สตีฟ บัลเมอร์ CEO ของไมโครซอฟท์เผยในระหว่างขึ้นเวที Web 2.0 Summit ว่า ไมโครซอฟท์โชคดีมากที่ซื้อ Yahoo ไม่สำเร็จ
บัลเมอร์ให้ความเห็นเวลาว่าระยะเวลาหลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้ยื่นข้อเสนอให้ Yahoo ครั้งแรกนั้นหลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนไปมากและเค้ารู้สึกว่าไมโครซอฟท์โชคดี (ที่ซื้อ Yahoo! ไม่สำเร็จ)
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008 ไมโครซอฟท์ได้ยื่นข้อเสนอขอซื้อ Yahoo ในราคา 44.6 พันล้านดอลลาร์หรือ 31 ดอลลาร์ต่อหุ้นซึ่งสูงกว่าราคาแท้จริงของ Yahoo ในขณะนั้นมาก และไมโครซอฟท์ก็เพิ่มข้อเสนอเป็น 33 ดอลลาร์ต่อหุ้นซึ่งก็ยังไม่สามารถปิดดีลได้เนื่องจากทาง Yahoo ต้องการราคาถึง 37 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ยาฮูรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ รายได้ 1.072 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 5% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 293 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึง 26% ยาฮูรายงานว่าสาเหตุที่ตัวเลขลดลงเนื่องจากการทำข้อตกลงเรื่องเสิร์ชกับไมโครซอฟท์ซึ่งมีการแบ่งรายได้ ทั้งนี้เมื่อจำแนกส่วนงานก็พบว่ารายได้ทุกส่วนล้วนลดลงทั้งสิ้น โดยรายได้จากโฆษณาลดลง 2% รายได้จากเสิร์ชลดลง 13%
ชะตากรรมของยาฮูคงเริ่มชัดเจนแล้วว่า จะจบลงด้วยการขายบริษัท (เหลือแต่จะขายให้ใครเท่านั้น)
บริษัทที่ออกมาประกาศตัวว่าอยากซื้อคือ Alibaba ของจีน แต่ก็อาจมีความเป็นไปได้ไม่เยอะเพราะปัญหาเรื่องทุนต่างชาติ
Alibaba ยักษ์อีคอมเมิร์ซจากจีน ถือเป็นอีกบริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับ Yahoo! (Yahoo! เคยมีหุ้นในบริษัทลูกของ Alibaba และตอนนี้ Alibaba เป็นเจ้าของ Yahoo! China แบบเดียวกับที่ Yahoo! Japan เป็นของ SoftBank) และล่าสุด Jack Ma ซีอีโอของบริษัทก็ไปพูดที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ถิ่นกำเนิดของ Yahoo! ว่าเขาสนใจจะซื้อ Yahoo! อย่างมาก
Jack Ma บอกว่า "เราสนใจมาก และทั้งสองบริษัทก็มีความสำคัญต่อกัน และทุกบริษัทที่สนใจจะซื้อ Yahoo! ก็มาคุยกับเราหมดแล้ว" เขาบอกว่าต้องการจะซื้อ Yahoo! ทั้งหมดไม่แยกส่วน และอยากเป็นเจ้าของ Yahoo! แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต้องการ "ร่วมซื้อ" กับพันธมิตรรายอื่น
เมื่อครั้งที่บอร์ดบริหารสั่งปลดซีอีโอ Carol Bartz แบบฟ้าผ่า บอร์ดอธิบายกับพนักงานว่ายาฮูจะไม่ขายกิจการแน่ๆ
แต่ในบันทึกภายในชิ้นล่าสุดที่บอร์ดส่งถึงพนักงาน กลับระบุว่าบริษัทที่ปรึกษา Allen & Company ที่จ้างมาวางยุทธศาสตร์ของบริษัท ก็กำลังติดต่อกับบริษัทอื่นๆ ที่แสดงความสนใจ [จะร่วมมือทางธุรกิจแบบต่างๆ] กับยาฮูอยู่ด้วย ยาฮูจะต้องใช้เวลาอีกสักช่วงหนึ่งเพื่อเลือกแนวทางและโครงสร้างที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท ผู้ถือหุ้น และพนักงาน
ข่าวนี้ขยายความจาก งาน Facebook f8 วันนี้: Timeline และ Open Graph รุ่นใหม่ ในส่วนของ Open Graph ใครยังไม่ได้อ่านข่าวเก่าก็ย้อนไปอ่านก่อนครับ
