Tags:
Node Thumbnail

โลโก้ของ Google Search หรือที่เรียกว่า Doodle วันนี้ เป็นภาพของ จันตรี ศิริบุญรอด บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ที่เสียชีวิตไปตั้งแต่ พ.ศ. 2511 โดยจันตรีเกิดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2460 หากมีชีวิตอยู่ถึงวันนี้จะมีอายุครบ 109 ปี

ทายาทของจันตรี ประมาณว่าผลงานทั้งหมดของเขามีประมาณ 300 ชิ้น โดยเรื่องที่มีชื่อเสียงได้แก่ ผู้ดับดวงอาทิตย์ และ ผู้พบแผ่นดิน ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในชุด 88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย

Tags:
Node Thumbnail

กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DoE) ได้ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น โดยสามารถสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งให้พลังงานสูงกว่าพลังงานที่ใช้ก่อให้เกิดปฏิกิริยา (Net Energy Gain) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เปิดทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นเชิงพาณิชย์ในอนาคต

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ที่ประชุมของหน่วยงานมาตรฐานชั่งตวงนานาชาติ (International Bureau of Weights and Measures หรือ BIPM) ที่มีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วม ลงมติยกเลิก "อธิกวินาที" (leap second) โดยจะมีผลในปี 2035

leap second เป็นการเพิ่ม "วินาทีพิเศษ" เข้ามาอีก 1 วินาทีต่อปี (เฉพาะแค่บางปี) เพื่อปรับให้การนับเวลาตาม atomic time (ที่คงตัวเสมอ เช่น ใช้ใน GPS) ตรงกับเวลาตามการหมุนของโลก (UTC time ที่อาจไม่คงตัว เพราะโลกหมุนเร็วช้าไม่เท่ากัน) แนวคิดนี้เริ่มใช้งานในปี 1972 และที่ผ่านมามีวินาทีพิเศษถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว 27 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2016

Tags:
Node Thumbnail

วุฒิสภาของประเทศเม็กซิโก โหวตเห็นชอบกฎหมายยกเลิกระบบเวลาแบบชดเชยแสงอาทิตย์ (daylight saving time หรือ DST) ทำให้ไม่ต้องปรับนาฬิกาในฤดูหนาวอีกต่อไป

กฎหมายฉบับนี้ยังมีข้อยกเว้นให้เมืองที่อยู่ติดชายแดนสหรัฐอเมริกา (ที่ยังมี daylight saving time) ยังคงระบบเวลาแบบเดิมไว้ได้ เพื่อให้เข้ากันได้กับสหรัฐ

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก Oregon Health & Science University (OHSU) รายงานความสำเร็จในการศึกษากระบวนการแปลงเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าในหูชั้นใน โดยอาศัยการศึกษาจากหนอนตัวกลม Caenorhabditis elegans ที่มีโครงสร้างการแปลงแรงกระทำเป็นสัญญาณ (mechanosensory) คล้ายมนุษย์ ทำให้คาดได้ว่าโครงสร้างระดับโปรตีนในหูมนุษย์ก็จะมีรูปแบบคล้ายกัน

การศึกษาอาศัยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาโครงสร้างของโปรตีน transmembrane channel-like protein 1 (TMC-1) ที่ประกบคู่กันสองชุด และโปรตีนอื่นๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นเซ็นเซอร์สามารถควบคุมการไหลของไอออนตามเสียงได้

Tags:
Node Thumbnail

เชื่อว่าเกือบทุกคนรู้จักภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ภาคแรกกันดี กับเรื่องราวการคืนชีพให้ไดโนเสาร์โดยอาศัยเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมเข้าช่วย ในตอนนั้นแนวคิดนี้ดูล้ำยุคไปมากจนหลายคนคงยากจะจินตนาการว่าจะมีใครพยายามทำสิ่งที่ใกล้เคียงกันให้เกิดขึ้นได้จริง

