Windows 7
มีรายงานว่าผู้ใช้ Windows 7 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เมนบอร์ด Asus หลังจากติดตั้งอัปเดตรหัส KB3133977 แล้วเครื่องจะไม่สามารถเปิดใช้งานได้ สาเหตุเกิดจากเมนบอร์ด Asus รุ่นใหม่ๆ จะมี UEFI เพื่อใช้สำหรับฟีเจอร์ Secure Boot ซึ่งฟีเจอร์นี้ไม่มีใน Windows 7 แต่ตัวอัปเดตรหัส KB3133977 ไปแก้ไขการตั้งค่าบางอย่าง ทำให้เมนบอร์ดเข้าใจว่าต้องบู๊ตโดยใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวทั้งที่ระบบปฏิบัติการไม่รองรับ จึงทำให้ไม่สามารถโหลดระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานได้
หลังจากที่มีการค้นพบช่องโหว่ในเฟิร์มแวร์ของเมาส์และคีย์บอร์ดไร้สายจำนวนมาก ที่อาจส่งผลให้แฮกเกอร์สามารถยิงคำสั่งเข้าไปยังตัวรับเมาส์/คีย์บอร์ดไร้สายที่ต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ได้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพร้อมๆ กับการปล่อย Patch Tuesday ไมโครซอฟท์ก็ได้ออกแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยดังกล่าวให้กับเมาส์ไมโครซอฟท์ที่ได้รับผลกระทบแล้ว
อัพเดตหมายเลข KB3152550 สำหรับ Windows 7, 8.1 และ 10 ได้แก้ไขช่องโหว่ข้างต้นด้วยไดรเวอร์ซึ่งจะกรองอินพุทที่รับมาจากเมาส์ไร้สายเพื่อป้องกันการโจมตีโดยแฮกเกอร์ซึ่งอาจยิงข้อมูลที่เป็นคำสั่งคีย์บอร์ดปะปนเข้ามา
เมื่อต้นปีนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศว่า คนที่ใช้ซีพียู Intel Skylake รุ่นล่าสุด จะสามารถใช้ Windows 7/8.1 ได้ถึงช่วงกลางปี 2017 เท่านั้น หลังจากนั้นไมโครซอฟท์จะหยุดซัพพอร์ต Windows 7/8.1 บน Skylake แล้ว (เพื่อให้คนใช้คอมรุ่นใหม่ๆ ย้ายไปใช้ Windows 10 กัน)
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศนโยบายใหม่ ขยายระยะเวลาซัพพอร์ตให้อีก 1 ปี จากเดิม 17 กรกฎาคม 2017 มาเป็น 17 กรกฎาคม 2018
หลังวันที่ 17 กรกฎาคม 2018 ไมโครซอฟท์จะมอง Windows 7/8.1 บน Skylake ว่าเข้าระยะ extended support และจะออกเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยสำคัญ (critical) เท่านั้น โดยแพตช์ของ Windows 7 จะออกถึงวันที่ 14 มกราคม 2020 และของ Windows 8.1 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2023
ไมโครซอฟท์ยังเตือนให้ลูกค้าที่มีฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ แบบ Skylake ย้ายไปใช้ Windows 10 กันแทน เพราะออกแบบมาให้เข้ากันได้กับ Skylake มากกว่า ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพ แบตเตอรี่ และความปลอดภัย
Microsoft ชี้แจงการสนับสนุน Windows 7/8.1/10 ในอนาคต ดังนี้
น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับคอเกมผู้ที่ยังใช้งาน Windows รุ่นเก่า เมื่อ Larry Hryb หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Major Nelson หนึ่งในทีมงานแผนก Xbox ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทาง Twitter ว่า Windows 7 และ 8.1 สามารถใช้งานคอนโทรลเลอร์ของ Xbox One แบบไร้สายผ่านตัวรับสัญญาณได้แล้ว จากที่ตอนแรกจำกัดการใช้งานแบบไร้สายเฉพาะบน Windows 10 เท่านั้น