นอกจากเรื่อง Timeline แล้ว สิ่งที่ Facebook ประกาศในงาน F8 คือ Open Graph API แบบใหม่ที่แอพสามารถโพสต์เนื้อหาบนวอลล์ของเราได้มากขึ้น โดยจะแสดงอัตโนมัติในส่วนของ Ticker ที่แสดงกิจกรรมแบบเรียลไทม์ และ "อาจจะ" ไปแสดงผลต่อบน News Feed กับ Timeline ได้
สถานการณ์อันย่ำแย่ของยาฮูในช่วงหลัง ทำให้การควบ-ขายกิจการกับบริษัทอื่นมีโอกาสสูงมาก คำถามอยู่ที่ว่า "บริษัทอื่น" คือใครกันแน่
เว็บไซต์ Business Insider รายงานข้อมูลวงในจากทีม MSN ของไมโครซอฟท์ว่าคนใน MSN กำลังคุยกันเป็นการภายในว่าควรซื้อยาฮูหรือไม่
แหล่งข่าวรายนี้บอกว่า ยาฮูน่าสนใจมากกว่า AOL เยอะ ถึงแม้จะมีคนพูดกันเยอะว่า AOL อาจจะแยกบริษัทบางส่วนออกมาขายก็ตาม แต่เขาบอกว่า AOL ช้ำไปหมดแล้ว ไม่น่าสนใจเท่ายาฮู ที่ยังเข้มแข็งในตลาดสื่อออนไลน์ของสหรัฐ
ถ้ายังจำกันได้ ไมโครซอฟท์เคยเสนอซื้อยาฮูเมื่อปี 2008 แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว ถ้ารอบนี้ซื้อได้จริงก็คงได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิมมาก
หลังการปลด Carol Bartz คำถามที่ทุกคนถามถึงก็คือ Yahoo! จะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งผู้บริหารของบริษัทก็ยังไม่มีคำตอบให้
แต่ตอนนี้มีข่าววงในหลุดออกมาว่า Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL กำลังคุยกับ Allen & Co. บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินของ Yahoo! ถึงความเป็นไปได้ในการควบกิจการระหว่างสองบริษัท
ตามข่าวบอกว่า Armstrong เคยคิดเรื่องการรวมบริษัทมารอบหนึ่งแล้ว แต่ Carol Bartz ไม่เห็นด้วย ซึ่งตอนนี้เธอลงจากตำแหน่งไปแล้ว ทำให้ Armstrong เริ่มกลับมาคิดเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง
มูลค่าบริษัทตามราคาหุ้นของ AOL อยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์ ส่วน Yahoo! คือ 18.2 พันล้านดอลลาร์
พอมีข่าวนี้ออกมา ก็โดนวิจารณ์ว่า "บริษัทที่อยู่ในช่วงขาลงสองรายรวมกัน ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรอก"
Carol Bartz อดีตซีอีโอหมาดๆ ของยาฮู เปิดใจให้สัมภาษณ์กับ Fortune ถึงการที่เธอถูกไล่ออกทางโทรศัพท์
หลังยาฮูปลด Carol Bartz ซีอีโอของบริษัท ก็เรียกประชุมพนักงานทั้งบริษัทจำนวน 13,500 คน เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ท่ามกลางกระแสข่าวว่ายาฮูจ้างที่ปรึกษาภายนอกประมวลทางเลือกของบริษัท ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการขายบริษัทรวมอยู่ด้วย
Carol Bartz ผู้บริหารหญิงเหล็กของยาฮู ลงจากตำแหน่งซีอีโอหลังเข้ามารับภาระกู้วิกฤตของบริษัทเมื่อเดือนมกราคม 2009 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก
ในแถลงการณ์ของยาฮูระบุว่าบอร์ดบริหารของยาฮูสั่งปลด Carol ออกจากตำแหน่งซีอีโอ และแต่งตั้ง Timothy Morse ซีเอฟโอขึ้นรักษาการณ์ชั่วคราวในตำแหน่งซีอีโอ นอกจากนี้ยังประกาศตั้ง "คณะผู้บริหาร" (Executive Leadership Council) ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจำนวนหนึ่ง ช่วย Morse บริหารงานในฐานะซีอีโอด้วย
