รายงานจาก Wired.com ได้บอกว่า Zune เครื่องเล่น MP3 ตัวใหม่ที่ Microsoft เจ้าของได้ออกมาคุยไว้เยอะว่าคราวนี้ปราบ iPod ได้แน่น่าจะแค่สร้างผลกระทบเล็กน้อยให้แก่ iPod
สื่อหลาย ๆ สื่อก็ได้รายงานว่า Zune เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวก็เพราะว่าราคาที่พอ ๆ กัน แถมหน้าจอขนาดใหญ่ 3 นิ้วที่เหมาะกับการดูหนัง Widescreen รวมไปถึงการแชร์เพลงผ่าน Wi-Fi และบริการจาก Zune Marketplace ที่ขายเพลงในราคาเดียวกันกับ iTunes Store ที่ราคา 99 เซนต์และยังมีบริการเพลงรายเดือนเพียงแค่เดือนละ $15 ไม่จำกัดจำนวนเพลงอีกด้วย
สาเหตุที่ Zune ไม่สามารถจะโค่น iPod ได้ก็เพราะ
โครงการ Defective by Design ประกาศให้เมื่อวานที่ผ่านมาเป็นวันต่อต้าน DRM สากล ด้วยการหาแนวร่วมให้กระจายความรู้ว่าการใช้ DRM นั้นมีข้อเสียอย่างไรบ้าง โดยผู้ที่เข้าร่วมจะใส่ชุดกันเชื้อโรคเพื่อเผยแพร่ความรู้นี้ไปทั่วโลก
โครงการ Defective by Design นี้ก่อตั้งโดย Free Software Foundation ที่รู้กันว่าริชาร์ด สตอลแมนนั้นเกลียด DRM อย่างมาก ถึงกับใส่ส่วนที่ทำให้ GPLv3 ไม่เข้ากับการใช้ DRM อย่างเต็มรูปแบบ
เรื่องแปลกๆ เรื่องหนึ่งคือคำขวัญของโครงการนี้ เป็นคำพูดของ Peter Lee ผู้บริหารดิสนีย์ ที่ระบุว่า
"If consumers even know there's a DRM, what it is, and how it works, we've already failed" - Peter Lee.
ทุกวันนี้หลายๆ คนอาจจะริปดีวีดีไว้ดูในเครื่องกันเป็นเรื่องปรกติ ทั้งที่แผ่นดีวีดีนั้นมีมาตรฐานการเข้ารหัสที่ค่อนข้างแน่นหนา เรื่องนี้สำเร็จได้เพราะชาวนอร์เวย์ที่ชื่อว่า Jon Lech Johnasen หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า DVD Jon ในเวลานั้นเขาถูกฟ้องจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างหนัก แต่สุดท้ายก็หลุดจากข้อกล่าวหานั้นมาได้
ในตอนนี้ DVD Jon ก็กลับมาอีกครั้ง ด้วยการแกะมาตรฐาน FairPlay ของแอปเปิล แต่ในครั้งนี้เขาไม่ได้แกะมาตรฐานนี้เพื่อที่จะถอดระบบป้องกันการทำสำเนานี้แต่อย่างใด แต่เป็นการแกะมาตรฐานเพื่อขายให้บริษัทที่ต้องการขายบริษัทที่ต้องการให้เพลง หรือภาพยนตร์ของตนสามารถใช้งานบนไอพ็อดได้โดยไม่ต้องผ่านทางแอปเปิลอีกต่อไป
ช่วงที่ผ่านมามีหลายข่าวทีเดียวครับ ที่เกี่ยวข้องกับจาวาแต่ไม่ได้เอามาลงเท่าไหร่ (กลัวเอาลงบ่อยจัด เดี๋ยวถูกเขม่นเอา) หยิบมาเฉพาะข่าวเกี่ยวกับ NetBeans ละกัน
วันนี้รุ่น NB 5.5 RC1 ก็ถูกปล่อยมาแล้ว อย่างที่ทราบกันว่า NB5.5 มีจุดเด่นเรื่องการสนับสนุน Java EE 5 เต็มตัว ซึ่งผมได้เคยเดโมรุ่น PR ไปให้ดูในงาน BTD 1.0 ที่ผ่านมา RC รุ่นนี้อาจจะมีช่วงชีวิตสั้นไปหน่อย (ประมาณไม่ถึงหนึ่งเดือน) เพราะจากหมายกำหนดเดิม ตัวเต็มจะออกภายในสิ้นเดือนนี้
ภาพที่เราคุ้นเคยเวลากิน McDonald หรือ KFC แล้วจ่ายเงินเพิ่มเพื่อเอาของเล่นอาจจะต้องเปลี่ยนไป เมื่อ Burger King เปลี่ยนมาเป็นแผ่นเกมสำหรับ Xbox แทน