ที่มา - @majornelson
ไมโครซอฟท์กำหนดเส้นตายให้เหล่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สามารถขายอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับ Windows 7 Professional ได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคมปีหน้า เพื่อเป็นการกระตุ้นการถ่ายโอนผู้ใช้ไปยัง Windows 10 ที่มีเป้าหมายให้มีอุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการนี้ถึง 1 พันล้านชิ้น ส่วนด้านไมโครซอฟท์เองก็จะเริ่มแจ้งให้อัพเดตผ่าน Windows Update ในอนาคต
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการประจำเดือนตุลาคม Windows 7 ยังนำอยู่ที่ 55.71%
Net Applications รายงานส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ประจำเดือนตุลาคม ที่เมื่อแบ่งแยกตามระบบปฏิบัติการแล้ว Windows 7 ยังนำอยู่ที่ 55.71% ตามด้วย Windows XP อยู่ที่ 11.68% และ Windows 8.1 ที่รั้งอันดับ 3 อยู่ที่ 10.68% ส่วน Windows 10 ค่อยๆ ไต่ขึ้นมาที่ 7.94% แต่ 3 อันดับแรกจำนวนส่วนแบ่งค่อยๆ ลดลงถ้าเทียบกับช่วงเดือนกันยายน
ด้าน Mac OS X อันดับ 1 ยังเป็นเวอร์ชัน 10.10 Yosemite อยู่ที่ 3.45% ตามมาด้วยเวอร์ชัน 10.11 El Capitan ที่ 2.18%
เป็นข่าวต่อเนื่องจากข่าวก่อนที่ Windows 10 บล็อคเกมที่ใช้ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ดิจิทัลหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า DRM เนื่องจากประเด็นด้านความปลอดภัยนะครับ ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ปล่อยอัพเดตด้านความปลอดภัยสำหรับ Windows Vista, 7 และ 8 ที่จะส่งผลให้ Windows ที่ติดตั้งอัพเดตดังกล่าวเล่นเกมที่ติด DRM อย่าง SafeDisc หรือ SecuRom ไม่ได้เช่นเดียวกัน
ตัวอัพเดตหมายเลข MS15-097 ที่ถูกปล่อยมาเมื่อวันที่ 8 กันยายนเลือกที่จะแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยด้วยการปิดเซอร์วิส secdrv.sys ซึ่งเป็นไดรเวอร์จากบริษัทอื่นและการปิดเซอร์วิสตัวนี้อาจจะทำให้เล่นเกมเก่าบางเกมไม่ได้
เว็บไซต์ Ars Technica ทดสอบติดตั้ง Windows 10 บนฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกับ Windows 7 และ Windows 8.1 ผลออกมาว่า Windows 10 ทำดีกว่าทุกจุด ทั้งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์, หน่วยความจำ และเวลาในการบูต
สำหรับคนที่อัพเกรดมาจาก Windows 7 จะเห็นผลชัดเจนกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ฮาร์ดดิสก์และเวลาบูตเครื่องที่ลดลงไปมาก โดยเฉลี่ยแล้ว Windows 10 ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลน้อยกว่า Windows 7 ที่เพิ่งติดตั้งใหม่ราว 5-6GB และถ้าเทียบกับ Windows 7 ที่ลงอัพเดตครบถึงตัวล่าสุดแล้ว การติดตั้ง Windows 10 แบบ clean install อาจประหยัดพื้นที่ได้ถึง 15-16GB ส่วนประเด็นเรื่องเวลาบูตเครื่องก็ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากเดิม
