เรารู้กันดีว่าค่ายเพลงขนาดใหญ่นั้นให้การสนับสนุน RIAA เพื่อเป็นตัวแทนของตัวเอง ในการต่อต้านเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมามาตรการของ RIAA ก็คือไล่จับ ไล่ฟ้อง นักเรียนนักศึกษาที่แชร์เพลงผ่านเครือข่าย P2P
กลุ่มนักดนตรีจำนวนหนึ่งนั้นไม่พอใจแนวทางของ RIAA โดยพวกเขามองว่าค่ายเพลงและ RIAA ชูประเด็นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ของค่ายเพลงแต่อย่างเดียว ศิลปินกลุ่มนี้กำลังตั้งกลุ่ม Featured Artists Coalition ขึ้นมาหยุดพฤติกรรมของ RIAA และหาวิธีจัดสรรลิขสิทธิ์ใหม่ให้ศิลปินมีเอี่ยวในผลงานของตัวเองมากกว่าเดิม
ComputerWorld มีบทวิเคราะห์ว่า 5 เทคโนโลยีสำคัญของซันจะอยู่หรือจะไป หลังจากโดน IBM ซื้อกิจการ
จากความเดิมโฆษณาตอนที่แล้วที่เป็นข่าวครึกโครม (อ่านข่าวเก่า: โฆษณาใหม่ไมโครซอฟท์: ฉันไม่เท่พอที่จะใช้แมค) คราวนี้ไมโครซอฟท์ปล่อยโฆษณาใหม่มากัดอีกแล้วครับ
โฆษณาดังกล่าวเล่าถึงชายคนหนึ่งที่มีงบ 1,500 ดอลลาร์ที่จะหาโน้ตบุ๊คที่มีคุณสมบัติคือพกพาง่าย, แบตเตอรี่ใช้ได้นาน และมีประสิทธิภาพ เมื่อเขาเลือกจนไปเจอ MacBook (เวลา 0:23 ในวิดีโอ) เขาก็พูดขึ้นมาว่า
This is so sexy, but Macs to me are about aesthetics more than they are the computing power. I don't want to pay for the brand. I want to pay for the computer.
สมาคมผู้ตัดสินฟุตบอลของอิตาลี (Referees’ Association) มีการเลือกตั้งประธานสมาคมคนใหม่ และได้ประธานคนใหม่ชื่อว่า Marcello Nicchi
คุณ Nicchi ทำงานมาได้หนึ่งสัปดาห์แล้วออกกฎเกี่ยวกับการสื่อสารและความเป็นส่วนตัว ที่ผู้ตัดสินซึ่งเป็นสมาชิกของชมรมต้องปฏิบัติตาม ในกฎระเบียบเหล่านี้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้ตัดสินไปเล่น Facebook, MySpace, ห้ามเขียนบล็อก, ตอบเว็บบอร์ด หรือให้ความเห็นใดๆ ต่อสาธารณะบนอินเทอร์เน็ต
กรรมการที่ละเมิดกฎเหล่านี้จะถูกสอบโดยคณะกรรมการด้านวินัยของสมาคม ในอิตาลีนั้นห้ามผู้ตัดสินพูดคุยกับสื่อ และห้ามให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจในเกมฟุตบอล
มีรายงานจากกระทู้หมายเลข T7701172 ของห้องมาบุญครองเว็บ Pantip.com ว่า AIS ได้แจ้งให้ลูกค้าเปลี่ยนโปรโมชั่นเนื่องจากมีการใช้งานมากเกินไปทำให้ช่องสัญญาณไม่ว่าง
AIS ยื่นข้อเสนอให้ลูกค้าเปลี่ยนโปรโมชั่นไม่เช่นนั้นจะถูกตัดสัญญาณ ขณะที่การเปลี่ยนโปรโมชั่นนั้นมีค่าใช้จ่าย 30 บาท และลูกค้าต้องเป็นผู้จ่ายเอง
ผู้รายงานเรื่องนี้ครั้งแรกคือคุณแฮมเบอร์เกอร์ โดยมีผู้รายอื่นๆ รายงานว่ามีการขอให้ลูกค้าเปลี่ยนโปรโมชั่นด้วยเงื่อนไขแบบเดียวกันอีกหลายราย
ทางด้าน AIS นั้นได้ตอบในกระทู้ว่าได้แจ้งข้อมูลเป็นการส่วนตัวกับคุณแฮมเบอร์เกอร์แล้วโดยยังไม่มีคำชี้แจงออกมาสู่สาธารณะแต่อย่างใด
ที่มา - Pantip.com
หลายคนคงสนใจจะพัฒนาโปรแกรมบน iPhone แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหน ถึงตอนนี้แอปเปิลได้เผยแพร่การบรรยายของหลักสูตรที่เปิดสอนการพัฒนาโปรแกรมบน iPhone ที่ Stanford ให้ฟรีใน iTunes U แล้วครับ