ลูกค้า Burger King จะต้องซื้อชุด Value Meal และจ่ายเพิ่มอีก $3.99 ถ้าอยากได้เกมด้วย โดยจะมี 3 เกม แบ่งเป็น "racing, action and adventure" และใช้คาแรกเตอร์ของ Burger King เป็นตัวเอกตามสูตร เกมจะเล่นได้ทั้งกับ Xbox และ Xbox 360 โดยแคมเปญนี้จะเริ่มวันที่ 19 พ.ย. นี้ งานนี้ไมโครซอฟท์ลงมาเล่นด้วยเต็มตัว เกมพัฒนาโดยสตูดิโอชื่อ Blitz Games ซึ่งคิดว่าคงมีคุณภาพพอสมควร
Burger King บ้านเราสาขาน้อย อาจต้องหวังกับชิกกี้มีลแทน
ช่วงนี้ใกล้เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นสมรภูมิคอนโซลรอบใหม่ มีข่าวสงครามน้ำลายค่อนข้างเยอะ (โดยเฉพาะ Microsoft vs Sony) อ่านเอาสนุกๆ อย่าเป็นจริงเป็นจังมากละกัน
Richard Teversham ของไมโครซอฟท์ยุโรปและแอฟริกาให้สัมภาษณ์ในงาน X06 ที่บาร์เซโลนาว่า "เขามั่นใจว่าเกมของ Xbox 360 จะดูดีกว่า PS3" โดยเหตุผลคือชุดพัฒนาของ Xbox 360 ใช้งานได้ง่ายกว่า และนักพัฒนาเกมมีประสบการณ์กับ Xbox 360 มาแล้วหนึ่งปี จะทำให้เกมบน 360 ดูดีกว่า PS3 ไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี
ช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูกาลดิสโทรออกกันอีกแล้ว Slackware 11 ล่วงหน้าออกมาก่อน ตามมาด้วย Mandriva 2007 นี้ และยังมี Fedora Core 6 กับ Ubuntu 6.10 จ่อคิวตามจะออกอยู่ติดๆ
ของใหม่ที่เด่นๆ คือการเปิดใช้เอฟเฟคต์ 3 มิติตามมาตรฐานลินุกซ์ยุคนี้อย่าง AIGLX และ Xgl นอกจากนี้ยังมีธีมใหม่ "Ia Ora"
Mandriva 2007 มี 3 Edition เปิดให้สมาชิก Mandriva Club ดาวน์โหลดแล้ว ถ้าไม่ได้เป็นสมาชิกแต่อยากลองเล่นก็ดาวน์โหลด Mandriva One ซึ่งเป็น live cd มาลองใช้งานได้ฟรี
กอง บก. หนังสือ PSM3 โชคดีได้มีโอกาสสัมผัสกับ PS3 ก่อนใครๆ สิ่งที่พวกเค้าบอกมาคือ PS3 นั้นเงียบมาก และหนักจนถือด้วยมือเดียวไม่ได้ ส่วนการตอบสนองของระบบลื่นมาก ใช้เวลาในการโหลดเกมน้อย อินเทอร์เฟซของตัวระบบนั้นใช้ XMB (Cross Media Bar) แบบเดียวกับ PSP
มีรูปให้ดูตามลิงก์ เห็นแล้วอิจฉาวุ้ย
ที่มา - PSM3
หลังจากโดน Seagate ซื้อไปเมื่อปีก่อน แบรนด์ Maxtor ได้กลับมาอีกรอบโดยจะจับตลาดล่างแทน
ฮาร์ดดิสก์ตระกูล DiamondMax จะออกรุ่นความจุ 320GB ออกมาสำหรับพีซีเดสก์ท็อประดับล่าง แล้วเลื่อนเอา Barracuda ไปจับตลาดบน ส่วนฮาร์ดดิสก์พกพาตระกูลใหม่ MobileMax สำหรับโน้ตบุ๊คระดับล่างจะมีเฉพาะรุ่น 5400 รอบและมีความจุสูงสุด 80GB เท่านั้น สิ่งที่ต่างกันคือฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ Maxtor จะรับประกัน 3 ปีเทียบกับของ Seagate โดยตรง 5 ปี
ใครใช้ Maxtor อยู่รายงานตัวด้วยก็ดีนะ
ที่มา - Ars Technica
ผลสำรวจวัยรุ่นในสหรัฐพบว่าอีเมลเป็นการสื่อสารที่ตกยุคไปแล้ว โดย IM, SMS และ MySpace เป็นวิธีที่ดีกว่าในการสื่อสารกับวัยรุ่น
