ผู้ถูกสัมภาษณ์รอบนี้คือ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ GotoKnow และเว็บไซต์พี่น้องอย่าง Learners.in.th และอีกหลายเว็บ ทั้งหมดใช้เอนจิน KnowledgeVolution ซึ่งทีมงานของอาจารย์พัฒนาขึ้นมาเองด้วย Ruby on Rails
ผลวิจัยล่าสุดจาก Trinity College Dublin พบว่าชาวสหราชอาณาจักร 25% (เฉพาะที่สำรวจ) ไม่สามารถจำเบอร์โทรศัพท์บ้านได้ และ 33% จำวันเกิดคนใกล้ชิดได้น้อยกว่า 3 คน
ศาสตราจารย์ Ian Robertson ผู้ทำการสำรวจนี้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเรามีสิ่งที่ต้องจำเพิ่มขึ้น (เช่น รหัสผ่าน เบอร์โทร เลขประชาชน เลขบัญชีธนาคาร ทะเบียนรถ) ซึ่งแก้ไขโดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ พีดีเอ มือถือและอุปกรณ์พกพาต่างๆ ช่วยเก็บข้อมูลได้ แต่ยิ่งใช้สมองส่วนความจำน้อยเท่าไร ประสิทธิภาพของมันก็ลดลงเท่านั้น
Robertson อ้างผลวิจัยอีกหลายชิ้น ที่บ่งบอกว่าคนอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความจำในภาพรวมดีกว่าคนรุ่นอายุต่ำกว่า 30 ปี เนื่องจากโตมาสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า และไม่พึ่งพาเทคโนโลยีมากนัก
โครงการ PHP ประกาศหยุดพัฒนา PHP4 และหยุดให้การสนับสนุนตั้งแต่สิ้นปี (31 ธ.ค. 2007) เป็นต้นไป
เหตุผลก็คือ PHP5 ออกมาได้สามปีแล้ว และ PHP6 กำลังจะตามมาในอีกไม่นาน ดังนั้นก็ย้ายไปใช้ PHP5 กันเสียโดยดี ใครเตรียมจะย้ายก็ควรอ่านคู่มือ Migrating from PHP 4 to PHP 5 ประกอบ
ข่าวเก่าที่เกี่ยวข้อง: CMS และเว็บโฮสติ้งผนึกกำลังผลัก PHP5
โฮสติ้งสัญชาติไทยเจ้าไหนใช้ PHP5.2 เป็นดีฟอลต์ มาโฆษณาไว้ได้เลย
ที่มา - Slashdot
จากข่าวคราวก่อนเรื่อง ร่างประกาศกระทรวงไอซีที (เสริม พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์) ให้เก็บเลขประชาชน 13 หลัก และกระทรวงได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม (ศุกร์ที่ผ่านมา)
ผมได้ข้อมูลจากผู้ที่ได้ไปร่วมงานสัมมนาว่า ตอนนี้ในร่างฉบับล่าสุดได้เลิกบังคับให้ผู้บริการประเภทเนื้อหา (เว็บไซต์ต่างๆ) เก็บเลขประชาชน 13 หลักแล้ว
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
ทีมจากกูเกิลค้นพบรูรั่วสำคัญใน JRE และ JDK ทุกรุ่น มีผลกับทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นพีซี เบราว์เซอร์ หรือมือถือ
Chris Gatford ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยให้ความเห็นว่ารูรั่วนี้ค่อนข้างอันตราย และถ้ามีคนเขียนโค้ดประสงค์ร้ายที่ใช้รูรั่วนี้เร็วพอ จะมีผลต่อองค์กรจำนวนมาก
ในแหล่งข่าวมีรายละเอียดของรูรั่วค่อนข้างน้อย แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่าถึงแม้จะมีแพตช์ออกมา (ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว) แต่เราจะตามไล่แพตช์ทุกอุปกรณ์ที่มี JRE ติดตั้งอยู่ได้แค่ไหนกัน
ที่มา - ZDNet Asia
Gigabyte ออกเมนบอร์ดรุ่น GA-N680SLI-DQ6 ซึ่งโฆษณาว่าเป็น "A Mother Of A Motherboard" ดูสเปกก่อนเชื่อ
ที่ไม่ธรรมดาก็คือฮีตซิงก์ซึ่งฝังติดกับบอร์ด และมีท่อส่งผ่านความร้อนระหว่างฮีตซิงก์แต่ละตัว (ของซีพียูกับของชิปเซ็ตอีก 2 ตัว - รูป)
ประสิทธิภาพที่ได้ก็ดีเยี่ยม คงนับว่าเป็นเมนบอร์ดไฮเอนด์อันดับหนึ่งของตอนนี้ ราคาก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน 285 เหรียญ
มหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 กลับมาแล้ว งานนี้จัดวันที่ 2-3 สิงหาคม 2550 ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ในงานจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือสัมมนาหลัก, สัมมนา CMS และเวิร์คช็อป OOo
ส่วนสัมมนาหลักดูกำหนดการได้ที่นี่ ที่น่าสนใจ (สำหรับผมนะ) มีคนจาก OOo/Sun มาพูดเรื่อง OOo 3.0, เรื่องมาตรฐานเอกสารแบบเปิด, ดร. ธวัชชัยจาก Gotoknow มาพูดเรื่อง RoR และประสบการณ์การนำโอเพนซอร์สมาใช้ในองค์กรของการบินไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์เปิดเผยทิศทางใหม่ของบริษัท ที่จะพ่วงบริการไปกับซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในชื่อ software-plus-services
บัลเมอร์บอกว่า software-plus-services นั้นต่างไปจากแนวคิด software-as-services หรือ web 2.0 โดยคำนิยามสั้นๆ ของ software-plus-services คือการเปลี่ยนแปลงทั้ง "ส่วนติดต่อผู้ใช้และการประมวลผล" (user interface and computational changes) อย่างไรก็ตามในแผน software-plus-services จะมีบริการที่มีอยู่แล้วในวงการ software-as-services อย่างพวก CRM เป็นต้น
software-as-services จะเป็นการสร้างชุดของบริการซึ่งใช้ได้กับเซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ โดยอิงอยู่บนฐานของ Windows Live Core ที่บริษัทกำลังพัฒนาอยู่
ตอบสัมภาษณ์คุณ apples ผู้พัฒนาโปรแกรม AppServ (คำถาม)
iake: Apple นี่ชื่อใครหรือครับ ชื่อตัวเอง หรือชื่อคนอื่น?
ชื่อผมเอง เมื่อก่อนเล่น irc สมัย irc.au.ac.th โน่นครับ ตั้งชื่อ apple แล้วมันชอบซ้ำกับชาวบ้าน เลยเติม s ไปอีกตัวกลายเป็น apples จนถึงทุกวันนี้
iake: เป็นคนเชียงใหม่ ใช่ไหม?
เป็นคน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนโดยกำเนิดครับ อิอิ
eak: เรียนจบสาขาอะไร, เรียนจบจากที่ไหนครับ
จบ Computer Science จากราชภัฏเชียงใหม่ครับ
iake, narok119: แล้วเป็นอาจารย์ หรือเคยเป็นอาจารย์มาก่อน?
เว็บไซต์ Mac News Online นำเสนอ GUI 5 จุดที่เพิ่มเข้ามาใน Mac OS X 10.5 Leopard แล้วทำให้ชีวิตแย่ลงกว่าเดิม
ภาพประกอบดูกันเองตามลิงก์ และ Leopard เวอร์ชันที่วิจารณ์ยังเป็นแค่เบต้า
ที่มา - Mac News Online
IBM ประกาศว่าคนทั่วไปสามารถใช้งานสิทธิบัตรกว่า 200 รายการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่เสียค่าใช้จ่าย ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นเป็นไปในทางส่งเสริมมาตรฐานเปิด และการทำงานข้ามกันได้ระหว่างระบบ (interoperable)
IBM สนับสนุนมาตรฐานเปิดมานานแล้ว และสิทธิบัตรเหล่านี้ได้แจกให้ใช้ฟรีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องร้องขอไปยัง IBM ก่อนซึ่งมีกระบวนการเอกสารพอสมควร ทาง IBM จึงตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการเป็นเปิดให้ใช้ได้อย่างเสรี
นอกจาก 3 ค่ายหลักแล้ว ค่ายเกมอื่นๆ ก็แถลงข่าวกันถ้วนหน้า แต่ผมคงลงแค่สามอันนี้เท่านั้นนะครับ
คนแถลงคือ Reggie Fils-Aime ประธานของนินเทนโดอเมริกา และ Satoru Iwata ประธานใหญ่ของนินเทนโด
