เริ่มมีข้อมูลเบื้องหลังของ การซื้อกิจการระหว่างกูเกิลกับ Motorola Mobility ออกมากันแล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่ข้อมูลอย่างเป็นทางการก็ตาม
กูเกิลประกาศเข้าซื้อบริษัท Motorola Mobility Holdings (MMI) กิจการฝั่งโทรศัพท์มือถือของโมโตโรล่าเดิม (อีกส่วนคือ Motorola Solution) ด้วยมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์หรือ 40 ดอลลาร์ต่อหุ้น สูงกว่าราคาปิด 63%
กูเกิลยืนยันว่าหลังการเข้าซื้อโมโตโรล่า แอนดรอยด์จะยังคงเป็นแพลตฟอร์มเปิดต่อไป โดยโมโตโรล่าจะเป็นกิจการแยกออกจากกูเกิล ไม่รวมเข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน
Larry Page เขียนบล็อกถึงการเข้าซื้อครั้งนี้โดยยังไม่อธิบายชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับสิทธิบัตรจำนวนมหาศาลของโมโตโรล่า แต่ยืนยันว่าการที่กูเกิลเข้าซื้อโมโตโรล่าจะเพิ่มความสามารถการแข่งขันด้านสิทธิบัตรของกูเกิล และกูเกิลจะสามารถปกป้องแอนดรอยด์จากทั้งไมโครซอฟท์, แอปเปิล, และบริษัทอื่นๆ ได้ดีขึ้น
กูเกิลประกาศการเข้าซื้อ Motorola Mobility พันธมิตรสำคัญในแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ด้วยมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าราคาปิดตลาดของ Motorola Mobility เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ส.ค. อยู่ 63%
กูเกิลกล่าวอย่างชัดเจนว่า คลังสิทธิบัตรของ Motorola จะถูกนำมาใช้ปกป้องแอนดรอยด์จากสงครามสิทธิบัตรที่มุ่งโจมตีแอนดรอยด์ โดยอ้างอิงถึงกรณีที่ไมโครซอฟท์และแอปเปิลจับกลุ่มกันประมูลสิทธิบัตรของ Nortel
ดีลเข้าซื้อนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากทางการเสียก่อน ซึ่งคาดว่ากระบวนการจะสิ้นสุดในปลายปี 2011 หรือต้นปี 2012
ไม่ใช่มีแต่แอปเปิลที่คนไปสนใจขุดข้อมูลจากสิทธิบัตร ล่าสุดมีคนไปหาข้อมูลจากเอกสารสิทธิบัตรของนินเทนโด และได้ "ข้อมูลใหม่" ของฮาร์ดแวร์ Wii U เพิ่มมา
เอกสารสิทธิบัตรของนินเทนโดได้ระบุชิ้นส่วนต่างๆ ของจอยเครื่อง Wii U ว่ามีอะไรบ้าง หลายอย่างเรารู้อยู่แล้ว เช่น จอภาพ กล้อง ไมโครโฟน ฯลฯ แต่ของใหม่ที่เพิ่งพบมี 2 อย่าง ได้แก่
แอปเปิลได้จดสิทธิบัตรชื่อ "Projected display shared workspaces" ซึ่งกล่าวถึงโปรเจกเตอร์ขนาดเล็ก (pico-projector) ว่า
ในบรรดาผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ทั้งหมดนั้น โมโตโรล่านั้นดูจะเป็นผู้ผลิตที่มีอดีตอันยิ่งใหญ่ที่สุด จากผู้นำด้านอุปกรณ์การสื่อสารไร้สายในสหรัฐฯ แต่เมื่อเจอวิกฤติโมโตโรล่าก็ต้องมาพึ่งพาแอนดรอยด์ซึ่งก็ทำหน้าที่ได้ดีและสามารถพาโมโตโรล่ากลับมาอยู่ในภาวะที่กำไรได้อีกครั้ง
แต่มรดกของอดีตอันยิ่งใหญ่คือสิทธิบัตรจำนวนมหาศาลของโมโตโรล่านั้นยังคงอยู่ และตั้งแต่การแถลงผลครั้งสุดท้ายที่ผ่านมาโมโตโรล่าก็เริ่มส่งสัญญาณว่าบริษัทกำลังจะเก็บค่าใช้งานสิทธิบัตรจากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
