นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยแคนาดาไม่พอใจกับการอ่านข่าววิทยาศาสตร์ผ่าน Google News และ Yahoo News จึงได้สร้างตัวรวมข่าวที่เหมาะสมสำหรับนักวิทยาศาสตร์ขึ้นมา
นักวิจัยด้าน HIV ที่มหาวิทยาลัยลาวาล ใน ควิเบก ได้ปล่อยเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า e! Science News เมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีผู้ใช้มากกว่า 300,000 คนและคนเข้าชมวันละ 5,000 คน
นักพัฒนาเคอร์เนล 135 คนได้เข้าชื่อและออกแถลงการณ์ผ่าน Linux Foundation กดดันให้บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เปิดเผยซอร์สโค้ดของไดรเวอร์ โดยเฉพาะไดรเวอร์การ์ดจอซึ่งมีปัญหามากที่สุด
ฝั่ง ATI นั้นไม่ได้เปิดซอร์สแต่เปิดเผยเอกสารสเปก (ข่าวเก่า) ซึ่งเห็นผลทันตาว่าไดรเวอร์โอเพนซอร์ส fglrx มีคุณภาพดีขึ้นมาก (ข่าวเก่า) ส่วนไดรเวอร์ของอินเทลนั้นเปิดเผยซอร์สมาตั้งนานแล้ว
เนื่องในโอกาสบิล เกตส์ลงจากตำแหน่งสิ้นเดือนนี้ เว็บไซต์ Seattle PI ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของเมืองซีแอทเทิล ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ไมโครซอฟท์ได้ตีพิมพ์บทความชุดเรื่องผลกระทบต่อบิล เกตส์ต่อวงการซอฟต์แวร์ และต่อไมโครซอฟท์เอง
บทความหนึ่งในชุดเป็นอีเมลภายในที่รั่วออกมา เมื่อปี 2003 บิล เกตส์เขียนอีเมลไปบ่น (เรียกให้ถูกคือไปด่า) Jim Allchin หัวหน้าทีมวินโดวส์และลูกน้องระดับสำคัญๆ หลายคน เพราะเขาพบว่าวินโดวส์ใช้งานยาก หลังพยายามดาวน์โหลดและติดตั้ง Movie Maker ลงในพีซีของตัวเอง หัวข้ออีเมลใช้ชื่อว่า "Windows Usability Systematic degradation flame"
ปัญหาที่บิล เกตส์ประสบพบเจอก็เหมือนเราๆ เช่น
Eclipse เวอร์ชันล่าสุด 3.4 แล้ว ภายใต้ชื่อ Ganymede (อ่านว่า แกนีมีด) ซึ่งเป็นการรวมโปรเจคย่อยต่างๆที่มีอยู่มากมายใน Eclipse เพื่อความเข้ากันได้ของโปรเจคต่างๆ
โดยฟีเจอร์ใหม่ๆที่สำคัญก็มีดังนี้
คำถามว่าบราวเซอร์ตัวไหนดีที่สุดคงเป็นคำถามที่ถามกันมานับสิบปีตั้งแต่สงครามบราวเซอร์รอบแรกที่แข่งกันเรื่องของฟีเจอร์ (ตัวกระพริบ, อักษรวิ่ง, ฯลฯ) จนสมรภูมิที่ผ่านก็เป็นเรื่องของการรองรับมาตรฐานที่บราวเซอร์แต่ละตัวพากันจูงมือผ่านมาตรฐาน Acid2 กันเป็นการใหญ่ และกำลังเร่งให้ผ่าน Acid3 กันครบถ้วนในอนาคต
แต่สงครามรอบล่าสุดคงต้องยกให้กับเรื่องของความเร็วและการใช้หน่วยความจำเพราะเบราเซอร์กำลังถูกใช้งานในอุปกรณ์ขนาดเล็กลงไม่ว่าจะเป็น Netbook, Nettop, MID, หรือโทรศัพท์มือถือ ปัญหาคือเราไม่มีมาตรฐานกลางในการวัดการใช้หน่วยความจำแต่อย่างใด เพราะบราวเซอร์บางตัวก็สามารถเรนเดอร์บางเว็บได้ดี และบางเว็บได้ไม่ดีนักต่างกันไป
