Windows
สำหรับภาษาของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น Windows 10 หรือ 11 นั้น ก็มักจะถูกตั้งมาหลัก ๆ ก็จะมีภาษาอังกฤษ หรือบางตัวก็มีภาษาไทยมาให้ใช้งานอยู่แล้ว แต่หากใครที่ตัวคอมพิวเตอร์ไม่มีภาษาไทย หรืออยากใช้ภาษาอื่นอย่างจีนหรือญี่ปุ่น จะต้องทำยังไงบ้าง มาดู วิธีเปลี่ยนภาษาในคอม Windows 10-11 ทำง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน เพื่อให้ตัวคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นมีภาษาที่คุณอยากใช้อยู่ในเครื่อง โดยจะต้องทำยังไงบ้าง และจะทำได้ง่ายขนาดไหน ไปดูกันเลย
Slack ออกไคลเอนต์เวอร์ชัน Windows ARM64 ตามที่เคยประกาศไว้ในงาน Microsoft Build 2024 โดยยังนับสถานะเป็น Beta
หลังจากไมโครซอฟท์ดัน Arm สุดตัวผ่านความร่วมมือกับ Qualcomm Snapdragon X เลยทำให้เราเห็นแอพยอดนิยมหลายๆ ตัวออกเวอร์ชัน Arm กันมาถ้วนหน้า เช่น Docker Desktop, Blender, GIMP, PyTorch, กลุ่มเว็บเบราว์เซอร์และโซเชียลต่างๆ ดูแผนผังรายชื่อแอพ Arm ได้ท้ายข่าว
ที่มา - Windows Central
ในงาน Build 2024 ไมโครซอฟท์มีเซสชันเรื่องการเกมพีซีบน Windows on Arm โดยสาธิตการรันเกมดังๆ อย่าง Borderlands 3 และ Baldur's Gate 3 บน Snapdragon X Elite
นอกจากการรันเกมโดยตรง ไมโครซอฟท์ยังมีตัวช่วยคือฟีเจอร์ Auto Super Resolution (Auto SR) ใช้ NPU ช่วยอัพสเกลภาพ เพื่อตอบโจทย์ทั้งแง่เฟรมเรตและความละเอียดของภาพ ผลคือเกมเด่นๆ เหล่านี้สามารถรันที่ความละเอียดระดับ 1080p 30 FPS โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม (Auto SR ทำให้ที่ระดับ OS เลย)
ไมโครซอฟท์ประกาศข่าวแอพดังๆ หลายตัวเริ่มรองรับ Windows on Arm นอกเหนือจาก แอพของ Adobe และแอพคอนซูเมอร์อื่นๆ ที่ประกาศบนเวทีหลัก ยังมีแอพฝั่งนักพัฒนา-โอเพนซอร์สอีกชุดใหญ่ดังนี้
ไมโครซอฟท์ปล่อยซอร์สโค้ดโปรแกรม Sudo สำหรับวินโดวส์อย่างเป็นทางกร หลังจากเปิดเป็นตัวเลือกมาระยะหนึ่งก่อนหน้านี้
วินโดวส์นั้นมีคำสั่ง runas สำหรับการรันคำสั่งด้วยสิทธิ์ระดับสูงมานานแล้ว แต่ข้อจำกัดคือ runas จะเปิดวินโดวส์ใหม่เสมอ ต่างจาก sudo ในลินุกซ์ที่สามารถรันเป็นสคริปต์ต่อกันไปกับคำสั่งอื่นๆ ที่ไม่ต้องการสิทธิ์ระดับสูงได้เลย
คำสั่ง Sudo ในวินโดวส์มี 3 ตัวเลือกทำงาน ได้แก่ ทำงานวินโดวส์ใหม่เสมอแบบเดียวกับ runas, แบบปิดการรับข้อมูลไปเลยเพื่อลดความเสี่ยง, และการรับอินพุตจาก console แบบเดียวในลินุกซ์
แม้ว่าจะรองรับการทำงานเหมือนลินุกซ์ แต่โครงการก็แนะนำว่าควรใช้โหมดเปิดวินโดวส์ใหม่เหมือน runas
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ File Explorer สามารถแสดงข้อมูลจากระบบเก็บโค้ด (version control) ได้โดยตรง ผู้ใช้จะมองเห็นข้อมูล เช่น วันที่ commit, ข้อความ commit, และสถานะของไฟล์ โดยประกาศครั้งนี้ไม่ได้ระบุว่าจะรองรับระบบรองรับโค้ดใดบ้าง แต่ที่แน่ๆ คือรองรับ Git แน่นอน