ปรากฏการณ์ฟ้องกันไปมายังไม่จบสิ้น ล่าสุดกูเกิลก็ได้ร้องต่อคณะอนุกรรรมการของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) โดยกล่าวหาไมโครซอฟท์ว่าได้เปิดเผยซอร์สโค้ดที่เป็นความลับสูงและเกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการ Android ในระหว่างที่บริษัทกำลังต่อสู่ในเรื่องสิทธิบัตรกับโมโตโรล่า กูเกิลอ้างว่าไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยซอร์สโค้ดให้กับที่ปรึกษาที่ทำงานให้ทั้งไมโครซอฟท์และเอชพี ซึ่งกูเกิลมองว่าเป็น "คู่แข่งโดยตรง" นั่นเอง
ด้านไมโครซอฟท์ก็โต้กลับกูเกิลว่าที่ปรึกษาของบริษัทได้พูดคุยกับทนายความภายนอกบริษัทเกี่ยวกับกรณีเทคโนโลยีการพิมพ์เพียงกี่ไม่กี่ประโยคเท่านั้น
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ที่กูเกิลบอกว่าไมโครซอฟท์เปิดเผยปล่อยซอร์สโค้ดที่เป็นความลับสูงนั้นคืออะไร เนื่องจาก Android เป็นโอเพนซอร์ส
จากภาคแรก กูเกิลเปิดประเด็นเรื่องสงครามสิทธิบัตร และ ไมโครซอฟท์ตอบโต้เรื่องสิทธิบัตร Novell
ภาคสองมาแล้วครับ ทั้งจากกูเกิลและไมโครซอฟท์กันอีกคนละหมัด
กูเกิล
David Drummond หัวหน้าฝ่ายกฎหมายของกูเกิลคนเดิม ได้อัพเดตบล็อกของเขาว่า
หลัง David Drummond แห่งกูเกิลได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงแอปเปิลและบริษัทอื่นๆถึงความไม่เหมาะสมในการรวมทีมกันประมูลสิทธิบัตร Nortel และ Novell ว่าเป็นการพยายามกำจัด Android นั้น ทันทีทันใดไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมทีมประมูลสิทธิบัตรนี้ก็ออกมาตอบโต้ทันที
Brad Smith ที่ปรึกษาทั่วไปของไมโครซอฟท์ได้ทวีตตอบโต้ประเด็นนี้ว่า "กูเกิลบอกว่าพวกเราซื้อสิทธิบัตร Novell เพื่อรวมหัวกำจัดกูเกิล จริงเหรอ? เราเคยชวนเขามาเข้าร่วมประมูลนะ แต่เขาปฏิเสธเอง"
David Drummond รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของกูเกิลได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงแอปเปิลและบริษัทอื่น ๆ (คาดว่าจะถึงไมโครซอฟท์ด้วย) เกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ในการใช้สิทธิบัตรมาเป็นอาวุธด้วยการไล่ซื้อบริษัทที่ถือสิทธิบัตรและฟ้องร้องกัน โดยในจดหมายฉบับนี้ได้กล่าวว่า แอปเปิลกับไมโครซอฟท์เคยกัดกันมาตลอด แต่ด้วยเหตุใดก็ไม่รู้สองบริษัทนี้กลับมารักกันเฉย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อแอปเปิล, ไมโครซอฟท์และออราเคิลได้ร่วมมือกันซื้อสิทธิบัตรของ Novell และ Nortel
นาย Drummond เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันกำจัด Android และทำให้ผู้ผลิตมือถือหลายราย "กลัว" ที่จะเลือกใช้ Android โดยการกระทำของกลุ่มบริษัทเหล่านี้เป็นการเลือกที่จะตัดลมหายใจของ Android แทนที่การพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ช่วงนี้กูเกิลเปิดแนวรบหลายด้านในเรื่องสิทธิบัตรซอฟต์แวร์
เมื่อครั้งที่กูเกิลออกฟอร์แมตวิดีโอ WebM ทางค่ายคู่แข่งคือ MPEG LA ก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะฟ้องกูเกิลให้จงได้ โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา MPEG LA เปิดพิจารณาสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง
ความเคลื่อนไหวล่าสุดคือตัวแทนของ MPEG LA เปิดเผยว่าได้รวบรวมบริษัท 12 รายที่มีสิทธิบัตรทับซ้อนกับตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP8 ที่ใช้ใน WebM โดยทาง MPEG LA ไม่บอกว่าบริษัทเหล่านี้ชื่ออะไรบ้าง
