หลังจากมีข่าวคดีความกันมานาน ศาลออสเตรเลียก็อนุมัติคำขอของแอปเปิล สั่งห้ามซัมซุงขาย Galaxy Tab 10.1 จนกว่าคดีจะสิ้นสุด (ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน)
ตัวแทนของซัมซุงแสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินของศาล แต่ก็บอกว่าจะเดินหน้าตามกระบวนการกฎหมายต่อไป และมั่นใจว่าซัมซุงจะชนะคดีสิทธิบัตรอีกคดี ที่ซัมซุงฟ้องแอปเปิลกลับในออสเตรเลีย
นักวิเคราะห์ในออสเตรเลียประเมินว่า การที่แอปเปิลชนะศึกเล็กๆ ในรอบนี้ ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ Android ในออสเตรเลียไม่น้อย เพราะซัมซุงถือเป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาด Android นั่นเอง
ที่มา - ZDNet
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่อไปเรื่อยๆ ล่าสุดได้ Quanta ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จากไต้หวันมาร่วมวงอีกหนึ่งราย
Quanta เป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ODM) รายใหญ่ของโลก (ควบคู่ไปกับ Foxconn) มีผลงานอย่าง BlackBerry PlayBook และ Kindle Fire
สัญญาที่ไมโครซอฟท์เซ็นกับ Quanta ในครั้งนี้จะคุ้มครองสินค้าของ Quanta ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ Chrome OS ส่วนรายละเอียดว่ามีสิทธิบัตรอะไรบ้าง และมูลค่าของสัญญาเป็นเท่าไร พวกนี้ไม่เปิดเผยครับ
Kindle Fire ยังไม่ทันวางขายแต่ทาง Amazon ก็โดนฟ้องเข้าแล้ว เมื่อบริษัท Acacia Research Corporation ซึ่งเป็นบริษัทที่รวบรวมและสะสมสิทธิบัตร ยื่นฟ้อง Kindle Fire ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเรียบร้อย (Kindle Fire โดน 4 ชิ้น ส่วน Kindle 3G + Wi-Fi โดน 1 ชิ้น
Acacia Research เคยยื่นฟ้องแอปเปิลและ RIM มาก่อนแล้ว (patent troll ตัวจริง?) ส่วนสิทธิบัตรที่ฟ้อง Kindle Fire คือสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการแตะสัมผัสไอคอนเพื่อให้อุปกรณ์ทำงานต่างๆ และสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการใช้ปฏิทินหลายอันบนอุปกรณ์เครื่องเดียว
คดีสิทธิบัตรโทรศัพท์มือถือเริ่มยุ่งเหยิงขึ้นเรื่องๆ โดยล่าสุดบริษัทที่เข้าร่วมวงคือ Intellectual Ventures ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ด้วยการทำธุรกิจกับสิทธิบัตรอย่างเดียว ได้ฟ้อง Motorola Mobility ว่าละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท
สิทธิบัตรของ Intellectual Ventures นั้นมีมากกว่า 35,000 ใบ โดยบริษัทใช้เงินไปกว่า 400 ล้านดอลลาร์ในการกว้านซื้อสิทธิบัตรเหล่านี้มาและทำรายได้มาแล้วกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์
ดราม่าระหว่าง HTC กับแอปเปิลคงไม่จบลงง่ายๆ หลังจากผลการตัดสินเบื้องต้นจาก ITC ระบุว่า HTC เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิบัตรจริง แล้วตามด้วยการฟ้องกลับของ HTC ด้วยสิทธิบัตรด้านกราฟิกจาก S3 ซึ่งขั้นต้นจบลงที่ความพ่ายแพ้ของแอปเปิล
ซัมซุงประกาศวันนี้ว่าบริษัทเตรียมยื่นฟ้องศาลในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี เพื่อขอให้ระงับการจำหน่าย iPhone 4S ในประเทศดังกล่าวก่อนเนื่องจากโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง นอกจากนี้ซัมซุงกล่าวว่าจะบริษัทยังเตรียมยื่นฟ้องเพิ่มอีกในหลายประเทศ โดยขอให้ศาลระงับการจำหน่ายเช่นกัน
ข่าวช้าไปนิดแต่นี่คือปฏิกิริยาจากการเซ็นสัญญาของไมโครซอฟท์-ซัมซุง