ก่อนหน้านี้ฟีเจอร์ที่ไมโครซอฟท์เพิ่มให้ File Explorer คือการรองรับไฟล์บีบอัดสารพัดรูปแบบ รวมถึง RAR และ 7zip เมื่อปีที่แล้ว
ที่มา - Windows Developer Blog
ไมโครซอฟท์ประกาศเดินหน้าผลักดัน DirectML ให้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการพัฒนา AI บนพีซีหากผู้ใช้ต้องการใช้โมเดลของตัวเอง หลังพัฒนามาระยะหนึ่งและรองรับ NPU ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา
ไมโครซอฟท์พยายามผลักดันให้ DirectML กลายเป็นมาตรฐานสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นปัญญาประดิษฐ์โดยไม่ต้องสนใจฮาร์ดแวร์ด้านล่าง ไม่ว่าเครื่องที่รันอยู่จะมี GPU, NPU, หรือใช้ CPU เฉยๆ ในงาน Build ปีนี้ก็ประกาศว่า PyTorch รองรับ DirectML บน GPU ตั้งแต่วันนี้ไป และจะรองรับ NPU ในเร็วๆ นี้ ส่วนการใช้งาน AI บนเว็บก็จะเริ่มพรีวิวมาตรฐาน WebNN โดยเบื้องหลังเป็น DirectML เช่นกัน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Copilot Runtime ชุดพัฒนาสำหรับสร้างแอปพลิเคชั่นปัญญาประดิษฐ์บนเครื่องผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์ โดยมีส่วนประกอบตั้งแต่ตัวแอปพลิเคชั่นที่ไมโครซอฟท์ให้ไปกับ Copilot+ PC กับ API ต่างๆ เพิ่มเติม
ส่วนประกอบสำคัญคือ Windows Copilot Library ชุดโมเดลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 40 รายการที่รันอยู่บนเครื่องผู้ใช้อยู่แล้ว เปิดทางให้พัฒนาแอปพลิเคชั่นโดยใช้ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น แปลภาษา, แปลงเสียงเป็นข้อความ, ข้อมูลกิจกรรมที่ผู้ใช้ทำบนเครื่อง, ตลอดจน API สำหรับการสร้างแอปพลิเคชั่น RAG เช่น embedding
James Kehr วิศวกรฝ่ายสนับสนุนด้านเครือข่าย (Network) ของไมโครซอฟท์ เขียนบล็อกอธิบายเหตุผลที่ผู้ใช้ Windows ไม่ควรใช้ iPerf3 โปรแกรมโอเพนซอร์สยอดนิยมเวอร์ชันล่าสุด ที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพเครือข่าย
เหตุผลที่อธิบายมี 3 ประเด็น ได้แก่ (1) iPerf3 ไม่รองรับ Windows ถ้าจะใช้ให้ไปใช้ iPerf2 (2) iPerf3 ไม่ได้เรียกผ่านระบบปฏิบัติการโดยตรง แต่ใช้ทำผ่านเลเยอร์ของอีมูเลเตอร์ Cygwin จึงไม่สามารถนำผลลัพธ์มาอธิบายได้โดยตรง (3) มีความเป็นไปได้ที่ iPerf3 ที่ใช้ เป็นเวอร์ชันเก่า ซึ่ง dll ของ Cygwin มีบั๊ก
ไมโครซอฟท์อัปเดตแพตช์ Patch Tuesday ของเดือนเมษายน 2024 ซึ่งแก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 150 รายการ เป็นช่องโหว่ระดับ Zero-Day ที่มีการเปิดเผยรายละเอียดแล้ว 2 รายการ แก้ไขบั๊กช่องโหว่ที่สามารถโจมตีระยะไกลได้ (RCE) 67 รายการ
ช่องโหว่ Zero-Day สองรายการได้แก่ CVE-2024-26234 แก้ไขไดรเวอร์ที่มีช่องโหว่ให้เจาะเข้ามาได้ และ CVE-2024-29988 ซึ่งทำให้ไฟล์แนบสามารถผ่านคำเตือน Microsoft Defender Smartscreen เมื่อเปิดไฟล์ได้
ที่มา: Bleeping Computer