ประชาชนชาวสหรัฐฯ นั้นบ่นกันมานานแล้วว่าแม้ประเทศตัวเองจะเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต แต่ประชาชนกลับไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงเท่ากับประเทศทางเอเชียและยุโรปหลายๆ ประเทศได้ แผนการล่าสุดของเทศบาลนอร์ท แคโรไลนาจึงรวมเอาแผนการสนับสนุนให้มีการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง โดยย้ำภาพว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสาธารนูปโภคจำเป็นต่อความเจริญไม่ต่างจากไฟฟ้า
แผนการนี้นอกจากจะพูดถึงแผนการเฉพาะในนอร์ท แคโรไลนาเองแล้วยังระบุว่าสหรัฐฯ ทั้งประเทศก็ควรเร่งเพิ่มความเร็วและสร้างบริการราคาถูกให้กับประชาชนด้วยเช่นกัน
หนึ่งในประเทศที่แสวงหาความมั่นคงทางพลังงานมากที่สุดในโลกคงไม่มีใครเกินหน้าญี่ปุ่นไปได้ เพราะด้วยจำนวนประชากรที่สูงและภาคเศรษฐกิจที่ต้องการพลังงานสูงมาก ล่าสุดเมืองซาไกก็ออกมาประกาศความร่วมมือกับทางบริษัทชาร์ป และบริษัท Kansai Electric Power ที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ที่มีกำลังผลิตถึง 10 เมกกะวัตต์แล้ว (สูงสุด 18 เมกกะวัตต์และต่ำสุด 9 เมกกะวัตต์)
การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในปี 2009 และคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ในปี 2011 โดยที่ตั้งนั้นเป็นพื้นที่ถมทะเลบริเวณชายฝั่งเมืองซาไกนั่นเอง มูลค่าการก่อสร้างครั้งนี้ประมาณ 5 พันล้านเยน
ก่อนหน้านี้สองบริษัทเคยร่วมกันสร้างโรงงานไฟฟ้าในแบบเดียวกันนี้สำหรับโรงงานของชาร์ปแต่มีขนาดเล็กกว่าคือ 5 เมกกะวัตต์
ช่วงนี้ราคาจอภาพแบบ LCD กำลังดิ่งตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายๆ คนแถวๆ นี้คงกำลังมองหาจอภาพขนาดใหญ่ๆ ไว้ดูหนังหรือกระทั่งอ่าน e-Book กัน วันนี้ผมไปดูที่ฟอร์จูนมาพบว่าจอภาพขนาด 27" นั้นขายกันอยู่ที่ 34,000 บาท
แต่ข่าวนี้อาจจะทำให้หลายๆ คนชะลอการซื้อเอาไว้ได้อีกพัก เมื่อบริษัท VIZIO ได้เปิดตัวจอภาพรุ่นใหม่สองรุ่นที่งาน CES คือรุ่น VP322 และ VP422 ที่มีขนาด 32" และ 42" ตามลำดับ หน้าจอเป็นแบบพลาสมาทำให้ได้เปรียบเรื่อง Contrast Ratio เป็นจุดเด่นคือ 30000:1 แต่จุดด้อยคือความละเอียดของภาพเพียงแค่ 720p (ซึ่งผมก็ว่าละเอียดพอแล้วนะ)
วางจำหน่ายแล้ววันนี้ผ่านทาง Wal-Mart ราคารุ่น VP322 คือ 599 ดอลลาร์ และ VP422 อยู่ที่ 799 ดอลลาร์ หรือประมาณ 25,000 บาทเท่านั้น
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาควบคุมความดันโลหิตของตนไม่ได้ ได้มีการศึกษาที่จะประยุกต์เอา Web Service มาช่วยควบคุมความดันโลหิต
การทดลองนี้ทำโดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มที่รักษาตามปกติ, กลุ่มที่วัดความดันโลหิตแล้วส่งผลให้แพทย์ผ่านทางเว็บ, กลุ่มที่ส่งผลร่วมกับการให้คำปรึกษาจากเภสัชกรทางเว็บ จากการเปรียบเทียบผลที่ผ่านไปเป็นเวลา 1 ปี พบว่า อัตราส่วนผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ในกลุ่มที่ส่งผลและได้รับคำปรึกษาทางเว็บมากกว่า กลุ่มที่รักษาตามปกติอย่างชัดเจน (56% กับ 31% p<0.01)