ไมโครซอฟท์แพ้คดีสิทธิบัตรให้กับ Alcatel-Lucent ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมจากฝรั่งเศส (เกิดจาก Alcatel ของฝรั่งเศสควบกิจการกับ Lucent ของสหรัฐ)
สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องมี 3 ชิ้น แต่ชิ้นที่เป็นแกนหลักคือหน้าจอสำหรับเลือกวันที่ใน Outlook ซึ่งปรับให้เหมาะกับทัชสกรีน ไมโครซอฟท์สู้คดีว่ามันเป็นแค่ "ตัวเลือกวันที่" (date picker) แต่ทาง Alcatel-Lucent บอกว่ามันเป็นฟีเจอร์สำคัญของ Outlook
ขยายความจากข่าว กูเกิล: "สิทธิบัตรซอฟต์แวร์เป็นตัวขัดขวางนวัตกรรมใหม่" ที่ระบุว่ากูเกิลกำลังไล่ซื้อสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 รายการ ตอนนี้มีข้อมูลออกมาแล้วว่าผู้ขายคือ IBM
สิทธิบัตรที่กูเกิลซื้อจาก IBM มีหลากหลาย ทั้งไมโครโพรเซสเซอร์ ฐานข้อมูล การผลิตหน่วยความจำ ฯลฯ โฆษกของกูเกิลพูดถึงเรื่องนี้สั้นๆ ว่ากูเกิลเป็นเหมือนบริษัทอื่นๆ ที่ต้องซื้อสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเอง ส่วนโฆษกของ IBM ไม่ตอบคำถามเรื่องนี้
คุณ Kent Walker ที่ปรึกษาของกูเกิลแสดงความคิดเห็นผ่านสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า "อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีมีปัญหาใหญ่" อันเนื่องจากการต่อสู้ด้วยสิทธิบัตรและใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ เขายังเน้นว่า "สิทธิบัตรซอฟต์แวร์เป็นสิ่งหนึ่งที่ขัดขวางการพัฒนานวัตกรรมใหม่"
คุณ Walker ยังเปิดเผยว่ากูเกิลกำลังมองหาสิทธิบัตรที่บริษัทต้องการซื้อมาเสริมการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่ง แต่เขาก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าว่ากูเกิลจะลงทุนกับการไล่ซื้ออะไรหรือลงทุนมากน้อยเพียงใด ถึงกระนั่นคุณ Walker ยังยืนยันว่า "การซื้อสิทธิบัตรเพื่อการโจมตีคู่แข่งไม่ใช่รูปแบบการต่อสู้ที่ดีนัก แน่นอนคุณอาจไม่ชอบการพูดฝ่ายเดียวของเรา [กูเกิล] แต่หากมองย้อนกลับไปแล้วเราก็ไม่เคยทำสิ่งเหล่านี้มาก่อนเลย"
ข่าวต่อเนื่องสองข่าวจากคดีแอปเปิลฟ้อง HTC ละเมิดสิทธิบัตร และเบื้องต้นฝ่าย HTC ผิดจริง และ HTC ซื้อบริษัท S3 จาก VIA เพื่อหวังสิทธิบัตรคุ้มกาย
กรณีของ S3 ก่อนหน้านี้ได้ฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดสิทธิบัตรด้านการ์ดจอ ซึ่งผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่าแอปเปิลผิดจริง โดยเครื่องแมคที่ใช้การ์ดจอจาก NVIDIA ละเมิดสิทธิบัตรของ S3 สองชิ้น และถ้าคณะกรรมการชุดใหญ่ของ ITC มีความเห็นตามผู้พิพากษา แอปเปิลอาจโดนสั่งห้ามนำเข้าเครื่องแมคบางรุ่นไปขายสหรัฐได้
บริษัท Lodsys ซึ่งฟ้องนักพัฒนาแอพบน iOS/Android ว่าละเมิดสิทธิบัตรเรื่อง in-app purchase ของตัวเอง (ข่าวเก่าหมวด Lodsys) เดินหน้าฟ้องบริษัทเกมใหญ่ๆ ในเรื่องเดียวกันต่อไป
ในคำฟ้องล่าสุดของ Lodsys มีบริษัทเกมชื่อดังอีก 5 รายโดนฟ้อง ได้แก่
ตอนนี้มีผู้ถูกฟ้องรวมกัน 11 รายแล้ว