ผู้ใช้บน XDA รายหนึ่งสามารถพอร์ต Windows 7 ลงในโทรศัพท์มือถือ Asus Zenfone 2 ได้สำเร็จ โดยใช้ซอฟต์แวร์ QEMU ทำงานบน kernel ของ Android ที่ถูกดัดแปลงให้ทำงานบนสภาพแวดล้อมของ Linux ได้
การทำงานในสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะเปิด virtualization เพื่อใช้ boot เข้าระบบปฏิบัติการบน virtual machine (QEMU) แต่ต้อง root เครื่อง, ลงเฟิร์มแวร์ที่ใช้ kernel ดัดแปลงโดยเฉพาะ, ต้องป้อนคำสั่งในการ hack ผ่าน command line, มี SD Card ที่มีความจุสูงอยู่พอสมควร และแน่นอนว่าต้องมี image ของแผ่นติดตั้ง Windows 7 เป็นไฟล์ ISO อยู่แล้วด้วย
แม้ไมโครซอฟท์จะเลิกสนับสนุน Windows XP ไปแล้ว เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ทว่าก็ยังมีผู้ใช้อยู่จำนวนมาก ในระดับที่มากกว่า Windows 8.1 มาเป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในตลาด แต่ในวันนี้ Windows 8.1 ก็สามารถปลดป้ายแห่งความเป็นอันดับ 2 มาอย่างยาวนานของ Windows XP ลงได้แล้ว
NetMarketShare รายงานส่วนแบ่งการตลาดของระบบปฏิบัติการบนเดสก์ทอป ประจำเดือนมิถุนายน 2015 โดยในภาพรวม Windows ยังคงครองความเป็นเจ้าตลาด อยู่ที่ 90.85% ตามมาด้วย Mac OS 7.54% และ Linux 1.61%
เมื่อแบ่งแยกเป็นเวอร์ชัน พบว่า Windows 7 ยังคงครองแชมป์ ที่ 60.98% ขณะที่ Windows 8.1 ตามมาในอันดับสองที่ 13.12% เพิ่มขึ้นจาก 12.88% และ Windows XP มาในอันดับสาม อยู่ที่ 11.98% ลดลงจาก 14.6%
ไมโครซอฟท์รวบรวมรายชื่อของฟีเจอร์บางอย่างที่เคยมีใน Windows 7/8/8.1 แต่หายไปใน Windows 10 (หลายอย่างเคยเป็นข่าวไปแล้ว แต่รวบรวมไว้อีกรอบนะครับ)
มีคนไปค้นพบว่าอัพเดตหมายเลข KB3035583 ที่ไมโครซอฟท์ปล่อยผ่าน Windows Update บน Windows 7/8.1 เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แท้จริงแล้วมันคือตัวดาวน์โหลดไฟล์อัพเกรดเป็น Windows 10 ในอนาคต
คำอธิบายอัพเดตบนหน้าเว็บไมโครซอฟท์บอกว่ามันจะปรับปรุงระบบแจ้งเตือนของ Windows Update (This update enables additional capabilities for Windows Update notifications when new updates are available to the user) แต่เว็บไซต์ Myce.com หาข้อมูลแล้วพบว่ามันจะไปสร้างโฟลเดอร์ชื่อ GWX อยู่ใน System32 ซึ่งภายในเป็นตัวอัพเกรด Windows 10 ที่ยังใช้งานไม่ได้ในปัจจุบัน
Boot Camp ระบบบูตสอง OS ของแมคอินทอชจะหยุดรองรับ Windows 7 แล้ว โดยจะเริ่มมีผลกับโน้ตบุ๊ก MacBook Air/Pro รุ่นประจำปี 2015 ที่เพิ่งเปิดตัว
นั่นแปลว่าผู้ซื้อเครื่องแมคในปี 2015 แล้วอยากลงวินโดวส์ผ่าน Boot Camp สามารถลงได้เฉพาะ Windows 8 ขึ้นไปเท่านั้น ถ้ายังอยากใช้งาน Windows 7 คงต้องใช้โซลูชันอื่นๆ เช่น VMware Fusion หรือ Parallels Desktop แทน
Windows 7 ออกในปี 2009 มาถึงวันนี้ก็ 6 ปีแล้ว น่าจะได้เวลาต้องหลีกทางเพื่อระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่าอย่าง Windows 10 สักที
ที่มา - MacRumors
