ข่าวต่อเนื่องจากผลการประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel ที่พันธมิตร "ไมโครซอฟท์, แอปเปิล, RIM, EMC, Ericsson, และโซนี่" ชนะประมูลด้วยวงเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์ ปล่อยให้กูเกิลพ่ายแพ้และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตรมากขึ้นไปอีก
แต่เส้นทางของพันธมิตรทั้ง 6 รายก็เริ่มไม่สดใสเหมือนกัน เพราะหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานข่าววงในของรัฐบาลสหรัฐว่า หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดธุรกิจหลายแห่งของสหรัฐ กำลังจะสอบสวนข้อหาร่วมมือกันสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จากกรณีซื้อสิทธิบัตรของ Nortel
เว็บไซต์ PatentlyApple รายงานว่าได้ค้นพบสิทธิบัตรของแอปเปิลในเรื่องฟีเจอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลแบบไร้สาย (แบบเดียวกับฟีเจอร์ Touch-to-Share ของเอชพี) ซึ่งตามสิทธิบัตรของแอปเปิลนั้น
ประเด็นเรื่องสิทธิบัตร Android ที่ไมโครซอฟท์ "ขู่-ฟ้อง-คิดเงิน" บริษัทฮาร์ดแวร์หลายแห่งเริ่มขยายขนาดไปเรื่อยๆ ล่าสุดมันมาถึงซัมซุงแล้ว (ซึ่งซัมซุงก็เผชิญศึกสิทธิบัตรกับแอปเปิลอยู่อีกทาง)
ข่าวนี้ยังไม่เป็นทางการ ต้นทางมาจากหนังสือพิมพ์ Maeil Business ของเกาหลีใต้ ระบุว่าไมโครซอฟท์ได้เรียกร้องให้ซัมซุงยอมจ่ายค่าสิทธิบัตรเป็นเงิน 15 ดอลลาร์ต่อมือถือ Android หนึ่งเครื่องที่ขายออกไป ส่วนซัมซุงเองก็พยายามต่อรองมาเหลือ 10 ดอลลาร์ต่อเครื่อง แลกกับแรงสนับสนุน Windows Phone ให้ไมโครซอฟท์
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง ถือว่าตัวเลข 15 ดอลลาร์ค่อนข้างแพงทีเดียว เพราะกรณีของ HTC มีข่าวออกมาว่าเครื่องละ 5 ดอลลาร์
ใครที่มีอายุหน่อยคงจำการ์ดจอยี่ห้อ S3 กันได้ (ไม่ว่าจะเป็น S3 รุ่นตัวเลข, S3 Trio, S3 Vision, S3 Virge, Savage 3D) ชะตากรรมหลังจากนั้นของ S3 คือพ่ายศึกการ์ดจอที่รบกันดุเดือด จนต้องขายฝ่ายกราฟิกให้ VIA และแยกบริษัทไปทำอุปกรณ์บันเทิงต่างๆ ในชื่อ SONICblue ก่อนจะล้มละลายไป
ช่วงหลังมานี้ S3 หากินโดยขายสิทธิบัตรด้านกราฟิกเป็นหลัก ตัวอย่างลูกค้าได้แก่ นินเทนโด ที่ซื้อสิทธิบัตรไปใช้ในเครื่องเล่นเกมของตัวเอง แถม S3 ยังเคยฟ้องชนะแอปเปิลเรื่องสิทธิบัตรการบีบอัดภาพอีกด้วย
มีรายงานล่าสุดของว่าที่ข้อพิพาทแห่งปีนี้ระหว่างแอปเปิลและซัมซุงครับ แต่เนื่องจากมีหลายประเด็นมากจึงขอแยกย่อยทีละเรื่องดังนี้
การประมูลสิทธิบัตรของบริ๋ษัท Nortel จำนวนถึง 6,000 ใบสิ้นสุดลงแล้วเมื่อวานนี้ โดยจบลงด้วยราคา 4,500 ล้านดอลลาร์เป็นเงินสดทั้งหมด ผู้ชนะคือกลุ่มบริษัท ไมโครซอฟท์, แอปเปิล, RIM, EMC, Ericsson, และโซนี่
