Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ตอบคำถามในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี ว่าเขาจะสามารถเอาชนะ PS5 ในสงครามคอนโซลได้อย่างไร
คำตอบของ Nadella คือ Xbox Series เปิดตัวได้สวยงาม และยืนยันว่าไมโครซอฟท์จริงจังกับตลาดคอนโซลแค่ไหน
แต่ในภาพกว้างแล้ว เป้าหมายของไมโครซอฟท์คือเกมเมอร์จำนวน 3 พันล้านคนทั่วโลก ที่ควรต้องได้เล่นเกมจากที่ไหนก็ได้ เล่มเกมใดก็ได้ที่อยากเล่น และเล่นกับเพื่อนที่อยากเล่นด้วยได้เสมอ นี่คือแกนหลักของยุทธศาสตร์ด้านเกมที่ไมโครซอฟท์ทำอยู่
เขายังยกตัวอย่างการซื้อ ZeniMax และการผลักดัน Game Pass ว่าเป็นสิ่งที่ทำเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์นี้
ปัจจุบัน Phil Spencer กลายเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดแห่งวงการเกม ในฐานะหัวหน้าทีม Xbox และธุรกิจเกมทั้งหมดของไมโครซอฟท์ แต่เขาเพิ่งมาเปิดเผยให้ฟังว่า ตัวเขาและไมโครซอฟท์เกือบถอดใจออกจากธุรกิจเกมไปแล้ว ในช่วงที่ Xbox One เปิดตัวในปี 2013
สถานการณ์ในตอนนั้นคือไมโครซอฟท์เปิดตัว Xbox One ในเดือนพฤษภาคม 2013 แต่ยังไม่ทันวางขาย พอถึงเดือนกรกฎาคม Don Mattrick หัวหน้าทีม Xbox ในตอนนั้นดันลาออก (ย้ายไปอยู่ Zynga) ทำให้ทีม Xbox ขาดหัว แล้วต้องทำงานใหญ่คือวางขาย Xbox One ตอนปลายปี
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ และ Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox ให้สัมภาษณ์กับ CNET หลังข่าวซื้อกิจการ ZeniMax/Bethesda มูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Nadella ระบุว่าไมโครซอฟท์สนใจซื้อสตูดิโอเกมเพิ่มอีกในอนาคต เขาบอกว่าพวกเรามองหาบริษัทที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา และพร้อมซื้อกิจการเมื่อคิดว่าสมเหตุสมผล
Nadella สนับสนุนการซื้อสตูดิโอเกมมาตั้งแต่ Mojang ในปี 2014 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เขาอธิบายเหตุผลว่าการทุ่มเงินซื้อสตูดิโอเกม เกิดจากความเชื่อว่าความบันเทิงแบบ interactive จะกลายเป็นสิ่งสำคัญมากในอีก 10 ปีข้างหน้า และการสร้างสตูดิโอเกมไม่สามารถทำได้ทันทีทันใด จึงต้องค่อยๆ สะสมไว้
หลังทวิตเตอร์ประกาศมาตรการ พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ยาวๆ แม้จะหมด COVID-19 แล้วก็ตาม Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ก็แสดงความเห็นว่า การทำงานที่บ้านถาวรไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตคนทำงาน ทำลายปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือ social interaction
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ออกมาชี้แจงเรื่องกฎหมายการให้สถานะพลเมือง (Citizenship Amendment Act-CAA) ของอินเดีย ที่ปิดกั้นผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมจากการได้รับสัญชาติในอินเดีย ซึ่งจะกระทบผู้ลี้ภัยชาวบังกลาเทศ,ปากีสถาน,อัฟกานิสถาน