สำนักข่าวหลายแห่งลงข่าวนี้กันแบบแรงๆ ผมลอกของ USA Today มาคือ "E-mail is so last millennium."
อีเมลยังไม่ตายง่ายๆ แต่ก็มีอัตราการใช้งานลดลง 8% เมื่อเทียบกับปีก่อน วัยรุ่นในสหรัฐ 87% มีโอกาสได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่ง 89% ของคนกลุ่มนี้ใช้อีเมล ส่วนที่ตอบแบบสอบถามว่าใช้ IM ด้วยมีน้อยกว่าคือ 75%
ที่มา - Ars Technica
SUSE ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของ ReiserFS โดยใช้เป็น default file system มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ได้ถอดใจเปลี่ยนไปใช้ Ext3 แทนซะแล้ว
เรื่องเหตุผลนั้น Jeff Mahoney จาก SUSE Labs อธิบายไว้ว่าถึง ReiserFS จะมีดีที่ประสิทธิภาพ แต่มันก็ก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ อีกเยอะ (ในลิงก์มีอธิบายไว้ละเอียด) ดังนั้นเลือกใช้ Ext3 ที่ทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี และมีฐานนักพัฒนาที่เยอะกว่าแทนจะลดปัญหาให้กับดิสโทรลง
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีใน SUSE 10.2 และทำให้ Slackware กลายเป็นดิสโทรหลักรายเดียวที่ยังใช้ ReiserFS
Ars Technica มีสกู๊ปเบื้องหลังการออกแบบตัวเครื่อง Wii โดยเน้น 2 ประเด็นหลัก คือ ขนาดของตัวเครื่องกับการประหยัดพลังงาน
หน้าตาของ Wii ถูกออกแบบมาให้อยู่กึ่งกลางระหว่างของเล่นกับเครื่องเสียงภายในบ้าน ส่วนขนาดที่เล็กมากๆ นั้น วิศวกรของนินเทนโดเล่าว่าแค่เริ่มต้นก็ท้าทายแล้ว เมื่อ Satoru Iwata ประธานบริษัทเรียกเขาเค้าพบ แล้วเรียงกล่อง DVD 3 กล่อง จากนั้นบอกว่าเอาให้ได้เล็กเท่านี้
ใน Vista นั้นไมโครซอฟท์ปรับกลยุทธด้านความปลอดภัยของตัวเองเสียใหม่ จากเดิมที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรก็ลงมาทำธุรกิจอย่างเต็มตัว จะเห็นได้จากการรวมเอา Windows Defender (Anti-Spyware) มาใน Vista และขายแอนตี้ไวรัสแยกในชื่อ Windows Live OneCare
มองในแง่ผู้บริโภคก็อาจจะดี แต่คู่แข่งอย่าง McAfee หรือ Symantec/Norton คงไม่ยอมแน่นอน เรื่องยิ่งเลวร้ายเมื่อผู้พัฒนาโปรแกรมด้านความปลอดภัยไม่สามารถเข้าถึงเคอร์เนลของ Vista ได้ด้วยเหตุผลที่ไมโครซอฟท์บอกว่าเป็นเรื่องความปลอดภัย (แต่ทีม OneCare ของไมโครซอฟท์เองย่อมทำได้) ทำให้ทั้ง McAfee และ Symantec ออกมาโวยวายในเรื่องนี้แล้ว
ไม่รู้แถวนี้มีแฟน Slackware กันบ้างหรือเปล่า (บ้านเรามีแต่สาย Fedora กับ Debian) แต่เนื่องจากเป็น major version เลยเอาข่าวมาลงหน่อย
Slackware 11.0 ใช้เคอร์เนล 2.4.33.3 เป็น default แต่สามารถเลือกใช้ 2.6.x ได้ใน /extra หรือ /testing ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ในระบบก็ใหม่ที่สุดในบรรดาดิสโทรที่ออกมาช่วงนี้ เช่น KDE 3.5.4 หรือ XFCE 4.2.3.2 เป็นต้น
ที่มา - Announcing Slackware Linux 11!
