ไมโครซอฟท์ออกโปรโมชั่นจูงใจคนมาใช้ Windows Server 2016 (ออกเดือนกันยายนนี้) โดยมุ่งเป้าไปยังองค์กรที่ใช้ VMware ให้ย้ายมาใช้ระบบ Hyper-V ของไมโครซอฟท์แทน
โปรโมชั่นนี้จะให้ไลเซนส์ Windows Server Datacenter ฟรี สำหรับลูกค้าที่ย้ายจาก VMware มาใช้ Hyper-V โดยมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อบริการ Software Assurance ด้วย ถือว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องไลเซนส์ของ Windows Server Datacenter ลงไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 กันยายน 2016 ถึง 30 มิถุนายน 2017
เมื่อต้นปี ไมโครซอฟท์เคยออกโปรโมชั่นลักษณะเดียวกัน ให้คนย้ายจาก Oracle Database มาใช้ SQL Server 2016 ฟรี โดยจ่ายเฉพาะค่า Software Assurance เท่านั้น
1 ปีผ่านไปหลัง VirtualBox 5.0 ก็ได้เวลาการอัพเกรดรุ่นเป็น VirtualBox 5.1 ของใหม่ได้แก่
ระบบปฎิบัติการสำหรับการทำ virtualization ยุคแรกๆ ที่ได้รับความนิยมสูงคงเป็น XenServer (ที่เมื่อก่อนเรียกว่า Xen เฉยๆ) XenServer ออกเวอร์ชั่นหลัก 6.0 มาตั้งแต่ปี 2011 และวันนี้เวอร์ชั่น 7.0 ก็ออกมาแล้ว
เวอร์ชั่นใหม่นี้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่การเชื่อมต่อที่รองรับ TLS 1.2 ทั้งหมด เปิด Direct Inspect API ทำให้ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์สามารถทำไปงานอยู่บน service VM แยกออกจาก guest VM ได้ และรองรับการทำ vGPU เพิ่มเติมบนการ์ด NVIDIA GRID Maxwell M10 และ Intel Iris Pro
ที่งาน IBM InterConnect ประจำปีนี้ IBM ออกมาประกาศความร่วมมือกับ VMware บริษัทที่ทำด้านโซลูชั่น Virtualization รายใหญ่ของโลก ว่าระบบคลาวด์ของตนเอง (IBM Cloud) จะรองรับเทคโนโลยีของ VMware ด้าน Virtualization โดยเฉพาะ VMware SDDC ซึ่งทำให้ลูกค้าของทั้งสองเจ้า ทำงานได้ดีขึ้น
ผลิตภัณฑ์ของ VMware ที่ทาง IBM ประกาศรองรับกับ IBM Cloud นั้นประกอบไปด้วย vSphere, NSX และ Virtual SAN โดยทั้งสองบริษัททำงานร่วมกันทั้งในด้านการออกแบบ รวมไปถึงการขายผลิตภัณฑ์ด้วย ในทางกลับกันเอง VMware ก็จะเพิ่มการสนับสนุน IBM Cloud กับเครื่องมือของตนเองอย่าง vRealize Automation และ vCenter ด้วย
นอกจากนี้แล้ว IBM Cloud จะเป็นแพลตฟอร์มหลัก (showcase platform) สำหรับ vCloud Air Network อีกด้วย
NVIDIA บริษัทผู้ผลิตชิปและผลิตภัณฑ์ด้านกราฟิก ใช้เวทีที่งาน VMworld 2015 ของ VMware ประกาศเปิดตัว NVIDIA GRID 2.0 ซึ่งเป็นระบบ Virtualization สำหรับสายงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลจาก GPU
ของใหม่ในรุ่นนี้ นอกจากจะรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่มากขึ้นเป็นสองเท่า (128 คนต่อเซิร์ฟเวอร์) และให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Linux เป็นครั้งแรก (เดิมใช้ได้เฉพาะ Windows) และเพิ่มการสนับสนุนเซิร์ฟเวอร์แบบ Blade เข้ามาด้วย
เปิดให้ทดลองใช้งานได้ 90 วัน และจะให้ใช้จริงในวันที่ 15 กันยายนนี้
ที่มา - NVIDIA
VMware เปิดตัวซอฟต์แวร์ desktop virtualization รุ่นใหม่พร้อมกันทั้งสองแพลตฟอร์ม การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือรองรับ Windows 10 อย่างเต็มที่ และปรับปรุงประสิทธิภาพด้านกราฟิกให้ดีกว่าเดิม รองรับทั้ง DirectX 10 และ OpenGL 3.3
Parallels Desktop เพิ่งออกเวอร์ชัน 10 ไปเมื่อต้นปี วันนี้เลขเวอร์ชันขยับเป็น 11 เรียบร้อยแล้ว ของใหม่เน้นไปที่การรองรับ Windows 10