การเปิดตัว Surface Duo ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของไมโครซอฟท์ที่ใช้ Android เต็มรูปแบบ ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ไมโครซอฟท์จะมีนโยบายอย่างไรในตลาดระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา หลังความพยายามยุค Windows Phone ล้มเหลว
Wired มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้ว่าจะกลับมาทำระบบปฏิบัติการ Windows บนมือถืออีกหรือไม่ ซึ่ง Panos Panay หัวหน้าทีม Surface ตอบชัดเจนว่า "no" ถึงสองครั้ง และยอมรับว่าแอพพลิเคชันส่วนใหญ่อยู่บน Android หมดแล้ว ถ้าไมโครซอฟท์ไม่รับความจริงเรื่องนี้ก็คงโง่เกินไป
ในบทสัมภาษณ์ Satya Nadella เรื่องเกมมิ่งของ Fortune มีคำถามว่า Nadella ชอบเล่นเกมอะไร
คำตอบของเขาคือสมัยเด็กๆ เขาเล่น Civilization แต่พอหันไปใช้สูตรโกงเกม ก็พบว่าเกมน่าเบื่อกว่าเดิม
ส่วนในปัจจุบัน เขายอมรับว่าตัวเองไม่ใช่เกมเมอร์ มีเวลาเล่นเกมไม่เยอะนัก แต่เกมที่เขาชอบคือเกมคริกเก็ตซีรีส์ Don Bradman Cricket บน Xbox One (Nadella เป็นแฟนกีฬาคริกเก็ต ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมในอินเดีย)
ที่มา - Fortune
Satya Nadella ให้สัมภาษณ์กับ Fortune ในเรื่องยุทธศาสตร์ด้านเกมของไมโครซอฟท์ มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
Minecraft Earth เกม AR ของไมโครซอฟท์ที่เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม เริ่มเปิดทดสอบเบต้าในวงจำกัดแล้ว โดยยังจำกัดเฉพาะบนแพลตฟอร์ม iOS และเฉพาะผู้เล่นที่ได้รับคำเชิญในบางประเทศเท่านั้น
ในงาน Microsoft Inspire 2019 ยังมีการสาธิตการเล่น Minecraft Earth โดยสร้างโลกของ Minecraft ขนาดเท่าของจริง ที่ตัวคนสามารถไปเดินอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นได้ และ Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์เป็นคนมาสาธิตการเล่นด้วยตัวเอง ใครไม่เคยเห็น Satya จับไก่หรือต่อสู้กับแมงมุม ก็ดูกันได้จากคลิปท้ายข่าว
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg BusinessWeek มีเนื้อหาตอนหนึ่งพูดถึงประเด็นที่ไมโครซอฟท์มีมูลค่ากิจการทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์ และตอนนี้เป็นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก โดยบอกว่าเขาไม่ได้สนใจข่าวดังกล่าว แถมเข้ารู้สึกไม่ชอบด้วยซ้ำถ้าใครคิดว่าเรื่องนี้ควรต้องฉลอง เขาบอกว่ามูลค่ากิจการเป็นเรื่องของอดีต ที่ไม่ได้สะท้อนอะไร การยึดติดกับเรื่องนี้เท่ากับเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบ
เนื้อหาตอนอื่นพูดถึงช่วงที่เขาเข้ามาเป็นซีอีโอ และทำให้ไมโครซอฟท์เติบโตอีกครั้ง เช่น การเลี่ยงที่ให้ความสำคัญกับ Windows ซึ่งเป็นความสำเร็จในอดีตของไมโครซอฟท์ โดยอีเมลแรกที่เขาเขียนถึงพนักงานนั้น ไม่มีคำว่า Windows เลย
ช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวพนักงานของไมโครซอฟท์จำนวนหนึ่ง ออกมาประท้วงบริษัทที่ไปรับงานให้กับกองทัพสหรัฐ เพราะไม่ต้องการให้นำเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ไปใช้ด้านการทหาร (ฝั่งกูเกิลก็เคยมีกรณีแบบเดียวกัน)