ไม่รู้เกิดรู้รั่วตรงไหน แต่เกมสุดดังที่ต้องวางตลาดปลายเดือนนี้อย่าง FFXII ก็ถูกมือดีเอามาแจกในระบบไฟล์แชร์ริ่งกันเรียบร้อยแล้ว โดยตอนนี้ตัวไฟล์ ISO สามารถโหลดได้จากเว็บบิตทอร์เรนต์อย่าง minimova
เนื่องจากตัวไฟล์เพิ่งถูกอัพโหลดขึ้นมาไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา เข้าใจว่าน่าจะมีการแจกจ่ายกันในกลุ่ม usenet มาก่อนหน้านี้เมื่อคืนก่อน ทำให้ตอนนี้ยังไม่มีความเห็นจากทาง Square Enix ว่าเกมนี้หลุดออกมาได้อย่างไร
ที่มา - Digg
Chad Dickerson, Director ที่ดูแล Yahoo! Developer Network กล่าวว่า "เนื่องจาก Yahoo เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีบริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่จะทำตามความต้องการของผู้ใช้ทุก ๆ กรณีนั้นเป็นไปได้ยาก Yahoo จึงเปิดบริการ e-mail service (ไม่เห็นใช้คำว่า API เหมือน Google) ให้นักพัฒนาทั่วไปเข้าถึง e-mail ของ Yahoo"
Yahoo บอกว่า การเปิดบริการแบบนี้จะก่อให้เกิด Mashups (Hybrid web products) ขึ้นเป็นจำนวนมาก เหมือน Google Maps และ Flickr ที่ทำสำเร็จกันมาแล้ว
ผมแอบไปเขียนไว้ใน Forum แต่เหมือนไม่ค่อยมีคนอ่านเท่าไร เลยเอามาขึ้นหน้าแรกซะเลย เพื่อไม่เป็นการเขียนซ้ำ เข้าไปอ่านได้ตามลิงก์นั่นแหละ
ส่วนใจความสำคัญก็คืออ่านกำหนดการ BTD 2.0 เวอร์ชันอัพเดต ถ้าอยากจะมาก็ register ด้วย (ไม่ regis ไม่ให้เข้านะว้อย)
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด Dell ได้เริ่มโครงการรีไซเคิลพีซี โดยใจป้ำขนาดไปขนให้ถึงบ้าน แถมไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ซะด้วย ขอแค่มีอะไรที่แปะตรา Dell แล้วอยากส่งรีไซเคิล ก็ไปนัดวันกับ Dell ได้เลย
โครงการนี้ครอบคลุมทั้งสหรัฐ, แคนาดา และยุโรป
มีใครทำงาน SVOA, Belta, Liberta อะไรพวกนี้บ้างไหมครับ ส่งข่าวนี้ให้ CEO อ่านหน่อยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ที่มา - News.com
อินเทลอนุญาตให้เว็บไซต์ HotHardware ได้ลองทดสอบ Core 2 Extreme QX6700 หรือชื่อที่เข้าใจง่ายๆ ว่า Core 2 Quad ในระหว่างงานประชุม Intel Developer Forum ประจำปี 2006
ผลการทดสอบเบนช์มาร์คบางอย่าง พบว่าที่เป็น multi-thread เช่น POVRay หรือ DivX encoding นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (ประมาณ 80%) ในขณะที่การทำงานแบบ single-thread เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือบางอย่างก็ต่ำกว่า Core 2 Duo ด้วยเหตุผลว่าเกิดคอขวดที่ Front Side Bus ก็มี