ถ้ายังจำกันได้ ในปี 2013 ไมโครซอฟท์เปิดเว็บ modern.IE ให้นักพัฒนาเว็บสามารถทดสอบเว็บกับ IE เวอร์ชันต่างๆ ได้ผ่านอิมเมจ VM ที่ไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้ใช้งาน
หลังจากไมโครซอฟท์เปิดตัว Edge เว็บไซต์นี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft Edge Dev (แต่ยังใช้ URL เดิมคือ dev.modern.ie) และล่าสุดไมโครซอฟท์ก็ออกอิมเมจ VM ของ Windows 10 สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการทดสอบเว็บกับ Edge แต่ยังไม่มี Windows 10 เรียบร้อยแล้ว
ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุง VM ที่แจกให้ดาวน์โหลดให้รองรับฟอร์แมตของ VM เพิ่มเติมคือ QEMU และ Vagrant/VirtualBox ที่จะเปิดให้ดาวน์โหลดในเร็วๆ นี้
ผู้ใช้บน XDA รายหนึ่งสามารถพอร์ต Windows 7 ลงในโทรศัพท์มือถือ Asus Zenfone 2 ได้สำเร็จ โดยใช้ซอฟต์แวร์ QEMU ทำงานบน kernel ของ Android ที่ถูกดัดแปลงให้ทำงานบนสภาพแวดล้อมของ Linux ได้
การทำงานในสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะเปิด virtualization เพื่อใช้ boot เข้าระบบปฏิบัติการบน virtual machine (QEMU) แต่ต้อง root เครื่อง, ลงเฟิร์มแวร์ที่ใช้ kernel ดัดแปลงโดยเฉพาะ, ต้องป้อนคำสั่งในการ hack ผ่าน command line, มี SD Card ที่มีความจุสูงอยู่พอสมควร และแน่นอนว่าต้องมี image ของแผ่นติดตั้ง Windows 7 เป็นไฟล์ ISO อยู่แล้วด้วย
Oracle VM VirtualBox ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับทำ virtualization เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 5.0 แล้ว ของใหม่ได้แก่
คล้อยหลัง VMware ไปวันเดียว QEMU ซอฟต์แวร์สร้างเครื่องเสมือนก็มีช่องโหว่เปิดทางให้ซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่รันอยู่ในเครื่องเสมือนสามารถเจาะทะลุเครื่องแม่ออกมาได้
ช่องโหว่อยู่ในส่วนจำลองการ์ดเครือข่าย PCNET (QEMU สามารถจำลองการ์ดได้ 8 แบบ) ที่มีความผิดพลาดในส่วนการสำเนาข้อมูลเฟรมจากเครื่องเสมือนออกมายังเครื่องแม่ ทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้างข้อมูลเฉพาะที่ทำให้เกิด heap overflow ความร้ายแรงที่สุดคือแฮกเกอร์เข้ายึดโปรเซส QEMU ที่รันบนเครื่องแม่ได้ทั้งหมด
บริษัทความปลอดภัย CloudStrike ออกมาเตือนภัยช่องโหว่ใหม่ที่ตั้งชื่อว่า Venom มีผลกระทบกับซอฟต์แวร์ virtualization ฝั่งโอเพนซอร์สหลายตัว เช่น Xen, KVM, QEMU
ช่องโหว่นี้ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถเจาะทะลุระบบปฏิบัติการ Guest OS ออกมายัง Host OS ได้ ซึ่งทำให้สามารถขยายผลเข้ามายังเครือข่ายภายในองค์กรได้อีกต่อหนึ่ง (การจำกัดความเสียหายไว้แค่ VM จึงไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะเจาะทะลุ VM ได้)
เทคโนโลยี container กำลังมาแรงมากในโลกของเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ แม้แต่ในสายของวินโดวส์เอง ปีที่แล้วไมโครซอฟท์ก็ประกาศความร่วมมือกับ Docker ว่า Windows Server รุ่นถัดไป (Windows 10 Server หรือบ้างก็เรียก Windows Server 2016) จะผนวกเอาระบบ container ของ Docker มาให้ในตัว
คราวนี้ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ container ที่เพิ่มความสามารถเข้ามาอีกชั้น ชื่อว่า Hyper-V Container หลักการคือเอาระบบ virtualization ของ Hyper-V ห่อหุ้ม container เข้ามาอีกชั้น