สงครามโทรศัพท์มือถือในยุคต่อไปกำลังระอุขึ้นเรื่อยๆ จากการเข้ามาของ iPhone 3G และ Android ที่กำลังวางตลาดในปลายปีนี้ อีกด้านนั้น Blackberry และ Windows Mobile ก็กินส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คำถามสำหรับหลายๆ คนคือเจ้าตลาดโทรศัพท์อย่างโนเกียนั้นจะทำอย่างไรต่อไป
ในวันนี้ภาพก็ชัดเจนขึ้นมาแล้วเมื่อทางโนเกียจ่ายเงินซื้อหุ้นบริษัท Symbian คืนทั้งหมดร้อยละ 52 แล้วบริจาคซอร์สโค้ดของ Symbian, UIQ, และ MOAP (ได้รับบริจาคมาจาก DOCOMO ของญี่ปุ่นอีกที) เข้าไปยัง Symbian Foundation ที่จะดูแลซอร์สโค้ดของ Symbian ในรูปแบบสัญญาอนุญาต Eclipse Public License 1.0 ต่อไป
ชาว Blognone ที่มองๆ Netbook กันอยู่ผมเห็นหลายๆ คนบ่นกันว่าฟีเจอร์ที่สำคัญๆ มักขาดหายไปอยู่เรื่องๆ ครั้นจะไปซื้อ ThinkPad X300 คงไม่ไหวกัน พอดีไปเห็นข่าว Netbook/TabletPC ตัวใหม่ของ Kohjinsha ที่น่าจะลงตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะแม้มันจะใช้ซีพียู Atom ที่ประสิทธิภาพต่ำกว่า Core 2 ที่เราใช้งานกันอยู่สักหน่อย แต่ฟีเจอรในส่วนอื่นๆ นั้นครบถ้วนดี ฟีเจอร์คร่าวๆ ดังนี้
หลายๆ คนอาจจะกำลังมองหาทางเร่งความเร็วของเครือข่ายไร้สายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในตอนนี้ทางเลือกที่ดีที่สุดคงเป็น 802.11n ที่ให้ความเร็วประมาณ 300 เมกกะบิตต่อวินาที แต่ความเร็วที่เพิ่มขึ้นก็อาจจะไม่เต็มประสิทธิภาพนักเพราะตอนนี้ความถี่ย่าน 2.4 กิกะเฮิร์ตนั้นมีอุปกรณ์ใช้งานเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นบลูทูธ, Wi-Fi, หรือกระทั่งโทรศัพท์ไร้สายในบ้าน
ล่าสุดทาง D-Link ก็ส่ง DIR-628 เราท์เตอร์ตัวใหม่ที่ทำงานตามมาตรฐาน 802.11n ในความถี่ 5 กิกะเฮิร์ตซึ่งคนใช้งานน้อยกว่าออกมาแล้ว ที่น่าสนใจคือราคาไม่แพงมาก (Engadget รายงานว่าราคาขายปลีกอยู่ที่ 79 ดอลลาร์)
ต่อเนื่องจากข่าว โมโตโรล่าเตรียมถอนตัวออกจากตลาดโทรศัทพ์มือถือ และ Motorola แยกบริษัท หวังกู้วิกฤตกิจการมือถือ
เว็บไซต์ The Boy Genius Report อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวภายใน Motorola ว่ากำลังพัฒนามือถือรุ่นใหม่ในรหัส Alexander โดยมีรายละเอียดดังนี้
ถึงแม้ว่าซันจะประกาศโอเพนซอร์สแพลตฟอร์มจาวาไปเมื่อปี 2006 ในโครงการ OpenJDK แต่ว่ามันไม่ได้เป็นการโอเพนซอร์สทั้งหมด 100% เนื่องจากว่ามีโค้ดบางส่วนที่ซันไม่ได้เป็นเจ้าของ จึงไม่สามารถโอเพนซอร์สได้ และถึงแม้โค้ดนี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ประมาณ 4-5% แต่ก็ทำให้การนำจาวาไปใช้บนแพลตฟอร์มที่ต้องการโอเพนซอร์ส 100% (เช่น ลินุกซ์บางตัว) มีปัญหา
คดีล่าสุดของทาง MPAA (สมาคมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอเมริกา) ได้ออกมากล่าวถึงคดีของนาย Jammie Thomas ที่ได้เปิดแชร์ไฟล์เพลงจำนวน 24 เพลงจนทางเจ้าหน้าที่ของทาง MPAA ได้มาดาวน์โหลดไปและใช้การดาวน์โหลดเป็นหลักฐานในการส่งฟ้อง