แต่ตอนนี้มีคนกลุ่มหนึ่งประกาศตัวด้วยเป้าหมายยิ่งใหญ่ที่จะคืนชีพให้สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมศาสตร์คล้ายคลึงกับสิ่งที่เห็นจากภาพยนตร์ พวกเขาคือ Colossal บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา และโครงการแรกคือการคืนชีพให้เสือแทสมาเนียที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก Wyss Center for Bio and Neuroengineering ในสวิตเซอร์แลนด์ประกาศความสำเร็จในการเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ (brain-computer interface - BCI) จนทำให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS ระดับไม่สามารถขยับร่างกายใดๆ (completely locked-in) สามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้อีกครั้ง

ที่ผ่านมาผู้ป่วย ALS ที่ยังสามารถสื่อสารได้บ้าง มักต้องอาศัยกล้ามเนื้อบางส่วน เช่น การกระพริบตา หรือขยับลูกตา แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ การสื่อสารเช่นนั้นก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

โปรแกรมจัดการการอ้างอิงงานวิจัยฟรี Zotero ออกเวอร์ชั่น 6 ฟีเจอร์สำคัญคือสามารถอ่าน PDF ได้ในตัวแทนที่จะจัดการการอ้างอิงอย่างเดียว พร้อมกับการไฮไลต์ หรือการจดโน้ตลงงานวิจัยเพิ่มเติม

ทาง Zotero ยังออกแอป iOS ออกมาพร้อมกัน ทำให้สามารถอ่านและไฮไลต์งานวิจัยบนโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต และซิงก์กลับมายังเวอร์ชั่นเดสก์ทอป ตัวบริการซิงก์มีพื้นที่ให้ฟรี 300MB และซื้อเพิ่มได้

นอกจากการอ่าน PDF แล้วยังมีฟีเจอร์ย่อยๆ เช่น จดโน้ตโดยอ้างอิงข้อความในงานวิจัย, ใส่ภาพในโน้ต, copy แบบ Markdown, หรือการตรวจคำผิดในภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ

ที่มา - Zotero

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เครื่องยนต์ EmDrive ได้สร้างข้อถกเถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์เนื่องจากมันละเมิดกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน จึงมีทีมวิจัยจากเยอรมันพยายามพิสูจน์แนวคิดเครื่องยนต์ประเภทนี้ ซึ่งในปี 2018 จากการทดลองเบื้องต้นคาดว่าแรงขับที่เกิดขึ้นอาจมาจากปฏิกิริยาระหว่างสายเคเบิลที่ไม่มีฉนวนป้องกันกับสนามแม่เหล็กโลก มาวันนี้ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าเกิดจาก "ตาชั่งเพี้ยน" ครับ

ทีมวิจัยเดิมซึ่งนำโดย ศ.ดร. Martin Tajmar แห่ง Technische Universität Dresden ประเทศเยอรมนี ได้ทดลองสร้าง EmDrive ตามผังต้นแบบของ NASA และสามารถสร้างแรงขับในระดับเดียวกับที่ตรวจวัดได้ตามงานวิจัยดั้งเดิม

Tags:
Node Thumbnail

Richard Godfrey วิศวกรการบินชาวอังกฤษ สมาชิกของกลุ่ม MH370 Independent Group กลุ่มอิสระที่ค้นหาจุดตกของเครื่องบิน Malaysian Airlines เที่ยวบิน MH370 ที่สูญหายไปเมื่อปี 2014 ได้เสนอผลการวิเคราะห์หาจุดตกของ MH370 ที่เชื่อว่าแม่นยำกว่าเดิม และสอดคล้องกับหลักฐานบ่งชี้อื่นๆ

การวิเคราะห์ของ Godfrey ใช้ข้อมูล 4 ชุดประกอบกัน ได้แก่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มหาวิทยาลัยบราวน์รายงานถึง Manfred Steiner ชายวัย 89 ปีที่สอบจบปริญญาเอกฟิสิกส์สำเร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาในหัวข้อ "Corrections to the Geometrical Interpretation of Bosonization" โดย Steiner ระบุว่าเขาอยากเป็นนักฟิสิกส์มาตั้งแต่เด็ก แต่ครอบครัวอยากให้เป็นหมอ