Amazon EC2 และ Rackspace ประกาศเตือนลูกค้าว่าจะมีลูกค้าบางส่วนถูกรีบูตเครื่องเนื่องจากช่องโหว่ชุดใหม่ของ Xen ที่ยังไม่เปิดเผย ทำให้ต้องมีการอัพเดตเร่งด่วน โดยเครื่องที่ได้รับผลกระทบจะถูกรีบูตภายในวันที่ 10 มีนาคมนี้
โครงการ Xen มีกำหนดการเปิดเผยบั๊กวันที่ 10 มีนาคมนี้ 2 ตัว ได้แก่ XSA-120 และ XSA-123
Parallels ประกาศ Parallels Desktop 10 รุ่นล่าสุดรองรับ Windows 10 และ Microsoft Office รุ่นพรีวิว จาก Microsoft แล้ว
Parallels Desktop เป็น desktop virtualization โดยข้อดีของเขาก็คือเมื่อเราต้องการทดสอบซอฟต์แวร์ หรือ OS รุ่นใหม่เราไม่จำเป็นต้องลงผ่าน Boot Camp ที่มีข้อมูลสำคัญหรือแบ่งพาร์ทิชันใหม่ให้ยุ่งยากอีกต่อไป อย่างในล่าสุดนั้นเราสามารถทำการทดสอบระบบ Windows 10 และ Microsoft Office รุ่นพรีวิว ได้อย่างเป็นอิสระและปลอดภัยจากความเสียหายของข้อมูลและระบบ ผ่านการทำงานในรูปแบบ desktop virtualization
ที่มาของข่าว :
9to5mac
VMware ออกผลิตภัณฑ์สายเซิร์ฟเวอร์ชุดใหญ่พร้อมกันหลายตัว ดังนี้
คู่แข่งอย่าง Parallels ออกซอฟต์แวร์ virtualization ตามรอบปีของ OS X ไปแล้ว วันนี้ VMware ก็ออกซอฟต์แวร์ virtualization ฝั่งแมคอินทอชของตัวเองบ้างกับ VMware Fusion 7
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ VMware Fusion 7 คือรองรับ OS X Yosemite เต็มรูปแบบ ขยายขีดจำกัดของ virtual machine (VM) ให้รองรับซีพียูเสมือนสูงสุด 16 ตัว, ฮาร์ดดิสก์ 8TB, แรม 64GB นอกจากนี้ยังปรับปรุงประสิทธิภาพในการรันบนฮาร์ดแวร์แมครุ่นใหม่ๆ ให้ดีขึ้น (ดีขึ้นสูงสุด 43% จากรุ่นก่อน) และประหยัดพลังงานกว่าเดิมสูงสุด 42%
VMware โชว์ความร่วมมือกับ Google และ NVIDIA สาธิตการรันแอพพลิเคชันกราฟิกดังๆ ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Illustrator, AutoCAD, 3D Studio Max, Solidworks บนโน้ตบุ๊ก Chromebook ของกูเกิล โดยยังคงประสิทธิภาพที่ลื่นไหล
เทคโนโลยีที่โชว์เป็นการทำ virtualization ที่ระดับของ GPU ผ่านเทคโนโลยี NVIDIA GRID vGPU ที่ทำตัวเป็น GPU เสมือนให้เดสก์ท็อปหลายๆ ตัวเรียกใช้งาน ผนวกกับ VMware BLAST Performance ที่ช่วยเร่งประสิทธิภาพของงานด้านมัลติมีเดีย
เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นพรีวิว ถ้าพัฒนาจนสำเร็จแล้วน่าจะช่วยผลักดัน Chromebook ในตลาดองค์กรที่เน้นงานกราฟิกได้อีกมากครับ
งานเปิดตัวของ VMware นอกจากประกาศความร่วมมือกับ Docker เมื่อวานนี้แล้วก็ยังมีการประกาศสินค้าอีกหลายอย่าง
โครงการ Docker ซึ่งเป็น app container สำหรับเซิร์ฟเวอร์ กำลังมาแรงมากในโลกไอทีองค์กร แนวคิดนี้แตกต่างจากการรัน virtual machine ตรงระดับชั้นของระบบปฏิบัติการ โดยแนวคิด VM แบบเดิมจะพ่วงระบบปฏิบัติการไปด้วย (แต่ละ VM มีระบบปฏิบัติการแยกกัน) ในขณะที่ container แยกเฉพาะแอพ และแชร์ระบบปฏิบัติการร่วมกัน (ดูภาพประกอบ)
ความร้อนแรงของ Docker ท้าทายโลก virtualization โดยเฉพาะเจ้าตลาดอย่าง VMware พอสมควร แต่ล่าสุด VMware เลือกไม่แข่งกับ Docker ตรงๆ และประกาศความร่วมมือกับฝั่ง Docker แล้ว
Parallels Desktop ซอฟต์แวร์ desktop virtualization ยอดนิยมบนแมค ออกเวอร์ชัน 10 รองรับระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite เต็มรูปแบบ
แอพฝั่งวินโดวส์ที่รันบน Parallels จะรองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Yosemite เช่น iCloud Drive, การแชร์ SMS และข้อความใน iMessages, ควบคุม VM ผ่าน Spotlight และ Quick Look เป็นต้น