แต่ล่าสุดซีอีโอ Satya Nadella ออกมาให้สัมภาษณ์และยืนยันว่าไมโครซอฟท์จะเดินหน้าต่อไป เหตุผลของเขาคือไมโครซอฟท์จะไม่ "ปิดกั้น" เทคโนโลยีของตัวเองกับรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย และมาจากการเลือกตั้ง
นิตยสาร Forbes ได้สัมภาษณ์พิเศษ Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ซึ่งผลงานโดดเด่นล่าสุด ก็คือการพาไมโครซอฟท์ไปสู่บริษัทที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกอีกครั้ง แซงหน้าทั้งแอปเปิลและ Amazon ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเพียง 4 ปี กับอีก 10 เดือน นับตั้งแต่เขาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอคนที่ 3 ของไมโครซอฟท์ต่อจาก Steve Ballmer (2000-2014) และ Bill Gates (1975-2000)
ถ้าย้อนไปไม่กี่ปีก่อน ไมโครซอฟท์อาจมีภาพลักษณ์เป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ไม่โดดเด่นในด้านผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าทั่วไป ออกสินค้าอะไรมาก็สู้คู่แข่งรายอื่นที่ดูตื่นตาตื่นใจกว่าไม่ได้ สิบปีที่ผ่านมาในโลกของไอทีมีสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย อาทิ สมาร์ทโฟน, เสิร์ชอินเทอร์เน็ต, โฆษณาออนไลน์ หรือบริการคลาวด์ ทุกอย่างที่ว่ามา ไมโครซอฟท์ล้วนไม่ใช่ผู้ชนะในแต่ละหมวด จนดูราวเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ที่น่าเบื่อ และไม่น่าสนใจในสายตานักลงทุนอีกต่อไปเมื่อเทียบกับบริษัทใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ขายหุ้นสามัญของตัวเองออกมาถึง 30% ได้เงินจากการขายหุ้นไปประมาณ 35 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.1 พันล้านบาท
ข้อมูลนี้มาจากเอกสารที่ Nadella ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ส่วนเหตุผลที่ Nadella ขายหุ้น ถึงแม้ไม่ได้ระบุ ก็คงหนีไม่พ้นราคาหุ้นของไมโครซอฟท์ที่สูงขึ้นมากในปีนี้ โดยราคาขึ้นมาถึง 53% นับตั้งแต่เริ่มต้นปี
ราคาหุ้นไมโครซอฟท์ที่เวลาปิดตลาดวันศุกร์ อยู่ที่ 109 ดอลลาร์ต่อหุ้น ก่อนหน้านี้ Nadella เคยขายหุ้นมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2016 ที่ราคา 58 ดอลลาร์ต่อหุ้น
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์ถึงการซื้อกิจการ GitHub มูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีคำถามตามมามากมาย และซีอีโอคนใหม่ของ GitHub ต้องออกมาชี้แจงว่าทุกอย่างจะเป็นเหมือนเดิม
Nadella ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ยืนยันว่าไมโครซอฟท์จะรักษาความเป็นโอเพนซอร์สอย่างเต็มที่ (we are all in on open source) และ GitHub จะยังเป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับทุกภาษา ทุกเฟรมเวิร์ค ทุกระบบปฏิบัติการ
นิตยสาร TIME ประกาศรายชื่อ 10 ผู้ทรงอิทธิพลประจำปี 2018 (The 100 Most Influential People) โดยมีนักธุรกิจผู้นำบริษัทไอทีติดด้วยหลายราย ได้แก่
Satya Nadella เล่าข้อมูลเบื้องหลังในหนังสือ Hit Refresh ของเขา ถึงที่มาของโครงการ HoloLens ว่ามาจากความล้มเหลวของ Windows Vista