ปัญหาประการหนึ่งของคดีนี้คือทาง MPAA ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆ มายืนยันได้ว่านาย Jamie ได้ส่งไฟล์ดังกล่าวใหักับคนอื่นๆ นอกจากเจ้าหน้าที่ของ MPAA เองหรือไม่ ในคำฟ้องของทาง MPAA เองจึงพยายามยืนยันว่าการเปิดให้ไฟล์เข้าถึงได้จากสาธารณะก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกระทำความผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์
Google Code Jam คือการแข่งขันเขียนโปรแกรมกับโปรแกรมเมอร์ทั่วโลก โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นนักเรียน-นักศึกษา หรือโปรแกรมเมอร์มืออาชีพ เพื่อชิงเงินรางวัลสูงสุด $10000 (แต่แค่ได้อันดับ 76 - 100 ก็ฟันค่าขนมไปกินเหนาะๆ แล้ว $250) โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันแก้โจทย์อัลกอริธึม 3-6 ข้อต่อรอบ ภายในเวลาที่กำหนด
การแข่งขันแบ่งเป็น 6 รอบ โดยรอบคัดเลือกและ 3 รอบแรกจะจัดผ่านระบบออนไลน์ ส่วนรอบที่เหลือนั้น จะได้ไปแข่งถึงสำนักงานของ Google ยิ่งถ้าได้เป็น 100 คนสุดท้าย จะได้ไปแข่งที่สำนักงานใหญ่เลยล่ะครับ
ภาษา Ruby นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในการพัฒนาเว็บในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้บั๊กล่าสุดที่มีการค้นพบน่าเป็นห่วงมากเพราะมันทำให้แฮกเกอร์สามารถทำให้ซอฟต์แวร์ที่เขียนด้วยภาษา Ruby ล่มหรือที่แย่กว่านั้นอาจจะส่งโค้ดไม่พึงประสงค์มาทำงานบนเครื่องที่ถูกโจมตีได้
ทาง Ruby-Lang.org ก็ออกแพตซ์มาแก้บั๊กนี้ให้ทันใจ แม้ตอนนี้ยังไม่มีรายงานการใช้บั๊กนี้โจมตีเว็บใดๆ แต่แนะนำให้รีบอัพเดตกันครับ
ที่มา - Matasano Chargen
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2008 มีการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้อย่างโดดเด่น ที่ชัดที่สุดคงเป็น YouTube และ Facebook คราวนี้อาจถึงเวลาของ Twitter บ้าง
ในงานสัมมนา Personal Democracy Forum 2008 วันที่ 23-24 มิถุนายนนี้ (วันนี้) ผู้จัดงานได้เชิญที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีของผู้สมัครประธานาธิบดีทั้งสองพรรค คือ Liz Mair จากพรรครีพับลิกัน และ Mike Nelson จากพรรคเดโมแครต มาร่วมดีเบตในประเด็นต่างๆ ทางเทคโนโลยีผ่าน Twitter โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ Ana Marie Cox บล็อกเกอร์ของนิตยสาร Time
ออราเคิลประกาศขึ้นราคาซอฟต์แวร์ 15-20% โดยฐานข้อมูล Oracle Enterprise Edition ที่คิดตามจำนวนซีพียูนั้นจากเดิมคิด 40,000 ดอลลาร์ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 47,500 ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ อย่าง Oracle E-Business Suite และซอฟต์แวร์ของ BEA ที่เพิ่งซื้อมาอย่าง BEA WebLogic Server Enterprise Edition ก็ขึ้นราคาเช่นกัน
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์จาก Forrester Research มองว่าการขึ้นราคาครั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการต่อรองราคาของออราเคิลต่อลูกค้ามากกว่า เพราะในความเป็นจริงแล้ว การซื้อซอฟต์แวร์ในองค์กรเป็นจำนวนมากนั้นได้ส่วนลดอยู่แล้ว เรียกว่าถ้าต่อรองเก่งๆ หน่อยก็อาจจะยังได้ราคาเดิม