ลูกค้า Windows 7 ตัวเต็มอาจจะมีเรื่องรำคาญใจเวลาที่ทำแผ่นติดตั้งหายแล้วต้องลงใหม่ ทางออกที่สะดวกที่สุดคงกลายเป็นการหาดาวน์โหลดเถื่อนทั้งที่มี product key ของจริงอยู่ในมือ ตอนนี้ไมโครซอฟท์แก้ปัญหาเรื่องนี้แล้วด้วยการเปิดหน้าดาวน์โหลดให้ลูกค้าใช้งาน
หน้าดาวน์โหลด (ผมทดสอบตอนที่เขียนยังล่มอยู่) จะถาม product key และภาษาของวินโดวส์ที่ใช้งานอยู่
หน้าดาวน์โหลดใช้ได้เฉพาะรุ่นขายปลีกแบบกล่องปกติเท่านั้น รุ่น OEM จะไม่สามารถใช้งานได้
ที่มา - ZDNet
จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 7 และ Windows 8.1 สามารถอัพเกรดเป็น Windows 10 ฟรีในปีแรกที่เปิดตัว วันนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมออกมาแล้วว่า Windows 7 Enterprise และ Windows 8.1 Enterprise รุ่นสำหรับตลาดองค์กรจะไม่ได้รับสิทธิอัพเกรดฟรีครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าองค์กรที่ซื้อสิทธิแบบ Windows Software Assurance (SA) จะสามารถอัพเกรดเป็น Windows 10 โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่กรณีของคนที่ไม่ได้ซื้อสิทธิ SA แล้วอยากซื้อ Windows 10 Enterprise ก็คงต้องรอไมโครซอฟท์ประกาศราคาอีกครั้งหนึ่ง
ขอรวมข่าวเกี่ยวกับเบราว์เซอร์โค้ดเนม Spartan ที่จะมากับ Windows 10 มานำเสนอเป็นข่าวเดียวกันครับ
ข่าวแรก ไมโครซอฟท์ยืนยันว่า Spartan จะรองรับส่วนเสริม (extension) โดยขณะนี้ทีมกำลังจัดทำแผนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่และจะเปิดเผยให้ทราบในโอกาสต่อไป แต่ Mary Jo Foley คอลัมนิสต์สายไมโครซอฟท์ชื่อดังก็อ้างแหล่งข่าวของตนว่า ไมโครซอฟท์มีแผนทำให้ส่วนเสริมของ Chrome ทำงานบน Spartan ได้
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยังขึ้นเวทีโชว์ฟีเจอร์ชุดใหม่ของ Windows 10 กันอยู่ แต่ประเด็นสำคัญที่ผู้ใช้ทั่วไปสนใจกันอย่างการอัพเกรดนั้นได้ประกาศบนเวทีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดไปเป็น Windows 10 นั้น ไมโครซอฟท์ยังคงใจดีต่อเนื่อง หลังจากที่เคยให้ผู้ใช้ Windows 8 อัพเกรดเป็น Windows 8.1 ฟรี มารอบนี้ไม่ใช่แค่ Windows 8.1 จะได้อัพเกรดฟรี แต่เป็นรุ่นเก่ากว่าและเลิกขายไปแล้วอย่าง Windows 7 ที่จะได้อัพเกรดไปด้วย ฝั่งสมาร์ทโฟนอย่าง Windows Phone 8.1 ก็จะได้รับการปฏิบัติในแบบเดียวกัน
หลังจากที่ไม่กี่วันก่อน Google ได้เปิดเผยข้อมูลช่องโหว่ของ Windows 8.1 ตามกำหนดเงื่อนไขที่ตั้งไว้ว่าถ้าครบ 90 วันแล้วยังไม่มีแพตช์มาแก้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มกราคม ทาง Google ได้ปล่อยข้อมูลอีกช่องโหว่หนึ่งของ Windows 7 และ Windows 8.1 ออกมาเนื่องจากครบเงื่อนไขเวลา 90 วันแล้วอีกเช่นกัน
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตให้ผู้ที่สนใจอัพเกรดเครื่องที่รัน Windows 7 หรือ Windows 8.1 เป็น Windows 10 Technical Preview ได้ติดตั้งเพื่อเตรียมความพร้อมเครื่องแล้ว ดาวน์โหลดอัพเดตได้จากที่มาของข่าว
