสที่จะถูกแบนห้ามขายมือถือในสหรัฐ
ส่วน HTC เลือกจะสู้คดีต่อ และล่าสุด ITC ตัดสินแล้วว่า HTC ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของ FlashPoint แต่อย่างใด
ที่มา - The Register, Android and Me
เรื่องราวการทะเลาะกันของสองบริษัทไอทีโดยมีแอปเปิลเป็นหัวโจกคงจะไม่จบง่ายๆ ถ้าใครยังไม่เข้าใจหรือยังไม่เก็ตในเรื่องนี้ (เพราะปกติมันจะเป็นข่าวการกัดกันไป กัดกันมาของซัมซุงมากกว่า) ก็จะขอย้อนอดีตคร่าวๆ ละกันนะครับ คือดราม่านี้มันเริ่มต้นจากการที่แอปเปิลเป็นฝ่ายเริ่มฟ้องเอชทีซี ว่าฝ่ายเอชทีซีละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งเบื้องต้น ITC ตัดสินว่าผิดจริง ฝ่ายเอชทีซีจึงแก้เกมด้วยการเข้าซื้อ S3 Graphics จาก VIA แล้วเอามาฟ้องอีกรอบ และก็ทำให้แอปเปิลพ่ายแพ้ไปในที่สุด แต่ยังทิ้งท้ายว่าฝ่ายเอชทีซีเองก็ยังยินดีเจรจา
ก่อนอ่านเนื้อข่าวกรุณากลับไปอ่านหัวข้อข่าวอีกครั้ง "อาจ"
ถ้าพูดถึง 1 ในไม่กี่เรื่องที่ Android สามารถอวดได้ ก็คงจะมีเรื่องของ Notification กับ Pattern Unlock ที่ขนาด Apple ยังต้องทำ Apple Connect ตามมา แต่ล่าสุดวิธีการปลดล็อกแบบนี้ถูก Google ขอจดสิทธิบัตรเอาไว้เรียบร้อย
เมื่อวานนี้ USPTO ได้อนุมติการจดสิทธิบัตรชุดใหญ่ของ Apple จำนวน 31 ใบ โดยทั้ง 31 ใบนี้ มี 1 ใบที่ต้องคอยจับตาดูเป็นพิเศษ นั่นก็คือ US Patent: 8060627 หรือ สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยกันเองผ่าน NFC
แอปเปิลได้รับสิทธิบัตรหมายเลข US 2011/0269423 จากสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย โดยสิทธิบัตรนี้ระบุถึงกระบวนการที่โทรศัพท์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนซิมการ์ดได้จะสามารถเปลี่ยนเครือข่ายและหมายเลขได้
แอปเปิลแสดงท่าทีที่จะผลักดันกระบวนการย้ายค่ายผู้ให้บริการโดยไม่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ดตลอดมา โดยผู้ให้บริการส่วนมากก็เห็นด้วย เรื่องน่าสนใจคือกระบวนการยืนยันตัวบุคคลแบบใหม่นี้จะย้ายข้อมูลความลับ ซึ่งใช้ยืนยันเลขหมายของเจ้าของโทรศัพท์ไปอยู่ใน Secured Element (SE) ของโทรศัพท์
หลังจากกูเกิลโดนวิจารณ์มาเยอะว่าไม่ยอมช่วยเหลือผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android ที่ได้รับผลกระทบจากคดีสิทธิบัตรทั่วโลก ล่าสุดกูเกิลเริ่มขยับตัวแล้ว
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นกับข่าวไมโครซอฟท์ไล่เซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android หลายราย แต่หนึ่งรายที่ไม่ยอมเซ็นกับไมโครซอฟท์ก็คือ Barnes & Noble (ซึ่งทำ Nook) และจบลงด้วยไมโครซอฟท์ยื่นฟ้อง Barnes & Noble
ทางทนายของ Barnes & Noble ก็แก้เกมกลับโดยยื่นเรื่องไปยังหน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาด ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และล่าสุดมีสไลด์ของ Barnes & Noble หลุดออกมาสู่สาธารณะ (เอกสารยื่นวันที่ 12 กรกฎาคม 2011)
เอกสารนี้เผยให้เห็นรายละเอียดของ "สิทธิบัตร" ที่ไมโครซอฟท์นำมาเจรจา/ฟ้องกับ Barnes & Noble ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสิทธิบัตรชุดเดียวที่ใช้เซ็นสัญญากับผู้ผลิต Android รายอื่นๆ (ซึ่งไมโครซอฟท์ไม่เคยเปิดเผย) ใครสนใจก็เอาเลขสิทธิบัตรไปค้นต่อกันตามสะดวก
หลังจากไมโครซอฟท์เซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับ Compal ไปไม่นาน คราวนี้ก็ถึงคราวของ Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนที่ มีผลิตภัณฑ์หลักอยู่ในแพลตฟอร์มแอนดรอยด์
Victor Xu ตำแหน่ง chief marketing officer ของ Huawei กล่าวว่า "ไมโครซอฟท์มาเยือนเราแล้ว" และยังกล่าวเสริมอีกว่า "เราเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาอยู่เสมอ แต่ด้วยสิทธิบัตร 65,000 รายการทั่วโลกทำให้มั่นใจได้ว่านั่นจะเพียงพอสำหรับปกป้องผลประโยชน์ของเรา"
อย่างไรก็ตามเขายืนยันว่าขั้นตอนทั้งหมดยังอยู่ในช่วงของการเจรจา