Steiner ได้ปริญญาเอกแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวียนนาตั้งแต่ปี 1955 และหลังจากนั้นก็ได้ปริญญาเอกใบที่สองสาขาชีวเคมีจาก MIT ในปี 1967 และหลังจากนั้น Steiner ก็ทำงานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบราวน์จนเกษียณปี 2000

Tags:
Node Thumbnail

รางวัล Ig Nobel มอบรางวัลให้กับนักวิจัยทั่วโลกจากแง่มุมความขำขันของงานวิจัย มีนี้มีงานวิจัยที่ได้รับรางวัล 10 สาขาวิชา ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือก SpaceX เป็นบริษัทผู้พัฒนายานอวกาศส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ภายใต้โครงการ Artemis ที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกรอบ (เลือกตั้งชื่อ Artemis ให้สอดคล้องกับโครงการ Apollo ในอดีต)

โครงการ Artemis จะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใหม่หมดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การไปดาวอังคาร ตั้งแต่ฐานยิงจรวด จรวด ยานอวกาศ ไปจนถึงชุดอวกาศ ตามแผนของ NASA จะแบ่งออกเป็น 3 เฟสคือ Artemis I ทดสอบยิงจรวดที่ไม่มีมนุษย์ ภายในปี 2021, Artemis II ยิงจรวดที่มีมนุษย์ภายในปี 2023 และ Artemis III ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงๆ ในปี 2024 โดยกำหนดว่าจะมีผู้หญิงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ก๊าซคารบอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2) ที่ได้มาจากการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงฟอซซิลนั้นนอกจากจะไม่ดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังไม่ดีต่อร่างกายและสมองคนอีกด้วย โดยคริสโตเฟอร์ คาร์นอสคัส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์และคณะได้วิเคราะห์ปริมาณของ CO2 ภายในอาคารแล้วพบว่า ระดับก๊าซนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นและจะส่งผลต่อมนุษย์ได้โดยตรง เขาได้คาดการณ์ว่า หากภาวะโลกร้อนยังไม่ได้รับการแก้ไข ก๊าซCO2จะเพิ่มปริมาณจาก 410 ppm (parts per million, ส่วนในหนึ่งล้าน) เป็น 930 ppm ในปีค.ศ. 2100 ในพื้นที่ภายนอกอาคาร ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ในอาคาร เช่น ห้องเรียน มีปริมาณของ CO2 สูงถึง 1400 ppm และจะส่งผลทำให้การตัดสินใจของคนแย่ลงไปถึง 25-50%

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ SETI@home ที่เป็นต้นแบบของ distributed computing กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกันแชร์พลังจากคอมพิวเตอร์ของตัวเองช่วยประมวลผลข้อมูล โครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 นับเวลาถึงปัจจุบันนานกว่า 20 ปี ล่าสุดประกาศยุติการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ช่วยประมวลผลในวันที่ 31 มีนาคม 2020

หน้าเว็บของโครงการระบุว่า ตอนนี้มีข้อมูลเยอะพอกับความต้องการแล้ว และการจัดการกับข้อมูลที่กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกัน กลายเป็นภาระของทีมงาน ที่ควรจะไปโฟกัสที่การวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Richmond นำโดยศาสตราจารย์ Kelly Lambert ฝึกหนูให้ขับรถขนาดเล็ก ด้วยการจับแท่งทองแดงเพื่อควบคุมรถ โดยมีแท่งทองแดงสามชิ้นให้รถวิ่งตรง, เลี้ยวซ้าย, และเลี้ยวขวา

หนูที่สามารถขับรถไปยังเป้าหมายได้สำเร็จจะได้รับซีเรียลเป็นรางวัล โดยครั้งแรกๆ เพียงบังคับรถให้เดินหน้าก็ได้รางวัลหลังจากนั้นก็เพิ่มเป้าหมายให้ต้องขับรถไปไกลขึ้นเรื่อยๆ นักวิจัยพบว่าหนูสามารถขับรถในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้รถไปยังเป้าหมายได้

Kelly ระบุว่าความสามารถในการขับรถ แสดงให้เห็นความสามารถในการตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ หรือ neuroplasticity โดยในอนาคตนักวิจัยอาจจะเพิ่มความซับซ้อนถึงระดับที่ให้หนูขับรถเพื่อแก้ปัญหาเขาวงกตได้