ล่าสุด Eric Schmidt ประธานบอร์ดของกูเกิลได้ออกมาบอกว่าสำหรับเขา สาเหตุของการที่แอปเปิลได้เริ่มเดินหน้าฟ้องบริษัทผู้ผลิตมือถือ Android แนวหน้าอย่าง HTC และซัมซุงก็เพราะว่าความอิจฉาและขาดการพัฒนานวัตกรรมของตัวเอง โดยได้กล่าวอีกว่าแอปเปิลได้เลือกที่จะเดินทางเส้นนี้ แทนการตอบสนองด้วยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
Schmidt ยังได้พูดถึงตัวเลขต่าง ๆ ของ Android ที่ทำให้แอปเปิลต้องกลัว เช่น จำนวน activation ที่ไม่รวมแท็บเล็ตและอุปกรณ์ที่ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ ที่มีมากถึง 550,000 ครั้งต่อวัน เพิ่มจากเมื่อเดือนพฤษภาคมที่มีการ activate กว่า 400,000 ครั้งต่อวัน
ปัญหาสิทธิบัตรมือถือที่กำลังฟ้องกันมากมายในขณะนี้ เริ่มส่งผลต่อนักพัฒนาแอพบนมือถือแล้ว โดยนักพัฒนาจำนวนหนึ่งเริ่มถอนแอพของตัวเองออกจาก iPhone App Store และ Android Market สำหรับตลาดสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้องละเมิดสิทธิบัตร
Simon Maddox นักพัฒนาจากอังกฤษ บอกว่าเขานำแอพบน iOS/Android ออกจากตลาดสหรัฐ เพราะกลัวการฟ้องร้องจาก Lodsys เขายังบอกว่าจะกันเงินรายได้ส่วนหนึ่งเอาไว้เผื่อต่อสู้คดีในอนาคตด้วย
ส่วน Shaun Austin นักพัฒนาอีกรายบอกว่าตลาดสหรัฐเลยจุดสูงสุดมาแล้ว และ Fraser Speirs นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนแมค/iOS จากสก็อตแลนด์ ให้สัมภาษณ์ว่าเขาเริ่มทบทวนว่าจะประกอบอาชีพนี้ต่อไปดีหรือไม่ เพราะกลัวปัญหาจากสิทธิบัตร
ข่าวต่อเนื่องจาก ITC ตัดสินเบื้องต้นระบุ HTC ละเมิดสิทธิบัตรแอปเปิลจริง มีคนไปค้นข้อมูลของสิทธิบัตร 2 ใบที่เป็นปัญหา พบว่าถูกยื่นจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994 และ 1996 หรือ 17 ปีก่อน
สิทธิบัตรใบแรกหมายเลข 6,343,263 ชื่อว่า "Real-time signal processing system for serially transmitted data" เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลระหว่างเครือข่าย โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไร้สายโดยตรง (แปลว่าอุปกรณ์ทุกชนิดที่รับ-ส่งข้อมูล ก็มีโอกาสละเมิดสิทธิบัตรชิ้นนี้ ถ้ายึดตามคำตัดสินของ ITC)
คณะอนุกรรรมการของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission - ITC) ได้มีคำตัดสินกรณีแอปเปิลยื่นร้องต่อคณะกรรมการว่า HTC ละเมิดสิทธิบัตรของตนจำนวนสิบใบในเบื้องต้นว่า HTC มีความผิดจริงในสิทธิบัตร 2 ใบ
ผลของคำตัดสินนี้ทำให้เรื่องถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ (กระบวนการคล้ายๆ กกต. บ้านเราที่ต้องยื่นเรื่องไปที่กกต. จังหวัดก่อนส่งเรื่องเข้ากกต. ชุดใหญ่) โดยหากกรรมการชุดใหญ่ยังยืนยันว่า HTC มีความผิดอยู่ ก็จะถูกสั่งห้ามนำเข้าโทรศัพท์ Android ทั้งหมด
คดีสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลและออราเคิลคงไม่ได้จบลงนอกศาล เมื่อกูเกิลขอเพิ่มหลักฐานในคดีเป็นเอกสารแสดงหลักฐานเพื่อคัดค้านสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับ virtual machine ของออราเคิล โดยตั้งทีมทนาย, นักวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ มาตรวจสอบเอกสารจำนวนมากเพื่อยืนยันว่าข้ออ้างนวัตกรรมของออราเคิลในสิทธิบัตร (ที่ได้มาจากซัน) นั้นที่จริงมีการสร้างสรรค์ไว้ก่อนแล้ว ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นฟ้องร้องใครได้