หลังที่ผมเขียน ศึกจ้าว CMS เวลาผ่านไป CMS แต่ละตัวก็มีการปรับตัวเพื่อสู้ศึกในโลกของ CMS ที่มีการแข่งขันสูง ผมขอเสนอแนวทางการพัฒนาของ 4 CMS หลัก (เหตุผลที่เลือก 4 ตัวนี้กรุณาอ่านบทความตามลิงก์บทความเก่า)
TechCrunch ได้ทำการสรุปรายชื่อผู้บริหารระดับสูงของ Yahoo! ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ซึ่งมีจำนวนถึง 114 คน โดยจุดที่น่าสังเกตอย่างมากคือ เฉพาะเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก็มีผู้บริหารระดับสูงลาออกไปแล้วถึง 18 คน (อนุมานได้คร่าวๆ ว่าวันละ 1 คน!) ซึ่งนี่อาจจะเป็นการบ่งชี้อะไรสักอย่างที่น่าวิตกกับสถานะการณ์ภายในของ Yahoo! เอง
พอดีผมไม่มีข้อมูลการลาออกของผู้บริหารระดับสูงในบริษัทอื่น ๆ เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าตัวเลข 114 คนนี่ถือว่าเป็นปกติหรือไม่
ที่มา - TechCrunch (พร้อมตารางรายชื่อ)
คณะกรรมการโทรคมนาคมของสหรัฐ (FCC - Federal Communications Commission เทียบได้กับ กทช. ของบ้านเรา) ได้เตรียมการเปิดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ โดยช่วงคลื่นที่จะเปิดประมูลถูกเรียกว่า Advanced Wireless System (AWS) ซึ่งประกอบด้วยช่วง 1915-1920 MHz, 1995-2000 MHz และ 2155-2180 MHz
สิ่งน่าสนใจอยู่ในกติกาที่ FCC เสนอ ซึ่งระบุว่าผู้ที่ประมูลชนะจะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ฟรี ความเร็วอย่างต่ำ 768 kbps (downstream) โดยใช้ช่วงความถี่ไม่เกิน 25% ของทั้งหมดที่ประมูลได้ บริการอินเทอร์เน็ตนี้ต้องมีระบบกรองภาพโป๊ที่ "always on" และสามารถมีโฆษณาได้เพื่อชดเชยกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป
[RoadRunner](http://www.lanl.gov/roadrunner/ roadrunner) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบันได้ทะลุขีดจำกัดความเร็วไปที่ 1.026 petaflop/s โค่นแชมป์เก่า Blue Gene/L ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ 478.2 teraflop/s ตกไปอยู่อันดับสอง
นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ประกาศว่ายานฟินิกซ์ (Mars Phoenix Lander) ขุดพบน้ำแข็งบนดาวอังคาร โดยยานฟินิกซ์จะเก็บตัวอย่างของน้ำแข็งเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป
ก่อนหน้านี้ ยานฟินิกซ์ได้ถ่ายภาพวัตถุสีขาวขนาดเล็กชิ้นหนึ่งที่พบในหลุมที่ขุดไว้ ยานฟินิกซ์ได้ถ่ายภาพวัตถุชิ้นนี้ในอีก 4 วันถัดมาและพบว่ามันได้ระเหิดหายไป
ปีเตอร์ สมิธ หัวหน้าทีมสอบสวนของโครงการฟินิกซ์กล่าวว่า "มันต้องเป็นน้ำแข็งอย่างแน่นอน ก้อนวัตถุเหล่านี้หายไปภายในเวลาไม่กี่วัน นี่คือหลักฐานที่ประจักษ์ชัดที่สุดว่ามันคือน้ำแข็ง มีบางคนตั้งคำถามว่ามันอาจเป็นเกลือ แต่เกลือไม่อาจเป็นเช่นนี้ได้"
การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันสมมติฐานที่ว่ามีน้ำแข็งอยู่ใต้พื้นผิวของดาวอังคาร