เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา Samsung NEXT หน่วยงานสนับสนุนและลงทุนด้านนวัตกรรมของซัมซุง ได้ประกาศเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนของ Aliro Technologies สตาร์ทอัพด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่แยกตัวออกมา (spin-out) จาก Quantum Information Sciences Lab ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
dtac Accelerate จัดงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 7 แล้วและเมื่อวานก็มีการจัดเดโมเดย์ให้สตาร์ทอัพที่เข้ารอบสุดท้าบมา pitch บนเวที โดยคุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ dtac Accelerate ระบุว่าสตาร์ทอัพปีนี้หลายรายมุ่งแก้ปัญหาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านธุรกิจ ปีนี้มีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ 60 ราย อัตราประสบความสำเร็จ 70% และดึงเม็ดเงินระดมทุนจากไทยและต่างประเทศได้กว่า 1,200 ล้านบาท
Vulcan Capital บริษัทด้านการลงทุนของ Paul Allen ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ซึ่งเสียชีวิตแล้ว ประกาศตั้งสำนักงานต่างประเทศแห่งแรกที่สิงคโปร์ โดยเบื้องต้นมีแผนลงทุนในสตาร์ทอัพภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 100 ล้านดอลลาร์ (3,000 ล้านบาท)
Tommy Teo ผู้อำนวยการสำนักงานที่สิงคโปร์เผยว่า กองทุนมีแผนลงทุนทั้ง Seed Stage, ซีรี่ส์ A และซีรี่ส์ B หัวข้อสตาร์ทอัพที่สนใจมีทั้ง เทคโนโลยีการเงิน, เทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ และอินเทอร์เน็ตเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไป ส่วนประเทศเป้าหมายการลงทุนได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
สิริ เวนเจอร์ส บริษัทลงทุนในเครือบริษัทแสนสิริ ร่วมมือกับสตาร์ทอัพไทย และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำโครงการทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อผู้อยู่อาศัย 3 อย่าง มีรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ (รูปทรงคล้ายรถตุ๊กๆ), โดรนเดลิเวอรี่ และ ระบบดูปลความปลอดภัยจากพลัง AI
Scale กลายเป็นสตาร์ทอัพล่าสุดที่ถูกจับตามอง เนื่องจากบริษัทได้ประกาศเพิ่มทุนซีรี่ส์ C อีก 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ มีสถานะเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นเป็นที่เรียบร้อย โดยนักลงทุนรอบนี้มีทั้ง Accel, Coatue Management, Index Ventures, Spark Capital, Thrive Capital และนักลงทุนอิสระได้แก่ Kevin Systrom, Mike Krieger (สองผู้ก่อตั้ง Instagram) และ Adam d’Angelo (ซีอีโอ Quora)
ผลิตภัณฑ์หลักของ Scale คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยลดขั้นตอนการเทรนข้อมูลสำหรับองค์กรที่พัฒนา AI โดยจะช่วยใส่ข้อมูลกำกับภาพ (annotate) ว่าเป็นวัตถุอะไรก่อน ลูกค้าของ Scale จึงมีหลายบริษัทด้านการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ อาทิ Waymo, Cruise ของ GM, Uber ไปจนถึงบริษัทอย่าง OpenAI และ Airbnb