พูดง่ายๆ คือคู่แข่งกูเกิลหลักๆ เป็นผู้ชนะ โดยอาศัยการร่วมทุนร่วมกัน ทำให้บริษัท 6 บริษัทสามารถจ่ายเงินในหลักร้อยล้านดอลลาร์เพื่อให้ราคารวมสูงถึง 4,500 ล้าน ขณะที่กูเกิลเตรียมเงินไว้ประมาณ 900 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้าที่ขอใช้สิทธิบัตร Android เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่มีเพียง HTC รายเดียวในช่วงแรก และได้ General Dynamics เป็นรายที่สองเมื่อวันก่อน
วันนี้ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้ารายที่สามแล้ว นั่นคือ Onkyo Corporation บริษัทญี่ปุ่นที่ขายอุปกรณ์ด้านเสียงและความบันเทิงในบ้าน ซึ่งภายหลังขยายมาทำแท็บเล็ต Android ด้วย ข้อตกลงครั้งนี้จึงคุ้มครองผลิตภัณฑ์กลุ่มหลังนั่นเอง
สงครามยังไม่จบ เกมกลยุทธ์ระหว่างซัมซุงกับแอปเปิลก็ดำเนินต่อไป โดยรอบล่าสุดนี้ซัมซุงได้ทำหนังสือต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ หรือ ITC ขอให้ระงับการนำเข้าสินค้าแอปเปิลเพื่อการจำหน่ายในอเมริกาได้แก่ iPhone, iPad และ iPod เพราะมีปัญหาละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงที่ได้ฟ้องร้องไว้ก่อนหน้านี้ก่อน
เหตุผลที่ซัมซุงต้องตัดสินใจยกระดับการฟ้องร้องนั้นเนื่องจากคดีความที่แอปเปิลฟ้องว่าสินค้าตระกูล Galaxy ของซัมซุงลอกเลียนแอปเปิลในศาลอเมริกา ถ้าตัดสินแล้วมีความผิดจริง สินค้ากลุ่ม Galaxy อาจถูก ITC สั่งระงับการขายในอเมริกาได้ ซัมซุงจึงต้องถ่วงเวลาอีกครั้งเพราะการยื่นฟ้องนี้ทำให้เกิดขั้นตอนการไต่สวนที่ยืดเยื้อออกไปอีก
ข่าวนี้ต่อจาก ไมโครซอฟท์ระบุ "Android ละเมิดสิทธิบัตร", HTC ยอมจ่ายเป็นเจ้าแรก วันนี้ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้ารายที่สองแล้ว
บริษัท General Dynamics ไม่คุ้นชื่อคนทั่วไปนัก เพราะบริษัทนี้ทำอาวุธยุทโธปกรณ์ขายกองทัพเป็นหลัก ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์มือถือและแท็บเล็ตสำหรับออกภาคสนามที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วย
กรณีของ HTC จ่ายค่าสิทธิบัตรให้ไมโครซอฟท์เครื่องละ 5 ดอลลาร์ ส่วนกรณีของ General Dynamics ไม่บอกว่าจ่ายเครื่องละเท่าไร ไมโครซอฟท์ยังบอกใบ้เป็นนัยๆ ว่ามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อีกหลายรายกำลังเจรจากับไมโครซอฟท์อยู่
ถ้าเป็นละครหลังข่าวเมืองไทยงานนี้ก็เรียกว่ายืดแล้วยืดอีก ล่าสุดแอปเปิลตัดสินใจฟ้องซัมซุงข้อหาลอกเลียนแบบ iPhone และ iPad ในสินค้ากลุ่ม Galaxy เพิ่มอีก โดยคราวนี้ฟ้องต่อศาลประเทศเกาหลีใต้บ้านเกิดของซัมซุงกันเลย
สรุปคดีที่ค้างคาอีกครั้ง รอบแรกสุดแอปเปิลฟ้องซัมซุงในอเมริกาประเทศเดียว ส่วนซัมซุงก็ฟ้องกลับใน 3 ประเทศรวมทั้งเกาหลีใต้ ขอดู iPhone 5 จะได้ไม่ทำสินค้าซ้ำ แต่ศาลตัดสินยกคำร้องไป
จากข้อมูลไตรมาสล่าสุดแอปเปิลถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของซัมซุงในขณะนี้ (เดิมคือโซนี่)
จากข่าวเก่า Apple จดสิทธิบัตร Multi-touch บนอุปกรณ์พกพาแล้ว ทำให้กลายเป็น "Talk of the town" ไปทั่วโลกโดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ในขณะนี้