หมายเหตุ: ต้องย้ำก่อนว่านี่คือ Yahoo! Japan ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Yahoo! สหรัฐ กับบริษัท SoftBank ของญี่ปุ่นนะครับ นโยบายจะไม่เหมือน Yahoo! บริษัทแม่ซะทีเดียว
ในที่สุดเราก็ได้เห็นมือถือแบรนด์ Yahoo! กันแล้ว โดย Yahoo! Japan ร่วมกับเครือข่าย SoftBank ของญี่ปุ่น ออกโทรศัพท์ Yahoo! Phone รุ่น 009SH Y ในประเทศญี่ปุ่น
แท้จริงแล้วมันคือมือถือ Sharp AQUOS 009SH มารีแบรนด์ใหม่ โดยเพิ่มบริการของ Yahoo! Japan (ซึ่งเป็นเว็บไซต์อันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น) เข้ามาให้ในตัว
ความคืบหน้าของข่าวการขายกิจการ Hulu ซึ่งยักษ์ใหญ่ทั้งไมโครซอฟท์ ยาฮู กูเกิล มีข่าวว่าสนใจซื้อ
ตอนนี้ Hulu กำลังเปิดประมูลราคาเสนอซื้อเป็นการภายใน ซึ่งข่าววงในอีกเช่นกันบอกว่าไมโครซอฟท์เสนอราคารอบแรกหนึ่งครั้ง แต่จะไม่เสนอราคารอบที่สอง โดยไม่ระบุเหตุผลว่าเพราะอะไร
ยาฮูรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปีนี้ รายได้ลดลง 5% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยยาฮูกล่าวว่าสาเหตุหลักมาจากการปรับเปลี่ยนวิธีรับรู้รายได้จากข้อตกลงในความร่วมมือด้านเสิร์ชกับไมโครซอฟท์ ทำให้มีการแบ่งรายได้กันซึ่งยังไม่ลงตัวดี อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิในไตรมาสนี้ก็เพิ่มขึ้นมา 11% เป็น 237 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Carol Bartz กล่าวว่าในครึ่งปีหลังธุรกิจโฆษณาซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของยาฮูจะยังไม่เติบโตมากนัก เนื่องจากยาฮูอยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่า ยาฮูอาจแยกฝ่าย Hadoop ออกเป็นบริษัทใหม่ ก็มีความคืบหน้าออกมาว่ายาฮูจะประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในวันสองวันนี้
ข่าวจาก GigaOm บอกว่าบริษัทใหม่จะใช้ชื่อว่า HortonWorks โดยชื่อ Horton มาจากช้างในนิยายชุด Dr.Suess (ของผู้เขียนเรื่อง How the Grinch Stole Christmas!)
พนักงานของ HortonWorks จะเป็นวิศวกรทีมเล็กที่พัฒนา Hadoop ตามแนวทางของ Apache หลังยาฮูประกาศเลิกทำ Hadoop รุ่นของตัวเอง และหันไปร่วมกับ Apache Hadoop เพียงที่เดียว
อนาคตของซีอีโอหญิง Carol Bartz เริ่มมีปัญหาเสียแล้ว หลังจากการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีรอบล่าสุด มีผู้ถือหุ้นรายหนึ่งซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนนักลงทุนใหญ่หลายราย ได้ลุกขึ้นโจมตีการทำงานของ Bartz หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นที่ตกต่ำ, ความขัดแย้งของยาฮูกับบริษัทจีน Alibaba, ข้อตกลงกับไมโครซอฟท์ที่ยังไม่ออกผลเต็มที่ และยุทธศาสตร์โดยรวมของบริษัทที่ไปผิดทาง
อย่างไรก็ตาม Carol และบอร์ดชุดเดิมของยาฮูได้รับความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นให้ดำรงตำแหน่งต่อไป แถมประธานบอร์ด Roy Bostock ยังสนับสนุนเธออยู่ โดยบอกว่าทีมผู้บริหารกำลังทำงานหนักเพื่อกอบกู้ยาฮูให้กลับมายิ่งใหญ่ และต้องรอเวลาเพื่อให้เห็นผลอีกสักหน่อย
Carol มีสัญญาเป็นซีอีโอของยาฮูจนถึงเดือนมกราคม 2013