Omise สตาร์ทอัพบริการ payment gateway ของไทย ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบล่าสุดโดยไม่มีการเปิดเผยวงเงิน จากกลุ่มการเงินรายใหญ่ของญี่ปุ่น Nomura Holdings โดยเงินทุนดังกล่าว Omise จะนำมาใช้ลงทุนขยายธุรกิจที่มีทั้ง Omise (Payment Gateway), OmiseGo (เงินดิจิทัล) และ Go.Exchange (บริการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล)
ผู้ลงทุนเดิมของ Omise มีทั้งกองทุน Global Brain ของญี่ปุ่น, กองทุน Krungsri Finnovate ของธนาคารกรุงศรี, บริษัทจัดการกองทุน SBI และกองทุน Golden Gate Ventures ที่มี SCB ร่วมลงทุน
เทรนด์บริษัทใหญ่ยุคใหม่คือการ transform องค์กรให้เป็นดิจิทัล และพัฒนากำลังคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เราจึงเห็นเทรนด์ที่บริษัทใหญ่ๆ เข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพและบริษัทเทคโนโลยีรายเล็กที่มีความยืดหยุ่นและปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ง่ายกว่าองค์กรใหญ่
แต่เอไอเอส มองมุมต่าง คือแทนที่จะเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพภายนอกเพียงอย่างเดียว ก็ใช้วิธีกระตุ้นพนักงานภายในให้ทำสตาร์ทอัพเสียเอง
Erin Griffith แห่ง The New York Times เขียนรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์อันยากลำบากของสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์) อย่าง Evernote แพลตฟอร์มจดบันทึกข้อมูลที่หลายคนน่าจะเคยใช้ หรือยังใช้อยู่
หลายคนอาจคิดว่าอีบุ๊กเป็นวงการที่ไปไม่รอด ทำอย่างไรก็ขาดทุนเพราะคนไทยไม่อ่านหนังสือเยอะขนาดนั้น แต่ MEB ผู้ให้บริการอีบุ๊กรายแรกๆ ของไทยที่ไม่ได้มีทุนมากมาย กลับสามารถเติบโตและทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ก่อนจะเข้าไปเป็นบริษัทในเครือเซ็นทรัลในเวลาต่อมา
ทุกวันนี้แม้จะอยู่ในเครือบริษัทใหญ่ แต่ MEB ก็ยังคงความเป็นสตาร์ทอัพเอาไว้ได้อย่างดี มีการบริหารงานที่อิสระ ขนาดทีมยังไม่ใหญ่และกำลังมองหาพนักงานใหม่มาช่วยให้บริษัทเติบโตมากขึ้นไปกว่านี้ด้วย
Infarm เป็นสตาร์ทอัพจากเยอรมนีที่ให้บริการในแบบที่อาจเรียกได้ว่า Farm-as-a-Service โดยนำฟาร์มกล่องขนาดเล็ก ไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในเมือง เน้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร โดยล่าสุดเพิ่มรับเงินทุนซีรี่ส์ B อีก 100 ล้านดอลลาร์ สตาร์ทอัพรายนี้มีความน่าสนใจในการผสานเทคโนโลยี มาใช้กับธุรกิจการเกษตร ที่เน้นจับลูกค้าในเมืองซึ่งมีข้อจำกัดพื้นที่
บริการของ Infarm คือการติดตั้งตู้กระจกสำหรับปลูกผักแนวตั้ง ทำให้สามารถวางได้ในพื้นที่ทั้งเล็กหรือใหญ่ แล้วให้พื้นที่นั้นร่วมดูแลจัดการผักที่ปลูกในตู้เอง ขณะที่ฝั่ง Infarm ก็เชื่อมต่อข้อมูลการเพาะปลูกด้วย IoT เพื่อเก็บข้อมูล และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต เมื่อถึงเวลาที่เก็บเกี่ยวทีมของ Infarm ก็จะเข้ามาทำการเก็บผลผลิต
ตลาดผู้ให้บริการสกูตเตอร์ไฟฟ้า ที่บูมมาตั้งแต่ปี 2018 เริ่มเกิดการควบรวมกันแล้ว โดย Bird ผู้ให้บริการสกูตเตอร์จากสหรัฐ ประกาศซื้อ Scoot คู่แข่งเพื่อนร่วมชาติ โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Scoot จะยังให้บริการต่อภายใต้แบรนด์ของตัวเอง โดยมีเจ้าของใหม่คือ Bird นั่นเอง Travis VanderZanden ซีอีโอของ Bird ระบุว่าการควบรวมครั้งนี้ถือเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพื่อขยายเครือข่ายและพื้นที่การให้บริการเช่าสกูตเตอร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัว KATALYST (แคททะลิสต์) โครงการที่ช่วยเร่งศักยภาพสตาร์ทอัพที่มีของดีอยู่แล้วให้สามารถดำเนินธุรกิจในสเกลใหญ่ขึ้น และโตได้ยาวๆ