ในขณะที่คนจำนวนมากต่าง "ตื่นตระหนก" ว่างานนี้ยาวแน่เพราะอุปกรณ์เคลื่อนที่ของบริษัทอื่นมากมายที่ไม่ใช่แอปเปิลต่างใส่ฟีเจอร์ Multi-touch ออกมาขายอย่างเทน้ำเทท่า
สถานการณ์ล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลเรื่องสิทธิบัตร Java ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายออราเคิลเท่าไรนัก
ต่อจากข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว ศาลสั่งลดจำนวนสิทธิบัตรที่ออราเคิลฟ้องกูเกิล จาก 132 ประเด็นเหลือ 3 ประเด็น ทางออราเคิลได้ขอต่อรองจำนวนสิทธิบัตรเป็น 21 ประเด็น ซึ่งผู้พิพากษา William Alsup ก็ยอมตกลงให้ตามนั้น
แต่ Alsup ก็เปิดทางเลือกไว้ว่า ศาลอาจขอให้สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ (USPTO) เข้าตรวจสอบ (reexamine) ประเด็นของออราเคิลก่อนว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะฟ้องกูเกิลหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบทั้งหมดจะต้องใช้เวลาอีกเป็นปี
ความคืบหน้าล่าสุดของการฟ้องร้องไปมาระหว่างซัมซุงกับแอปเปิล ซึ่งศาลนัดฟังคำตัดสินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้พิพากษา Lucy Koh แถลงว่ายังไม่มีคำตัดสิน แต่เสนอให้สองฝ่ายไปเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน โดยศาลมองว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกันอยู่แล้ว การเจรจานอกศาลอาจให้ข้อสรุปที่ดีกว่า
เว็บ Patently Apple ได้ออกรายงานถึงรายละเอียดสิทธิบัตรของแอปเปิลเกี่ยวกับการเพิ่มเติมความสามารถให้กับ Find My iPhone โดย Find My iPhone ที่ว่านี้จะเพิ่มการควบคุมให้กับผู้ใช้ที่ไม่ได้มีไอโฟนอยู่กับตัว โดยความสามารถใหม่ที่น่าสนใจได้แก่
การตรวจสอบการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะทำงานเมื่อมีคนป้อน Passcode ผิดพลาดเกินจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ เมื่อทำงาน ไอโฟนจะเริ่มทำการบันทึกภาพ วีดีโอ เสียง และตำแหน่งของเครื่องแล้วส่งกลับไปยังผู้ใช้ตัวจริงได้ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะระบุบุคคลที่นำไอโฟนเครื่องนั้นไป
บริษัท Dolby ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรด้านเสียงได้ยื่นฟ้องต่อศาลทั้งในอเมริกาและเยอรมันกับ Research In Motion หรือ RIM โดยระบุว่าสินค้าของ RIM ทั้ง BlackBerry หลายรุ่นและ PlayBook ใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลเสียงซึ่งเป็นสิทธิบัตรของ Dolby โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง
Dolby ระบุว่าผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ๆ ต่างล้วนจ่ายค่าสิทธิบัตรนี้ให้กับ Dolby มีเพียง RIM ที่ปฏิเสธที่จะจ่ายเงินให้ จึงเป็นที่มาของการฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าว
ที่มา: The Washington Post