จากข่าว ไมโครซอฟท์-ซัมซุง ลงนามสัญญาใช้สิทธิบัตรร่วมกันแล้ว ทำให้ไมโครซอฟท์ได้เงินจากเบอร์หนึ่งและสองในโลกของ Android คือ ซัมซุงและ HTC (ส่วนเบอร์สาม Motorola นั้นคงยาก)
ระหว่างที่คดีความสิทธิบัตรสมาร์ตโฟนดำเนินไปอย่างเข้มข้น ค่ายต่างๆ ที่ยังพอคุยกันได้ก็ค่อยๆ แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกันไปคู่ล่าสุดคือซัมซุงและไมโครซอฟท์
ภายใต้ความคุ้มครองระหว่างกันนี้ ข้อแลกเปลี่ยนคือซัมซุงจะจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับไมโครซอฟท์เมื่อผลิตโทรศัพท์แอนดรอยด์ พร้อมกันนั้นทั้งสองบริษัทจะช่วยกันทำตลาด Windows Phone ไปด้่วย
ไม่มีตัวเลขว่าซัมซุงต้องจ่ายไมโครซอฟท์ต่อเครื่องในราคาเท่าใหร่ แต่ก่อนหน้านี้ HTC ก็ทำสัญญาคล้ายๆ กัน และจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับไมโครซอฟท์ 5 ดอลลาร์ต่อเครื่องซึ่งปรากฏว่าทำเงินให้กับไมโครซอฟท์มากกว่าเงินจากค่าลิขสิทธิ์ Windows Phone 7 ทั้งหมดรวมกันเสียอีก
การต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงคงอีกยาว โดยในวันนี้คดีจะเริ่มมีการพิจารณาในประเทศออสเตรเลียแล้ว ในขณะที่คดีอีกคดีที่เปิดขึ้นในกรุงเฮ็กที่ซัมซุงต้องการที่จะแบนไอแพ็ดและไอโฟนจากยุโรปก็กำลังเริ่มมีการฟังความเช่นกัน
ถึงแม้ Verizon จะมีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจกับแอปเปิลในการขาย iPhone แต่ในคดีที่แอปเปิลฟ้องศาลในสหรัฐ ขอให้ห้ามนำเข้าสินค้าของซัมซุงไปขายสหรัฐ ทาง Verizon ได้ขอให้ศาลปฏิเสธคำขอนี้
เหตุผลสำคัญก็เพราะผลิตภัณฑ์ของซัมซุงที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 4G LTE ของ Verizon ได้นั่นเอง เช่น Infuse 4G, Galaxy S 4G, Droid Charge, Galaxy Tab 10.1
Verizon นั้นลงทุนในเครือข่าย 4G LTE ไปมาก แต่ยังประสบปัญหาว่าไม่ค่อยมีอุปกรณ์ที่รองรับ 4G LTE ในตลาดมากเท่าไรนัก ถ้าสินค้า 4G ของซัมซุงโดนสั่งแบนก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก
ทั้งหมดคือเหตุผลของ Verizon ส่วนแอปเปิลหรือใครจะมองว่า Verizon นั้น "รับงาน" มาก็แล้วแต่มุมมองครับ
ไมโครซอฟท์ได้จดสิทธิบัตร "Mobile Communication Device Having Multiple, Interchangeable Second Devices" หรือสิทธิบัตรที่ว่าด้วยแนวคิดของอุปกรณ์ที่สอง (second device) ที่สามารถถูกถอดเปลี่ยนบนอุปกรณ์หลัก (first device) อย่างสมาร์ทโฟนได้
สิทธิบัตรอธิบายไว้ว่า อุปกรณ์ที่สองนี้เป็นได้คีย์บอร์ด เกมคอนโทรลเลอร์ แบตเตอรี่ หรือแฮนด์เซ็ตที่มีหน้าจอในตัว ขณะที่สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ที่สองแยกออกจากกันสมาร์ทโฟนก็ยังสามารถสื่อสารแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ที่สองหนึ่งอุปกรณ์หรือมากกว่าได้ด้วย
ใครยังงงอยู่ก็เชิญดูภาพในสิทธิบัตรได้ที่ท้ายข่าวครับ
ยักษ์ใหญ่วงการเซมิคอนดักเตอร์อย่าง VIA เข้าร่วมรบในสงครามสิทธิบัตรโทรศัพท์มือถืออย่างเต็มตัวแล้ว โดยยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลรัฐเดลาแวร์ ในสิทธิบัตรซีพียูสองใบคือ
สิทธิบัตรทั้งสองใบเป็นของบริษัท Centaur ที่มีสิทธิบัตรแนวคิดพื้นฐานของการออกแบบซีพียูอยู่จำนวนหนึ่ง สิทธิบัตรเหล่านี้พื้นฐานมากจนกระทั่งผู้ผลิตซีพียูแทบทุกรายจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องทั้งหมด
ข่าวนี้เป็นข่าวลือที่รายงานโดยหนังสือพิมพ์ The Korea Times ของเกาหลีใต้ โดยอ้าง "แหล่งข่าว" นะครับ