ในโครงการ KATALYST จะมีทีมเข้าไปให้คำปรึกษาด้านต่างๆ เช่น รูปแบบการทำธุรกิจ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ตลอดจนคำแนะนำการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยธนาคารกสิกรไทยได่ร่วมกับพันธมิตรของธนาคารและบริษัท Beacon Venture Capital ที่จะสนับสนุนเรื่องเงินลงทุนต่อด้วย
ดิจิทัล เวนเจอร์ส (DV) ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพ จัดการแข่งขัน Young-D Startup Ideation ในงาน Money Expo 2019 โดยเปิดพื้นที่ให้นักศึกษามาแข่งไอเดียทำกิจการของตนเอง โดยครั้งนี้พิเศษตรงที่เป็นเวทีเปิดให้คนที่มาร่วมงานสามารถเข้าร่วมชมการ pitching ของนักศึกษาไปพร้อมๆ กับคณะกรรมการ โดยนักศึกษาแต่ละทีมมีเวลา 10 นาที ในการนำเสนอไอเดียและผลงานของตัวเอง แสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมและเตรียมข้อมูลมาเป็นอย่างดี
สำหรับโครงการ Young-D Startup Ideation เป็นโครงการเฉพาะกิจของ DV ที่ต่อยอดมาจาก U.REKA ที่ DV เป็นส่วนหนึ่งของภาคส่วนการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนักวิจัยและผู้ประกอบการนวัตกรรมที่เน้นเทคโนโลยี Deep Tech
dtac accelerate โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเดินทางมาถึงปีที่ 7 แล้ว โดยล่าสุด ประกาศรายชื่อสตาร์ทอัพ 15 แห่งที่จะได้เข้าร่วมบูธแคมป์ โดยทั้ง 15 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินทุนทีมละ 5 แสนบาท ถึง 1.5 ล้านบาท พร้อมรับการสนับสนุนในเชิงพาณิชย์จากดีแทค มูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท
โดยในปีนี้มองเห็นเทรนด์ของความเป็น Domain Expert หรือมุ่งแก้ปัญหาในกลุ่มธุรกิจภาคองค์กรมากขึ้น
ผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 15 ทีมได้แก่
Uber แอปบริการแชร์รถโดยสารที่เพิ่งไอพีโอเข้าตลาดหุ้นไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยระดมทุนเพิ่มไปได้อีก 8,100 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามวันแรกราคาหุ้นไม่ดีนัก โดยลดจากไอพีโอ 7.6% และเมื่อคืนนี้ก็ลดลงอีกกว่า 10% ถึงแม้จะเริ่มต้นไม่สดใสสำหรับไอพีโอ แต่ที่มูลค่ากิจการล่าสุดกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ ต้องถือว่า Uber เติบโตด้วยมูลค่ากิจการมากทีเดียว
การแข่งขันสตาร์ทอัพโดยทั่วไปมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจที่มีไอเดียเจ๋งๆ ให้มีเงินทุนเพื่อจะสานต่อธุรกิจของตนต่อไปได้ แต่ U.REKA โครงการส่งเสริมนักวิจัยและผู้ประกอบการนวัตกรรม มีเป้าหมายไกลถึงระดับที่ให้ประเทศไทยมีความแข็งแรงทางเทคโนโลยี ทัดเทียมนานาชาติ
ดิจิทัล เวนเจอร์สร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เปิดโครงการ U.REKA ขึ้นเป็นครั้งที่สอง ตั้งเป้าใหญ่คือ ส่งเสริมความแข็งแกร่งของสตาร์ทอัพไทยสาย Deep Tech และขับเคลื่อนการเติบโตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว
เว็บไซต์สายคริปโต The Block รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บรรลุข้อตกลงซื้อ Omise สตาร์ตอัพด้านการจ่ายเงินของไทย ด้วยมูลค่าราว 150 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4,800 ล้านบาท)