ดูเหมือนว่าแอปเปิลไม่ได้แค่จ่ายค่าตอบแทนให้กับโนเกียเพื่อที่จะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีของโนเกียอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างเดียวเสียแล้ว เพราะจากรายงานล่าสุดของ New York Times นอกเหนือจากการจ่ายค่าตอบแทนให้กับโนเกียแล้ว แอปเปิลยังได้ตกลงกับโนเกียในการทำ Cross-licensing หรือการอนุญาตให้อีกฝ่ายนำเทคโนโลยีตามสิทธิบัตรของตนไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
ในรายงานยังบอกอีกว่าผู้ผลิตมือถือ Android ทั้งหลายอาจจะตกเป็นเป้าของการฟ้องร้องจากโนเกีย โดยจากรายงานของ FOSS Patents นั้น Android มีส่วนหลายส่วนที่คล้ายคลึงกับ iOS อย่างมาก เพราะฉะนั้นแล้วทุกปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรที่แอปเปิลเจอ ผู้ผลิต Android ก็น่าจะเจอเช่นกัน
โนเกียได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าปัญหาการขัดแย้งกันระหว่างแอปเปิลกับบริษัทกรณีที่แอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีมือถือหลายฉบับได้จบลงแล้ว โดยการที่แอปเปิลได้ตกลงที่จะจ่ายค่าตอบแทน (Royalty Fee) ให้กับโนเกีย
สำหรับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับโนเกียในครั้งนี้ เป็นการจ่ายเพียงครั้งเดียวสำหรับสินค้าทุกอย่างที่ละเมิดสิทธิบัตรของโนเกียจนถึงวันนี้ และหลังจากนั้นแอปเปิลจะต้องจ่ายค่าตอบแทนนี้ให้กับโนเกียต่อไปเรื่อย ๆ ในฐานะผู้ถือไลเซ่นส์สิทธิบัตรของโนเกีย ซึ่งจะได้รับสิทธิในการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีตามสิทธิบัตรของโนเกียอย่างถูกต้องต่อไป
ไมโครซอฟท์ถูกบริษัท i4i ฟ้องในว่าละเมิดสิทธิบัตรในการเปิดให้ Word สามารถสร้างไฟล์ XML ใดๆ จนกระทั่งศาลรัฐเท็กซัสรับฟ้องและมีคำสั่งคุ้มครองให้ไมโครซอฟท์ห้ามขาย Word จนไมโครซอฟท์ต้องถอดฟีเจอร์นี้ออกในภายหลัง วันนี้เรื่องไปถึงศาลฎีกาและจบลงด้วยการยืนยันให้ไมโครซอฟท์จ่ายค่าเสียหายให้กับ i4i เป็นเงิน 300 ล้านดอลลาร์
สิทธิบัตรของ i4i นั้นค่อนข้างกว้างมากจนกระทั่งหลังจากนี้เราอาจจะได้เห็นคดีจากบริษัทนี้อีกจำนวนมาก และดูเหมือนสิทธิบัตรของ i4i จะเป็นตัวอย่างที่ดีว่าระบบกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ นั้นกำลังมีปัญหาอย่างหนัก จากการที่บริษัทสามารถหาเงินสิทธิบัตรที่อ้างการประดิษฐ์ไว้อย่างกว้างๆ เช่นนี้
หลังจากข่าว Google ทุ่ม 900 ล้านดอลลาร์ซื้อสิทธิบัตร Nortel ขณะนี้ใกล้ถึงเวลาเปิดประมูลเข้ามาทุกที แต่ก็ยังไม่มีคู่แข่งที่ดูจะสมน้ำสมเนื้อกับ Google ออกมาประกาศตัวในสงครามช่วงชิงสิทธิบัตรจำนวนกว่า 6,000 รายการ ที่ Nortel ได้ถือครองไว้ก่อนที่จะล้มละลาย
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (DoJ) แสดงความมั่นใจว่า หาก Google ได้สิทธิบัตรจำนวนดังกล่าวไป ก็จะไม่เกิดคดีความฟ้องร้องเพิ่มขึ้นมากนัก โดยพิจารณาจากท่าทีของ Google ก่อนหน้านี้ในเรื่องของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ถ้าหากเป็น Apple ที่ได้ไปแทนล่ะ?