หลักสูตร CS193P: iPhone Application Development ที่เปิดสอนในเดือนนี้นั้นสามารถเข้าไปได้ทาง iTunes U (ต้องเข้าผ่าน US Store นะครับ) โดยประกอบด้วยวิดีโอและเอกสารประกอบการบรรยายที่มาจากหลักสูตรจริงๆ ที่กำลังสอนอยู่โดยนักพัฒนาจากแอปเปิล ตัวหลักสูตรดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการใช้งาน Xcode และการใช้ภาษา Objective-C รวมถึงจะมีการบ้านให้เขียนโปรแกรมด้วย (มีการบ้านให้เขียน twitter client ภายใน 4 สัปดาห์ด้วยนะ)
จากข่าว กูเกิลจะซื้อ Twitter? ทาง Twitter ได้ออกมาปฏิเสธข่าวนี้แล้วผ่านทางบล็อกของบริษัทว่า ในบางครั้งเราก็คุยกับบริษัทอื่นๆ ในแง่ความร่วมมือกันบ้าง แต่เรายังไม่คิดจะขายบริษัทออกไป
Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวของตัวเองว่า ทั้งสองบริษัทคุยกันจริง แต่คุยกันเรื่องกูเกิลอยากนำข้อความ tweet มาสร้างระบบค้นหาแบบเรียลไทม์เท่านั้น ไม่มีเรื่องซื้อกิจการแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี่เป็นการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ล้วนๆ
นักวิเคราะห์จาก Forrester Research มองว่าถ้า IBM ซื้อกิจการสำเร็จ อาจจะต้องปลดพนักงานของซันออกถึง 1 ใน 3 หรือมากกว่า 10,000 คน เนื่องจากสายผลิตภัณฑ์ที่ทับซ้อนกันมาก และการซื้อกิจการครั้งนี้ IBM อาจต้องการฐานลูกค้าของซันมากกว่าตัวเทคโนโลยี
นักวิเคราะห์อีกรายมองว่าสองแผนกแรกที่โดนแน่ๆ คือฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด ซึ่งคนของ IBM ทำได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องพึ่งคนของซัน ส่วนฝั่งเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงคือฮาร์ดแวร์ (โดยเฉพาะ SPARC อาจจะสิ้นชื่อเพราะ Power), แผนก storage (Sun Thumper คงต้องหลีกทางให้ IBM Shark), Glassfish ยอมหลบให้ Geronimo เป็นต้น แผนกที่น่าจะอยู่รอดคือ MySQL และ Solaris
สงครามศาสนาอีกสมรภูมิหนึ่งที่สู้กันดุเดือดคือโลกของ Version Control System (VCS หรือบางที่ก็เรียก Revision Control) โดยแนวโน้มของตลาดกำลังขยับจาก VCS แบบ client-server อย่าง CVS/SVN มาเป็น distributed VCS อย่าง Git, Bazaar (BZR) และ Mercurial (Hg)
ส่วนของโครงการ Python นั้นได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะย้ายจาก SVN ไปเป็น Mercurial (Hg) โดย Guido van Rossum ผู้สร้าง Python เป็นคนเลือก (ตัวเลือกอีกอันคือ Bazaar) แต่ยังไม่ประกาศว่าจะย้ายเมื่อไร
Mercurial เขียนด้วย Python และถูกสร้างขึ้นมาใช้แทน BitKeeper สำหรับเคอร์เนลของลินุกซ์ (ซึ่งสุดท้ายแล้วแพ้ให้กับ Git ที่ Linus เป็นคนสร้างเอง) แต่โครงการใหญ่ๆ หลายอันก็ใช้ Hg เช่น Mozilla, OpenJDK, OpenSolaris และโครงการของซันแทบทั้งหมด
TechCrunch รายงานข่าวจากแหล่งข่าววงใน 2 รายว่ากูเกิลกำลังเจรจาขอซื้อ Twitter โดยแหล่งข่าวรายที่สามบอกว่ายังเป็นการเจรจาในขั้นต้นเท่านั้น
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า Facebook สนใจซื้อ Twitter แต่สุดท้ายก็เจรจาล้มเหลว หลังจากนั้น Facebook ก็ปรับหน้าเว็บของตัวเองใหม่ ให้เน้น minifeed มากขึ้น โดยมีคนมองว่านี่คือการแข่งกับ Twitter โดยตรงนี่นา