ผมกับลิ่วตัดสินใจว่าต่อไปนี้ กระบวนการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของ Blognone (ที่เกี่ยวกับตัวเว็บ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น BTD3) จะย้ายจาก IM ที่คุยกันสองคนไปไว้ใน mailing list เพื่อความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ดังนั้นขอเชิญสมาชิกระดับ Writer เข้ามาสมัคร Blognone mailing list เพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมตัดสินใจด้วยกัน สำหรับท่านอื่นที่สนใจก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด สมัครเข้ามาได้เลย
สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทิศทางของเว็บ คุยกันใน Forum เหมือนเดิม
ช่วงนี้งาน E3 เริ่มแล้วมีข่าวเกมเยอะหน่อย ข่าวแรกสรุปแถลงการณ์ของไมโครซอฟท์จาก Joystiq
ไมโครซอฟท์ประกาศวันวางขาย Windows Server 2008 หรือโค้ดเนม Longhorn Server เดิม เป็นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2008
นอกจาก Windows Server 2008 แล้วก็ยังมี Visual Studio 2008 (Orcas) และ SQL Server 2008 (Katmai) วางจำหน่ายในวันเดียวกันด้วย
ข่าวนี้ทำให้เซียนที่เคยฟันธงว่า Windows Server 2008 จะออกมาช่วงปลายปี 2007 ปากกาหักกันเป็นแถว และทำให้วันออก Windows Vista SP1 ที่มีข่าวว่าจะออกมาปลายปีช่วงเดียวกับ Windows Server 2008 เริ่มไม่แน่นอนขึ้นมาว่าจะออกเมื่อไรกันแน่
สำหรับฟีเจอร์ของ Windows Server 2008 ลองย้อนอ่านข่าวเก่าในหมวด Windows ดูกันเองนะครับ
Mike Schroepfer รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของ Mozilla Corporation เขียนใน newsgroup ว่า Firefox 3.0 เบต้า 1 ซึ่งมีกำหนดเดิมออกวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ จะเลื่อนไปอีก 6 สัปดาห์เป็น 18 กันยายนเป็นอย่างเร็ว
เหตุผลก็เรื่องคุณภาพของซอฟต์แวร์ ซึ่ง Schroepfer บอกว่าระดับปัจจุบันยังไม่สามารถเรียกเป็นเบต้าได้ และผลการวัดปริมาณแรมที่ใช้ก็เพิ่มจากเวอร์ชัน trunk ถึง 18% (พวกนี้เรียก regression และจะค่อยๆ ปรับแก้ไปเรื่อยๆ) การเลื่อนครั้งนี้ย่อมมีผลต่อ Firefox 3.0 ตัวจริงที่ตั้งเป้าจะออกช่วงเดือนพฤศจิกายนแน่นอน อาจข้ามไปออกปี 2008 เลยก็เป็นได้
ที่มา - PC World
ปัญหาที่ผมเจอบ่อยๆ เวลาไปแนะนำ GIMP ให้ชาวบ้านใช้ คือชาวบ้านมักจะบ่นว่ามันใช้ยาก แต่พอถามต่อว่ายากตรงไหน ก็ไม่ได้รับคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์มากนัก ส่วนมากจะมาแนวๆ "มันไม่เหมือน Photoshop" ซึ่งไร้ค่ามากสำหรับคนเอาไปปรับปรุงแก้ไข
เชื่อว่าฝรั่งคงเจอเหมือนกัน เลยมีคนหาวิธีเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน GIMP อย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยพัฒนาโปรแกรมเสริมเข้าไปในตัว GIMP ซึ่งจะเก็บ log ของการกระทำต่างๆ ของเราบน GIMP (เช่น เปิดกี่หน้าต่าง ใช้คำสั่งอะไรบ้าง) แล้วส่งกลับไปเซิร์ฟเวอร์เพื่อวิเคราะห์
Ars Technica ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องความละเอียดของรีวิว ได้ทำการรีวิว iPhone ที่ทุกคนรอคอย รีวิวนี้ยาวมาก 15 หน้า ผมแบ่งอ่านเป็นช่วงๆ อยู่ตั้งนานกว่าจะอ่านจบ แต่อ่านแล้วให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับสัมผัส iPhone ของจริงแน่นอน รีวิวนี้เจ๋งตรงมีวิดีโอสาธิตการใช้งานขั้นตอนต่างๆ ด้วย ดูประกอบจะเห็นภาพยิ่งขึ้น
สรุปว่า Ars ให้คะแนน 8/10 สิ่งที่โดดเด่นคือ Safari, คีย์บอร์ดมัลติทัช ส่วนที่แย่คือบังคับใช้เครือข่าย AT&T ที่ EDGE ช้าและเอาแน่นอนไม่ได้, ลงซอฟต์แวร์เสริมไม่ได้, เสียงริงโทนเบามาก และเรื่องจุกจิกอื่นๆ อีกหลายจุด