หลังจากที่ทาง Apple ได้ออกมาเรียกร้องให้ทาง Lodsys หยุดส่งจดหมายขู่กับทางนักพัฒนาโปรแกรมบน iOS ล่าสุดทาง Lodsys ได้ออกมาตอบโต้ว่า "ใบอนุญาตที่ทาง Apple ได้ไปนั้นไม่ครอบคลุมถึงนักพัฒนาที่เป็นบุคคลที่สาม" ผ่านทางบล๊อกของบริษัท
นอกจากนี้ทาง Lodsys ได้ยื่นฟ้องนักพัฒนาโปรแกรม 7 ราย ได้แก่ Iconfactory, Quickoffice, Illusion Labs, Wulven Game Studios, และนักพัฒนาอิสระอีกสามคน ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรสองรายการ ซึ่ง Lodsys ได้กล่าวว่าการยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการตอบโต้ "การคุกคาม" ของ Apple
บริษัท Lodsys ที่เป็นข่าวว่ายื่นจดหมายเตือนนักพัฒนาแอพบน iOS ว่าละเมิดสิทธิบัตรการซื้อของภายในแอพ (in-app purchase) ตอนนี้มีรายงานมาว่า Lodsys ขยายการเตือนเรื่องสิทธิบัตรไปยังนักพัฒนา Android แล้ว
ผู้พัฒนาเกม Tank Hero บน Android ได้โพสต์ข้อมูลว่าเขาได้รับจดหมายเตือนจาก Lodsys หลังจากเพิ่มระบบ in-app purchase ได้เพียงไม่กี่สัปดาห์ ตอนนี้ยังไม่มีรายงานว่านักพัฒนา Android คนอื่นได้จดหมายแบบเดียวกันจาก Lodsys
ที่มา - CNET
นักวิเคราะห์การเงินจากเครือ Citi รายงานว่าไมโครซอฟท์จะได้เงิน 5 ดอลลาร์จากมือถือ HTC ทุกเครื่องที่ขายออกไป ซึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงเรื่องสิทธิบัตรระหว่างไมโครซอฟท์กับ HTC นั่นเอง
เว็บไซต์วิจัยตลาดมือถือ asymco นำตัวเลขนี้ไปคิดต่อ โดยประเมินยอดขายมือถือ HTC อยู่ที่ 30 ล้านเครื่อง ก็แปลว่าไมโครซอฟท์ได้เงินจาก HTC Android รวม 150 ล้านดอลลาร์
ส่วนรายได้จาก Windows Phone ไมโครซอฟท์คิดราคาเครื่องละ 15 ดอลลาร์ ตัวเลขยอดขายของไมโครซอฟท์คือ 2 ล้านเครื่อง รวมออกมาได้ 30 ล้านดอลลาร์ น้อยกว่าที่ได้เงินจาก HTC Android อยู่ห้าเท่าตัว
ก่อนหน้านี้บริษัทที่ใช้ชื่อว่า Lodsys ได้ไล่ส่งจดหมายขู่นักพัฒนาโปรแกรมบน iOS ที่ขายส่วนเสริมของโปรแกรมจากในตัวโปรแกรมโดยตรง (In-App Purchase) ว่าได้ทำการละเมิดสิทธิบัตร ทำให้นักพัฒนาหลาย ๆ คนได้ออกมาเรียกร้องให้แอปเปิลทำอะไรซักอย่าง ล่าสุดแอปเปิลได้ส่งจดหมายโต้ถึง Lodsys ว่านักพัฒนาทั้งหมดบน iOS ถือไลเซ่นส์อย่างถูกต้องแล้ว เนื่องจากกระบวนการของ In-App Purchase ทั้งหมดต้องผ่านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ API ฯลฯ ของแอปเปิลซึ่งเป็นผู้ได้รับไลเซ่นส์อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้แอปเปิลยังได้ขอให้ Lodsys ทำการยกเลิกข้อเรียกร้องในจดหมายที่ส่งถึงนักพัฒนาก่อนหน้านี้ทั้งหมด
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นักพัฒนาแอพให้กับ iOS หลาย ๆ คนได้รับจดหมายจากบริษัท Lodsys ว่าพวกเขาได้ละเมิดสิทธิบัตรการซื้อส่วนเสริมของแอพจากภายในแอพ (In-App Purchase) ของบริษัท แม้ว่าในความจริงแล้วขั้นตอนในการซื้อส่วนเสริมเหล่านี้จะต้องดำเนินการผ่าน iTunes ของแอปเปิล
บริษัท Lodsys ที่ไม่เป็นที่รู้จักนี้ได้บอกว่านักพัฒนาที่ได้รับจดหมายทุกคนจะถูกฟ้อง หากไม่ทำการจ่ายค่าตอบแทนและบริษัทยังอ้างอีกว่าพวกเขามีสิทธิในการเข้าถึง 0.575% ของรายได้จากการซื้อส่วนเสริมภายในแอพทั้งหมดภายในสหรัฐอเมริกา นั่นก็หมายความว่าหากนักพัฒนามีรายได้ในส่วนนี้ 1 ล้านดอลลาร์ บริษัทนี้จะได้ไป 5,750 ดอลลาร์
แอปเปิลได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยี text-to-speech และ speech-to-text ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารไม่สะดุดถึงแม้ผู้รับสายจะอยู่ในสถานที่มีเสียงรบกวนหรืออยู่ในที่ประชุมจึงไม่สามารถรับสายได้ ดังนี้