Omise เริ่มต้นจากการเป็น payment gateway และภายหลังก็ขยายธุรกิจมาสู่เงินคริปโตในชื่อ Omise Go (ตัวย่อ OMG) และถือเป็นเงินคริปโตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดคริปโต (ข้อมูลขณะที่เขียนคือมีมูลค่าประมาณ 280 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นอันดับ 26 จากเหรียญทั้งหมด - CoinMarketCap)
อัพเดต คุณ Jun Hasegawa ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ได้ปฏิเสธข่าวนี้แล้วทางทวิตเตอร์
Zoom บริษัทซอฟต์แวร์วิดีโอคอนเฟอเรนซ์สำหรับตลาดองค์กร ยื่นเอกสารเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว
Zoom เป็นสตาร์ตอัพที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2011 โดย Eric Yuan อดีตพนักงานจากทีม WebEx เดิม (ปัจจุบันเป็นของ Cisco) และได้รับความนิยมมาอย่างเงียบๆ ในตลาดองค์กร ในปีการเงินที่ผ่านมา Zoom มีรายได้ 330 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 2 เท่าจากปีก่อน แถมมีกำไรประมาณ 7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าหาได้ยากสำหรับสตาร์ตอัพในรุ่นเดียวกัน
วันนี้ที่โรงแรม Park Hyatt Bangkok ธนาคารกรุงเทพจัดงานแถลงข่าวและสาธิต (demo day) สำหรับสตาร์ทอัพในโครงการ Innohub Season 2 โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของธนาคารกรุงเทพที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 (อ่านเนื้อหาของปีแรกได้ที่นี่)
ในปีนี้ สตาร์ทอัพที่ผ่านเข้ามาสู่ช่วง Demo Day มีทั้งหมด 8 ราย โดย 3 รายอยู่ในระหว่างการพิจารณาทำธุรกิจร่วมกัน, 3 ทีม อยู่ระหว่างการประเมินความเป็นไปได้โดยมีตัวอย่างแล้ว (proof-of-concept) และอีก 2 โครงการ อยู่ระหว่างการทดสอบนำร่องกับทางธนาคาร
สตาร์ทอัพทั้ง 8 ประกอบไปด้วย
AI หรือปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นคำที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายและกลายเป็นกระแสในช่วงปีที่ผ่านมา และแน่นอนว่าในวงการสตาร์ทอัพก็มักจะเล่นกับคำนี้ไปด้วย อย่างไรก็ตาม MMC บริษัท VC ในอังกฤษได้เปิดเผยผลการสำรวจที่พบว่า 40% ของสตาร์ทอัพในยุโรปที่อ้างว่าใช้ AI หรือสื่อไปว่านำ AI มาใช้งาน กลับไม่ได้ใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจอย่างที่อ้าง
MMC ได้สำรวจจากสตาร์ทอัพ AI กว่า 2,830 รายจาก 13 ประเทศ ทั้งนี้ Forbes ระบุว่าการที่สตาร์ทอัพรายหนึ่งๆ อ้างว่าเป็นสตาร์ทอัพสาย AI นั้นไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องมาจากตัวสตาร์ทอัพเอง แต่อาจถูกจัดกลุ่มจากบริษัทอื่นๆ ภายนอกแทน แต่มันก็พอสะท้อนได้ว่าตัวสตาร์ทอัพที่ถูกกล่าวอ้างอย่างผิดๆ นั้นก็ไม่ได้สนใจจะออกมาแก้ต่างแต่อย่างใด เพราะคำว่า AI ช่วยดึงดูดนักลงทุนได้ โดย MMC ระบุว่าสตาร์ทอัพที่อ้างว่านำ AI มาใช้งาน สามารถระดมทุนได้มากกว่าบริษัทอื่นราว 15%-50%
อินเดียถือเป็นประเทศที่มีบริษัทสตาร์ทอัพด้านการเงินเกิดขึ้นมาเยอะมาก แต่กลับเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยต่ำมาก โดยจากรายงานของ India Fintech 2019 พบว่าอินเดียมีฟินเทคสตาร์ทอัพถึง 2,035 แห่ง แต่มีเพียง 58 แห่งเท่านั้นที่เป็นบริษัทฟินเทคที่มีเทคโนโลยีภายใต้การกำกับดูแล