Nadella เล่าถึง Alexa Kipman วิศวกรชาวบราซิลของไมโครซอฟท์ ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในฐานะผู้สร้างทั้ง Kinect และ HoloLens ว่าเดิมที Kipman อยู่ในทีมออกแบบ Windows Vista ที่มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง แต่ผลตอบรับกลับออกมาแย่ ส่งผลให้ Kipman เสียใจอย่างหนักจนต้องกลับไปพักใจที่บราซิลบ้านเกิด
"Hit Refresh" หนังสือเล่มแรกของ Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ เริ่มวางจำหน่ายแล้ววันนี้
เนื้อหาในหนังสือเล่าถึงมุมมองของเขาในฐานะซีอีโอ ที่พลิกฟื้นไมโครซอฟท์ให้กลับมาได้สำเร็จ ด้วยปัจจัยสำคัญคือการปรับวัฒนธรรมองค์กรของไมโครซอฟท์
Satya บอกว่านับตั้งแต่เขาได้รับแต่งตั้งเป็นซีอีโอ เขาให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรมเป็นอันดับแรก โดยบอกกับพนักงานว่าไมโครซอฟท์ต้องตามหาจิตวิญญาณของตัวเองใหม่ (we needed to rediscover the soul of Microsoft)
วันนี้ Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ได้ออกหนังสือเล่มใหม่ชื่อ Hit Refresh ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่เขาเขียนถึงการเข้าซื้อกิจการมือถือ Nokia อยู่ว่า
"ผมโหวตคัดค้าน ผมไม่เข้าใจว่าทำไมโลกถึงต้องการ ecosystem ของมือถือเพิ่มอีกระบบหนึ่ง เว้นแต่ว่าเราจะเปลี่ยนกฎได้ ...มันสายเกินไปที่เราจะชิงพื้นที่ที่เราสูญเสียไปคืนมา เหมือนเรากำลังไล่ตามท้ายคู่แข่งอยู่"
นอกจากนี้ เขายังเขียนอีกด้วยว่า
"การเข้าซื้อกิจการบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดต่ำเป็นเรื่องที่เสี่ยงแน่นอน เราควรจะเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์ก็ต่อเมื่อเรามีอะไรสร้างความแตกต่างได้จริงๆ"
งาน Microsoft Build 2017 วันแรกเริ่มต้นด้วยคีย์โน้ตของ Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ขึ้นมาแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ของไมโครซอฟท์ (next phase) ว่ากำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน (paradigm shift) จาก Mobile First, Cloud First ไปสู่ Intelligent Cloud, Intelligent Edge ที่เน้นไปที่คลาวด์, ปัญญาประดิษฐ์และ IoT มากยิ่งขึ้น
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ยุติการผลิตโทรศัพท์มือถือ Lumia เมื่อปีที่แล้ว และไม่มีข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับโทรศัพท์ของบริษัทอย่างเป็นทางการอีก นอกจากข่าวลือของ Surface Phone
ล่าสุด Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ได้พูดถึงเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์กับ Marketplace ว่าไมโครซอฟท์กำลังมองหาสิ่งที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในรูปแบบและการใช้งานอุปกรณ์อยู่ (next change in form and function) โดยยกกรณี Surface มาเป็นตัวอย่างว่าเป็นผู้บุกเบิกอุปกรณ์ประเภท 2-in-1 และบอกอีกว่า "ถ้าถามว่าเราจะผลิตโทรศัพท์อีกไหม? ในแง่หนึ่ง ผมแน่ใจว่าเราจะผลิตโทรศัพท์อีก แต่มันอาจดูแตกต่างจากมือถือที่มีอยู่ในปัจจุบัน" ("I’m sure we’ll make more phones, but they may not look like phones that are there today.")