เมื่อติดตั้งอัพเดตข้างต้น จะมีหน้าจอระบุว่า Windows Update จะแจ้งให้ทราบเมื่อ Windows 10 รุ่นทดสอบล่าสุดพร้อมให้ผู้ใช้ติดตั้ง แสดงให้เห็นว่าบริษัทคงจะใช้วิธีปล่อยอัพเกรดแบบเดียวกับผู้เข้าร่วม Windows Insider Program ได้รับกับ Windows 10 รุ่นทดสอบ
ไมโครซอฟท์จัดงานเผยรายละเอียด Windows 10 ฝั่งคอนซูเมอร์ 21 ม.ค. นี้ เข้าใจว่าอัพเดตข้างต้นจะสำหรับติดตั้ง Windows 10 รุ่นทดสอบที่จะได้รับการเปิดตัวในงานครับ
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ปล่อยแพตช์หมายเลข KB3004394 ผ่านระบบ Windows Update ซึ่งหลังจากที่ปล่อยออกไปก็มีผู้ใช้หลายรายแจ้งว่าแพตช์นี้มีปัญหากับซอฟต์แวร์อื่นๆ ในระบบ รวมถึงไม่สามารถเข้า Windows Update เพื่อติดตั้งแพตช์อื่นๆ ได้ ในเบื้องต้นทางไมโครซอฟท์ได้ถอดแพตช์นี้ออกจาก Windows Update และแนะนำให้ผู้ใช้ที่มีปัญหาลบแพตช์นี้ออกไปก่อน
ไมโครซอฟท์จะหยุดขายปลีก Windows 7 และ Windows 8 เป็นบางรุ่นและบางช่องทาง นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2014 เป็นต้นไป
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตด้านความปลอดภัย KB2993651 มาแทน KB2982791 ที่ถูกระบุว่าทำให้เครื่องแครชและขึ้นข้อความแจ้งข้อผิดพลาด 0x50 แล้ว บริษัทแนะนำว่าใครที่ติดตั้ง KB2982791 แล้วไม่เจอปัญหาก็ควรติดตั้ง KB2993651 และแนะนำให้ถอดการติดตั้ง KB2982791 ก่อน ถึงแม้จะไม่จำเป็นก็ตาม
ก่อนหน้านี้คนของไมโครซอฟท์เผยว่า จากการเก็บข้อมูลที่เครื่องผู้ใช้ส่งกลับมาให้ไมโครซอฟท์แบบไม่ระบุตัวตน (telemetry data) พบว่ามีเครื่องเพียงร้อยละ 0.01 เท่านั้นที่ประสบกับสามปัญหา ซึ่งรวมถึงเครื่องแครชและขึ้นข้อความแจ้งข้อผิดพลาด 0x50 (ดูรายละเอียดจากข่าวเก่า)
ตามปกติแล้ว ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์มีระยะเวลาสนับสนุนหลังขาย 2 ช่วงคือ ช่วง mainstream support (ออกแพตช์แก้บั๊ก, ความปลอดภัย, ฟีเจอร์ใหม่) กินเวลาประมาณ 5 ปีหลังออกรุ่นจริง จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นช่วง extended support (ออกแพตช์ความปลอดภัยอย่างเดียว)
กรณีของ Windows XP ที่หมดอายุไปเมื่อเดือนเมษายน 2014 และ Windows Server 2003 ที่จะหมดอายุเดือนกรกฎาคม 2015 ถือเป็นการสิ้นสุดระยะ extended support
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่า Windows 7 ทุกรุ่นย่อย (รวม SP1), Windows Server 2008/2008 R2, Exchange Server 2010 จะหมดระยะ mainstream support และเข้าสู่ระยะ extended support ในวันที่ 13 มกราคม 2015
ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพฟรีบนวินโดวส์ชื่อดังอย่าง Paint.NET ออกรุ่น 4.0 โดยปรับกลไกภายในใหม่ครั้งใหญ่ กระบวนการทำงานรองรับมัลติคอร์เต็มรูปแบบ, ประหยัดหน่วยความจำ, และทำงานได้ไวขึ้น
ความสามารถหลายอย่างของ Paint.NET 4.0 ได้มาจาก .NET 4.5 เช่นการรองรับ JIT แบบทำงานพร้อมกันหลายคอร์ หรือการเร่งความเร็วด้วยชิปกราฟิก แต่ .NET 4.5 ก็ทำให้มีเงื่อนไขว่า Paint.NET 4.0 จะทำงานบน Windows 7 SP1 ขึ้นไปเท่านั้น
ควรมีติดเครื่องไว้ครับ