Tags:
Node Thumbnail

สมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) ประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2019 เป็นรางวัลร่วมของนักวิทยาศาสตร์ 3 รายจากการพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-on)

แบตเตอรีลีเธียมไอออนเริ่มจากข้อเสนอของ M. Stanley Whittingham นักวิทยาศาสตร์อังกฤษขณะทำงานในบริษัท Exxon เมื่อช่วงปี 1970 แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นไทเทเนียมและลิเธียมที่มีราคาแพงมาก จากนั้นกลุ่มของ John Goodenough สามารถสร้างแบตเตอรีจริงที่มีความต่างศักย์ 4V ในปี 1979 และ Akira Yoshino พัฒนาการใช้วัสดุคาร์บอนมาสร้างเซลล์แบตเตอรี ทำให้ตัวแบตเตอรีมีความปลอดภัยขึ้นอย่างมากในปี 1985

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจากมหาวิทยา Purdue เผยแพร่รายงานวิจัยถึงความต้านทานยาฆ่าแมลงของแมลงสาบลงในวารสาร Scientific Report ระบุถึงความสามารถปรับตัวที่ดีเยี่ยมของแมลงสาบ

ทีมวิจัยทดสอบทดสอบการใช้ยาฆ่าแมลงในอาคารหลายอาคารนาน 6 เดือนโดยแบ่งวิธีการออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่

  1. ฉีดยาฆ่าแมลงทีละชนิด ชนิดละ 1 เดือน นาน 3 เดือน ทำซ้ำสองรอบ
  2. ใช้ยาสองชนิดผสมกันแล้วฉีดเหมือนเดิมนาน 6 เดือน
  3. ทดสอบความต้านทานยาฆ่าแมลงของแมลงสาบในอาคารก่อน แล้วเลือกยาฆ่าแมลงที่แมลงในอาคารนั้นๆ ต้านทานได้น้อยที่สุดชนิดเดียวนาน 6 เดือน

ผลทดสอบได้ผลที่น่าประหลาดใจ คือ มีเพียงอาคารในกลุ่มที่ 3 เท่านั้นที่ปริมาณแมลงสาบลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นปริมาณประชากรแมลงสาบกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐ Virginia ได้ตัวนางงามประจำรัฐคนใหม่ ผู้ที่คว้ามงกุฎ Miss Virginia 2019 ไปครองได้สำเร็จนี้คือนักศึกษาปริญญาโทจาก Virginia Commonwealth University และหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เธอสร้างความติดตรึงประทับใจแก่กรรมการจนช่วยส่งให้เธอชนะการประกวด ก็คือการแสดงบนเวทีที่เธอเลือกเอาการทดลองทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอ

เมื่อ 4 ปีก่อน Camille Schrier สาวน้อยวัย 18 ปีในขณะนั้นตระหนักดีว่าตัวเธอนั้นขาดซึ่งทักษะการแสดงบนเวทีทั้งการร้องการเต้น ที่เรียกได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เธอประสบความสำเร็จกับวงการนางงามได้ ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจพับความฝันเรื่องการขึ้นสู่เวทีนางงามหลังจากที่ได้รับการตอบตกลงให้เข้าศึกษาที่ Virginia Tech

Tags:
Node Thumbnail

Chan Zuckerberg Initiative (CZI) บริษัทลงทุนเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของคู่สามีภรรยา Mark Zuckerberg และ Priscilla Chan ประกาศให้ทุนโครงการ Human Cell Atlas และโครงการย่อยอีก 38 โครงการ เพื่อสร้างแผนที่เซลล์ของร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด

แต่ละโครงการมีเป้าหมายสร้างแผนที่เซลล์ส่วนต่างๆ เช่น ตับ, ตา, หัวใจ โดยใช้เซลล์จากคนที่มีสุขภาพแข็งแรงดี เพื่อให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราเมื่อเป็นโรคขึ้นมา