Parallels Desktop 10 ยังปรับปรุงประสิทธิภาพหลายจุด เช่น เปิดเอกสารในวินโดวส์เร็วขึ้นสูงสุด 48%, เพิ่มระยะเวลาทำงานของแบตเตอรี่สูงสุด 30%, VM ใช้หน่วยความจำบนเครื่องจริงลดลง 10%, ปรับแต่งให้ Office 2013 เปิดเร็วขึ้นได้สูงสุด 50%
หลายคนอาจคุ้นกับ VMware ในส่วนของโปรแกรม VMware Workstation/Fusion/Player ที่ใช้สำหรับจำลองระบบเดสก์ท็อป แต่เอาจริงๆ แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทำเงินให้ VMware เป็นกอบเป็นกำคือ VMware vSphere สำหรับทำ server virtualization
ล่าสุด VMware เริ่มเปิดให้ชุมชนผู้ใช้สามารถทดสอบ vSphere รุ่นเบต้าได้เป็นครั้งแรก โดยผู้สนใจต้องสมัครเข้าร่วมโครงการก่อนจึงจะสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์รุ่นทดสอบมาใช้งาน ผู้ทดสอบยังสามารถส่งความคิดเห็นกลับไปยัง VMware ได้ตามช่องทางที่กำหนด
ใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ที่รองรับ InstantGo (ชื่อเดิม Connected Standby บน Windows 8) รัน Windows 8.1 อย่าง Surface Pro 3 เพื่อมารัน VM หรือพัฒนาแอพบน Windows Phone อาจจะต้องใส่ใจกับบทความนี้สักนิดครับ
ก่อนอื่นต้องขอปูพื้นเกี่ยวกับ Hyper-V และ InstantGo กันก่อน Hyper-V เป็นแพลตฟอร์มเวอร์ชวลไลเซชันของไมโครซอฟท์ มีทั้งบน Windows แบบเซิร์ฟเวอร์อย่าง Windows Server 2012 R2 และไคลเอนท์อย่าง Windows 8.1 สำหรับงานฝั่งไคลเอนท์ที่จะต้องใช้ Hyper-V ก็อย่างการทดสอบแอพบนระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ หรือการพัฒนาแอพบน Windows Phone 8 เป็นต้นไป ที่อีมูเลเตอร์จะทำงานบน Hyper-V เท่านั้น
มีผู้พบโปสเตอร์สินค้าใหม่ของ VMware ที่ยังไม่เปิดตัวในชื่อ Marvin โดยระบุว่าจะเปิดตัวภายในหน้าร้อนปีนี้ โดยระบุว่าเป็น "first hyperconverged infrastructure appliance" ทำให้คาดได้ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ของ VMware เองที่มาพร้อมกับไลเซนส์
ขณะเดียวกันก็มีผู้พบคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า MARVIN ระบุว่าเป็น คอมพิวเตอร์สำหรับ virtualization เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์เสมือนทั้งหลาย รวมถึงเน็ตเวิร์คและระบบเก็บข้อมูล
ข่าวเกี่ยวกับ Marvin ทำให้คิดได้ว่า VMware จะเปิดตลาดฮาร์ดแวร์ของตัวเองหลังจากเป็นพันธมิตรกับผู้ค้าฮาร์ดแวร์อื่นมานาน แนวทางนี้เกิดขึ้นกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายอื่นๆ โดยเฉพาะรายใหญ่เช่นออราเคิลที่เริ่มหันมาขายฮาร์ดแวร์พร้อมซอฟต์แวร์
Docker ตัวครอบ (container) แอพฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่กำลังมาแรง (ข่าวเก่า) ได้ฤกษ์ออกรุ่น 1.0 หลังจากเริ่มพัฒนาโครงการมาตั้งแต่ต้นปี 2013
ก่อนหน้านี้ชุมชน Docker เตือนว่าซอฟต์แวร์ยังอยู่ในระยะการพัฒนา และไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้งานจริง (production) แต่การเดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 ที่ทีมงานประกาศว่าพร้อมแล้วสำหรับการใช้งานในองค์กรทั้งในแง่ฟีเจอร์และเสถียรภาพ ย่อมช่วยให้ Docker ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกมากในการใช้งานจริง
ของใหม่ในเวอร์ชัน 1.0 ได้แก่การสั่ง pause/unpause ให้กับ container ที่รันงานอยู่, เพิ่มคำสั่ง COPY และปรับปรุงคำสั่ง ADD ที่ช่วยให้การสร้างอิมเมจทำได้ง่ายขึ้น, รองรับระบบไฟล์ XFS และปรับปรุงด้านความปลอดภัย เป็นต้น