ไมโครซอฟท์แต่งตั้ง Pavan Davuluri เป็นหัวหน้าฝ่าย Windows และ Surface คนใหม่ ซึ่งตำแหน่งนี้เคยมี Panos Panay เป็นหัวหน้า ที่ตอนนี้เขาย้ายไปอยู่ Amazon โดยช่วงที่ผ่านมาฝ่ายนี้แยกเป็น Windows มี Mikhail Parakhin ดูแล กับ Surface ที่มี Davuluri รับผิดชอบ
ภายใต้โครงสร้างแผนกใหม่นี้ Davuluri จะรับผิดชอบทั้งฮาร์ดแวร์ Surface และระบบปฏิบัติการ Windows ส่วน Parakhin นั้นไมโครซอฟท์ใช้คำว่า เขาจะออกจากตำแหน่งเพื่อมองหาบทบาทใหม่แทน ซึ่งอาจจะหมายถึงการลาออกจากบริษัท โดยในช่วงส่งต่องานนี้ Parakhin จะขึ้นตรงกับซีทีโอ Kevin Scott
Chrome for Windows รองรับฟีเจอร์จัดการความคมชัดของฟอนต์ Windows ClearType Text Tuner ซึ่งจะส่งผลให้ Chrome เรนเดอร์ฟอนต์ได้คมชัดกว่าเดิม
เดิมที Chromium เรียกใช้เอนจินแสดงผลกราฟิก 2D ชื่อ Skia ของกูเกิลเอง มีระบบจัดการความคมชัดของข้อความ แต่ใช้วิธี hard code ค่าตามระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขปรับแต่งค่าเองภายหลังได้ ส่งผลให้ในบางอุปกรณ์อาจมีปัญหาเรื่องการแสดงผลฟอนต์บ้าง
ส่วน Windows นั้นมีฟีเจอร์ชื่อ ClearType Text Tuner ให้ผู้ใช้ปรับแต่งความคมชัดของฟอนต์ตามที่เห็นบนหน้าจอ และแอพพลิเคชันต่างๆ สามารถเรียกใช้ค่าเหล่านี้ได้อัตโนมัติ (หากแสดงผลข้อความด้วย DirectWrite)
หลังจากโดนแอปเปิลแบน มานับครั้งไม่ถ้วน โพสต์ประท้วงออกสื่อมาแล้วก็หลายครั้ง ในที่สุด David Heinemeier Hansson หรือ DHH ผู้สร้าง Ruby of Rails และผู้ก่อตั้งบริษัท 37signals เจ้าของแอพ Basecamp กับ Hey ก็ประกาศย้ายมาใช้วินโดวส์
DHH บอกว่าจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจครั้งนี้มาจากนโยบายของแอปเปิลที่ปิดกั้น PWA บน iOS แต่ฟางเส้นสุดท้ายคือแอปเปิลแบนบัญชีนักพัฒนาของ Epic Games ทำให้เขารับไม่ได้ และตัดสินใจย้ายมาใช้วินโดวส์
แอปเปิลอัพเดตว่าแอป Apple Music, Apple TV และ Apple Devices สำหรับคนใช้ Windows ตอนนี้ออกจากสถานะพรีวิว และเปิดให้ดาวน์โหลดได้แล้วผ่าน Microsoft Store โดยต้องเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 10 ขึ้นไป
Cristiano Amon ซีอีโอ Qualcomm ยืนยันข้อมูลในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2023 ว่า Windows เวอร์ชันใหม่จะออกพร้อมกับพีซีที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite ช่วงกลางปีนี้ (mid-2024)
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวลือจาก Windows Central ระบุว่าปีนี้ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว AI PC พร้อม Windows เวอร์ชันใหม่ โดยเราจะเห็น Surface รุ่นใหม่ใช้ชิป Snapdragon X Elite พร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ที่แยกอัพเดต 2 รอบคือ ส่วนแกนระบบปฏิบัติการ โค้ดเนม Germanium และส่วนฟีเจอร์ โค้ดเนม Hudson Valley