ที่มา - Guardian
คดีสิทธิบัตรระหว่าง Motorola กับแอปเปิลในเยอรมนี เบื้องต้นจบลงด้วยชัยชนะของ Motorola ที่ศาลมีคำสั่ง (injunction) ห้ามไม่ให้แอปเปิลขายมือถือในประเทศ เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรของ Motorola สองรายการ
แต่เรื่องราวซับซ้อนกว่านั้น เพราะในทางปฏิบัติไม่มีผลอะไรกับแอปเปิลครับ
แอปเปิลในเยอรมนีมี 2 บริษัท คือ Apple Inc. ที่เป็นตัวแทนของบริษัทแม่ และ Apple Germany ที่ทำหน้าที่ขายผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลภายในประเทศ ซึ่ง Motorola ยื่นฟ้องทั้งสองบริษัท คดีกับ Apple Germany (ที่มีผลในทางปฏิบัติ) ยังต่อสู้กันในศาลต่อไป ในขณะที่คดีกับ Apple Inc. ผลก็ตามข่าวคือ Motorola ชนะ
คดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงในออสเตรเลียยังไม่จบง่ายๆ ล่าสุดทนายของซัมซุงยื่นไม้ตายใหม่ต่อศาลแล้ว
ซัมซุงขอให้ศาลออสเตรเลียสั่งให้แอปเปิลเผยข้อมูล 2 อย่าง ได้แก่
ผู้พิพากษาในอิตาลีได้ปฏิเสธคำร้องขอการแบนการขาย iPhone 4S โดยซัมซุง หลังจากที่ซัมซุงได้ยื่นขอศาลด้วยข้อกล่าวหาว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตร WCDMA (3G) ของซัมซุงสองใบด้วยกัน โดยในตอนนี้ศาลได้อนุญาตให้ทั้งซัมซุงและแอปเปิลส่งหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่จะทำการตรวจสอบอีกครั้งในวันที่ 16 ธันวาคม
นอกจากในอิตาลีแล้ว ซัมซุงยังได้ยื่นคำร้องในกรุงปารีส โดยซัมซุงต้องการให้แอปเปิลเสียสิทธิ "ดีไซน์ของไอแพ็ด" ในเขต EU
สงครามสิทธิบัตรในวงการโทรศัพท์มือถือยังคงเดินต่อไป แต่ล่าสุดปัญหาใหม่ในวงการเว็บเครือข่ายสังคมก็กำลังจะตามมา เมื่อบริษัท EasyWeb Innovations ยื่นฟ้องสิทธิบัตรต่อ Facebook และ Twitter
EasyWeb นั้นคงจัดได้ว่าเป็น "เกรียน" สิทธิบัตรอีกบริษัทหนึ่ง (หาไม่เจอแม้แต่เว็บของบริษัท) แต่สิทธิบัตรที่ใช้ฟ้องนั้นออกจะน่างงงวยว่าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญานั้นปล่อยออกมาได้อย่างไร ได้แก่
ข่าวต่อเนื่องจากการลงนามข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์และ Compal วันนี้ไมโครซอฟท์ก็เขียนบล็อกต่อเนื่องออกมาอีกบทความ ระบุว่าอุปกรณ์แอนดรอยด์กว่าครึ่งตลาดในตอนนี้ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรจากไมโครซอฟท์แล้ว
ตัวเลขจำนวนอุปกรณ์ที่ได้รับความคุ้มครองนี้สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเพราะ Compal เองเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์แอนดรอยด์ถึงร้อยละ 16 ของตลาดโลก เมื่อรวมกับ Wistron และ Quanta ที่ลงนามกันไปก่อนหน้านี้ก็จะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 55 ของตลาดโลก
กลยุทธ์การหารายได้จากการเก็บค่าสิทธิบัตร ยังคงเป็นกลยุทธ์สำคัญของไมโครซอฟท์ในตลาดโทรศัพท์มือถือต่อไป แต่การเซ็นสัญญาครั้งล่าสุดกับบริษัท Compal Electronics ก็น่าแปลกใจที่สัญญาสิทธิบัตรนี้รวมไปถึง Chrome ด้วย
Compal นั้นเป็นโรงงานผลิตเน็ตบุ๊กรายใหญ่ในจีน ถ้าเราซื้อเน็ตบุ๊กจีนก็จะเจอแบรนด์นี้อยู่บ้าง จึงมีความเป็นไปได้ที่ Compal จะผลิตเน็ตบุ๊กที่ใช้ Chrome OS ออกมาในอนาคต การเซ็นสัญญานี้จึงเป็นการเซ็นสัญญาเผื่อไว้สำหรับ Compal
แต่น่าสนใจว่าไมโครซอฟท์นำสิทธิบัตรใดไปเรียกร้องให้ Compal จ่ายเงินค่าสิทธิบัตรสำหรับ Chrome OS
สัญญาครั้งนี้เปิดเผยเพียงว่าไมโครซอฟท์จะได้รับค่าสิทธิบัตรจาก Compal แต่ไม่ระบุสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง และตัวเลขเงินที่จ่ายกัน
ไม่รู้ว่าแนวคิด World Phone ของ iPhone 4S จะรุ่งโรจน์หรือรุ่งริ่งกันแน่ เพราะเป้านิ่งอย่างเสา iPhone 4S ที่รองรับทั้ง GSM และ CDMA ในตัวนั้น มีคนไปค้นพบว่า มันไปตรงกับสิทธิบัตรที่ซัมซุงถือครองอยู่ด้วย โดยสิทธิบัตรดังกล่าวเป็นสิทธิบัตรที่ว่าด้วยการใส่เสาสัญญาณสองชุดลงเป็นชุดเดียวกัน และสามารถสลับใช้งานได้ (ดูสิทธิบัตรได้จาก Google Patent 1,