ส่วนกูเกิลนั้นเคยมีข่าวเข้าซื้อ Digg แต่ถอนตัวในภายหลัง เช่นกัน ผมหวังแค่ว่าถ้าซื้อได้จริงคงไม่ซ้ำรอย Jaiku นะ
แม้ว่าจะโดนคดีความเรื่องการผูกขาดตลาดมาเยอะ ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และเกาหลีใต้ แต่ไมโครซอฟท์อาจจะจะได้รับคำเรียกว่า "ผูกขาด" (monopoly) อย่างเป็นทางการในรัสเซีย
เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดตลาดในรัสเซียให้ข้อมูลว่า รัสเซียกำลังดูความเป็นไปได้ว่าควรเพิ่มชื่อไมโครซอฟท์ลงในรายชื่อ "บริษัทที่ผูกขาดธุรกิจ" หรือไม่ ซึ่งจะอยู่ในรายชื่อนี้ได้ต้องมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 35% อย่างไรก็ตามทางการรัสเซียยังไม่มีแผนจะลงไปสืบสวนไมโครซอฟท์ (แบบที่ EU กำลังทำอยู่) แต่อย่างใด
ถ้าไมโครซอฟท์เข้าไปอยู่ในรายชื่อนี้ ก็จะเป็นบริษัทไอทีรายแรกที่ได้รับชื่อ "ผูกขาด" ในรัสเซีย การมีชื่ออยู่ในรายการนี้ยังไม่มีผลเสียอะไรต่อธุรกิจ เพียงแต่เจ้าหน้าที่จะจับตาดูวิธีการทำธุรกิจอย่างละเอียดมากขึ้นเท่านั้น
ออกมาได้หลายวันแล้วแต่ผมเพิ่งมีเวลาอ่านนะครับ เป็นรายงานที่ NECTEC ร่วมกับหน่วยงานภาคีสำรวจตลาดไอซีทีในประเทศไทยและสรุปออกมาให้อ่านกันทุกปี สำหรับปีนี้ ข้อมูลแบบสรุปของสรุปมีดังนี้
ย้ำว่าอันนี้แบบคร่าวมากๆ ในรายงานยังมีตัวเลขและแนวโน้มน่าสนใจอื่นๆ อีกมาก ผมแปะสไลด์แบบ Flash มาด้วยด้านใน แต่โหลดสไลด์แบบเต็มได้ตามลิงก์ที่มา
ที่มา - NECTEC
Dr Brent Coker จากภาควิชาการจัดการและการตลาด ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น พบว่าผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตเพื่อความสนุกที่ทำงาน (Workplace Internet Leisure Browsing - WILB) โดยจำกัดเวลาเล่นไม่ถึง 20% ของเวลาทั้งหมดนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่าคนที่ไม่เล่นเลยถึง 9% นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบว่าเกือบ 70% ของคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตที่ที่ทำงานนั้นมีการใช้เพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก โดยกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ คือการหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ, อ่านข่าว, เล่นเกมออนไลน์ และดูวิดีโอผ่านทาง YouTube
ซัมซุงนั้นประกาศตัวว่าจะทำมือถือ Android มาสักระยะแล้ว (ดู ซัมซุงประกาศส่งมือถือ Android ไตรมาสที่ 2 ปี 2009, รายละเอียดของ Samsung Android เริ่มออกมาแล้ว)
Won-Pyo Hong ผู้บริหารระดับสูงของซัมซุงเผยข้อมูลในงาน CTIA Wireless ว่า
New York Times รายงานข่าวจากวงในว่า IBM ตกลงซื้อกิจการกับ Sun เกือบสำเร็จแล้ว โดยราคาหุ้นที่ตกลงกันคือ 9.50 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าราคา 10 ดอลลาร์ต่อหุ้นตามที่ออกข่าวมาตอนแรกเล็กน้อย มูลค่ารวมทั้งบริษัทของ Sun จะตกประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์