Rene Haas ซีอีโอของ Arm ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Stratechery เปิดเผยข้อมูลว่าสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟระหว่าง Qualcomm กับไมโครซอฟท์ ที่ Qualcomm เป็นผู้ผลิตซีพียูสำหรับ Windows on Arm แต่เพียงผู้เดียว จะจบลงในปี 2024 ผลคือเราอาจได้เห็นผู้ผลิตซีพียูรายอื่นทำชิป Arm สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows บ้างแล้ว
ไมโครซอฟท์มีสายสัมพันธ์กับ Qualcomm มายาวนานตั้งแต่ปี 2016 ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ผลิตภัณฑ์ตระกูล Surface ที่เป็น Arm ใช้ซีพียู Qualcomm รุ่นพิเศษที่ปรับแต่งให้ไมโครซอฟท์โดยเฉพาะ
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับสถานะฟีเจอร์ Windows Mixed Reality เข้าเป็นสถานะ "ล้าสมัย" (deprecated) และเตรียมถอดออกจากระบบปฏิบัติการ Windows ในอนาคต
Windows AI Studio ชุดเครื่องมือพัฒนา AI บนวินโดวส์ ที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวในงาน Ignite 2023 ตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดมาทดสอบแล้วแบบพรีวิว
Windows AI Studio อยู่ในรูปส่วนขยายของ VS Code นั่นแปลว่าเราต้องติดตั้ง VS Code บนวินโดวส์ซะก่อน แต่ที่ย้อนแย้งคือถึงแม้ชื่อมันมีคำว่า Windows นำหน้า แต่การรันจำเป็นต้องมี Windows Subsystem for Linux (WSL) และ Ubuntu 18.04 ขึ้นไปอยู่ในเครื่องด้วย แถมตอนนี้ยังรองรับเฉพาะการ์ดจอค่าย NVIDIA เท่านั้น
เว็บไซต์ Windows Central รายงานข่าววงในของ Windows รุ่นปีหน้า 2024 ที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเรียก Windows 12 หรือไม่ เพราะฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์ยังไม่ตัดสินใจเรื่องนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Windows ปี 2024 เกิดจากปัจจัยผู้บริหาร Panos Panay ที่ดูแลทีม Windows ลาออก โดยแนวทางที่ Panos วางเตรียมเอาไว้คือ กลับมาออกตัวแกนหลักของระบบปฏิบัติการ (platform) ทุกสามปี แล้วออกอัพเดตฟีเจอร์ย่อยให้บ่อยๆ ปีละ 2-3 ครั้ง (ภาษาภายในไมโครซอฟท์เรียก Moment updates) ดังที่เราเห็นใน Windows 11 ช่วงหลัง
สื่อไต้หวัน Commercial Times อ้างคำพูดของ Barry Lam ประธานและผู้ก่อตั้ง Quanta โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ที่ระบุว่าไมโครซอฟท์อาจเปิดตัว Windows 12 ในเดือนมิถุนายน 2024 ภายใต้แนวคิด AI PC
Barry Lam ยังบอกว่าปี 2024 บริษัทของเขาจะได้ประโยชน์จากการผลิต AI PC, AI Server และ AI automotive electronic
ในงานเดียวกันที่ไต้หวันยังมี Junsheng (Jason) Chen ประธานของ Acer ที่บอกว่า AI PC คงไม่ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดดในช่วงเวลาสั้นๆ แต่จะค่อยๆ เติบโตตามพฤติกรรมของผู้ใช้ที่หันมาใช้ Generative AI มากขึ้นเรื่อยๆ