ตามข่าวบอกว่าซัมซุงกำลังรอการเปิดตัวและวางขาย iPhone 5 ในประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ iPhone 5 วางขายแล้ว ซัมซุงจะฟ้องละเมิดสิทธิบัตรในประเทศเกาหลีใต้ทันที และร้องขอไม่ให้แอปเปิลสามารถวางขาย iPhone 5 ในเกาหลีใต้ได้
แหล่งข่าวมั่นใจว่าถ้าแอปเปิลยังยืนยันจะขายผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถด้านโทรศัพท์ต่อไป ยังไงก็หนีคดีละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงไม่พ้น และจะทำให้แอปเปิลไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ตระกูล i ในเกาหลีใต้ได้สักอย่างเลยทีเดียว
ซัมซุงเริ่มปฏิบัติการฟ้องกลับแอปเปิลในหลายประเทศ จากคราวก่อนที่ฟ้องในฝรั่งเศส คราวนี้มาเป็นออสเตรเลีย
เนื้อหาในคำฟ้องคือแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงจำนวน 7 รายการ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องคือ iPhone และ iPad
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัค โอบามาลงนามบังคับใช้กฎหมายปฏิรูประบบสิทธิบัตร (Patent Reform Act) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การปฏิรูปนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กฎหมายสิทธิบัตรเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปี 1952 ซึ่งก็มีการยื่นให้พิจารณาอยู่หลายครั้งกว่าจะมาถึงวันนี้ (ตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2009 - ข่าวเก่า)
สงครามสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงขยายแนวรบไปทีละประเทศ คราวนี้การศึกเกิดที่ฝรั่งเศส โดยซัมซุงเป็นฝ่ายยื่นฟ้องบ้าง
ซัมซุงยื่นฟ้องต่อศาลเขตปารีสตั้งแต่เดือนกรกฎาคม (แต่เพิ่งเป็นข่าว) โดยฟ้องว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยี (ไม่ใช่ด้านดีไซน์) จำนวน 3 ชิ้น การไต่สวนจะเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม
ซัมซุงไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของสิทธิบัตรที่ฟ้อง แต่แหล่งข่าวของ AFP บอกว่าเกี่ยวกับเทคโนโลยี UMTS ซึ่งถือเป็น 3G แขนงหนึ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลที่โดนฟ้องคือ iPhone 3G, iPhone 3GS, iPhone 4, iPad, iPad 2
คดีเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ Dolby ยื่นฟ้อง RIM ข้อหามือถือ BlackBerry ละเมิดสิทธิบัตร ยุติลงตามความคาดหมาย โดย RIM ยอมจ่ายเงินเพื่อใช้งานสิทธิบัตรของ Dolby ผลก็คือ Dolby ยอมถอนฟ้องคดีทั้งหมด
สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องในคดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์เสียง
ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้าที่มาเซ็นสัญญาเรื่องสิทธิบัตร Android เพิ่มอีกสองราย คือ Acer และ ViewSonic
รายละเอียดของสัญญาไม่เปิดเผยตามเคย บอกสั้นๆ แค่ว่า Acer และ ViewSonic ได้ประโยชน์จากการขอใช้สิทธิในสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรของ Android
หลังจากตั้งรับอย่างเดียวมาพักใหญ่ ป้อมค่าย Android เริ่มเปิดเกมรบกับฝ่ายตรงข้าม ด้วยสรรพาวุธสิทธิบัตรที่กูเกิลแจกให้กับเหล่าขุนพลทั้งหลาย
HTC เปิดฉากยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลรัฐเดลาแวร์ ในคดีละเมิดสิทธิบัตรคดีใหม่ บอกว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 4 ชิ้น ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่กูเกิลซื้อมาจาก Motorola (ก่อน Motorola แยกบริษัทเป็นสองซีก) และมาขายสิทธิให้ HTC อีกต่อหนึ่ง