ข่าวการควบกิจการสำเร็จอาจจะประกาศภายในวันศุกร์นี้ (วันนี้ตามเวลาสหรัฐ) ส่วนโฆษกของ IBM และ Sun ยังไม่ยืนยันข่าวนี้แต่อย่างใด แหล่งข่าวบอกด้วยว่า IBM สนใจเทคโนโลยี Java และ Solaris มากเป็นพิเศษ
การซื้อกิจการครั้งใหญ่ของ IBM คือปี 2008 ซื้อบริษัท Cognos (Business Intelligence) ในราคา 5 พันล้านดอลลาร์
ที่มา - New York Times
Twitter เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาตัวอย่างของ Ruby on Rails แต่เมื่อผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด RoR ก็ถึงทางตันเสียแล้ว
Alex Payne นักพัฒนาของ Twitter เล่าว่าเว็บไซต์สมัยใหม่นิยมเลือก Ruby, Python, PHP ด้วยเหตุผลว่ามัน "น่าจะ" agile และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ง่าย หรือไม่ก็เบื่อ C++/Java แต่ว่ากำแพงที่ Twitter พบก็คือระบบจัดคิวส่งข้อคววาม (message queuing system) ที่เขียนด้วย Ruby นั้นกลับไปติดกำแพงประสิทธิภาพที่ตัว virtual machine ของ Ruby เอง และการขยายตัวรองรับผู้ใช้ที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้นแก้ได้ทางเดียวคือซื้อเครื่องเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต้องการเท่าไรนัก (และนี่เป็นสาเหตุของ Twitter ล่มบ่อยในช่วงปีก่อน)
Gmail เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ลงในส่วนของ Gmail Labs (ต้องเปิดใช้เอง) ด้านการค้นหาอีเมลให้เก่งมากขึ้น 2 อย่างดังนี้
ที่มา - Gmail Blog
เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ไมโครซอฟท์ออก ASP.NET MVC 1.0 ตัวจริงที่งาน MIX'09 (อ่านข่าวเก่าเกี่ยวกับ ASP.NET MVC) มาวันนี้เปิดซอร์สโค้ดแล้ว โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ MS-PL ของไมโครซอฟท์เอง (แต่ OSI รับรองว่าเป็นสัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์ส เช่นเดียวกับพวก GPL, MIT, BSD)
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ดังนี้
เป็นที่รู้กันว่าเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลนั้นมากมายมหาศาลถึงหลักแสนเครื่อง แม้จะไม่มีใครรู้จำนวนที่แท้จริงเพราะเป็นความลับทางการค้า แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนสงสัยกันคือกูเกิลทำอย่างไรให้ประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูลของตนนั้นสูงที่สุด และเมื่อวานนี้กูเกิลก็ได้แสดงเซิร์ฟเวอร์ของตนพร้อมรายละเอียดคร่าวๆ ในการออกแบบให้กับนักข่าวได้ชมกันเป็นครั้งแรก
เซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลนั้นใช้ชิปจากทั้งอินเทลและเอเอ็มดีในเมนบอร์ดที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ความกว้างประมาณ Micro-ATX แต่ลึกกว่า โดยใส่ซีพียูได้สองตัวและแรมอีก 8 แถวกับฮาร์ดิสก์อีกสองลูก ตัวเมนบอร์ดนั้นผลิตโดยบริษัท Gigabyte นั่นเอง
ประเด็นที่น่าสนใจที่มีการเปิดเผยออกมาคือ
บนเวทีในงาน Web 2.0 Expo ของค่าย O'Reilly คุณ Stephen Elop ประธานฝ่ายธุรกิจของไมโครซอฟท์ตอบคำถามของ Tim O'Reilly ผู้จัดงาน ตัวคำถามก็คือไมโครซอฟท์จริงจังแค่ไหนกับชุดออฟฟิศบนเว็บหรือบนมือถือ