โครงการทั้งหมดที่ได้รับทุนจะมีวิศวกรซอฟต์แวร์หรือนักชีววิทยาสาย computational biology อย่างน้อยหนึ่งคน ข้อมูลที่ได้จะเปิดให้นักวิจัยเข้าถึงได้ฟรี โดยทาง CZI จะร่วมมือกับสถาบันวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งสร้างแพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติในชื่อกลุ่ม Event Horizon Telescope (EHT) เปิดเผยภาพหลุมดำที่ถ่ายได้เป็นภาพแรกของโลกซึ่งเป็นภาพของกาแล็กซี่ M87 ที่ห่างออกไปจากโลก 55 ล้านปีแสง ภาพที่ได้นี้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุจาก 8 ที่ในการถ่าย

จากภาพถ่ายที่ปรากฎศูนย์กลางวงกลมสีดำเป็นขอบของ event horizon ซึ่งเป็นบริเวณที่วัตถุหรือแม้แต่แสงไม่สามารถหนีออกจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำได้และขอบสว่างโดยรอบที่เรียกว่า ring of fire เกิดจากแก๊สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งตรงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้

Tags:
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมกันโหวตอนุมัติการเปลี่ยนนิยามมาตรฐานของ "กิโลกรัม" ไปแล้วเมื่อกลางวันวันนี้ ณ ที่ประชุมทั่วไปด้านน้ำหนักและการชั่งตวงวัดที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนการนิยามจาก "น้ำหนัก 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับมวลสารแบบประถมระหว่างประเทศของกิโลกรัม" เป็นการอ้างอิงจากค่าคงที่ธรรมชาติ โดยใช้ค่าคงที่ของพลังค์ (Planck Constant) แทน โดยการวัดเทียบค่าอย่างซับซ้อนเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้ได้ค่าคงที่ของพลังค์ที่แม่นยำที่สุดออกมา นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงนิยามของหน่วย เคลวิน โมล และแอมแปร์ เพื่อให้มาอ้างอิงกับค่าคงที่ใหม่ของกิโลกรัมนี้ตามด้วย โดยจะมีผลในวันที่ 20 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

Tags:
Node Thumbnail

รางวัล Ig Nobel ปีนี้ประกาศผลไปเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ปีนี้มีงานวิจัยที่ได้รับรางวัลรวม 10 รางวัล แต่มีงานวิจัยใหม่ๆ (ตีพิมพ์ปี 2016 ขึ้นมา) เพียง 4 รางวัล

งานวิจัยที่ได้รางวัลได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานถึงงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ที่ตีพิมพ์ออกมาในปีนี้ ระบุถึงรูปแบบของตัวเลขจำนวนเฉพาะ ว่าสามารถมองเป็นเหมือนการหักเหของแสงเมื่อผ่านผลึกคริสตัล และบางเว็บคาดเดาถึงผลกระทบว่าอาจจะทำให้กระบวนการเข้ารหัส ซึ่งใช้จำนวนเฉพาะอย่างหนัก ว่าอาจจะอ่อนแอลงได้ เช่น Science Alert ระบุ (อย่างผิดๆ) ว่ากระบวนการเข้ารหัส RSA อาศัยความสุ่มของตัวเลขจำนวนเฉพาะ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ย้อนกลับไปในปี 2016 มีข่าวน่าตื่นเต้นในวงการอวกาศเรื่องเครื่องยนต์ EmDrive ผ่าน Peer Review ใช้งานได้จริงแม้ไม่รู้ว่าทำไม ซึ่งช่วยสร้างความหวังให้การเดินทางในอวกาศโดยไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเชื้อเพลิง มาวันนี้ทีมนักวิทยาศาตร์จากเยอรมันอาจสามารถไขปริศนาดังกล่าวได้แล้ว

ทีมวิจัยนำโดย ศ.ดร. Martin Tajmar แห่ง Technische Universität Dresden ได้ทดลองสร้างเครื่องยนต์ EmDrive แบบเดียวกับของ NASA ในสภาพแวดล้อมสุญญากาศที่ควบคุมแรงสั่นสะเทือน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบกับแรงผลักของเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยไม่สามารถห่อหุ้มเครื่องยนต์เพื่อป้องกันผลจากสนามแม่เหล็กโลกได้

Pages