กูเกิลไล่เอกสารนับแต่ช่วงที่มีการประดิษฐ์ virtual machine ขึ้นครั้งแรกๆ ในปีช่วงปี 1960 เอกสารจำนวนมากไม่มีอยู่ในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ต้องหาเป็นรูปเล่มหรือเป็นตำราเรียน ทีมงานจำนวน 15 คนตอนนี้ใช้เวลาตรวจสอบเอกสารทั้งหมดไปแล้วกว่า 1,500 ชั่วโมง
แอปเปิลเปลี่ยนหัวหน้าทีมทนายสิทธิบัตรจาก Richard Chip Lutton เป็น BJ Wastrous ซึ่งเคยอยู่ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของเอชพี
นักวิเคราะห์ด้านสิทธิบัตร Florian Mueller เชื่อว่าการเปลี่ยนตัวกระทันหันเช่นนี้เป็นเพราะความล้มเหลวในการสกัด Android โดยแม้แอปเปิลจะมีคดีความกับผู้ผลิตโทรศัพท์ Android จำนวนมากแต่กลับไม่สามารถหยุดการขายที่กำลังกินส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่องได้
หัวหน้าทีมกฏหมายใหม่ พร้อมกับอาวุธใหม่จาก Nortel ที่แอปเปิลร่วมประมูลมาได้ อาจจะทำให้คดีระหว่าง Android ที่ต้องสู้กับไมโครซอฟท์และแอปเปิลพร้อมๆ กันกลายเป็นคดีจำนวนมากในเร็วๆ นี้
ที่มา - PC Magazine
ต่อจากกรณี 6 พันธมิตรชนะประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel วันนี้ศาลทั้งฝั่งสหรัฐและแคนาดาได้อนุมัติการซื้อสิทธิบัตรรอบนี้เรียบร้อยแล้ว
เหตุผลที่ศาลทั้งสองประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เพราะ Nortel ได้ยื่นขอล้มละลายต่อศาลทั้งสองประเทศมาก่อนหน้านี้นั่นเอง
การอนุมัติของศาลไม่เกี่ยวกับข่าวก่อนหน้านี้ว่า หน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐหลายแห่งจะเข้ามาสอบสวนเรื่องนี้
นอกจากกูเกิลที่เป็นเป้าหมายถูกฟ้องสิทธิบัตรโดยตรงแล้ว บริษัทอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 6 พันธมิตรอย่าง Verizon และ HP ก็คัดค้านการซื้อสิทธิบัตรครั้งนี้เช่นกัน
W3C ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลมาตรฐานเว็บ (รวมถึง HTML5 ที่ก่อนหน้านี้ WHATWG เป็นผู้พัฒนามาตรฐาน) ได้ออกประกาศขอข้อมูลการใช้ประดิษฐ์ที่มีการก่อน (prior art) ของสิทธิบัตรและใบขอสิทธิบัตรของแอปเปิล เพื่อให้มาตรฐานการขอสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของ Widget สามารถประกาศใช้ได้
แอปเปิลมีสิทธิบัตรหมายเลข 7,743,336 และคำขอสิทธิบัตรหมายเลข 11/432,295 โดยระหว่างการพัฒนามาตรฐาน
แอปเปิลได้ยื่นเรื่องต่อ International Trade Commission (ITC) เพื่อที่จะขอให้หยุดการขายสินค้าของ HTC บางชนิดที่ได้ทำการละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล โดยการยื่นเรื่องในครั้งนี้มีลักษณะคล้ายกับครั้งก่อนที่แอปเปิลพยายามที่จะหยุดการนำเข้าสินค้าของซัมซุงด้วยเหตุผลเดียวกัน
การต่อสู้ทางกฎหมายของแอปเปิลและ HTC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อต้นปีที่แล้ว แอปเปิลได้ทำการฟ้อง HTC ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล โดย HTC เลือกที่จะฟ้องกลับและอ้างว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของ HTC จำนวนห้าฉบับด้วยกัน
แม้ว่านักกฎหมายจาก ITC เองได้ออกมากล่าวว่าการเข้าข้าง HTC จะเป็นเรื่องดีกว่าสำหรับทุกคน แต่แอปเปิลก็ยังเลือกที่จะยื่นคำร้องต่อ ITC อยู่ดี