ท่ามกลางกระแสความกังวลต่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่อาจจะมาแย่งงานคน ดูเหมือนว่าไมโครซอฟท์จะเป็นหนึ่งในบริษัทที่ไม่ต้องการให้เรื่องนั้นเกิดขึ้น เมื่อดูจากความเห็นของ Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ที่ได้กล่าวเตือนบริษัทเทคโนโลยีคู่แข่งและไมโครซอฟท์เองให้ระมัดระวังการใช้พลังของ AI โดยไม่คำนึงถึงคนทำงาน
เขาได้ให้สัมภาษณ์ในงานสัมมนา DLD Conference เมื่อเดือนที่แล้วไว้ว่า บริษัทเทคโนโลยีควรจะหลีกเลี่ยงการสร้าง AI ที่จะมาแทนที่คนและควรให้ความสำคัญกับการช่วยประหยัดเวลาให้กับคนทำงานมากกว่า "ความต้องการพื้นฐานที่ทุกคนต่างก็มีร่วมกัน คือความต้องการที่จะทำให้ตนเองสามารถใช้เวลาได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น, ไม่ใช่การพูดว่า ให้เรามาแทนที่คุณ" เขากล่าว
เรียกแขกได้มากจริงๆ สำหรับนโยบายปิดกั้นผู้อพยพจากประเทศมุสลิม 7 ประเทศไม่ให้เข้าประเทศเป็นการชั่วคราว ผู้บริหารบริษัทไอทีเองก็มีปฏิกิริยาต่อต้านนโยบายดังกล่าว แม้ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมประชุมเป็นส่วนตัวกับทรัมป์มาแล้วเรื่องทิศทางเศรษฐกิจและบริหารประเทศ แต่ดูเหมือนนโยบายผู้อพยพจะล้ำเส้นจนต้องคนไอทีต้องออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย
ไล่เรียงเหตุการณ์หลังจากเซ็นคำสั่งอนุมัติ ซีอีโอ Google เรียกตัวพนักงานที่เข้าข่ายกลับสหรัฐฯ Airbnb ประกาศบริการที่พักพิงฟรีให้ผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบต่อมาผู้บริหารไอทีทยอยส่ง memo ให้พนักงาน สำนักข่าว Buzzfeed ไปรวบรวมมามีดังนี้
คำถามนี้คงคาใจแฟนๆ ไมโครซอฟท์หลายคนมานาน ล่าสุดในงานประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นประจำปีของไมโครซอฟท์ มีผู้ถือหุ้นรายหนึ่งชื่อ Dana Vance ซึ่งเป็นเจ้าของ Windows Phone และ Microsoft Band (อุปกรณ์ที่ถูกไมโครซอฟท์ทอดทิ้งทั้งคู่) ยกมือถามซีอีโอ Satya Nadella ขอให้อธิบายว่าไมโครซอฟท์มีแผนอย่างไรกับอุปกรณ์พกพาของบริษัท
คำตอบของ Nadella ออกมากว้างๆ แบบที่ไมโครซอฟท์เคยตอบมาว่า ไมโครซอฟท์จะเดินทั้งสองขา ทั้งการขยายซอฟต์แวร์ไปยังแพลตฟอร์มอื่น และสร้างฮาร์ดแวร์ของตัวเองที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากคู่แข่ง เขายังสัญญาว่าแอพของไมโครซอฟท์บางตัวอย่าง Windows Camera และ Mail จะมีฟีเจอร์ทัดเทียมกันกับแอพบนแพลตฟอร์มอื่น
Eve สตาร์ทอัพจากฟินแลนด์ (ได้รับเงินสนับสนุนจาก Intel ด้วย) ได้เปิดตัว Eve V แท็บเล็ตทรง Surface พร้อมระดมทุนบน Indiegogo ในราคาเริ่มต้น 1,399 เหรียญ จนประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับเงินสนับสนุนไปแล้วกว่า 804,788 เหรียญจากเป้าที่ตั้งไว้เพียง 75,000 เหรียญ
แน่นอนว่าความสำเร็จและน่าสนใจของ Eve V ก็เข้าหูของสัตยา นาเดลลา ซึ่ง Konstantinos Karatsevidis ซีอีโอของ Eve เผยว่าซีอีโอไมโครซอฟท์สนใจอยากจะลองเล่น Eve V เมื่อสินค้าพร้อมส่งมอบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า