อินเดียนั้นถือเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศที่มีความปลอดภัยไซเบอร์ต่ำที่สุด ซึ่งบริการทางการเงินและธนาคารเป็นเซคเตอร์ที่ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงสูงมาก และจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเพียงพอ
InVent หน่วยลงทุนของบริษัท Intouch ประกาศเข้าลงทุนใน Ecartstudio บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน Enterprise Location-Based Application ที่พัฒนาแพลตฟอร์ม Smart City สำหรับลูกค้า B2B และ B2C
Ecartstudio ก่อตั้งในปี 2004 และมีผลิตภัณฑ์ด้านแผนที่-พิกัดภูมิศาสตร์หลายตัว เช่น ECART MAP, LBIS (Location Based Information System), LIMS (Location Information Management System) เน้นที่ลูกค้าองค์กรภาครัฐ 60% และองค์กรภาคเอกชน 40% ตัวอย่างการใช้งานคือการใช้แผนที่เพื่อวางแผนสาธารณูปโภค เช่น ระบบคมนาคม ระบบน้ำ ระบบสื่อสาร
Figma แอพออกแบบ UI/UX ชื่อดังอีกตัวหนึ่ง (คู่แข่งของ Sketch และ Adobe XD) ประกาศระดมทุนรอบใหม่ Series C อีก 40 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีมูลค่า 440 ล้านดอลลาร์แล้ว
นักลงทุนหลักในรอบนี้คือกองทุนชื่อดัง Sequoia Capital และยังมีคนดังๆ อย่าง Jeff Weiner (CEO LinkedIn), Mike Krieger (Co-founder Instagram), Andrew Wilson (CEO EA) มาร่วมลงทุนด้วย
Figma เป็นแอพสำหรับออกแบบ UI/UX ที่ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ จึงทำงานได้บนทุกระบบปฏิบัติการ ถือเป็นจุดเด่นที่เหนือกว่า Sketch ที่มีเฉพาะบนแมคเท่านั้น การทำงานผ่านเบราว์เซอร์ยังทำให้ช่วยกันออกแบบไฟล์งานเดียวกันได้ทันที (แบบเดียวกับ Google Docs) และมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่เหมาะกับงานสายออกแบบ UI/UX อีกมาก
Beacon VC บริษัทลงทุนของธนาคารกสิกรไทย ประกาศลงทุนใน Jitta (จิตตะ) สตาร์ตอัพ FinTech สัญชาติไทย โดย Beacon VC เป็นผู้ลงทุนหลักของรอบการระดมทุน pre-Series A มูลค่า 6.5 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 200 ล้านบาท)
Jitta เป็นแพลตฟอร์มการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (value investment) ตามแนวทางของ Warren Buffett โดยใช้อัลกอริทึมช่วยวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ แสดงผลออกมาเป็นอันดับ Jitta Ranking
นอกจากบริการด้านข้อมูลแล้ว Jitta ยังเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Jitta Wealth กองทุนหุ้นอัตโนมัติที่บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี (automated stock investment) ที่ลงทุนตาม Jitta Ranking โดยอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลจาก ก.ล.ต.
ศาลเขตแคลิฟอร์เนีย ตัดสินโทษจำคุก Renato Libric ซีอีโอของสตาร์ตอัพ Bouxtie (อ่านว่า "โบไท) เป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากฉ้อโกงนักลงทุน
บริษัท Bouxtie ทำธุรกิจบัตรของขวัญเสมือน (virtual gift card) ที่สามารถซื้อได้ผ่านแอพ บริษัทนี้ได้เงินลงทุนตั้งต้นมาจำนวนหนึ่งเหมือนกับสตาร์ตอัพทั่วไป ซึ่งธุรกิจก็ไปได้ไม่ดีนักจนเงินหมด ไม่สามารถหานักลงทุนรายใหม่ได้ ทำให้ Libric ตัดสินใจปลอมประวัติของตัวเองขึ้นมา