มีข่าวว่าผู้ถือหุ้น Hulu บริการดูรายการทีวีผ่านเน็ตที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในสหรัฐ เตรียมขายกิจการให้บริษัทสักแห่งที่ยังไม่ระบุนาม
Hulu เป็นบริการที่ร่วมลงขันกันโดยสื่อใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 3 รายคือ Disney, NBC Universal และ Fox (ซึ่ง Fox มี News Corp เป็นเจ้าของอีกทีหนึ่ง) ตัวบริการได้รับความนิยมสูง แต่ก็มีปัญหาเรื่องรายได้ไม่เข้าเป้า, ปัญหาการขอสิทธินำเนื้อหามาฉายบน Hulu, สื่อสามเจ้าทะเลาะกันเองว่าควรดำเนินธุรกิจ Hulu อย่างไร และปัญหาเรื่องคนหนีไปดูรายการทีวีบน Hulu จนทีวีแบบปกติรายได้ตกลง
โลกในยุคที่ iOS App Store และ Android Market มีแอพจำนวนรวมกันหลายแสนตัว การค้นหาแอพที่เหมาะกับความต้องการของเราอาจทำได้ไม่ง่ายนัก
เว็บค้นหาอย่างยาฮูจึงเห็นโอกาสนี้ และออกบริการ "ค้นหาแอพ" ทั้งบนเว็บและในรูปตัวแอพ (แอพสำหรับหาแอพ) เอง ซึ่งยาฮูโฆษณาว่าเทคโนโลยีค้นหาข้อมูลของตัวเอง "แม่นยำกว่า"
อ่านแต่หัวข่าวเฉยๆ มันจะเข้าใจยากนิดนึงครับ ขออธิบายเพิ่มดังนี้
"วัตถุ" หรือ "อ็อบเจ็คต์" แต่ละชนิดจะมีข้อมูล metadata ที่อธิบายตัวมันเองแตกต่างกันไป เช่น ภาพยนตร์มีข้อมูลความยาว ผู้กำกับ นักแสดงนำ, หนังสือมีข้อมูลผู้เขียน ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ฯลฯ ซึ่งเวลาเก็บข้อมูล metadata เหล่านี้ในฐานข้อมูลเฉพาะก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะกำหนดฟิลด์ชัดเจนว่าฟิลด์ไหนหมายถึงอะไร (structured data)
แต่พอ "แสดงผล" ข้อมูลออกมาเป็น HTML บนหน้าเว็บ มันจะกลายเป็นข้อความ text ธรรมดาทั้งหมด (unstructured data) แยกแยะได้ยากว่าข้อความส่วนไหนคือฟิลด์ผู้เขียน ฟิลด์ผู้กำกับ ฯลฯ แน่นอนว่าเราอาจดักจับแพทเทิร์นบางอย่างได้ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะแต่ละเว็บใช้ไม่เหมือนกัน
จากฟอรัมของ SpamCop ระบุว่า ขณะนี้หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ Yahoo! Mail จำนวนหนึ่ง
ได้ถูกบล็อคโดย SpamCop เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ ได้ส่งสแปมเมลจำนวนมหาศาล ไปยังระบบและลูกค้าของ SpamCop
การบล็อคจะคงอยู่ต่อไป จนกว่าการส่งสแปมเมลล์จากเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้จะยุติลง
ช่วงนี้หลายๆ คนจึงอาจจะมีปัญหาในการส่งหรือรับอีเมลจาก Yahoo! Mail นะครับ (รวมถึงผมด้วย)
ที่มา: SpamCop
แม้กูเกิลจะเป็นผู้นำด้านโฆษณาออนไลน์มายาวนาน แต่รายได้ส่วนใหญ่นั้นก็มาจากการโฆษณาบนผลค้นหาของกูเกิลเอง แต่พอเป็นโฆษณาที่ไม่ใช่การโฆษณาจากผลค้นหาแล้วาฮูก็ยังคงเป็นนำมายาวนาน จนกระทั่งไตรมาสแรกของปี 2011 ที่ผ่านมาก็เพิ่งเป็นครึ่งแรกที่กูเกิลเริ่มทำส่วนแบ่งจากตลาดโฆษณาแบบแบนเนอร์ (display ads) แซงเจ้าตลาดอย่างยาฮูมาได้
ตลาดโฆษณาออนไลน์ยังคงเป็นตลาดที่เติบโตสูงมาก โดยปีที่ผ่านมาตลาดส่วนนี้โตขึ้น 14.2% จาก 7.1 พันล้านดอลลาร์ในไตรมา่สแรกปีที่แล้วเป็น 8.1 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้
ส่วนตลาดโฆษณาในหน้าค้นหานั้นกูเกิลยังครองที่หนึ่งและมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 59.1% ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วเป็น 59.6% ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่สองคือ Bing นั้นตามอยู่ห่างๆ ที่ 7.9%