ผลการสำรวจจากบริษัท Ipsos Insight พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากเกาหลีใต้เกินครึ่ง (55%) ใช้บริการเว็บแบบ Social Network ในรอบ 30 วัน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรใช้ Social Network มากที่สุดในโลก (คิดเป็นเปอร์เซนต์จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ ไม่ใช่จำนวน)
สี่อันดับถัดมาคือบราซิล จีน เม็กซิโก และสหรัฐ ตามลำดับ อันดับห้าอย่างสหรัฐมีประชากรใช้ Social Network 24%
Cyworld ซึ่งเป็นบริการ Social Network ในเกาหลีใต้ มียอดสมาชิก 18 ล้านราย ซึ่งคิดเป็น 30% ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนในบราซิล บริการยอดนิยมคือ Orkut ของกูเกิล
เดี๋ยวโพลคราวหน้าจะสำรวจ Social Network ยอดนิยมบ้างล่ะกัน
เนื่องจากวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคมนี้ มีงานสัมมนา Social Media Networking and Web 2.0 ซึ่งมีหลายคนแถวนี้ไปเป็นทั้งคนฟังและคนพูด ไหนๆ ออกจากบ้านมากันแล้วก็อย่าให้เสียเที่ยว ตอนเย็นขอเชิญเว็บมาสเตอร์และผู้สนใจ มากินข้าวคุยกันเรื่องทิศทางของเว็บเมืองไทย
หัวข้อนำเสนอ
โครงการ Samba ประกาศว่าจะใช้ GPLv3 กับซอฟต์แวร์รุ่นถัดไป โดยจะเปลี่ยนเลขเวอร์ชันของ Samba 3.0.26 ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา มาเป็น 3.2.0 เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
Samba 3.0.x ที่เคยออกมาก่อนหน้าแล้วจะยังเป็น GPLv2 ต่อไป และทางโครงการสัญญาว่าจะยังออกแพตช์ด้านความปลอดภัยให้กับ Samba 3.0.25b ตราบเท่าที่ "มีคนใช้ในวงกว้าง" รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการนำ Samba ไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆ และเรื่องสิทธิบัตร อ่านได้จาก FAQ ของ Samba
นี่อาจถือว่าเป็นโครงการโอเพนซอร์สรายใหญ่รายแรก ที่ประกาศใช้ GPLv3 หลังการออกเวอร์ชันจริง
ผมเชื่อว่าหลายๆ คนที่ตามข่าวพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่ง Blognone ได้นำเสนอมาโดยตลอด คงมีเรื่องอยากถามคนของกระทรวงไอซีทีให้หายคาใจกันเยอะอยู่ ตอนนี้โอกาสมาแล้วครับ
กระทรวงไอซีทีเค้าจะจัดสัมมนาเรื่อง "การบังคับใช้กฏหมาย : พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550" เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมของประชาชนในกรุงเทพ โดยครั้งแรกจะจัดที่กรุงเทพ วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2550 เวลา 08.00 น. - 14.00 น. ที่โรงแรมปรินซ์พาเลช เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เดือนพฤษภาคม 2007 มีผู้เข้าชมวิกิพีเดียจำนวน 46.8 ล้าน UIP ซึ่งเพิ่มขึ้นมาถึง 72% เมื่อเทียบกับตัวเลขเดือนมิถุนายน 2006 ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งในหมวดข้อมูลข่าวสาร (news and information) เหนือแชมป์เก่าอย่าง Weather Channel
รองประธานของบริษัทวิจัยการตลาด Nielsen BuzzMetrics ให้ความเห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้ใช้วิกิพีเดีย ทำให้เว็บไซต์โตขึ้นเรื่อยๆ เหมือนอะมีบา (เป็นคำชมที่แปลกดี)
สิ่งที่เร่งอัตราการเติบโตของวิกิพีเดียคือพวกข่าวเด่นประเด็นร้อนทั้งหลาย เช่น การก่อการร้ายที่ลอนดอน, สึนามิปี 2004, ฆาตกรรมที่สถาบันเทคโนโลยีเวอร์จิเนีย, iPhone และการฆ่าตัวตายของนักมวยปล้ำ Chris Benoit เป็นต้น