สิทธิบัตรชุดนี้เกี่ยวกับการอัพเกรดซอฟต์แวร์ผ่านระบบไร้สาย, การส่งข้อมูลระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์กับชิปสนับสนุนอื่นๆ, วิธีการเก็บการตั้งค่าของผู้ใช้ และการซิงก์ contact ระหว่างแอพพลิเคชันกับโมเด็มรับส่งคลื่นวิทยุ
ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลที่ HTC ฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตรได้แก่ Mac, iPhone, iPad, iPod, iCloud, iTunes
กรณีของกูเกิลซื้อโมโตโรลานั้น เป้าหมายสำคัญของกูเกิลคือสิทธิบัตรของโมโตโรลาจำนวน 17,000 รายการ และอยู่ระหว่างรออนุมัติอีก 7,500 รายการ
แต่ David Mixon นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรได้ประเมินแล้วว่า สิทธิบัตรที่กูเกิลจะได้ใช้งานจริงๆ ในคดีที่เกี่ยวข้องกับ Android มีเพียง 18 รายการเท่านั้น ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมมือถือ เช่น การออกแบบเสาอากาศ, การส่งอีเมล, 3G ฯลฯ โดยโมโตโรลาได้ใช้สิทธิบัตรชุดนี้ต่อสู้คดีกับแอปเปิลอยู่แล้ว
Mixon ให้ความเห็นว่าในการต่อสู้คดีทางสิทธิบัตร จะต้องคัดเฉพาะสิทธิบัตรที่มีผลกระทบต่อฝ่ายตรงข้ามเยอะที่สุด และใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นฟ้องคดีไปโดยตรง
ศาลของประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สั่งให้แบนมือถือตระกูล Galaxy (ไม่รวมแท็บเล็ตแต่รวม Galaxy S, Galaxy S II) ของซัมซุงทั่วสหภาพยุโรป โดยจากรายงานของ FOSS Patents บอกว่าทั้งหมดนี้เป็นไปตามที่แอปเปิลได้ขอไว้ในวันที่ 10-11 สิงหาคมที่ผ่านมาในชั้นศาล
โดยคำสั่งของศาลนี้มาจากการที่ซัมซุงได้ละเมิดสิทธิบัตรเรื่องการ swipe เลื่อนจากภาพหนึ่งไปอีกภาพหนึ่งในโปรแกรมดูรูป ที่ศาลเห็นว่าซัมซุงได้ละเมิดจริง แต่คำขอร้องของแอปเปิลอื่น ๆ เช่น การกล่าวหาว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตร "slide to unlock" นั้น ศาลได้ปฏิเสธที่จะกระทำการใด ๆ ให้กับแอปเปิลและบอกว่าสิทธิบัตรดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้จริง
หลังจากซัมซุงเพิ่งโดนระงับขาย Galaxy Tab 10.1 แค่ในเยอรมนีไปหมาดๆ ดูเหมือนสถานการณ์จะไม่เข้าข้างซัมซุงอีกครั้ง เมื่อล่าสุดศาลในกรุงเฮก ป
ซัมซุงได้พูดในชั้นศาลว่า แอปเปิลได้นำดีไซน์ไอแพ็ดมาจากภาพยนตร์คลาสสิกเรื่อง 2001: A Space Odyssey โดย Stanley Kubrik โดยหวังว่าหากศาลพิจารณาเข้าข้าง แอปเปิลอาจจะเสียสิทธิบัตรใบนี้ไปเนื่องจากการนำ "prior art" หรือการนำสิ่งที่ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนมาเป็นระยะเวลานานแล้ว มาใช้ในการจดสิทธิบัตร
ซัมซุงยังได้บอกในชั้นศาลว่าหลักฐานนี้ปรากฏอยู่ในคลิปวีดีโอที่สามารถดูได้จาก YouTube โดยในฉากจะสามารถเห็นได้ชัดว่าแท็บเล็ตดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่ต่างจากแท็บเล็ตที่มีอยู่ทุกวันนี้ เช่น ดีไซน์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบดำรอบหน้าจอ พื้นผิวด้านหน้า-หลังที่เรียบ และบาง
การฟ้องร้องเริ่มขึ้นอีกแล้ว เมื่อ HTC ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (ITC) และศาลรัฐเดลาแวร์ ว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 3 ชิ้น (มีรายละเอียดคือเป็นสิทธิบัตรด้าน Wi-Fi หนึ่งชิ้น) และขอให้สั่งห้ามนำสินค้าของแอปเปิลคือ แมคอินทอช ไอพ็อด ไอโฟน ไอแพด เข้าไปขายในสหรัฐ
นอกจากนี้ HTC ยังเรียกร้องค่าเสียหายจากแอปเปิลเป็นมูลค่า 3 เท่าของการละเมิด