อดีตยักษ์อินเทอร์เน็ตอย่างยาฮูเกาะกระแสสมาร์ทโฟนได้ไม่ค่อยดีนัก แอพมีไม่เยอะมากและที่มีอยู่ก็ไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่ล่าสุดผู้บริหารที่คุม Flickr และ Yahoo! Mail ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider บอกว่ากำลังปรับปรุงใหม่ จะเห็นผลงานในเร็วๆ นี้
Steve Douty ผู้บริหารที่ดูแล Flickr ยอมรับว่าแอพมือถือสำหรับถ่ายและแชร์ภาพอย่าง Instagram/Color นั้นทำออกมาได้ดี และแอพ Flickr บน iOS ยังตามหลังแอพเหล่านี้อยู่มาก ตอนนี้เรื่องแอพกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของ Flickr และเราเห็นแอพรุ่นบน WP7 ไปแล้ว เขาสัญญาว่าเราจะได้เห็นแอพคุณภาพระดับเดียวกันบน Android/iOS ในเร็วๆ นี้
ที่มา - Business Insider
ยาฮูได้ข้อสรุปแล้วสำหรับการหาผู้ซื้อกิจการบริการ social bookmarking ของยาฮูชื่อดัง Delicious นั่นคือสองผู้ก่อตั้ง YouTube คือ Chad Hurley และ Steve Chen ผ่านบริษัทอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ชื่อ AVOS
ซึ่งสองผู้ก่อตั้ง YouTube เองมีแผนที่จะให้บริการ และปรับปรุงคุณภาพของ Delicious ต่อ โดยในช่วงการโอนถ่ายกิจการนี้ ยาฮูจะยังเป็นผู้ให้บริการ Delicious ไปจนถึงช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมนี้ และเมื่อกระบวนการโอนถ่ายกิจการเสร็จสิ้นลง ข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดจะโดนย้ายไปยังเจ้าของกิจการใหม่ วันนี้หากผู้ใช้ทำการล็อกอินเข้าใช้งาน ทาง Delicious จะให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลบางส่วน และยินยอมกับข้อตกลงในการย้ายข้อมูลไปยังบริษัท AVOS ที่มารับช่วงต่อ
Hadoop เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (distributed computing) ที่ยาฮูสร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับ MapReduce ของกูเกิล (โดยสร้างจากเปเปอร์วิชาการของกูเกิล เพราะกูเกิลไม่ได้เปิดซอร์ส MapReduce)
ปัจจุบัน Hadoop เป็นโครงการโอเพนซอร์สใต้ Apache Foundation และมีองค์กรขนาดใหญ่นำไปใช้มากมาย เช่น Amazon, eBay, Facebook, Apple, HP, IBM (จริงๆ ก็เกือบทุกรายที่ไม่ใช่กูเกิลกับไมโครซอฟท์) แต่กำลังนักพัฒนาหลักก็ยังอยู่ที่ยาฮู
และถึงแม้ยาฮูจะประสบอุปสรรคกับธุรกิจเว็บอยู่บ้าง แต่ในสายของ cloud computing นั้น Hadoop ไปได้สวยมาก จึงมีข่าวออกมาว่ายาฮูอาจแยกทีม Hadoop ออกเป็นบริษัทใหม่เพื่อทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ยาฮูประกาศหยุดให้บริการ Yahoo! Buzz (บริการแบบเดียวกับ Digg และ Reddit) ในวันที่ 21 เมษายนนี้
Yahoo! Buzz เปิดบริการในปี 2008 ตามกระแสเว็บลักษณะเดียวกับ Digg ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในสมัยนั้น แต่ Buzz ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวังไว้ และเป็นบริการตัวหนึ่งที่เคยมีข่าวหลุดมาว่ายาฮูจะเลิกทำ รอบเดียวกับที่มีข่าวปิด Delicious และ MyBlogLog
ที่มา - Yahoo!, TechCrunch