คำตอบของ Elop คือเขายอมรับว่าปัจจุบันมีความต้องการใช้แอพพลิเคชันต่างๆ จากผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ตัวอย่างที่ดีคือคนจำนวนมากเข้า Facebook ผ่านมือถือ เขาบอกต่อว่าผู้ใช้ iPhone ซึ่งสามารถเปิดไฟล์ Word/Excel/PowerPoint นั้นก็อยากแก้ไขมันได้ด้วยเหมือนกัน
O'Reilly ถามต่อว่า คุณหมายความว่าจะมี Microsoft Office สำหรับ iPhone ใช่ไหม? คำตอบของ Elop คือ
Not yet -- keep watching
ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ที่สุดของโลก HP กำลัง "ศึกษา" ว่าจะสามารถนำ Android มาใช้กับเน็ตบุ๊กของตนเองได้หรือไม่
โฆษกหญิงของ HP ยืนยันข่าวนี้ แต่ไม่บอกว่าสุดท้ายแล้ว Android จะได้เข้ามาอยู่ในสายผลิตภัณฑ์ของ HP หรือเปล่า ข่าวนี้สอดคล้องกับความพยายามของกูเกิลในการผลัก Android ไปลงอุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากมือถือ ก่อนหน้านี้เคยมีบริษัท Archos เตรียมเปิดตัวเครื่องเล่นวีดีโอ Android มาแล้ว
เน็ตบุ๊กที่ถูกจับตามองมากที่สุดตัวหนึ่งในช่วงนี้คือ MSI X-Slim เน็ตบุ๊กสุดบางจอ 13 นิ้ว รูปทรงอย่างกับลอก MacBook Air มา (ข่าวเก่า) วันนี้ MSI เผยสเปกแบบเต็มๆ แล้วครับ
X-Slim จะแบ่งเป็น 2 รุ่นย่อยคือ X320 และ X340 ซึ่งใช้บอดี้เดียวกันแต่รายละเอียดต่างกันพอสมควร มาดูกันทีละตัว
X-Slim X320 รุ่นล่าง
ตอนที่ผมไปงาน IDF นั้นสินค้าตัวหนึ่งที่อินเทลชูโรงมาเสมอคือเครื่อง MID (Mobile Internet Device) ที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเป็นธรรมชาติ ปัญหาคือ MID ไม่เคยได้รับความนิยมในวงกว้างเลย เนื่องจากราคาแพงและการออกแบบที่ยังไม่โดนใจคนใช้
แต่บริษัทจีนอย่าง SmartDevices กำลังทำลายกำแพงข้อแรกในเรื่องของราคาลงไป ด้วยการออก SmartQ 5 เครื่อง MID ที่มีราคาตั้งเพียง 899 หยวนหรือประมาณ 5,000 บาทเท่านั้น
เสปคเป็นดังนี้
Yahoo! ออกโปรแกรม Yahoo! Sideline เอาไว้ดูแนวโน้มในโลก Twitter โดยมันจะทำงานผ่าน Twitter Search คือดูข้อความของแต่ละคีย์เวิร์ด เพียงแต่ดีกว่า Twitter Search แบบหน้าเว็บตรงที่โหลดหน้าเว็บใหม่ให้อัตโนมัติ และสามารถรวมกลุ่มของคีย์เวิร์ดในหน้าต่างเดียวได้ (เช่น blognone, jusci เป็นต้น)
โปรแกรมนี้เขียนด้วย Adobe AIR และเป็นโอเพนซอร์ส สัญญาอนุญาตแบบ BSD สามารถดาวน์โหลดซอร์สได้จาก Github
Palm เปิดให้นักพัฒนาลงทะเบียนเพื่อขอรับ Mojo SDK รุ่นพรีวิว สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์ม webOS
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้จากหน้า Palm Developer Network โดยต้องอธิบายด้วยว่าจะเอาไปพัฒนาโปรแกรมแบบไหน แล้วทาง Palm จะพิจารณาจากใบสมัครเป็นรายๆ ไป Mojo SDK สนับสนุน XP/Vista, Mac OS X 10.5 ขึ้นไป และ Ubuntu 8.04 ทั้งหมดรันแบบ 32 บิท
ส่วน SDK ตัวเต็มจะเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลดฟรีในอนาคต Palm ยังประกาศว่าจะแยกขาย Emulator ของ Palm Pre ซึ่งจะพัฒนาโดยบริษัท MotionApps ในวันที่ Pre ตัวจริงวางขายอีกด้วย