เว็บเบราว์เซอร์ Samsung Internet เป็นเบราว์เซอร์หล้กในโทรศัพท์ของ Samsung ทุกเครื่องออกเวอร์ชั่นสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows แล้ว โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดที่ได้ที่ Microsoft Store ฟีเจอร์สำคัญคือสามารถซิงค์ข้อมูลการท่องอินเตอร์เน็ตกับอุปกรณ์ตระกูล Galaxy ผ่านการลงชื่อเข้าใช้ Samsung Cloud
Samsung Internet รองรับ add-ons และ extensions แบบเดียวกับ Chrome และ Edge ที่ผู้ใช้งานสามารถคลิกที่ add-ons ในเบราว์เซอร์เพื่อเปิด Chrome Web Store ได้ แต่ยังไม่สามารถใช้ส่วนเสริมบางตัวได้ (ขึ้นเป็นปุมสีเทา) นอกจากนี้ Samsung Internet ยังมีฟีเจอร์ยอดฮิตของพีซีอย่างโหมด incognito, โหมด light และ dark และรองรับ ad-blocker ด้วย
Microsoft’s Offensive Research and Security Engineering (MORSE) ทีมวิจัยความปลอดภัยของไมโครซอฟท์เองจ้างให้บริษัท Blackwing Intelligence ทดสอบความปลอดภัยของเซ็นเซอร์ลายนิ้วมือสำหรับล็อกอินวินโดวส์หรือ Windows Hello ว่ามีช่องโหว่ใดบ้าง
ทีมงานทดสอบ โน้ตบุ๊กสามรุ่น จากเซ็นเซอร์สามยี่ห้อ คือ Dell Inspiron 15 (Goodix), Lenovo ThinkPad T14 (Synaptics), และ Microsoft Surface Pro Type Cover (ELAN) โดยทั่วไปแล้ว Windows Hello นั้นมีฟีเจอร์สำคัญสองประเด็น คือ 1) ลายนิ้วมืออยู่ในชิปเซ็นเซอร์ลายนิ้วมือตลอดเวลา ไม่เคยส่งออกนอกชิป 2) โปรโตคอล Secure Device Connection Protocol (SDCP) ที่ไมโครซอฟท์สร้างขึ้นสำหรับใช้กับการสื่อสารข้ามชิปอย่างปลอดภัย ชิปไม่ได้ถูกดัดแปลง
AYANEO ผู้ผลิตเครื่องเกมพีซีพกพาสัญชาติจีน (ฮ่องกง) ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ AYANEO SLIDE ชูจุดเด่นหน้าจอสไลด์ขึ้นได้มีคีย์บอร์ดอยู่ด้านใน ซึ่งเป็นเจ้าแรกในตลาดเครื่องเกมพีซีพกพาที่ใส่เข้ามา วางขายภายในเดือนพฤศจิกายน โดยมีสเปคคร่าว ๆ ดังนี้
Patch Tuesday หรือธรรมเนียมการออกแพตช์ความปลอดภัยรายเดือน ทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือน มีอายุครบ 20 ปีแล้ว หลังออกแพตช์ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2003
ไมโครซอฟท์เริ่มแนวคิดการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยรายเดือนให้ระบบปฏิบัติการ จากบันทึกของบิล เกตส์ ชื่อ Trustworthy Computing ช่วงต้นปี 2002 ที่เขียนขึ้นเพื่อรับมือปัญหาช่องโหว่ความปลอดภัยระบาดบนวินโดวส์ (ในยุคนั้น)
มีรายงานว่า NVIDIA กำลังพัฒนาซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM สำหรับใช้กับพีซีระบบปฏิบัติการ Windows ของไมโครซอฟท์ ทำให้บริษัทมีความครอบคลุมในไลน์สินค้าทั้งซีพียูควบคู่กับชิปกราฟิกในแบบ AMD และแอปเปิล
แผนงานนี้ของ NVIDIA มีความสำคัญเนื่องจากข้อตกลงพิเศษของไมโครซอฟท์กับ Qualcomm ให้เป็นผู้ผลิตซีพียู ARM สำหรับ Windows โดยเฉพาะจะหมดลงในปี 2024 ซึ่งแนวทางของไมโครซอฟท์ตอนนี้เป็นการพัฒนาซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM ขึ้นมาเอง ขณะเดียวกัน AMD และ NVIDIA ก็มีแผนออกซีพียูบน ARM ด้วย คาดว่าภายในปี 2025