ทาง HotHardware หวังว่าจะได้ทดสอบ Core 2 Quad แบบเต็มๆ ในอีกไม่นาน รวมถึงคู่แข่งอย่าง AMD 4x4 ด้วย
iPod กำจัดคู่แข่งมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ Zune อาจเป็นอะไรที่ต่างออกไป ComputerWorld ให้เหตุผล 5 ข้อที่ทำให้ Zune กลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ iPod
โปรแกรมแรกที่ไมโครซอฟท์ภูมิใจนำเสนอว่าเป็นโปรแกรมแบบ Universal Binary โปรแกรมแรกของไมโครซอฟท์ ได้ออกมาพร้อมกับความสามารถที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบางอย่างก็เป็นอะไรที่ดูมีประโยชน์มากขึ้นเช่น Status messages หรือไม่ก็ Custom emoticons (แต่ผมว่าอันหลังนี่น่ารำคาญอ่ะ)
แอปเปิลได้ปล่อย Mac OS X 10.4.8 ออกมาแล้ว โดยมีการแก้ไขหลักๆ ดังนี้
อัพเดทกันโลด
ปัญหาสิทธิบัตรไฟล์ GIF นั้นเป็นปัญหาเรื้อรังกันมานาน เนื้องจากตัวฟอร์แมตและอัลกอลืธึ่มนั้นติดสิทธิบัตรจากทางบริษัท Unisys และ IBM ก่อนหน้านี้ทาง Unisys เคยพยายามเรียกเก็บเงินจากนักพัฒนาโปรแกรมที่ใช้อัลกอลิธึ่มในไฟล์ GIF มาแล้ว แต่สิทธิบัตรของทาง Unisys นั้นก็สิ้นสุดลงเมื่อสองปีก่อน
แต่ด้วยเหตุผลบางประการไอบีเอ็มนั้นได้รับสิทธิบัตรในอัลกอลิธึ่มเดียวกันในภายหลัง แม้ไอบีเอ็มจะไม่มีการแสดงท่าทีว่าจะพยายามเรียกเก็บเงินจากนักพัฒนาเช่น Unisys แต่การมีสิทธิบัตรในฟอร์แมตทำให้โลกฝั่งโอเพนซอร์สจำนวนมากไม่ยอมรับไฟล์ GIF ไป แต่นับจากวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะเป็นวันสิ้นสุดของการเรียกร้องให้ลดการใช้ไฟล์ GIF อย่างแท้จริง เนื่องจากสิทธิบัตรทั้งหมดจะหมดอายุลง
หลังจากที่เมื่อเช้ากูเกิลก็ประกาศเปิดตัว Google Reader โฉมใหม่ แม้อาจจะไม่สามารถเรียกเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ได้ เพราะตัวแรกของกูเกิลนั้นอินเทอร์เฟชแย่มากจนใช้งานจริงแทบไม่ได้ แต่การกลับมาครั้งนี้ อาจจะเป็นการแสดงความสามารถของกูเกิลอีกครั้งในการดึงผู้ใช้จากบริการคู่แข่ง เช่น Bloglines เช่นเดียวกับที่ Gmail ได้ดึงผู้ใช้จาก Yahoo!
บริษัทนักวิเคราะห์อย่าง Gartner ได้ออกมาเตือนว่าธุรกิจไอทีมีแนวโน้มจะพบปัญหาวิกฤตพลังงานในอนาคต
ปัจจุบันค่าไฟถือเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 10% ของงบไอทีในแต่ละปี แต่ไม่กี่ปีข้างหน้าตัวเลขนี้อาจขึ้นไปถึง 50% ได้ พลังงานที่ใช้เหล่านี้ไม่ได้มาจากคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ยังมาจากอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สวิตช์หรือ UPS ไปจนถึงค่าแอร์